ตรงนี้ชี้ให้เห็น 2 เรื่อง คือ อย่างแรกความเป็นจุดแข็งของไทย

ที่ปลูกไผ่ขึ้นเป็นกอ แต่ละกอมีจำนวนร้อยลำ ดังนั้น ถ้าเปรียบเทียบผลผลิตต่อไร่แล้ว ไทยได้เปรียบกว่าจีนมาก เรื่องถัดไปเกี่ยวกับสภาพอากาศเนื่องจากที่จีนมีอากาศหนาวเย็นมากกว่าฤดูอื่น ฉะนั้น จึงเป็นอุปสรรคต่อการแตกหน่อ อีกทั้งคุณภาพเนื้อไม้ถ้าเจออากาศหนาวแล้วจะแข็งตัวช้า ซึ่งกว่าจะนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการแปรรูปก่อสร้างต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี

ด้วยเหตุนี้จึงมองเห็นจุดแข็งของบ้านเราทันทีว่าสภาพอากาศที่ร้อนทำให้สามารถนำไผ่มาแปรรูปเพียง 2 ปีเท่านั้น ดังนั้น สรุปถ้าปลูกเพื่อแข่งขันแล้วเจอ 2 ประเด็นนี้ เข้าไปจีนสู้บ้านเราไม่ได้แน่

มีโอกาสไปร่วมงานเสวนากับหลายชาติที่เป็นสมาชิกปลูกไผ่ และได้เข้าร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์พบว่าความจริงในโลกนี้มีองค์กรที่ปลูกไผ่และมีสมาชิกจำนวนมาก ยกเว้นไทย พอไม่ได้เป็นสมาชิกก็เลยอดรับรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหวต่างๆ ในกิจกรรมไผ่ ฉะนั้น จึงถือว่าบ้านเราขาดโอกาสดีๆ ในเรื่องไผ่ไปอย่างมากในระหว่างประเทศด้วยกัน

ที่มณฑลเจ๋อเจียง สมัยก่อนภูเขาก็มีลักษณะหัวโล้นแบบบ้านเราเช่นกัน เพราะถูกตัดไม้ทำลายป่าจนแทบไม่เหลืออะไร แต่ตอนนี้กลับมาเป็นป่าไผ่ทุกลูกเต็มพื้นที่ไปหมด เพียง 5 ปี สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แล้ว ขณะเดียวกัน ทางจีนได้มอบหมายให้ชาวบ้านกำหนดพื้นที่แต่ละโซนเพื่อให้ดูแลรับผิดชอบการปลูกไผ่เพียงอย่างเดียว

พอถึงเวลาตัดได้ลำเลียงลงมายังพื้นที่ด้านล่างเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาล ซึ่งการแปรรูปไผ่ทางจีนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทุกส่วน ตั้งแต่รากไปยังยอด ด้วยเหตุนี้ทางมณฑลนี้จึงมีโรงงานแปรรูปไผ่จำนวน 2,500 แห่ง เพื่อจัดการแปรรูปทุกส่วนโดยไม่มีการทิ้ง

จึงเห็นว่าต่างจากบ้านเราตรงที่ต่างคนต่างทำ ผลที่เกิดขึ้นเช่นนี้ทำให้แต่เดิมชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในมณฑลนี้มีความยากจน แต่ตอนนี้ทุกครัวเรือนมีฐานะดี มีความสบาย อีกทั้งป่าไผ่ของมณฑลนี้ต้องบอกว่าปลูกทุกพื้นที่ ทุกแห่ง ขนาดนั่งรถเที่ยวชมรอบมณฑลหลับไป 3 ชั่วโมง ตื่นขึ้นมายังพบแต่ป่าไผ่ อย่างไรก็ตาม ในปี 2009 มณฑลนี้ปลูกไผ่เนื้อที่ประมาณ 30 ล้านไร่ จนถึงปีนี้ 2016 นับเป็นเวลาผ่านมาแล้วประมาณกว่า 16 ปี ลองคิดดูว่าน่าจะมีไผ่ในมณฑลนี้สักเท่าไร

ระบบการทำงานถูกจัดแบ่งเป็นขั้นตอนอย่างชัดเจน พร้อมกับกำหนดผู้รับผิดชอบ ทั้งนี้ เกษตรกรที่ปลูกมีหน้าที่ตัดไผ่ลำเลียงลงมาเพื่อส่งเข้าโรงงานเท่านั้น จบแล้วรับเงินทันที จากนั้นเป็นหน้าที่ของโรงงานที่จะแปรรูปไม้ตามคำสั่ง โดยแต่ละโรงงานจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่างกัน มิได้แปรรูปจนเสร็จ กระทั่งในขั้นตอนสุดท้ายจะมีเอกชนที่ได้รับสิทธิ์จากรัฐบาลเข้าไปรับซื้อเพื่อจัดส่งไปขายทั่วโลก เมื่อมองอย่างนี้แล้วจึงเห็นเป็นภาพว่ามีการรับผิดชอบกันเป็นช่วง เป็นตอนอย่างชัดเจน

คราวนี้มาดูมุมมองของจีนกับต้นไผ่ 1 ต้น ว่าเขาคิดอย่างไร เขาคิดว่าต้องใช้ทุกส่วนของต้นให้คุ้มค่า ใช้ทุกอย่างไม่มีหลงเหลือหรือทิ้งเศษอะไรเลย เพราะเขามองว่าทุกอย่างแปรสภาพเป็นเงินได้หมด แม้กระทั่งโคนที่อยู่ล่างสุดยังนำไปเผาถ่าน ได้น้ำส้มควันไม้ เป็นถ่านที่มีคุณภาพ

ดังนั้น บ้านทั้งหลังสามารถทำขึ้นจากไผ่ได้ เพราะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถผ่าไม้เป็นแผ่นนำมาแช่น้ำยา ผ่าเป็นชิ้นแล้วอัดกาวทำเป็นผลิตภัณฑ์อะไรได้หมด ใช้แทนไม้อื่นๆ ได้เหมือนกัน นำมาทำเป็นโต๊ะ เก้าอี้ เป็นไม้พื้น พนังบ้าน ได้หมด

ส่วนการจักสานทางจีนทำเช่นกัน แต่ต่างจากบ้านเราตรงที่ทางจีนจะใช้ส่วนที่ไม่เกิดประโยชน์มาทำเครื่องจักสาน แต่บ้านเราทำตรงกันข้ามด้วยการตัดไม้ไผ่มาจักสานโดยตรงทันที

นอกจากนั้นแล้ว ยังนำผงไผ่ที่เกิดขึ้นจากการตัดมาทำเป็นเชื้อเพลิง อีกทั้งบางส่วนของผงไผ่ยังสามารถนำไปอัดเป็นไม้ และสุดท้ายยังนำไปทำเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลได้ด้วย ทั้งหมดนี้จึงเห็นแล้วว่าประเทศจีนมีการวางแผนกำหนดกรอบการนำไผ่มาใช้ประโยชน์อย่างชัดเจน แล้วนำมาใช้ได้ทุกส่วนด้วย

ภายหลังที่ผมได้เห็นความก้าวหน้าและศักยภาพของไผ่ จึงเกิดแนวคิดจับส่วนที่เป็นใบไผ่มาเป็นธุรกิจ ซึ่งใบไผ่นี้ทางจีนส่งให้ญี่ปุ่นนำไปทำยา เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงเกิดเป็นแนวคิดที่จะนำมาทำเป็นเครื่องดื่มใบชา เพราะรู้ว่าแม้ญี่ปุ่นยังใช้ทำยา แล้วหากนำใบไผ่ไปผลิตเป็นน้ำดูจะเป็นของใกล้ตัวกว่า หรือถ้าต้องการปรับไปเป็นเครื่องสำอางก็ย่อมได้ จึงมองว่ามีทางเลือกหลายทาง ดังนั้น ทุกท่านที่นั่งร่วมงานในครั้งนี้เมื่อเห็นภาพที่ปรากฏบนจอฉายก็อาจจะเกิดแรงบันดาลใจว่าต้องการทำอะไรสักอย่างจากไผ่

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไผ่ในจีนมิได้หยุดนิ่ง แต่มีการคิดค้นพัฒนาไปตลอดเวลา จึงพบว่าจีนมีงานวิจัยเรื่องไผ่มาก และมีก่อนบ้านเราถึง 35 ปี มีการจัดตั้งเป็นสถาบันไผ่และเก็บงานวิจัยดีๆ ไว้มากมาย ซึ่งงานวิจัยเหล่านั้นผมได้จับเรื่องน้ำใบไผ่มาอย่างเดียว เพราะเมื่อตรวจสอบในบ้านเราแล้วไม่พบงานวิจัยชิ้นนี้เลย

เมื่อกลับมามองไผ่ในบ้านเราแล้วสิ่งที่หลายคนคงไม่ปฏิเสธคือ ปลูกไผ่แล้วมักชอบขายหน่อ พอเช้าช่วงหน้าฝน หน่อออกเต็มไปหมด เมื่อล้นตลาดก็ลดราคาแข่งกัน แต่เมื่อถึงช่วงราคาแพงกลับหาหน่อยาก ทำไมจึงไม่มีใครคิดจะสร้างมูลค่าของหน่อให้มีมากกว่าการขายสด

อย่างถ้าลองนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปอย่างอื่น เช่น อบหรือทำให้กรอบ ทำไมไม่มีใครคิดต่อยอดกันบ้าง หรือเป็นเพราะทุกคนมองเรื่องทุนก่อน แต่สำหรับผมการที่ได้ก้าวมาถึงจุดนี้ได้ใช้เงินเริ่มต้นเพียงหมื่นบาท ดังนั้น เรื่องทุนจึงไม่ใช่ข้อจำกัด แต่หลักใหญ่อยู่ที่วิธีคิด วิธีหามุมมอง หาเหลี่ยม เพราะถ้าคุณคิดได้ คิดก่อน โอกาสจะมาถึงทันที

การศึกษาหาความรู้เรื่องไผ่ของผมถือเป็นงานอดิเรกที่ให้ความสุข เพราะชอบมาก แล้วมักใช้เวลานอกเหนือจากงานประจำ จึงมีเนื้อที่สำหรับปลูกไผ่ไว้จำนวน 200 ไร่

คราวนี้มาคุยเรื่องธุรกิจการผลิตน้ำไผ่ และผลิตภัณฑ์นี้มีประโยชน์อะไรซ่อนอยู่มากมาย ส่วนแรงบันดาลใจนั้นเกิดขึ้นจากเมื่อคราวที่เห็นนักวิ่งถือขวดน้ำไผ่ดื่ม จึงกลับมาคิดว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แล้วการดื่มน้ำไผ่หมายถึงอะไร

ได้ลองไปเปิดข้อมูลเพื่อให้หายสงสัยแล้วพบว่าในยูทูบมีเรื่องราวการเจาะต้นไผ่เพื่อใช้น้ำ แล้วหลายคนแสวงหาการเจาะที่ถูกต้องกันเป็นจำนวนมาก ผมก็เลยลองบ้าง ซึ่งก็ได้ผลดี และได้น้ำไผ่ปริมาณ 10 ลิตร/วัน/กอ ตัวเลขขนาดนี้ถ้าทำเชิงการค้าคงรวยไปแล้ว

ขออธิบายรายละเอียดการเจาะหาน้ำจากต้นไผ่ว่าต้องเจาะที่ข้อ โดยใช้สว่าน เมื่อเจาะแล้วต้องใช้หลอดดูดน้ำออกมาเพื่อความสะอาดและปลอดภัย เหตุผลที่มีการเจาะหาน้ำไผ่จากต้นเพราะกระแสดีท็อกซ์ แต่หลังจากได้นำไปวิเคราะห์ในห้องแล็บแล้วพบว่ามีเชื้อโรคหลายชนิดที่สุ่มเสี่ยงกับชีวิต ซึ่งกว่าผมจะรู้ผลว่ามีอันตรายก็หมดเงินไปมากอยู่ ดังนั้น ขอแนะนำว่าถ้าสนใจต้องศึกษาให้รอบคอบในทุกด้านเพราะมีอันตราย

จากนั้นเลยเบนเข็มมาที่ใบไผ่เพราะพบว่ามีสารที่ชื่อฟลาโวนอยด์ จากนั้นจึงนำใบไผ่พันธุ์ต่างๆ ไปทดสอบหาค่าฟลาโวนอยด์ แล้วพบว่าซางหม่นมีมากที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ซางหม่นทุกชนิด แต่มีเพียงซางหม่นนวลราชินีเท่านั้นที่มีมากที่สุด อีกทั้งเมื่อนำไปเข้ากระบวนการฆ่าเชื้อหรือผ่านความร้อน สารชนิดนี้ก็ยังคงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ อีกทั้งที่โรงงานผลิตด้วยเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีทันสมัยจากอเมริกา

ขณะเดียวกัน ได้ไปพบเรื่องน้ำใบไผ่จากนิตยสารไทม์ของอเมริกา ฉบับเดือนกันยายน 2558 เป็นการโปรโมตน้ำใบไผ่ ดังนั้น ในบ้านเราก็น่าจะโปรโมตด้วยเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม เชื่อแน่ว่าทุกท่านที่มาร่วมงานคงอยากมีผลิตภัณฑ์น้ำใบไผ่ขวดสวยๆ เช่นนี้บ้าง

แต่ถ้าเป็นความเห็นของผมคิดว่าถ้าเป็นการร่วมมือกันทำขึ้นมาจะดีกว่า ทั้งนี้ ถ้าหากสินค้าเริ่มติดตลาดแล้วได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเป็นเรื่องวัตถุดิบที่นำมาผลิต ดังนั้น หากทุกท่านปลูกไผ่มาขายให้ผมแทนการที่ท่านจะไปทำเองทั้งหมด โดยผมรับซื้อใบไผ่แห้งกิโลกรัมละ 200 บาท แล้วถ้าเป็นใบสดกิโลกรัมละ 40 บาท

“ผมมองว่าถ้าทุกคนหวังที่จะผลิตเป็นน้ำขวดขายกันทุกราย แล้วในอนาคตจำนวนน้ำไผ่ในท้องตลาดมีล้น ถ้าเป็นเช่นนั้นทุกคนต้องกอดคอกันตายอย่างเดียวเหมือนกับหลายอย่างที่ผ่านมา จึงอยากฝากว่ามาช่วยกันดีกว่า อย่าต่างคนต่างทำเลยมันเสี่ยง” คุณประสาน กล่าว

เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่สามารถนำใบไผ่มาผลิตเป็นเครื่องดื่มได้ แล้วถ้าท่านได้ติดตามอ่านในอีกหลายตอนจะพบว่าคุณประโยชน์จากต้นไผ่ยังมีมากมายที่สามารถสร้างเป็นเงินให้กับพวกเราได้

พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 1.9 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ พื้นที่ทั้งหมดของอำเภอปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอหัวไทร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอชะอวด อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอพระพรหม รวมถึงพื้นที่บางส่วนของอำเภอเมือง และอำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช บางส่วนของอำเภอควนขนุน อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง และบางส่วนของอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา สวนไม้ผล สวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน ประมง เลี้ยงกุ้งทะเล รับจ้าง เป็นต้น

ในอดีตพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเป็น “เมืองอู่ข้าวอู่น้ำ” ที่สำคัญของภาคใต้ ที่สามารถผลิตข้าวส่งออกไปขายต่างประเทศจนมีฐานะเศรษฐกิจที่รุ่งเรือง ประชาชนมีความกินดีอยู่ดี ดังปรากฏหลักฐาน “โรงสีไฟ”

เมื่อเวลาผ่านไป ประชากรเพิ่มมากขึ้น “ลุ่มน้ำปากพนัง“ ที่เคยอุดมสมบูรณ์กลับมีปัญหา ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ รวมถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ทำให้พื้นที่ในเขตลุ่มน้ำปากพนังมีสภาพและสภาวะแวดล้อมแตกต่างไปจากเดิม ก่อให้เกิดปัญหาอันเนื่องมาจากน้ำหลายประการด้วยกัน คือ

หนึ่ง ปัญหาน้ำท่วม ช่วงฤดูฝนของทุกปี (ตุลาคม-ธันวาคม) เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นที่ราบท้องกระทะ มีระดับใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล การระบายน้ำออกมีน้อย และสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำเพิ่มขึ้นทุกปี

สอง ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากไม่มีแหล่งน้ำที่จะกักเก็บน้ำต้นทุนอย่างพอเพียง ประกอบกับความต้องการน้ำจืดมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดทวีความรุนแรงขึ้นโดยลำดับ

สาม ปัญหาน้ำเค็มรุกตัวแพร่กระจายในพื้นที่เป็นบริเวณกว้างขึ้น ลึกเข้าไปในแม่น้ำปากพนังมากกว่า 100 กิโลเมตร ในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากท้องแม่น้ำมีความลาดชันน้อยมาก ขาดแคลนน้ำจืดที่จะใช้ผลักดันน้ำทะเลน้อยลงทุกปี จากการพื้นที่ต้นน้ำใช้น้ำปริมาณเพิ่มมากขึ้น ทำให้น้ำในแม่น้ำลำคลองในพื้นที่มีความเค็ม ไม่สามารถใช้อุปโภคบริโภคได้นานถึง 9 เดือน ต่อปี (มกราคม-กันยายน)

สี่ ปัญหาน้ำเปรี้ยว ในพื้นที่ตอนกลางของพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังมีสภาพลุ่มต่ำ น้ำท่วมขังตลอดปี คือ พรุควนเคร็ง พรุคลองฆ้อง สภาพดินเป็นดินพรุมีสารประกอบไพไรต์ตกตะกอนอยู่ เมื่อระดับน้ำลดลงจนชั้นไพไรต์สัมผัสกับอากาศจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมี ทำให้ดินมีสภาพเป็นกรดและน้ำเปรี้ยว ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในลำน้ำ ไม่สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรมได้

ห้า ปัญหาน้ำเสียจากแหล่งชุมชน นากุ้ง การทำการเกษตรกรรม

หก ปัญหาดินมีปัญหาต่อการทำการเกษตร พื้นที่ ประมาณ 593,531 ไร่ ได้แก่ ดินเปรี้ยวจัด พื้นที่ 202,731 ไร่ ดินกรวดลูกรังและดินตื้น พื้นที่ 147,144 ไร่ ดินอินทรีย์หรือดินพรุ พื้นที่ 99,341 ไร่ ดินเค็ม พื้นที่ 86,531 ไร่ และดินทรายจัด พื้นที่ 57,784 ไร่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากปัญหาดังกล่าว จึงได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหา และพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง เพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และช่วยพลิกฟื้นความอุดมสมบูรณ์ให้กลับคืนสู่ลุ่มน้ำปากพนังดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา

โดยได้พระราชทานพระราชดำริครั้งแรก เมื่อ วันที่ 13 กันยายน 2521 ณ ที่ประทับแรมโรงปูนซีเมนต์ทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้ทรงใส่พระราชหฤทัยในการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชดำริแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังมาแล้ว จำนวน 13 ครั้ง สามารถสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

หนึ่ง ให้ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อแก้ไขปัญหาด้านปริมาณและคุณภาพน้ำ โดยก่อสร้างประตูอุทกวิภาชประสิทธิ เป็นจุดเริ่มต้น จากนั้นให้ก่อสร้างประตูระบายน้ำ และระบบส่งน้ำ ระบบระบายน้ำ และระบบกักเก็บน้ำอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์ตามศักยภาพของพื้นที่ และแบ่งเขตที่ดินที่ต้องการใช้คุณภาพน้ำแตกต่างกัน (แยกน้ำจืด-น้ำเค็ม)

สอง ให้รักษาฟื้นฟูพัฒนาสิ่งแวดล้อม และพัฒนาอาชีพส่งเสริมรายได้ให้แก่ราษฎรในพื้นที่ควบคู่กันไปอย่างครบวงจร

สาม เพื่อความอยู่ดีกินดีของราษฎรในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน บนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สมดุล

จากพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากแก่ประชาชนในพื้นที่ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้ร่วมกันดำเนินการแก้ไข และบรรเทาปัญหาของพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ภายใต้ “โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ”

“โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ได้เริ่มต้นตั้งแต่ ปี 2538 เป็นต้นมา จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ด้วยพระเมตตาที่ทรงมีต่อปวงพสกนิกร ในวันนี้ทุกข์เข็ญที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เจือจางหายไปสิ้น ความอุดมสมบูรณ์ได้กลับคืนมาสู่แม่น้ำปากพนังอีกครั้ง ทุกผู้ทุกนามในพื้นที่แห่งนี้สามารถสร้างชีวิตและฐานะที่ดีขึ้นกันถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามประตูระบายน้ำปากพนังว่า “อุทกวิภาชประสิทธิ” เมื่อ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2542

“อุทกวิภาชประสิทธิ” เป็นนามพระราชทานที่เป็นมงคลยิ่ง มีความหมายถึง ความสามารถแบ่งแยกน้ำจืด น้ำเค็ม ได้สำเร็จ

นั่นคือ มีการบริหารจัดการอย่างสมดุล ปิดกั้นน้ำเค็มไม่ให้รุกเข้าไปในลำน้ำ กักเก็บน้ำจืดไว้ใช้ดำรงชีพ ซึ่งจะเป็นบทเริ่มต้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน และเอื้ออำนวยให้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มน้ำปากพนังเป็นไปอย่างยั่งยืน

“ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ” อันเป็นปฐมบทของโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เริ่มทำหน้าที่ไปแล้ว ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2542 มีความสามารถเก็บกักน้ำจืดเหนือประตูระบายน้ำ ได้ 72 ล้านลูกบาศก์เมตร มี 10 ช่องบานระบาย และมีประสิทธิภาพในการระบายน้ำ ในอัตรา 1,246 ลูกบาศก์เมตร ต่อวินาที

โดยมีการบริหารจัดการอย่างผสมผสาน ทั้งหลักวิชาการ และเทคโนโลยีการจัดการน้ำของกรมชลประทาน ผนวกกับการมีส่วนร่วมขององค์กรท้องถิ่น ในรูปของคณะกรรมการ เปิด-ปิด ประตูระบายน้ำ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่คนและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอย่างสมบูรณ์

เป็นเวลาเกือบ 20 ปีแล้ว ที่คนไทยรู้จัก “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” พระราชทานเป็นแนวทางในการนำพาประเทศไทยให้ข้ามพ้นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2540 หรือ “วิกฤตต้มยำกุ้ง” จนหลายภาคส่วนน้อมนำหลักปรัชญานี้ไปเป็นแนวทางปฏิบัติ

จวบจนวันนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในภาคเกษตรกรรม ธุรกิจ การจัดการทางเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และสถานศึกษา จนประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิมั่นพัฒนา ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2557 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนในประเทศไทยในมิติต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ได้นำหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ในวงกว้าง

นายจิรายุเล่าถึงที่มาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงครั้งแรกเมื่อปี 2517 คนไทยให้ความสนใจมาก คือ เมื่อปี 2540 เพราะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ก่อนเกิดต้มยำกุ้ง พระองค์เคยรับสั่งว่าเราอย่าเป็นเสือกันเลย ไปพัฒนาเศรษฐกิจให้ทุกคนยกระดับขึ้นมา กระทั่ง 2540 เศรษฐกิจล่มสลาย พระองค์รับสั่งแนะนำว่า อย่าไปทำแบบไม่ยั่งยืน มาสร้างพื้นฐานให้คนทั่วๆ ไปได้มีความอยู่ดีกินดีตามอัตภาพเสียก่อน แล้วค่อยไปสร้างบนพื้นฐานที่มั่นคง ประเทศจะเจริญเติบโต ไม่ล้มครืนลงมาระหว่างที่ฐานไม่ดี”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเปรียบเทียบ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เหมือน “เสาเข็ม”

“พระองค์รับสั่งว่า บ้านเรือน ถ้าจะให้มั่นคงต้องมีเสาเข็ม แต่เสาเข็มอยู่ใต้ดิน เพราะฉะนั้นไม่มีใครเห็น จะลืมเกี่ยวกับบทบาทของเสาเข็ม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็เหมือนเสาเข็ม ที่เป็นรากฐานแห่งความมั่นคง แต่มองไม่เห็น ถ้าพื้นฐานคนไม่มีความอยู่ดีกินดีตามอัตภาพแล้ว ไปสร้างอะไรที่ใหญ่โตบนสิ่งที่ไม่มีพื้นฐานที่มั่นคง จะล้มลงมาง่าย” นายจิรายุกล่าว และว่า หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมี 3 ข้อคือ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บวก 2 เงื่อนไข คือ ความรู้คู่คุณธรรม

“สิ่งที่จะมาลดความเสี่ยง ทำให้รากฐานมั่นคง ไม่ล้มลงง่าย คือ การมีความคิดแบบพอเพียง ไม่โลภ และมีความรู้คู่คุณธรรม ความรู้แบ่งได้เป็น 3 อย่างคือ 1.ความรู้ของชาวบ้าน หรือปราชญ์ชาวบ้าน 2.ความรู้จากศาสตร์พระราชา ตามโครงการพระราชดำริต่างๆ หรือตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3.ความรู้ใหม่ๆ ซึ่งเราไม่ปฏิเสธที่จะใฝ่รู้ และอีกสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ผู้นำที่มีคุณธรรม ถ้ามีครบทั้งหมดนี้จะประสบความสำเร็จในการพัฒนาที่ยั่งยืน” นายจิรายุย้ำ

ไม่เพียงเท่านั้น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังได้รับการ “ยอมรับ” จากนานาชาติอย่างกว้างขวาง โดยเมื่อปี 2549 “สหประชาชาติ” หรือ ยูเอ็น โดย นายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม โดยกล่าวในโอกาสทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลว่า

“หากการพัฒนาคนหมายถึงการให้ความสำคัญประชาชนเป็นลำดับแรก ไม่มีสิ่งอื่นใดแล้วที่ยิ่งใหญ่ไปกว่าการพัฒนาคน ภายใต้แนวทางการพัฒนาคนขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงอุทิศพระวรกาย ทรงงานโดยไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย ไม่เลือกเชื้อชาติ วรรณะ และศาสนา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา ด้วยพระปรีชาสามารถในการเป็นนักคิดของพระองค์ ทำให้นานาประเทศตื่นตัวภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การเดินสายกลาง รางวัลความสำเร็จสูงสุดครั้งนี้ เป็นการจุดประกายแนวคิดการพัฒนาแบบใหม่สู่นานาประเทศ”

จึงเป็นที่มาของหนังสือ “แนวคิดของความพอเพียง : ของขวัญจากประเทศไทยแด่โลกที่ไม่ยั่งยืน” (Sufficiency Thinking : Thailand”s gift to an unsustainable world) ภาคภาษาอังกฤษ ได้โปรเฟสเซอร์ระดับโลกอย่าง

ศ.ดร.แกลย์ ซี เอเวอรี ผู้บุกเบิกในแวดวงวิชาการด้านภาวะผู้นำแบบพอเพียง เป็นที่ยอมรับทั้งในเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และออสเตรเลีย เป็นบรรณาธิการ

เนื้อหาในหนังสือ ศ.ดร.เอเวอรีได้เกริ่นไว้อย่างน่าสนใจว่า “Thailand : An unexpected role model” หมายถึง “ประเทศไทย : แบบอย่างที่เหนือความคาดหมาย”

ณ วันนี้ นายจิรายุบอกว่า ความรู้จักกับคำว่า “พอเพียง” ของคนไทยยังอยู่ในระดับสมอง แต่ยังไม่เข้า “สายเลือด” หรือ “ดีเอ็นเอ” “เพราะถ้าเข้าดีเอ็นเอ จะต้องปฏิเสธการซื้อหรืออะไรที่ฟุ่มเฟือยเกินไป เวลาเกิดความโลภขึ้นมา ต้องสกัดได้ โดยไม่จำเป็นต้องเอาสมองไปตัด แต่ผมเชื่อว่า ต่อไปจะเป็นไปได้ หลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงจะเข้าไปอยู่ในดีเอ็นเอของคนไทย หัวใจของเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากไม่โลภ ต้องมีความรู้คู่คุณธรรม มีผู้นำที่ดีเป็นโรลโมเดล และเอา 3 หลักไปใช้คือ พอประมาณ ไม่สุดโต่ง มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี” นายจิรายุกล่าว

ซึ่ง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ทรงเป็น “แบบอย่างที่ดี” ในเรื่องนี้

“พระองค์ทรงเป็นแรงบันดาลใจ พระจริยวัตรต่างๆ ที่พวกเรารู้อยู่แล้ว อย่างเรื่อง ยาสีฟัน รองพระบาท พระองค์ทรงเป็นอย่างนั้นจริงๆ ทรงเป็นปราชญ์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนัก ทรงสนพระทัยทุกเรื่องที่เป็นเรื่องของประชาชน ดั่งพระปฐมบรมราชโองการที่ทรงปฏิบัติมาตลอด 70 ปีแห่งการครองสิริราชสมบัติว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” นายจิรายุกล่าว

“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “แนวคิดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้คนไทย และได้รับการแซ่ซ้อง” เป็นปรัชญาที่เป็น “ของขวัญ” แก่ “โลก” ย้อนไปก่อนปี 2552 พื้นที่ 4,000 ไร่ ซึ่งอยู่ในเขต หมู่ที่ 10 บ้านควนโถ๊ะ ตำบลแหลม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช คือเป็นที่นารกร้าง มีพืช เช่น เสม็ด กระจูด และกก ขึ้นหนาแน่น ด้วยมีสาเหตุมาจากปัญหาดินแน่นทึบและเป็นดินเปรี้ยวจัด จนไม่สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินทำการเกษตรได้ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนในการทำมาหากินมาอย่างยาวนาน

ทั้งนี้ เพราะการทำเกษตรโดยเฉพาะการปลูกพืชในดินเปรี้ยวจัด จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการดินเปรี้ยวจัด แต่เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังส่วนใหญ่ขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการดินเปรี้ยวจัด ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้จากการปลูกพืชในดินเปรี้ยวจัดให้ผลผลิตที่ต่ำ

จากสภาพปัญหาดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริให้นำผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัด ด้วยทฤษฎีแกล้งดิน ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส มาขยายผลและปรับใช้ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง

ทั้งนี้ ในการคัดเลือกพื้นที่ดำเนินงาน สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ได้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยหน่วยงานต่างๆ อาทิ กรมพัฒนาที่ดิน กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมกันพิจารณาคัดเลือกพื้นที่การดำเนินงาน ในปี 2552

โดยหลักเกณฑ์พิจารณาดูจากลักษณะดิน ระบบชลประทาน ระบบการปลูกพืช ความร่วมมือของเกษตรกร และได้คัดเลือกพื้นที่ หมู่ที่ 10 บ้านควนโถ๊ะ ตำบลแหลม อำเภอหัวไทร เป็นพื้นที่ดำเนินการ

ในวันนี้ พื้นที่ 4,000 ไร่ ได้เปลี่ยนไปจากที่ทำนาปลูกข้าวไม่ได้ผล กลายเป็นผืนนาที่ต้นข้าวสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ที่สำคัญอีกประการ พื้นที่แห่งนี้ได้กลายเป็นสถานที่เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว ภายใต้ “โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปรับปรุงดินเปรี้ยวตามทฤษฎีแกล้งดิน”

ทั้งนี้ ปัญหาดินเปรี้ยว นับเป็นหนึ่งปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่บางส่วนของจังหวัดพัทลุงและสงขลา ครอบคลุมพื้นที่ ประมาณ 1,990,337 ไร่ และมีพื้นที่ที่มีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัดถึง 202,731 ไร่ ซึ่งปลูกพืชไม่เจริญงอกงาม ผลผลิตที่ได้ต่ำ เกษตรกรจึงปล่อยพื้นที่นารกร้างและหันไปทำการเลี้ยงสัตว์หรือออกไปรับจ้างต่างถิ่นแทน

แนวดำเนินการในพื้นที่

สำหรับพื้นที่ หมู่ที่ 10 บ้านควนโถ๊ะ สภาพดินนั้นอยู่ในชุดดินมูโนะ อันเป็นดินชุดเดียวกับพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นดินเหนียวละเอียดลึกมาก เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งมีสีดำหรือมีสีน้ำตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นดินกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0)

ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง มีจุดประสีเหลือง น้ำตาล และมีจุดประสีเหลืองฟางข้าวของจาโรไซด์ ปฏิกิริยาดินเป็นดินกรดรุนแรงมากถึงกรดรุนแรงมากที่สุด (pH 3.5-4.0) และดินล่างถัดไป ช่วงความลึก 50-100 เซนติเมตร เป็นดินเลนสีเทา มีสารประกอบกำมะถันมาก ปฏิกิริยาดินเป็นดินกรดจัดถึงกรดจัดเล็กน้อย (pH 5.0-6.5) การระบายน้ำเลว การไหลบ่าของน้ำบนผิวดินช้า การซึมผ่านของน้ำปานกลาง

ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดินแน่นทึบและเป็นกรดจัดมาก เนื่องจากสารประกอบกำมะถัน มีธาตุอะลูมินั่ม เหล็ก และแมงกานีส ถูกละลายออกมามากจนเป็นพิษต่อพืช ธาตุฟอสฟอรัสถูกตรึงไว้ พืชดูดไปใช้ไม่ได้

ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปรับปรุงดินเปรี้ยว ตามทฤษฎีแกล้งดิน ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ประกอบด้วย

หนึ่ง เพื่อแก้ไขสภาพดินเปรี้ยว ให้สามารถปลูกพืชได้

สอง เพิ่มประสิทธิภาพของระบบชลประทานในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สาม เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการจัดการดินเปรี้ยวจัด

สี่ พัฒนาเทคโนโลยีการปลูกข้าว เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวต่อไร่

ห้า พัฒนาระบบกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อรองรับองค์ความรู้ด้านต่างๆ เช่น พืช น้ำ ดิน และการตลาด

หก เป็นแปลงสาธิตขนาดใหญ่ ที่มีทั้งข้อมูลด้านพืช ดิน น้ำ รวมทั้งข้อมูลด้านเศรษฐกิจเพื่อเผยแพร่แก่ผู้สนใจ

วิธีการดำเนินการนั้น ระยะแรกจัดระบบชลประทาน โดยก่อสร้างอาคารกักเก็บและระบายน้ำ ปรับปรุงแปลงนา พร้อมสร้างคันนาใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในนาข้าวได้

ในส่วนการปรับปรุงบำรุงดินเปรี้ยวนาข้าว ด้วยการใช้หินฝุ่นหรือหินปูนหว่าน ในอัตรา 1 ตัน ต่อไร่ แล้วไถกลบ รวมถึงปลูกปุ๋ยพืชสดเพื่อปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ เช่น ปอเทือง หรือ โสนแอฟริกัน ร่วมกับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อเพิ่มแร่ธาตุอาหารในดินให้แก่พืช

พร้อมกันนี้ ยังได้มีดำเนินงานพัฒนาการผลิต พัฒนามูลค่าผลผลิต การแปรรูป และพัฒนาอาชีพเสริมรายได้ โดยมีกิจกรรม ทั้งการจัดทำแปลงนาสาธิตการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวดี เช่น พันธุ์เฉี้ยงพัทลุง สังข์หยด เป็นต้น พร้อมปัจจัยการผลิต จัดตั้งศูนย์พัฒนาชุมชนโรงสีข้าวชุมชน พร้อมลานตากเมล็ดพันธุ์ และเครื่องสีข้าวรณรงค์การปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยว พัฒนาพืชอาหารสัตว์ให้ความรู้การจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และการบริหารจัดการกลุ่มสหกรณ์

รวมถึงการส่งเสริมอาชีพเสริม โดยรวมกลุ่มเลี้ยงปลากินพืชในกระชัง และในบ่อเพื่อแปรรูปทำปลาร้า และปลาแดดเดียว, กลุ่มทำข้าวซ้อมมือ และกลุ่มผลิตภัณฑ์กระจูด ทุกอย่างเปลี่ยนไป เพราะในหลวง ชีวิตจึงดีขึ้น

นับตั้งแต่มีการดำเนินโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปรับปรุงดินเปรี้ยว ตามทฤษฎีแกล้งดิน ตามพระราชดำริ สิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ หมู่ที่ 10 บ้านควนโถ๊ะ ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดเจน

“ตอนนี้ผลผลิตข้าวจากนาของชาวบ้านในโครงการมีผลผลิตเพิ่มขึ้นมาก เดิมเคยปลูกข้าวแล้วก็ไม่แตกกอ แต่ตอนนี้แตกกอเติบโตดีมาก ปริมาณผลผลิตข้าวจากการปลูกข้าวสายพันธุ์ต่างๆ ที่ได้เข้ามาส่งเสริมให้ชาวนาปลูก ไม่ว่า พันธุ์เฉี้ยงพัทลุง พันธุ์สังข์หยด พันธุ์ชัยนาท โดยเดิมนั้นจะได้ข้าวเพียง 20-25 ถัง ต่อไร่ แต่เมื่อดำเนินการปรับปรุงดินเปรี้ยวแล้ว ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 50-60 ถัง ต่อไร่ และในพื้นที่ใกล้น้ำยังสามารถทำนาปรังได้อีกด้วย” คุณอภิวัฒน์ บุญชูช่วย พนักงานทดสอบดิน สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าว

คุณอภิวัฒน์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีเกษตรกรจากพื้นที่อื่นๆ ได้เดินทางมาศึกษาดูงานอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยผู้มาศึกษาดูงานจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงดินเปรี้ยว ตามทฤษฎีแกล้งดิน เช่น การใช้หินฝุ่น การปลูกปุ๋ยพืชสดในนาข้าว เป็นต้น

นอกจากนี้ จากผลที่เกิดขึ้นนี้ ไม่เพียงแต่ทำให้ชาวบ้านสามารถกลับมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้อีกเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้นอีกด้วย โดย กำนันข้น มีจันทร์แก้ว กำนันตำบลแหลม กล่าวว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริให้นำโครงการแกล้งดินมาใช้ในพื้นที่แห่งนี้ ปรากฏว่าทุกอย่างดีขึ้นมาก อย่างวิถีชีวิต แต่ก่อนชาวบ้านจะออกไปทำงานรับจ้างนอกพื้นที่ ตอนนี้ปรากฏว่าทุกคนได้กลับมาอยู่บ้าน ไม่ต้องมีการอพยพโยกย้ายไปทำงานนอกพื้นที่ “จำนวนครัวเรือนในหมู่บ้านควนโถ๊ะ แต่ก่อนนี้มีกันอยู่ไม่กี่ครัวเรือน แต่ตอนนี้อยู่กันมากถึง 126 ครัวเรือน สภาพปัจจุบันผิดกับแต่ก่อนเยอะมาก ทำนาก็ได้ข้าวต่อไร่เพิ่มขึ้น อีกทั้งฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้นกว่าอดีตอย่างมากมาย” กำนันข้น กล่าวในที่สุด

ใครจะเชื่อว่าแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่มีทัศนียภาพงดงาม รายล้อมไปด้วยพืชพรรณนานาชนิดที่สามารถหล่อเลี้ยงความชุ่มชื้นให้เกิดเป็นทุ่งนาเขียวขจีสุดลูกหูลูกตา และสร้างความสุขให้กับคนนับร้อยในชุมชน ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน วันนี้ ครั้งหนึ่งจะเคยเป็นเหมืองถ่านหินมาก่อน

“ตั้งแต่ก่อนลงมือทำงาน เราก็วางแผนและออกแบบกันว่าในทุกกระบวนการดำเนินงานจนวันสุดท้าย เราจะบริหารจัดการพื้นที่นี้อย่างไรให้เกิดประโยชน์กับชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมมากที่สุด”

คุณชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-ปฏิบัติการ เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง กล่าวด้วยความภาคภูมิใจในพิธีส่งมอบ “โครงการพัฒนาเหมืองต้นแบบ โดยเอสซีจี เพื่อวิถีชุมชน” แห่งแรกในประเทศไทย ที่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน บนเนื้อที่กว่า 250 ไร่ เพื่อให้ชุมชนใช้เป็นแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตรและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน พร้อมทั้งยังตั้งเป้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต

คุณชนะ เล่าย้อนไปถึงที่มาของแนวคิดในการปิดเหมืองอย่างยั่งยืนที่เกิดขึ้น ณ เหมืองลี้ จังหวัดลำพูน ในวันนี้ ว่าเป็นการดำเนินงานภายใต้อุดมการณ์ 4 ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติของทุกธุรกิจในเครือเอสซีจี ได้แก่ ตั้งมั่นในความเป็นธรรม มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน และถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเริ่มต้นจากกลุ่มวิศวกรของเอสซีจีที่ลงพื้นที่พูดคุยกับชุมชน ทำให้พบว่าชุมชนมีความต้องการใช้น้ำเพื่อทำการเกษตร เนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้งมายาวนาน จึงได้น้อมรับเสียงสะท้อนในด้านต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนากระบวนการผลิตจนถึงกระบวนการปิดเหมือง ที่นอกจากจะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานอุตสาหกรรมแล้ว ยังต้องเป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมด้วย

“แนวคิดของอุดมการณ์ 4 เหล่านี้มันฝังอยู่ในตัวพวกเราชาวเอสซีจี จากที่ได้เห็นรุ่นพี่ในองค์กร คิด ปฏิบัติ และตัดสินใจในเรื่องต่างๆ โดยยึดความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นตัวตั้ง ทุกธุรกิจอุตสาหกรรมที่เราไปดำเนินงาน เราจะเน้นการฟื้นฟูและดูแลพื้นที่ไปพร้อมๆ กันเสมอ เช่นเดียวกับเหมืองลี้แห่งนี้ ที่เราได้วางแผนการฟื้นฟูเหมืองไว้ตั้งแต่ก่อนจะเปิดเหมืองวันแรกในปี พ.ศ. 2539 เพื่อให้การฟื้นฟูเกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง” คุณชนะ กล่าว

ปี พ.ศ. 2545 เมื่อการผลิตเหมืองถ่านหินแห่งนี้เสร็จสิ้น จึงได้พัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับชุมชน และปรับปรุงทัศนียภาพของพื้นที่รอบเหมืองให้มีความงดงาม โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทั้งชุมชน รวมไปถึงภาครัฐอย่างกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้ผลักดันนโยบายเหมืองแร่สีเขียวให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อเป็นการพัฒนาทรัพยากรแร่ของชาติให้เกิดสมดุลอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับการดำเนินงานของเอสซีจีในพื้นที่เหมืองลี้แห่งนี้

“เป้าหมายของภาครัฐคือ เราต้องการตอบโจทย์ให้ได้ว่าจะทำอย่างไรให้เหมืองและชุมชนอยู่ด้วยกันได้ ชาวบ้านมักจะถามว่ามีเหมืองมาแล้วพวกเขาจะได้อะไร เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือผู้ประกอบการธุรกิจจะต้องได้รับการยอมรับจากชุมชน” คุณชาติ หงส์เทียมจันทร์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานการเหมืองแร่ กล่าว

เริ่มต้นจากการดำเนินธุรกิจเหมืองแร่ตามหลักมาตรฐานความปลอดภัยของชุมชนและสิ่งแวดล้อม และเมื่อถึงวันสุดท้ายของการประกอบการ เหมือนแห่งนี้ก็ถูกวางแผนให้ส่งต่อพื้นที่ที่มีคุณภาพกลับคืนสู่ชุมชน

“แต่จะต้องเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัย Royal Online V2 เป็นที่ที่ชุมชนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ นี่คือเป้าหมายที่ภาครัฐวางไว้ ซึ่งก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะทำได้ วันนี้เราดีใจที่เอสซีจีทำได้สำเร็จ สามารถเป็นโครงการต้นแบบสำหรับกิจการเหมืองแร่อื่นๆ ทั่วประเทศได้เป็นอย่างดี” อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานการเหมืองแร่ กล่าว

ในฝั่งของชุมชน ความต้องการแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตรเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ปัญหาภัยแล้งถือเป็นปัญหาที่น่าวิตกกังวลมากที่สุด

“พวกเราคิดกันว่าอยากได้แหล่งน้ำดิบ อย่างน้อยในพื้นที่บริเวณนี้ก็จะช่วยครอบครัวเกษตรกรได้มากกว่า 37 ครัวเรือน หรือกว่าร้อยคน และในอนาคตก็อาจจะพัฒนาต่อไปเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำได้ด้วย” คุณนิรันดร์ ด่านไพบูลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน กล่าว