ตรังดัน “ข้าวเบายอดม่วง” สู่พืช GI หอม นุ่ม โภชนาการสูง

ข้าว สิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน ทั้งเป็นอาหารหลักประจำวันและพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของคนไทย ซึ่งสายพันธุ์ของข้าวที่เพาะปลูกอาจแตกต่างกันไปตามพื้นที่ เช่นเดียวกับข้าวเบายอดม่วง เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ในอดีตมีการเพาะปลูกอย่างแพร่หลายในพื้นที่จังหวัดตรัง โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลวังคีรี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง แต่เนื่องจากในช่วงหลังมีการส่งเสริมให้ปลูกข้าวสายพันธุ์เศรษฐกิจชนิดอื่นในพื้นที่ จึงทำให้มีการปลูกข้าวเบายอดม่วงลดลงตามไปด้วย

คุณกมลศรี พลบุญ Young Smart Farmer และประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชาวนาตำบลวังคีรี อำเภอห้วยยอด อยู่บ้านเลขที่ 11 หมู่ที่ 2 ตำบลวังคีรี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ได้เล่าให้ฟังว่า ตนเองเป็นคนพื้นเพดั้งเดิมอยู่ที่ตำบลวังคีรี แต่ไปทำงานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร จนเมื่อประมาณปี 2550 ได้กลับมายังบ้านเกิด และเริ่มทำนาอย่างจริงจัง เนื่องจากในตำบลวังคีรีมีพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวกันมาตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย และพบว่าข้าวที่ปลูกกันส่วนใหญ่จะเป็นสายพันธุ์เศรษฐกิจที่มีการสนับสนุนให้ปลูก ซึ่งบางสายพันธุ์ให้ผลผลิตได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากสภาพพื้นที่ไม่เหมาะแก่การปลูก จนมีอยู่วันหนึ่งตนเองได้มีโอกาสรับประทานข้าวชนิดหนึ่งซึ่งเป็นข้าวที่หอม นุ่ม แม้วางทิ้งไว้จนเย็นก็ไม่แข็ง ได้สอบถามทราบว่า เป็นข้าวพันธุ์เบายอดม่วง ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีการปลูกในพื้นที่มาแต่ดั้งเดิม ตนเองจึงได้ขอแบ่งเมล็ดพันธุ์มาทดลองปลูก จำนวน 5 กิโลกรัม

จากนั้นได้เก็บเมล็ดพันธุ์พร้อมกับนำไปแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชาวนาวังคีรี นำไปปลูกตั้งแต่ปี 2551 จนกระทั่งปัจจุบัน มีเกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวสายพันธุ์เบายอดม่วง จำนวน 15 ราย พื้นที่เพาะปลูกข้าวเบายอดม่วงในตำบลวังคีรี ประมาณ 80 ไร่ และได้มีการแบ่งปันให้ชาวนาในพื้นที่จังหวัดตรังอย่างแพร่หลาย

ลักษณะประจำพันธุ์
ข้าวเบายอดม่วง เป็นข้าวพันธุ์เบา นาปี ระยะเวลาการปลูกประมาณ 4 เดือนครึ่ง ถึง 5 เดือน เป็นข้าวประจำถิ่นจังหวัดตรัง มีถิ่นกำเนิดที่ตำบลวังคีรี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปลูกมากในพื้นที่ตำบลวังคีรี อำเภอห้วยยอด และพื้นที่ใกล้เคียง ต้นสูงประมาณ 1.50 เมตร ให้ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 400 กิโลกรัม มีลักษณะเด่นที่เปลือกเมล็ดข้าวเมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีม่วงเหมือนสียอดมะม่วงเบา เมล็ดข้าวสารมีทั้งสีขาวขุ่นคล้ายข้าวเหนียว และสีแดงคล้ายข้าวสังข์หยด เมื่อสีเป็นข้าวสารแล้ว เมล็ดข้าวสารจะมีสีขาวขุ่น เมล็ดเล็ก ยาวรี รสชาติดี นุ่ม และหอม

ในปัจจุบันได้มีการคัดเลือกและพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวเบายอดม่วง ซึ่งเป็นข้าวเจ้าพันธุ์พื้นเมืองให้เป็นข้าวพันธุ์บริสุทธิ์ เพื่อผลักดันและส่งเสริมให้ได้รับ GI (Geographical Indication) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ประจำจังหวัดตรังในอนาคต โดยได้ดำเนินการยื่นขึ้นทะเบียนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 และอยู่ในระหว่างการประเมินและตรวจสอบเพื่อขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ชุมชนในพื้นที่ต่อไป

จากการวิจัยของคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องคุณค่าทางโภชนาการของข้าวกล้องพื้นเมืองตรัง โดยใช้ข้าวกล้องพื้นเมืองในจังหวัดตรัง 7 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวเบายอดม่วง ข้าวลูกปลา ข้าวช่อมุด ข้าวงวงช้าง ข้าวหอยสังข์ ขาวนางขวิด และข้าวนางเอก พบว่า ข้าวกล้องพันธุ์เบายอดม่วง มีปริมาณฟีนอลิก ทั้งหมด 2.45 mg Ferulic Acid/g DW และค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ร้อยละ 66.67 ซึ่งมีปริมาณสูงสุดในข้าวทั้ง 7 ชนิด ที่นำมาทำการวิจัย ทำให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภคในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง เนื่องจากสารประกอบฟีนอลิกเป็นสารที่ีมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการกระจายของเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อ และการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ซึ่งเหมาะสำหรับการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ

กลุ่มชาวนาในตำบลวังคีรี จึงได้รวมตัวกันขอจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนชาวนาตำบลวังคีรี กับสำนักงานเกษตรอำเภอห้วยยอด เพื่อรวบรวมผลิตภัณฑ์จากสมาชิกจำหน่ายในนามกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชาวนาวังคีรี ผลิตภัณฑ์หลักในปัจจุบันคือการสีข้าวจำหน่ายในรูปแบบข้าวสาร ในราคากิโลกรัมละ 60 บาท ให้แก่ผู้ที่สนใจ

ซึ่งในแต่ละปีปริมาณข้าวที่สามารถผลิตเพื่อจำหน่ายได้อยู่ที่ประมาณ 19,000 กิโลกรัม จึงยังไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค เนื่องจากกำลังการผลิตที่มีจำกัด และทางกลุ่มได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวเบายอดม่วง เช่น โจ๊กข้าวเบายอดม่วง และซีเรียลบาร์ ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงสูตรให้ได้ปริมาณสารอาหารที่เหมาะสม

และทางกลุ่มชาวนาในพื้นที่ได้ร่วมกันสร้างโรงเรียนชาวนาเพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน เกี่ยวกับข้าวและการทำนา ให้แก่เยาวชนและผู้ที่สนใจ เพื่อเป็นการสืบทอดการทำนาให้คงอยู่กับคนรุ่นหลังต่อไป

เมื่อนานมาแล้วทางนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านได้มีการลงบทความของ คุณไพบูลย์ ไกรทอง หรือ พี่ต่อ อยู่บ้านเลขที่ 112 หมู่ที่ 12 ตำบลนาป่า อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ไปแล้ว ในเรื่องของการปลูกกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องสร้างรายได้ แต่ในครั้งนี้ทางทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้านได้มีการโทร.อัพเดทข้อมูลการต่อยอดสร้างรายได้จากการปลูกกล้วยเพิ่มเติม จึงทำให้ได้รู้ว่าในปัจจุบันนี้นอกจากที่สวนจะมีรายได้จากการขายกล้วยน้ำว้าแล้ว ยังมีการเพิ่มช่องทางสร้างรายได้จากหัวปลีหรือปลีกล้วย อีกด้วย ส่วนการสร้างรายได้จากปลีกล้วยนั้นจะเป็นไปในแนวทางไหนเชิญมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน

พี่ต่อเล่าถึงการสร้างรายได้จากปลีกล้วยว่า ปัจจุบันที่สวนของตนเองเน้นการปลูกกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องเป็นหลัก บนพื้นที่กว่า 60 ไร่ ปลูกมานานกว่า 13 ปี ซึ่งจุดเด่นของกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องคือ ลูกโต ผิวสวย เป็นที่ต้องการของตลาด เป็นพืชหลักสร้างรายได้ดีมาโดยตลอด แต่ด้วยลักษณะนิสัยส่วนตัวเป็นคนที่ไม่ชอบหยุดนิ่ง พยายามจะหาอะไรทำเสริมอยู่เสมอ จนได้มองไปเห็นปลีกล้วยของที่สวนที่มีจำนวนเยอะจะทิ้งก็เสียได้ จึงเกิดเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อยอดจากปลีกล้วยเพิ่ม

จากการเริ่มต้นเดินเข้าไปหาตลาดในชุมชนก่อนว่าร้านไหนสนใจรับปลีกล้วยของเราไปขาย แล้วค่อยขยายสู่ตลาดสดในตัวเมือง รวมถึงร้านขายกล้วยทอด ขายทอดมัน และอื่นๆ ที่พอจะเป็นลูกค้าได้ จนกระทั่งเกิดการบอกปากต่อปาก ทำให้ปลีกล้วยของที่สวนขายได้ดีมากขึ้น แต่ยังไงก็ตามด้วยจำนวนกล้วยที่ปลูกมากถึง 60 ไร่ การขายในตลาดแค่นี้คงยังไม่เพียงพอ ตนเองจึงได้ต่อยอดจากปลีกล้วยที่มีอยู่ด้วยการถ่ายรูปลงในช่องทางโซเชียลของตัวเอง เพื่อบอกเล่าถึงความพิถีพิถันใส่ใจในการปลูกและดูแลกล้วยและปลีกล้วยในแต่ละต้น จนมีคนสนใจและติดต่อเข้ามาขอรับซื้อปลีกล้วยเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่ง 1 ในนั้นจะมีโรงงานที่ต้องการนำปลีกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องไปทดลองบดเป็นผงเพื่อนำไปทำเป็นยารักษาโรค แต่มีข้อแม้ว่าต้องเป็นปลีกล้วยที่เกิดมาจากการดูแลอย่างดี

โดยในทางยาแพทย์แผนไทยหรือยาพื้นบ้าน ถือว่าปลีกล้วยนอกจากเป็นอาหารบำรุงน้ำนมของสตรีให้นมลูกแล้ว ปลีกล้วยคือ ยาบำรุงเลือด แก้ภาวะโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเลือด และแก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ด้วย

น่าจะอธิบายได้ว่า จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่า ปลีกล้วยมีธาตุเหล็กอยู่จำนวนมากพอสมควร จึงมีส่วนในการบำรุงเลือด แก้ภาวะโลหิตจาง และมีสูตรยาโบราณขนานหนึ่ง กล่าวว่า ปลีกล้วยแก้ปัญหาปวดท้องโรคกระเพาะและปัญหาลำไส้ โดยให้นำปลีกล้วยมาเผาแล้วคั้นเอาแต่น้ำมากินครั้งละประมาณ 1/2 แก้ว ควรกินก่อนกินอาหารแต่ละมื้อสัก 1 ชั่วโมง ปลีกล้วยจะเป็นยาคล้ายๆ จะช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร

“ปลีกล้วย” ผลพลอยได้
ที่ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม
เจ้าของบอกว่า สำหรับการริเริ่มหาตลาดขายปลีกล้วยเป็นอะไรที่ไม่ต้องลงทุน เปรียบเป็นเหมือนผลพลอยได้จากการที่ดูแลกล้วยอยู่แล้ว ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายในการดูแลอะไรเพิ่มเติม เพียงแค่ต้องหันมาพิถีพิถันตกแต่งใบกล้วยไม่ให้ไปพัดโดนปลีกล้วยให้เกิดความเสียหายเพียงเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันที่สวนจะเลือกปลูกกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องเพียงอย่างเดียว และเป็นกล้วยที่ปลูกโดยไม่พึ่งสารเคมี ค่อนข้างที่จะเหมาะสำหรับลูกค้าที่นำไปประกอบอาหารและใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมการแพทย์

ลักษณะของปลีกล้วยที่ตลาดต้องการ หัวใหญ่ สีสวย มีน้ำหนักต่อหัวประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม หรือถ้าอยู่ในช่วงฤดูฝนน้ำหนักของปลีกล้วยก็จะเพิ่มขึ้นมา แล้วแต่ความอุดมสมบูรณ์ในแต่ละพื้นที่

ราคาขาย ณ ปัจจุบันที่สวนขายในราคาส่งกิโลกรัมละ 10 บาท เพื่อให้พ่อค้าคนกลางสามารถนำไปขายมีกำไรต่อได้ และอีกส่วนเป็นตลาดส่งขายให้โรงงานสำหรับการนำไปต่อยอดผลิตเป็นยา ในส่วนนี้ทางโรงงานจะมีการติดต่อขอรับซื้อในครั้งแรกที่ขายให้กับโรงงานในจำนวน 150 กิโลกรัม และในครั้งต่อมามีการสั่งเพิ่มเป็น 250 กิโลกรัม ซึ่งในอนาคตอาจมีการทำสัญญาซื้อขายให้ส่งเป็นประจำทุกเดือน แต่ทางสวนก็ยังคงต้องศึกษาตลาดด้านการขายปลีกล้วยต่อไป เพราะในช่วงที่ผ่านมามีลูกค้าติดต่อเข้ามาซื้อปลีกล้วยอยู่หลายเจ้า แต่ยังไม่คอนเฟิร์มในเรื่องของออร์เดอร์ มีเพียงเจ้าเดียวอยู่ที่อำเภอลำลูกกาเป็นลูกค้าเจ้าแรกในขณะนี้ โดยการส่งปลีกล้วยในแต่ละครั้ง ทางโรงงานจะเป็นคนออกค่าขนส่งให้ด้วย ซึ่งหากถามถึงความสำเร็จหรือรายได้ที่เข้ามาเป็นกอบเป็นกำหรือไม่ ก็ตอบเลยว่ายังไม่ถึงขนาดนั้น แต่หากมองในแง่ของการต่อยอดเพิ่มรายได้จากของที่เหลือภายในสวน แล้วเรามาทำให้เกิดเป็นรายได้ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จมาอีกขั้นหนึ่งแล้ว

แนะนำการตลาด
“อยากแนะนำตลาดสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกกล้วย ให้ลองหันมาสร้างรายได้จากตรงนี้ด้วย หากยังไม่รู้จะไปเริ่มหาตลาดจากที่ไหน ก็เริ่มหาจากบ้านใกล้เรือนเคียง จากตลาดนัดในชุมชน แล้วค่อยขยายไปสู่ตลาดในตัวเมือง แต่สำหรับในยุคดิจิทัลแบบนี้สิ่งที่จะช่วยให้ตลาดการซื้อขายของเราไปได้ไกลและเร็วที่สุดคือช่องทางออนไลน์ ก็เป็นอีกสิ่งที่ไม่ต้องลงทุนเงินตรา ลงทุนเพียงความขยัน หมั่นถ่ายรูปสร้างเรื่องราวการทำสวน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่พบเห็นว่าที่สวนของเรามีการปลูกและขายจริง ก็ต้องมีสักวันแหละที่รูปที่เราลงไปเตะตาพ่อค้าเข้าสักวัน เหมือนอย่างที่สวนผม” พี่ต่อ กล่าวทิ้งท้าย

มะนาว เป็นพืชที่ปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิด แต่ถ้าต้องการให้เจริญเติบโตและคุณภาพดี ควรปลูกในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุผสมอยู่มาก และควรเลือกพื้นที่ปลูกใกล้แหล่งน้ำ

การรู้จักสภาพพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม กิ่งพันธุ์ การปลูก การดูแลรักษา จึงเป็นส่วนสำคัญในการปลูกมะนาวให้ได้ผลดี ส่วนใหญ่การปลูกมะนาว นิยมปลูกจากกิ่งตอน ดังนั้น กิ่งตอนก่อนที่จะนำมาปลูก ควรได้รับการชำเสียก่อน เพื่อให้กิ่งพันธุ์ตั้งตัวเจริญเติบโตแข็งแรงพร้อมที่จะนำไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้

กิ่งที่ได้จากการชำและพร้อมที่จะนำลงหลุม ควรนำมาตัดแต่งกิ่งออกเสียบ้าง ให้เหลือเพียงส่วนน้อย เพื่อลดการระเหยของน้ำ และจะทำให้การเจริญเติบโตดีขึ้น หากกิ่งพันธุ์ที่ได้มามีลักษณะไม่สมบูรณ์ ควรเลี้ยงไว้ระยะหนึ่งจนกว่าจะแข็งแรง ถ้ากิ่งพันธุ์มีโรคติดมา ควรตัดออกทิ้งไป เพื่อไม่ให้โรคระบาดเข้ามาในสวนได้ และควรเตรียมกิ่งพันธุ์สำรองไว้เผื่อต้นตาย จะได้ซ่อมทันที เพื่อให้ต้นมะนาวเติบโตทันกัน

อย่างไรก็ตาม การเลือกกิ่งพันธุ์ที่ดี ควรเลือกให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ เช่น ปลูกเพื่อการค้า ปลูกไว้รับประทานเองภายในครัวเรือน เช่น พันธุ์แป้นพิจิตร 1 ทนต่อโรคแคงเกอร์ ส่วนพันธุ์ตาฮิติ ผลใหญ่ น้ำมาก และไม่มีเมล็ด เป็นต้น

ทั้งนี้ หลังจากมีกิ่งพันธุ์แล้ว ควรเลือกกิ่งที่ปราศจากโรคแคงเกอร์ เพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อโรคแคงเกอร์ ซึ่งเป็นโรคที่รุนแรงต่อระบบการปลูกมะนาวมากที่สุด

การเลือกพื้นที่ปลูก มะนาวสามารถขึ้นได้ในพื้นที่เกือบทุกชนิด โดยจะปลูกในดินเหนียว ดินทราย ดินร่วนปนทราย หรือดินลูกรัง ก็ขึ้นได้ทั้งนั้น ปลูกได้ตั้งแต่ที่ดอนจนถึงที่ลุ่ม แต่ที่สำคัญต้องระบายน้ำดี เนื่องจากมะนาวไม่ชอบน้ำขัง การที่จะปลูกมะนาวให้เจริญงอกงามดี และให้ผลผลิตดีนั้น การปลูกในพื้นที่ที่มีดินร่วนซุย มีอินทรียวัตถุมาก ความเป็น กรด-ด่าง ประมาณ 5.5-6.0

เมื่อเลือกพื้นที่ได้แล้ว จำเป็นต้องเตรียมพื้นที่ให้โล่งเตียน เพื่อสะดวกในการเตรียมหลุมปลูก และการปรับสภาพโครงสร้าง และคุณสมบัติของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของมะนาว โดยทั่วไปพื้นที่ปลูกมะนาว มี 2 ลักษณะ คือ พื้นที่ดอนและพื้นที่ลุ่ม ซึ่งการเตรียมพื้นที่จะต่างกัน

การปลูกแบบที่ดอน
พื้นที่ดอน ได้แก่ พื้นที่ที่ใช้ปลูกพืชไร่ทั่วไป มีลักษณะเป็นเนินหรือที่ราบสูง ไม่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานๆ ส่วนใหญ่มักเป็นดินร่วน ดินทราย ดินร่วนปนทราย หรือดินลูกรัง ซึ่งมีการระบายน้ำดี หากมีน้ำเพียงพอ มักจะมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นประปราย การเตรียมพื้นที่ปลูกจำเป็นต้องรื้อถอนออกให้หมด เหลือไว้เฉพาะขอบแปลง เพื่อเป็นไม้กันลม ไถดินอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกไถดะให้ได้ดินก้อนโตและรอยไถที่ลึก ตากดินทิ้งไว้จนแห้ง จึงไถแปรย่อยดินให้ละเอียดยิ่งขึ้น

ในกรณีดินปลูกมีอินทรียวัตถุอยู่น้อย ควรปรับปรุงดินด้วยการทำปุ๋ยพืชสด โดยการปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วผี ถั่วลาย ให้ทั่ว เมื่อดอกบานไถกลบ ทำเช่นนี้หลายๆ ครั้ง จนเห็นว่าดินมีสภาพดีเพียงพอ นอกจากนี้ควรตรวจสภาพความเป็นกรดและด่างของดิน ที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 5.6-6.0 ถ้าดินเป็นกรด ใส่ปูนขาวในอัตราที่เหมาะสมเพื่อปรับสภาพดิน

ในที่ดินบางแห่ง อาจมีชั้นหินอยู่ตื้นๆ หรือบางแห่งอาจมีหินดินดานได้ เมื่อฝนตกน้ำจะซึมลงลึกไม่ได้ ซึ่งทำให้น้ำท่วมหน้าดินอย่างรวดเร็ว หรือไหลลงสู่ที่ต่ำหมด และเมื่อถึงฤดูแล้ง น้ำที่อยู่ในชั้นดินที่ลึกๆ จะซึมผ่านชั้นดินดานขึ้นมาชั้นบนได้ยาก ทำให้มะนาวเกิดการขาดน้ำได้อย่างรวดเร็ว และอาจทำให้ต้นมะนาวโค่นล้มได้ง่าย เพราะระบบรากตื้น สภาพดินดานมักเกิดจากการไถพรวนตื้นๆ เพื่อปลูกพืชไร่หรือพืชอายุสั้นติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ทำให้ดินที่อยู่ใต้ระดับรอยไถจับตัวกันเป็นชั้นดินแห้งหรือชั้นดินดาน ดังนั้น ควรมีการไถพรวนระเบิดหน้าดินด้วยไถสิ่ว เพื่อให้ชั้นดินดานแตกตัวเสียก่อน จะทำให้น้ำไหลซึมลงไปเก็บกักไว้ในดินชั้นล่างได้ และเมื่อถึงฤดูแล้ง น้ำจะกลับซึมขึ้นมาสู่ผิวดินเป็นประโยชน์

การปลูกแบบที่ลุ่ม
พื้นที่มักจะเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงในฤดูฝน ตามปกติจะมีระดับน้ำใต้ดินสูง ส่วนใหญ่มักเป็นที่นามาก่อน มักจะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ดินเหนียวจัดระบายน้ำยาก จึงต้องมีการยกระดับดินให้สูงกว่าพื้นที่ราบโดยทั่วไป โดยทำเป็นร่องปลูก จะทำให้รากต้นไม้ปลูกกระจายได้ลึก ระหว่างแปลงดินเป็นร่องน้ำ สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้และขณะเดียวกันเป็นช่องทางระบายน้ำ โดยมีคันดินรอบแปลงปลูกทั้งหมด เพื่อเป็นแนวป้องกันน้ำท่วมและรักษาระดับน้ำตามต้องการได้

การยกร่องเพื่อปลูกมะนาว
การไถปรับพื้นที่ นิยมทำกันในหน้าแล้ง ส่วนใหญ่ใช้รถแทรกเตอร์ ขนาด 3-5 ผาล ไถปรับพื้นที่ให้เรียบ ทำคันโอบล้อมพื้นที่ทั้งหมด อาจใช้รถตักดินขนาดใหญ่หรือจ้างคนแทงดินขึ้นเป็นคันโอบ ความกว้างของคันโอบหรือคันล้อม ประมาณ 6-8 เมตร ซึ่งสามารถนำรถยนต์เข้าไปบรรทุกผลผลิตได้
การไถแหวก นิยมใช้รถแทรกเตอร์ไถ เป็นแนวทางตามเชือกที่ขึงไว้หรือแนวโรยปูนขาว จากนั้นจึงขุดแทงร่องตามแนวที่ไถไว้

การแทงร่องหรือซอยร่อง นิยมใช้แรงงานคนมากกว่ารถตักดิน เพราะร่องที่ได้จะมีดินที่ฟูไม่ทึบแน่น ขนาดของแปลงดินหลังร่องนิยมทำกว้าง ประมาณ 6 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร และก้นร่องน้ำกว้างประมาณ 0.5-0.7 เมตร แล้วตากดินให้แห้ง 1-2 เดือน จนเม็ดดินแห้ง (เรียกกว่าดินสุก) จึงทำประตูระบายน้ำเข้าออก นิยมทำด้วยท่อคอนกรีต ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว (30.5 เซนติเมตร) ซึ่งยังขึ้นกับขนาดสวน แล้วจึงระบายน้ำเข้าท่วมแปลงให้ระดับน้ำสูงกว่าแปลงดิน ประมาณ 10-20 เซนติเมตร ทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้ดินยึดตัวดีขึ้น และเป็นการฆ่าเชื้อโรคและแมลงที่อยู่ในดินด้วย จากนั้นระบายน้ำออกจนดินเริ่มแห้ง (หมาด) ถ้าดินเป็นกรดให้โรยใส่ปูนขาวตามอัตราที่กำหนดตามความเป็นกรดด่างของดิน ปกติให้ใส่ปูนขาวก่อนปลูกต้นไม้ ประมาณ 1 เดือน แล้วจึงวัดระยะหลุมปลูก
วิธีปลูก
ระยะปลูกที่เหมาะสม สะดวกต่อการปฏิบัติจัดการสวน คือ ระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว เท่ากับ 5×5 หรือ 6×6 เมตร การเตรียมหลุมปลูกต้นมะนาว ควรขุดหลุมให้มีขนาด กว้าง ยาว และลึก ประมาณ 80 เซนติเมตร หาเศษใบไม้ใบหญ้าหรือเศษฟางเก่าๆ ผุเปื่อยใส่รองก้นหลุม อัดให้แน่นหนาประมาณ 20 เซนติเมตร เพื่อให้ช่วยซับน้ำที่รดลงไปเก็บไว้ ให้มีความชุ่มชื้นแก่รากมะนาว ชั้นถัดขึ้นมาใส่ปุ๋ยคอก หนาประมาณ 15 เซนติเมตร อาจใส่ปุ๋ย 20-10-20 ประมาณ 2 ช้อนแกง ผสมลงไปด้วย เพื่อเป็นแหล่งธาตุอาหารแก่ราก กิ่งต้นพันธุ์ที่ใช้ควรผ่านการนำไปชำในกระบะเพาะชำ หรือลงถุงชำ ระยะหนึ่ง ประมาณ 2-3 สัปดาห์ หลังตัดกิ่งตอนที่ออกรากดี จะช่วยลดอัตราการตายหลังปลูกลงได้มากกว่าการตัดกิ่งตอนมาปลูก ก่อนที่จะวางกิ่งพันธุ์ลงในหลุม ต้องกรีดถุงพลาสติกออก แล้วจึงวางกิ่งให้อยู่ตรงกลางหลุม

การปลูก ควรจัดรากให้แผ่ออกไปโดยรอบในลักษณะไม่หักพับ เมื่อวางกิ่งต้นลงหลุมแล้ว ค่อยๆ โรยดินกลบไปจนมิด ควรกลบให้ดินพูนสูงขึ้น เพื่อป้องกันการแช่ขังของน้ำในปากหลุม และกดดินรอบต้นให้แน่นพอสมควร แล้วรดน้ำ เพื่อให้เม็ดดินกระชับราก ควรปักไม้หลักผูกยึดลำต้น เพื่อป้องกันการโยกคลอน

ควรปลูกตอนต้นฤดูฝน ฉะนั้น ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายนผู้ปลูกจะต้องปรับพื้นที่ให้เรียบ หรือทำเป็นคันร่องนูนแบบหลังเต่าเพื่อไม่ให้น้ำขังในช่วงฝนตกชุกและช่วยระบายน้ำออกได้โดยเร็ว

ระยะปลูก ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินอุดมสมบูรณ์ควรใช้ระยะ 6×6 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 44 ต้น หากดินไม่อุดมสมบูรณ์ ควรพูนดินให้สูงขึ้น เพื่อไม่ให้น้ำขังในช่วงฝนตกชุก และช่วยระบายน้ำออกได้โดยเร็ว

แต่ปัจจุบันมีวิธีการปลูกที่แตกต่างไปตามสภาพของพื้นที่ เพื่อป้องกันไม่ให้มะนาวเกิดโรคได้ง่าย เช่น การขึ้นลูกฟูกสูง การปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ เป็นต้น

การดูแลรักษา
การให้น้ำ ช่วงปลูกใหม่ๆ ควรให้น้ำวันละครั้ง (กรณีฝนไม่ตก) หลังจากต้นมะนาวตั้งตัวได้แล้ว การให้น้ำสามารถเว้นระยะนานขึ้น หลังจากมะนาวออกดอกและกำลังติดผลอ่อน เป็นช่วงที่มะนาวต้องการน้ำมาก

การให้ปุ๋ย ต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว แบ่งการใส่ปุ๋ย ดังนี้

บำรุงต้น ใช้ปุ๋ย สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16
สร้างตาดอก ใช้ปุ๋ย สูตร 12-24-12 หรือ 9-24-24
บำรุงผล ใช้ปุ๋ย สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16
ปรับปรุงคุณภาพ ใช้ปุ๋ย สูตร 13-13-21
ส่วนปริมาณการใส่ปุ๋ย ประมาณ 1 กิโลกรัม/ต้น/ครั้ง

การพรวนดินดายหญ้า ในฤดูฝนวัชพืชมักจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ถ้าหากไม่ถากถางออกเสียบ้างเป็นครั้งคราวก็จะไปแย่งอาหารต้นมะนาวได้ ฉะนั้น ควรดายหญ้าสัก 1-2 ครั้ง ในฤดูฝนก่อนใส่ปุ๋ยตอนปลายฤดูฝน จำเป็นอย่างยิ่งต้องพรวนดินดายหญ้า สุ่มโคนต้นเพื่อช่วยเก็บความชุ่มชื้นในดินไว้ เพราะไม่มีฝนตกมากนักในฤดูหนาวและฤดูร้อน

การปลิดดอก ในระยะ 1-2 ปี นับจากวันปลูก ถ้าหากต้นมะนาวออกดอกในช่วงนี้ควรจะปลิดทิ้ง เพราะต้นมะนาวยังเล็กไม่มีกำลังพอที่จะเลี้ยงทั้งต้นและลูก ถ้าหากปล่อยให้ติดลูกต้นมะนาวอาจจะแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร หรือจะโทรมตายเร็วกว่าเท่าที่ควร ดังนั้น ควรจะให้ต้นมะนาวติดผลได้เมื่ออายุ 3 ปี

การตัดแต่งกิ่ง หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรตัดกิ่งที่เป็นโรค กิ่งแห้ง กิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกให้หมด ในช่วงอายุ 4 ปี ควรตัดแต่งกิ่งออก 1 ส่วน 3 ของทรงพุ่ม เมื่อต้นมะนาวอายุ 6 ปี ควรตัดแต่งกิ่งออก 1 ส่วน 2 ของทรงพุ่ม

การกำจัดวัชพืช สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ถอน ถาง หรือใช้เครื่องตัดหญ้าแต่ต้องระวังอย่าให้เกิดบาดแผลตามโคนต้น หรือกระทบกระเทือนราก วิธีกำจัดวัชพืชอีกวิธีหนึ่งที่นิยมคือ การใช้สารเคมี เช่น พาราชวิท ไกลโฟเสท ดาวพอน เป็นต้น โดยการใช้จะต้องระวัง อย่าให้สารพวกนี้ปลิวไปถูกใบมะนาว เพราะอาจเกิดอันตรายได้ เช่น ทำให้ใบไหม้เหลืองเป็นจุดๆ หรือไหม้ทั้งใบ ดังนั้น จึงควรฉีดพ่นตอนลมสงบ

“เมื่อตลาดมะม่วงเป็นที่รู้จักมากขึ้นในหมู่คนชอบรับประทานผลไม้ NOVA88 มีรายได้จากลูกค้าที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พร้อมทั้งใส่ใจทุกขั้นตอนรายละเอียด ทำให้กลุ่มลูกค้ามีความพึงพอใจ และเน้นคุณภาพความเป็นมาตรฐานยิ่งขึ้น ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค”

คุณธิดาพร มีร้านจำหน่ายมะม่วง ตั้งอยู่เลขที่ 232/60 หมู่ที่ 12 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เล่าถึงแรงจูงใจ ก่อนที่จะประสบความสำเร็จ เริ่มแรกมีอาชีพเป็นชาวสวน ซึ่งก็เป็นสวนมะม่วงอยู่จังหวัดเพชรบูรณ์ บนเนื้อที่กว่า 250 ไร่ ส่วนใหญ่จำหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการราคาขายส่ง สำหรับความพิเศษของร้านขายมะม่วงที่นี่จะแตกต่างจากร้านทั่วๆ ไป เนื่องจากมะม่วงของทางร้านจะมีวางจำหน่ายตลอดทั้งปี ถึงแม้บางครั้งอาจจะไม่มีผลผลิตจากทางสวนก็ตาม แต่สามารถนำมะม่วงจากสวนที่รู้จักกัน ซึ่งอยู่ในรูปแบบของเครือข่ายสัมพันธ์กัน มาจากการทำงานร่วมกันยาวนานกว่า 20-30 ปี มาวางขายที่ร้าน และสายพันธุ์หลักที่ได้วางขายส่วนใหญ่แล้วเป็นมะม่วงสายพันธุ์น้ำดอกไม้ ที่มีการแบ่งไปตามเกรด ไปจนถึงเกรดเฉพาะที่สำหรับส่งออกไปยังนอกประเทศอีกด้วย

เหตุผลข้อหนึ่งที่ทำให้ขายมะม่วงอยู่ที่ตลาดพัทยา เป็นเพราะว่าในช่วงที่รับซื้อมะม่วงจากสวนต่างๆ เพื่อส่งออกในขณะนั้น ก็ได้รับซื้อมะม่วงมาเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการระบายของไม่ทัน จึงต้องหันมาเปิดร้านเพื่อเพิ่มช่องทางในการระบายผลไม้อย่างมะม่วง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมานั้น สังเกตได้เลยว่าตลาดความต้องการของมะม่วงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค และหาวิธีแก้ปัญหาด้วยการนำมะม่วงจากทางสวนของตัวเองและมะม่วงจากสวนที่รู้จักกันมาวางขายที่ร้าน ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการระบายสินค้าผลิตผลอย่างมะม่วง แตกต่างจากเมื่อก่อนที่เก็บเกี่ยวผลผลิตจากสวนเมื่อไรก็จะขายส่งแม่ค้าหรือผู้ที่มารับซื้อ และแม่ค้าก็จะนำไปตัดเกรดอีกครั้ง จึงไม่ค่อยจะได้อะไรมากมายจากการขายมะม่วง

คุณธิดาพร เล่าต่อว่า เปิดร้านมานานพอสมควรแล้ว จนเป็นที่รู้จักของเหล่าผู้มารับซื้อ ถึงแม้มะม่วงจะถูกส่งขายไปยังแหล่งต่างๆ ที่เป็นพื้นที่ใกล้เคียง อย่างจังหวัดชลบุรี หรือแม้กระทั่งกรุงเทพฯ ก็ตาม แต่กลุ่มผู้รับซื้อก็ยังลงทุนขับรถมาซื้อที่ร้านด้วยตนเองเนื่องจากว่าถ้าซื้อไปแล้วอาจจะไม่พอใจกับสินค้า เลยต้องมานั่งเลือกด้วยตนเองเพื่อความมั่นใจและพึงพอใจในคุณภาพ เพราะบางครั้งอาจจะมีสวนที่พยายามจะเร่งการเจริญเติบโตของมะม่วงเพื่อที่จะดันราคาให้สูงขึ้น แต่สำหรับที่ร้าน ต้องรอให้มะม่วงแก่ก่อนถึงจะวางขายได้ ไม่เช่นนั้นก็จะได้ลูกมะม่วงที่มีรสชาติที่ไม่หวาน