ตร.เพชรบูรณ์ เปิดร้านตัดผมฟรี ช่วยเหลือเพื่อนตำรวจนักเรียน

นักศึกษา และชาวบ้านรายได้น้อยตำรวจเพชรบูรณ์ เปิดร้านตัดผมฟรี สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตำรวจกับประชาชน ทั้งยังช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา และชาวบ้าน ที่มีรายได้น้อยด้วย

เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 14 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรับแจ้งว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองเพชรบูรณ์ เปิดร้านบริการตัดผมให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยกันเอง รวมทั้งประชาชนทั่วไป ฟรี โดยเปิดบริการอยู่ใน สภ.เมืองเพชรบูรณ์ ตรวจสอบ พบ ร.ต.อ.บุญส่ง อินจันทร์ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองเพชรบูรณ์ ฝ่ายมวลชนสัมพันธ์ กำลังให้บริการตัดผมให้แก่เพื่อนตำรวจด้วยกัน โดยมี พ.ต.อ.ศรีทะนนท์ เรือนมูล ผกก.สภ.เมืองเพชรบูรณ์ และ นายธาร คำภักดี กต.ตร.สภ.เมืองเพชรบูรณ์ ยืนให้กำลังใจและหาแนวทางที่จะปรับปรุงให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น

พ.ต.อ.ศรีทะนนท์ กล่าวว่า จากการที่ ผบ.ตร.มีคำสั่งกำชับข้าราชการตำรวจเรื่องการแต่งกายและตัดผมสั้นให้เรียบร้อย ซึ่งทำให้ข้าราชการตำรวจต้องตัดผม เดือนละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 70-80 บาท ซึ่งกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองเพชรบูรณ์ มีอยู่ประมาณ 200 นาย หากคิดค่าตัดผมรวมกันก็จะเป็นจำนวนเงินเดือนละกว่า 30,000 บาท เลยทีเดียว ตนจึงมีแนวคิดที่จะตัดผมให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจฟรี

ประกอบกับ ร.ต.อ.บุญส่ง อินจันทร์ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองเพชรบูรณ์ ฝ่ายมวลชนสัมพันธ์ มีฝีมือและความชำนาญในการตัดผมอยู่แล้ว จึงปรับปรุงห้องเก็บของให้เป็นร้านตัดผม โดยใช้ชื่อว่า “เมืองเพชรบาร์เบอร์” ส่วนอุปกรณ์ต่างๆ เบื้องต้น ร.ต.อ.บุญส่ง อนุเคราะห์นำเครื่องไม้เครื่องมือของตนเองมาให้บริการก่อน ซึ่งในอนาคตตนและ กต.ตร.สภ.เมืองเพชรบูรณ์ เตรียมจัดซื้อรวมทั้งปรับปรุงให้ได้มาตรฐานเท่ากับร้านตัดผมทั่วๆ ไป และนอกจากที่จะบริการตัดให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจฟรีแล้ว ยังบริการแก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่มีรายได้น้อย ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ก็จะบริการให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายด้วย

ด้าน ร.ต.อ.บุญส่ง ช่างตัดผมประจำร้าน กล่าวว่า เมื่อก่อนตนเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนและได้ฝึกอบรมเป็นช่างตัดผม ต่อมาได้เปิดร้านตัดผมที่บ้าน โดยใช้วันหยุดในการเปิดบริการให้ลูกค้ามานานกว่า 20 ปี เมื่อ พ.ต.อ.ศรีทะนนท์ เรือนมูล ผกก.สภ.เมืองเพชรบูรณ์ มีโครงการนี้ขึ้นมา ตนจึงอาสาที่จะเป็นช่างให้ โดยท่าน ผกก. ให้ถือปฏิบัติเป็นหน้าที่บริการให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมทั้งประชาชนทั่วไป เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับประชาชน อีกทั้งเป็นการช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา และประชาชน ที่มีรายได้น้อยด้วย

สมาชิกยูทูบ “E-San Ban Ban Channel” ได้โพสต์คลิปของหนุ่มคนหนึ่งซึ่งกำลังหาปลาอยู่ที่หนองน้ำกลางทุ่งนา โดยหนองน้ำนั้นก็เป็นหนองน้ำเล็กๆ และนิ่ง ซึ่งดูเผินๆ ก็ไม่น่าจะมีปลาอยู่ซักเท่าไร จากนั้นหนุ่มคนดังกล่าวก็ได้จัดเตรียมแห เมื่อได้ที่แล้วก็หว่านแหลงไปในหนองน้ำ โดยเลือกบริเวณมุมของบ่อ หลังจากนั้น ก็ดึงแหขึ้นมา และสิ่งที่เห็นทำเอาตะลึง หลังพบว่ามีปลาติดแหขึ้นมาจำนวนมาก เรียกได้ว่าทีเดียวคุ้มกว่าไปตลาด ใครจะไปคิดว่า หนองน้ำเล็กๆ จะมีปลามากขนาดนี้

วันที่ 14 มิถุนายน นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต รักษาการอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและรายงานผลการดำเนินงานที่สำคัญตามนโยบายรัฐบาล และนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 1/2561 พร้อมด้วยรองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ผู้อำนวยการสำนัก/กอง และหัวหน้ากลุ่มจากหน่วยงานกรมปศุสัตว์ ที่ห้องประชุม 1 ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. คำสั่ง และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ของกรมปศุสัตว์
2. ข้อสั่งการปลัดกระทรวงเกษตรฯ ในการประชุมคณะกรรมการบริหารขับเคลื่อนนโยบายสำคัญและแก้ปัญหาภาคเกษตร ได้แก่
2.1 การรณรงค์ปลูกต้นรวงผึ้ง
2.2 แนวคิดการทำงานบูรณาการร่วมกันส่วนกลาง ภูมิภาค และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.3 การวิเคราะห์สินค้าที่สามารถบริหารจัดการ Demand-Supply ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ผลิตสินค้าตรงความต้องการผู้บริโภค และทิศทางแนวโน้มของสินค้า จะได้จัดการอย่างครบวงจร
2.4 การติดตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน
2.5 การรายงานสินค้าเกษตรที่มีปัญหาและการจัดการบริหารจัดการแบบเอกภาพ
2.6 การติดตามนโยบายตามหลักการตลาดนำการผลิต
2.7 การเร่งเชื่อมโยงทำระบบ Big data ใน 4 ประเด็น คือ คนเกษตร พื้นที่เกษตร รายการสินค้าเกษตร และน้ำ
2.8 การประชาสัมพันธ์ทั้งเชิงรุก-รับ และเน้นการนำเสนอผลสัมฤทธิ์ของโครงการ
2.9 การรายงานกรณีมีข้อร้องเรียน ให้กรมเจ้าภาพรายงาน
3. การติดตามโครงการที่สำคัญตามนโยบาย
4. ผลดำเนินงานโครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราของภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
5. การวางแผนและปฏิบัติตามแผนการผลิตเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการเกษตรกรรม
6. การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ผลงานที่สำคัญตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงเกษตรฯ เน้นให้เกษตรกรประชาสัมพันธ์เสนอความสำเร็จในการประกอบอาชีพ

ทั้งนี้ เน้นการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรม ให้บูรณาการกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนกลางและภูมิภาค ให้จัดการบริหารข้อมูลอย่างเป็นเอกภาพ มีการเชื่อมโยงข้อมูลกัน เน้นการประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจน แสดงผลสัมฤทธิ์ และสอดคล้องตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ปิดบัญชี-ล้างสต๊อก “จำนำข้าวยิ่งลักษณ์” 18 ล้านตัน TDRI ชี้ขาดทุนทะลุ 6.5 แสนล้านบาท “5 เสือส่งออก” แบ่งเค้กถ้วนหน้า 4 ล้านตัน “นครหลวง-เอเซียโกลเด้นท์ไรซ์” คว้าข้าวสต๊อกรัฐสูงสุด เอกชน 41 ราย แห่ประมูลข้าวเสื่อมล็อตสุดท้าย 2 ล้านตัน 14-15 มิ.ย.นี้ ราคาส่งออกหอมมะลิดีดทะลุ 1,450 เหรียญสหรัฐ

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ได้จัดการสต๊อกข้าวสารในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาถึง 18 ล้านตัน ซึ่งจนถึงเดือนพฤษภาคม 2561 ได้ระบายข้าวสารไปแล้ว 14,514,414.87 ตัน มูลค่า 131,299 ล้านบาท หรือเฉลี่ย ตันละ 9,000 บาท ซึ่งขาดทุนจากต้นทุนโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ตันละ 15,000 บาท หรือคิดเป็นต้นทุนข้าวสาร ตันละ 24,000 บาท

รศ.ดร. นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันการวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ประเมินผลล่าสุด คาดว่า เมื่อระบายข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลครบทั้งหมดจะทำให้ขาดทุนไม่ต่ำกว่า 6.5 แสนล้านบาท เป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับผลวิจัยของ ทีดีอาร์ไอ ที่ได้เคยศึกษาในรอบที่ 2 เมื่อปี 2557 ที่มีการคำนวณผลกระทบเพิ่มในส่วนการจำหน่ายข้าวสารเสื่อมสภาพไม่ตรงตามมาตรฐานและข้าวหาย ทำให้ตัวเลขขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็น 6.6 แสนล้านบาท จากผลการวิจัยในรอบแรกที่คำนวณไว้ 5.4 แสนล้านบาท จากที่รัฐบาลใช้งบประมาณ 9.58 แสนล้านบาท ในการรับจำนำข้าว 54.4 ล้านตัน

“หากเทียบผลการวิจัย รอบที่ 2 ที่คำนวณรวมข้าวเสื่อมและข้าวหาย ถือเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับตัวเลขคาดการณ์ปิดบัญชีโครงการรับจำนำของกระทรวงการคลัง ที่ประเมินไว้ล่าสุด เมื่อเดือนกันยายน 2560 ซึ่งรวมการขายข้าวในสต๊อกที่ยังคงเหลือ พบว่า ขาดทุน 637,244 ล้านบาท ซึ่งยิ่งการระบายล่าช้า ความเสื่อมก็มากขึ้น ก็ยิ่งขายได้ราคาลดต่ำลง เช่น ข้าวที่ขายเป็นอาหารสัตว์ เหลือกิโลกรัมละ 2-3 บาทเท่านั้น”

แหล่งข่าวจากวงการค้าข้าว เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในการประมูลข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลช่วงที่ผ่านมา 14.5 ล้านตัน พบว่าผู้ประกอบการโรงสีเป็นผู้ชนะประมูล ประมาณ 3-4 ล้านตัน ขณะที่ผู้ส่งออกประมูลได้ไปประมาณ 10-11 ล้านตัน โดยผู้ชนะประมูลสูงสุดในกลุ่ม 5 เสือส่งออก ได้แก่ กลุ่มนครหลวงค้าข้าว และแคปิตอลไรซ์ ประมูลได้ 1.7-2.0 ล้านตัน เอเซียโกลเด้นไรซ์ และไทยแกรนลักซ์ ปริมาณ 1.7-1.8 ล้านตัน พงษ์ลาภ 1.4-1.5 ล้านตัน ธนสรรไรซ์ 700,000-800,000 ตัน ส่วนกลุ่มโรงสีที่ชนะประมูล เช่น กลุ่มพิจิตรโรงสีร่วมเจริญ 2 ไรซ์ ปริมาณ 400,000-500,000 ตัน โรงสีเจริญผล จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ทำข้าวหอมมะลิ 180,000-200,000 ตัน และกลุ่มโรงสีทรัพย์อนันต์ ประมาณ 100,000 ตัน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลหลายราย ยังคงไม่สามารถรับมอบข้าวสารได้ครบเต็มจำนวน เนื่องจากพบว่าข้าวสารที่ประมูลมีคุณภาพไม่ตรงตามที่ประมูล หรือผิดสเป๊ก ซึ่งบางรายพบปัญหา 40-50% ของข้าวที่ประมูลไป ทำให้ต้องยื่นหนังสือถึงองค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) หามาตรการแก้ไขเป็นรายกรณี เช่น การขอขยายเวลารับมอบ หรือการรับมอบเฉพาะในส่วนที่ตรงสเป๊ก เป็นต้น

“ขณะที่สถานการณ์ราคาข้าวในตลาดปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิส่งออกปรับขึ้นจากเดือนก่อน ที่จำหน่ายตันละ 1,250 เหรียญสหรัฐ เป็น 1,450 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นข้าวของกลุ่มบริษัทเจียเม้ง (หงษ์ทอง) ที่ส่งออกไปฮ่องกง สาเหตุที่ราคาปรับสูงขึ้น เพราะปริมาณผลผลิตข้าวหอมลดลง ขณะที่ราคาข้าว 5% ราคายังทรงตัวใกล้เคียงกับก่อนหน้านี้”

41 ราย แห่ประมูลข้าวเสื่อม

ขณะที่การเปิดประมูลข้าวในสต๊อกรัฐบาลล็อตสุดท้ายที่เหลือ 2 ล้านตัน จากโครงการรับจำนำข้าวจากทั้งหมดกว่า 18 ล้านตัน นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ผลการเปิดให้ผู้ประกอบการยื่นซองคุณสมบัติเพื่อเข้าร่วมประมูลซื้อข้าวสาร ปริมาณ 2 ล้านตัน เมื่อวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีผู้ประกอบการสนใจทั้งหมด 41 ราย แบ่งเป็น 1.การประมูลเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การบริโภคของคน ปริมาณ 1.49 ล้านตัน มีผู้ยื่นเอกสาร 26 ราย และ 2.การประมูลเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การบริโภคของคนและสัตว์ ปริมาณ 540,000 ตัน มีผู้ยื่นเอกสาร 15 ราย โดยในวันที่ 14-15 มิถุนายน 2561 จะประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติ และเปิดให้ยื่นซองเสนอราคาซื้อ

5 ข้อเสนอ ยกเครื่อง

รศ.ดร. นิพนธ์กล่าวเพิ่มเติมว่า การระบายสต๊อกข้าวรัฐบาลหมดลง เป็นการปลดล็อกพันธนาการซึ่งส่งผลดีต่อตลาดและราคาส่งออกข้าว ทำให้ผู้ซื้อเกิดความมั่นใจว่าไทยจะไม่มีสต๊อกข้าวราคาถูกมาถล่มตลาดอีก รัฐบาลควรอาศัยจังหวะนี้ปรับปรุงนโยบายบริหารจัดการข้าวในระยะยาว โดยจะต้องยึดกลไกตลาดเป็นหลัก และดำเนินการตามแนวทางสำคัญ 5 ด้าน คือ

1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยกเครื่องเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำข้อมูลการผลิตเพื่อให้การพยากรณ์ผลผลิตแม่นยำ เช่น โมเดลของสหรัฐ ซึ่งใช้แบบจำลองทางการเกษตร

2. กระทรวงพาณิชย์ เป็นเจ้าภาพเชื่อมโยงข้อมูลเชิงลึก จากสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในต่างประเทศ เพื่อนำมาสื่อสารกับภาคการผลิตภายในประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

3. ภาครัฐ และเอกชน ร่วมกันดำเนินการการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

4. ภาครัฐให้งบประมาณสนับสนุน ภาคประชาชน สตาร์ตอัพ นำเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตและ

5. รัฐบาลวางแผนบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตควายไทย หมู่ที่ 5 บ้านหนองจั่ว ต.คลองทราย อ.สากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ได้มี กระบือ หรือควาย โดยมี นางสาวรุ่งอรุณ ปั้นโหมด อายุ 30 ปี เจ้าของควาย (อีแก้ว) ตำแหน่งเป็นสารวัตรกำนัน เป็นเจ้าของซึ่งเลี้ยงดูไว้แบบธรรมชาติทั้งหมด 68 ตัว แต่ละตัวล้วนมีลักษณะพิเศษและโดดเด่นจากกระบือที่หายาก ซึ่งหนึ่งในนั้นพบกระบือเพศเมีย สีดำ มีอายุ 6 ปี ชื่อ “เจ้าแก้ว หรือเจ้า” มีลักษณะเขางอบ หรือเรียกว่าเขาอุ้มบุญ ซึ่งเป็นควายที่หายากและชาวบ้านเชื่อว่าใครมีควายเขางอบ ลักษณะดังกล่าวจะเป็นสิริมงคลแก่ผู้เลี้ยง จะอยู่เย็นเป็นสุข ทำมาค้าขึ้น

ซึ่ง “เจ้าแก้ว” จะมีนิสัยใจดี ขี้เล่น ขี้อ้อน และเชื่อฟังคำสั่งเจ้าของเป็นอย่างดี เช่น เจ้าของจะสั่งให้ “อีแก้ว” นอนตะแคง หรือนอนเกือกกลิ้ง หรือให้นอนหลับ เจ้าแก้วก็จะเชื่อฟังคำสั่งเจ้าของเสมือนว่าเป็นผู้มีพระคุณเลยทีเดียว เนื่องจากการได้มาของ “เจ้าแก้ว” นั้น ได้มาโดยบังเอิญ อีกทั้งเมื่อใครพบเห็นก็จะบอกต่อกันไปถึงความแสนรู้ของ “เจ้าแก้ว” จนมีชาวบ้านทยอยมาชมกันอย่างต่อเนื่อง

โดย นางสาวรุ่งอรุณ ปั้นโหมด อายุ 30 ปี เจ้าของควาย (เจ้าแก้ว) ตำแหน่งเป็นสารวัตรกำนัน ต.คลองทราย อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร กล่าวว่า ตนองได้เดินทางไปธุระที่จังหวัดนครสวรรค์ ได้พบอาบัง หรือแขก ที่ค้าขายกระบือ กำลังไล่ต้อน “เจ้าแก้ว” ขึ้นรถ เพื่อนำไปขายโรงเชือด ตนเองจึงจอดรถและดูลักษณะควายที่หายาก เขาจะงอบ หรือลักษณะควายไทยจะเรียกว่าเขาอุ้มบุญ จึงขอซื้ออาบังมา ในราคา ตัวละ 4 หมื่นบาท จากนั้นก็นำมาปล่อยเลี้ยงในศูนย์เรียนรู้ที่บ้านของตนเองกับควายตัวอื่นๆ อีกกว่า 68 ตัว เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ปราฏว่า “เจ้าแก้ว” มีนิสัยใจดี ขี้อ้อน ขี้เล่น กับตนเองตลอดเวลา อีกทั้งเชื่อฟังคำสั่งเป็นอย่างดี ไม่ว่าให้นอน ให้เดิน ให้กินน้ำ กินหญ้า ให้คุกเข่า แม้กระทั่งหลับตา ทำได้หมด

ทุกวันนี้สงสาร รัก “เจ้าแก้ว” มาก ซึ่งจะเลี้ยงไปจนกว่าจะหมดอายุไขของมัน นอกจากนี้ ภายในศูนย์เรียนรู้จะมีควายที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของควายไทยอีกหลายสิบตัว เช่น “เจ้าบาน” เป็นควายเขาโค้งสวย เขาแต่ละข้างยาวถึง 150 เซนติเมตร สวยงามเป็นควายเพศเมียเช่นเดียวกัน และมีอายุ 7 ปี แต่จะไม่เชื่องหรือแสนรู้ นอกจากนี้ ยังมีควายในลักษณะตามสูตรลักษณะควายไทยโบราณหายาก คือ มีลำตัวยาว ตาแต้ม แก้มจุด คอป้อง เขาบายศรี หางยาว ขาถุงเท้า 4 ขา ขนดำทอง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บ้านเลขที่ 16 ซอย ดารณี เทศบาลเบตง อ. เบตง จ. ยะลา ได้เปิดรับซื้อเมล็ดทุเรียนจำนวนมาก โดยให้ราคาสูงมากถึงกิโลกรัมละ 70-90 บาท ทำให้ชาวบ้านที่ทราบข่าว ต่างนำเมล็ดทุเรียนมาขายกันอย่างต่อเนื่อง เพราะราคาทุเรียนบ้านแค่กิโลกรัมละ 30-40 บาท เท่านั้น ซึ่งทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เอาเมล็ดมาขาย ยังได้ดีกว่าขายลูกทุเรียนอีก บางคนลงทุนไปเก็บตามสถานที่ที่เขากินทุเรียนกันอยู่ เพื่อจะขอเก็บเมล็ดทุเรียนมาขาย

นายอับดุลอาซิ มาหะมะเพะ อายุ 46 ปี พ่อค้ารับซื้อเมล็ดทุเรียน บอกว่า ตอนแรกคนที่ผลิตต้นกล้าทุเรียนขาย ได้มาติดต่อให้ตัวเองรับซื้อเมล็ดทุเรียนให้ ในราคากิโลกรัมละ 30-40 บาท ตอนแรกก็ไม่ได้รับปาก ก่อนจะมาขึ้นเป็น กิโลกรัมละ 70-90 บาท จึงรับปากและได้ประกาศรับซื้อเมล็ดทุเรียน ก็มีคนมาขายเมล็ดทุเรียนมากถึงวันละ 500-1,000 กิโลกรัม แต่มาช่วงหลังมีรถเร่มารับซื้อถึงบ้าน และมีคนรับซื้อจากตำบลอื่นอีก เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ขณะนี้ราคาพุ่งไปถึงกิโลกรัมละ 90 บาท แล้ว ในช่วงเวลาไม่ถึง 1 เดือน และตนเองยังคงรับซื้อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมด

โดยเมล็ดทุเรียนที่รับซื้อมาทั้งหมดก็จะนำมาล้างน้ำ เพื่อทำความสะอาด และตรวจดูว่ามีเมล็ดลีบหรือไม่ ถ้ามีเมล็ดลีบก็จะคัดออก เพราะใช้ไม่ได้ เนื่องจากเอาไปเพาะแล้วไม่แตกยอด หลังจากนั้น ก็นำใส่เข่งแล้วนำไปส่งอีกที

นายอับดุลอาซิ บอกอีกว่า สาเหตุที่เมล็ดทุเรียนราคาสูง มาจากราคาทุเรียนทุกชนิดที่พุ่งสูงมากในปีนี้ ทำให้เกษตรกรและประชาชนหันกลับมาหาต้นพันธุ์ทุเรียนชนิดต่างๆ ไปปลูกกันมาก ทำให้เมล็ดทุเรียนพื้นบ้านที่จะนำไปเพาะเพื่อทำเป็นต้นตอแล้วนำยอดของทุเรียนสายพันธุ์ต่างๆ มาเสียบยอดไม่เพียงพอกับการขยายพันธุ์ ทำให้กลุ่มผู้ผลิตต้นพันธุ์ทุเรียนแย่งกันรับซื้อ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (14 มิถุนายน 2561) ที่ห้องประชุมกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดหนองคาย พ.ท.ภาษิต ประภาพักตร์ เสนาธิการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดหนองคาย ได้รับมอบสับปะรดจากเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด จาก อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย จำนวน 500 กิโลกรัม จากยอดสั่งซื้อทั้งหมด 1 ตัน

โดยมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดหนองคาย เป็นผู้ประสานงาน โดยสับปะรดที่ซื้อ ส่วนหนึ่งจะใช้ประกอบอาหารให้กับกำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่ใน จ.หนองคาย อีกส่วนหนึ่งจะส่งไปประกอบอาหารจัดเลี้ยงให้กับกำลังพลที่กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 13 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 3 จ.อุดรธานี

ซึ่งการซื้อสับปะรดครั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกสับปะรดใน จ.หนองคาย ตามโครงการซื้อสับปะรดช่วยชาติ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดใน จ.หนองคาย ที่ช่วงนี้มีผลผลิตทั้งในจังหวัดและจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศออกมาสู่ท้องตลาดเป็นจำนวนมาก จนส่งผลทำให้ราคาสับปะรดตกต่ำ นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย จึงได้มีโครงการซื้อสับปะรดช่วยชาติขึ้น โดยให้ทุกภาคส่วนช่วยกันซื้อสับปะรดจากเกษตรกรใน จ.หนองคาย ขณะนี้สามารถซื้อสับปะรดช่วยเหลือเกษตรกรไปแล้วกว่า 40 ตัน

สำหรับจังหวัดหนองคาย ถือเป็นแหล่งผลิตสับปะรดมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ปลูกที่ลงทะเบียนไว้มากถึง 10,400 ไร่ สร้างรายได้ให้เกษตรกรมากกว่า 780 ครัวเรือน คิดเป็นมูลค่ากว่า 400 ล้านบาท/ปี ซึ่งสับปะรดที่ปลูกในจังหวัดหนองคาย มีลักษณะเด่นคือ ลูกใหญ่ เนื้อเหลือง และรสชาติหวานฉ่ำ

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ แถลงผลงาน ผลการทำงานช่วง 6 เดือน ที่ผ่านมาว่า ในส่วนของเศรษฐกิจฐานรากมุ่งให้ชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดต่างๆ กินดี-อยู่ดี และมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการดำเนินมาตรการทางการตลาด ภายใต้แนวทางการตลาดนำการผลิต ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น ราคาข้าวเปลือกทุกชนิด โดยเฉพาะหอมมะลิ 18,700 บาท/ตัน ราคาสูงสุดในรอบ 10 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นการระบายสต๊อกข้าวรัฐบาลจนเกือบหมด การหาตลาดต่างประเทศรองรับผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง อาทิ จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และภายในเดือน มิ.ย. กระทรวงจะนำเสนอมาตรการดูแลข้าวทั้งระบบต่อ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี มีเป้าหมายผลักดันราคาข้าวไม่ให้ต่ำกว่าช่วงที่ผ่านมา

รวมทั้งจะมีกาหารือกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เพื่อเตรียมความพร้อมการรับมือผลผลิตทางการเกษตรที่จะออกมาในอนาคตร่วมกันเพราะเกษตรกรมีแนวโน้มจะปลูกมากขึ้น เพราะราคาค่อนข้างดี เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ราคาหน้าโรงงาน สูงกว่า 10 บาท/ก.ก. มันสำปะหลัง หัวมันเชื้อแป้ง 25% ก.ก. ละ 3.15 บาท ปีที่ผ่านมา 1.7 บาท ราคาส่งออกมันเส้น 6% แป้งมัน 4% จากเดือนก่อนหน้า ส่วนการแก้ปัญหาราคาปาล์มน้ำมันก็จะประชุมร่วมกับกระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับราคาต่อไป

สำหรับผลไม้ ได้เริ่มดำเนินการส่งเสริมการตลาดทุเรียนเป็นสินค้านำร่องในการค้าออนไลน์ ซึ่งกำลังจะขยายผลต่อเนื่องไปยังสินค้าอื่นๆ เช่น ลำไย มังคุด โดยเน้นการค้าระบบออนไลน์กับผู้ค้าออกไลน์ระดับโลก เช่น อาลีบาบา แม้ว่าจะมีคนโจมตีว่าทำให้เกษตรกรไทยเป็นทาสต่างชาติ ซึ่งที่ผ่านมาก็พิสูจน์แล้วไม่เป็นความจริง เนื่องจากเกษตรกรค้าขายได้มากขึ้นด้วยตนเอง รวมทั้งการค้าผ่าน Thaitrade Shop ปัจจุบัน Thaitrade มีผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิก 25,000 ราย มีผู้ซื้อจากทั่วโลก 1.7 แสนราย จำนวนสินค้า 2.5 แสนรายการ และมีมูลค่าการซื้อขายแล้วกว่า 5,000 ล้านบาท