ตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา เราได้เร่งปิดกั้นคลองชลประทานที่ถูกน้ำกัด

ซึ่งเราได้เร่งดำเนินการปิดช่องที่ขาดมาโดยตลอดไม่มีหยุด ทั้ง 3 วัน 2 คืน จนสามารถปิดช่องที่ขาดได้เมื่อตอนตี 4 ที่ผ่านมา ซึ่งการดำเนินงานเราได้ใช้นวัตกรรมล่าสุด คือ “กงเกี่ยว” คือเป็นเสาขนาดยาว มีเหล็กฝังโดยรอบ ทิ้งลงในช่องขาดด้านล่างปักลงดิน ด้านบนยึดเกี่ยวกับกล่องเกเบี้ยน เพื่อใช้ยึดเหนี่ยววัสดุที่ถมทับลงมาจากด้านบนอีกด้วย เพื่อให้มีความยึดเหนี่ยวที่ดีขึ้น สำหรับกล่องเกเบี้ยนมีขนาด กว้าง x ยาว x สูง = 1.00 x 2.00 x 0.50 เมตร ใช้จำนวนประมาณ 3,000-3,500 กล่อง และใช้ชีทไพน์ ความยาว 6.00 เมตร ประมาณ 200 แผ่น ซึ่งความลึกของช่องคลองที่ขาด ลึกประมาณ 4 เมตร กว้าง 40 เมตร ตอนนี้เราสาสามารถปิดช่องขาดได้แล้ว ขั้นต่อไปต้องเสริมความแข็งแรงทั้งสองด้าน โดยเฉพาะด้านท้ายซึ่งมีความลึกจากการถูกน้ำกัดเซาะ

ด้าน ดร.ทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ตรงจุดที่ขาดเราทำกล่องหินเกเบี้ยนสามารถปิดชนกันเรียบร้อยแล้วเมื่อตอนตี 4 และในส่วนทีกำลังทำอยู่นี้เป็นการเสริมตัวคันนี้เพื่อให้เป็นเส้นทางสัญจรได้ด้วย และมีความแข็งแรง ซึ่งน้ำที่ไหลเข้าตรงจุดขาดเราประเมินกันว่าแต่ละวันที่ผ่านมา ในวันที่ 28 – 29 ต.ค. มีน้ำไหลเข้าประมาณวันละ 7 ล้าน ลบ.ม. ตอนนี้เหลือเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ คือ 7 แสน ลบ.ม. ซึ่งเราได้เร่งทำงานให้เร็วภายในกรอบเวลา และต่อจากนี้ไปตลอดทั้งสาย ระยะทาง 8 กิโล รัฐมนตรีได้สั่งว่า แนวนี้ ซึ่งจากเดิมนั้นเป็นเพียงคลองชลประทาน ไม่ใช่คันกั้นน้ำ ท่านได้สั่งการให้ทำเป็นคลองและคันกั้นน้ำไปในตัวเดียวกัน จะได้มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น และให้เราลงมือในปี 61 นี้ ทันที ทางกรมชลประทานก็จะเร่งดำเนินการตามที่รัฐมนตรีได้สั่งการ และในส่วนน้ำที่ยังมีขังอยู่ในพื้นที่การเกษตรอยู่ตอนนี้ เราจะเร่งสูบน้ำออกภายใน 2 สัปดาห์ จะเหลือน้ำไว้เพียงเพื่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งเท่านั้น

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม นายชิตชนก สมประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 8 นครราชสีมา เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในเขื่อนหลักทั้ง 5 แห่งของจังหวัดนครราชสีมาว่า จากสถานการณ์ฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้ขณะนี้เขื่อนหลักทั้ง 5 แห่ง ของจังหวัดนครราชสีมา มีปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นเฉลี่ยรวมกว่า 73%

ซึ่งถือว่ามีปริมาณน้ำกักเก็บมากกว่าทุกปีที่ผ่านมาได้แก่ เขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 192 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 61% ของความจุกักเก็บทั้งหมด 314 ล้านลูกบาศก์เมตร, เขื่อนมูลบน อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 110 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 78% ของความจุกักเก็บทั้งหมด 141 ล้านลูกบาศก์เมตร,

เขื่อนลำแชะ อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 208 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 76% ของความจุกักเก็บทั้งหมด 275 ล้านลูกบาศก์เมตร, เขื่อนลำพระเพลิง มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 140 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 90% ของความจุกักเก็บทั้งหมด 155 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนลำปลายมาศ อ.เสิงสาง มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 82 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 84% ของความจุกักเก็บทั้งหมด 98 ล้านลูกบาศก์เมตร

ซึ่งจากปริมาณน้ำขนาดนี้ทำให้การบริหารจัดการน้ำในช่วงหน้าแล้งฤดูกาลที่จะมาถึง ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก แต่ถึงอย่างไรก็ตามในส่วนของการปลูกข้าวนาปรัง ก็ยังต้องจำกัดพื้นที่ในการเพาะปลูกอยู่เหมือนเดิม โดยจะมีการประชุมหารือกับจังหวัดเพื่อวางแผนการกำหนดพื้นที่เพาะปลูกอีกครั้ง หลังช่วงเทศกาลปีใหม่ไปแล้ว.

วันที่ 31 ตุลาคม 2560 เมื่อเวลา 11.00 น.กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศ ฉบับที่ 4 เรื่อง “ฝนตกหนักถึงหนักมากและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ (มีผลกระทบถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2560)”

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ได้ทวีกำลังแรงเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว มีแนวโน้มเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้าๆ เข้าปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ในช่วงวันที่ 1–3 พ.ย. 60

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสมที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และลมกระโชกแรงที่เกิดขึ้นไว้ด้วย

พื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบตามภาคต่างๆ มีดังนี้
– วันที่ 1 พ.ย. 2560 บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
– วันที่ 2-3 พ.ย. 2560 บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง คลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณดังกล่าวควรงดออกจากฝั่ง

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดในระยะนี้

ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 11.00 น.
กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 17.00 น.

(ลงชื่อ) วันชัย ศักดิ์อุดมไชย
(นายวันชัย ศักดิ์อุดมไชย)
อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา

กรมส่งเสริมสหกรณ์เล็งจับมือธนาคารกรุงไทย ร่วมบูรณาการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเงินแก่สหกรณ์และสมาชิก เตรียมผุดบัตรสมาชิกสหกรณ์ Co-op Member Card เพื่อใช้สำหรับเป็นบัตรเงินสดให้สมาชิกนำไปจ่ายชำระสินค้าที่ซื้อกับสหกรณ์ ขณะเดียวกันสหกรณ์ก็สามารถโอนเงินปันผลหรือจ่ายค่าผลผลิตที่สหกรณ์รับซื้อจากสมาชิกเข้าไปในบัตรดังกล่าวได้ นอกจากนี้ยังพัฒนาระบบ QR Code เพื่อนำมาใช้ในการซื้อสินค้าสหกรณ์ผ่านทางมือถือ เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับสมาชิก และยังลด ความเสี่ยงของการใช้เงินสดในการทำธุรกรรมได้อีกทางหนึ่ง เตรียมเซ็น MOU ร่วมกันปลายเดือนพฤศจิกายน นี้

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้หารือร่วมกับผู้แทนธนาคารกรุงไทย เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาระบบบริหารจัดการทางการเงินให้แก่สหกรณ์และสมาชิกสหกรณ์ โดยทางธนาคารกรุงไทยได้นำเสนอเทคโนโลยีทางการเงินเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกรรมของสหกรณ์ 2 รูปแบบ ได้แก่ การจัดทำบัตรสมาชิกสหกรณ์ Co-op Member Card เพื่อให้สมาชิกนำไปรูดซื้อสินค้ากับสหกรณ์ และเป็นเครื่องมือในการทำธุรกรรมทาง การเงินระหว่างสหกรณ์กับสมาชิก และอีกรูปแบบหนึ่ง คือการชำระค่าสินค้าผ่านระบบ QR Code โดยสมาชิกสมาชิกใช้มือถือ แสกนรหัส QR Code เพื่อชำระค่าสินค้ากับสหกรณ์ได้โดยไม่ต้องพกเงินสด ซึ่งเทคโนโลยีทางการเงินทั้ง 2 ระบบนี้ จะเพิ่มประสิทธิภาพด้านธุรกรรมทางการเงินระหว่างสหกรณ์กับสมาชิก ช่วยลดขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ของสหกรณ์ลง และยังเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการเงินสด ตามนโยบายของรัฐบาล Nation e-Payment ที่มุ่งเน้นให้มีการลดการใช้เงินสด เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการดำเนินธุรกรรมของสหกรณ์ได้อีกทางหนึ่งด้วย

บัตรสมาชิกสหกรณ์ Co-op Member Card จะเริ่มใช้กับสหกรณ์การเกษตรขนาดใหญ่ระดับอำเภอ ซึ่งมีเป้าหมายดำเนินการ 822 แห่งทั่วประเทศ โดยบัตร Co-op Member Card จะทำหน้าที่เป็นบัตรเงินสด ใช้สำหรับการซื้อขายสินค้าระหว่างสหกรณ์กับสมาชิก ซึ่งไม่เกี่ยวกับระบบธุรกรรมการเงินปกติของธนาคารกรุงไทย เนื่องจากสมาชิกสหกรณ์ไม่ต้องไปเปิดบัญชีกับธนาคาร แต่ใช้วิธีเติมเงิน เข้าบัตรผ่านหลากหลายช่องทางของธนาคารกรุงไทย โดยสามารถนำบัตรนี้ไปถอนเงินสดจากตู้ ATM ได้ทุกธนาคารทั่วประเทศ และยังนำไปใช้ซื้อสินค้ากับสหกรณ์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการจะติดตั้งเครื่อง Mobile EDC ไว้สำหรับบริการสมาชิกรูดซื้อสินค้าต่าง ๆ ทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคหรือปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ขณะเดียวกัน เมื่อสหกรณ์จะจ่ายเงินกู้ เงินปันผลเฉลี่ยคืนหรือชำระค่าผลผลิตทางการเกษตรที่สหกรณ์รับซื้อจากสมาชิกสหกรณ์ก็สามารถเติมเงินดังกล่าว เข้ามาในบัตร Co-op Member Card ได้ด้วยเช่นกัน

ส่วนระบบการชำระค่าสินค้าผ่านรหัส QR Code จะดำเนินการในร้านค้าสหกรณ์และศูนย์กระจายสินค้าสหกรณ์ที่มีอยู่ ทั่วประเทศ โดยสมาชิกสหกรณ์สามารถซื้อสินค้ากับร้านค้าสหกรณ์ และใช้วิธีแสกนรหัส QR Code เพื่อตัดเงินจากบัญชีธนาคารของสมาชิกมาชำระค่าสินค้าให้กับสหกรณ์ได้ในทันที โดยสมาชิกไม่ต้องพกเงินสดไปซื้อสินค้าที่สหกรณ์ ซึ่งระบบการชำระสินค้าผ่านรหัส QR Code นี้ ธนาคารกรุงไทยจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการชำระค่าสินค้าระหว่างธนาคารที่สมาชิกมีบัญชีเงินฝากอยู่กับร้านค้าของสหกรณ์ ซึ่งทำให้เกิดความสะดวกในการซื้อขายสินค้าระหว่างสหกรณ์กับสมาชิก และยังเป็นการยกระดับการให้บริการของสหกรณ์ได้อีกทางหนึ่งด้วย

“ในอนาคตการทำธุรกรรมการเงินระหว่างสหกรณ์กับสมาชิกจะลดการใช้เงินสดลง แต่จะนำรูปแบบการชำระสินค้าผ่านบัตร Co-op Member Card และชำระค่าสินค้าผ่านการหักบัญชีโดยรหัส QR Code เข้ามาใช้แทน นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบการเงินให้กับสหกรณ์แล้ว ยังเป็นการลดความเสี่ยงให้กับสหกรณ์ โดยไม่ต้องเก็บรักษาเงินสดไว้ที่สหกรณ์จำนวนมาก ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาการทุจริต และช่วยลดภาระให้กับเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ได้อีกทางหนึ่ง ในระยะแรก บัตร Co-op Member Card นี้ จะทำธุรกรรมได้ระหว่างสหกรณ์กับสมาชิกเท่านั้น แต่ในอนาคต ก็จะพัฒนาช่องทางเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มคุณสมบัติให้เป็นบัตร Visa เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์สามารถนำบัตรนี้ไปรูดซื้อของจากร้านค้าทั่วไปได้ ซึ่งทางกรมส่งเสริมสหกรณ์และธนาคารกรุงไทย จะมีการลงนามความร่วมมือในการดำเนินโครงการบัตรสมาชิกสหกรณ์ Co-op Member Card และการใช้รหัส QR Code ชำระค่าสินค้าสหกรณ์ ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนนี้” อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว

กล้วย เป็นผลไม้ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นผลไม้ประจำชาติของไทยเราก็ว่าได้ เพราะมีให้ได้กินกันตลอดทั้งปี ราคาก็ถูก คุณภาพก็ดี แถมยังมีวิตามินซีสูงอีกต่างหาก กล้วยยังมีให้เลือกกินได้หลากหลาย เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหักมุก แต่ที่นิยมและใช้ประโยชน์มากที่สุดก็น่าจะเป็น กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า เป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน เริ่มตั้งแต่ใบ คือ ใบตอง ซึ่งใช้ได้ทั้งสดและแห้ง ถ้าเป็นใบสดก็นำมาห่อของเก็บความชุ่มชื้นได้อย่างดี หรือนำมาห่ออาหารแล้วย่างก็จะให้กลิ่นหอมอย่างมีเสน่ห์ ถ้าแห้งก็นำมาทำกระทง มวนยาเส้น (คนในสมัยก่อนจะใช้ใบตองแห้งมาพับซ้อนกันแล้วรีดให้เรียบ แล้วตัดให้พอดีม้วนเป็นแท่งๆ เอาไว้ห่อกับยาสูบ หรือยาฉุน ยาเส้น) ก้านกล้วยเอามาทำม้าก้านกล้วย ของเล่นของเด็กไทย ส่วนลำต้นก็ใช้เป็นอาหารหมู ดอก คือหัวปลี ใช้ทำอาหาร ส่วนลูกคือ กล้วย กินได้ตั้งแต่ดิบๆ จนถึงสุกและสุกงอม และยังนำมาทำอาหารได้ทั้งคาว หวาน หลากหลายประเภท

กล้วยน้ำว้า เมื่อลูกยังดิบสีเขียวจัด ลูกยังไม่ใหญ่จะมีสารแทนนินซึ่งทำให้มีรสฝาด สารนี้จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้ หรือช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้ โดยนำกล้วยมาฝานบางๆ แล้วตากให้แห้ง บดชงเป็นชาดื่ม หรือจะนำมาทำอาหารก็ได้ เช่น น้ำพริก แกงกล้วยดิบกับหมู กับเนื้อปลาขูด แต่ก่อนจะนำกล้วยมาทำอาหารอะไรก็แล้วแต่ ต้องปอกเปลือกหั่นแช่น้ำเกลือก่อนแล้วจึงเอาไปต้มหรือลวก เพื่อไม่ฝาด หรือดำ เวลาเคี้ยวรสชาติจะมันๆ หนึบๆ อร่อยๆ

กล้วย อาหารเด็ก และนักกีฬา

กล้วย เมื่อสุกจะเหลืองอร่าม และยิ่งมีประโยชน์มากขึ้น เพราะกล้วยสุกเป็นแหล่งของโพแทสเซียม ซึ่งเป็นธาตุที่จำเป็นต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและประสาท และยังช่วยควบคุมความดันโลหิต กล้วยไม่ว่าจะสดหรือตากแห้งจะมีน้ำตาลธรรมชาติอยู่มาก ซึ่งน้ำตาลเหล่านี้จะเข้าไปหมุนเวียนในกระแสเลือดได้เร็ว เพราะฉะนั้นนักกีฬาจำนวนมากจึงนิยมกินกล้วยก่อนการแข่งขันหรือแม้แต่ในระหว่างการแข่งขัน (ส่วนมากที่เห็นๆ เขาจะกินกล้วยหอม)

และ กล้วยน้ำว้า ยังเหมาะเป็นอาหารเสริมสำหรับเด็กทารก เพราะเนื้อมีลักษณะนิ่ม ง่ายต่อการกินของทารกที่ยังไม่มีฟันหรือที่ฟันเพิ่งเริ่มขึ้น นอกจากนี้ กล้วยยังมีคุณค่าของธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารกด้วย เช่น มีกรดอะมิโน และเกลือแร่ที่จำเป็นสำหรับเด็กทารกหลายชนิด อีกทั้งมีส่วนประกอบของโปรตีนที่ใกล้เคียงกับน้ำนมแม่อีกด้วย

ภูมิปัญญาของคนไทยตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ท่านจะเอากล้วยน้ำว้ามาบดกับข้าวให้เด็กทารกกินเป็นอาหารเสริม เพราะทำให้เด็กทารกมีสุขภาพแข็งแรง และเชื่อว่าทุกท่านตอนเด็กๆ ก็ต้องได้กินกล้วยน้ำว้าบดกันมาแล้วอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ กล้วยสุกยังช่วยแก้อาการท้องผูก ช่วยลดอาการเจ็บคอ ถ้ากินทุกวันจะช่วยลดกลิ่นปาก และช่วยให้ผิวพรรณสวยงามอีกด้วย ที่น่าสนใจและดีไปกว่านั้นอีกคือ กล้วยสุกนั้นกินได้เลย โดยไม่ต้องนำมาปรุงอะไรทั้งสิ้น เพียงปอกเปลือกก็กินได้ทันที จนมีสำนวนไทยเปรียบเปรยว่า ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก

กล้วย เป็นพืชมหัศจรรย์

กล้วย เป็นอาหารที่อยู่คู่กับมนุษย์มานาน มีการพัฒนาและเติบโตขึ้นมาพร้อมๆ กับต้นข้าวที่อยู่ท้องทุ่งท้องนา ผลกล้วยสามารถนำมากินได้ทั้งผลดิบและสุก หรืออาจจะนำมากินสดๆ ก็มีรสชาติที่อร่อย อีกทั้งยังให้พลังงานสูงอีกด้วย ใบกล้วย (ใบตอง) ใช้ห่ออาหารหรือใช้เป็นภาชนะห่ออาหาร ตามภาคต่างๆ ของไทยเราส่วนมากจะนิยมนำใบตองมาห่ออาหารประเภทห่อหมก ห่อปิ้ง และห่อขนมหวานต่างๆ มีนำมาประดิษฐ์เป็นงานฝีมือ เช่น ทำกรวยดอกไม้ ทำกระทง ทำบายศรี เพื่อใช้ในการสู่ขวัญ เป็นต้น

กาบกล้วย ทำเป็นเชือกกล้วยที่ขึ้นชื่อในเรื่องความเหนียว เส้นใยจากกาบกล้วยสามารถใช้ทอเป็นผืนผ้า ใช้ทำกระดาษ และยังเป็นอาหารที่นำไปเลี้ยงหมูได้ ใช้ทำเป็นฐานกระทงเพื่อนำไปลอยในงานวันลอยกระทง เป็นต้น

กล้วย นอกจากประโยชน์ในด้านต่างๆ แล้วยังมีคุณค่าด้านสมุนไพร เช่น กล้วยสุก เมื่อกินเข้าไปแล้วจะเป็นยาระบายอย่างดีเพราะมีสารเพคตินอยู่สูง วิธีการกินกล้วยต้องเคี้ยวให้ละเอียดจึงจะทำให้ย่อยง่าย และท้องไม่อืด ส่วนกล้วยดิบ จะช่วยระงับอาการท้องร่วงได้อย่างดี เพราะมีสารแทนนิน

กาบกล้วยและลำต้น ส่วนที่อยู่ใต้ดิน มีสารเเทนนิน ช่วยเรื่องแผลไฟไหม้ รักษาผิวที่เกรียมไหม้ เนื่องจากแดดเผา ส่วนก้านกล้วย มีสารแทนนินใช้ห้ามเลือดได้

ส่วน ราก ยังนำมาคั้นกินแก้ปวดฟัน โรคขัดเบา ส่วนกาบกล้วยนำมาวางตามร่างกายจะช่วยลดไข้ได้ และรากกล้วยตีบ (กล้วยพื้นเมืองชนิดหนึ่งที่พบขึ้นทั่วไปตามป่าธรรมชาติในทุกภาคของประเทศไทย เป็นลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี มีลักษณะค่อนไปในทางกล้วยตานี) นำมาต้มกินแก้ร้อนในได้

หัวปลีกล้วย มีธาตุเหล็กมากใช้รักษาโรคโลหิตจาง นำมาแกงกินบำรุงน้ำนมในแม่ลูกอ่อน ใช้เผาไฟแล้วคั้นน้ำดื่มแก้ปวดท้องโรคกระเพาะ แก้โรคเบาหวาน

เมนูกล้วยๆ

กล้วยนั้นสุกเร็วมาก ถ้าไม่กินสดหรือกินไม่ทัน nforcershq.com เพราะกล้วยออกลูกเป็นเครือ ในหนึ่งเครือมีประมาณ 10 หวี ในหนึ่งหวีมีประมาณ 20 ลูก กล้วยนำมาทำอาหารได้สารพัด หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้อีก เช่น กล้วยปิ้ง ขนมกล้วย กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยฉาบ กล้วยตาก กล้วยกวน กล้วยแขก กล้วยจี่ ข้าวเหนียวห่อกล้วย กล้วยอบ เค้กกล้วย (มีหลายแบบมาก) กล้วยทอด (ดูจะคล้ายๆ กับมันฝรั่งทอด) ถ้าสุกมากก็นำมาตากแดดเป็นกล้วยตาก หรือกล้วยกวน ปัจจุบัน ยังมีการทำเป็นซอสกล้วยใช้จิ้มอาหารต่างๆ หรือนำมาทำเป็นแป้งเพื่อใช้ทำอาหารหรือขนมต่างๆ ได้อีก

หากท่านมีกล้วยแล้วไม่รู้จะทำอะไรดี มีเมนูกล้วยๆ ที่น่าสนใจมาให้ลองทำดู ตำเนื้อปลากรายผสมกับน้ำเกลือ ตำให้เหนียวพักไว้ (หากไม่สะดวกก็ใช้ลูกชิ้นปลากรายได้เลย)
ตำเครื่องแกงเขียวหวานกับกะปิรวมกันพักไว้
ปอกกล้วยน้ำว้าดิบหั่นเป็นแท่งๆ (ขนาดเท่ากับหน่อไม้ที่ใช้ทำแกงเผ็ดทั่วไป) แช่ในน้ำเกลือและมะขามเปียกเจือจาง และนำไปลวกพอน้ำเดือดแล้วยกลงพักไว้
ตั้งหม้อใส่น้ำกะทิส่วนหาง ผสมเครื่องแกงเขียวหวานที่เตรียมไว้ คนจนส่วนผสมเข้ากันดี รอจนกระทั่งน้ำแกงเดือด ให้ใส่ลูกชิ้นปลากรายหรือปลากรายขูดปั้นเป็นก้อนๆ ขนาดตามต้องการ พอน้ำแกงเดือดอีกครั้ง จะเห็นลูกชิ้นปลาลอยขึ้นมา ใส่กล้วยที่เตรียมไว้ ตามด้วยกระชาย ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ เกลือ (น้ำปลาไม่จำเป็นต้องใช้เพราะทำให้เหม็นคาว) เติมหัวกะทิลงไป ตามด้วยพริกชี้ฟ้าแดง ใบมะกรูด โหระพา ทีนี้ก็ชิมรสได้ตามต้องการ
หากเป็นสูตรภาคกลางจะนิยมผัดเครื่องแกงกับน้ำมันให้หอมก่อน แล้วค่อยใส่หางหรือหัวกะทิลงไปผัดด้วย จะได้น้ำแกงที่มีมันลอยหน้า แต่หากเป็นสูตรทางภาคใต้เขาจะเรียกว่า แกงน้ำทิสดๆ ซึ่งก็ตามสูตรข้างบน

ตามสูตรไม่ได้บอกสัดส่วนของส่วนผสม ก็ขอให้ประมาณว่าเครื่องแกงเขียวหวานสัก 2-3 ขีด ส่วนของเนื้อปลาสักครึ่งกิโลกรัม และน้ำกะทิ 1.5 กิโลกรัม

ถ้าใช้กะทิกล่องก็สัก 2 กล่อง เครื่องแกง 4 ช้อนโต๊ะ กล้วยน้ำว้าสัก 5-6 ลูก ลูกชิ้นปลาหรือปลาขูดที่ปั้นเป็นก้อนและลวกน้ำร้อนไว้แล้วก็ได้ ลองประมาณดู เพราะหากใช้ไม่หมดยังไงเราก็สามารถนำไปทำเมนูอื่นๆ ได้อีกหลายๆ เมนู

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2560/61 ภายใต้โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปี 2560/61 โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) จัดสรรวงเงินสินเชื่อ 1,500 ล้านบาท และรัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ยให้กับ ธ.ก.ส. วงเงิน 45 ล้านบาท โดยตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปีในส่วนของกระทรวงการคลัง

ทั้งนี้ การสนับสนุนสินเชื่อให้กับสถาบันเกษตรกรที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมีการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง นำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรวบรวมหรือรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกร เพื่อช่วยดูดซับปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงที่ผลผลิตออกมาก ระหว่างเดือน ก.ย.-พ.ย. ประมาณ 3.07 ล้านตัน คิดเป็น 69.3% ของผลผลิตทั้งหมด ส่งผลให้ผลผลิตมีความชื้นสูง เกษตรกรไม่สามารถปรับปรุงคุณภาพได้ทันก่อนที่จะจำหน่ายผลผลิตเข้าสู่โรงงานอาหารสัตว์ ทำให้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อาจปรับตัวลดลงได้หากไม่มีมาตรการช่วยเหลือ

กระทรวงพาณิชย์ได้รายงานครม. ว่าปริมาณผลผลิตและความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เดือนก.ย.ปีนี้ มีปริมาณ 4.43 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.11 ล้านตันจากปีก่อน ซึ่งผลผลิตเพิ่มขึ้นยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปี 2560 อยู่ที่ 8.10 ล้านตันเพิ่มขึ้นจากปี 2559 ประมาณ 0.28 ล้านตัน

สำหรับมาตรการตามโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยสถาบันเกษตรกร ซึ่งรวมทั้งสหกรณ์การเกษตร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน วงเงิน 1,500 ล้านบาท ธ.ก.ส. จะคิดดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการในอัตรา 4% ต่อปีโดยคิดจากสถาบันเกษตรกรในอัตรา 1% ต่อปีและรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ ธ.ก.ส. ในอัตรา 3% ต่อปีเป็นระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือนนับตั้งแต่วันที่กู้เงิน และตั้งแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดระยะเวลาในการชำระเงินกู้เป็นต้นไป