ตลาดขายส่งสินค้าเกษตรตลาดเหล่านี้มีมากกว่า 80 แห่ง

ทั่วประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะตามเมืองสำคัญ เช่น โตเกียว โกเบ โอซาก้า ฟูคุโอกะ และฮอกไกโด เฉพาะกรุงโตเกียวก็มีตลาดขายส่งมากกว่า 10 ตลาด เช่น ตลาดโอตะ ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดขายส่งขนาดใหญ่ อยู่ติดกับอ่าวโตเกียว ใกล้สนามบินนานาชาติฮาเนดะ สินค้าที่จำหน่ายมีทั้งนำเข้าจากต่างประเทศ และผลิตในประเทศ ตลาดแห่งนี้มีสินค้าเกษตรและอาหารแทบทุกชนิด แบ่งแยกพื้นที่การซื้อขายชัดเจน เช่น พื้นที่ของตลาดไม้ดอกไม้ประดับ ตลาดอาหารทะเล ตลาดผักและผลไม้ สินค้าที่ผู้ซื้อประมูลไปแล้วจะถูกลำเลียงไปยังปลายทางตามเมืองต่างๆ และส่งตามซูเปอร์มาร์เก็ต นอกจากนี้ ในพื้นที่ของตลาดก็ยังมีพื้นที่สำหรับจัดจำหน่ายสินค้าที่ถูกประมูลแล้ว แบ่งขายให้กับร้านค้าย่อยๆ มาเลือกซื้อสินค้าไปจำหน่ายต่อได้อีกด้วย

นโยบายการเกษตรของประเทศมีส่วนสำคัญต่อทิศทางการผลิตทางการเกษตร สินค้าที่ผลิตเกินความต้องการก็ไม่จำเป็นต้องผลิต เช่น ญี่ปุ่นผลิตข้าวได้เพียงพอต่อการบริโภคและไม่มีนโยบายส่งออก ปัจจุบัน ผู้บริโภคหันไปบริโภคอาหารพวกราเมงหรือขนมปังเพิ่มขึ้น และบริโภคข้าวลดลง รัฐบาลก็ใช้ระบบจูงใจให้เกษตรกรลดพื้นที่การปลูกข้าว โดยให้เป็นเงินอุดหนุนจำนวนมาก ขึ้นอยู่กับว่าเกษตรกรจะเลือกปลูกพืชอะไรที่ต้องการ เช่น ต้องการข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และถั่วเหลือง เป็นต้น ผู้เขียนนึกถึงงานภาคการเกษตรบ้านเรา ที่ระบบการผลิตระบบการตลาดยังไม่ชัดเจน มีหลายเรื่องควรได้รับการปรับปรุง จึงหวังว่าบทความนี้อาจจะมีประโยชน์ในบางแง่มุมของการพัฒนางานการเกษตรของบ้านเราต่อไป

สถานการณ์ไวรัส โควิด-19 เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีคนเป็นห่วงราคาทุเรียนในประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะต้นตอของโรคร้ายอยู่ที่จีน ซึ่งซื้อผลผลิตจากไทยเป็นหลัก ดังนั้น จึงพบข่าวปลอมอยู่เสมอว่า ราคาทุเรียนตกต่ำส่งจีนไม่ได้ แต่ข้อเท็จจริงแล้ว เมื่อเดือนมีนาคม 2563 ราคาซื้อขายทุเรียนที่จันทบุรี เกรด เอ บี กิโลกรัมละ 140 บาท เข้าสู่เดือนเมษายนลดลงเหลือ 120 บาท เกรดซีและดีก็ลดหลั่นกันไป สรุปแล้วราคาทุเรียนปีนี้ในภาคตะวันออก สูงกว่าปีที่แล้วราว 20 เปอร์เซ็นต์

เนื่องจากช่วงนี้เป็นยุคทองของทุเรียน เกษตรกรจึงหันมาสนใจปลูกกันมาก คุณชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 ให้ข้อมูลว่า ระยะ 4-5 ปีมานี้ เกษตรกรซื้อต้นทุเรียนไปปลูกไม่ต่ำกว่า 10 ล้านต้นทั่วประเทศ แต่รอดไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ เพราะปัจจัยไม่เหมาะสม

กระแสความนิยมของทุเรียนพุ่งสูง แต่ปัจจัยหลักอย่างน้ำ กลับมีน้อยลง เพราะคนใช้กันเยอะ อนาคตเรื่องน้ำเป็นเรื่องใหญ่แน่ ปีไหนฝนดีก็รอดตัวไป แต่ปีไหนแล้ง จะเสียหายในวงกว้าง ทุเรียนมูซังคิง จากมาเลย์ สู่เมืองไทย

พันธุ์ทุเรียนของไทย เบอร์ 1 ต้องยกให้ หมอนทอง เคยสัมภาษณ์ ดร. ทรงพล สมศรี นักปรับปรุงพันธุ์ทุเรียนจันทบุรี 1-10 ว่า มีอะไรใหม่ๆ มาสู้หมอนทองได้ไหม อาจารย์บอกไม่ได้ ถามต่อว่า…แล้วงานวิจัยที่ได้มา…อาจารย์บอกว่า เพื่อเป็นทางเลือก มีข้อเด่น ข้อด้อย ต่างกัน บางพันธุ์ให้ผลผลิตเร็วขึ้น งานวิจัยทำให้มีความหลากหลาย ซึ่งเดิมทีพันธุ์ทุเรียนได้จากธรรมชาติเท่านั้น

ทุเรียนของไทย โดยทั่วไปจะมีชื่อเป็นไทยๆ อย่าง กบชายน้ำ ย่ำมะหวาด อีลีบ อีลวง แต่เมื่อ 3-4 ปี ที่ผ่านมา วงการทุเรียนมีการพูดถึงพันธุ์ “มูซังคิง” ซึ่งถิ่นเดิมอยู่ประเทศมาเลเซีย ถูกนำมาปลูกในไทย ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา จากนั้นจึงขยายมายังภาคตะวันออก อย่าง จันทบุรี และตราด

ชาวสวนที่ปลูกทุเรียนรับรู้ได้เร็วว่า มูซังคิง น่าสนใจ จึงขยายปลูก และได้ผลดีหลายราย

ราคาจำหน่ายผลผลิต กิโลกรัมละ 500 บาท แต่ปริมาณยังไม่มากนัก ต้นพันธุ์ทุเรียนมูซังคิง มีจำหน่ายทั่วไปทั้งภาคตะวันออกและภาคใต้ แต่ผู้ที่ผลิตเป็นการค้าและศึกษาทุเรียนพันธุ์นี้จริงจังคือ บริษัท โกลด์เด้นคิงแพล้นท์ จำกัด สำนักงานอยู่ เลขที่ 900/31 อาคาร เอสวีซิตี้ ถนนพระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10210 ในภาคสนาม บริษัทมีศูนย์กระจายอยู่เกือบทุกภาค จะมีเบอร์โทรศัพท์ให้ติดต่อสอบถามในตอนท้าย

เผยแพร่พันธุ์ไปแล้วกว่า 2 แสนต้น

คุณอนวัช สะเดาทอง หรือ อาจารย์สาย รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลด์เด้นคิงแพล้นท์ จำกัด คือผู้ศึกษาทุเรียนมูซังคิงอย่างถ่องแท้คนหนึ่ง อาจารย์สาย เรียนจบจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ ชลบุรี ถึงแม้จบทางเครื่องจักรกลการเกษตร คือ “เกษตรกลวิธาน” แต่ก็อยู่ในแวดวง สามารถนำมาปรับใช้กับงานสวนได้ดี

อาจารย์สาย เล่าว่า บริษัท โกลด์เด้นคิงแพล้นท์ฯ ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตร โดยเฉพาะพันธุ์พืช ที่ผ่านมาได้รับการยอมรับกันมากคือ เรื่องพันธุ์ปาล์มน้ำมัน เนื่องจากได้เดินทางไปดูงานที่มาเลเซีย และพบว่า ทุเรียนมูซังคิงได้รับความนิยมในหมู่คนท้องถิ่น และที่สำคัญสามารถส่งไปจำหน่ายยังประเทศจีนในราคาสูง จึงมีการศึกษาอย่างจริงจัง จนเกิดความมั่นใจ สุดท้ายได้ทำแปลงขยายพันธุ์เพื่อเผยแพร่ รวมทั้งปลูกในนาม บริษัท โกลด์เด้นคิงแพล้นท์ฯ

โดยส่วนตัว อาจารย์สาย ปลูกทุเรียนมูซังคิงไว้ 70 ไร่ ที่จังหวัดสระแก้วและบุรีรัมย์

แต่ บริษัท โกลด์เด้นคิงแพล้นท์ฯ ปลูกทุเรียนเพื่อจำหน่ายผลผลิตขณะนี้ 250 ไร่ นอกจากนี้ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเกือบ 5,000 ไร่

บางแห่งบริษัทรับเป็นที่ปรึกษาให้ อย่างที่โป่งน้ำร้อน พื้นที่ 670 ไร่

ถึงแม้เผยแพร่พันธุ์ไปได้ไม่นานปีนัก อาจารย์สาย บอกว่า จำนวนต้นมากกว่า 2 แสนต้น ที่จันทบุรีซื้อไปปลูก 1 แสนต้น ตราด 3 หมื่นต้น ระยอง 2 หมื่นต้น ภาคเหนือ 8 พันต้น อีสาน 4 พันต้น ภาคกลาง 1.3 หมื่นต้น และภาคใต้ 2.5 หมื่นต้น

“เราเก็บข้อมูลไว้หมด ที่ซื้อต้นพันธุ์ไป ภาคกลางจะรวมกาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ผมก็ปลูกเอง ทุเรียนพันธุ์นี้ เรื่องโรครากและโคนเน่า เรานำมาเปรียบเทียบกับหมอนทอง พันธุ์นี้จะต้านทานกว่า” อาจารย์สาย บอก

เป็นที่ยอมรับกันว่า การยกโคกให้สูงขึ้นสำหรับปลูกทุเรียน ต้นจะโตเร็ว ที่สำคัญลดการเกิดโรครากและโคนเน่า โดยทั่วไปเกษตรกรจะกองดินให้สูงขึ้น ตามตำแหน่งที่จะปลูก ไร่หนึ่งปลูกได้ 33 ต้น ก็กองดิน 33 กอง ปัจจุบันมีการทำร่องคล้ายแปลงผัก เรียกว่า “ร่องแห้ง” สามารถดูภาพหน้าตัดที่ลงไว้

ถามถึงระยะปลูกที่เหมาะสม อาจารย์สาย แนะนำว่า ระยะระหว่างแถว 8 เมตร ระหว่างต้น 6 เมตร มีความเหมาะสม ภาคตะวันออก เริ่มให้ผลผลิต

อาจารย์สาย บอกว่า ทุเรียนมูซังคิง อายุการเก็บเกี่ยวตั้งแต่ดอกบานจนสามารถเก็บได้ ใช้ระยะเวลา 90 วัน ถือว่าเป็นทุเรียนพันธุ์เบา

มีเกษตรกรที่นำต้นพันธุ์จาก บริษัท โกลด์เด้นคิงแพล้นท์ฯ ไปปลูก และเริ่มมีผลผลิตแล้ว จำนวน 1 ราย คือ คุณมนตรี แนวพนา อยู่อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ต้นมีอายุเพียง 28 เดือน แต่การไว้ผลยังไว้ได้ไม่มาก เนื่องจากต้นยังเล็ก ที่แปลงของบริษัทก็เริ่มให้ผลแล้วเช่นกัน แต่ยังไม่มาก เริ่มมีดอกเมื่อต้นอายุ 33 เดือน

“แปลงที่เริ่มให้ผลปีนี้ ที่ตราด 1 ราย ปีหน้าจะออก 3 ราย… ที่จันทบุรี ที่อำเภอเขาคิชฌกูฏก็จะไว้ผลผลิต เกษตรกรแต่ละรายปลูกมากน้อยแตกต่างกันไป บางรายปลูกมากถึง 600 ต้น…ที่ภาคตะวันออก มูซังคิง จะออกเดือนมีนาคมพร้อมกระดุม คือดอกบานช่วงปีใหม่ มีนาคมก็เก็บผลผลิตได้” อาจารย์สาย บอก

อายุการให้ผลผลิตทุเรียนหลังปลูก เดิมเข้าใจว่า 6-7 ปี จึงไว้ได้ เนื่องจากปัจจุบันมีเทคโนโลยีทันสมัย ต้นโตเร็ว ผู้ปลูกบางคน 4 ปี ก็ไว้ผลแล้ว สาเหตุที่ทำได้ เพราะมีปัจจัยเหมาะสมและเพียงพอ

“ผลผลิตมูซังคิง จะมากจริงๆ ปี 2565 ไปแล้ว…ของเราเองพยายามสร้างแบรนด์ ตอนนี้มีแบรนด์…ทุเรียนคนกิน…เน้นคุณภาพ เก็บตามอายุจริงๆ” อาจารย์สาย บอก

นำระบบอัฉริยะมาใช้

ที่ภาคใต้ ภาคตะวันออก ปลูกทุเรียนมูซังคิงไปมากแล้ว ที่ผ่านมา อาจารย์สาย บอกว่า บริษัทให้คำปรึกษาทั่วๆ ไป เกษตรกรปลูกมากบ้างน้อยบ้าง บางราย 50 ไร่ บางราย 10 ไร่ แต่ฤดูการเพาะปลูกนี้ บริษัทรับเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ปลูกรายใหญ่ ที่อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี บนเนื้อที่ 670 ไร่ เริ่มลงมือปลูกเมื่อ 1 มิถุนายน 2563 จำนวน 14,000 ต้น เน้นใช้เครื่องจักร ตั้งแต่การตัดหญ้า พ่นสารกำจัดศัตรูพืช …ที่นี่ใช้คนน้อย

ที่นี่…ปลูกพันธุ์มูซังคิงล้วนๆ ที่สำคัญนำระบบเกษตรอัฉริยะเข้าไปใช้ ทั้งนี้ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องแรงงาน อาจารย์สายยกตัวอย่างระบบการให้น้ำ ซึ่งแต่ละวัน แต่ละเดือน ปริมาณการให้น้ำจะไม่เท่ากัน จะมีเครื่องวัดความชื้นในดินในบรรยากาศบริเวณนั้น แล้วอ่านค่าคำนวณออกมาว่า ให้น้ำเป็นเวลานานเท่าใด จะเป็นการให้น้ำตรงตามความต้องการของต้นพืช ลดการสิ้นเปลือง ที่นี่จะเป็นแปลงปลูกทุเรียนมูซังคิงใหญ่สุดในประเทศไทย

ฝากถึงผู้อยากปลูก

ราคามูซังคิงช่วงนี้ อยู่ที่กิโลกรัมละ 500 บาท

อาจารย์สาย บอกว่า หากมีผลผลิตในสภาพปกติ ขายกิโลกรัมละ 200 บาท ผู้ปลูกก็อยู่ได้

“ผู้ที่อยากปลูกทุเรียน หนึ่ง. ต้องมีระบบน้ำ สอง. ต้องมีไม้บังลม หรือบริเวณนั้นลมไม่แรง หากลมแรง ปีๆ หนึ่งเคยพบเกษตรกรผลผลิตเสียหายเป็นครึ่ง…ทุเรียนที่ได้รับความนิยมในบ้านเรา อนาคตจะเข้าสู่อุตสาหกรรมแปรรูปมากขึ้น มูซังคิงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะใช้กินสด รวมทั้งส่งออกไปต่างประเทศ” อาจารย์สาย ให้แง่คิด

สำหรับผู้สนใจเพิ่มเติม สอบถามได้ตามที่อยู่ ซึ่งให้ไว้ข้างต้น อยากปรึกษาหารือกับ คุณอนุวัช สะเดาทอง หรืออาจารย์สาย โทรศัพท์ 081-857-0811 หรือติดต่อตามศูนย์ต่างๆ ของบริษัท ดังนี้ ศูนย์ตราด โทรศัพท์ 084-946-8042, 090-787-8530 ศูนย์จันทบุรี โทรศัพท์ 064-013-8967 ศูนย์หนองคาย โทรศัพท์ 095-517-4529

ลักษณะประจำพันธุ์ ทุเรียนมูซังคิง

ชื่ออื่นๆ โกลด์เด้นคิง, เหม้าซานหวาง, เหมาซานหว่อง

ขั้วผล…เห็นเป็นรูปมงกุฎชัดเจน (Crow on top)

ก้นผล…มีรูปดาวสีน้ำตาลชัดเจน (Star Fish)

การเจริญเติบโต…ลำต้นแข็งแรง โตเร็ว ต้านทานโรคได้ดี เพราะเป็นสายพันธุ์ป่า

อายุเก็บเกี่ยว…หลังดอกบาน 90 วัน จบ ป.โท สานต่อเกษตรครอบครัว ใช้พื้นที่ 25 ไร่ ปลูกมะนาว ทำสวนผักกางมุ้ง เปิดฟาร์มเลี้ยงไส้เดือน ผลิตปุ๋ยใช้เองในสวนช่วยลดต้นทุน ทั้งสามารถขายได้ มีพื้นที่น้อยก็ทำได้ กำไรงาม

กระแสคนรุ่นใหม่หันมาสนใจเกษตรกันเพิ่มมากขึ้น หลายคนหันกลับไปสานต่อพื้นที่เกษตรของครอบครัว ต่อยอดให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เกิดการทำเกษตรแบบผสมผสาน แปรรูปและหาวิธีที่จะช่วยลดต้นทุนในการผลิต และเห็นความสำคัญในเรื่องของสุขภาพทั้งเกษตรกรผู้ทำเองและผู้บริโภคด้วย

จะเห็นไอเดียการทำสวนผักกลางกรุง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ สวนผักดาดฟ้า สวนผักบนคอนโดฯ ต่างๆ หรืออีกหลากหลายไอเดียของเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่มีความต้องการใช้พื้นที่ที่มีอย่างสร้างสรรค์และคุ้มค่า

รู้จักเกษตร ตั้งแต่จำความได้

ทำเกษตรอินทรีย์ หัวใจหลัก “ครบวงจร” คุณศศิธร จุ้ยนาม วัย 38 ปี เจ้าของฟาร์มลุงเครา รุ่นที่ 2 เล่าในฟังว่า “รู้จักอาชีพเกษตรกรรม มาตั้งแต่จำความได้ คลุกคลีกับสภาพแวดล้อมการทำเกษตรมาตลอด เนื่องจากครอบครัวยึดอาชีพเกษตรกรรม เริ่มทำเกษตรกันตั้งแต่ประมาณปี 2520 ซึ่งตอนนั้นพื้นที่ตรงนี้ยังเป็นป่าอยู่เลย บนพื้นที่ 25 ไร่ ของฟาร์มลุงเครา ผ่านการพัฒนาและปลูกพืชผลทางการเกษตรที่หลากหลาย เป็นการปลูกพืชหมุนเวียน และพืชกระแสที่สามารถปลูกเพื่อสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้

ตั้งแต่เด็กจำความได้ ช่วยพ่อแม่ทำการเกษตรมาตลอด จนตอนนี้เรียนจบปริญญาโท ด้านเศรษฐศาสตร์ ก็ยังกลับมาสานต่อความตั้งใจการทำเกษตรต่อจากครอบครัว ช่วงโรงเรียนปิดเทอมหรือมหาวิทยาลัยปิดเทอม เวลากลับมาบ้าน ก็เข้าสวนเสมอ จึงมีความคิดจะสานต่องานเกษตรของครอบครัว ยุคคุณพ่อ ทำเกษตรโดยการปลูกผัก ทำนาข้าว ซึ่งรายได้หลักของสวนเกษตรแห่งนี้ ในตอนนั้นคือ ผักกระเฉดและกุยช่าย ซึ่งทำเงินให้ครอบครัวได้ไม่น้อย”

ต้องยอมรับว่า เมื่อก่อนการทำเกษตร ไม่ว่าจะปลูกผัก ปลูกข้าว มีการใช้ยาฆ่าแมลงกันเยอะ ต้นทุนสูง แต่รายรับที่ได้ก็ถือว่าดีมาก พอช่วงปี 2539 เกิดน้ำท่วมใหญ่ สร้างความเสียหายต่อฟาร์มลุงเคราอย่างมาก ตอนนั้นคิดเป็นเงินร่วมล้านบาททีเดียว คุณศศิธร บอก

ฟาร์มลุงเครา เริ่มศึกษาดูเรื่องชีวภาพ การทำเกษตรอินทรีย์มาตั้งแต่ ปี 2528 แล้ว ซึ่งตอนนั้นคุณศศิธร บอกว่า เป็นการศึกษามาเรื่อยๆ จนกระทั่งปรับสวนมาเริ่มต้นใช้ชีวภาพกันในปี 2543 ก่อนจะปรับการทำสวนเป็นแบบอินทรีย์ เมื่อปี 2547 ถึงปัจจุบัน และสามารถนำการทำเกษตรไปสู่รูปแบบของฟาร์มธุรกิจได้ เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ทำเกษตรแบบผสมผสาน ภายใต้แนวคิดที่เน้นทำให้ “ครบวงจร” ซึ่งคือหัวใจหลักของฟาร์มลุงเครา

เพาะไส้เดือน ทางเลือกลดต้นทุน

ทำเอง ใช้เอง ขายได้ กำไรงาม

คุณศศิธร เล่าให้ฟังว่า “ที่นี่ไม่จมปลักกับการเกษตรที่ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น การปลูกผักชนิดต่างๆ มันมีทั้งที่ดีและเจ๊ง ไม่ได้ผลดีหรือขายได้ดีทั้งหมด ต้องปรับตัวและหาสิ่งที่เหมาะสมกว่าทำต่อไป แต่ก่อนที่จะลงมือทำอะไร ต้องมีการศึกษาก่อน

และด้วยต้องการหาวิธีลดต้นทุนให้ต่ำลง จึงศึกษาหาข้อมูลต่างๆ มองเห็นในช่วงหลายปีมานี้ มีผู้สนใจหันมาเลี้ยงไส้เดือนจำนวนมาก เนื่องจากใช้เงินทุนเริ่มต้นไม่สูงนัก กระบวนการเลี้ยงไม่ยุ่งยาก และตลาดมีความต้องการสูง ทั้งสามารถช่วยลดต้นทุนให้ต่ำลงในเรื่องของการบำรุงพืชผลได้”

ฟาร์มลุงเครา ทดลองนำไส้เดือนมาเลี้ยง จนประสบผลสำเร็จ ซึ่งปัจจุบันฟาร์มลุงเคราได้กลายเป็นฟาร์มผักครบวงจร ทั้งถือเป็นต้นแบบและศูนย์เรียนรู้ในการเลี้ยงไส้เดือน ตั้งแต่การเลี้ยงขยายพันธุ์จนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง ตั้งแต่ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพบรรจุขวด ขายอุปกรณ์เลี้ยง รวมถึงสร้างเครือข่ายทำรายได้ให้แก่ชุมชน จนได้กลายเป็นอีกธุรกิจ ทำรายได้อย่างงดงาม

การเลี้ยงไส้เดือนจะช่วยปรับสภาพดิน กำจัดขยะ และได้มูลไส้เดือนทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติคุณภาพดีมาใช้ในฟาร์ม เพราะไม่มีผลข้างเคียงต่อพืช ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ใช้ได้กับพืชทุกชนิด เช่น ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนต้น กล้วยไม้ ผักสวนครัวหรือนำไปเพาะต้นกล้าได้

ไส้เดือน มีอยู่มากมายหลายพันธุ์ โดยฟาร์มลุงเคราเลือกเลี้ยงพันธุ์ “แอฟริกันไนท์ครอเลอร์” (African night crawler) หรือที่เรียกกันติดปากว่า AF กับพันธุ์ “ไทเกอร์” (Eisenia foetida) เนื่องจากทั้งสองพันธุ์นี้ มีคุณสมบัติขยายพันธุ์รวดเร็ว และเหมาะเป็นปุ๋ยคุณภาพดี ส่วนวัสดุที่ใช้เลี้ยง ประยุกต์ได้หลากหลาย เช่น กะละมัง บ่อซีเมนต์ ลังไม้ ฯลฯ หรือชั้นกล่องพลาสติกลิ้นชัก ซึ่งเหมาะกับผู้มีพื้นที่น้อยในการเลี้ยง

วิธีการเลี้ยง เริ่มจากเตรียมทำปุ๋ยหมักเพื่อเป็นที่อยู่สำหรับไส้เดือน (Bedding) ใช้ส่วนผสมของมูลวัว เศษเปลือกผักผลไม้ ฟาง ขี้เลื่อย ใบไม้ ขุยมะพร้าว นำมาคลุกแล้วหมักรวมกันประมาณ 1-2 เดือน ระหว่างนั้นให้รดน้ำพอชุ่มชื้น เมื่อได้แล้ว ใส่ปุ๋ยหมักลงในภาชนะที่จะเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นกะละมัง บ่อซีเมนต์ เป็นต้น จากนั้นปล่อยไส้เดือนลงไป แล้วคอยให้อาหารไส้เดือนและรดน้ำสม่ำเสมอ เมื่อครบกำหนด 20 วันของรอบการเพาะเลี้ยงนั้น จะหยุดการรดน้ำต่อเนื่องไปอีก 10 วัน เพื่อเอามูลไส้เดือน

คุณศศิธร บอกว่า วิธีเลี้ยงไส้เดือนให้เจริญเติบโตดี ตัวโต สมัคร MAXBET ขยายพันธุ์รวดเร็ว รวมถึงได้มูลไส้เดือนที่จะไปทำปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีคือ ต้องให้ไส้เดือนกินอาหารที่มีคุณประโยชน์สูง ซึ่งแต่ละฟาร์มจะมีสูตรอาหารของตัวเอง โดยที่ฟาร์มลุงเคราเน้นให้เศษผัก กับรำข้าว

ทำสวนผักกางมุ้ง ปลูกมะนาว

มองการแปรรูป ชี้คนรุ่นใหม่ทำเกษตรรุ่ง

ธุรกิจฟาร์มลุงเครานั้น เจ้าของฟาร์ม รุ่นที่ 2 บอกว่า พื้นที่รวมมากกว่า 25 ไร่นี้ ทำเป็นฟาร์มผักครบวงจร มีทั้งปลูกผักสด สร้างโรงปลูกผักแบบกางมุ้ง เน้นเป็นผักที่ไม่ต้องดูแล ไม่ยุ่งยาก ตัดขายแล้วก็สามารถแตกยอดขึ้นใหม่

เธอมองไปถึงการทำผลิตภัณฑ์แปรรูปต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปจากการเพาะเลี้ยงไส้เดือน ซึ่งทางฟาร์มก็มีหลากหลายผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว แต่จะขยายไปยังกลุ่มผู้เลี้ยงอื่น และสร้างเครือข่ายในการจำหน่ายมากขึ้น เนื่องจากกระแสความนิยมที่เพิ่มขึ้น

ทั้งมองอนาคตและวางแผนไว้ล่วงหน้า ซึ่งเป็นการจัดการของทางฟาร์มมานานแล้ว เป็นเทคนิควิธีอย่างหนึ่งในการบริการงานเกษตรแบบครบวงจรนี้คือ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าจากการศึกษา เป็นแผนระยะ 3-5 ปี ซึ่งตอนนี้พื้นที่ของฟาร์มลุงเคราปลูกมะนาวเป็นส่วนใหญ่ จึงมุ่งพัฒนาแปรรูปมะนาวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

“อาชีพเกษตรกรรม ยังมีความน่าสนใจอีกมาก เพราะตลาดยังต้องการอีก ตราบใดที่คนยังต้องกินต้องใช้ เกษตรกรรมก็ยังเป็นอาชีพที่ไม่มีวันตาย แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ เกษตรกรต้องรู้จักทำเกษตรแบบผสมผสาน พยายามทำให้ครบวงจรมากที่สุด ซึ่งจะช่วยทั้งลดต้นทุน เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และลดความเสี่ยงในการทำเกษตร อีกทั้งตอนนี้เป็นยุคของคนรักสุขภาพ อาหารการกินจึงเป็นสิ่งสำคัญและยิ่งคนรุ่นใหม่ด้วยแล้วที่สนใจ ยิ่งทำได้รุ่ง เนื่องจากมีองค์ความรู้ รู้จักนวัตกรรม มีเงินทุน พวกเขาเหล่านี้จะสามารถพัฒนาไปได้อีกไกล” คุณศศิธร กล่าวทิ้งท้าย

ใครสนใจเรื่องการทำเกษตรเชิงธุรกิจ สามารถติดต่อได้ที่ เลขที่ 4/1 หมู่ที่ 4 ทวีวัฒนา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี โทรศัพท์ 089-497-8448 หรือทาง Facebook : ฟาร์มลุงเครา จบ ป.โท มาปลูกมะนาว-เลี้ยงไส้เดือน ผลิตปุ๋ย ช่วยลดต้นทุน พื้นที่น้อยก็ทำได้ กำไรงาม