ตลาดจีนไม่ใช่รู้จักแค่ทุเรียนหมอนทอง เคยนำก้านยาว

เข้าไปขายแต่ราคาค่อนข้างสูง รสชาติไม่โดดเด่น เทียบกับชะนีไม่ได้ พวงมณี 4-5 ปีเคยนำเข้าอันดับ 1 รสชาติตอบโจทย์ผู้บริโภคใกล้เคียงกับมูซันคิง เช่นเดียวกับหลงลับแล หลินลับแล ราคาสูงเกินไปตลาดไม่ติด จึงเปลี่ยนมาเป็นชะนี ตอนนี้มูซันคิงราคาถูกกว่าหมอนทอง คุณภาพดีกว่า อร่อยกว่า เพราะสุกจากต้น หมอนทองต้องทำคุณภาพไม่ตัดอ่อนหรือใช้ยาเร่งสุกป้ายรสชาติธรรมชาติหายไป โอกาสระยะยาว 4-5 ปี ข้างหน้าปริมาณทุเรียนเพิ่มมากขึ้น ทุเรียนส่งออกทำต้องทำคุณภาพตั้งแต่วันนี้ ด้วยหลักคิดง่ายๆ ว่าเราชอบบริโภคอย่างไร ทำให้ลูกค้าได้บริโภคอย่างนั้น นั่นคือ โอกาสทำการตลาดทุเรียนไทยให้อยู่ในใจของผู้บริโภค คุณรัชวลัญช์ กล่าว

ตลาดทุเรียนส่งออก ถึงยุคการค้าที่ต้องใช้การตลาดนำ เกษตรกร ผู้ซื้อ ผู้ขาย ต้องจับมือกันเปิดโลกรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร ด้วยความเข้าใจและหน่วยงานรัฐช่วยสนับสนุน…เพื่อทุเรียนไทยก้าวไปสู่ทุเรียนโลกอย่างยั่งยืน

หมอนทองยังแรง ตัดแก่ 80-85% ห่วงน้ำหนักหาย 10% ด้าน คุณธีรภัทร อุ่นใจ นายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคตะวันออก กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดทุเรียนไทยในจีนอีก 10 ปีน่าจะไปได้ดี เพราะการปลูกทุเรียนในประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้ทำง่ายๆ ความนิยมพันธุ์ชะนีไม่น่าแทนที่หมอนทองได้ เสี่ยงต่อโรคสูง รูปทรงไม่สวย มีผู้ปลูกปริมาณน้อยมากประมาณ 7% ทำให้ราคาสูง ส่วนหมอนทองนิยมกันมาก ปลูกถึง 90% เป็นทุเรียนที่เนื้อมาก ช่องทางการตลาดมากกว่าทั้งผลสดและแปรรูป ส่วนขนาดเล็กลงมาเป็นไซซ์กลางและเล็ก

ลูกละ 1.7-5 กิโลกรัมนั้น ทำให้ตลาดมีกำลังซื้อมากกว่าลูกใหญ่ และตลาดผู้บริโภคคนจีนเป็นครอบครัวเล็กๆ เป็นช่องทางที่จะประชาสัมพันธ์ แต่ในภาพรวมทุเรียนขนาดมาตรฐานส่งออกลูกละ 5-6 กิโลกรัม ยังคงส่งออกได้ตามปกติ ส่วนการตัดแก่หรือแขวนทุเรียนไว้บนต้น ประมาณ 80% จะไม่เพิ่มต้นทุนมากนักเพราะอยู่ในระยะเก็บเกี่ยว 110 วัน แต่ต้องมีวิธีบริหารจัดการใส่ปุ๋ยบำรุงดิน เพื่อไม่ให้ต้นโทรมมีปัญหาผลผลิตปีต่อไป แต่ผลกระทบชัดเจนคือน้ำหนักทุเรียนสุก 80-85% จะหายไปประมาณ 10% ถ้าคิดน้ำหนักเป็นร้อยๆ ตัน และเม็ดเงินจะลดลงมาก ต้องทำความเข้าใจกับเกษตรกรและปรับราคาสูงขึ้นตามระยะเวลาการแขวน

“ทุเรียนไซซ์เล็กคือ ไซซ์ C ตกไซซ์ ขนาดลูกละ 1.7-1.8 กิโลกรัม แต่ถ้าทำคุณภาพเนื้อดี สีสวย รสชาติดี จะแข่งขันกับมูซันคิงทุเรียนเกรดดีขนาดลูกละประมาณ 2 กิโลกรัมได้ ตลาดส่วนหนึ่งต้องการ เช่น ตลาดออนไลน์ ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเกษตรกรและผู้ส่งออก เพราะทุเรียนลูกเล็กไม่ต้องตัดแต่งดอกมากเหมือนทุเรียนลูกใหญ่ที่ทำตามมาตรฐานส่งออก ซึ่งตลาดมีอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะตลาดกลุ่มพรีเมี่ยม อย่างไรก็ตาม ชาวสวนไม่นิยมทำทุเรียนลูกเล็กขายเพราะน้ำหนักเบา มูลค่าน้อย เชื่อว่าทุเรียนลูกใหญ่ยังมีตลาดกว้างกว่าทั้งบริโภคผลสดและแปรรูป” คุณธีภัทร กล่าว

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) โดยโครงการสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการเรียนรู้การปลูกไม้ผล และอุทยานหลวงราชพฤกษ์ จัดกิจกรรม “การถ่ายทอดเทคโนโลยี และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกองุ่น” เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคและวิธีการปลูกองุ่นในระบบใหม่จากการวิจัยและพัฒนาของโครงการหลวง และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ซึ่งจะช่วยให้ได้ผลผลิตสูง คุณภาพดี สะดวกต่อการจัดการลดการใช้สารเคมีและความเสี่ยงด้านการตลาด

คุณวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สวพส.) กล่าวว่า องุ่นเป็นไม้ผลทางเลือกที่สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงปลูกเป็นอาชีพ เพราะเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนต่อพื้นที่สูง สามารถทดแทนพืชที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ข้าวโพด เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นไม้ผลที่มีศักยภาพทางการตลาดเนื่องจากราคาและความต้องการของตลาดมีสูง และสามารถใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรได้อีกด้วย

ระบบการปลูกองุ่นแบบโครงการหลวงได้พัฒนาขึ้นใหม่จากผลการวิจัยเรื่อง “การศึกษาและพัฒนาระบบการจัดทรงต้นและตัดแต่งกิ่งองุ่น” โดยศึกษาปัญหาที่เกิดจากการปลูกองุ่นในระบบเดิม โดยวิธีการสำคัญที่พัฒนาขึ้นใหม่ ได้แก่ วิธีการผลิตต้นกล้า ระยะปลูก รูปแบบการจัดทรงต้น วิธีการสร้างกิ่ง ระบบการตัดแต่งกิ่ง วิธีการส่งเสริมการสร้างตาดอก และการปฏิบัติดูแลรักษาที่เหมาะสมกับนิสัยการเจริญเติบโตขององุ่นและสภาพแวดล้อม เป็นระบบที่มีการจัดวางกิ่งอย่างเป็นระบบระเบียบเพื่อสร้างกิ่งที่จะให้ผลผลิตที่มีจำนวน ความสมบูรณ์ และตำแหน่งของกิ่งได้ตามที่ต้องการ ทำให้ต้นองุ่นให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพ สม่ำเสมอ และยาวนาน นอกจากนี้ ยังง่ายต่อการจัดการโรคและแมลง โดยมีรูปแบบการจัดทรงต้น และระยะปลูก 3 แบบ คือ ทรงต้นแบบตัว T ระยะปลูก 6×3 เมตร แบบตัว H ระยะปลูก 6×3 เมตร และแบบตัว T ระยะปลูก 6×1.5 เมตร ซึ่งสามารถให้ผลผลิต 70-100 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี

สำหรับองุ่นไชน์ มัสแคท ถูกปรับปรุงพันธุ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2531 ที่สถานีวิจัยองุ่นและพลับอะกิซึ จังหวัดฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น และขึ้นทะเบียนพันธุ์ในปี พ.ศ. 2549 เป็นลูกผสมระหว่างองุ่นพันธุ์ Akitsu21 x Hakunan ลักษณะผลกลมขนาดใหญ่ มีเมล็ด ผิวผลสีเขียวอมเหลือง ไม่แตกง่าย เนื้อแน่น หวาน กรอบ ไม่ฝาด มีกลิ่นมัสแคท ทนต่อโรคผลเน่าและราน้ำค้างได้ในระดับปานกลาง แต่อ่อนแอต่อโรคแอนแทรกโนส ทนต่อความหนาวเย็น

วิธีการทำให้ไม่มีเมล็ดโดยในระยะหลังดอกบานเต็มที่ 1-3 วัน จุ่มช่อดอกลงในสารละลายที่มีสเตรปโตมัยซิน ความเข้มข้น 200 ppm (AGREPT 1 มิลลิลิตร) ร่วมกับจิบเบอเรลลิก แอซิด ความเข้มข้น 25 ppm (นันโต จิปเปอร์ 0.8 กรัม) และ CPPU ความเข้มข้น 5 ppm (Fulmet 5 มิลลิตร) ผสมกันในน้ำ 1 ลิตร

ในการผลิตองุ่นแบบประณีต ให้ผลผลิตมีคุณภาพสูง ภายใต้ระบบการปลูกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้ต้นทุนการผลิตในการทำโรงเรือนและค้างต่ำกว่าโรงเรือนขนาดมาตรฐานทั่วไป อีกทั้งยังสามารถลดผลกระทบที่มีต่อผลผลิตองุ่นจากความแปรปรวนของสภาพอากาศได้อีกด้วย

เริ่มต้นทำอาชีพเสริมจากสิ่งที่รัก ทำได้ไม่ยากอย่างที่คิด

คุณจารุพิชญา อุปัญ อยู่บ้านเลขที่ 66 หมู่ที่ 12 บ้านนาโด่ ตำบลนาโสก อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร อีกหนึ่งหญิงแกร่ง ควบคนเดียว 2 อาชีพ โดยอาชีพหลักมีบทบาทเป็นแม่พิมพ์ของชาติ และวันว่างจะสวมบทบาทเป็นเกษตรกรสาว ซึ่งผู้เขียนหวังว่าเรื่องราวของหญิงแกร่งท่านนี้น่าจะไปโดนใจใครหลายคนที่กำลังมองหาอาชีพเสริมอยู่ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มจากอะไรก่อน จึงอยากที่จะให้บทความนี้เป็นแนวทางให้กับทุกท่านในการหาอาชีพเสริมได้ไม่มากก็น้อย

คุณจารุพิชญา อุปัญ เล่าถึงจุดเริ่มต้นการทำเกษตรว่า ปัจจุบันมีอาชีพเป็นคุณครูอัตราจ้าง อยู่ที่โรงเรียนในจังหวัดมุกดาหาร ส่วนการเริ่มต้นทำเกษตรเป็นอาชีพเสริมนั้น เนื่องจากพอมีความรู้พื้นฐานด้านการเกษตรอยู่บ้าง เพราะเรียนจบปริญญาตรี คณะเกษตรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงนำเอาวิชาความรู้ตรงนี้มาทำอาชีพเสริม รวมถึงได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้ไปสู่เด็กๆ ที่สอนอยู่ด้วย

เริ่มต้นปลูกจากพื้นที่เล็กๆ เพื่อศึกษา
ให้เข้าใจลักษณะของแต่ละสายพันธุ์
เจ้าของบอกว่า อาชีพเสริมการปลูกมันหวานนี้ เริ่มจากการที่ตนนั้นมีความชื่นชอบรับประทานมันหวานเป็นชีวิตจิตใจ ประกอบกับที่ตนเองนั้นมีพื้นฐานด้านงานเกษตรกรรมมาอยู่แล้ว จึงใช้โอกาสตรงนี้มาเป็นแรงผลักดันในการเรียนรู้จนเกิดเป็นอาชีพเสริมนี้ขึ้นมา แต่ถึงแม้ว่าจะมีความชอบและมีความรู้พื้นฐานก็คงไม่เท่ากับการที่ได้ลงมือทำ ก่อนทำจำเป็นต้องมีการวางแผนในหลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เทคนิคและวิธีการปลูกมันหวานญี่ปุ่น รวมถึงการเรียนรู้เรื่องของสายพันธุ์ที่เหมาะกับการนำมาปลูกในแต่ละพื้นที่ และต้องเป็นพันธุ์ที่ตลาดนิยมด้วย

โดยตนนั้นเริ่มต้นทดลองปลูกบนพื้นที่เพียง 1 งาน เพื่อศึกษาให้รู้ถึงลักษณะนิสัยของแต่ละสายพันธุ์ว่าเหมาะกับพื้นที่แบบไหน อายุการเก็บเกี่ยวเท่าไร เมื่อเริ่มชำนาญ จากนั้นก็ขยายแปลงปลูกเพิ่ม จาก 1 งาน เป็น 1 ไร่ จนถึงปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกมันหวานญี่ปุ่นทั้งหมด 3 ไร่ และกำลังขยายปลูกในนาข้าวเพิ่มอีก 1 ไร่ เพื่อเตรียมพันธุ์ไว้ปลูกต่อในฤดูถัดไป ในส่วนของการปลูกมันหวานในนาข้าว จะเป็นลักษณะของนาข้าวที่ได้เก็บเกี่ยวไปแล้ว ที่พื้นดินยังมีความชื้นอยู่ก็จะนำต้นพันธุ์มาลงปลูกไว้

ซึ่งสายพันธุ์มันหวานที่สวนเลือกปลูกนั้นมีอยู่หลายสายพันธุ์ด้วยกัน เช่น มันหวานญี่ปุ่นส้มโอกินาวา มันม่วงญี่ปุ่น เพอเพิล สวีท มันม่วงไต้หวัน มันม่วงฮาวาย มันม่วงเกาหลี มันหวานญี่ปุ่นซิลสวีท มันหวานญี่ปุ่นเหลืองเบนิฮารุกะ และมันหวานญี่ปุ่นซากุระไวน์ โดยสายพันธุ์ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ส่วนหนึ่งได้พันธุ์มาจากการสั่งซื้อออนไลน์ รวมถึงญาติพี่น้องนำพันธุ์ที่เคยปลูกแล้วได้ผลดี จึงแนะนำให้ทดลองปลูกด้วย

เทคนิคการปลูกมันหวานญี่ปุ่น
ต้นทุนต่ำ รายได้งาม
คุณจารุพิชญา บอกเล่าถึงเทคนิคการปลูกมันหวานญี่ปุ่นว่า การปลูกนั้นมีเทคนิคที่ไม่ยาก ถ้าเป็นมือใหม่หัดปลูกให้เริ่มปลูกจากสายพันธุ์ ส้มโอกินาวา และ ม่วงเพอเพิล สวีท เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ปลูกง่าย และยังเป็นพันธุ์ที่ตลาดต้องการ เหมาะกับการนำไปทำเป็นมันทอด ส่วนสายพันธุ์อื่นๆ นั้นค่อนข้างจะปลูกยากขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง มีระยะการเก็บเกี่ยวที่ยาวนานกว่า มีกลุ่มลูกค้าในตลาดออนไลน์เป็นหลัก

เทคนิคการปลูก… มันญี่ปุ่น จะเหมาะกับการปลูกบนพื้นที่ดินร่วนปนทรายอย่างแถบภาคอีสาน การเตรียมแปลงนั้นเริ่มจากการไถพรวน รองพื้นด้วยปุ๋ยขี้ไก่อัดเม็ด ปริมาณ 1 กระสอบ ต่อ 1 ไร่ ผสมกับปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ไม่ต้องมาก แล้วไถพรวนยกร่องอีกครั้งเพื่อเตรียมการปลูก

ขั้นตอนการปลูกยอดพันธุ์ลงดิน… หลังจากยกร่องเตรียมแปลงเสร็จ จากนั้นนำยอดพันธุ์ที่เตรียมไว้มาปลูกลงดิน ซึ่งหากใครมียอดพันธุ์เป็นของตนเอง แนะนำว่าก่อนนำมาปลูกต้องนำไปแช่น้ำให้ยอดฟื้นตัวก่อน และต้องคำนึงถึงช่วงเวลาในการตัดด้วย ซึ่งระยะตัดยอดที่เหมาะสมคือ ช่วงเวลาตั้งแต่ 6-8 โมงเช้า เพื่อไม่ให้ยอดเหี่ยว ส่วนการปลูกนั้นให้เริ่มปลูกช่วงบ่าย เพื่อหลีกเลี่ยงให้ยอดพันธุ์ที่ปลูกใหม่ๆ โดนแสงให้น้อยที่สุด เนื่องจากตอนปลูกใหม่ๆ ต้นจะยังไม่แข็งแรง ติดช้า ถ้าปลูกช่วงบ่ายเป็นต้นไป ช่วงที่โดนแสงไปถึงเย็นจะเหลือเวลาไม่กี่ชั่วโมง เมื่อตกกลางคืนมาต้นจะฟื้นตัวเร็ว พอถึงช่วงเช้าอากาศจะเย็น ยอดจะสดชื่น แข็งแรง ฟื้นตัวได้เร็ว ส่งผลไปถึงการให้ผลผลิตที่เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย

ระยะปลูกระหว่างต้น… ประมาณ 20-30 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ เพราะมีการเลื้อยของเถาสั้นยาวไม่เท่ากัน

ระบบน้ำ… ที่สวนจะพึ่งเพียงน้ำฝนจากธรรมชาติเท่านั้น เนื่องจากพื้นที่ปลูกอยู่ห่างไกลระบบชลประทาน ประกอบกับที่มีเงินทุนน้อย จึงยังไม่ได้มีการวางระบบน้ำให้ดีเท่าที่ควร ซึ่งในอนาคตได้มีการวางแผนที่จะขุดบ่อบาดาล วางระบบน้ำให้ดีขึ้น เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ

ปุ๋ย… ไม่ต้องใส่เยอะ เพราะในขั้นตอนการเตรียมดินปลูกตอนแรกมีการบำรุงด้วยปุ๋ยขี้ไก่อัดเม็ดไปแล้ว ในช่วงการบำรุงจึงไม่จำเป็นต้องใส่เยอะ เมื่อถึงช่วงแตกเถาจำเป็นต้องบำรุงด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยการฉีดพ่น จนถึงช่วงใกล้ลงหัว จะใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ในอัตราส่วน 1 กระสอบ ต่อ 3 ไร่ แล้วฉีดพ่นน้ำหมักหอยเชอรี่เพิ่มเข้าไป ซึ่งหอยเชอรี่จะมีกลิ่นเฉพาะตัวช่วยไล่แมลงได้

อายุการเก็บเกี่ยว… ความจริงแล้ว อายุการเก็บเกี่ยวมันเทศเกือบทุกสายพันธุ์ จะเฉลี่ยอยู่ที่ 100-140 วัน ในขณะเดียวกันมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย เช่น ฤดูกาล ความสมบูรณ์ของต้น สายพันธุ์ที่ปลูก ของที่สวนค่อนข้างที่จะให้ผลผลิตเร็ว เพราะมีการเตรียมตัวที่ดี แต่ละขั้นตอนการเตรียมพันธุ์จึงทำให้สามารถเก็บผลผลิตได้เร็วเริ่มต้นที่ 90 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว แต่ถ้าเป็นสายพันธุ์เบนิฮารุกะ และซิลสวีท จะใช้เวลานานถึง 4 เดือนขึ้นไป ราคาก็จะแพงขึ้นตามระยะเวลาการปลูกและการดูแล

ต้นทุนการผลิต
ที่สวนจะค่อนข้างมีต้นทุนการปลูกที่ถูกมาก เริ่มตั้งแต่

1. ขั้นตอนการเตรียมดิน ก็จะจ้างรถไถของญาติ ในราคา 1,000 บาท
2. ยอดพันธุ์นั้นที่สวนปลูกทำพันธุ์เอง จึงไม่มีค่าใช้จ่ายตรงนี้ แต่สำหรับคนที่ต้องซื้อยอดพันธุ์มาปลูก ราคาเริ่มต้นที่ยอดละ 1-3 บาท ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่นำมาปลูก
3. ค่าปุ๋ย จะน้อยมาก เพราะใส่แค่ปุ๋ยขี้ไก่อัดเม็ด กับปุ๋ยเคมีในสัดส่วนที่น้อยมาก นอกจากนั้นจะพึ่งอินทรีย์ทั้งหมดสรุปแล้วมีต้นทุนค่าปุ๋ยเพียง 1,000-1,500 บาท ต่อไร่
ราคา… แล้วแต่พันธุ์และขนาด ถ้าเป็นหัวเล็ก 10 หัว ต่อ 1 กิโลกรัม ขนาดกลาง 8 หัว ต่อ 1 กิโลกรัม ขนาดใหญ่ 4-5 หัว ต่อ 1 กิโลกรัม ราคามันส้มโอกินาวา และเพอเพิล สวีท 60-80 บาท แต่ถ้าเป็นเหลืองเบนิฮารุกะ และเหลืองซีลสวีท ราคาจะประมาณ 80 บาท เป็นต้นไป

รายได้… ประมาณ 30,000 บาท ต่อไร่ รวมถึงขายยอดพันธุ์ด้วย ถือว่าสร้างรายได้ดีกว่างานประจำ มันหวานถ้าเข้าใจวิธีการปลูกและดูแลแล้วถือเป็นพืชที่ปลูกง่าย สามารถทำควบคู่กับการทำงานประจำได้สบายๆ เพียงแค่เพิ่มความขยันขึ้นมาอีกนิด ยกตัวอย่าง ตนจะเริ่มตื่นตั้งแต่ตี 5 เพื่อมาหุงหาข้าว หุงข้าวเสร็จมาลงสวน ถึงเจ็ดโมงเตรียมตัวอาบน้ำไปสอนหนังสือ นี่คือ กิจกรรมช่วงเช้า กิจกรรมช่วงเย็น โรงเรียนเลิก 4 โมงเย็น ก็กลับมาหาข้าวหาปลาให้ครอบครัวแล้วลงสวนอีกครั้ง ทำแบบนี้ทุกวัน ส่วนวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ก็จะมีเวลาลงสวนทุกวัน ซึ่งฟังดูแล้วอาจจะดูเหมือนเหนื่อย แต่ถ้ามีใจรักแล้ว จะมองว่าเป็นความสุข เงินตราเป็นเรื่องที่รองลงมาเลย

ตลาด… แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. ตลาดภายในชุมชน จะเป็นในรูปแบบเหมือนการขายให้ญาติพี่น้อง คิดราคาที่คนในชุมชนสามารถจับต้องได้ เพราะอยากให้พี่น้องในชุมชนได้บริโภคผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ แต่ราคาถูก
2. ตลาดออนไลน์ เป็นตลาดหลัก มีลูกค้าเป็นกลุ่มคนรักสุขภาพเป็นส่วนใหญ่ โดยสายพันธุ์ที่ตลาดออนไลน์นิยมจะเป็นมันสีม่วงและสีส้ม เนื่องจากข้อมูลพบว่า “มันเทศเนื้อสีส้ม” เป็นแหล่งของสารเบต้าแคโรทีน เมื่อรับประทานแล้วจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ จะช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยบำรุงสายตา นอกจากนั้น ยังอุดมไปด้วยวิตามินซีและทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย และใน “มันเทศเนื้อสีม่วง” จะมีสารแอนโทไซยานินสูง มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ ลดอัตราเสื่อมของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตัน ชะลอความเสื่อมของดวงตา ที่สำคัญเป็นมันเทศที่มีรสชาติอร่อย

ฝากถึงเกษตรกร
“การเริ่มต้นจะทำอะไรสักอย่าง สำคัญที่สุดคือ ให้เริ่มจากสิ่งที่ชอบ อย่างพี่ชอบกินมันหวาน พี่ก็มาเริ่มสร้างอาชีพเสริมจากสิ่งที่ชอบ แล้วผลปรากฏว่า เมื่อเริ่มทำอะไรจากสิ่งที่ชอบ เราจะรู้สึกมีความสุขกับสิ่งที่ทำ จะไม่รู้สึกว่าที่ทำอยู่หนัก เหนื่อย แต่เราจะมองว่าเป็นความสุข ที่นอกเหนือจากการสร้างรายได้แล้ว เรายังได้เป็นอีกคนหนึ่งที่ได้สร้างแหล่งอาหารที่ดีมีประโยชน์ให้กับเพื่อนมนุษย์ด้วย” คุณจารุพิชญา กล่าวทิ้งท้าย

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) แนะส่งเสริมปลูกเลี้ยง “สุคนธรส” หรือ เสาวรสยักษ์ ให้เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ ด้วยมีคุณสมบัติเป็นไม้ผลขนาดใหญ่ นำมาแปรรูปได้ตลอดทั้งต้น มีสรรพคุณด้านสมุนไพรหลากหลาย หวังสร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคง ช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ประชาชนได้รับจากสถานการณ์โควิด-19 ในระยะยาว พร้อมเผยความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการฉายรังสี จำนวน 5 สายพันธุ์ มีลักษณะเด่น คือ ผลใหญ่ ทรงรี เปลือกผลบาง เนื้อหุ้มเมล็ดหนา กลิ่นหอม รวมทั้ง ลำต้น ใบ มีความแข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว ทนต่อโรคและแมลง

ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและระดับครัวเรือน อย่างไรก็ตาม ในวิกฤตดังกล่าวก็มีโอกาสให้กับทุกคนที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจให้การดำเนินชีวิตก้าวต่อไปได้ในระยะยาว แนวทางหนึ่ง ซึ่ง วว. มีความพร้อมและความเชี่ยวชาญในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้าไปสนับสนุนส่งเสริมภาคเกษตรกรรม ในด้านเกษตรอินทรีย์ วิจัยและส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร พืชพื้นบ้าน และพืชเศรษฐกิจใหม่ รวมทั้งการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์พืช ทั้งนี้ “สุคนธรส” หรือ “เสาวรสยักษ์” คือ ไม้ผลที่ วว. มองเห็นศักยภาพที่ควรรณรงค์ให้มีการปลูกเลี้ยงเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่

“…ปัจจุบัน การปลูกเลี้ยงสุคนธรสมีเพียงบางพื้นที่ ทำให้สุคนธรสยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เกษตรกรส่วนใหญ่มักนิยมปลูกสุคนธรสเพื่อการบริโภคเฉพาะภายในครัวเรือน สำหรับการปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นการค้ายังประสบปัญหาในเรื่องคุณภาพของสายพันธุ์ เนื่องจากต้นพันธุ์สุคนธรสที่ใช้ในการเพาะปลูกทางการค้ายังมีอยู่อย่างจำกัด แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงามของดอกและขนาดของผลที่ใหญ่โต รวมทั้งประโยชน์ในการแปรรูปเป็นอาหารตั้งแต่ใบ ดอก และผล ทำให้สุคนธรสเป็นผลไม้ทางเลือกอีกชนิดหนึ่งที่เหมาะในการส่งเสริมปลูกเลี้ยงและนำไปพัฒนาสายพันธุ์ให้มีลักษณะที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคต่อไป…” ผู้ว่าการ วว. กล่าว

ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต กล่าวต่อว่า วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. ได้ดำเนินโครงการการปรับปรุงสายพันธุ์สุคนธรสลูกผสม และเสาวรสสายพันธุ์กลายโดยวิธีการฉายรังสี ซึ่งประสบผลสำเร็จในการปรับปรุงสายพันธุ์สุคนธรส และเสาวรส เพื่อส่งเสริมปลูกเลี้ยงในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และจังหวัดน่าน โดยพื้นที่ในจังหวัดดังกล่าวสามารถปลูกเลี้ยงและเจริญเติบโตได้ดี

ดร.อนันต์ พิริยะภัทรกิจ นักวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. กล่าวเพิ่มเติมถึงข้อมูลสนับสนุนแนวคิดการรณรงค์ให้มีการปลูกเลี้ยงให้เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ว่า สุคนธรส มีชื่อวิทยาศาสตร์ Passiflora quadrangularis L. ชื่อสามัญ Giant granadilla เป็นพืชสกุลเดียวกับเสาวรส ซึ่งเป็นผลไม้ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มผู้รักสุขภาพ ไม่ว่าจะรับประทานในรูปของผลสดหรือแปรรูปเป็นน้ำผลไม้พร้อมดื่มที่อุดมไปด้วยวิตามินหลากหลายชนิด ทั้งนี้ “สุคนธรส” มีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น ดังนี้ เสาวรส (กะทกรกฝรั่ง) สุคนธรส (ภาคกลาง) แตงกะลา มะแตงสา หรือแตงสา (ภาคกลาง และตะวันตก) บางพื้นที่เรียกว่า กะทกรกยักษ์ หรือเสาวรสยักษ์ เนื่องจากผลมีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดากะทกรก (เสาวรส)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสุคนธรส เป็นไม้เถาเลื้อยมีมือเกาะ ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีปีกแคบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ ชาวบ้านนิยมนำใบอ่อน ยอดอ่อน มาลวกจิ้มน้ำพริกรับประทาน หรือนำใบมาตากแห้งเป็นชาชงดื่ม แก้ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และลดไขมันในเส้นเลือด ดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ กาบดอกหุ้มสีเขียว กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีขาวอมเขียว เจือสีแดง ดอกมีกลิ่นหอมแรงมาก ผลดิบสีเขียวอ่อนมีขนาดใหญ่ ความยาวผลประมาณ 30 เซนติเมตร น้ำหนักผล 0.5 – 1.0 กิโลกรัม รูปทรงกระบอกแกมรีหรือรูปไข่

เนื้อภายนอกของสุคนธรสมีประโยชน์และสรรพคุณหลายอย่าง สมัคร Holiday Palace ผลอ่อนรับประทานเนื้อผล นำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ผัดใส่ไข่ ต้มจืด แกงเลียง หรือนำไปลวกจิ้มกับน้ำพริก นอกจากนี้ เปลือกผลยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลไม้แช่อิ่มหรืออบแห้ง สำหรับรับประทานเป็นขนมขบเคี้ยว ภายในผลดิบจะมีเมล็ดสีดำที่ถูกหุ้มด้วยรกสีขาว ผลสุกมีสีเหลือง ภายในผลจะมีรสชาติเปรี้ยวอมหวานเช่นเดียวกับเสาวรส แต่อาจจะมีรสชาติหวานและกลิ่นหอมกว่า ชาวบ้านบางพื้นที่นิยมนำเมล็ดไปคลุกกับเกลือก่อนรับประทานเพื่อเพิ่มรสชาติ

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาแปรรูปเป็นน้ำผลไม้พร้อมดื่ม จำหน่ายเป็นสินค้าระดับชุมชน สำหรับเนื้อหุ้มเมล็ดหรือน้ำสุคนธรสอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด ด้วยลักษณะของเนื้อหุ้มเมล็ดที่นำมาใช้รับประทานมีปริมาณน้อย จึงทำให้สุคนธรสไม่ได้รับความนิยมนำมาปลูกเป็นการค้าเมื่อเทียบกับเสาวรส วว. จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในพืชดังกล่าวและมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีลักษณะดีสำหรับการปลูกเลี้ยงเพื่อการค้า

“…จากการดำเนินโครงการวิจัยที่ผ่านมา เป็นการรวบรวมและคัดเลือกสายพันธุ์เสาวรสชนิดต่างๆ พร้อมทำการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างสุคนธรส เสาวรสสีม่วง และเสาวรสสีเหลือง ตลอดจนการนำไปฉายรังสีเพื่อให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยนำสายพันธุ์ลูกผสมที่ได้จากการผสมข้ามในแต่ละคู่ผสมและสายพันธุ์กลายมาปลูกทดสอบการเจริญเติบโต และเก็บข้อมูลการให้ผลผลิตของลูกผสม

เพื่อให้ได้สายพันธุ์สุคนธรสสายพันธุ์ลูกผสม และสายพันธุ์กลายที่สามารถพัฒนาเพื่อปลูกเลี้ยงเชิงการค้า ทั้งนี้ได้มีการเก็บข้อมูลลักษณะพันธุ์และผลผลิตของสายพันธุ์ลูกผสมที่มีลักษณะดีและเด่น จำนวน 5 สายพันธุ์ และลักษณะการกลายพันธุ์ของเสาวรสสายพันธุ์ต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการฉายรังสี จำนวน 5 สายพันธุ์ และลักษณะเด่น คือ ผลใหญ่ ทรงรี เปลือกผลบาง เนื้อหุ้มเมล็ดหนา และกลิ่นหอม นอกจากนี้ ยังพบว่า สายพันธุ์ที่พัฒนาพันธุ์ด้วยวิธีการฉายรังสีลำต้น และใบจะมีความแข็งแรงเจริญเติบโตเร็ว ทนต่อโรคและแมลงได้เป็นอย่างดี…” นักวิจัย วว. กล่าว