ตลาด ได้มีการจัดพื้นที่เป็นศูนย์รวมผลผลิต แล้วนำเผือกหอมที่คัด

ขนาดไว้แล้วออกขาย ดังนี้ หัวเผือกขนาดจัมโบ้ น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ขาย 18 บาท ต่อกิโลกรัม หัวเผือกขนาดใหญ่ธรรมดา น้ำหนัก 8-10 ขีด ขาย 10 บาท ต่อกิโลกรัม หัวเผือกขนาดกลาง น้ำหนัก 5-8 ขีด ขาย 9 บาท ต่อกิโลกรัม หัวป้อใหญ่ น้ำหนัก 4-5 ขีด ขาย 5-6 บาท ต่อกิโลกรัม หัวป้อเล็ก น้ำหนักน้อยกว่า 4 ขีด ขาย 4 บาท ต่อกิโลกรัม หัวเผือกปาดคละขนาด ขาย 4 บาท ต่อกิโลกรัม

คุณปิยะชาติ แจ้งหิรัญ เกษตรกรปลูกเผือกหอม เล่าให้ฟังว่า หลังเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จได้เตรียมดินปลูกเผือกหอม ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีตลาดรองรับ ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ทำให้ได้หัวเผือกมีคุณภาพ

การเตรียมดิน ไถและยกร่องแปลงปลูก กว้าง 60 เซนติเมตร ขุดร่องน้ำระหว่างแปลงปลูก กว้าง 50 เซนติเมตร ร่วมกับเพื่อนเกษตรกรไปซื้อหน่อพันธุ์ ขุดหลุมปลูกกว้างยาวและลึก ด้านละ 30 เซนติเมตร นำปุ๋ยคอกแห้ง 2-3 กำมือ ผสมกับดินบนใส่รองก้นหลุม วางหน่อพันธุ์ลงปลูกให้ตั้งตรง เกลี่ยดินกลบ การปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาตลอดฤดูปลูกได้จัดการใส่ปุ๋ยและฉีดพ่นฮอร์โมนรวม 4 ครั้ง ถ้าพบโรคแมลงศัตรูพืชระบาดเพียงเล็กน้อยก็จับเก็บนำไปทำลายทิ้ง

เมื่อต้นเผือก อายุ 6-8 เดือน นับจากวันปลูกก็เจริญเติบโตสมบูรณ์ ได้นำชะแลงหรือเสียมไปแทงลงใต้หัวเผือกงัดขึ้นมา ลอกเปลือกแห้งออก ตัดลำต้นออก ทำความสะอาด ก็จะได้หัวเผือกหอมคุณภาพ ขนาดใหญ่และน้ำหนักดี นำไปรวบรวมในโรงเรือนหรือศูนย์รวมผลผลิตของกลุ่มเพื่อเตรียมขายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อ

นี่ก็คือ ทางเลือกของเกษตรกรที่เข้าร่วมใน โครงการปลูกเผือกหอมแปลงใหญ่ ทำให้สมาชิกสามารถยกระดับรายได้มากกว่าแสนบาทต่อปีที่พอเพียงเพื่อการยังชีพได้อย่างมั่นคง

สอบถามเพิ่มได้ที่ คุณประเสริฐ แย้มโอษฐ์ เลขที่ 29 หมู่ที่ 5 ตำบลหรเทพ อำเภอบ้านหมอ จังหวัด “รายได้จากการทำเกษตรอย่างเดียวตอนนี้ เลี้ยงคน 9 คน ควาย 4 ตัว หมา 7 ตัว” เป็นโจทย์ที่เล็กทั้งสองตั้งไว้และกำลังเดินหน้าอย่างเต็มพลัง ด้วยสองแรงฮึดจากความฝันบวกกับแรงต้านจากคนรอบข้าง ทั้งสองเดินหน้าอย่างช้าๆ แต่มั่นคง สร้างอาหารปลอดภัยให้กับตนเอง คนรอบข้าง รวมถึงชุมชน ก็ถึงวันที่ทั้งสองเชื่อมั่นว่าเส้นทางที่เดินมานั้นถูกต้องและยั่งยืนแน่นอนแล้ว จึงชวนครอบครัวน้องๆ มาร่วมเดินไปด้วย

“เล็กเชื่อมั่นแน่นอนเหรอว่าจะพาหลากหลายชีวิตให้เดินไปกับเราจนถึงฝั่งฝัน”
“แน่นอนพี่ เล็กฝ่าด่านใหญ่มาได้แล้ว ก่อนนั้นแม่จะเป็นคนแรกที่ขวางเราอยู่เสมอ ออกมาทำเกษตรแล้วจะได้อะไร จะกินอะไร เงินเดือนก็มากมาย จะมาเหนื่อยทำไม”
“อะไรทำให้มั่นใจ”
“แววตาของแม่จ้า ในวันที่แม่มาช่วยกำผักเตรียมไปขาย วันนี้แม่มีรอยยิ้มที่มีความสุขมาก พูดไม่หยุดปากเลย”
“แล้วน้องๆ มาอยู่ด้วย จะมีงานอะไรให้ทำเหรอ”

“พี่รู้ไหม งานในฟาร์มในแต่ละวัน เราแทบไม่มีเวลาว่างเลยนะ กิจกรรมหลัก กิจกรรมรองมีมาให้ได้ลงมือไม่หยุดหย่อน”
“มีอะไรบ้าง”
“หลักๆ นะพี่ จุดทำปุ๋ยหมัก ที่นี่เราจะทำตามสูตรแม่โจ้ เป็นปุ๋ยหมักไม่กลับกองตามอาจารย์ลุง จุดเผาถ่าน ได้ทั้งถ่านและน้ำส้มควันไม้ แปลงนาก็มีกิจกรรมเสริม หลังเสร็จนาเราก็จะปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่น ถั่วลิสง ถั่วเขียว ได้ผลผลิตและบำรุงดินไปด้วย บ่อปลาที่เราปล่อยเลี้ยงแบบธรรมชาติ ปู ปลา กุ้ง หอย กบ และผักน้ำอยู่รวมกัน เล้าเป็ด-ไก่ แปลงผักสวนครัว แปลงสมุนไพร แปลงไม้ดอก แปลงเพาะชำ ลอมฟาง คอกควาย เรียกว่าแต่ละคนล้วนมีงานให้ทำไม่ขาดมือเลยแหละ”

“เห็นมีเด็กๆ ด้วย”
“ใช่ค่ะ หลานๆ ก็มาอยู่ด้วยกัน ได้เรียนทั้งวิชาการในโรงเรียนและวิชาชีวิตจากแปลงจริง ทุกคนมีหน้าที่ตามกำลังของแต่ละคน เวลาทำงานเราก็ทำร่วมกัน กินข้าว พักผ่อน เราอยู่กันแบบสมัยก่อน เป็นครอบครัวใหญ่ มีความสุขมาก นี่คือความเป็นจริงของอาชีพเกษตรกร อาชีพที่มีความสุขที่สุด”
“หลานๆ ชอบไหม”
“พูดจริงๆ นะพี่ เด็กๆ สมัยนี้เขาติดจอสี่เหลี่ยม ชีวิตต้องมีอินเตอร์เน็ต แต่เมื่อเขามีหน้าที่ มีกิจกรรมในแปลง ก็ทำให้ห่างจากจอได้บ้าง หลังๆ ก็หันมาสนใจงานในแปลงมากกว่าหน้าจอ เพราะมีเรื่องราวให้ได้เรียนรู้และสนุกอีกมากมาย ที่สำคัญได้กินอาหารอย่างปลอดภัย มีรายได้จากผลผลิตในแปลง เท่านี้ก็ถือว่าเรามาตามฝันได้อย่างสมบูรณ์มากแล้วพี่”

“พอไหม ทำแค่นี้แหละ ไม่ขยายทำอะไรอีกแล้ว”
“ไม่หรอกพี่ นี่เพียงการวางรากฐานเท่านั้น เราต้องสร้างฐานให้มั่นคง จากนั้นค่อยต่อเติม”
“จะทำอะไรต่อไปล่ะ”
“ฟาร์มสเตย์ค่ะพี่ ฟาร์มสเตย์แบบฟรี”
“ทำได้เหรอ”
“แค่คิดก็มีคนว่าบ้าแล้วพี่ แต่เราไม่ถือสาหรอก เราทำมาทุกเรื่องก็มีคำว่า บ้า มากำกับอยู่แล้ว ดังนั้นฟาร์มสเตย์ก็จะเป็นอีกหนึ่งความบ้าของเรา”

เล็กเล่าว่า ที่ฟาร์มจะทำเกษตรแบบย้อนยุค ปัจจุบันเลี้ยงควายก็เลยอยากทำนาโดยใช้ควาย ใช้ควายไถนา-คราดนา มีกิจกรรมดำนาด้วยแรงคน เกี่ยวข้าวด้วยมือ ทำลานนวดข้าว ทำลอมฟางไว้เก็บฟางเพื่อเอาไว้ทำเห็ดฟาง และเป็นอาหารควายในช่วงที่ไม่มีหญ้าหรือมีน้อย จะมีครกไว้ตำข้าว มีโรงสีมือไว้สีข้าว เรียกว่าใครมาพักช่วงไหนก็จะมีกิจกรรมไม่ซ้ำกันเลยเชียว

“คิดเรื่องนี้นานไหม”
“คิดมานานแล้วพี่ ภาพเก่าๆ หายไป เรายังจดจำได้ ก็อยากเก็บไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ การจะเก็บไว้เพียงภาพถ่ายและบันทึกก็คงไม่ดี สู้เราทำให้เห็นจริงๆ เลยดีกว่า”
“เล็กทำเป็น เอ๊ย! ทำได้เหรอ”
“ยายสอนเล็กมาตั้งแต่เด็กแล้วพี่ ยายสอนและให้ทำทุกเรื่อง ทั้งงานบ้าน งานนา งานสวน แรกๆ ก็ไม่ชอบเลย อยากไปวิ่งเล่นกับเพื่อนมากกว่า แต่พอทำไปเรื่อยๆ ก็กลายเป็นความเคยชินและชอบ ใครไม่บอกก็จะทำแล้ว”
“ขอวกกลับมาเรื่องฟาร์มสเตย์ต่อ ขอรายละเอียดหน่อย ทำไมจึงบอกว่าฟรี แล้วเราจะอยู่ได้เหรอ”
“ต้องย้อนไปหลายปีนะพี่ เราอยากไปเรียนรู้ที่ไหนก็ดั้นด้นไป มีรถก็ขับไป ไม่มีก็ไปรถโดยสาร มีค่าเดินทางตั้งแต่เริ่ม อาจมีค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเรียนรู้ต่างๆ อีก เราก็เลยมานั่งปรึกษากัน เราจะทำแบบของเราดีไหม คนที่จะมาเรียนรู้หรือใช้ชีวิตแบบเรา ก็ต้องเดินทางมามีค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว เราเตรียมที่พักที่นอนหมอนมุ้งไว้ให้ ข้าวปลาอาหารก็หาอยู่หากินกัน อยากร่วมกิจกรรมด้วยเราก็ยินดี มีกระปุกไว้ให้ หากเห็นด้วยกับเราอยากสนับสนุนก็หยอดตามกำลัง ไม่มีคำว่ามากหรือน้อย ไม่หยอดก็ไม่ว่ากัน เพราะแค่มาเยือนกันก็เป็นความสุขใจแล้ว เป็นฟาร์มสเตย์ที่เพื่อนทำไว้รอให้เพื่อนมาพักผ่อน”
“ไหวหรือ”
“ไหวสิพี่ ข้าวก็ในนาเราเอง ผักก็อยู่ในสวน ปลาก็ในบ่อ ไข่ก็ในเล้า ผลไม้ตามฤดูกาลในสวนเราเอง ต้นทุนเราน้อยก็เลยไม่มีอะไรมาก คนที่มาก็หุงหากินกันเอง อยากเรียนรู้หรือทำกิจกรรมร่วมเราก็ยินดี แบบนี้สุขใจกันทั้งสองฝ่าย”

แปลงไผ่ 3 ไร่ เริ่มให้หน่อก็ทั้งขายหน่อสดและแปรรูป รวมถึงชำเหง้าขายเป็นรายได้ประจำฟาร์ม ผักสลิดที่ปลูกไว้ก็เริ่มให้ดอก ชำกิ่งไว้ขยายเองและขายให้กับผู้ที่สนใจด้วย ไข่เป็ดก็แปรรูปเป็นไข่เค็ม ไข่ไก่ก็ขายเป็นไข่สด ผักสวนครัวมากมายที่ทำมาครบวงจร คือ กิน แจก แลก ขาย มีหมุนเวียนไม่ขาด อยากกินปลาก็เพียงทอดแหลงไป

“พอใจไหมเล็ก กับภาพที่เห็นในตอนนี้”
“หากวัดที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ เล็กว่าเราเดินมาได้เกินเจ็ดสิบแล้วพี่ ที่เหลือเพียงตกแต่งบางเรื่องราวให้สอดคล้องกันเท่านั้น”
“อะไรที่ยังฝันอยากทำ”
“เราอยากเห็นภาคเกษตรเข้มแข็งมากกว่านี้ค่ะ เกษตรกรต้องพึ่งตนเองบนความเป็นจริง ทุกคนต้นทุนไม่เท่ากัน การจะให้ทำแบบเดียวกันคงยากที่จะสำเร็จ แต่อยากเห็นการรวมกลุ่ม นำความแตกต่างของแต่ละคนมาเสริมกันและกันในกลุ่ม”
“ทุกวันนี้ความฝันเดินหน้ามาเยอะไหม”
“มีคนมาขอดูงานบ่อยๆ ค่ะ เมื่อเราทำแล้วประสบผลสำเร็จก็มีคนอยากเดินตาม เราจึงต้องทำให้เห็นภาพจริงทั้งหมดในแปลง แล้วให้กิจกรรมต่างๆ เป็นผู้เล่าเรื่อง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขอให้เน้นการรวมกลุ่มค่ะ”
“แล้วนอกจากงานในฟาร์ม ทุกวันนี้เห็นว่าเดินทางเป็นว่าเล่นเลย”
“ค่ะ พี่เล็ก-มงคล ได้รับการยอมรับจากพี่น้องเกษตรกรทุกอำเภอ ให้ทำงานใหญ่ในปีหน้าค่ะ”
“อยากถามต่อ แต่เนื้อที่ก็หมดแล้ว เอาไว้ตอนหน้ามาลงรายละเอียดกันเนอะ”
ผมหลับตานิ่งมองเห็นภาพในวันข้างหน้า ภาพครอบครัวคนเมืองที่อยากใช้ชีวิตแบบเกษตรกร พากันมาเรียนรู้และลงมือทำกิจกรรมต่างๆ มองเห็นภาพไถนาด้วยควาย มองภาพทุ่งรวงทองที่พลิ้วตามสายลมหนาว มีผู้คนกำเคียวมาเกี่ยวรวงข้าว ภาพการนวดข้าวบนลาน ภาพกองฟางและซ้อนด้วยภาพเด็กน้อยที่เข้าไปนอนในลอมฟาง กลิ่นหอมกรุ่นของฟางและความอบอุ่นในยามสายลมหนาวพัดพลิ้ว ผมลืมความคันคะเยอไปเสียสิ้น
รีบเปิดตัวเร็วๆ นะ อย่าทิ้งฝันเสียล่ะ ผมจะไปเป็นสมาชิกฟาร์มสเตย์ด้วยคน

หลังตัดแต่งกิ่งลำไยได้ 7 วัน ต้องฉีดพ่นปุ๋ย

ที่ต้องฉีดพ่นปุ๋ย ก็เพื่อดึงใบอ่อนให้ออกมาเสมอกันทั้งต้น แต่เนื่องจากสวนมีขนาดใหญ่ จึงเลือก ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ที่เป็นปุ๋ยทางดิน เอามาประยุกต์ใช้ฉีดพ่นทางใบแทนปุ๋ยทางใบที่มีสูตรตัวหน้า (ไนโตรเจน) สูงๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิตสำหรับสวนลำไยขนาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี

จากการใช้ปุ๋ยยูเรียในการผสมน้ำฉีดพ่นทางใบให้กับต้นลำไย พบว่า ใช้ได้ผลดีพอสมควร อัตราที่ใช้ คือ ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 จำนวน 5 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร (สามารถผสมสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงฉีดพ่นไปพร้อมกันได้เลย)

แต่ถ้าให้ได้ผลดียิ่งขึ้น แนะนำว่า บวกกับฮอร์โมน “จิบเบอเรลลิน” (Gibberellin) ฉีดพ่นเพื่อกระตุ้นให้ต้นลำไยแตกใบอ่อนออกมาพร้อมสม่ำเสมอกันทั่วทั้งต้น แตกใบเร็วขึ้น แตกใบออกมาเป็นรุ่นเดียวกัน ทำให้ง่ายต่อการดูแลนั่นมีความสำคัญมาก
ในการทำใบลำไยให้ออกมาเป็นชุดๆ

ระยะใบอ่อนควรระวังหนอนและแมลงกัดกินใบอ่อน เช่น หนอนคืบกินใบ หนอนมังกร หนอนหนาม ด้วงกินใบ ด้วงกุหลาบ และแมลงค่อมทอง การป้องกันกำจัด ให้ฉีดสารเคมี เช่น คลอไพรีฟอส+ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันการทำลายใบอ่อนลำไย

หลังจากแตกใบอ่อนได้ราวๆ 8-10 วัน คือเมื่อใบลำไยเริ่มคลี่แผ่ออก ก็จะต้องเริ่มฉีดสะสมอาหารด้วยปุ๋ยและฮอร์โมนทางใบ ปุ๋ยที่ใช้ก็จะใช้ปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 อัตรา 5 กิโลกรัม ผสมกับน้ำตาลทางด่วน (เช่น แอ็กฟาส) อัตรา 1 ลิตร ผสมกับ แม็กนีเซียมเดี่ยว (Mg) อัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร (บวกสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามสถานการณ์ไปได้พร้อมกันเลย) การฉีดสะสมอาหารจะฉีดพ่นด้วยสูตรนี้ทั้ง 3 ครั้ง ห่างกันทุกๆ 10 วัน หรือตลอดช่วง 1 เดือน

ลำไย อายุ 40-45 วัน
ต้องราดสารโพแทสเซียมคลอเรต

ระยะนี้ลำไยจะอยู่ในระยะเพสลาด เราต้องราดสาร “โพแทสเซียมคลอเรต” การราดสารโพแทสเซียมคลอเรตนั้นสามารถทำได้หลายวิธี แต่ทาง สวนคุณลี จังหวัดพิจิตร ขอแนะนำแนวทางที่ทางสวนได้ปฏิบัติอยู่ คือ การราดสารโพแทสเซียมคลอเรต จำนวน 50 กิโลกรัม ผสมกับน้ำ 1,000 ลิตร ซึ่งจะไม่ได้ใช้วิธีคำนวณว่าลำไยต้นนี้ทรงพุ่มกี่เมตร จะต้องใช้สารกี่กรัม

เนื่องจากถ้าจำนวนต้นลำไยมีมาก จะทำให้การทำงานจริงค่อนข้างจะช้า ยุ่งยาก และอาจเกิดความผิดพลาดได้หากแรงงานไม่มีประสบการณ์ ทางสวนคุณลีจึงใช้การผสมสารโพแทสเซียมคลอเรตอัตราเดียว

แต่การราดสารจะใช้วิธีการฉีดพ่นลงดินด้วยเครื่องฉีดพ่นยา (เครื่องพ่นยาแบบ 3 สูบ) วิธีการฉีดลงดินนั้น จะฉีดพ่นในบริเวณรอบทรงพุ่มลำไย (ชายทรงพุ่ม) เดินฉีดเป็นวงกลม รัศมีรอบชายพุ่มลำไย ปรับหัวฉีดให้แผ่ออก ให้มีหน้ากว้างประมาณ 1 เมตร ซึ่งบริเวณชายพุ่มลำไยจะเป็นบริเวณที่มีรากฝอยเป็นจำนวนมาก ทำให้การตอบสนองสารโพแทสเซียมคลอเรตได้เป็นอย่างดี

ส่วนปริมาณสารที่ต้นลำไยแต่ละต้นจะได้รับนั้น ขนาดของรัศมีทรงพุ่มจะเป็นตัวกำหนดเองโดยอัตโนมัติ วิธีการราดสารแบบน้ำจึงทำให้เกษตรกรทำงานได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น
ข้อดีของการราดสารแบบนี้ จะทำให้ต้นลำไยไม่โทรมมาก

เนื่องจากสารโพแทสเซียมคลอเรตจะทำลายรากลำไย ยกตัวอย่าง การทำลำไยแบบทางภาคเหนือที่จะกวาดเศษใบไม้ในทรงพุ่มให้สะอาดแล้วราดสารโพแทสเซียมคลอเรตภายในทรงพุ่มหรือหลักการง่ายๆ ที่ทำให้เห็นภาพของการทำงานของสารคือ สารโพแทสเซียมคลอเรตมันจะไปทำลายรากลำไย พอรากโดนทำลายต้นลำไยรู้สึกว่าตัวเองเหมือนจะตาย ก็ต้องออกดอก

แต่ปัญหายังมีอีก พอเราแก้ปัญหามีวิธีทำให้ต้นลำไยออกดอกมาได้ พอช่อลำไยติดผลอ่อนมาได้ แต่พอเราจะให้ปุ๋ยกับต้นลำไยเพื่อให้ผลเกิดการพัฒนาต่อ พอเราให้ปุ๋ยปรากฏว่าต้นลำไยไม่กินปุ๋ยเพราะระบบรากถูกทำลาย วิธีที่เราใช้ในปัจจุบันลดการถูกทำลายของรากลำไยได้เป็นอย่างดี

หลักการสำคัญที่สุดของการทำลำไยนอกฤดูคือ ต้นลำไยต้องสมบูรณ์ มีความพร้อม เมื่อราดสารยังไงก็ออกดอกโดยง่าย ตอบสนองต่อสารได้ดีมาก

การให้น้ำเป็นอีกความสำคัญในการผลิตลำไยนอกฤดู ควรรักษาความชื้นโดยให้น้ำกับต้นลำไย ราดสารทุก 3-5 วัน (สังเกตจากความชื้นของดิน) เพื่อให้รากลำไยได้ดูดสารเข้าสู่ต้นให้มากที่สุด ประมาณ 3-6 สัปดาห์ หลังใช้สาร ลำไยจะเริ่มแทงช่อดอก (ช่วงเวลาที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารคลอเรต ได้แก่ ฝนตกชุกและระยะที่ต้นลำไยแตกใบอ่อน)

หลังราดสารโพแทสเซียมคลอเรตเสร็จ ราว 5 วัน (ใบลำไยนั้นยังอยู่ในช่วงระยะเพสลาด หรือใบยังไม่แก่) ก็จะต้องฉีดพ่นปุ๋ยและฮอร์โมนทางใบเพื่อกดใบไม่ให้ลำไยแตกใบอ่อน ที่สวนคุณลี ใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต จำนวน 1 กิโลกรัม ผสมกับสารแพคโคลบิวทราโซล 10% (เช่น แพนเทียม 10%) จำนวน 1.5 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ฉีดทางใบ เพื่อกดใบไม่ให้ลำไยมันแตกใบอ่อน ฉีดพ่นด้วยสูตรดังกล่าว สัก 3 ครั้ง ห่างกัน 5 วันครั้ง แต่ฉีดกดใบครั้งที่ 2 และ 3 ไม่ต้องใส่สารแพคโคลบิวทราโซล (จะใส่แค่ครั้งแรกเท่านั้น ถ้าใส่หลายครั้งจะทำให้ช่อดอกลำไยสั้น ช่อดอกที่ออกมาสั้นไม่ยาว)

จากนั้น 21-30 วัน หลังที่เราราดสาร จะเป็นช่วงที่เหมาะแก่การ “ดึงดอก” ช่วย คือถ้าปล่อยให้ลำไยแทงช่อดอกออกเอง ดอกมักออกมาไม่ค่อยพร้อมกัน หรือออกช่อดอกไม่สม่ำเสมอทั่วต้น เราจะต้องฉีดเพื่อดึงดอกช่วย เราจะใช้ปุ๋ยทางใบโพแทสเซียมไนเตรต (13-0-46) ฉีดพ่นเพื่อเปิดตาดอก อัตราที่ใช้ ถ้าเป็นหน้าฝน จะใช้โพแทสเซียมไนเตรต จำนวน 3 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แต่ถ้าเป็นหน้าแล้งจะต้องใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรต จำนวน 5 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร เพราะหน้าแล้งลำไยมันไม่ค่อยแตกยอด ต้องใช้ปุ๋ยในความเข็มข้นที่สูงขึ้น

หลังจากนั้นไม่นาน ลำไยจะแทงช่อดอกออกมาอย่างสม่ำเสมอ ก็จะบำรุงช่อด้วยปุ๋ยและฮอร์โมนต่างๆ เช่น ปุ๋ยทางใบ สูตร 10-52-17 ผสมฮอร์โมนแคลเซียมโบรอน และสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามสถานการณ์ ฉีดพ่นไปเรื่อยๆ ตามรอบของการดูแลรักษา

แต่ถ้ามีฝนตกก็จะออกฉีดหลังจากฝนหยุดตกทันทีในช่วงช่อดอก ดูแลน้ำให้สม่ำเสมอ ไม่ต้องมาก ดูแลโรคและแมลง เช่น ฉีดพ่นสารเคมีคลอไพรีฟอส+ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หลังจากแทงช่อดอก (แต่ดอกยังไม่บาน)

กรณีที่ฝนชุก หรือแทงช่อออกมาแซมใบ

เป็นอีกปัญหาที่เกษตรกรมักจะเจอ การแก้ปัญหาต้องรวดเร็ว เกษตรกรจะต้องเฝ้าระวังเพื่อจะได้แก้ไขสถานการณ์ได้ ก็จะแนะนำ สูตร “เด็ดใบอ่อน” เมื่อเห็นว่ามีใบแซมดอกออกมาแน่ๆ ในช่วงที่ช่อดอกยาวสัก 1 นิ้ว ก็ต้องฉีดพ่นให้ใบอ่อนที่แซมออกมาร่วง สูตรนี้จะใช้โพแทสเซียมคลอเรต จำนวน 1.5 กิโลกรัม ผสมกับฮอร์โมนโบรอน ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ให้ฉีดช่วงเช้าหรือเย็นที่แสงแดดไม่แรง

การฉีดต้องปรับหัวฉีดพ่นให้ละอองเป็นฝอยละเอียด ฉีดเพียงผ่านๆ อย่าฉีดแบบแช่หรือฉีดจนช่อเปียก แค่เป็นละอองผ่านๆ เท่านั้นพอ สูตรนี้ทำให้ใบอ่อนขนาดเล็กที่แซมช่อดอกออกมาร่วงเหลือแต่ดอกเท่านั้น

แต่สูตรนี้ถ้าเกษตรกรฉีดช้าไม่ทันการปล่อยให้ใบอ่อนคลี่บานแล้ว ก็ฉีดเด็ดใบอ่อนไม่ร่วง แต่ก็สามารถทำให้ใบอ่อนหยุดชะงักไป ไม่โตต่อได้ ดังนั้น เกษตรกรต้องสังเกตให้ดีในช่วงเวลาดังกล่าว พอช่อดอกบานแล้วดอกเริ่มโรย ก็จะต้องฉีดล้างช่อดอก ก็จะเน้นใช้สารป้องกันกำจัดแมลงกลุ่มเมโธมิล ผสมกับสารป้องกันกำจัดเชื้อราพวกสารโปรคลอราซ (เช่น เอ็นทรัส, คูด๊อส, แซดคลอราซ) ช่วยล้างช่อดอกตอนที่ดอกกำลังโรย ช่วงนี้มักจะมีเชื้อราขึ้นพวกดอกที่มันโรยและบวกกับฮอร์โมนพวกจิบเบอเรลลิน และจะใช้ไปเรื่อยๆ เพื่อให้ผลอ่อนลำไยขึ้นเมล็ดไว ขั้วผลเหนียว ลดการหลุดร่วงไม่สลัดผล ยืดย่อให้ยาวขึ้น ไม่ให้ช่อแน่นจนเกินไป สร้างเนื้อ ขยายผล ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินจึงจะต้องใส่ไปเรื่อยๆ

พร้อมกับการฉีดพ่นปุ๋ย ฮอร์โมน และสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงในแต่ละรอบ พอเริ่มติดผลอ่อนก็จะให้ปุ๋ย แนะนำใส่ปุ๋ยอินทรีย์, ปุ๋ยอัดเม็ดหรือปุ๋ยคอกเก่า ประมาณ 4-5 กิโลกรัม ต่อต้น ปุ๋ยเคมีใส่ทางดิน ก็จะใช้สูตรที่มีตัวหน้าสูง (N) เช่น สูตร 25-7-7 จำนวน 1 กิโลกรัม ต่อต้น เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อสร้างเมล็ดสร้างเปลือก

จะเปลี่ยนสูตรปุ๋ยทางดินตอนเมล็ดผลลำไยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ก็จะใช้เป็นสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 ใส่ให้ต้นละ 1 กิโลกรัม ใส่ 1 ครั้ง พอเมล็ดลำไยเปลี่ยนเป็นสีดำ เป็นช่วงของการสร้างเนื้อ สร้างความหวาน ก็จะต้องเปลี่ยนสูตรปุ๋ยทางดินที่มีตัวท้าย (K) สูง เช่น สูตร 15-5-20 ต้นละ 1 กิโลกรัม (หรือ สูตร 13-13-21, 8-24-24) ใส่ให้ประมาณ 2 ครั้ง ก็จะเก็บเกี่ยวได้

ช่วงเวลานี้ต้องให้น้ำสม่ำเสมอ ไม่ควรขาดน้ำ ดูแลโรคและแมลง เช่น เพลี้ยหอยหลังเต่า มวลลำไย ผีเสื้อมวนหวาน โรคผลลาย ผลแตก ผลร่วง ให้ฉีดพ่นสารเคมี เช่น คลอไพรีฟอส 50%+ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารเคมีป้องกันเชื้อรา เช่น สารทีบูโคนาโซล (เช่น ทีบัส)

การแต่ง หรือการซอยผลลำไย

ถ้าเป็นลำไยพันธุ์อีดอ ก็จะต้องจะทำกัน 2 ครั้ง ครั้งแรกจะแต่งช่อลำไยอีดอช่วงตอนผลลำไยมีขนาดเท่าผลมะเขือพวง โดยมักจะตัดปลายช่อลำไยออก 1 ส่วน 3 ของความยาวช่อดอกลำไย หรือถ้าติดผลดกเกินก็อาจจะต้องตัดออกครึ่งช่อ

ซึ่งเกษตรกรที่ตัดแต่งหรือแรงงานต้องมีความเข้าใจ โดยการตัดแต่งผลออก จะให้เหลือผลในช่อราว 60-70 ผล ซึ่งกำลังพอเหมาะสำหรับพันธุ์อีดอ (ในกรณีที่ต้นลำไยติดผลดกมากกว่า 80 ผล ต่อช่อ จะเป็นสาเหตุสำคัญทำให้อาหารไม่พอเพียงที่จะส่งไปเลี้ยงผล ทำให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ) แล้วอีกประมาณ 20 วัน ก็จะกลับมาแต่งผล ครั้งที่ 2 เพื่อเป็นการเก็บตกจากการแต่งช่อผลในรอบแรก

เราต้องมาเก็บรายละเอียดอีกครั้ง การตัดแต่งช่อผลลำไยทำให้ผลลำไยมีขนาดผลใหญ่ มีขนาดผลที่สม่ำเสมอกันทั้งช่อ ลำไยจะได้เบอร์ใหญ่เกือบทั้งช่อ อุปกรณ์ที่ใช้ก็จะมีกรรไกรตัดแต่งกิ่ง ใช้แต่งกิ่งที่ต่ำมือเอื้อมตัดถึง ส่วนที่สูงก็จะใช้กรรไกรยาวในการตัดปลายช่อดอก

แต่ถ้าเป็น ลำไยยักษ์ พันธุ์ “จัมโบ้” ไม่ต้องตัดแต่งช่อแต่อย่างใด เนื่องจากมีการติดผลในจำนวนที่เหมาะสมอยู่แล้ว การจะตัดช่อผลออกมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น ถ้าต้นสมบูรณ์สามารถไว้ผลต่อช่อได้มาก แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์ ควรไว้ผลต่อช่อน้อย การตัดช่อผลช่วยทำให้ผลลำไยมีขนาดเพิ่มขึ้น สามารถจำหน่ายได้ในราคาสูง ทำให้มีรายได้ต่อต้นมากกว่าต้นที่ติดผลดก

การป้องกันกำจัดโรคและแมลงในช่วงติดผล เกษตรกรควรหมั่นสำรวจการระบาดของแมลงในสวนลำไย แมลงที่สำคัญพบในช่วงออกดอก ได้แก่ เพลี้ยไฟ และไรสี่ขา ถ้าระบาดอย่างรุนแรงควรพ่นสารฆ่าแมลงไดเมทโธเอท ในระยะที่ดอกยังไม่บาน แต่ ไม่ควรหรือหลีกเลี่ยงการฉีดพ่นสารฆ่าแมลงในช่วงดอกบาน เนื่องจากอาจจะเป็นอันตรายต่อแมลงที่ช่วยผสมเกสร ช่วงติดผลให้ระมัดระวังแมลงปากดูด เช่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง ควรดูแลตั้งแต่ผลยังเล็กอยู่ โดยการฉีดพ่นด้วยน้ำมันปิโตรเลียม หรือไวท์ออยล์

ระยะเลี้ยงผลจนถึงเก็บเกี่ยว ต้นลำไยต้องห้ามขาดน้ำ “น้ำ” เป็นสิ่งสำคัญมาก สำหรับลำไยนอกฤดูกาล การปลูกหรือผลิตลำไยนอกฤดูกาล ต้นลำไยต้องได้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งลำไยไม่เหมือนผลไม้ชนิดอื่น ที่ส่วนมากจะต้องงดน้ำก่อนการเก็บเกี่ยวเพื่อเพิ่มความหวาน แต่ลำไยห้ามขาดน้ำ

ถ้าลำไยขาดน้ำ เปลือกของผลลำไยจะนิ่ม ผลจะแตกง่าย และน้ำจะช่วยให้ผลลำไยมีน้ำหนักดี ส่งผลต่อน้ำหนักผลผลิตต่อไร่สูงตาม อีกอย่างลำไยผิวเปลือกจะแห้งไว อย่างลำไยที่ได้น้ำดี ผิวที่ยังไม่แห้งมีความชุ่มชื้น เวลาส่งเข้าโรงงานอบแห้งผลลำไยจะอบได้ผิวสวย ส่วนความหวานไม่ต้องห่วง เพราะปุ๋ยจะเป็นตัวช่วยในเรื่องของความหวานมากกว่า

การให้น้ำเป็นสิ่งสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น ผลลำไยกำลังใกล้จะแก่มาเจอฝนหลงฤดู ผลลำไยมักจะแตกได้ง่าย อย่างที่ชาวสวนหลายคนเจอปัญหา จนบางรายถึงกับขาดทุน เนื่องจากผลลำไยจะแตกเป็นจำนวนมากเกือบทั้งสวน

แต่บางสวนที่มีการให้น้ำมาโดยตลอดตั้งแต่ลำไยมีผลขนาดเท่ามะเขือพวง มีการใส่ปุ๋ย สูตร 15-0-0 เลี้ยงผลมาเรื่อยๆ ซึ่งปุ๋ย 15-0-0 คือ CaNO3 หรือแคลเซียมไนเตรต เวลาละลายน้ำ เราได้ ไนโตรเจน ในรูปไนเตรต 15% (จริงๆ คือ ไนเตรต 14 แอมโมเนีย 1% กับแคลเซียม 19%) สำหรับไม้ผล ระหว่างการสร้างผล พืชต้องการแคลเซียมมาก ราวๆ 40-70% ของไนโตรเจนเลยทีเดียว

แล้วถ้าได้แคลเซียมไม่พอ ผลคือ ผลจะเล็ก สมัครเล่นคาสิโน ผลจะแตกง่าย เป็นต้น เปิดสปริงเกลอร์ให้น้ำทุกวัน ให้ดินมีความชุ่มชื้น จนถึงระยะเก็บขายได้ เราทำกันแค่นี้ ให้น้ำถึงจะมีฝนหลงฤดูเข้ามา ไม่มีปัญหาลูกลำไยระเบิดแต่อย่างใด

ระยะเวลาตั้งแต่ราดสารจนเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไย ประมาณ 7 เดือน ดังนั้น เกษตรกรสามารถวางแผนการตลาดเอาไว้ได้ว่า ต้องการขายผลผลิตลำไยช่วงเวลาใด เพราะลำไยเป็นผลไม้ที่สามารถสั่งได้หรือกำหนดวันเก็บเกี่ยวได้ (แต่ถ้าย้อนไปถึงวันตัดแต่งกิ่ง ก็ต้องบวกเวลาเพิ่มไปอีก 2 เดือน)

การเก็บเกี่ยว

ก่อนเตรียมผลบรรจุตะกร้าเพื่อการส่งออก ควรคัดแยกช่อผลที่เสียหายจากการเก็บเกี่ยวหรือมีตำหนิจากโรคและแมลง หรือผลเล็กเกินไปออกก่อน จากนั้นตัดแต่งช่อผลให้ก้านช่อยาวไม่เกิน 15 เซนติเมตร

การคัดเกรดโดยแยกผลที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่าขนาดผลเฉลี่ยในช่อ นำผลแต่ละเกรดมาจัดเรียงในตะกร้าพลาสติกสีขาว การบรรจุต้องอาศัยแรงงานที่มีความชำนาญ จึงจะจัดเรียงตะกร้าได้สวยและมีขนาดผลในตะกร้าสม่ำเสมอ การบรรจุตะกร้า จะบรรจุประมาณ 11.5 กิโลกรัม ซึ่งจะส่งผลต่อราคาที่จำหน่าย