ตอนบนประมาณ 25-30 วัน และ 15-18 วัน สำหรับภาคเหนือตอน

หรือเมื่อต้นกล้ามีใบ 3-5 ใบ ถอนกล้าอย่าให้ช้ำและนำไปปักดำให้เสร็จภายในวันเดียว เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรงและตั้งตัวได้เร็ว โดยปักดำจับละ 6-8 ต้น ระยะปักดำ 30×15 หรือ 20×20 เซนติเมตร ข้อควรระวัง ในสภาพที่มีอากาศร้อนและความชื้นสูง ข้าวญี่ปุ่น ก.วก.1 ไม่ต้านทานโรคไหม้ การปลูกข้าวให้ได้ผลดีควรหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมดังกล่าว

ข้าวญี่ปุ่น ก.วก.1 มีระแง้เหนียวมาก การนวดโดยการฟาดข้าวทำได้ยาก หลังจากเก็บเกี่ยวควรตากข้าว ในนา 3-4 วัน แล้วนวดด้วยเครื่องนวดทันที เมล็ดข้าวเสื่อมความงอกเร็ว การเก็บเมล็ดพันธุ์ควรลดความชื้นเมล็ดให้เหลือ 8-10 เปอร์เซ็นต์ และเก็บในปีบหรือภาชนะที่สามารถปิดผนึกได้ ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้งและโรคใบสีส้ม ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียวและเพลี้ยกระโดดหลังขาว

ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวญี่ปุ่น ก.วก.2 เป็นข้าวเจ้านาสวน ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูงประมาณ 80 เซนติเมตร ต้นแข็ง ทรงกอตั้งตรง ใบแก่ช้าสีเขียวและมีขน กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงค่อนข้างตั้งตรง รวงแน่น ระแง้ถี่ คอรวงสั้น เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางมีขนสั้น ยอดเมล็ดสีฟางและมีหางบ้างบางเมล็ด รูปร่างเมล็ดข้าวเปลือกสั้นป้อมยาว 7.3 มิลลิเมตร กว้าง 3.3 มิลลิเมตร และหนา 2.2 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีขาว ยาวเฉลี่ย 5.13 มิลลิเมตร มีท้องไข่น้อย การร่วงของเมล็ดยาก มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 117 วัน และให้ผลผลิตประมาณ 700 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น ให้ผลผลิตสูงในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถปรับตัวได้ดีในพื้นที่ดินนาเขตภาคเหนือตอนบน คุณภาพการสีดีมาก ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวประมาณ 52 เปอร์เซ็นต์คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี ตรงตามมาตรฐานสำหรับผู้บริโภคข้าวญี่ปุ่น ราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป

คำแนะนำ ให้ปลูกในเขตภาคเหนือตอนบน การปลูกในฤดูนาปรังช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมจะให้ผลผลิตสูงกว่าฤดูนาปี เพราะเป็นช่วงฤดูหนาวซึ่งมีอุณหภูมิเหมาะสมในการเจริญเติบโต อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ 7-10 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับนาดำ และ 15 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับนาหว่านน้ำตม โดยเมล็ดพันธุ์ต้องมีความงอกไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์อายุกล้าที่เหมาะสมต่อการปักดำในฤดูนาปรังในเขตภาคเหนือตอนบนประมาณ 25-30 วัน หรือเมื่อต้นกล้ามีใบ 3-5 ใบ ถอนกล้าอย่าให้กล้าช้ำ ควรถอนกล้าและปักดำให้เสร็จภายในวันเดียว เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรงและตั้งตัวได้เร็ว โดยปักดำจับละ 6-8 ต้น ระยะปักดำ 30×15 หรือ 20×20 เซนติเมตร

ข้อควรระวัง ในสภาพที่มีอากาศร้อนและความชื้นสูงข้าวญี่ปุ่น ก.วก.2 ไม่ต้านทานโรคไหม้ การปลูกข้าวให้ได้ผลดีหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมดังกล่าว ข้าวญี่ปุ่น ก.วก.2 มีระแง้เหนียวมาก การนวดโดยการฟาดข้าวทำได้ยาก หลังจากเก็บเกี่ยวควรตากข้าวในนา 3-4 วัน แล้วนวดด้วยเครื่องนวดทันที เมล็ดขาวเสื่อมความงอกเร็ว การเก็บเมล็ดควรลดความชื้นเมล็ดให้เหลือ 8-10 เปอร์เซ็นต์ และเก็บในปีบหรือภาชนะที่สามารถปิดผนึกได้ ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้งและโรคใบสีส้ม ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียวและเพลี้ยกระโดดหลังขาว

ในปัจจุบันข้าวญี่ปุ่นได้มีภาคเอกชนในจังหวัดเชียงราย หลายรายทำการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก และรับซื้อคืนในราคาประกันแล้วแต่ฤดูกาล ในหลายอำเภอ เช่น อำเภอแม่จัน เมืองเชียงราย เวียงป่าเป้า พาน แม่ลาว ฯลฯ สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามที่ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์

สภาพอากาศในระยะที่มีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักเป็นบางแห่ง กรมวิชาการเกษตร แนะวิธีรับมือการระบาดของโรครากเน่าและโคนเน่า สามารถพบได้ในระยะที่ต้นทุเรียนแตกใบอ่อน โดยจะพบอาการที่ราก เริ่มแรกเห็นใบที่ปลายกิ่งมีสีซีดไม่เป็นมันเงา ใบเหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลืองและหลุดร่วง หากขุดดูที่รากฝอยจะพบรากฝอยมีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล กรณีที่โรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้น ทำให้ต้นทุเรียนโทรมและยืนต้นตาย

ส่วนอาการที่กิ่ง ลำต้น และโคนต้น ระยะแรกจะพบต้นทุเรียนมีใบเหลืองเป็นบางกิ่ง สามารถสังเกตเห็นรอยคล้ายคราบน้ำ บนผิวเปลือกของกิ่งหรือต้น ในช่วงเช้าที่มีอากาศชื้นอาจเห็นเป็นหยดของเหลวสีน้ำตาลแดงออกมาจากบริเวณแผล และจะค่อยๆ แห้งไปในช่วงที่มีแดดจัด ทำให้เห็นเป็นคราบ เมื่อใช้มีดถากบริเวณคราบนั้น จะพบเนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เป็นแผลสีนํ้าตาล ถ้าแผลขยายใหญ่จะลุกลามจนรอบโคนต้น จะทำให้ต้นทุเรียนใบร่วงจนหมดต้นและยืนต้นแห้งตาย อาการที่ใบ ใบช้ำ ดำ มีรอยตายนึ่งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก และจะเกิดอาการไหม้แห้งคาต้นอย่างรวดเร็ว พบระบาดมากในช่วงฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน

สำหรับต้นทุเรียนที่เป็นโรครุนแรงมากหรือยืนต้นแห้งตาย ให้ขุดออกแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก จากนั้นให้ใส่ปูนขาวและตากดินไว้ระยะหนึ่งแล้วปลูกใหม่ทดแทน หลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้รากหรือลำต้นเกิดแผล ซึ่งจะเป็นช่องทางให้เชื้อราสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ง่ายขึ้น และในแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี หากมีน้ำท่วมขังให้รีบระบายน้ำออกทันที จากนั้น ให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงดินในแปลงปลูก และควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคทุกครั้งก่อนนำกลับมาใช้ใหม่

กรณีพบอาการของโรคบนกิ่งหรือที่โคนต้น ให้เกษตรกรถากหรือขูดผิวเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออก จากนั้นทาแผลด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 80-100 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50-60 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร ทุก 7 วัน จนกว่าแผลจะแห้ง หรือใช้สารฟอสโฟนิก แอซิด 40% เอสแอล ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยา ใช้อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อต้น แล้วฉีดเข้าลำต้นหรือกิ่งในบริเวณตรงข้ามอาการโรค หรือส่วนที่เป็นเนื้อไม้ดีใกล้บริเวณที่เป็นโรค

หากพบต้นที่ใบเริ่มมีสีซีด ไม่เป็นมันเงา หรือใบเหลืองหลุดร่วง ให้เกษตรกรใช้สารฟอสโฟนิก แอซิด 40% เอสแอล ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1 : 1 ใส่กระบอกฉีดยาฉีดเข้าลำต้นหรือกิ่งในบริเวณตรงข้ามอาการของโรค หรือส่วนที่เป็นเนื้อไม้ดีใกล้บริเวณที่เป็นโรค อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อต้น หรือราดดินด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้สลับกับสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

เกษตรกรควรตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบส่วนของใบ ดอก และผลที่เป็นโรค ให้ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก และพ่นให้ทั่วทรงพุ่มด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80 ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร จากนั้น ภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค กิ่งแห้ง และตัดขั้วผลที่ค้างอยู่นำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดการสะสมของเชื้อสาเหตุโรค

มะพร้าวน้ำหอม เป็นสินค้าเกษตรที่มีลู่ทางเติบโตสดใสเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัจจุบันไทยมียอดส่งออกมะพร้าวสดและผลิตภัณฑ์น้ำมะพร้าวปีละ 3-4 พันล้านบาท คู่ค้าสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกง และออสเตรเลีย ฯลฯ

มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่น่าจับตามองเพราะทำรายได้ให้เกษตรกรค่อนมากข้าง มะพร้าว 1 ต้นสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรกว่า 10,000 บาทต่อปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เร่งส่งเสริมพัฒนายกระดับการผลิตมะพร้าวสดเข้าสู่มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะพร้าวน้ำหอม ( GAP มะพร้าวน้ำหอม ) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้กับสินค้ามะพร้าวไทยในตลาดโลกไปพร้อมๆกัน

แนะนำเทคนิคการปลูกมะพร้าวน้ำหอม
คุณชาญศักดิ์ ขจรบุญ เกษตรอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร (โทร.089-816-0442 และ 034-481-033) ได้แนะนำการเลือกพื้นที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอมว่า ควรปลูกในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง การระบายน้ำในดินดี อยู่ในแหล่งที่มีน้ำฝนตกกระจายสม่ำเสมอ อุณหภูมิของอากาศอยู่ระหว่าง 20-29 องศาเซลเซียส ปริมาณแสงแดดเฉลี่ย 7.1 ชั่วโมงต่อวัน

การเตรียมแปลงปลูก
หากเป็นพื้นที่ราบ แบบสามเหลี่ยม แบบสี่เหลี่ยมด้านเท่า ควรปลูกในระยะ 6X6 เมตร หรือ 6.5 X6.5 เมตร สภาพที่ลุ่มน้ำไม่ท่วมขัง ควรปลูกแบบยกร่อง โดยปลูกแบบแถวคู่ และแถวเดี่ยว ระยะ 6X6 เมตร หรือ 6.5 X6.5 เมตร ระยะหลุมควรห่างจากขอบร่องน้ำประมาณ 2 เมตร ควรเตรียมหลุมปลูกในช่วงฤดูแล้ง

หากดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ หลุมควรมีขนาดกว้างประมาณ 1x1x1 เมตร แยกส่วนหน้าดินกับดินล่างออก ตากดินทิ้งไว้ 7 วัน ก้นหลุมอาจรองด้วยเปลือกมะพร้าวช่วย ในกรณีที่โครงสร้างของดินโปร่ง ระบายน้ำเร็ว หรือปริมาณน้ำไม่เพียงพอ นำส่วนของดินล่างผสมปุ๋ยคอก 1 ปีบ ผสมหินร็อคฟอสเฟต 200-500 กรัม คลุมเคล้าให้ทั่วใส่กลบลงในหลุมปลูกจนเกือบเต็ม ทิ้งไว้จนถึงฤดูปลูก

วิธีการปลูก
หน่อพันธุ์ ควรตัดรากเดิมออกก่อนนำลงปลูกในหลุมที่ผสมดินใส่ไว้เกือบเต็ม ใช้ดินส่วนที่เหลือลงกลบหน่อพันธุ์ กดดินให้แน่น แต่ไม่ควรให้ดินกลบโคนหน่อ ซึ่งดินอาจรัดโคนหน่อ ทำให้การพัฒนาการเจริญเติบโตช้า

หลังปลูกมะพร้าวไปแล้ว 4 เดือน เริ่มให้ปุ๋ยครั้งแรก ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 และ ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2อัตราต้นละ 1 ก.ก. ร่วมกับแมกนีเซียมซัลเฟต 200 กรัม ครั้งที่ 2 ใส่ในอัตราเดิมในช่วงปลายฤดูฝน

ปีที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 และ ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2อัตรา 2 ก.ก./ต้น/ปี แมกนีเซียมซัลเฟต 300 กรัม/ต้น/ปี โดโลไมท์ 1 ก.ก. /ต้น/ปี

ปีที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 และ ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2อัตรา 3 ก.ก./ต้น/ปี แมกนีเซียมซัลเฟต 400 กรัม/ต้น/ปี โดโลไมท์ 2 ก.ก. /ต้น/ปี

ปีที่ 4 ขึ้นไป ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 และ ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2อัตรา 4 ก.ก./ต้น/ปี แมกนีเซียมซัลเฟต 500 กรัม/ต้น/ปี โดโลไมท์ 2 ก.ก. /ต้น/ปี

ทั้งนี้ การใส่ปุ๋ยมะพร้าวน้ำหอม ให้แบ่งใส่ปีละ 2 ครั้ง หว่านปุ๋ยรอบๆ บริเวณทรงพุ่มพรวนดินตื้นๆ กลบปุ๋ยรอบทรงพุ่ม นอกจากนี้ ควรใส่เกลือแกง ให้มะพร้าว 15. ก.ก./ต้น/ปี เพื่อเพิ่มธาตุคลอไรด์ ช่วยให้มะพร้าวติดผลดี และมีเนื้อหนา คำแนะนำนี้ ใช้กับการปลูกมะพร้าวกับการปลูกมะพร้าวพันธุ์ลูกผสมชุมพร แต่ปรับใช้กันได้กับการปลูกมะพร้าวพันธุ์อื่นๆ

ขอขอบคุณ : คุณเข็มทัศน์ มนัสรังษี ประธานบริษัท เค เบสต์ ฟาร์ม จำกัด และ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ที่อนุเคราะห์ภาพประกอบข่าว

กระแสความนิยมบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง หากใครยังคิดไม่ออกว่า ควรปลูกพืชชนิดไหน ขอแนะนำให้ทดลองปลูก “หม่อนยูนนาน – มะนาวหอม” เป็นอีกหนึ่งทางเลือก เพราะพืชทั้งสองชนิด ปลูกง่าย ให้ผลดก ขายได้ขายดี เป็นที่ต้องการของผู้ซื้อ ไม่ว่าจะเป็นผลสด หรือกิ่งพันธุ์

สวนเอฟเวอร์กรีน เขาใหญ่

“หม่อนยูนนาน – มะนาวหอม” เป็นผลผลิตจาก สวนเอฟเวอร์กรีน เขาใหญ่ เจ้าของสวนแห่งนี้ คือ คุณน้อย หรือ คุณนิรันดิ์ชัย เกษบึงกาฬ ( โทร. 081-790-1924 และ seedplannet.biogspot.com ) ได้ ยืนยันว่า “ หม่อนยูนนาน – มะนาวหอม “ เป็นสินค้าเพื่อสุขภาพที่ได้รับความสนใจจากผู้ซื้อในวงกว้าง หลังจากได้เปิดขายในงานแสดงสินค้า และ สื่อออนไลน์ต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา สำหรับหม่อนยูนนาน ขายส่งในราคากิ่งละ 80 บาท มีออเดอร์จากทั่วประเทศ เดือนละนับ 1,000 กิ่ง

คุณน้อยเรียนจบสาขาพืชสวน จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตบางพระ สาขาพืชสวน หลังจากนั้นทำงานกับโบนันซ่า เขาใหญ่ และทำอาชีพรับจ้างจัดสวนหลายปี ก่อนจะหันมาทำอาชีพเกษตรอย่างเต็มตัว โดยใช้ชื่อสวนเกษตรแห่งนี้ว่า สวน เอฟเวอร์กรีน เขาใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ 10 หมู่ที่ 7 ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130

คุณน้อยชื่นชอบการบริโภค “ หม่อนกินผลสด หรือ มัลเบอรรี่ ” มากเป็นพิเศษเพราะเป็นผลไม้ที่มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพสูง เขาจึงสะสมพันธุ์มัลเบอรรี่สายพันธุ์ไทยและต่างประเทศไว้เป็นจำนวนมาก

“ หม่อนยูนนาน ”ให้ผลดกทั้งปี

เมื่อ 4-5 ปีก่อน คุณน้อยได้ไปเที่ยวดูงานเกษตรที่เมืองสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปเจอต้นหม่อนกินผลสดสายพันธุ์ยูนนาน ที่มีผลผลิตดกมาก จึงนำกิ่งพันธุ์หม่อนจำนวน 2 กิ่ง เข้ามาปลูกขยายพันธุ์ในลักษณะการปักชำ

หลังจากทดลองปลูกพบว่า ต้นหม่อนยูนนานพันธุ์นี้มีลำต้นแข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว ไม่มีแมลงรบกวน ให้ผลดกตลอดทั้งปี ให้ผลดกและมีขนาดใหญ่ รสหวานอมเปรี้ยว ถือว่า มีรสชาติอร่อย เมื่อเทียบกับหม่อนลูกแดง สายพันธุ์อื่น

ที่สำคัญหากใครมีปัญหาข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ปลูกเพราะพักอาศัยอยู่ในคอนโดมีเนียมหรือหอพัก ก็ไม่ต้องกังวล เพราะคุณสามารถปลูกต้นหม่อนพันธุ์ยูนนานในกระถางและได้ผลดกเหมือนปลูกในแปลงปลูกทั่วไป

ต้นหม่อนพันธุ์ยูนนานเหมาะสำหรับปลูกเพื่อเก็บผลสดไว้บริโภคหรือขาย เพราะปัจจุบัน ผลหม่อนสด ซื้อขายในราคาสูง ถึงกิโลกรัม ละ 300 บาททีเดียว วิธีการปลูกหม่อนยูนนาน

ต้นหม่อนพันธุ์ยูนนาน ปลูกง่าย มีอัตราการรอดสูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ คุณน้อยแนะนำให้ขุดหลุมปลูกขนาด 30×30 ซม. รองก้นหลุมด้วยอินทรียวัตถุและปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 และปลูกเป็นแถวในระยะห่างประมาณ 2.50×2 เมตร ถึง 4×4 เมตร

หลังปลูกคอยดูแลให้ปุ๋ยและน้ำตามปกติ เมื่อต้นหม่อนอายุประมาณ 3 เดือนค่อยตัดแต่งทิศทางทรงพุ่ม ให้อาหารเสริมพืชทางใบ ปล่อยไปทางระบบน้ำ และใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 บำรุงรักษาต้น เมื่อต้นหม่อนพันธุ์ยูนนานอายุ 5 เดือน ให้ตัดแต่งกิ่งคงกิ่งหลักไว้เพื่อให้แตกกิ่ง เป็นทรงพุ่มตามต้องการ ทุกๆ 3 เดือน ต้นหม่อนพันธุ์ยูนนาน 1 ต้นจะให้ผลผลิตเฉลี่ย 10-12 กก. นอกจากนี้ ใบหม่อนยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นใบชาหม่อน บำรุงสุขภาพได้อย่างดีเยี่ยม และขายใบชาได้ในราคาสูงอีกต่างหาก

“ มะนาวหอมเขาใหญ่ ” พันธุ์ทะวาย ปลูกง่าย ขายดี

สวนเอฟเวอร์กรีน เขาใหญ่มีสินค้าเด่นอีกชนิดคือ “ มะนาวหอมเขาใหญ่” เป็นมะนาวพันธุ์ทะวาย ให้ผลดกตลอดทั้งปี และสามารถต้านทานโรคแคงเกอร์ได้ดี เมื่อเกือบ 6 ปีที่แล้ว คุณน้อยได้กิ่งพันธุ์มะนาวคุณภาพดี พันธุ์ปลอดโรค จากไต้หวันมาทดลองปลูก

ปรากฏว่า ให้ผลผลิตดกดีมาก ทั้งๆ ที่ไม่ค่อยรดน้ำหรือให้ปุ๋ยสักเท่าไร แถมปลอดโรคแคงเกอร์อีกต่างหาก ที่สำคัญน้ำมะนาวพันธุ์นี้มีกลิ่นหอมมาก น้ำเยอะ เปลือกบาง และมีผลใหญ่ขนาดจัมโบ้ เฉลี่ยน้ำหนักผลละ 1 ขีด

คุณน้อย หันมาใส่ใจดูแลต้นมะนาวพันธุ์นี้มากขึ้น เมื่อเก็บผลผลิตออกขายก็เป็นที่ถูกใจแม่ค้า เพราะติดใจคุณภาพ ช่วงฤดูแล้ง คุณน้อยขายมะนาวพันธุ์นี้ได้ราคาสูงถึงผลละ 8 บาท ปัจจุบันขายส่งในราคา ผลละ 4 บาท เก็บผลผลิตออกขายได้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1,500-2,000 ผล ทำให้คนที่รู้ข่าวเริ่มมาขอแบ่งปันกิ่งพันธุ์มะนาวหอมเขาใหญ่ไปปลูกอย่างต่อเนื่อง ในราคากิ่งละ 150 บาท มียอดสั่งจองเดือนละนับ 1,000 กิ่ง

คุณน้อย บอกว่า ต้นมะนาวหอมเขาใหญ่ ปลูกง่าย เหมาะสำหรับปลูกเป็นพืชสวนครัวในบ้านเรือนทั่วไป แค่ปลูกมะนาวหอมเขาใหญ่ สัก 2 ต้น ต่อครัวเรือน ก็จะมีผลมะนาวสดไว้บริโภคตลอดทั้งปี ต้นมะนาวหอมเขาใหญ่ ไม่ต้องดูแลอะไรเป็นพิเศษ แค่รดน้ำทุกวัน ใส่ปุ๋ยเป็นครั้งคราวก็จะได้ผลดกตลอดทั้งปี

หากใครสนใจอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “หม่อนยูนนาน – มะนาวหอม” สามารถพูดคุยกับคุณน้อยได้โดยตรงที่เบอร์โทร. 081-790-1924 หรือติดตามได้ที่ http://seedplannet.blogspot.com/2015/09/blog-post.html หากใครมีเวลาว่างก็แวะเข้าชมสวนเกษตรแห่งนี้ได้ที่ สวนเอฟเวอร์กรีนเขาใหญ่ 10 ม.7 ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ได้ทุกวัน

แต่เดิม “อินทผลัม” มักรู้จักกันในรูปอบแห้งที่เดินทางมาจากตะวันออกกลางเพื่อนำมาวางขายตามห้างสรรพสินค้าชื่อดัง จึงมีราคาค่อนข้างแพง

ความเป็นไม้ผลที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการซึ่งชาวมุสลิมทั่วโลกนิยมรับประทานในช่วงพิธีสำคัญทางศาสนา ขณะที่คนไทยเริ่มรู้จักและตื่นตัวเพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ อีกทั้งพบว่าผลสดของอินทผลัมสามารถรับประทานได้โดยยังคงคุณค่าทางโภชนาการ

ขณะเดียวกัน มีข้อมูลทางวิชาการระบุว่า พื้นที่บางแห่งในประเทศไทยมีความเหมาะสมทางกายภาพต่อการปลูกอินทผลัมผลสด แล้วยังปลูกได้มีคุณภาพกว่าหลายพื้นที่ในแถบอาเซียน ดังนั้น จึงเกิดการตื่นตัวของชาวบ้านหันมาปลูกอินทผลัมกันเพราะมีราคาขายสูง

ปัจจุบัน สวนอินทผลัมหลายแห่งประสบความสำเร็จจากการขายผลสด จนทำให้เจ้าของสวนการันตีความอร่อยด้วยการเปิดให้ผู้สนใจเข้าถึงสวนแบบบุกถึงต้นชิมกันแบบสด พร้อมชูจุดเด่นเรื่องสายพันธุ์ การปลูก ดูแล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า

มีความเป็นห่วงว่าในอนาคตไม้ผลอย่างอินทผลัมที่ปลูกกันเพิ่มขึ้น แล้วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะมีทิศทางไปทางไหน ขณะที่กลุ่มผู้ปลูกบางแห่งซึ่งล้ำหน้าไปด้วยการนำอินทผลัมผลสดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายประเภท เพื่อหาทางเจาะตลาดกลุ่มผู้รักสุขภาพให้มีการเลือก

คุณอนุรักษ์ บุญลือ เจ้าของสวนอินทผลัม “ไร่ประเสริฐสุข” เลขที่ 175 หมู่ที่ 9 ตำบลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ถือเป็นอีกรายในกลุ่มผู้บุกเบิกปลูกอินทผลัมทางด้านตะวันตกเมื่อกว่า 10 ปี ตลอดเวลาชายผู้นี้ได้ผ่านพบปัญหา/อุปสรรคมากมาย แต่ด้วยความเป็นคนทุ่มเท จริงจัง ค้นคว้าหาข้อมูลทุกแห่งอย่างไม่หยุด พร้อมกับลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองทั้งสำเร็จและล้มเหลว

จนกระทั่งสามารถฝ่าด่านความยากมายืนเป็นผู้สันทัดด้านอินทผลัมแถวหน้าได้สำเร็จ สามารถส่งผลผลิตขายทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงยังมีบทบาทสำคัญต่อการจัดตั้งกลุ่มปลูกอินทผลัมภาคตะวันตก (WDP) ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ปลูกอินทผลัมหลายจังหวัดผลักดันธุรกิจขายอินทผลัมผลสดและแปรรูป

คุณอนุรักษ์เดินเข้าสู่วงการเกษตรกรรมเต็มตัว ด้วยการปลูกอินทผลัมในเชิงพาณิชย์เป็นหลักอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมกับยังนำไม้ผลอื่นอย่างทับทิมอินเดียมาปลูกเพื่อหวังเป็นพืชเชิงพาณิชย์ต่อไป นอกจากนั้น ยังปลูกข้าว ปลูกอ้อย

ฉะนั้น ในฐานะผู้เป็นเจ้าของสวนอินทผลัม แล้วรู้จักไม้ผลชนิดนี้ทั้งการปลูกและการตลาดเป็นอย่างดี ทางทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้านจึงได้เชิญคุณอนุรักษ์มาพูดคุยภาพรวมของตลาดอินทผลัมทั้งในตอนนี้และอนาคตให้แก่แฟนคลับเทคโนโลยีชาวบ้าน ในงานเสวนาสัญจร เมื่อวันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา ณ สวนอินทผลัมปรีชา นนทบุรี

เริ่มต้นปลูกแบบมีความรู้น้อย จนผิดพลาด เสียหายจำนวนมาก

คุณอนุรักษ์เรียนจบวิศวะเครื่องกลจากพระจอมเกล้าธนบุรี หลังจากนั้น ทำงานเป็นวิศวกรตามฝัน เข้าสู่วงการอินทผลัมเมื่อ 11 ปีที่ผ่านมา เหตุผลจูงใจที่ทำให้วิศวกรหนุ่มรายนี้มาชอบอินทผลัมเนื่องจากระหว่างทำงานมีโอกาสเดินทางหลากหลายประเทศ รวมถึงทางตะวันออกกลางแล้วได้มีโอกาสชิมอินทผลัมแห้งเกิดติดใจรสชาติ มีการหาทางนำมาปลูกในไทย กระทั่งมาพบอีกที่ทางภาคใต้ก็ซื้อมารับประทานอีกแล้วคิดว่าผลอินทผลัมนี้คงเดินทางมาจากมาเลเซีย

แต่เมื่อมาค้นข้อมูลการปลูกอินทผลัมในไทยกลับไม่พบเลย กระทั่งไปซื้อต้นพันธุ์ที่เชียงใหม่กับอีกส่วนหนึ่งหาซื้อจากทางอาหรับมาปลูกจนเกิดหน่อ จากนั้นจึงศึกษาหาความรู้มาเรื่อย รวมถึงยังเข้าไปติดตามการปลูกและรายละเอียดต่างๆ จากเฟซบุ๊กของกลุ่มผู้ปลูกอินทผลัมทางตะวันออกกลาง เพราะตำราเอกสารของไทยมีน้อยมาก

การแสวงหาความรู้เรื่องอินทผลัมยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ที่ไหนปลูกในไทยก็จะเดินทางไปดู ไปเรียนรู้ ในคราวแรกที่ลงทุนปลูกเกิดความผิดพลาดจากการขาดความรู้ลึก เนื่องจากนำต้นพันธุ์สายพันธุ์กินผลแห้ง เพราะเป็นพันธุ์ที่ทางอาหรับปลูกกัน กระทั่งเมื่อมีผลผลิตร่วงหมด ทำให้ต้องขุดทิ้งเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นพันธุ์ที่ปลูกในไทยไม่ได้ มีความชื้นสูง ต่างกับอาหรับ เหตุผลนี้ประเทศไทยจึงควรปลูกอินทผลัมแบบรับประทานผลสดมากกว่าผลแห้ง

หลายปีที่ผ่านมาชื่อเสียงของอินทผลัมได้เข้าสู่วงการบ้านเรามากขึ้น มีสวนหลายแห่งปลูกกันแบบลองผิด-ถูกมากมาย ขณะเดียวกัน หลายสวนก็เริ่มประสบความสำเร็จ แต่มีคำถามว่าปลูกอินทผลัมแล้วจะไปขายให้ใคร ขายที่ไหน คุณอนุรักษ์ชี้ว่าสำหรับความเห็นส่วนตัวถ้าคุณหาแหล่งขายไม่ได้แสดงว่าตลาดมีขนาดใหญ่มาก ทำไมถึงคิดเช่นนั้นก็เพราะถ้ามองตอนนี้ตลาดผู้ต้องการบริโภคอินทผลัมมี แต่สินค้าไม่มี นั่นแสดงว่ายังขาด

ก่อนอื่นต้องทราบว่าผู้บริโภคอินทผลัมหลักคือชาวมุสลิม จากข้อมูลค้นพบว่ามาเลเซียเป็นผู้นำเข้าอินทผลัมรายใหญ่อันดับต้นของโลก หรือเป็น 1 ใน 3 มาเป็นระยะเวลายาวนานหลายสิบปีแล้ว แล้วขายกระจายไปทั่วอาเซียน โดยเฉพาะที่อินโดนีเซียเพียงประเทศเดียวก็มากเกินพอ ส่วนที่พม่ามีมุสลิมจำนวน 45 เปอร์เซ็นต์ กัมพูชามีมากกว่าพม่า แล้วที่เวียดนามก็มีจำนวนมากเช่นกัน

ถึงแม้ประเทศไทยไม่สามารถปลูกอินทผลัมผลแห้งได้ เนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศที่ต่างจากประเทศแถบอาหรับ แต่อาจจะไม่ใช่ปัญหาเพราะการปลูกอินทผลัมผลสดก็ยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องสภาพภูมิอากาศที่หลายประเทศในแถบอาเซียนปลูกไม่ได้หรือคุณภาพไม่ดี แต่ความได้เปรียบกลับมาอยู่ที่ประเทศไทย ฉะนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้การแข่งขันทางด้านผลสดจึงมีแนวโน้มที่สดใสอยู่มากเพราะไร้คู่แข่งที่น่ากลัว

อย่าตั้งความหวังว่าจะโกยเงินจากอินทผลัม

ผู้ที่คิดจะปลูกอินทผลัมแล้วเจตนาใช้ราคาสูงเป็นตัวกำหนด หรือที่ผ่านมามีผู้คนที่รู้จักผมกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ต้องการปลูกอินทผลัมเพราะขายได้ราคาสูง อยากจะบอกว่าถ้าคิดแบบนั้นระวังจะผิดหวัง เพราะเมื่อคุณมองตลาดจะให้ผลตอบแทนกลับมาด้วยมูลค่าเงินจำนวนมาก คุณก็จะทุ่มเงินลงทุนอย่างเต็มที่

ความจริงต้นทุนอินทผลัมไม่ได้สูง hillchords.com แต่ที่ขายกันแพงเพราะมีกลไกราคาจากตลาดต่างประเทศ อย่างที่มาเลเซียราคาประมาณ 280 บาท ต่อกิโลกรัม โดยที่ทางมาเลเซียรับมาจากอาหรับในราคา 150 บาท พอเดินทางเข้ามาที่หาดใหญ่ราคากิโลกรัมละ 300 บาท พอมาถึงกรุงเทพฯ ราคากิโลกรัมละ 400 กว่าบาท แล้วเมื่อนำไปขายในผู้บริโภคราคากิโลกรัมละ 500-600 บาท ผมบอกได้เลยว่าราคาระดับนี้ขายส่งให้แก่ห้างโมเดิร์นเทรดชั้นนำหลายแห่ง แล้วผลผลิตที่นำไปขายเป็นฝีมือของคนไทยล้วน

“ปีนี้ (2561) ผมมีออเดอร์จากมาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม อีกเป็นจำนวนมาก ถ้าว่าทำไมเราไม่ส่งไปขายให้แก่ประเทศเหล่านั้นในจำนวนมากๆ แต่ในทางปฏิบัติประเทศเหล่านั้นเขาซื้อมาจากทางอาหรับในราคาต่ำกว่าซื้อจากไทย แล้วถ้าเราจะขายให้เขาต้องขายในราคาเดียวกับที่เขาซื้อจากอาหรับ แล้วจะขนไปขายทำไม? สู้ขายในประเทศได้ราคาสูงกว่า ความยุ่งยากในการขนย้ายถ่ายเทก็ไม่มี

แต่ในโอกาสหน้าไม่แน่เพราะถ้าผลผลิตเกิดล้นตลาดเพราะปลูกกันมากขึ้น ก็อาจจะต้องดันไปแข่งกับต่างประเทศ แล้วเมื่อถึงตอนนั้นใครที่หวังขายราคาสูงต้องคิดหนัก อย่าไปหวังเลยครับ ถ้าคุณตั้งเพดานเป้าหมายขายสัก 80-100 บาทอันนี้ลงทุนไปเลย”

คุณอนุรักษ์ บอกว่า การที่ตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะที่อยู่ใกล้ไทยยอมควักเงินซื้อแม้ขายในราคากิโลกรัมละ 400 บาท เป็นเพราะไทยมีจุดแข็งตรงที่ได้คุณภาพผลสดใหม่โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางนาน คุณภาพความอร่อย ความกรอบ ของอินทผลัมจากไทยเป็นที่ยอมรับแล้ว แม้ลักษณะผลจะมีลายที่ผิวหรือที่เรียกว่าขนแมวก็ไม่ใช่เงื่อนไขที่ลูกค้าจะปฏิเสธซื้อ เพียงแต่อาจจะต้องช่วยประชาสัมพันธ์กันให้มากหน่อยว่าการที่มีลักษณะผิวแบบนั้นมันไม่ใช่สินค้าเสียหายแต่มันเป็นอัตลักษณ์ประจำของไทยหรือเรียกได้ว่าเป็นพันธุ์บาร์ฮีแบบไทย

“เพราะคนที่บริโภคอินทผลัมเป็นประจำ หรือผู้ที่คลุกคลีอยู่จะรู้ดีว่าผลอินทผลัมแบบมีลายเส้นที่ผิวจะอร่อย หวาน กรอบ กว่าผลแบบเรียบ ซึ่งเป็นจุดเด่นของอินทผลัมของไทย แต่ในอนาคตหากมีการปรับปรุงแก้ไขก็ดีเพราะจะได้สร้างราคาให้สูงได้อีก