ตะลุยสวนออร์แกนิก สัมผัสวิถีเกษตรกรอินทรีย์

จากการเปิดเผยข้อมูลของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ Thai-PAN เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ถึงผลการสุ่มตรวจหาสารเคมีตกค้างในผักและผลไม้อินทรีย์ หลายรายการพบสารเคมีตกค้างที่สูงเกินค่ามาตรฐานกำหนด ข้อมูลนี้สร้างความตื่นตัวให้กับผู้บริโภคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก

และเมื่อค่ามาตรฐานความปลอดภัย ถูกลดระดับความน่าเชื่อถือ พฤติกรรมการเลือกซื้อของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปด้วย ก่อนหยิบจับสินค้าใส่ตะกร้าต้องสืบค้นหาข้อมูลให้รู้ชัด มาจากแหล่งไหน รูปแบบการปลูกเป็นอย่างไร มีวิธีการตรวจสอบไหม ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ ทางมูลนิธิสังคมสุขใจ หนึ่งในหน่วยงานที่ขับเคลื่อนวิถีเกษตรอินทรีย์มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการ สามพรานโมเดล จึงจัดทริปพิเศษ พาลูกค้าตลาดสุขใจสัญจร ที่สนใจในเรื่องเกษตรอินทรีย์ ทั้งพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ สื่อมวลชน และภาคเอกชน อย่าง บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ลงพื้นที่จังหวัดราชบุรี และนครปฐม ไปพบคนต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ของเกษตรอินทรีย์ ภายใต้กิจกรรม “Shop สุขใจพาเที่ยวสวน” ครั้งที่ 2 ขึ้น เพื่อสัมผัสวิถีชีวิต แนวคิด และการเอาใจใส่ดูแลผลผลิตของเกษตรระบบอินทรีย์

ความพิเศษของทริปนี้ เป็นการขยายเรื่องราวเกษตรอินทรีย์ที่มากกว่าเรื่องของพืชผัก ผลไม้ แต่เป็นการลงไปดูวิธีการเลี้ยงหมูหลุมอินทรีย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดูการทำสวนเกษตรผสมผสานที่ไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี ไปลิ้มรสชาติอาหารอินทรีย์สดจากไร่ ในบรรยากาศกลางสวนด้วยเมนูพิเศษ ทั้งก๋วยเตี๋ยวหมูหลุมอินทรีย์ สลัดอินทรีย์ น้ำปั่นผักอินทรีย์เพื่อสุขภาพ เป็นต้น อีกทั้งการเดินทางในครั้งนี้ใช้รถที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด นั่นคือ นิสสัน เอ็กซ์ เทรล ไฮบริด

คุณอรุษ นวราช เลขาธิการมูลนิธิสังคมสุขใจ ในฐานะผู้ริเริ่มและดำเนินโครงการสามพรานโมเดล กล่าวถึงกิจกรรม “Shop สุขใจพาเที่ยวสวน” ว่า เป็นหนึ่งแผนงานที่สำคัญของโครงการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ซึ่งเป็นคนปลายน้ำให้มาเจอกับคนต้นน้ำ ได้เห็นกระบวนการคิด การพัฒนาแปลงปลูก ความเอาใจใส่ของเกษตรกร เห็นแหล่งที่มาอาหารของเขา แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่จากภาพการพูดคุย การซักถามในเชิงลึกของลูกค้า ความสนใจของสื่อมวลชนเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนา ความเพียรพยายามลองผิดลองถูก ในการพึ่งพาตนเอง หลังลดและเลิกการใช้เคมี มั่นใจว่าจะทำให้เกิดแรงบันดาลใจ ทั้งผู้บริโภคและสื่อมวลชน จะเห็นความสำคัญของการเลือกอาหารปลอดภัยมากขึ้น ขณะที่เกษตรกรเองก็จะตระหนักถึงการสะสมองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาต่อไป

สำหรับทริปนี้เป็นการคัดเลือกลูกค้าตลาดสุขใจสัญจร ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ที่ร่วมทำแบบสอบถามของโครงการ และได้คะแนนสูงสุด 10 ลำดับแรก พร้อมเพื่อน 1 คน เข้าร่วมกิจกรรม โดยกำหนดออกเดินทางกันตั้งแต่เช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา ด้วยขบวนรถยนต์นิสสัน รุ่น เอ็กซ์ เทรล ไฮบริด มุ่งหน้าสู่จังหวัดราชบุรี ตามเส้นทาง “Shop สุขใจพาเที่ยวสวน” ครั้งที่ 2

มารู้จัก หมูหลุมอินทรีย์

จุดหมายแรก แวะกันที่ ศูนย์สร้างสุขเกษตรชนบทตำบลดอนแร่ พูดคุยถึงที่มาที่ไป รวมถึงการขับเคลื่อนโครงการสามพรานโมเดล กับ คุณอรุษ นวราช ก่อนไปทำความรู้จักกับ คุณสุพจน์ สิงห์โตศรี เจ้าของฟาร์มหมูหลุมอินทรีย์และผลิตภัณฑ์หมูหลุมอินทรีย์ แบรนด์ G-PORK

จุดนี้หลายคนถึงกับแปลกใจไม่น้อย เพราะไม่คิดว่าฟาร์มหมูขนาดใหญ่ที่เลี้ยงหมูกว่า 300 ตัว แต่กลับไม่มีกลิ่นขี้หมู หรือแมลงวันมากวนใจแม้แต่น้อย ซึ่งได้รับคำอธิบายจาก คุณสุพจน์ ว่า

หมูหลุมอินทรีย์ คือหมูที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ ใช้วิธีขุดหลุม รองพื้นคอกด้วยแกลบ ใช้จุลินทรีย์ที่หมักจากวัสดุธรรมชาติราดทับ และใช้ผสมน้ำให้หมูกิน เพื่อช่วยขจัดกลิ่น อาหารที่หมูกินก็มีส่วนผสมของวัตถุดิบธรรมชาติในท้องถิ่น ซึ่งการเลี้ยงแบบนี้ไม่ต้องมีน้ำเสียจากการล้างคอก ตัดวงจรแมลงวัน ทำให้หมูอารมณ์ดี สร้างภูมิคุ้มกันได้เองโดยไม่ต้องใช้วัคซีนหรือยาปฏิชีวนะใดๆ เนื้อหมูที่ได้มีคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นคาว และไม่ส่งกลิ่นรบกวนด้วย ซึ่งต่างจากการเลี้ยงหมูทั่วไป ที่หมูต้องใช้ชีวิตอยู่ในคอกปูน ต้องทนร้อน แถมยังต้องสูดดมกลิ่นไนโตรเจนของมูลตัวเอง ตลอด 120 วัน ทำให้ปอดเป็นจุด ป่วยง่าย จึงต้องฉีดวัคซีนและยาปฏิชีวนะ

“หมูที่ถูกเลี้ยงในฟาร์มปิด เมื่อผ่าซากดูจะเจอจุดที่เรียกว่า จุดวิกาฬในตับและปอด สิ่งที่บ่งบอกกลิ่นเหม็น แต่ในหมูหลุมหายไป 6 เท่า หากเทียบกับหมูในระบบฟาร์ม และจะไม่มีจุดวิกาฬ ปอดและตับ จึงใสสะอาด เมื่อหมูคุณภาพดี ก็จะทำให้ขายได้ราคาดีกว่าหมูทั่วไปกิโลกรัมละ 20 บาท ขณะที่แกลบรองพื้นกลายเป็นปุ๋ยคอกชั้นดี เพราะมีค่าไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสูงกว่าระบบฟาร์มหมูทั่วถึง 4 เท่า สร้างรายได้อีกทางหนึ่งด้วย ปัจจุบันผมมีหมู 300 ตัว เลี้ยงในระบบหมูหลุมทั้งหมด โดยผลผลิตที่ได้ส่งขายโรงเรียนปัญโญไทย ตลาดสุขใจ และในห้างสรรพสินค้าทั่วไป ภายใต้แบรนด์ G-Pok” คุณสุพจน์ ให้ข้อมูล

ออกจากฟาร์มหมูหลุมมุ่งหน้าสู่ไร่รวงข้าว ตำบลน้ำพุ ทำความรู้จักกับ คุณป้าลำพึง ศรีสาหร่าย หญิงแกร่งร่างเล็กในวัยกว่า 50 ปี ที่กลับใจจากเคมี หันมาพลิกฟื้นผืนดิน 15 ไร่ ที่เคยผ่านการทำเกษตรกรรมเคมีจนทำให้หน้าดินเสีย ให้คืนกลับมาอุดมสมบูรณ์และเขียวขจีไปด้วยสวนป่าและพืชผักผสมผสาน อาทิ แครอต ไชเท้า คะน้า กวางตุ้ง ผักสลัด มันญี่ปุ่น ต้นหม่อน กล้วย มะม่วง เป็นต้น

คุณป้าลำพึง หนึ่งในเกษตรกรคนต้นน้ำ เล่าถึงจิตวิญญาณและความตั้งใจของคนทำเกษตรอินทรีย์ ให้กับคนปลายน้ำฟังว่า คนที่ทำเกษตรอินทรีย์ต้องมีใจรัก ขยัน และอดทน ทนเหนื่อย ทนร้อน เพราะทุกอย่างต้องลงมือทำด้วยตัวเอง ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด อย่างวัชพืชบางชนิดต้องถอนด้วยมือ เพราะเราไม่ใช้สารเคมี น้ำหมัก ปุ๋ยหมักต่างๆ เราก็ทำเองทั้งหมด แต่ป้าก็มีความสุขที่ได้ทำอาชีพนี้ ได้ผลิตอาหารดีๆ ให้คนอื่นได้กิน เราเองก็ได้กินของดีๆ ด้วย และขอตั้งปณิธานกับตัวเองไว้ว่า จะเกิดสักกี่ชาติก็จะขอเป็นเกษตรกรอินทรีย์ เดินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะไม่เอาเปรียบใคร จะไม่ทำให้ใครเดือดร้อน เพราะสิ่งค้นพบคือความสุขที่ยั่งยืน

ที่ไร่รวงข้าว นอกจากได้ฟังเสียงสะท้อนจากหัวใจที่กล้าแกร่งในการยืนหยัดทำเกษตรอินทรีย์ให้ทุกคนได้มีสุขภาพดี คุณป้าลำพึงยังนำคณะเจ้าหน้าที่และผู้ร่วมกิจกรรมไปชมแปลงปลูก พร้อมอธิบายถึงวิธีการปลูก การดูแลให้น้ำ ให้ปุ๋ย รวมถึงการทำปุ๋ย น้ำหมักต่างๆ ขณะเดียวกัน ยังได้เห็นภาพการทำงานของเกษตรกร สองมือที่กำลังถอนหญ้าในแปลงอย่างเอาใจใส่ สะท้อนถึงความตั้งใจจริงในการผลิตอาหารอินทรีย์ให้ผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ยิ่งได้ลิ้มชิมรสผักสลัดที่คุณป้าลำพึงเก็บสดๆ จากสวน จัดเตรียมไว้ต้อนรับ ก็ทำให้ทุกคนสัมผัสได้ถึงความต่างของเกษตรอินทรีย์ได้โดยไม่ต้องอธิบายให้มากความ

ด้าน คุณพรประไพ เสือเขียว หนึ่งในผู้ร่วมกิจกรรมและเป็นลูกค้าประจำของตลาดสุขใจ บอกว่า โดยปกติเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพอยู่แล้ว เวลาเลือกซื้ออาหารออร์แกนิก ก็จะถามแม่ค้าหรือดูตรารับรองมาตรฐานความปลอดภัยทุกครั้ง เพราะเราไม่รู้แหล่งที่มา กิจกรรมนี้ถือว่าดีมากๆ อย่างน้อยเราเองได้มารู้จักคนปลูก ได้เห็นกระบวนการผลิตในพื้นที่จริง รู้ได้ถึงความยากลำบากของเกษตรกร ที่กว่าจะผลิตอาหารอินทรีย์ออกมาให้เราได้บริโภค แถมยังได้เกร็ดความรู้ในการเลือกซื้ออาหารปลอดภัยโดยเฉพาะเนื้อหมู ที่เราไม่เคยรู้ข้อมูลมาก่อน ถือเป็นหนึ่งวันที่คุ้มค่าและได้ประโยชน์อย่างมาก

จากการลงพื้นที่ด้วยตัวเอง เห็นการทำงานของเกษตรกรอินทรีย์ ได้ชิมรสชาติเกษตรอินทรีย์แท้ๆ ความตระหนักและความเชื่อมั่นในโครงการสามพรานโมเดล จึงทำให้การเดินทางมาตลาดสุขใจ ในสวนสามพราน จุดแวะสุดท้ายของเส้นทางในวันนี้ จึงมีความมั่นใจที่จะเลือกชิม เลือกช็อป พืชผัก ผลไม้ เกษตรอินทรีย์ แบบไร้กังวล

“ยังมีคนปลายน้ำอีกมากมายที่ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ ในฐานะคนกลางน้ำ ก็จะต้องหาทางน้ำ คนต้นน้ำ และปลายน้ำ มาเจอกันอีกอย่างต่อเนื่อง เพราะสิบปากว่า ยังไงก็ไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็น ก็ยังไม่เท่าได้ลงพื้นที่มาสัมผัสด้วยตนเอง” คุณอรุษ กล่าวทิ้งท้าย คุณบุญ แก้วภิภพ เกษตรกรเจ้าของสวนผักหวานป่า เล่าว่า มีพื้นที่ทั้งหมด 49 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่นา 30 ไร่ อ้อย 14 ไร่ และพื้นที่ป่าซึ่งมีพื้นที่ป่าเต็งรังเป็นป่าไม้ผลัดใบ ประมาณ 5 ไร่

ในช่วงปี 2551 เริ่มมีแนวความคิดอยากทำการเกษตรที่นอกเหนือจากทำนาข้าว จึงมาพิจารณาสวนผืนป่าเต็งรังที่มีอยู่ หากทำไร่ก็ต้องถางป่า ตัดต้นไม้ออก เกิดความเสียดายต้นไม้ และยังเป็นการทำลายแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ทั้งพืชผักท้องถิ่น ทั้งเห็ดป่า และสัตว์ป่า ดังนั้น จึงปรึกษากับครอบครัว หาข้อมูล สรุปว่า ผักหวานป่า เหมาะที่สุด เนื่องจากในพื้นที่ป่ามีต้นผักหวานป่าอยู่เดิมแล้ว และเป็นอาหารของคนอีสานที่ชอบรับประทาน ประกอบกับช่วงนั้นต้นผักหวานป่าตามธรรมชาติเริ่มลดลง หายาก จึงมีแนวคิดอยากลองปลูก ถือว่าเป็นการอนุรักษ์ป่าไปในตัว สวนกระแสของคนท้องถิ่นที่ถางป่าทำไร่ในขณะนั้น จึงถูกมองว่าเป็นคนสวนกระแส ปลูกในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะผักหวานป่าปลูกยาก มีคนในพื้นที่ลองปลูกมาแล้วหลายคนก็ไม่สามารถดูแลรักษาให้รอดได้ ยิ่งทำให้อยากลองเพื่อพิสูจน์ตนเองให้คนอื่นๆ เห็นว่า ทำได้

จึงตัดสินใจหาข้อมูล เดินทางหาเมล็ดผักหวาน ต้นกล้าผักหวาน มาลองปลูก โดยมีแนวคิดที่ว่า ปลูกไว้บริโภคในครัวเรือนเท่านั้นครั้งแรก ปลูกไปประมาณ 200 ต้น แซมกับป่าธรรมชาติ อาศัยร่มเงาจากต้นไม้เต็งรังในป่า มีการดูแลรักษามาเรื่อยๆ ก็มีต้นที่ตายไปบ้าง บางต้นเติบโต บางต้นไม่เติบโต ปีถัดมาจึงสั่งกิ่งตอนจากสระบุรีมาลองปลูก และเริ่มสังเกต/ทดสอบวิธีการปลูก เพื่อให้เหมาะสมกับสวนป่า ซึ่งในขณะที่ปลูกผักหวานป่า ก็มีการเลี้ยงมดแดงในต้นไม้ผล ไม้ยืนต้น (ต้นสะเดา) ไว้ด้วย เนื่องจากมองว่า ผักหวานป่าต้องแกงใส่ไข่มดแดง จึงดูแลควบคู่กันมา โดยมีวิธีการปลูกผักหวานป่าในสวนป่าเต็งรังทั้งแบบเพาะเมล็ดเอง ซื้อต้นกล้ามา และกิ่งตอน ปะปนกันไป

ทดลองเพาะเมล็ด 2 แบบ

เพาะเมล็ดเอง แล้วนำลงอนุบาลในถุงดำ เมื่อต้นมีขนาดความสูง 3-5 เซนติเมตร นำลงหลุมปลูก
เพาะเมล็ดเอง เมื่อรากงอก ประมาณ 1 เซนติเมตร เอาลงหลุมปลูก พบว่า แบบที่ 2 ได้ผลดี เติบโตดี เนื่องจากรากไม่ได้รับความกระทบกระเทือน ผักหวานป่ารากมีความเปราะบางมาก เนื่องจากเป็นรากสะสมอาหาร หากขาดหรือหักจะชะงักการเจริญเติบโตและตายในที่สุด จึงได้ค้นพบตามวิธีการของตนเองว่า รักษารากไม่ให้ขาดและไม่ให้เสียหาย ผักหวานป่าจะรอดและเติบโตได้ดี

ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง

เลือกกิ่งตอนขนาดพอประมาณ ไม่แก่เกินไป ตอนกิ่งโดยสังเกตตุ้มตอนสม่ำเสมอ หากตุ้มตอนแห้งให้เติมน้ำในตุ้มตอน เมื่อตอนได้ 1-2 เดือน จะเริ่มเห็นรากสีขาว เมื่อรากมีปริมาณมากขึ้นและมีสีเขียว ประมาณ 4 เดือน สามารถตัดไปแช่น้ำยาเร่งราก และปลูกได้เลย ซึ่งในสวนไม่มีการชำในถุงดำ จะปลูกลงหลุมจริงทันที เพื่อป้องกันรากไม่ให้เกิดความเสียหาย (ตอนกิ่งในช่วงต้นฝน รากจะมีความสมบูรณ์กว่าตอนกิ่งในช่วงฤดูแล้ง)
สำหรับการปลูกด้วยกิ่งตอน สามารถเก็บผลผลิตได้เมื่ออายุ 1 ปีครึ่ง ซึ่งการเจริญเติบโตของผักหวานป่าขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ทั้ง ดิน น้ำ อากาศ ให้ท่านสังเกตและพิจารณาตามพื้นที่เป็นกรณีไป
การตอนกิ่งในช่วงต้นฝน ใช้เวลา 4 เดือน สามารถนำกิ่งไปปลูกได้ แต่หากเป็นช่วงฤดูหนาว ใช้เวลา 5-6 เดือน จึงสามารถตัดกิ่งไปปลูกได้ เนื่องจากฤดูหนาวรากจะออกช้ากว่าการตอนกิ่งในฤดูกาลอื่นๆ

ผักหวานป่าในสวน

ใบมนใหญ่ ยอดเหลือง แตกยอดดี โตเร็ว
ใบแหลมใหญ่ ยอดเหลือง แตกยอดดีโตเร็ว
ใบแหลมเล็ก ยอดเขียว แตกยอดไม่ดี โตช้า
ซึ่งสวนตาบุญ เน้นการเลือกพันธุ์/ขยายพันธุ์ จากต้นที่ใบมนใหญ่และใบแหลมใหญ่ เท่านั้น ส่วนใบแหลมเล็กเป็นผักหวานที่เกิดเองตามธรรมชาติ เราเก็บไว้เป็นการศึกษาแก่ผู้มาเยี่ยมเยียน ไม่ขยายพันธุ์เพิ่มเติม เนื่องจากไม่ค่อยแตกยอด ให้ผลผลิตไม่ดี ยอดแข็ง แกงไม่อร่อย

ในปี 2558 ในสวนมีผักหวานป่าที่ปลูกโดยเพาะเมล็ดและกิ่งตอน รวมแล้วประมาณ 1,000 กว่าต้น (ปลูกมา 7 ปี) ในปี 2559 คาดว่าจะปลูกขยายเพิ่มโดยเมล็ดและกิ่งตอนที่ได้จากสวนตนเองอีก (ในฤดูกาลนี้ ผักหวานป่ากิ่งตอนบางต้นได้ติดผลแล้ว อายุ 7 ปี)

เทคนิคทำสวน

คัดเลือกผักหวานป่าสายพันธุ์ดี เนื่องจากผักหวานป่ามีหลายแบบ หากได้พันธุ์ไม่ดีทำให้เสียเวลาในการปลูกและดูแลรักษา ต้องพิจารณาในรอบคอบ หาซื้อพันธุ์ในแหล่งที่เชื่อถือได้
ทดลองวิธีการปลูกที่เหมาะสมสำหรับสภาพดิน อากาศ ของสวนตนเองในปริมาณน้อยๆ ก่อน เมื่อพบวิธีที่ดีที่สุด ค่อยขยายเพิ่มขึ้น
ต้องมีความสม่ำเสมอในการดูแลรักษา การให้น้ำ การให้ปุ๋ย ทั้งทางดินและทางใบ รวมทั้งสังเกตการเจริญเติบโตของแต่ละต้น แต่ละชนิด เฝ้าระวังศัตรูพืชด้วย
ปลูกปีละไม่เกิน 200 ต้น เพื่อให้สามารถดูแลได้ทั่วถึง เมื่อต้นผักหวานป่าสามารถหาอาหารเองได้แล้วค่อยเพิ่มปริมาณ หากปลูกปริมาณมากครั้งเดียว ดูแลไม่ทั่วถึง อาจทำให้เราเสียเวลา ต้นผักหวานตายได้ โดยเฉพาะฤดูแล้งที่ไม่มีน้ำ

ปลูกด้วยเมล็ด ใช้เวลา 4 ปีขึ้นไป สามารถเก็บผลผลิตได้ (แต่ต้นยังไม่โตเท่าที่ควร) สำหรับปลูกด้วยกิ่งตอน 1 ปีครึ่ง สามารถเก็บผลผลิตได้ ผลผลิตส่วนใหญ่ในสวนปัจจุบันได้จากต้นกิ่งตอนเป็นหลัก (กิ่งตอนเติบโตได้ดี ได้ผลผลิตเร็ว โตเร็ว ยังไม่พบข้อเสียของกิ่งตอน)

ปลูกพืชอื่นผสมผสานด้วย เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้มีกินตลอดปี ให้สามารถอยู่กับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน สำหรับการขยายพันธุ์กิ่งตอนจำหน่าย ในปี 2558 เป็นปีแรกที่ทางสวนเปิดจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจ (กิ่งตอนส่วนหนึ่งได้เก็บไว้ขยายในสวนตนเอง) พร้อมแนะนำวิธีการปลูกให้ได้ผลดี สำหรับ ปี 2559 คาดว่าจะสามารถผลิตกิ่งตอนได้ในปริมาณ 600-1,000 กิ่ง จำหน่ายในราคากิ่งละ 150 บาท และ 200 บาท ตามขนาดของกิ่ง
สำหรับการขยายพันธุ์แบบเพาะเมล็ด ทางสวนได้เพาะเมล็ดผักหวานป่าพันธุ์ยอดเหลือง พันธุ์ดีจำหน่ายทุกปี โดยใช้ถุงขนาด 12.5×4 นิ้ว (ถุงเพาะกล้ายางพารา) เพื่อรักษารากผักหวานป่าไม่ให้ขาดและขดในถุงมากเกินไป เมื่อนำไปปลูกแล้วเจริญเติบโตได้ดี ต้นกล้าที่เปิดจำหน่ายอายุจะไม่เกิน 4 เดือน เพื่อให้ลูกค้าได้ต้นกล้าที่พอเหมาะกับการปลูก และสามารถเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ต่อไปต่อไต่อได้ด

ท่านใดสนใจสอบถาม/สั่งซื้อ กิ่งตอนผักหวานป่า ต้นกล้าผักหวานป่า หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปลูกผักหวานป่าภาคอีสาน ติดต่อได้ที่ สวนตาบุญผักหวานป่า คุณบุญเลิศ แก้วภิภพ บ้านโต่งโต้น หมู่ที่ 7 ตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู โทร. (092) 941-4941 และ (093) 513-4668 หรือ เฟซบุ๊ก Sutharin kaewphipho

สวนผสมผสานตามแนวคิด “อยากกินอะไรก็ปลูก” ในสวนนี้ ไม่ได้มีแต่ผักหวานป่าเพียงอย่างเดียว สวนนี้ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ทั้งพืชปลูกบริโภคและไม้ป่าท้องถิ่นเพื่ออนุรักษ์ คือในป่าปลูกผักหวานป่าและพืชอาหารป่าท้องถิ่น เช่น ดอกกระเจียว อีรอก ผักสาบ และเห็ดป่าตามฤดูกาล ในพื้นที่บริเวณโดยรอบก็มีการปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้น เช่น แก้วมังกร กล้วย มะม่วงชนิดต่างๆ น้อยหน่า ไม้ผลตามฤดูกาล ไผ่บงหวานกินสดได้ ไผ่เลี้ยง สะเดาทะวายออกดอกตลอดปี หวายหนามขาว เพกาเตี้ย และพืชผักตามฤดูกาล รวมทั้งเลี้ยงมดแดง เพื่อบริโภค หากเหลือก็จำหน่ายในตลาดชุมชน ถือเป็นผืนป่าเล็กๆ ที่สามารถเรียกว่า “คลังอาหารของครอบครัว” มีกินได้ตลอดปี และยังเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่ปลอดภัย ไม่ใช้สารเคมี

คุณดำรงศักดิ์ วิรยศิริ เจ้าของสวนบ้านวังทอง เลขที่ 90 หมู่ 4 ต.วังชมภู อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ โทร. 056-771430 เป็นเกษตรกรรายหนึ่งที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมบนพื้นที่เพียง 10 ไร่เศษ แต่มีการปลูกพืชหลากหลายชนิดในแปลงเดียวกัน มีการจัดการเรื่องการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพทำให้มีรายได้หมุนเวียนเข้ามาทุกวัน คุณดำรงศักดิ์ วิรยศิริ ยังมีความเชี่ยวชาญใน“การพัฒนาพันธุ์พืช”

หลายคนไม่ทราบว่าฝรั่งไม่มีเมล็ดพันธุ์ “บางกอกแอ๊ปเปิ้ล” เป็นฝรั่งไทยที่เกิดจากการผสมพันธุ์และเจ้าของฝรั่งพันธุ์นี้ก็คือคุณดำรงศักดิ์และความก้าวหน้าของการพัฒนาสายพันธุ์ฝรั่งไม่ได้หยุดลงแค่นั้น, ปัจจุบันคุณดำรงศักดิ์ได้ประสบความสำเร็จในการผสมพันธุ์ฝรั่งได้ฝรั่งพันธุ์ใหม่ขึ้นมาอีกหลายสายพันธุ์ อาทิ สามสีกรอบ, แดงสยาม, ทับทิมสยาม ฯลฯ

“บางกอกแอ๊ปเปิ้ล” ฝรั่งไม่มีเมล็ดผลงานที่น่าภูมิใจ “ฝรั่ง” จัดเป็นผลไม้ที่คนไทยนิยมบริโภคกันทั่วไปและมีคุณค่าทางอาหารสูง นอกจากนั้นยังจัดเป็นผลไม้ที่ปลูกง่ายและให้ผลผลิตได้ทั้งปี ในอดีตพันธุ์ฝรั่งที่เกษตรกรนิยมปลูกและคนไทยรู้จักดีก็คือ พันธุ์แป้นสีทอง เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดก, ผลใหญ่และมีรสชาติดีหรือแม้แต่ฝรั่งที่นิยมปลูกในอดีต อาทิ พันธุ์กลมสาลี่, พันธุ์เย็น 2 ฯลฯ ล้วนแต่เป็นพันธุ์ฝรั่งที่มีการกลายพันธุ์มาจากการเพาะเมล็ด ซึ่งมีความแตกต่างจากฝรั่งพันธุ์

“บางกอกแอ๊ปเปิ้ล” เกิดจากการผสมพันธุ์ด้วยฝีมือมนุษย์และจัดเป็นฝรั่งไม่มีเมล็ดสายพันธุ์แรกของไทย โดยคุณดำรงศักดิ์ วิรยศิริ เป็นผู้ผสมพันธุ์เป็นผลสำเร็จเป็นครั้งแรกเมื่อปี2525 และได้รับรางวัลจากสภาวิจัยแห่งชาติ เป็นที่ยอมรับกันว่าฝรั่งไม่มีเมล็ดพันธุ์นี้เป็นฝรั่งที่มีรสชาติอร่อยที่สุด แต่มีจุดอ่อนตรงที่ติดผลยากทำให้มีเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกกันน้อย

“สามสีกรอบ” ฝรั่งลูกผสมฝีมือคนไทย คุณดำรงศักดิ์ วิรยศิริ เป็นเกษตรกรที่คลุกคลีกับการพัฒนาพันธุ์ฝรั่งมานานกว่า 25 ปี และเป็นเจ้าของฝรั่งไร้เมล็ดบางกอกแอ๊ปเปิ้ลที่ประสบความสำเร็จในการผสมพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 ตั้งแต่นั้นมาคุณดำรงศักดิ์ได้ทุ่มเทในการพัฒนาสายพันธุ์ฝรั่งโดยมีจุดประสงค์ที่จะพัฒนาสายพันธุ์ฝรั่งเพื่อการบริโภคสดให้เนื้อมีสีแดงแทรกอยู่ในผลและมีรสชาติหวานกรอบ, ให้ผลผลิตดก ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้วฝรั่งที่มีเนื้อสีแดงเกือบทั้งหมดจะมีลักษณะของเนื้อนิ่มและส่วนใหญ่จะใช้ในการแปรรูปอุตสาหกรรมเกษตรเป็นหลัก

สิ่งที่น่ายกย่องสำหรับคุณดำรงศักดิ์ คือ ได้มีความพยายามในการพัฒนาสายพันธุ์ฝรั่งที่มีเนื้อสีแดง, ผลเล็กและเนื้อนิ่ม ใช้เวลานานนับ 10 ปี จนได้ฝรั่งสายพันธุ์ใหม่ที่มีเนื้อแดง, ผลใหญ่และเนื้อกรอบและได้ตั้งชื่อว่า “สามสีกรอบ” จัดเป็นฝรั่งลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ของโลกที่เกิดจากการผสมพันธุ์ด้วยฝีมือคนไทยไม่ได้เกิดจากการกลายพันธุ์จากการเพาะเมล็ด, ฝรั่งพันธุ์นี้เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์แดงบางกอกซึ่งมีเนื้อสีแดงและกรอบกับฝรั่งพันธุ์แป้นสีทองซึ่งให้ผลผลิตดกและมีขนาดของผลใหญ่และมีรสชาติดีใช้เวลานานถึง 4 ปี ผสมพันธุ์ได้ฝรั่งสายพันธุ์ใหม่ “สามสีกรอบ”

ช่วงปี 2539 คุณดำรงศักดิ์ได้มาช่วยงานที่ บริษัท จุลไหมไทย จำกัด และได้ใช้ที่ดินของบริษัทในพื้นที่ประมาณ 10 ไร่เศษปลูกไม้ผลเพื่อส่งไปขายที่ร้านและได้เริ่มการผสมพันธุ์ฝรั่งโดยเน้นสายพันธุ์ที่เป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภคโดยมีความตั้งใจว่าฝรั่งลูกผสมพันธุ์ใหม่จะต้องเป็นพันธุ์ฝรั่งเพื่อการบริโภคสดที่มีเนื้อสีแดงอยู่ภายในผลและมีรสชาติหวานกรอบ

คุณดำรงศักดิ์ ได้ใช้เวลานานถึง 4 ปีถึงประสบความสำเร็จโดยเริ่มต้นผสมพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 เป็นต้นมาโดยใช้ฝรั่งแดงพันธุ์แดงบางกอกเป็นพ่อและใช้ฝรั่งพันธุ์แป้นสีทองเป็นแม่และยังได้สลับการผสมพันธุ์ด้วยการใช้พันธุ์แดงบางกอกเป็นแม่และใช้พันธุ์แป้นสีทองเป็นพ่อ, สำหรับประวัติความเป็นมาของฝรั่งพันธุ์แป้นสีทองนั้นหลายคนทราบดีว่าเป็นฝรั่งที่มีลักษณะเด่นมากตรงที่มีขนาดของผลใหญ่มากและให้ผลผลิตดก, บางผลเลี้ยงให้มีน้ำหนักผลมากกว่า 1 กิโลกรัม และมีรสชาติดี ขั้วผลของฝรั่งพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่และหัวบุ๋มกว่าฝรั่งกลมสาลี่

เป็นที่น่าสังเกตว่าเมื่อต้นฝรั่งมีอายุต้นมากขึ้น ลักษณะของผลจะเปลี่ยนรูปร่างจากกลมเป็นกลมแป้นและมีกลีบขึ้นคล้ายฟักทองซึ่งแม่ค้าจะชอบผลฝรั่งที่มีลักษณะนี้มาก เพราะขายได้ราคาดีเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายและมีการขยายพื้นที่ปลูกในเชิงการค้ากันมากในขณะนั้นเพื่อคุณบุญช่วย จรดล เจ้าของฝรั่งพันธุ์แป้นสีทองได้ส่งผลผลิตเข้าประกวดได้รับรางวัลชนะเลิศในงานวันเกษตรแห่งชาติหลายปีที่ผ่านมา

ลักษณะเด่นของฝรั่งลูกผสม “สามสีกรอบ” ทางคณะของชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้มีโอกาสดูสภาพแปลงปลูกจริงของฝรั่งสายพันธุ์นี้ที่มีอายุต้นประมาณ 1 ปี จะต้องยอมรับว่าให้ผลผลิตดกมาก , ดกไม่แพ้พันธุ์แป้นสีทองและพันธุ์กลมสาลี่ , โดยปกติแล้วเกษตรกรที่ปลูกฝรั่ง “สามสีกรอบ” ด้วยกิ่งตอนหรือกิ่งทาบเพียง 3 เดือน จะเริ่มให้ผลผลิตแล้ว ,(การขยายพันธุ์ฝรั่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีการตอนและที่สวนบ้านวังทอง ของคุณดำรงศักดิ์ วิรยศิริ จะใช้วิธีการทาบกิ่ง)

คุณดำรงศักดิ์ได้ให้เหตุผลว่า การตอนกิ่งจะทำได้รวดเร็วก็จริงแต่เมื่อตัดกิ่งมาแล้วจะต้องนำมาชำจนออกรากถึงจะนำไปจำหน่ายได้แต่ถ้าใช้วิธีการทาบกิ่งเมื่อตัดกิ่งทาบลงมาจะนำไปปลูกได้ทันที เมื่อต้นเจริญเติบโตเต็มที่จะติดผลดกมากและเมื่อมีการบำรุงรักษาที่ดีพอประมาณและไม่ปล่อยให้ผลผลิตดกจนเกินไปสามารถเลี้ยงผลให้มีน้ำหนักได้ไม่ต่ำกว่า 1 กิโลกรัมต่อผล, เมื่อดูจากลักษณะภายนอกของฝรั่งพบว่ามีลักษณะคล้ายกับฝรั่งพันธุ์แป้นสีทองและเมื่อผ่าดูลักษณะภายในจะพบว่ามีเนื้อสีชมพูอมแดงแทรกอยู่ภายในผลดึงดูดทำให้น่ารับประทานมากยิ่งขึ้นและที่สำคัญเมื่อได้รับประทานแล้วจะพบว่ามีรสชาติหวานกรอบอร่อยมาก คือหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย

หลายคนบอกว่ามีรสชาติใกล้เคียงฝรั่งไทยโบราณหรือฝรั่งขี้นกที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวแต่เนื้อของพันธุ์จะหนากว่ามาก นอกจากการบริโภคสดแล้ว , ผลผลิตยังสามารถส่งเข้าเพื่ออุตสาหกรรมแปรรูปได้อีก เท่าที่ผู้เขียนเดินสำรวจในแปลงปลูกฝรั่งสายพันธุ์นี้ , ในเรื่องของการให้ผลผลิตจะต้องยอมรับว่ามีความดกไม่แพ้ฝรั่งการค้าสายพันธุ์อื่น ๆ และถ้ามีการบำรุงรักษาที่ดีให้ปุ๋ยถึงและน้ำถึง (แปลงปลูกฝรั่งกรอบสามสีของคุณดำรงศักดิ์ วิรยศิริ จะมีการบำรุงรักษาพอประมาณเท่านั้น) จะเป็นฝรั่งพันธุ์ทางการค้าอีกสายพันธุ์หนึ่งที่น่าส่งเสริมให้มีการขยายพื้นที่ปลูกและเป็นฝรั่งอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภค

การทำสวนฝรั่งให้มีผลผลิตที่มีคุณภาพดีนั้น นอกจากได้สายพันธุ์ที่ดีมาปลูกแล้วจะต้องให้ปุ๋ยถึงและน้ำถึงรวมถึงมีการตัดแต่งกิ่งอย่างสม่ำเสมอด้วย การปลิดผลอ่อนที่ติดดกมากเกินไปทิ้งบ้าง การป้องกันและกำจัดโรคแมลงที่มีประสิทธิภาพจึงจะได้ผลผลิตฝรั่งที่มีคุณภาพดีที่ใครๆ ก็ต้องการ ความสำเร็จในการปลูกฝรั่งไม่ได้อยู่ที่เมื่อปลูกไปแล้วให้ต้นฝรั่งดกอย่างเดียว แต่จะต้องเน้นที่คุณภาพเป็นสิ่งสำคัญด้วย เพราะคุณภาพของผลผลิตจะเป็นหลักประกันเรื่องราคาที่ชาวสวนจะได้รับเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน และอย่าลืมช่วยกันส่งเสริมและรณรงค์ให้คนไทยบริโภคฝรั่งสดกันมาก ๆ ฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีความปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง (จะต้องมีการห่อผล) เป็นผลไม้ที่วิตามินซีสูง ชีวิตจะเป็นสุขและเป็นผลไม้ที่มีราคาไม่แพง

เป้าหมายในอนาคต ฝรั่งลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ที่มีขนาดของผลใหญ่ , เนื้อสีแดง ,เนื้อกรอบและไม่มีเมล็ด ในพื้นที่ทำการเกษตรจำนวน 10 ไร่ ที่คุณดำรงศักดิ์ได้ปลูกต้นไม้หลากหลายชนิดซึ่งจัดประเภทของต้นไม้ที่ปลูกเป็นกลุ่มโดยยึดหลักของการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เฉพาะฝรั่งเพียงชนิดเดียวมีอยู่หลายสายพันธุ์ตั้งแต่ฝรั่งจีนหรือฝรั่งแคระที่มีขนาดของผลเท่าหัวแม่มือและจัดเป็นฝรั่งโบราณที่เกือบสูญพันธุ์ไปแล้วหลายคนนำมาเป็นไม้ประดับเพราะมีลักษณะของใบเป็นจีบสวยงามและเป็นสายพันธุ์ฝรั่งที่มีขนาดของผลเล็กมาก เมื่อผลแก่จะมีสีขาวและรสชาติหวานกรอบอร่อยรับประทานได้ทั้งเมล็ด , คุณดำรงศักดิ์ได้ปลูกอนุรักษ์ไว้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการผสมพันธุ์ในอนาคต

ที่สวนเกษตรศิลป์ของคุณศิลป์ ศัลยพงษ์ จ.อุตรดิตถ์ ได้พันธุ์ฝรั่งจีนมาปลูกไว้เพียง 1 ต้นและหวงมาก เพราะจัดเป็นพันธุ์ไม้ที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ คุณศิลป์คาดว่าในอนาคตจะมีการนำฝรั่งจีบหรือฝรั่งแคระนี้มาส่งเสริมปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะมีใบที่สวยงามและยังจัดเป็นสายพันธุ์ฝรั่งโบราณที่ค่อนข้างทนทานต่อโรคและแมลงไว้หรือแม้แต่ฝรั่งประดับที่มีใบหลายสีและคุณดำรงศักดิ์ได้บอกว่าเป็นสายพันธุ์เดียวในโลกปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับโดยเฉพาะและมีดอกสีแดงสดสวยงามมาก

ในแปลงปลูกยังมีฝรั่งไม่มีเมล็ดบางกอกแอ๊ปเปิ้ลเพื่อใช้เพื่อการผสมพันธุ์ เช่นกัน , เป้าหมายในอนาคตคุณดำรงศักดิ์มีความตั้งใจที่จะผสมพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะขนาดของผลใหญ่ ,เนื้อสีแดง ,เนื้อกรอบและไม่มีเมล็ดเป็นสายพันธุ์เพื่อการบริโภคสดและจะต้องค้นหาวิธีการทำให้ติดผลดก ซึ่งในขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากแล้วจะคาดว่าในอนาคตประเทศไทยจะมีฝรั่งไม่มีเมล็ดลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ที่มีการติดผลดกกว่าพันธุ์บางกอกแอ๊ปเปิ้ลและรสชาติดีกว่า

ฝรั่งลูกผสม “แดงบางกอก” ซึ่งเป็นฝรั่งสายพันธุ์ลูกผสมที่คุณดำรงศักดิ์ วิรยศิริ ได้ทำการผสมพันธุ์เริ่มต้นจาก ซื้อต้นฝรั่งเพาะเมล็ดที่มีความสูงของต้นประมาณ 1 เมตร เมื่อปี 2519ในงานไม้ดอกและไม้ประดับที่จัดขึ้นที่วังสวนผักกาด ถ.ศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ตั้งของสมาคมไม้ดอกไม้ประดับแห่งประเทศไทยในขณะนั้น ซื้อมาในราคาต้นละ 100 บาท ทราบว่าเป็นฝรั่งประดับที่นำมาจากประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อนำมาปลูกและให้ผลผลิตได้ฝรั่งที่มีผลขนาดเล็ก, เนื้อบางและมีจำนวนเมล็ดมาก

คุณดำรงศักดิ์ได้ทำการพัฒนาสายพันธุ์เรื่อยมาจนได้พันธุ์ทับทิมแดงสยามซึ่งเป็นลูกของต้นฝรั่งประดับจากประเทศฟิลิปปินส์ หลังจากนั้นได้นำพันธุ์ทับทิมแดงสยามเป็นต้นแม่มาผสมพันธุ์กับพันธุ์แป้นสีทองเป็นต้นพ่อ ลูกผสมออกมาได้ต้น, ใบ, ดอกและสีของผลจากต้นแม่คือสีแดงทั้งหมด บริเวณหลังใบมีสีแดงน้ำตาล, ส่วนของหน้าใบมีสีเขียวออกดำ ดอกมีสีแดงอมชมพูสวยงามมาก ลำต้นสีแดง ขณะที่ติดผลอ่อนสีของผลมีสีน้ำตาลดำและเมื่อผลแก่สีของผลจะจางลงเป็นสีน้ำตาลแดง ผลแก่มีลักษณะทรงผลคล้ายกับฝรั่งเวียดนาม เนื้อมีสีแดงรสชาติหวานและกรอบมีกลิ่นของฝรั่งขี้นกและจัดเป็นฝรั่งที่ให้ผลดกไม่แพ้สายพันธุ์อื่น

คุณดำรงศักดิ์ ย้ำว่าฝรั่งแดงถือว่าเป็นผมคนเดียวที่ทำ เพราะผมเป็นคนเริ่มต้น ถ้าเป็นฝรั่งสายพันธุ์ใบแดงๆ นั้น ก็มาจากผม ปัจจุบันได้ฝรั่งแดงลูกผสมพันธุ์ใหม่ล่าสุด คือ “ทับทิมสยาม” ซึ่งใช้เวลานานกว่า 30 ปี โดยใช้ฝรั่งแดงบางกอกเป็นแม่และใช้ฝรั่งพันธุ์บางกอกแอ๊ปเปิ้ลเป็นพ่อ ทรงผลออกกลม เนื้อมีสีแดง รสชาติหวานกรอบ อร่อยมาก

“ทับทิมสยามต้นใหม่ล่าสุด” ผลมันใหญ่ขึ้น ผลมีขนาดให้สุดถึง 1 กิโลกรัม เป็นต้นใหม่ล่าสุด ถือเป็นชั่วสุดท้ายคือ ผมใช้ชื่อฝรั่งทับทิมสยามเป็นแม่มาตลอด ซึ่งมันมีหลายเบอร์ เบอร์ก่อนหน้านี้ผลมันยังไม่ใหญ่มาก คือ กลางๆ แต่เบอร์ล่าสุดผลใหญ่สุดถึง 1 กิโลกรัม เนื้อกรอบ แข็ง, หนา รสชาติหวาน เนื้อละเอียด ไม่ฝาดเลย อร่อยมาก

“เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม” คำขวัญประจำจังหวัดเลย ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีหลายคนอยากมาเยี่ยมเยือนสัมผัสความหนาวเย็น และธรรมชาติที่สวยงาม ภูกระดึง เมื่อเอ๋ยชื่อต่างรู้จักทั้งชาวไทยและต่างชาติ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของ จังหวัดเลย ด้วยความที่จังหวัดเลยยังคงมีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติอยู่ค่อนข้างมาก ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิดได้ผลดี และพร้อมที่จะกลายเป็นของฝากให้กับผู้มาเยือนได้

พืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดเลย ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา มะม่วง ข้าวเปลือกเหนียวนาปี อ้อยโรงงาน มะขามหวาน มันสำปะหลัง ขิง และกล้วยน้ำว้า จึงทำให้ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดเลย เข้ามาพัฒนาพันธุ์พืช ให้มีความแข็งแรง ปราศจากแมลงศัตรูพืช เพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกร

ข้าวโพดตักหงาย เป็นข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวเมล็ดสีม่วงที่นิยมปลูกกันมากในจังหวัดเลย โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากๆ เช่น อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอนาแห้ว และมีปลูกกันบ้างในอำเภอท่าลี่และอำเภอเมือง

ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกรวมกันมากกว่า 2,000 ไร่ ลักษณะเด่นของข้าวโพดตักหงาย คือ จะมีกลิ่นหอม นุ่มเหนียว และเคี้ยวไม่ติดฟัน จึงเป็นที่นิยมรับประทานของคนในพื้นที่และคนต่างถิ่นที่ได้ไปเยี่ยมเยือนจังหวัดเลย นอกจากนี้ยังมีลักษณะเด่นอีกอย่างคือ จะมีจำนวนฝักตั้งแต่ 2-6 ฝักต่อต้น ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดพันธุ์นี้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น

แม้เกษตรกรจะมีความต้องการปลูกมากขึ้นแต่ก็ทำได้ยาก ทั้งนี้เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคราน้ำค้างมาก บางพื้นที่เกิดการระบาดของโรคราน้ำค้างทำให้ผลผลิตเสียหายถึง 100 เปอร์เซ็นต์ สถานีทดลองพืชไร่เลยซึ่งรับผิดชอบการแก้ไขปัญหาพืชไร่ในท้องถิ่น จึงได้ริเริ่มโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดตักหงายให้สามารถต้านทานต่อโรคราน้ำค้างให้ผลผลิตสูง และยังคงมีรสชาติเหมือนเดิม ซึ่งทำให้เกษตรกรสามารถปลูกได้ในทุกท้องที่และทุกเวลาที่ต้องการปลูก อันจะทำให้มีผลผลิตข้าวโพดตักหงายออกขายตลอดทั้งปี เป็นการเพิ่มรายได้ของเกษตรกร และสนับสนุนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของรัฐบาล

ข้าวโพดตักหงาย มีราก สมัครยูฟ่าเบท เป็นระบบรากแขนง พบอยู่ในความลึกไม่เกิน 75 เซนติเมตร การเจริญเติบโตเป็นไปในทางขนานกับพื้นดิน มีระบบรากอากาศ(เจริญออกมาจากข้อที่อยู่เหนือดิน) ที่ดีมาก ซึ่งรากอากาศนี้จะช่วยพยุงลำต้นไม่ให้ล้ม พบมากในดินที่มีความชื้นสูงหรือแฉะน้ำ ลำต้นตั้งตรงมีข้อและปล้องถี่ ลำต้นมีสีเขียวเป็นส่วนใหญ่ และบางครั้งพบมีลำต้นสีม่วง และไม่ว่าลำต้นจะมีสีอะไรเมล็ดเมื่อแก่จัดจะสีม่วงเข้มทั้งนั้น ใบมีสีเขียวสด ใบเล็กสั้นตั้งชัน 45 องศา

ลักษณะของดอก แบ่งออกเป็น ดอกตัวผู้ สีขาวอมเหลือง ก้านชูดอกสั้นจนดูเหมือนว่าดอกตัวผู้ออกข้างๆใบธง และถ้ามองไปยังแปลงปลูกข้าวโพดตักหงาย จะแทบไม่เห็นดอกตัวผู้เลย ส่วนดอกตัวเมีย ไหมสีขาวอมเหลือง เมื่อผสมเกสรแล้วไหมจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลดำ อายุออกดอก 52-90 วัน ขึ้นกับฤดูปลูก เช่น ช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน จะมีอายุออกดอกประมาณ 52 วัน แต่ถ้าปลูกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ซึ่งมีอากาศเย็น จะมีอายุออกดอกประมาณ 74-90วัน ขึ้นกับปีนั้นๆ จะมีอุณหภูมิต่ำขนาดไหน ฝักมีขนาดเล็ก ความยาวฝักประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีจำนวนฝักต่อต้น 4-5 ฝักและเมื่อเล็กฝักจะมีสีขาว เริ่มเปลี่ยนเป็นสีม่วงหลังออกดอกตัวเมียไปแล้วประมาณ 20 วัน เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้ม