ตั้งแต่ตื่นมาก็เข้าสวนเดินดูต้นไม้ดูกิ่งตอนกิ่งไหนรากเดินดี

หรือทาบติดดีแล้วก็ตัดลงมาชำ มาอบต่อไป จากนั้นก็กินข้าว บางทีก็ลืม ทำงานเพลินจนลืมกินข้าวเช้าก็มีค่ะ ยามบ่ายแดดร้อนก็เข้าบ้าน แพ็กของส่งลูกค้า ยามเย็นค่ำก็สวดมนต์ไหว้พระ ชีวิตที่ไม่ต้องตอกบัตร ทำให้เรารู้สึกว่าไม่มีพันธนาการ หิวก็กิน ง่วงก็นอน แดดร้อนก็เข้าร่ม มีเวลาได้อยู่กับครอบครัวมากขึ้น ได้ทำอาหารกินเอง เก็บผักในสวนมาปรุงอาหาร เล่นกับหมา กับหมูบ้าง เรื่องราวแบบนี้ใครที่ยังเป็นมนุษย์ออฟฟิศจะไม่รู้หรอก ตอนนี้หนูสะกดคำว่า ความสุข ได้แล้วนะคะ

ที่สวนของแพร์ พ่อได้สร้างระบบไว้ดีแล้ว มีการจัดการร่องสวนอย่างสะอาดตา ปลูกไม้อย่างเป็นระเบียบ แยกประเภทต้นไม้แต่ละชนิดไว้เป็นกลุ่มๆ มีน้ำเต็มร่องอยู่เสมอ เพราะติดกับคลองระพีพัฒน์ ปลาที่ปล่อยในร่องก็เจริญเติบโตได้ดี ยามว่างที่แดดโรยสำหรับแพร์ก็เป็นอีกหนึ่งบรรยากาศแห่งความสุข พายเรือในร่องสวน แวะเก็บผักไปทำอาหาร บ้างก็พริก มะเขือ กะเพรา หน่อไม้ มะละกอ ตำลึง ฯลฯ เรียกว่าแค่เดินตามร่องสวนก็มีเมนูอาหารเตรียมไว้รอกันแล้ว

นอกจากบ้านพักและบ้านคนสวนแล้ว ยังมีโรงเพาะชำประจำสวน ที่นี่จะเป็นที่พักไม้รอจำหน่ายให้ลูกค้า และส่วนหนึ่งก็จัดเตรียมเพื่อนำไปลงปลูกในแปลงต่อไป เป้าหมายของที่สวนก็จะเดินหน้าด้วยไม้ผลสามสี่ชนิด เช่น ฝรั่ง ชมพู่ พุทรา น้อยหน่า รอเก็บผลผลิตจำหน่ายต่อไป ส่วนงานขยายพันธุ์ก็ยังเดินหน้าไปไม่ได้หยุด

“ที่สวนเป็นไม้นำเข้าค่ะ พ่อเอามาปลูกให้ติดลูกแล้วชิม หากอร่อยก็ขยายพันธุ์แบ่งขายให้ไปปลูกกัน หากไม่ถูกปากก็แค่ปลูกไว้ให้พอมีในสวน ที่นี่จะเน้นมากๆ คือฝรั่งหงเป่าสือ เนื้อแดง ไส้แดง กลิ่นหอม กรอบ หวานอร่อยมาก ส่วนเจินจูก็เป็นฝรั่งเนื้อขาวไส้ขาวที่มีรสหวานกรอบไม่น้อยหน้า เราชิมจนมั่นใจว่ามีตลาดรองรับแน่นอน จึงลงมือปลูกในแปลงใหญ่อีกแปลงต่อไป”

“ถามเอาความรู้ ฝรั่งนี่ปลูกห่างเท่าไหร่จ๊ะ”

“3 เมตรค่ะ ระยะห่าง 3 เมตรก็เพียงพอ ที่สำคัญ ฝรั่งเป็นไม้ผลที่เอาใจคนปลูก เพราะใช้เวลาไม่นาน แค่ไม่ถึงปีก็ได้ชิมผลผลิตแน่นอนแล้ว ที่สำคัญ ความอร่อย หวาน กรอบนี่แหละ ทำให้สวนเราต้องเดินหน้ากันต่อ”

“เห็นว่าที่สวนตอนนี้คึกคักน่าดู”

“เพื่อนๆ พ่อก็เยอะค่ะ มีซื้อต้นไม้ มาเรียนรู้การขยายพันธุ์ บ้างก็เอาอาหารมานั่งกินด้วยกันจ๊ะ”

“ที่นี่เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ด้วยหรือ”

“ก็ไม่เชิงค่ะ แต่ก็มีมาไม่ขาด ส่วนมากก็จะนัดกันมาก่อน มาเป็นหมู่คณะบ้าง มาเดี่ยวๆ บ้าง”

“รับไหวนะ”

“ได้เลยค่ะ แพร์เองก็เริ่มจากไม่รู้อะไรเลย ต้องมาเรียนรู้ลงมือทำจริงจนพอทำได้ พอขายได้”

“เอางี้ ตอนนี้ที่สวนมีอะไรขายให้ไปปลูกกันบ้าง”

“ฝรั่งก็มีเจินจู หงเป่าสือ แตงโม น้อยหน่ายักษ์ไต้หวัน น้อยหน่าสับปะรด ชมพู่ ทุเรียน อ้อ! หนูจะบอกว่าที่สวนเรามีทุเรียนพันธุ์กบต่างๆ ไว้จำหน่ายนะคะ ที่เป็นข่าวลูกละเป็นหมื่นเราก็มีต้นขายค่ะ” “ก็ถูกแพงตามความยากง่ายของแต่ละสายพันธุ์จ้า มาดูได้ ไม่ซื้อไม่หาไม่ว่าอะไร แค่มาพูดคุยกันก็ถือว่าเป็นพี่น้องกันแล้ว เผื่อวันไหนนึกอยากปลูกไม้ผลที่อร่อย ตรงตามสายพันธุ์จะได้นึกถึงกัน”

“มีอะไรพิเศษไหม”

“มีแน่นอนจ้า สำหรับท่านผู้อ่านเทคโนโลยีชาวบ้าน หากถือหนังสือเล่มนี้มาที่สวนด้วย ท่านจะซื้อต้นไม้ในราคาพิเศษเลยจ้า”

“พิเศษแบบไหนจ๊ะ และขอเบอร์ด้วยนะ”

“ลด แลก แจก แถม ได้เลยจ้า รับรองว่าแม่ค้าใจดีแน่นอนจ้า สนใจติดต่อมาที่เบอร์ (089) 239-6332 หรือ (095) 052-5745 ยินดีต้อนรับทุกท่านเลยจ้า”

“ถามอีกข้อเดียว ตอนนี้เก็บเงินพอจะไปอินเดียได้หรือยัง”

“ยังเลยจ้า รอลูกค้าใจดีมาช่วยอุดหนุนนี่แหละจ้า ขอบคุณนะจ๊ะ” เมื่อครั้งที่ไปเยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตข้าวพันธุ์ดีครบวงจร ตำบลห้วยเตย อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม ที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มชาวนา ภายใต้การนำของ คุณบุญมา พลภักดี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 ตำบลห้วยเตย เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีในท้องถิ่น พวกเขารวมกลุ่มกันเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีและกระจายเมล็ดพันธุ์ดีให้เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน รวมทั้งลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงขึ้น

การเดินทางในครั้งนี้ นอกจากจะทำให้เห็นความสมัครสมานสามัคคีของชาวนาต้นแบบแห่งชุมชนแห่งนี้แล้ว ยังได้เห็นวิถีชีวิตชาวบ้านอีสานที่ขยันทำงานอีกด้วย ผู้ใหญ่บุญมา พลภักดี บอกว่า ที่นี่เป็นชุมชนเกษตรกรที่ขยันในการทำมาหากิน เกษตรกร 1 คน ทำงาน 4 อย่าง คือ ทำนา เป็นพืชหลัก เพื่อใช้เป็นอาหารในครัวเรือน และผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ออกขาย เหลือกินจึงค่อยขายข้าว อาชีพที่สองคือ ปลูกมันสำปะหลัง เพื่อจำหน่าย อาชีพที่สาม ปลูกอ้อยส่งโรงงาน และอาชีพที่สี่ เลี้ยงโค กระบือ เป็นเงินออมในครัวเรือน เรียกว่า เกษตรกร 1 คน ในชุมชนแห่งนี้ ทำ 4 อาชีพ ไปพร้อมกัน

นอกจากนี้ ผู้ใหญ่บุญมา แนะนำให้ผู้เขียนได้เยี่ยมสวนเกษตรผสมผสานของเกษตรกรสูงวัย อายุ 76 ปี ที่มีรายได้จากการขายผลผลิตสินค้าเกษตรต่อสัปดาห์มากกว่า 1,000 กว่าบาท โดยใช้พื้นที่เพาะปลูกไม่มาก อาศัยดูแลจัดการผลผลิตและวางแผนตลาดอย่างเหมาะสม ทำให้มีรายได้เข้ากระเป๋าอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ต้องตามไปดูกันให้เห็นกับตา

ชีวิตพอเพียง ตามวิถีชาวบ้านอีสาน

ป้าละมวล ทองนุช วัย 76 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 63 หมู่ที่ 7 ตำบลห้วยเตย อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม ป้าละมวลใช้ชีวิตพอเพียงตามวิถีชาวบ้านอีสาน ที่นิยมปลูกข้าวเพื่อยังชีพ เลี้ยงสัตว์เป็นอาหาร ทำสวนเป็นรายได้รายวัน ว่างเว้นจากทำนา ทำไร่ เลี้ยงวัว และทอผ้าไหม เพื่อเป็นเงินออมของครอบครัว

ทุกวันนี้ ป้าละมวล ใช้ประโยชน์ที่ดินทำกินอย่างคุ้มค่า ปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ผล บนที่ดิน 2 ไร่ ป้าละมวลดำเนินชีวิตตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 แบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็น 4 ส่วน มีทั้งบ้านที่อยู่อาศัย มีที่นาปลูกข้าวให้เพียงพอกับการบริโภคในครัวเรือน ปลูกพืชผสมผสาน ไม้ยืนต้น สมุนไพร ผัก ผลไม้ สำหรับใช้ประกอบอาหารประจำวัน เหลือจากการบริโภคจึงค่อยจำหน่าย ขุดสระในไร่นา กักเก็บน้ำในฤดูฝนเพื่อให้พอใช้กับการเพาะปลูกตลอดทั้งปี นอกจากนี้ บ่อน้ำยังใช้เลี้ยงปลา ปลูกผักบุ้ง พืชผักริมน้ำได้อีกต่างหาก เลี้ยงวัวก็มีปุ๋ยคอกตามธรรมชาติ เศษใบไม้ใบหญ้าก็สามารถนำมาหมักเป็นปุ๋ยหมักได้อีกด้วย

ปลูกพืชผักที่ตลาดต้องการ

การดำเนินชีวิตในวิถีชาวบ้านอีสาน แทบทุกบ้านต่างมีครัวเป็นของตัวเอง ทำครัวกันทุกบ้านโดยเฉพาะ ส้มตำ ที่เป็นอาหารพื้นถิ่นสำคัญของชาวอีสานที่ขาดไม่ได้ ดังนั้น พืชสำคัญที่แทบทุกบ้านต้องปลูกคือ มะละกอ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของส้มตำ รวมทั้งวัตถุดิบต่างๆ ในเมนูส้มตำ แต่บางครั้งวัตถุดิบที่มีอยู่ในบ้านไม่มี ก็ต้องวิ่งไปขอซื้อจากบ้านป้าละมวล

แม้หลายบ้านปลูกพืชผักผลไม้ แต่ปลูกมีไม่ครบเหมือนบ้านป้าละมวล เวลาทำอาหารหรือวัตถุดิบขาดแคลน ก็ต้องวิ่งไปหาป้าละมวลอีกแล้ว ดังนั้น จึงเป็นโอกาสทางการตลาดของป้าละมวล ในฐานะเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือคลังอาหารของทุกคนในหมู่บ้าน

สินค้าขายดีที่ลูกค้าแวะเวียนมาเคาะประตูขอซื้อตลอดเวลา ได้แก่ มะละกอ พริก มะนาว ขนุนสุก ขนุนอ่อน ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด กล้วยน้ำว้า ฯลฯ นอกจากขายสินค้าให้กับผู้คนในหมู่บ้านแล้ว ป้าละมวลยังเก็บผลผลิตออกไปขายในตลาดนัด สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ดังนั้น โอกาสหาเงินสัปดาห์ละ 1,000 กว่าบาท ของเกษตรกรอายุ 76 ปี จึงเป็นเรื่องง่าย ที่ใครๆ ก็ทำได้

ป้าละมวล ปลูกมะละกอสายพันธุ์พื้นบ้าน ที่ปลูกดูแลง่าย ต้านทานโรค ให้ผลผลิตสูง การปลูกมะละกอให้ได้ผลผลิตดี ต้องเริ่มตั้งแต่การเลือกต้นพันธุ์ดี ปลูกในดินร่วน น้ำไม่ขัง หมั่นตรวจแปลงปลูก หากเจอโรคก็ต้องรีบกำจัดทิ้ง เพื่อให้มีผลผลิตป้อนเข้าสู่ตลาดได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ สวนเกษตรผสมผสานของป้าละมวลยังสะสมสายพันธุ์มะนาวพันธุ์ดีไว้มากมาย เช่น แป้นพิจิตร 1 มะนาวพันธุ์ดีที่เกษตรกรทั่วไปนิยมปลูก

มะนาวแป้นพิจิตร 1 เกิดจากการผสมระหว่าง มะนาวน้ำหอมอุดร กับมะนาวแป้นรำไพ โดยทั่วไปต้นมะนาวแป้นพิจิตร 1 ปลูกง่าย เติบโตเร็ว ติดผลดกไม่ขาดต้น ผลมีขนาดใหญ่ มีน้ำเยอะ รสเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอมตามสายพันธุ์มะนาวน้ำหอมอุดร นอกจากนี้ แป้นพิจิตร 1 เป็นมะนาวพันธุ์ดีที่ต้านทานโรคแคงเกอร์ได้พอสมควร ให้น้ำดี ป้าละมวลปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ ทำให้ง่ายต่อการดูแลจัดการให้ปุ๋ย ให้น้ำ เมื่อต้นมะนาวเติบโตแข็งแรง ย่อมมีผลผลิตให้เก็บขายได้ตลอดทั้งปี เรียกว่า ลูกค้ามาเคาะประตูบ้านเพื่อขอซื้อมะนาวเมื่อไร ป้าละมวลก็มีสินค้าขายได้ตลอด

ระหว่างเดินชมสวน เดินเฉียดมะนาวต้นใหญ่อายุหลายปี ก็ได้กลิ่นหอมโชยเข้าจมูกทันที ถามป้าละมวลว่า มะนาวพันธุ์อะไร ก็ได้รับคำตอบว่า เป็น “มะนาวน้ำหอมอุดร” มะนาวต้นนี้ เป็นพ่อของมะนาวแป้นพิจิตร 1 นั่นเอง สำหรับมะนาวน้ำหอมอุดรต้นนี้ ป้าละมวลปลูกลงดิน แม้ไม่สามารถควบคุมการออกดอกออกผลได้ แต่โดยธรรมชาติของมะนาว สามารถหาปุ๋ยในดินเองตลอดเวลา และต้นมะนาวที่ปลูกลงดินจะมีลักษณะลำต้นใหญ่ มีกิ่งก้านเยอะ แต่จะให้ผลน้อยกว่าปลูกลงกระถาง ประมาณ 30-40% ป้าละมวลปลิดผลมะนาวน้ำหอมอุดรจากต้นให้ผู้เขียนลองสัมผัสมะนาวน้ำหอมอุดรมีผลขนาดใหญ่ น้ำเยอะพอสมควร แต่ที่โดนใจสุดๆ ก็คือ กลิ่นหอมที่แตะจมูกให้ความรู้สึกสดชื่นมาก เรียกว่า อยากได้พันธุ์มะนาวน้ำหอมอุดรมาปลูกที่ กทม. สักต้นทีเดียว

สวนเกษตรผสมผสานแห่งนี้ ปลูกดูแลในลักษณะเกษตรอินทรีย์ แม้กระทั่งปุ๋ยเคมีก็ไม่ได้ใช้ เพราะป้าละมวลเลี้ยงวัวอยู่แล้ว จึงใช้ปุ๋ยคอกที่มีอยู่มาบำรุงต้นไม้ที่ปลูกดูแลในสวนแห่งนี้ ช่วยประหยัดเงินค่าปุ๋ยได้อีก ขณะเดียวกัน ป้าละมวลลงทุนขุดสระน้ำในสวน ทำให้มีน้ำใช้ดูแลพืชผักไม้ผลไม้ยืนต้นต่างๆ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตออกขายได้ตลอดทั้งปี

ป้าละมวล จัดสรรเวลาว่างที่มีอยู่ในแต่ละวันอย่างคุ้มค่า ตอนเช้าไปดูแปลงนา ดูแลสวนเกษตรผสมผสานแห่งนี้ ยามสายไปตัดหญ้าเลี้ยงวัว ยามบ่ายใช้เวลาทอผ้าไหม ป้าละมวลขยันทำงานไม่ได้หยุด ทำงานแบบนี้ทุกวัน ส่งผลให้เกษตรกรสตรีเหล็กวัย 76 ปี รายนี้ มีร่างกายแข็งแรง สุขภาพดีเต็มร้อย ไม่มีโรคประจำตัวแม้แต่นิดเดียว เรียกว่า เป็นเกษตรกรสูงวัยตัวอย่างประจำหมู่บ้านแห่งนี้ทีเดียว

ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของกรมป่าไม้ เขตป่าสงวนแห่งชาติ-ลำน้ำน่าน มีอยู่หลายพื้นที่ หลายหมู่บ้าน เช่น หมู่บ้านนาตอง หมู่บ้านน้ำกลาย บ้านน้ำพร้า อยู่ในเขตตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเขตเชื่อมติดต่อกันที่หมู่บ้านน้ำพร้า อำเภอท่าปลา อยู่ติดกับเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้คนในสมัยก่อน ใครอยากได้พื้นที่เพื่อทำการเกษตรไม่ต้องมีการซื้อหากันด้วยเงินหมื่นเงินแสนเหมือนในยุคปัจจุบัน คนรุ่นก่อนเขาจะเข้าป่าถือมีด เสียม เข้าไปจับจองกันได้เลย ใครอยากได้เท่าไร ก็หักร้างถางป่าเอาได้เลย อันดับแรกเขาจะถางป่าปลูกข้าวไร่ก่อน ต่อจากนั้นก็จะลงพืชอย่างอื่น เช่น กาแฟ ใบเมี่ยง (ใบชาหมัก) หรือมะม่วงหิมพานต์ อันเป็นพืชยืนต้น เขาจะพากันจับจองพื้นที่ติดลำห้วยและเชิงเขา มาตั้งแต่สมัย ปู่ ย่า ตา ยาย ดังนั้น หมู่บ้านนาตอง บ้านน้ำกลาย จะเป็นหมู่บ้านริมห้วยขนาดใหญ่ปลูกอยู่เป็นหย่อมๆ ตามเชิงเขา จะมีรายได้จากการขายหน่อไม้ กาแฟ เสาวรส ใบชาเมี่ยง แต่ละครอบครัวจะจับจองที่ดินครอบครัวละ 5-10 ไร่ หรือ 20 ไร่ แต่ที่ดินเหล่านี้จะไม่มีเอกสารใดๆ รองรับ บ้านเมืองสมัยก่อน กรมป่าไม้เขาไม่ได้เข้มงวดอะไร เพราะเกษตรกรเหล่านี้เขาไม่ได้ตัดไม้ทำลายป่า ไม่มีการบุกรุก

แต่ต่อมาระยะหลังที่ดินเหล่านี้เป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยวต่างถิ่น เมื่อมีการไปเที่ยวเยี่ยมเยือนไร่กาแฟ เห็นแล้วชอบใจ เพราะมีอากาศดี อากาศเย็น ก็อยากได้ไว้พักผ่อน ได้มีการไปขอซื้อที่ดินจากชาวไร่เกษตรกร แต่ไม่ค่อยมีใครอยากขาย เพราะต่อมาทางการออกกฎหมายว่าห้ามซื้อ-ห้ามขายที่ดินที่ไม่ใช่โฉนด หรือ น.ส.3 อย่างเด็ดขาด จะมีความผิดตามกฎหมาย เพราะทางราชการไม่ต้องการให้ใครบุกรุกต่อ เพราะบริเวณป่าในเขตหมู่บ้านเหล่านี้ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารอันสำคัญยิ่ง ระยะหลังเริ่มมีการลักลอบตัดไม้ในป่าสงวนฯ เหล่านี้ ทางการจึงต้องจัดให้มีหน่วยพิทักษ์ป่าเข้าไปดูแลไม่ให้ใครตัดไม้ทำลายป่าอีกต่อไป เพราะสิบปีก่อนหน้านี้เคยมีน้ำป่าถล่มหมู่บ้านเหล่านี้หลายครั้ง เพราะป่าไม้ถูกทำลาย ทำให้ไม่สามารถเก็บน้ำฝนไว้ได้ เพราะดินบนภูเขาไม่มีต้นไม้ห่อหุ้ม

ส่วนชาวบ้านที่ทำกินอยู่ก่อนแล้วก็ได้อนุโลมให้ทำกินต่อไป ทางราชการไม่อาจจะขับไล่เขาให้ออกไปไหนได้ เพราะไม่มีที่ดินจะทำกิน ในจำนวนเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในเขตหมู่บ้านนาตอง มีเกษตรกรรายหนึ่งเขามีอาชีพปลูกไผ่และทำสวนมะม่วงหิมพานต์ มีรายได้ต่อปีหลายแสนบาท เกษตรกรรายนี้คือครอบครัวของ คุณสุวิทย์ และ คุณสร้อยแสง เมืองธรรม คุณสุวิทย์ ยังปลูกไผ่หวาน จำนวน 10 ไร่ ทำมะม่วงหิมพานต์ จำนวน 20 ไร่ มีรายได้ส่งลูกเรียนหนังสือจนจบมหาวิทยาลัย 2 คน หมู่บ้านนาตอง และหมู่บ้านน้ำกลาย ตั้งอยู่ในเขตตำบลช่อแฮ จังหวัดแพร่ แต่เป็นหมู่บ้านตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนฯ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดแพร่เข้าไปประมาณ 40 กิโลเมตร

ในสวนไผ่ของคุณสุวิทย์และคุณสร้อยแสง ประกอบด้วย ไผ่หวานช่อแฮ จำนวน 4 ไร่ ไผ่ซางหม่น 3 ไร่ ไผ่หวานช่อแฮ จะทำหน่อนอกฤดูส่งให้แม่ค้าคนกลาง ตั้งแต่เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์-มีนาคม (3 เดือน) นี้ แม่ค้าให้จะราคานอกฤดู กิโลกรัมละ 40 บาท ราคาในสวน แต่ไปถึงตลาด ตกเข้าไป 60 บาท หน่อไผ่หวานของคุณสุวิทย์ จะตัดหน่อส่งแม่ค้า จำนวน 4 ไร่ (800 กอ) จะได้ครั้งละ 800 กิโลกรัม คูณ 40 บาท = 30,000 กว่าบาท ต่อสัปดาห์ คือ ได้สัปดาห์ละ 30,000 ในเดือนมกราคม แต่พอเดือนมีนาคม ราคาจะลดลงมาเหลือ 30 บาท ต่อกิโลกรัม เพราะเดือนมีนาคมพ้นจากฤดูหนาว หน่อไม้จะออกหน่อเยอะกว่าเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งมีอากาศเย็น ถ้าอากาศเย็นหน่อจะออกน้อย การจะทำให้หน่อไผ่หวานช่อแฮออกหน่อดกนั้น ต้องให้น้ำ ให้ปุ๋ย ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ (มูลวัว ไก่ หมู) และปุ๋ยเคมีควบคู่กันไป

สวนไผ่หวานต้องมีน้ำอุดมสมบูรณ์จึงจะทำหน่อนอกฤดูได้ สวนของคุณสร้อยแสง อยู่ติดลำห้วย ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำแม่สายโดยตรง เรื่องน้ำไม่ต้องห่วง สวนไผ่คุณสร้อยแสงจะได้เปรียบกว่าสวนอื่น หน่อไผ่หวานฤดูแล้งเป็นที่ต้องการของแม่ค้าคนกลาง เพราะตลาดภาคเหนือต้องการมาก แม่ค้าคนกลาง ชื่อ ป้าละเอียด ค้าขายหน่อไม้ฤดูแล้งมานานแล้ว เจ้าของสวนจะตัดหน่อไม้แต่เช้าตรู่ 7 โมงเช้า ถ้าพื้นที่ 10 ไร่ ต้องจ้างคนช่วย ประมาณ 4 คน เพราะต้องทำงานแข่งกับเวลา ก่อนเที่ยงวันหน่อไม้ 800 กิโลกรัม ต้องเสร็จเรียบร้อย ล้างให้สะอาด บรรจุในถุงพร้อมส่งแม่ค้าคนกลางมารับถึงในสวน ระยะเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ แม่ค้าคนกลางจะแย่งกันซื้อจากสวน เพราะขายได้ราคาดีในฤดูแล้ง ป้าละเอียด มีรถขนส่ง 3 คัน ส่งไปจังหวัดเชียงใหม่-พิษณุโลก-เชียงราย ในระยะทาง 200 กิโลเมตร รถปิกอัพต่อโครงเหล็กแล้วใส่ได้ 3,000 กิโลกรัม หรือ 2,000 กิโลกรัม

ป้าละเอียด เป็นแม่ค้าคนกลาง จะต้องจับจองเจ้าของสวนหลายเจ้า พอถึงเวลาก็เอารถไปรับหน่อสดถึงสวน แล้วส่งไปยังตลาดสดต่างๆ ในภาคเหนือ หน่อไม้ไผ่หวานในฤดูแล้งมีรสชาติหอมหวานกว่าในฤดูฝน คนเหนือ อีสาน จะนิยมแกงหน่อไม้ฤดูแล้ง ดังนั้น จึงขายดี มีเท่าไรไม่พอขาย แกงหน่อไม้สดในฤดูแล้ง สิ่งที่จะขาดไม่ได้คือ ใบย่านาง ซึ่งเป็นผักสมุนไพร มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก หน่อไม้ก็มีแคลเซียมด้วย คนสูงอายุหรือคนอายุยืนเป็นร้อย จึงเป็นอาหารจานโปรด

ดังนั้น ในระยะเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์-มีนาคม 3 เดือนนี้ จึงสร้างเงินให้สวนไผ่หวานของคุณสร้อยแสงหลายแสนบาทต่อปี พอเข้าฤดูฝน เขาก็ไว้ลำไผ่ให้เป็นกอต่อไป ระยะฤดูฝนเขาจะไม่ค่อยตัดหน่อขาย

“ ลุงประกฤติ เกิดมณี ” หนึ่งในตัวอย่างเกษตรกรเครือข่ายสามพรานโมเดลที่ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรระบบอินทรีย์ และใช้ “ ตลาดสุขใจ ” เป็นช่องทางกระจายสินค้าเกษตรอินทรีย์คุณภาพดีสู่มือผู้บริโภค

ระยะหลัง กระแสรักสุขภาพของผู้คนในสังคมเมืองเติบโตอย่างต่อเนื่องทำให้ คุณอรุษ นวราช เจ้าของโครงการ “ สามพรานโมเดล” หันมาโปรโมทส่งเสริมการท่องเที่ยวแหล่งผลิตพืชผักผลไม้อินทรีย์ในพื้นที่อำเภอสามพราน ซึ่งสวนผลไม้อินทรีย์ ของ ลุงประกฤติ เป็นหนึ่งในจุดเรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์ที่ผู้มาเยือนมีโอกาสสัมผัสบรรยากาศการล่องเรือโฟมไปตามร่องสวนเพื่อเรียนรู้วิธี การดูแล การเก็บเกี่ยวผลผลิต พร้อมเลือกซื้อผลไม้อินทรีย์กลับบ้านกันอย่างสนุกสนาน

ลุงประกฤติ เกิดในครอบครัวชาวสวนย่านคลองจินดา วิธีสมัคร UFABET เรียนรู้การปลูกผัก ผลไม้โดยใช้สารเคมีตามรอยพ่อแม่ตั้งแต่อายุ 12 ขวบ จวบจนอายุ 30 กว่า ก็พบว่าร่างกายเจ็บป่วยอ่อนเพลียโดยไม่มีสาเหตุ หมอเจาะเลือดไปตรวจก็พบว่า มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดสูงมาก หากไม่หยุดการใช้สารเคมี สุขภาพจะยิ่งย่ำแย่ลงไปเรื่อยๆ และอาจถึงตายได้ ลุงประกฤติเริ่มปรับการผลิตผลไม้เข้าสู่มาตรฐาน เกษตรปลอดภัย ( GAP)เมื่อปี 2549 หลังจากนั้นจึงค่อยยุติการใช้สารเคมีทั้งหมดก่อนปรับตัวเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์อย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน

ทุกวันนี้ ลุงประกิตและภรรยา มีความสุขมากเพราะ ลูกชายคนเล็กวัย 38 ปี ชื่อ “ เก่ง – บัณฑิต เกิดมณี ” ยอมทิ้งตำแหน่งผู้จัดการบริษัทที่มีค่าตอบแทนหลักแสนบาทต่อเดือน มาช่วยพ่อแม่ทำสวนผลไม้อินทรีย์อย่างเต็มตัว เก่ง เรียนจบด้านวิศวกรไฟฟ้า เคยทำงานบริษัทเอกชนหลายแห่ง ในตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า ก่อนจะรับตำแหน่งผู้จัดการหลายบริษัทเช่น ซีพีออลล์ บริษัทมาลีสามพราน ฯลฯ ที่มีรายได้หลักแสนต่อเดือน

เก่งยินยอมลาออกจากงานที่กำลังเติบโตก้าวหน้า เพราะต้องการทำงานใกล้ชิดพ่อแม่ ได้อยู่กับธรรมชาติ และได้ใช้ชีวิตอย่างอิสระ ไม่ต้องรับคำสั่งเป็นลูกน้องใคร เป็นแค่เจ้านายตัวเอง เขาไม่ห่วงกังวลเรื่องตัวเลขรายได้ เพราะช่วงฤดูผลไม้อินทรีย์ออกเยอะ ก็มีรายได้เข้ากระเป๋าหลายแสนบาท มากกว่าเงินเดือนที่เคยได้รับเสียอีก

ชมพู่ทับทิมจันทร์ ….แหล่งรายได้หลัก

พื้นที่ทำกินเนื้อที่ 7 ไร่แห่งนี้ ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า ปลูกผลไม้อินทรีย์ผสมผสานหลายชนิดในแปลงเดียวกัน เช่น ชมพู่ทับทิมจันทร์ มะเฟืองบี 17 ฝรั่ง มะม่วง กระท้อน มะพร้าวน้ำหอม ฯลฯ โดยแหล่งรายได้ของสวนแห่งนี้ มาจากผลไม้สำคัญคือ “ ชมพู่ทับทิมจันทร์ ” ปลูกในลักษณะแปลงยกร่อง ปลูกต้นชมพู่ ในระยะห่างประมาณ 3 วา และ ปลูกต้นฝรั่งอินทรีย์บริเวณขอบแปลงยกร่อง โดยโน้มต้นฝรั่งให้ออกมาแนวร่องน้ำ เพื่อไม่ให้ลำต้นเบียดบังแสงของต้นชมพู่ทับทิมจันทร์

ชมพู่ทับทิมจันทร์ ปลูกจำนวน 200 ต้น ขณะนี้ ต้นที่เติบโตสมบูรณ์ให้ผลผลิตแล้วจำนวน 160 ต้น โดยทั่วไป ต้นชมพู่ทับทิมจันทร์หลังปลูกประมาณ 18-24 เดือนก็จะเริ่มเก็บผลผลิตออกขายได้เฉลี่ยปีละ 1 ครั้ง จะทะยอยเก็บผลผลิตเข้าสู่ตลาดประมาณ 5 เดือน เริ่มแตั้งแต่เดือน ธันวาคม – พฤษภาคม หลังห่อผล รอไปอีก 20 วันก็เก็บผลผลิตออกขายได้ทุกสัปดาห์ เมื่อปีที่แล้วมีรายได้สัปดาห์ละ 1-2 หมื่นบาท หรือเดือนละ 200,000 กว่าบาท หักค่าใช้จ่ายแล้วยังเหลือผลกำไรก้อนโต เพราะค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นต้นทุนค่าแรงงานภายในครอบครัว