ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ดร. อุทัย ท่านนำเข้ามาทั้งหมด ประมาณ 33 ต้น

ทางแล็บต่างประเทศให้มาปลูกฟรี เพื่อมาทดลองปลูกในที่ของบางกอกฟลาวเออร์ แต่ว่าในช่วงนั้นอินทผลัมกินผลสดในเมืองไทยยังไม่พัฒนา และไม่มีใครสนใจ ก็เลยขาดหายไป แต่พอผมลองปรึกษาท่านอาจารย์ ดร. อุทัย ท่านบอกว่า ให้ลองถามที่อาจารย์เคยได้มา ก็เลยลองติดต่อไปตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557 และมาได้ต้น 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นล็อตแรก บางส่วนเลี้ยงใส่ถุงไว้ 10 เดือน แล้วก็นำมาปลูกลงในแปลงที่ 3 เดือนกันยายน พ.ศ. 2559 ส่วนในแปลงแรกก็เป็นของล็อตแรกเหมือนกัน ได้นำมาปลูกแซมกับต้นเพาะเมล็ด ต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อใช้เวลาในการปลูก 16 เดือน ตั้งแต่ลงดินจนถึงออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2561 เริ่มเก็บผลช่วงกรกฎาคม-สิงหาคมปีนี้

ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด คุณสุเทพ รอดูผลผลิต หากเป็นตัวผู้ หรือตัวเมีย แต่ลักษณะไม่เด่นได้ตัดทิ้งไป ขณะเดียวกันก็ปลูกต้นตัวเมียที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไว้เป็นจำนวนมาก หลายแปลงด้วยกัน

เป็นผู้ปลูกรายใหญ่มีคำแนะนำในการดูแลรักษาปัจจุบัน ถือว่า คุณสุเทพ เป็นผู้ปลูกอินทผลัมกินผลสดรายใหญ่ ส่วนใหญ่ต้นขยายพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ นอกจากนี้ ยังมีต้นที่เพาะเมล็ด โดยที่ต้นไหนมีลักษณะที่ดีเขาจะเก็บไว้ บางต้นโดดเด่นมากๆ อร่อยกว่าพันธุ์บาร์ฮีเสียอีก

คุณสุเทพ แนะนำระยะในการปลูกที่เหมาะสม โดยใช้ระยะห่าง 8×7 เมตร ระหว่างต้น 7 เมตร ระหว่างแถว 8 เมตร เจ้าของบอกว่า การให้น้ำใช้สปริงเกลอร์โดยการเอาสายยางวนรอบต้นไม้ ห่างประมาณ 1.5 เมตร หัวที่ใช้จะเป็นหัวแบนราคาถูก ไม่เกิน 2 บาท 1 วง ใช้ 6 หัว จะเปิด 15-18 นาที แต่ถ้าวันไหนฝนตก ทางสวนก็จะไม่ให้น้ำ

คุณสุเทพ มีแปลงปลูกอินทผลัมอยู่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี บางส่วนอยู่จังหวัดนครปฐม พื้นที่เกษตรของคุณสุเทพมีอยู่หลายร้อยไร่ นอกจากปลูกอินทผลัมกินผลแล้ว ยังปลูกพืชชนิดอื่นอีก ใช้ปุ๋ยพิเศษอยู่ได้นาน

เนื่องจากเป็นเจ้าของกิจการธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยการผลิต คุณสุเทพมีปุ๋ยเด็ดให้กับอินทผลัม

ปุ๋ยที่ว่าคือ ไบโอฟีช 49 เป็นสูตรที่ใช้สำหรับการเจริญเติบโตของต้นไม้ทั่วไป ให้ใส่หลุมละ 20 กิโลกรัม จะอยู่ได้นาน 15 ปี ที่ให้อยู่ได้ 15 ปี เพราะว่าดินที่ใช้เป็นดินเหนียวด้วย พอผสมปุ๋ยลงไปดินก็จะมีความร่วนและซุยขึ้น ราคาก็จะอยู่ที่ ตันละ 16,000 บาท สามารถหาซื้อได้ตามตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ เป็นผลิตภัณฑ์ของเคโมคราฟ ปุ๋ยระหว่างปีหลังจากให้ผลแล้วก็จะใช้ปุ๋ยไบโอฟีช 49 เป็นแบบปั้นเม็ด ทุกเม็ดมีคุณภาพเท่ากัน จะใส่ประมาณ 10 กิโลกรัม หลังเก็บเกี่ยวผลแล้ว

เจ้าของแนะนำว่า ควรใส่ปุ๋ยให้ห่างจากต้น ประมาณ 60 เซนติเมตร ศัตรูของอินทผลัม

คุณสุเทพ บอกว่า เจอปัญหาด้วงกัดยอด กัดใบอ่อนอินทผลัมเยอะมาก เนื่องจากว่าแถวตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ เป็นพื้นที่ปลูกต้นมะพร้าวเป็นส่วนใหญ่ มีทั้งข้างถนน ตามคันนา เลยทำให้มีด้วงเยอะ คาดว่าตำบลบ้านใหม่มีต้นมะพร้าวที่ตายแล้วไม่ต่ำกว่า 2,000 ต้น

มีการป้องกันโดยการใช้ สารเอสเว้น ใช้อัตรา 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดเป็นแนวตั้งฉากกับพื้น ในระยะห่างจากยอดมาหาพื้นดินแค่ 80 เซนติเมตร เพื่อไม่ต้องการให้ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมมากเกินไป ผลผลิตเป็นอย่างไรบ้าง

ผลผลิตของคุณสุเทพ ต้นหนึ่งได้ไม่ต่ำกว่า 30 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี เป็นพันธุ์บาร์ฮี อายุยังไม่มากนัก

“เคยได้ลองวัดความหวานของผลอินทผลัม ได้ความหวาน 45-50 บริกซ์ ผลผลิตนำไปจำหน่ายที่เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต ขายอยู่ที่ 300 กรัม ราคา 98 บาท 450 กรัม ราคา 298 บาท ถ้า 900 กรัม ราคา 498 บาท เฉลี่ยแล้วกิโลละ 550 บาท ผมมองว่าเป็นโอกาสของคนไทยทั้งประเทศ สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ที่มีการจัดการดี ให้น้ำดี ดินกร่อย ดินเค็มก็ยังปลูกได้ ไม่เหมือนทุเรียน ต้องดินจืดจริง น้ำก็ต้องจืดจริง ถึงจะปลูกได้” คุณสุเทพ บอก

คุณสุเทพ จำหน่ายต้นพันธุ์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ อินทผลัมกินผลสด ได้จากการนำเข้า แต่คิวยาวถึงต้นปี 2562

ขณะปิดต้นฉบับนี้ ผลผลิตอินทผลัมของคุณสุเทพหมดแล้ว ต้องรอปีหน้า รับรองออกมาให้ชิมกันจุใจแน่

หากใครสนใจ สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทร. กล้วยน้ำว้าในประเทศไทย พบว่ามีอยู่ประมาณ 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้ขาว, กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้เหลือง และกลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้แดง โดยกล้วยน้ำว้าในแต่ละกลุ่มก็มีลักษณะการใช้งานที่เหมาะสมที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ เช่น กล้วยน้ำว้าไส้ขาว ที่รู้จักกันดีคือ “กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง” เป็นกล้วยน้ำว้าไส้ขาว เมื่อนำไปทำ “กล้วยตาก” จะได้กล้วยตากที่สีเหลืองสวย ไม่ดำคล้ำ หรือ เอาไปทำกล้วยแผ่นอบ ก็จะมีสีเหลืองสวยพอดี ไม่เหลืองมาก เหมือนกลุ่มกล้วยน้ำว้าเหลือง

ส่วนกล้วยน้ำว้ากลุ่มไส้เหลือง เหมาะสำหรับการกินผลสด ทำกล้วยเชื่อม กล้วยทอด กล้วยบวชชี เป็นกล้วยที่เหมาะสำหรับการแปรรูป ทำขนม ใช้งานได้หลากหลายที่สุด สุดท้ายคือ กล้วยน้ำว้ากลุ่มไส้แดง เป็นกล้วยที่ติดผลค่อนข้างดก ไส้กลางค่อนข้างแข็ง มีความฝาด จะเหมาะนำไปทำกล้วยเชื่อม หรือทำไส้ข้าวต้มมัด เพราะไส้กล้วยมีความแข็งไม่เละ กล้วยน้ำว้ากลุ่มไส้แดงนั้น ไม่เหมาะที่จะนำไปทำกล้วยตาก เพราะกล้วยตากที่มีสีคล้ำดำ สีไม่สวย ดูเหมือนกล้วยตากเก่า

ในกรณีดังกล่าวก็เคยเกิดขึ้นกับผู้ปลูกหลายรายที่ส่งกล้วยน้ำว้าไส้แดงขายกับผู้ผลิตกล้วยตาก พบว่ากล้วยตากที่ได้มีสีคล้ำดำ หรือ ถ้าเอาไปทำกล้วยบวชชีก็ไม่สู้อร่อยนัก เพราะมีรสฝาด ในการเลือกปลูกกล้วยน้ำว้านั้นหลายท่านก็ต้องพิจารณาตลาดที่จะรับซื้อเป็นอย่างไร ขายให้กับใคร แล้วเขาเอาไปทำอะไร

กล้วยน้ำว้านวลจันทร์ กล้วยดีที่เริ่มมีการขยายพื้นที่ปลูกกันมากขึ้น ที่แผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้หน่อกล้วยน้ำว้านวลจันทร์บางคนเรียกกล้วยน้ำว้าเงิน หรือ กล้วยน้ำว้าหนัง เริ่มแรกนำมาปลูกแซมเพื่อเป็นร่มเงาให้ไม้ประธาน เมื่อออกเครือปรากฏว่า ลักษณะของผลขนาดใหญ่ ใกล้เคียงกับกล้วยน้ำว้าชนิดอื่น ผลป้อม ทรงกระบอก ปลายค่อนข้างแหลม ผลดิบมีสีเขียวขาวนวล ผิวผลมีสีขาวกว่ากล้วยน้ำว้าพันธุ์อื่น ผลเมื่อสุกมีสีเหลืองนวล เนื้อผลสีขาวอมชมพู รสชาติหวานจัด เนื้อแน่น มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ปัจจุบันทางแผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ได้นำกล้วยน้ำว้านวลจันทร์มาแปรรูปเป็นกล้วยอบลมร้อน มีรสชาติอร่อยมากและกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และรสชาติอร่อยมาก

การปลูกกล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้านั้นสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ต้องมีน้ำให้ไม่ขาดแคลน แต่ในบางพื้นที่ที่แหล่งน้ำไม่สมบูรณ์ ก็จะเลือกที่จะปลูกกล้วยในช่วงต้นฤดูฝน ราวปลายเดือนเมษายน-พฤษภาคม เพื่อลดภาระในการให้น้ำ และที่สำคัญต้นกล้วยจะตั้งตัวได้เร็ว โดยหลังจากปลูกได้เพียง 1 เดือน ต้นกล้วยก็จะมียอดใหม่โผล่เหนือพื้นดิน

ส่วนขยายพันธุ์ของกล้วยสามารถใช้ได้หลายแบบ เช่น “หน่อกล้วย” ที่ใช้ได้ทั้งหน่ออ่อน คือ เป็นหน่อขนาดเล็ก เพิ่งแทงออกมาจากต้นแม่ ยังไม่มีใบให้เห็น หน่อใบแคบเป็นหน่อที่พอจะมีใบบ้าง แต่ใบจะมีลักษณะเรียวเล็ก ชาวสวนมักเรียกหน่อชนิดดังกล่าวว่า “หน่อดาบ” หน่อใบกว้าง เป็นหน่อที่มีใบโตกว้าง คล้ายกับใบจริง ส่วนของ “เหง้า” เป็นเหง้าหน่อกล้วยที่ต้นโตแล้ว แต่ยังไม่ตกผล เมื่อปลูกเราจะตัดยอดหรือลำต้นออก ส่วนของ “ตา” เหง้าหรือหน่อที่ตกผลแล้วหรือยังไม่ตกผล ถ้ามีขนาดใหญ่พอจะมีตาอยู่หลายตา ซึ่งเราสามารถตัดเหง้าของหน่อ แล้วใช้มีดแบ่งออกเป็นชิ้นๆ เอาไปปลูกในแปลงหรือชำลงกระบะหรือในถุงดำที่บรรจุขี้เถ้าแกลบ ไม่นานตาเหล่านั้นจะกลายเป็นต้นกล้วยขนาดเล็กให้เราได้แยกปลูกลงแปลงต่อไป แต่วิธีดังกล่าวไม่เป็นที่นิยมมากนัก เพราะขั้นตอนยุ่งยากเหมาะกับการขยายพันธุ์กล้วยที่มีจำนวนน้อย หรือมีราคาแพง

การขุดแยกหน่อจากต้นแม่นั้น ต้องควรทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้หน่อช้ำมากนัก ควรใช้เสียมที่มีความคมแทงให้ขาดเพียง 1-2 ครั้ง เมื่อขุดขึ้นมาแล้วก็ใช้มีดปาดเอาส่วนของรากออกให้หมด เมื่อเวลาเรานำไปปลูกกล้วยจะสร้างรากใหม่ขึ้นมา ส่วนหน่อที่มีใบมากจนเกินไปก็ให้ริดตัดใบออกบ้าง หรือหน่อมีความสูงหรือมีขนาดใหญ่จนเกินไปก็ให้ตัดเฉือนลำต้นให้สั้นลง แต่ถ้าเป็นไปได้การตัดทอนยอดหรือต้นกล้วยควรตัดก่อนที่จะทำการแยกออกจากต้นแม่ ซึ่งการตัดยอดหรือลำต้นของกล้วยไม่ส่งผลเสียแต่อย่างใด แต่ในทางกลับกัน กลับทำให้ลำของหน่อกล้วยมีโคนที่ใหญ่อวบอ้วนขึ้น เนื่องจากอาหารจากเหง้าไม่ต้องเลี้ยงยอดและใบ อาหารจึงไปสะสมและสร้างโคนให้ขึ้นนั่นเอง โดยหน่อที่แยกไปจากต้นแม่สามารถนำไปปลูกได้ทันที หรือ ถ้ายังไม่พร้อมก็สามารถเก็บรักษาไว้ในที่ร่มได้ก่อนนานนับสัปดาห์

การปลูก ในพื้นที่รกควรทำการดายหญ้า หรือไถพรวนเสียก่อน ก่อนการปลูก 7-10 วัน เพื่อปราบวัชพืชและทำให้ดินร่วนโปร่ง สำหรับพื้นที่น้ำท่วมจำเป็นต้องยกร่องเสียก่อน ระยะปลูกกล้วยนั้นมีความสำคัญมาก ถ้าปลูกชิดกันมากเกินไปก็จะทำให้เกิดร่มเงา ทำให้หน่อที่งอกขึ้นมาใหม่จะไม่ค่อยแข็งแรง ลำต้นเรียวเล็ก เพราะได้รับแสงไม่เพียงพอนั่นเอง ฉะนั้นการเลือกระยะปลูกต้องคำนึงถึงแสงแดด ความสมบูรณ์ของดินและชนิดของพันธุ์กล้วยประกอบกัน

สำหรับการปลูกกล้วยบนพื้นที่ราบ หลังจากกำจัดวัชพืชขุดดินหรือไถพรวนเรียบร้อยแล้ว ตากดินราว 7-10 วัน ก็จะขุดหลุมขนาด 50×50 ซ.ม. กองดินชั้นบน (หน้าดิน) ไว้ด้านหนึ่ง ส่วนดินชั้นล่างก็จะกองไปอีกด้านหนึ่งของหลุม จากนั้นให้ใส่ดินชั้นบนลงก้นหลุมพร้อมกับใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วยเพื่อเป็นปุ๋ยรองก้นหลุม คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำหน่อกล้วยที่เตรียมไว้ วางหน่อกล้วยลงกลางหลุม

ถ้าต้องการให้กล้วยออกปลีในทิศทางเดียวกันทุกหลุม โดยกล้วยจะแทงปลีออกมาในทิศทางตรงกันข้ามกับรอยแผลนั่นเอง เมื่อวางหน่อเรียบร้อยก็จะนำดินส่วนที่เหลือกลบหลุมให้แน่น ถ้าเป็นการปลูกกล้วยในช่วงฤดูฝนก็ควรพูนดินให้สูง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขัง แต่ถ้าปลูกในช่วงฤดูอื่นก็ไม่จำเป็นต้องพูนดินสูง เพราะเวลาให้น้ำ น้ำที่ให้จะได้ไม่ไหลออกไป ส่วนการปลูกกล้วยแบบยกร่อง มักจะพบเห็นในพื้นที่ในเขตภาคกลาง โดยเฉพาะกล้วยหอมที่มักจะนิยมปลูกกล้วยริมสันร่องทั้ง 2 ข้าง โดยตรงกลางจะเว้นเป็นทางเดิน โดยจะใช้ระยะปลูกถี่เพียง 3 เมตร เพราะเกษตรกรมักจะทำการปลูกกล้วยใหม่ทุกปี และการวางหน่อปลูกก็จะนิยมหันรอยแผลที่เกิดจากการแยกหน่อไปทางร่องน้ำ เพื่อให้กล้วยตกเครือมาในทิศทางร่องทางเดิน เพื่อจะสะดวกในการเก็บเกี่ยวนั่นเอง

การให้น้ำแก่ต้นกล้วย แม้ว่าต้นกล้วยเป็นพืชที่ค่อนข้างทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี แต่ถ้าปลูกกล้วยเป็นการค้า การให้น้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งกล้วยมีความต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ เนื่องด้วยกล้วยเป็นพืชใบใหญ่ ลำต้นอวบน้ำและน้ำจะช่วยส่งเสริมเรื่องของการเจริญเติบโต ยกตัวอย่าง เช่น ในช่วงหน้าแล้งจึงไม่ควรให้ต้นกล้วยขาดน้ำ หน้าดินควรมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ เพราะรากกล้วยส่วนใหญ่จะเจริญและแผ่กระจายเป็นจำนวนมากบริเวณผิวดิน วิธีการให้น้ำแก่ต้นกล้วยมีหลายวิธี เช่น ใช้สายยางเดินรด, ติดตั้งระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ ปล่อยน้ำเข้าร่องปลูก ฯลฯ

การใส่ปุ๋ยแก่ต้นกล้วย ค่อนข้างมีความสำคัญส่งผลถึงการเจริญเติบโต และผลผลิตที่จะออกมาก โดยเกษตรกรมักจะเน้นการใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร 16-16-16 อัตราการให้ประมาณ 200-300 กรัม หรือเฉลี่ย 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี โดยจะแบ่งใส่ 4 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 จะใส่หลังปลูกหน่อกล้วยไปแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ ต่อจากนั้นทุกๆ 3 เดือน ก็จะมีการให้ปุ๋ยครั้งที่ 2, 3 และ 4 ซึ่งการใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 4 เกษตรกรหลายรายที่ใส่ใจในเรื่องของรสชาติ ก็มักจะเปลี่ยนจากสูตร 16-16-16 มาใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ก่อนการเก็บเกี่ยว

การตัดแต่งหน่อกล้วย หลังจากปลูกกล้วยได้ประมาณ 5-6 เดือน หน่อใหม่จะเกิดขึ้นมาก่อนที่กล้วยจะตกเครือเล็กน้อย ซึ่งเราควรเลือกไว้หน่อเพียง 2 หน่อแรกก็เพียงพอ เพื่อเตรียมไว้ทดแทนต้นแม่เดิมที่จะต้องถูกตัดทิ้งในอนาคต หน่อใหม่ที่เลือกควรอยู่ตรงกันข้ามกันของลำต้นเดิม โดยหน่อแรกๆ นั้นจะมีรากลึกและแข็งแรงถือว่าดีที่สุด ส่วนหน่อที่เกิดมาทีหลัง ชาวสวนมักเรียกว่า “หน่อตาม” ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นมา จะทำให้กล้วยเครือเล็กลง จึงทำลายทิ้งเสียโดยการทำลายหน่อกล้วย ก็อาจจะวิธีการขุดหน่อออก แต่ต้องกระทำเฉพาะตอนที่กล้วยยังไม่ตกเครือเท่านั้น เพื่อไม่ให้ต้นกล้วยชะงักทำให้ผลกล้วยเล็กลงได้

การตัดแต่งใบกล้วย เนื่องจากใบกล้วยมีใบเจริญเติบโตออกมาเรื่อยๆ เมื่อใบใหม่ออกมา ใบเก่าก็จะแก่ และแห้งติดลำต้น ชาวสวนต้องหมั่นลอกกาบ ใช้ขอเกี่ยวสางตัดใบกล้วยออก โดยจะสางใบกล้วยที่แห้งและเป็นโรคออกอยู่เสมอ โดยถือหลักว่าถ้าใบแห้งและแก่มีสีเหลืองเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือ 50% ของใบกล้วยก็ควรตัดทิ้งเพราะถือว่าไม่มีประโยชน์ในการสังเคราะห์แสงแต่อย่างใด โดยมักจะเลี้ยงใบไม่น้อยกว่า 7-8 ใบ และเมื่อเครือจวนแก่ก็แต่งใบให้เหลือ 4-5 ใบก็เพียงพอ

การค้ำต้นกล้วย เมื่อเครือกล้วยใกล้แก่ มีน้ำหนักค่อนข้างมาก จะทำให้ต้นโค่นล้มได้ง่าย หรือมีลมพัดแรงๆ ชาวสวนต้องมีไม้ไผ่หรือไม้เนื้ออ่อนที่มีง่ามไว้ค้ำยันเครือกล้วย

เมื่อกล้วยมีอายุได้ประมาณ 8-12 เดือน นับตั้งแต่วันปลูกกล้วยน้ำว้า(รวมถึงกล้วยไข่, กล้วยหอม) จะออกปลีในระยะใกล้เคียงกัน ก่อนที่กล้วยจะแทงปลีจะสังเกตได้ว่ากล้วยจะแทง “ใบธง” คือ ใบจะมีลักษณะไม่เหมือนใบทั่วไป เป็นใบขนาดเล็ก ใบชี้ตรงขึ้นท้องฟ้า เมื่อเห็นใบธง เป็นสัญญาณให้เราทราบว่า กล้วยของเรากำลังจะออกปลี ซึ่งปลีกล้วยจะโผล่พ้นตายอดแล้วจะเริ่มทยอยบานให้เห็นดอกกล้วย(หวีกล้วย) ดอกจะบานไล่เวียนลงมา ซึ่งจะเจริญเป็นหวีกล้วยต่อไป ไม่นานปลีจะบานถึงดอกกล้วย หรือ หวีกล้วย ซึ่งมีขนาดเล็กไม่สมบูรณ์อยู่ส่วนปลายของปลี

ซึ่งชาวสวนกล้วยเรียก “หวีตีนเต่า” โดยช่องระยะเวลาการบานของดอกกล้วยจะใช้เวลาประมาณ 10-17 วัน หลังจากตกปลี เมื่อเห็นว่าดอกกล้วยบานเกือบสุดแล้ว ก็ต้องตัดปลีออก เพื่อช่วยให้ผลกล้วยมีการเติบโตได้เต็มที่ กล้วยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 100-110 วัน หลังจากปลีโผล่พ้นยอดออกมาหรือสังเกตที่ผลกล้วยในส่วนรวมของเครือว่าจะมีลักษณะผลค่อนข้างกลมไม่เป็นเหลี่ยม

การเก็บเกี่ยวกล้วยเมื่อเห็นว่าผลแก่ ก็ให้เก็บเอาไม้ค้ำเครือกล้วยออก การตัดเครือกล้วยก็ต้องทำด้วยความระมัดระวัง แนะนำให้ใช้มีดฟันที่กลางลำต้นกล้วยให้ลึก พอที่จะทำให้ลำต้นกล้วยจะค่อยเอนโน้มมาในทิศทางของผู้รับยืนอยู่ หากไม่มีความชำนาญก็ต้องช่วยกันตัดกล้วยสัก 2 คนโดยคนหนึ่งตัด อีกคนคอยรับเครือกล้วย เมื่อตัดเครือกล้วยลงมาได้แล้ว ให้นำเครือกล้วยให้ตั้งปลายเครือกล้วยขึ้นข้างบน ให้รอยตัดอยู่ข้างล่าง ตั้งกับพื้น เพื่อไม่ให้ยางกล้วยไหลย้อนลงมาเปื้อนหวีกล้วย กัดผิวกล้วย

บ้านโงกน้ำ ต.นาขยาด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เป็นหมู่บ้านเล็กๆ และยังล้าหลังทั้งในด้านการศึกษาและการดำเนินชีวิต ชาวบ้านส่วนใหญ่ ยังมีรายได้น้อย แต่หลังจากที่ชาวบ้านรวมกลุ่มกันทำงาน และยึดหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการปลูกพืชหลากหลายชนิดในพื้นที่ ทั้งไม้ผล ไม้ประดับ ผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ อีกทั้งชาวบ้านรู้จักนำวัตถุดิบที่เหลือใช้ในท้องถิ่นอย่างมูลสัตว์มาทำปุ๋ยชีวภาพ เพื่อใช้ในครัวเรือน เป็นการลดต้นทุนการผลิต จนประสบความสำเร็จ ได้รับการยอมรับเป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

บ้านโงกน้ำ ยังเป็นที่รู้จักในนามของปราชญ์ชาวบ้าน ในการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ เรื่องการทำเกษตรทฤษฎีใหม่แก่เกษตรกร ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีฐานการเรียนรู้ถึง 17 ฐาน เช่น การบริหารการจัดการกลุ่มออมทรัพย์ การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก การทำปุ๋ยน้ำอีเอ็ม ปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด แก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์ การแปรรูปผลผลิตการเกษตร เป็นต้น

โดยเฉพาะการทำปลาดุกร้าจากปลาดุกเลี้ยง ที่ชาวบ้านเลี้ยงครัวเรือนละ 500-800 ตัว ในบ่อพลาสติกข้างบ้าน นำมาแปรรูปขาย สร้างรายได้ และส่งจำหน่ายไปไกลถึงประเทศสวิตเซอร์แลนด์ การันตีความอร่อย นิ่ม หอม ประกอบกับการบรรจุถุงที่ไร้กลิ่น กลายเป็นของฝากที่น่าประทับใจสำหรับผู้รับ

คุณเฉลา ด้วงเรือง ประธานกลุ่มผลิตปลาดุกร้า ปราชญ์ชาวบ้านโงกน้ำ ต.นาขยาด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง บอกว่า กลุ่มชาวบ้านในหมู่บ้าน 174 ครัวเรือน ได้ยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามเกษตรแบบทฤษฎีใหม่ และเลี้ยงปลาดุกไว้ข้างบ้านไว้รับประทานเอง แต่เมื่อเลี้ยงทุกครอบครัว ทำให้มีปลาเป็นจำนวนมาก เมื่อพ่อค้าคนกลางเข้ามาซื้อจึงกดราคา ทำให้ชาวบ้านรวมตัวและคิดทำปลาดุกร้า เป็นการถนอมอาหารไว้กินได้นานๆ และนำไปจำหน่าย จนเป็นที่ถูกใจของนักท่องเที่ยวและชาวบ้านทั่วไป

วิธีทำ นำปลาใส่กระสอบและใส่เกลือเพื่อน๊อกให้ปลาตาย แล้วตัดหัว ควักไส้ปลาออก ล้างให้สะอาด ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ทิ้งไว้ 3 ชั่วโมง ผสมเกลือและน้ำตาล ยัดเกลือที่ผสมแล้วในท้องปลา คลุกตัวปลา ใส่โอ่งเคลือบ ทิ้งไว้ 2 คืน แล้วนำไปตากแดดประมาณ 3 วัน ก่อนนำมาห่อด้วยกระดาษปรู๊ฟ (ซับน้ำ, น้ำมันปลา) ใส่ถังพลาสติกมีฝาเกลียว ปิดให้มิดชิด ทิ้งไว้ 2 คืน แกะกระดาษออก ตากแดดครั้งที่ 2 ประมาณ 2 วัน ปลาห่อกระดาษเหมือนเดิม เก็บไว้ในถังพลาสติก หมักไว้ 2 คืน ตากแดดอีก 5 ชั่วโมง เก็บไว้ในถัง 2 คืน แล้วนำมาบรรจุถุงสุญญากาศ สามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน 1 เดือน

คุณเฉลา บอกอีกว่า หากเรานำไปตากแดดตามระยะเวลา จะทำให้มีกลิ่นหอม ปลาสด ตัวแข็งดี สามารถนำไปทำเป็นอาชีพเสริม สำหรับผู้ที่เลี้ยงปลาดุก และขายปลาสดแล้วได้ราคาไม่ดี โดยปัจจุบันปลาดุกร้าของกลุ่ม ส่งจำหน่ายไปไกลถึงประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ด้วยคุณภาพของปลาดุกร้าที่อร่อยและสด

เกษตรกรหรือประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านบ้านโงกน้ำ หมู่ที่ 8 ต.นาขยาด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

วันนี้ (20 กันยายน 2561) เวลา 09.30 น. นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) เรื่อง “ความร่วมมือในการสร้างความรู้ ความ เข้าใจเกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการค้า” กับสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดย ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยมี นายอภิศักดิ์ อังคสิทธิ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ นายเสน่ห์ วิชัยวงษ์ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ นางสาวบุณิกา แจ่มใส ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความพร้อมทางการค้า ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ โรงแรมริชมอนด์ สไตล์ลิช คอนเวนชั่น นนทบุรี

ภายหลังพิธีลงนาม นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม ได้กล่าวว่า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศและสภาเกษตรกรแห่งชาติ มีความร่วมมือกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 อย่างต่อเนื่องในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับเกษตรกรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีศักยภาพในการจัดการตลาดสินค้าและมีความพร้อมต่อการเปิดเสรีทางการค้าในรูปแบบของการจัดสัมมนาให้ความรู้กับสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติทั่วประเทศ โดยที่ผ่านมานั้นทั้ง 2 หน่วยงานไม่มีการลงนามร่วมกัน ในการลงนามครั้งนี้จึงถือเป็นการกระชับความร่วมมือให้เหนียวแน่นยิ่งขึ้น

โดยเฉพาะความร่วมมือในการส่งเสริมเกษตรกรให้มีความรู้ ความเข้าใจในการตกลงทางการค้าเสรีร่วมกับประเทศต่างๆ ทั้งความตกลง FTA ที่มีผลบังคับใช้แล้ว 12 ฉบับ ใน 17 ประเทศรวมทั้งความตกลงทางการค้าที่อยู่ระหว่างเจรจา “อาเซียน-ฮ่องกง” อีก 1 ฉบับ จึงต้องถามความต้องการของเกษตรกรก่อนแล้วจึงร่วมพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกและใช้ประโยชน์จากการค้าเสรี

ด้าน ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวเพื่อให้เกษตรกรในระดับท้องถิ่น สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสามารถใช้โอกาสจากการเปิดเสรีภายใต้ความตกลงต่างๆ ให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร ชุมชน เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ สินค้าเกษตรในท้องถิ่นที่เตรียมนำร่องสำหรับการเปิดตลาดเสรีทางการค้า ได้แก่ มะม่วง เงาะ ทุเรียน ลำไย เป็นต้น

โดยปัญหาของเกษตรกรส่วนหนึ่งคือการผลิตสินค้ายังไม่ได้คุณภาพตามที่ตลาดต่างประเทศต้องการ เมื่อมีการร่วมมือกันกับทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศในปีงบประมาณ 2562 จะร่วมกันให้ความรู้ในการพัฒนาสินค้าเกษตรในท้องถิ่นให้มีคุณภาพด้วยการส่งวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ ผู้แทนการค้าต่างประเทศฯ ลงไปให้ความรู้ตั้งแต่การปลูก บรรจุภัณฑ์หีบห่อจนถึงการตลาดจะทำให้ผลผลิต สินค้ามีคุณภาพ มาตรฐานตามที่ตลาดต่างประเทศต้องการ ขายได้ราคาดีขึ้น ก็จะทำให้คุณภาพชีวิตเกษตรกรดีเพิ่มขึ้นได้อย่างยั่งยืน

โปรกอล์ฟไทยคนแรกได้รับพีจีเอ ทัวร์ การ์ด

นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร (ขวา) ร่วมภาคภูมิใจและแสดงความยินดีกับ คนคุณภาพ โปรอาร์ม กิรเดช อภิบาลรัตน์ โกลบอล แบรนด์ แอมบาสเดอร์ ของเครือเบทาโกร (ซ้าย) โปรกอล์ฟชาวไทยคนแรก ที่ได้รับ พีจีเอ ทัวร์ การ์ด จาก พีจีเอ ทัวร์ ซึ่งเป็นทัวร์นาเม้นท์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา สร้างชื่อเสียงและนำความภาคภูมิใจมาสู่ประเทศไทย ในงานแถลงข่าวและมอบพีจีเอ ทัวร์ การ์ด อย่างเป็นทางการ ณ Circle Living Prototype Condominium กรุงเทพฯ