ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน

นอกจากนี้การกระทำของบริษัท พันปี กรุ๊ป ตามที่ปรากฏตามสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เป็นการกระทำที่มีลักษณะโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

​“สำหรับแนวทางการดำเนินการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหานั้น ได้มีหนังสือแจ้งไปยังบริษัท ให้จัดส่งสำเนาเอกสารสำหรับการชี้ชวนและร่างสัญญาของบริษัทฯ ที่ใช้ในการทำสัญญาส่งเสริมกับเกษตรกร เพื่อตรวจสอบรายละเอียดเงื่อนไขของสัญญา รวมทั้งแจ้งให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ตรวจสอบข้อมูลจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการกับบริษัทฯ ในพื้นที่ ว่ามีการทำสัญญาหรือไม่อย่างไร และมีรายละเอียดอะไรบ้าง เนื่องจากบริษัทฯ ได้ส่งข้อมูลเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการให้ สลพ. ไว้แล้ว และหากบริษัทฯ มีการเข้าทำสัญญา

โดยไม่มีการจัดทำเอกสารสำหรับการชี้ชวนก็จะมีโทษปรับ ไม่เกิน 300,000 บาท ตลอดจนประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบข้อกล่าวอ้างของบริษัทฯ เกี่ยวกับการสนับสนุนเงินทุนจากยูเอ็นว่าเป็นความจริงหรือเป็นความเท็จประการใด พร้อมทั้งกำกับ ดูแล ติดตามการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ และการทำสัญญาระหว่าง บริษัทฯ กับเกษตรกรอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกร นอกจากนี้ จะแจ้งความดำเนินคดีกับบริษัทฯ หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทฯ มีความผิดตามกฎหมายต่อไป” นายพีรพันธ์ กล่าว

ผลผลิตทางการเกษตรในทุกวันนี้ อาจมีการใช้สารปนเปื้อนและมีการใช้สารเคมีเพิ่มเติม ยิ่งสำหรับใครที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ผลผลิตออร์แกนิคที่มาจากธรรมชาติแท้ ไร้สารเคมี จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนรักสุขภาพ และที่สำคัญคือ ความอร่อย สด ได้รสจากธรรมชาติแท้ๆ

มาวันนี้เราจะเชิญชวนทุกท่านได้พบกับ ฟาร์มออร์แกนิคสุดชิค ของ “จอน นอนไร่” ที่นอกจากมีดีที่ความอร่อยสดแบบออร์แกนิคแล้ว ยังมีแนวคิดและเสน่ห์การทำไร่ที่สร้างสรรค์น่าหลงใหลให้ชวนคิด

จากครีเอทีฟสร้างสรรค์อยู่ในวงการโฆษณาเป็นเวลา 30 ปี ด้วยความชอบ กิน! (ของอร่อยๆ เท่านั้น)
บวกกับความผูกพันกับกล้วยไม้จากครอบครัว ทำให้ คุณตุ้ย เสกสรรค์ อุ่นจิตติ ตัดสินใจสร้างความสุขอีกรูปแบบ ในพื้นที่ 5 ไร่ ไปกับการปลูกพืชผักสวนครัว โดยเป้าสำคัญคือ กินเอง และต้องอร่อย และของอร่อยสำหรับคุณตุ้ยก็คือ ไร้สารพิษ สดจากธรรมชาติ สดถึงขั้นเดินปลูกไปด้วยกินไปด้วยกันเลยทีเดียว

แต่กว่าจะเป็น จอน นอนไร่
คุณตุ้ยได้มีโอกาสเดินทางเก็บเกี่ยวความรู้ความเข้าใจในตัวพืชผักสวนครัวกว่า 6 ปี ในช่วงที่ออกมาเป็นนายตัวเอง ทำให้มีเวลากับตัวเองมากขึ้น จนเริ่มตัดสินใจทดลองปลูกในไร่ของตนที่มีอยู่ 5 ไร่ ด้วยพืชบ้านๆ อย่าง กะเพรา และโหระพา
จากนั้นก็เริ่มสร้างสรรค์บรรเลงพืชผักแปลกๆ เก๋ๆ ปลูกลงไร่ ไม่ว่าจะเป็น แครอท 5 สี ผักกาดขาวญี่ปุ่น
มะเขือเทศเชอร์รี่ แต่ของทั้งหมดที่พี่แกปลูก จะต้องไม่หนีคอนเซ็ปต์ ความอร่อย ถ้าไม่อร่อย ไม่กิน!

คุณตุ้ย ได้ลงแรงกับไร่แห่งนี้มาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว และแน่นอนว่า มันไม่ง่ายเลย ยิ่งช่วงแรกก็ปลูกให้ใครกินไม่ได้นอกจากตัวเอง แต่ด้วยแนวคิดของคุณตุ้ยที่สามารถอยู่กับปัญหา แก้ไข และต่อยอด ระหว่างระบบการปลูกและระบบธรรมชาติให้สมดุล ใช้แนวคิด 5W (what, why, where, when, who) ตั้งแต่สมัยทำโฆษณา มาประยุกต์กับงานเกษตร ทำให้ทุกวันนี้มีลูกค้าตัวจริงที่ชื่นชอบความเป็นออร์แกนิคแบบสดๆ ต้องมาเยือนและอุดหนุนผลิตผลของ จอน นอนไร่ ฟินความสดไปกันยกใหญ่

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัย พี่แกชื่อตุ้ย แล้วคุณจอนเป็นใคร? ชื่อ จอน นอนไร่ นั่นมีที่มาจากคุณตุ้ยแกชอบ จอห์น เลนนอน ก็กลับคำนิดๆ หน่อยๆ เป็น จอห์น นอนเล่น แต่พอดีพี่ตุ้ยทำไร่ ต้องนอนเฝ้าไร่ ก็กลายเป็น จอน นอนไร่ แค่ชื่อก็สร้างสรรค์กินขาดแล้วค่ะ ส่วนใครจะเรียกคุณตุ้ย หรือ คุณจอน พี่แกบอกได้ทั้งหมดเลย แล้วแต่ว่าคุณอยากเจอใคร ระหว่างคุณตุ้ยกับคุณจอน แหม่ อินดี้สุดๆ

และอีกหนึ่งสิ่งสำคัญ ที่ทำให้พืชผลของ จอน นอนไร่ เติบโตได้โดยธรรมชาติ ไร้ซึ่งสารเคมี นั่นก็เพราะ “ความรู้” และ “นวัตกรรม” ที่คุณตุ้ยได้เรียนรู้จากเพื่อน และโลกอินเตอร์เน็ตยามค่ำคืน เชื่อมโลกธรรมชาติและความก้าวหน้าไปด้วยกัน คุณตุ้ย มองว่า สำหรับ จอน นอนไร่ แล้ว ความเป็นธรรมชาติจริงๆ เราต้องลงมือกับมันอย่างลึกซึ้ง และใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยในการสร้างและเปิดความคิดในการลงมือทำ ด้วยแนวคิดนี้เอง ทำให้ จอน นอนไร่ เป็นแหล่งอาหารออร์แกนิคที่น่าสนใจและมีคุณค่ามหาศาลทางด้านคุณภาพนั่นเอง

สำหรับใครที่อยากฟังแนวคิดดีๆ จากคุณตุ้ย หรืออยากไปแวะชิมผักสดๆ ออร์แกนิคจากต้น
สามารถไปได้ที่ จอน นอนไร่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา หรือถ้ายังไม่อยากเดินทางไกล
เป็นโอกาสอันดีแล้วที่จะมาเจอกันในงาน เกษตรมหัศจรรย์ 2561 ภายใต้คอนเซ็ปต์ เกษตรสร้างสุข
ยุคดิจิตอล

เร็วๆ นี้ เตรียมพบกับ งานเกษตรมหัศจรรย์ 2561 : เกษตรสร้างสุข ยุคดิจิตอล ที่ได้รวบรวมที่สุดของ “ราชาผลไม้” อย่าง “ทุเรียน” มาจากทั่วทุกภาคในเมืองไทย ให้ได้ชมกันกว่า 100 สายพันธุ์ อาทิ มูซังคิง, ก้านยาวปราจีนบุรี, เม็ดในยายปราง, หลินหลงลับแล, ห้าลูกไม่ถึงผัว, จระเข้สุโขทัย เป็นต้น ในงานเกษตรครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี เกษตรมหัศจรรย์ 2561 : เกษตรสร้างสุข ยุคดิจิตอล วันที่ 24-27 พ.ค. 2561 ณ สกายฮอลล์ ชั้น 3 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว เกษตรมหัศจรรย์ 2561 เกษตรสร้างสุข ยุคดิจิตอล Smart Farmer

เรียกได้ว่า “จันทบุรี” หรือ เมืองจันท์ เป็นมหานครผลไม้แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้จับมือกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ จัดสัมมนา เมื่อ วันที่ 1 พ.ค. 2561 เพื่อพาชาวสวนเมืองจันท์ไปบุกตลาดในยุคการค้าเสรี ทั้งเยี่ยมชมสวนเกษตรแปลงใหญ่ของบ้านคลองน้ำเป็น ตำบลตะเคียนทอง ที่รวมกลุ่มกันปลูกทุเรียนส่งขาย พร้อมยกระดับฝ่ากระแสราคาไปสู่ตลาดต่างประเทศ

“อรมน ทรัพย์ทวีธรรม” อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การลงพื้นที่พบปะชาวสวนผลไม้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกร ให้สามารถใช้ประโยชน์จากการที่ประเทศคู่ค้าของไทยได้ลดเลิกภาษีศุลกากรกับสินค้าผลไม้ไทยภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) รวมทั้งการพัฒนาผลผลิตให้ได้คุณภาพพร้อมส่งออก

ปัจจุบัน ไทยเป็นผู้ส่งออกผลไม้และผลไม้แปรรูป อันดับที่ 10 ของโลก มีมูลค่าการส่งออกกว่า 4,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ อาเซียน จีน ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ซึ่งไทยมีข้อตกลงการค้าเสรีด้วย โดยผลไม้ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ลำไย ทุเรียน และมังคุด

โดยอาเซียนถือเป็นตลาดส่งออก อันดับ 1 ของไทย และภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2553 ส่งผลให้ไทยส่งออกผลไม้และผลไม้แปรรูปไปอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2560 ไทยมีมูลค่าการส่งออกลำไยไปอาเซียน 675 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 64 จาก ปี 2559 ส่งออกทุเรียน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 230 จากปี 2559 และส่งออกมังคุด 146 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 132 จากปี 2559

ขณะที่จีน เป็นตลาดส่งออกผลไม้และผลไม้แปรรูป อันดับที่ 3 ของไทย รองจากอาเซียน และสหรัฐอเมริกา โดยภายใต้ความตกลง FTA อาเซียน-จีน ไทยและจีนได้ยกเลิกภาษีศุลกากรสินค้าผลไม้ระหว่างกัน ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2546 โดยในปี 2560 ไทยส่งออกผลไม้และผลไม้แปรรูปไปจีน 740 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงขึ้น ร้อยละ 25.46 เมื่อเทียบกับ ปี 2559 สินค้าผลไม้ของไทยที่ส่งออกในตลาดจีน ได้แก่ ทุเรียน ลำไย และมังคุด ในปี 2560 ไทยส่งออกทุเรียนไปจีน 216 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งออกลำไย 152 ล้านเหรียญสหรัฐ และส่งออกมังคุด 60 ล้านเหรียญสหรัฐ

“ธีระทัศน์ รังสิวรโรจน์” ผู้จัดการ บริษัท เทรเชอร์ เทรดดิ้ง แอนด์ ดิสทริบิวชั่น จำกัด กล่าวว่า ในมุมมองผู้รวบรวมผลไม้ส่งออกที่คลุกคลีการค้ากับประเทศจีนมากว่า 4 ปี ต้องระวังในข้อกฎหมาย และมีพาร์ตเนอร์ที่ไว้ใจได้ รวมถึงเกษตรกรต้องมีความรู้จริงในการทำการค้ากับจีน เพราะเกษตรกรมักจะเสียเปรียบคู่แข่งและพ่อค้าคนกลางหากไม่รู้ข้อมูล เนื่องจากพ่อค้าจีนมีกลยุทธ์ที่เหนือชั้นกว่าเกษตรกรไทย ฉะนั้น เกษตรกรไทยต้องเข้าถึงสื่อของประเทศจีนให้ได้ ต้องรู้ว่าคนจีนนิยมของคุณภาพและพร้อมจ่าย ไม่ว่าจะเป็น ทุเรียน มังคุด มะม่วง และสินค้าจะขายดีมากขึ้น หากสร้างมูลค่าเพิ่มได้ด้วย หากมีการสร้างเรื่องราวที่มีมากกว่าความอร่อย เช่น ทุเรียนที่ถูกตัดจากต้นที่มีอายุเกิน 100 ปี เป็นต้น

ด้าน “ธีรภัทร อุ่นใจ” ประธานเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียน หมู่ 8 ตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี บอกว่า ทุกวันนี้เกษตรกรชาวสวนผลไม้ส่วนใหญ่พึ่งพาพ่อค้าคนกลาง หรือล้งในการขายการส่งออก เป็นช่องทางการตลาดอย่างหนึ่ง แต่อนาคตอาจจะถูกกดราคาได้ ฉะนั้นการร่วมกันทำเกษตรแปลงใหญ่จะสามารถพัฒนาคุณภาพให้มีความสม่ำเสมอ และสามารถต่อรองราคาได้ โดยเรื่องของคุณภาพเป็นปัญหาที่พบมากที่สุด เพราะชาวสวนที่ไม่มีการจัดการดูแลอย่างเป็นระบบ และอยากให้หน่วยงานภาครัฐช่วยเหลือในการค้าขายที่ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศโดยตรง ซึ่งเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียน หมู่ที่ 8 เพิ่งจะเริ่มรวมตัวกันเป็นปีแรกในการส่งออกทุเรียนไปจีน

เห็นได้ชัดเจนว่า ตัวเลขการส่งออกผลไม้ไทยมีช่องทางที่สามารถสู้กับคู่แข่งในตลาดได้ นี่จึงเป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มต้นในการพัฒนาเกษตรกรชาวสวนผลไม้จังหวัดจันทบุรี ที่จะส่งผลไม้ไทยไปบุกตลาดต่างประเทศโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมการเกษตร เข้าร่วมพิธีบวงสรวงเคลื่อนย้าย คันไถไปในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ อาคาร 4 กรมส่งเสริมการเกษตร

สำหรับคันไถที่ใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมสร้างถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เพื่อใช้ในพระราชพิธีดังกล่าว ตลอดมานั้น สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม หนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นคันไถที่ทำจากไม้สมอ โดยใช้งบประมาณในการสร้างและตกแต่งลวดลายเป็นเงิน 60,000 บาท ซึ่งชุดคันไถประกอบด้วย

1. คันไถ ขนาดความสูง วัดจากพื้นถึง เศียรนาค 2.26 เมตร และ ยาวจากเศียรนาคถึงปลายไถ 6.59 เมตร ทาสีแดงชาด ตลอดคันไถ ที่หัวคันไถ ทำเป็นเศียรพญานาค ลงลัก ปิดทอง ลวดลายประดับคันไถเป็นลายกระจังตาอ้อย ลงลักปิดทองตลอดคัน ปลายไถ หุ้มผ้าขาว ขลิบทอง สำหรับมือจับ

2. แอกเทียมพระโค ยาว 1.45 เมตร ตรงกลางแอกประดับด้วย รูปครุฑยุดนาค หล่อด้วยทองเหลืองลงลักปิดทองอยู่บนฐานบัว ปลายทั้ง 2 ด้านแกะสลักเป็นรูป เศียรพญานาคลงลักปิดทอง ลวดลายประดับเป็นลายกระจังตาอ้อย ลงลักปิดทองตลอดคัน ที่ปลายแอกแต่ละด้านมีลูกแอกทั้งสองด้านสำหรับเทียมพระโค พร้อมเชือกกระทาม

ฐานรอง เป็นที่สำหรับตั้งรองรับคันไถพร้อมแอก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ทาด้วยสีแดงชาด มีลวดลายประดับเป็นลายกระจังตาอ้อย ลงลักปิดทองทั้งด้านหัวไถและปลายไถ

4. ธงสามชาย เป็นธงประดับคันไถติดตั้งอยู่บนเศียรนาคทำด้วยกระดาษและผ้าสักหลาด เขียนลวดลายลงลักปิดทองประดับด้วยกระจกแววมีพู่สีขาวประดับ ด้านบนเป็นเครื่องสูง ชนิดหนึ่งเพื่อประดับพระเกียรติธงสามชายมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมฐานยาว 41 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร และเสาธงยาว 72 เซนติเมตร

การจัดงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปีพุทธศักราช 2561 ในปีนี้ปฏิทินหลวงได้กำหนดวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งประกอบด้วยพระราชพิธี 2 พิธี รวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคล อันเป็นพิธีสงฆ์ เป็นวันสวดมนต์เริ่มการพระราชพิธีพืชมงคล ประกอบพระราชราชพิธี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กำหดนจัดขึ้นใน วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม 2561 ตั้งแต่ 15.00 น. และถือเป็นวันเกษตรกรด้วย

สำหรับในวันถัดมาของการประกอบพระราชพิธี คือ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน) อันเป็นพิธีพราหมณ์ จะประกอบพระราชพิธี ในวันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม 2561 ฤกษ์พิธีไถหว่านระหว่างเวลา 08.29 – 09.19 นาฬิกา ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง

นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากปัญหาราคากุ้งตกต่ำ ตั้งแต่เดือนเม.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตกุ้งโลกเพิ่มสูงขึ้น กรมประมงจึงร่วมกับผู้ประกอบการทุกภาคส่วนในห่วงโซ่การผลิตเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งให้พ้นวิกฤตช่วงนี้ไปก่อน ตามข้อเสนอของเกษตรกรที่ต้องการให้ผู้ประกอบการรับซื้อกุ้งในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกุ้งของอินเดียมีต้นทุนที่ต่ำกว่าไทย ในขณะที่ผลผลิตมีมาก 6-7 แสนตัน จากเป้าหมาย 1 ล้านตัน ใน ปี 20 เป็นสัญญาณที่ผู้เลี้ยงกุ้งของไทยต้องปรับตัวเพื่อการแข่งขันที่สูงขึ้น ผู้เลี้ยงกุ้งที่มีต้นทุนต่ำกว่าเท่านั้นที่จะอยู่ได้ ซึ่งภาครัฐและเอกชนจะเข้าไปช่วยเหลือในระยะต่อไป

“ปัจจุบัน มีผู้เลี้ยงกุ้งที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมง 9,000 ราย ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทำให้มีต้นทุนต่ำ และกลุ่มที่ไม่ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย ต้นทุนก็จะสูงกว่า ดังนั้น จึงต้องปรับให้อยู่ในระดับที่อยู่ได้กันทั้ง 2 ฝ่าย การปรับตัวครั้งนี้เกษตรกรต้องเปิดเผยข้อมูลที่เป็นจริงด้วย เพื่อที่จะวิเคราะห์และวางแผนอย่างถูกต้อง ซึ่งจากศักยภาพ ประสบการณ์ของเกษตรกร เทคโนโลยีที่ไทยล้ำหน้ากว่า ในขณะที่ผู้ประกอบการมีความชำนาญด้านการตลาดมากกว่า จะทำให้ไทยสู้อินเดียได้ไม่ยาก”

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า ได้สนับสนุนการดำเนินการ โครงการประชารัฐรักษาเสถียรภาพราคากุ้ง ปี 2561 ด้วยการรับซื้อวัตถุดิบกุ้งหน้าฟาร์มกับเกษตรกรในราคานำตลาดเป็นเวลา 2 เดือน เริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 มิ.ย.-31 ก.ค. 2561 โดยตั้งเป้าการรับซื้อไว้ในปริมาณ 5,000 ตัน ต่อเดือน รวมทั้งสิ้น 10,000 ตัน กำหนดให้เกษตรกรแต่ละรายสามารถขายกุ้งได้ไม่เกิน 10 ตัน ต่อราย ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ได้ตั้งแต่ วันที่ 14-18 พ.ค. นี้

โดยปัจจุบัน ราคากุ้ง ขนาด 70 ตัว ราคากิโลกรัมละ 135 บาท 80 ตัว กิโลกรัมละ 130 บาท ขนาด 90 ตัว และ 100 ตัว กิโลกรัมละ 125 บาท ซึ่งเกษตรกรต้องการราคาที่ กิโลกรัมละ 140 บาท การแก้วิกฤตครั้งนี้เป็นสัญญาณอันตรายที่ทุกห่วงโซ่ต้องปรับตัว เพราะจะเห็นได้ว่าไทยแพ้อินเดียทุกด้าน ทั้งผลผลิตที่ได้ การเติบโตของพื้นที่เลี้ยง ต้นทุนการผลิตที่ไทยสูงกว่า รวมทั้งไทยยังได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่า 10-14% แต่ไทยมีข้อดีคือ การปรับตัวของเกษตรกรได้เร็วกว่าและผู้ประกอบการมีความชำนาญด้านการตลาด ดังนั้น หากทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจัง ไทยจะต่อสู้กับกุ้งอินเดียได้ ในขณะที่ผู้ประกอบการจะไม่ย้ายฐานไปอินเดียอย่างแน่นอน

นายไพโรจน์ อภิรักษ์นุสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า จะให้ความร่วมมือในการลดราคาลูกพันธุ์กุ้งขาวแวนนาไม จากราคา ตัวละ 19 สตางค์ เหลือตัวละ 16 สตางค์ หรือลดลง ตัวละ 3 สตางค์ ลดราคาอาหารกุ้งที่ 25 บาท ต่อถุง ตั้งแต่ วันที่ 1 พ.ค.-30 มิ.ย. นี้ และลดราคาเวชภัณฑ์อื่นๆ ตามนโยบายของสมาคมการค้าปัจจัยการผลิตสัตว์น้ำไทยเป็นเวลา 2 เดือน เริ่มตั้งแต่ วันที่ 2 พ.ค.-30 มิ.ย. นี้
ซึ่งวิกฤตราคากุ้งตกต่ำครั้งนี้ ไทยเป็นประเทศที่ปรับตัวได้เร็วที่สุด ซึ่ง ซีพีเอฟ พร้อมให้ความร่วมมือเพราะเมื่อเกษตรกรอยู่ได้ บริษัทก็อยู่ได้

นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า ได้ประกาศให้บริษัทที่เป็นสมาชิกของสมาคม ปรับลดราคาอาหารกุ้งลง 25 บาท ต่อกระสอบ หรือ 1 บาท ต่อกิโลกรัม เป็นระยะเวลา 2 เดือน เริ่มตั้งแต่ วันที่ 3 พ.ค.-30 มิ.ย.นี้ ซึ่งหวังว่าจะช่วยผ่อนคลายสภาวะการเลี้ยงกุ้งในช่วงนี้ได้ อีกทั้งอยากให้ตระหนักว่าทุกภาคส่วนในห่วงโซ่มีความเชื่อมโยงกัน จึงต้องร่วมมือกันสร้างความเข้มแข็ง สร้างความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้อุตสาหกรรมนี้อยู่รอด

ส.อ.ท. ยิ้มไม่หุบยอดผลิตรถยนต์บวกต่อเนื่องเดือนเมษายนเพิ่มขึ้น 11.87% ได้ 134,779 คัน สวนทางดัชนีฯ เชื่อมั่นอุตฯ แผ่ว เหตุวันหยุดต่อเนื่องส่งผลวันทำงานน้อย ยอดผลิตรถ 4 เดือน 674,469 คัน เพิ่มขึ้น 11.29% คาดปีนี้ได้ตามเป้า 2 ล้านคัน

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในเดือนเมษายน 2561 ยอดผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.87% อยู่ที่ 134,779 คัน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งการผลิตเพื่อส่งออก 11.67% อยู่ที่ 73,108 และการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น 12.11% อยู่ที่ 61,671 คัน

“แนวโน้มการผลิตรถยนต์นั่งและรถกระบะ เพิ่มขึ้นทั้งยอดผลิตเพื่อส่งออก 12.08% และ 11.41% และยอดผลิต—รถยนต์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้ยอดผลิตรถยนต์ในช่วง 4 เดือนของปีนี้ (มกราคม-เมษายน 2561) ผลิตได้ 674,469 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.29% ในช่วงที่เหลือของปีนี้ เชื่อว่าการผลิตรถยนต์ปีนี้ที่ 2 ล้านคัน จะทำได้ตามเป้าหมายที่คาดไว้

คาดการณ์ยอดผลิตเพื่อส่งออกปีนี้ จะเป็นไปตามเป้าหมาย 1.1 ล้านคัน จากในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาผลิตได้ 373,825 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.67% และคาดการณ์ยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศน่าจะสามารถผลิตได้ตามเป้าหมาย 900,000 คัน จาก 4 เดือนที่ผ่านมาผลิตได้ 300,644 คัน เพิ่มขึ้น 19.18%