ต่อมาเจ้ก้อยเห็นพี่ชายปลูกถั่วฝักยาวอยู่หลังบ้านไม่ถึงไร่

เดินออกจากบ้าน 3 ก้าว ก็ถึงแปลงถั่วฝักยาว เก็บได้ทุกวัน พอถึงเวลาก็จะมีพ่อค้ามารับทุกวัน ได้เงินทุกวันไม่ต้องลำบากไปทำนอกบ้าน จึงทำถั่วฝักยาวหลังบ้านบ้าง คราวแรกที่ทำถั่วฝักยาวมีผลผลิตที่ดีและราคาค่อนข้างสูง แต่การปลูกซ้ำๆ ที่ทำให้มีศัตรูพืชระบาดซึ่งต่อมาก็เอาไม่อยู่ จึงเปลี่ยนถั่วฝักยาวเป็นแตงกวา มะเขือ วนเวียนกันไป ในช่วงนั้นสามารถใช้หนี้ได้ไปมากพอสมควร หลังจากนั้น ก็ทำโรงเห็ดภูฏาน ในรุ่นแรกๆ ก็ได้ผลผลิตดี ต่อมาไปได้ก้อนเชื้อที่ไม่ดีจึงเลิกทำกันทั้งบาง ต่อมาหันมาปลูกโหระพา กะเพรา ตลาดค่อนข้างดี เนื่องจากผักเหล่านี้ถูกใช้ในชีวิตประจำวัน

การปลูกพืชบนพื้นที่ซ้ำๆ ทำให้ผลผลิตไม่ค่อยดีนัก ประกอบกับราคาอาจจะไม่จูงใจ จำเป็นต้องเปลี่ยนไปหาสิ่งที่ดีกว่า ในช่วงนี้ลูกก็เริ่มเข้าโรงเรียนต้องใช้เวลาไปรับไปส่ง จึงคิดว่าผักที่ปลูกครั้งเดียวแล้วสามารถเก็บเกี่ยวได้นานน่าจะเป็นสิ่งดี เพราะไม่ต้องปลูกใหม่ขึ้นทุกรอบ เห็นต้นผักแขยงและผักแพว ก็ได้ทดลองนำมาปลูก ซึ่งได้ผลดีแต่ขายไม่ได้จึงต้องไถทิ้ง ต่อมาเกิดน้ำท่วมใหญ่ ผักที่ปลูกในสวนโดนน้ำท่วมตายหมด หลังจากน้ำแห้งเหลือผักแขยงและผักแพวที่เจริญเติบโตขึ้นมาได้อีก พอดีผักทั้งสองอย่างขาดแคลนในตลาด แม่ค้าที่รับซื้ออยู่ก็มาบอกให้ปลูกอีก จึงเป็นที่มาของสวนเกษตรอินดี้

เจ้ก้อยให้แม่ค้าซื้อพันธุ์มา จำนวน 40 กิโลกรัม ก็เอามาขายปลูกทีละ 1 งาน นำต้นพันธุ์จากแปลงแรกขยายไปเรื่อยๆ จนเต็มพื้นที่ 3 ไร่ ก็มีแม่ค้าเจ้าใหม่เข้ามาติดต่อขอซื้ออีก แต่ติดที่แม่ค้าเจ้าประจำที่เคยเอื้อเฟื้อกันจองผลผลิตไว้หมดแล้ว และด้วยสัจจะวาจาที่ตกลงกันไว้แล้ว ทำให้ขายให้แม่ค้าเจ้าใหม่ไม่ได้ เจ้ก้อยจึงขยายแปลงผักแขยงและผักแพวไปปลูกที่หลังบ้านพ่อที่บางเลนซึ่งอยู่ใกล้ๆ กันอีก 3 ไร่ ให้แม่ค้าเจ้าใหม่ จนถึงปัจจุบันเจ้ก้อยมีพื้นที่ปลูกผักแขยงและผักแพว รวมเป็น 6 ไร่ ซึ่งเจ้ก้อยบอกว่าต้องทุ่มเวลาทั้งหมดให้กับสวน ถ้าทำเกินกว่านี้จะไม่สามารถควบคุมผลผลิตให้ดีได้

วิธีการปลูกผักแขยงและผักแพว

วิธีปลูกผักแขยงและผักแพวคล้ายคลึงกัน โดยใช้ซาแรนบังแดด 50 เปอร์เซ็นต์ ทั่วทั้งแปลง ใช้รถทำเทือกเหมือนการทำนาตีดินให้ทั่ว นำต้นผักแขยงหรือผักแพวขนาดประมาณ 1 คืบ ที่ตัดมา จิ้มลงไปในดินนาที่เตรียมไว้ ระยะห่างระหว่างต้นและแถวประมาณ 20 เซนติเมตร เติมน้ำในแปลงให้สูงประมาณ 2 นิ้ว ไม่ให้ท่วมต้นมากเกินไป ขังน้ำไว้ประมาณ 15 วัน ในช่วงนี้หว่านปุ๋ยสูตร 18-8-8 ประมาณ 20 กิโลกรัม ต่อไร่ พอผักกินปุ๋ยได้งามดีก็ไขน้ำออกได้ ใช้วิธีการรดน้ำแทน น้ำที่ใช้ในการรดผักทั้งคู่จะต้องน้ำที่ดีเพียงพอ ในช่วงที่ฝนลงใหม่ๆ จำเป็นต้องรดน้ำล้างใบ ให้น้ำจนแปลงชุ่มน้ำทุกวัน ผักก็จะเจริญเติบโตได้ดี ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ผักจะสูงพอที่จะตัดส่งได้ความสูงของผักแขยงและผักแพวที่ตัดยาวประมาณ 1 คืบ มัดหนังยางเป็นกำ จับเรียงใส่ถุงไว้ ถุงละ 5 กิโลกรัม ระหว่างการดูแลจะใส่ปุ๋ยสูตรเดิมเดือนละครั้ง เมื่อครบ 2 เดือน ก็จะหมุนมาตัดได้อีกที ผักที่ตัดไว้แล้วจะเจริญเติบโตหมุนเวียนได้พอดี

นอกจากปุ๋ยสูตร 18-8-8 ที่หว่านในแปลงแล้ว สวนเกษตรอินดี้ยังใช้ปุ๋ยเกล็ด สูตร 30-10-10 ละลายน้ำฉีดพ่นทุกๆ 15 วัน เพื่อเป็นการเร่งการเจริญเติบโตทางใบอีกทางหนึ่ง ส่วนศัตรูของผักจะมีแมลงหวี่ขาว ไรแดง เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ และหนอนหนังเหนียว ทางสวนเจ้ก้อยจะใช้ยาปราบศัตรูพืชที่มีชื่อสามัญว่า ชีวาท่อน โดยใช้ตามอัตราที่กำหนด จะปราบศัตรูพืชนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อมีการระบาดของแมลง ส่วนยากำจัดโรคพืชจะใช้เพื่อการป้องกันไม่ให้เกิดเพราะถ้าเกิดอาการแล้วจะยากต่อการรักษา โรคที่ว่าคือ โรครากเน่าโคนเน่า โดยใช้ยาชื่อสามัญว่า วาลิปดา 15 วันครั้ง

ทุกวันเจ้ก้อยและคุณฉลองสามีจะตัดผักแขยงและผักแพวตั้งแต่ 7 โมงเช้า จนกระทั่งเกือบเที่ยง เพื่อให้ได้จำนวนผักอย่างละ 50 กิโลกรัม รวมเป็นวันละ 100 กิโลกรัม โดยจะนำใส่รถมาเก็บไว้ที่บ้าน ในช่วงบ่ายของทุกวันจะมีแม่ค้ามารับ 2 เจ้า เพื่อไปส่งตลาดไทและตลาดสี่มุมเมือง ราคาหน้าสวนในปัจจุบันของผักแพว อยู่ที่กิโลกรัมละ 13-27 บาท ส่วนผักแขยงจะมีราคากิโลกรัมละ 10-20 บาท ขึ้นลงตามฤดูกาลและจำนวนผลผลิตมากน้อย ผักแพวจะมีราคาถูกในหน้าหนาว เนื่องจากเจริญเติบโตได้ดี ทำให้ปริมาณผักในตลาดมีมาก ส่วนผักแขยงจะมีราคาแพงในหน้าหนาว เพราะผักแพวจะชะงักการเจริญเติบโตและออกดอก

กว่าจะถึงจุดนี้จะเห็นได้ว่าเจ้ก้อยและคุณฉลองได้ฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย ด้วยความที่รู้จักคิดเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้จุดที่เหมาะสม ประกอบกับเป็นคนที่ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการเกษตรไปเรื่อยๆ ตามสื่อมากมายที่มีอยู่ ปัจจุบันทั้งสองสามีภรรยามีความสุขกับการทำเกษตรแบบอินดี้คือ แบบสบายๆ ไปเรื่อยๆ หนี้สินไม่ต้องพูดถึง เพราะหมดไปนานแล้ว ปัจจุบันนี้ลูกสองคนก็ได้ร่วมช่วยทำงานในเวลาว่างเพื่อแบ่งเบาภาระไปได้ส่วนหนึ่ง

นอกจากการทำสวนผักแขยงและผักแพวแล้ว เจ้ก้อยยังปลูกผักขึ้นฉ่ายไฮโดรโปนิก เลี้ยงแค็กตัส กล้วยไม้แคทลียา เลี้ยงไส้เดือน เป็นงานอดิเรกจากการที่ทำงานหลักอย่างเป็นระบบ ทำให้มีเวลาว่างสำหรับผ่อนคลาย สนใจเรียนรู้เรื่องการปลูกผักแขยง ผักแพว ก็ติดตามได้ในเฟซบุ๊ก ชื่อ บ้านสวนเกษตรอินดี้ หรือติดต่อ คุณจันทร์เพ็ญ เพียรภักดี (เจ้ก้อย) และ คุณฉลอง เพียรภักดี หมู่ที่ 10 ตำบลบัวปากท่า อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม หรือโทรศัพท์ (086) 618-9137 ได้ทุกวัน

“เก็บเอาไว้เถอะเก็บเอาไว้ ยังมีคนต้องการ ผ่านวันนี้มาจากเมื่อวาน ยังมีวันต่อไป…”

บทเพลง รักต้องสู้ ของ วงคาราบาว ดังแว่วมาจากท้องทุ่ง ลมแล้งพัดแผ่วผิว แดดในยามสายส่องแสงร้อนแรง จนต้องสวมเสื้อแขนยาวสวมหมวกมิดชิด ผมมองระยิบแดดที่เริ่มแผดกล้าขึ้น ครอบครัวหนึ่งกำลังง่วนอยู่กับการขุด ล้วง แคะ แหย่ และหยิบ เสียงพูดคุยเย้าแหย่หัวร่อต่อกระซิกมีไม่ขาดสาย “พอได้ครับพี่ คงหลายสิบโคมอยู่ครับ”

“โคม เป็นยังไงหนอ”

“เดี๋ยวไปดูที่บ้านครับ สักพักก็จะพากันกลับแล้ว ต้องไปจัดปูเข้าคีบเข้าโคมรอส่งแม่ค้ากันต่อ” นิวัตร ปรีสมบัติ หนุ่มอีสานลูกเมืองน้ำดำ – กาฬสินธุ์ ผู้ผ่านงานมาสารพัด ตั้งแต่เป็นทหารเกณฑ์ กระทั่งปลดประจำการ แล้วก็หอบหิ้วความรู้ระดับ ม.6 เข้าไปหางานในเมืองกรุง ด้วยความหวังอยากมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตั้งใจว่าจะมุ่งมั่นทำงานเก็บเงิน เผื่อในวันข้างหน้าจะได้สร้างฐานะให้คนในครอบครัวสุขสบายมากขึ้น

ชีวิตเริ่มต้นก็สวยงามด้วยตำแหน่งงานที่ดี หัวหน้างานจะเลื่อนตำแหน่งงานที่สูงขึ้นให้พร้อมกับเงินเดือนที่มากขึ้น แต่โลกที่ไม่รู้ใครลิขิตก็ทำให้ชีวิตต้องหักเหอีกครั้ง อีสาวบ้านนาผู้ที่วาดหวังในอนาคตร่วมกันไม่รอแล้ว ขอไปมีครอบครัวที่สุขสบายมากกว่า นิวัตรต้องอกหักพร้อมกับสิ้นหวังในความรักครั้งนั้น ส่งผลให้ต้องลาออกจากงานในที่สุด

กะว่าจะกลับไปเลียแผลใจอยู่บ้านเกิด เงินที่ติดตัวมาก็หมด อนาคตก็ไม่รู้จะไปในทิศทางใด น้องสาวก็มาชวนไปทำงานที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี ทำไปได้ไม่นานบริษัทก็เจอมรสุมเศรษฐกิจต้องเชิญออก พร้อมคำมั่นว่า “หากเศรษฐกิจดีจะรับเข้ามาทำงานเหมือนเดิม”

ตกงานอีกครั้ง แต่ครานี้กลับไม่เจ็บแบบเดิม สาวน้อยช่างฝันคนหนึ่งอาสามาเป็นกำลังใจ พากันไปสมัครงานตามบริษัทต่างๆ ในละแวกนั้น ซึ่งในช่วงฟองสบู่แตกการหางานมิได้ง่ายนัก แต่คนเราคงถูกฟ้าทดสอบใจ เมื่อมีความมุ่งมั่นการหางานใหม่ก็ประสบผลสำเร็จ แม้เงินจะได้ไม่มากเท่าบริษัทเดิม แต่การได้งานทำก็เป็นความหวังหนึ่งในการหารายได้ เพราะในตอนนี้นิวัตรมิได้อยู่คนเดียวแล้ว โสภิตา แซ่ล้อ คือสาวน้อยผู้ที่มาเติมเต็มชีวิตในยามที่คิดว่าตกต่ำในขณะนั้น

สองคนช่วยกันทำมาหากิน ภรรยาสาวเลิกงานในยามเย็นก็ทำขนมไปขายที่ตลาดนัด สามีเลิกงาน 2 ทุ่ม ก็ไปช่วยเก็บของกลับบ้าน ช่วยกันอยู่เช่นนี้จนกระทั่งบริษัทเดิมเรียกตัวกลับไปทำงานอีกครั้ง คราวนี้ทั้งสองมีความมั่นคงทางด้านการงานและการเงินมากขึ้น จนซื้อบ้านอยู่ที่นั่น

“ตอนนั้นเรียกว่าทุกอย่างกำลังดีขึ้นนะ”

“ใช่ครับพี่ ผมได้รับการบรรจุเป็นพนักงาน และเราสองคนก็แต่งงานกันตามประเพณีแล้ว ก็เลยมาคิดเรื่องความมั่นคง เราต้องมีบ้านของเราเอง ก็เลยตัดสินใจซื้อครับ” ด้วยความที่เกิดและเติบโตมากับการเป็นลูกเกษตรกร เมื่อมีบ้านอยู่ก็ต้องคิดถึงเรื่องอาหารการกิน ประกอบกับในช่วงนั้นมะนาวราคาดีมาก นิวัตรจึงมองหาช่องทางสร้างอาชีพเสริม ไปซื้อกิ่งตอนมะนาวจากสวนหนึ่งในชลบุรี แบ่งส่วนใหญ่ไปปลูกที่กาฬสินธุ์ และเหลือไว้ 3 ต้น ปลูกอยู่หลังบ้านที่ชลบุรี วันดีคืนดีเพื่อนมาเห็นก็อยากได้บ้าง จึงไปที่สวนนั้นอีกครั้งแต่เจ้าของสวนไม่มีของขาย

“ทำไม่ทันครับพี่ แกมียอดจองข้ามปีเลย”

“แล้วเราทำยังไง”

“ผมก็เลยพูดเล่นกับแก เอางี้ไหมพี่ ผมตอนกิ่งมาขายให้พี่”

“แกว่าไง”

“แกโอเคสิครับ แต่หนักที่ผมแหละ ชีวิตไม่เคยตอนต้นอะไรเลย ผมจะทำได้ไหมหนอ ก็เลยเปิดเว็บ ยูทูบ ศึกษาและทำตามวิธีที่เขาบอก ผมเริ่มตอน 3 กิ่ง”

“สำเร็จไหม”

“100% ครับพี่ รากออกสวยงามมาก เพื่อนมาเห็นขอซื้อไปหมดเลย นั่นเป็นก้าวแรกที่ผมมองเห็นโอกาสในการเป็นคนทำกิ่งพันธุ์พืชขายหารายได้” ทุกอย่างกำลังเดินหน้าไปด้วยดี งานเดินเงินดี รายได้พิเศษก็มา ที่สำคัญมีลูกสาวหนึ่งคน – น้องฟ้าใส สองคนเริ่มคิดเรื่องอนาคตอีกครั้ง เพราะมองเห็นแล้วว่าปลูกต้นไม้ไว้ขายพันธุ์น่าจะดี เผื่อวันข้างหน้าก็จะเป็นรายได้หลักต่อไป จึงเริ่มซื้อต้นไม้ต่างๆ ไปปลูกที่สวนโดยมีพ่อดูแล แต่ก็ไม่ได้เป็นดังที่ใจต้องการนัก เพราะพ่อก็ไม่แข็งแรง ไม่ได้ดูแลต้นไม้อย่างที่ควร จะเป็นทำให้ต้นไม้เสียหายไปมาก จึงกลับมาปรึกษากัน โดยนิวัตรตัดสินใจจะกลับไปอยู่ที่บ้าน ให้ลูกเมียอยู่ที่ชลบุรี

“ผมรอโบนัสออก เพื่อได้เงินสักก้อนไปเริ่มต้นที่บ้านครับพี่”

“แล้วเป็นไง ดีไหม”

“ก็ดีครับพี่ ผมอยู่กาฬสินธุ์ ลูกเมียอยู่ชลบุรี เดินทางไปมาหาสู่กัน รับของจากกาฬสินธุ์มาขายที่ชลบุรีด้วย”

“แล้วไปไงมาไงถึงโยกกันมาทั้งบ้านเลย”

“น้องฟ้าใสนี่แหละพี่ เวลาผมจะกลับก็ร้องไห้ตามพ่อ ไอ้ผมก็น้ำตาไหลคิดถึงลูก ก็เลยตัดสินใจกันอีกรอบ ยกมาอยู่ด้วยกันพร้อมหน้าดีกว่า”

“ไหวหรือ เคยรับเงินเดือนแล้วตอนนี้ไม่มีแล้วนะ”

“ต้องได้ครับพี่ บ้านผมอยู่ไม่ไกลจากอ่างเก็บน้ำห้วยสีทน กุ้ง หอย ปู ปลา หากินง่าย ก็ปลูกผักไว้กินไว้ขาย ผมก็ขุดปู รับจ้างตัดยูคา เผาถ่านหารายได้ พอมีเวลาว่างก็ตอนกิ่งไม้ไว้ขายอีกทางหนึ่ง” “พี่สนใจหลายเรื่อง แต่วันนี้ถามเรื่องปูนา”

“คือที่นาของเราไม่ใช้ยาฆ่าปู ทำให้ถึงเวลาแล้งปูก็ขุดรูอยู่เต็มไปหมดครับพี่ ผมก็มาคิดว่าจะสร้างรายได้จากตรงนี้ได้อย่างไร”

“ก็เลยกลายเป็นพ่อค้าขายปูนาขุด”

“ใช่พี่ ขุดปูมา พอช่วงแดดร้อนเราก็เข้าบ้าน จับปูเข้าคีบ จากคีบก็เข้าโคม จะมีแม่ค้ามารับไปขายต่อที่กรุงเทพฯ ครับ”

“รายได้เป็นยังไงบ้าง”

“หามากได้มากครับพี่ แต่อย่างน้อยก็พอได้ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าขนม น้องฟ้าใสนั่นแหละครับ”

“เขาซื้อปูนาไปทำอะไรบ้างน่ะ”

“พี่เคยกินแบบไหนครับ”

“ปูดอง มีเมนูอะไรอีกไหม”

“หลายเมนูครับพี่ ลาบปู อ่อมปู ป่นปู ปูย่าง ปูทอด อ่องปู รับรองว่าอร่อยทุกเมนู” ในช่วงหน้าฝน ชาวบ้านจะหาปลาเป็นอาชีพหลักกันอย่างมากมาย เพราะใกล้อ่างเก็บน้ำ ทำให้นิวัตรและครอบครัวมีกิจกรรมหารายได้ไม่เว้นแต่ละวัน นอกจากนั้น ยังปลูกดาวเรืองตัดดอกส่งขายให้แม่ค้าขายพวงมาลัยในตลาดอีก ฝ่ายภรรยาก็ทำขนมส่งขายตามร้านค้าเพื่อเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง เรียกว่าบ้านนี้ไม่เคยมียามว่างกันเลยทีเดียว

“ตอนนี้มีอะไรขายบ้างเนี่ย”

“ผมเริ่มขายของทางออนไลน์แล้วครับพี่ สั่งมาได้ทุกอย่าง ปูนา ขนมดอกจอก ปลาส้ม ปลาแดดเดียว ปลาร้า”

“แล้วเรื่องพันธุ์ไม้”

“ก็มีหลายอย่างครับ มะนาว ฝรั่งสายพันธุ์ดีๆ พุทรา ชมพู่ น้อยหน่า ส่วนมากที่สวนผมมีไม้ผลจากไต้หวันหลายอย่างครับ”

“แล้วผัก ยังปลูกขายอีกไหม”

“รายได้ประจำวันเลยพี่ เก็บผักขายทุกวันแหละ”

“แล้วบ้านที่ชลบุรี”

“ให้เช่าครับพี่ พอได้เก็บค่าเช่าไว้ให้น้องฟ้าใสได้เรียน เป็นสมบัติให้ลูกครับ”

“ทำแบบนี้ มีคนมาพูดอะไรให้ได้ยินไหม”

“เยอะพี่ มีคนดูถูกไว้เยอะ แต่ผมก็ไม่สนใจหรอก ผมทำเพื่อครอบครัว กลับมาบ้านมาดูแลพ่อแม่ มีครอบครัวลูกเมียอยู่พร้อมหน้า เท่านี้ก็มีความสุขแล้วพี่” “เรื่องอาหารการกิน”

“ไม่ยากครับ บ้านผมกินไม่ยาก ข้าวมี ผักมี ปลามี อยากกินอะไรก็หามากินได้ไม่ยากครับ”

“เหนื่อยบ้างไหม”

“รักต้องสู้ครับพี่ เหนื่อยแค่ไหนก็ผ่านไปได้สบายมาก”

“ขอเบอร์ติดต่อด้วยนะ”

“ได้เลยครับ สนใจอยากอุดหนุนอะไรโทร.หาได้ครับพี่ (098) 826-1920 หรือเข้าเฟซ นายนิวัตร ปรีสมบัติ ครับ จำได้ว่าสมัยก่อน ผักหวานป่า หากินยากมาก เพราะจะมีอยู่แต่ในป่าและได้กินเฉพาะช่วงหน้าร้อน-หน้าฝน เท่านั้น แต่หลายปีมานี้มีการนำเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่ามาปลูกกันอย่างแพร่หลาย ทำให้ผู้ที่ชื่นชอบผักชนิดนี้มีกินได้ตลอดทั้งปี ในราคาที่จับต้องได้

สวนผักหวานป่า อมรฟาร์ม ตั้งอยู่เลขที่ 5 หมู่ที่ 2 ตำบลโพนสุง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เป็นอีกแห่งที่ปลูกผักหวานป่าขายทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นฤดูไหนก็ตาม โดยมี คุณพิมพ์พกานต์ ซ้ายกาละคำ อดีตพยาบาลสาว เป็นเจ้าของ ซึ่งในสวนนี้มีเนื้อที่ 23 ไร่ นอกจากจะปลูกผักหวานป่า 6.5 ไร่ ยังแบ่งปลูกพืชผักผลไม้อื่นๆ อีก อาทิ ไผ่บงหวาน 6.5 ไร่ ปลูกข้าว รวมถึงมะม่วง มะขามเทศ หม่อน ฝรั่งไส้แดง มะเดื่อฝรั่ง สมุนไพรหลากหลาย พืชผักสวนครัวนานาชนิด และเห็ดขอนขาว

แปรรูปผลผลิตเพื่อสุขภาพ
สวนแห่งนี้ใช่จะขายใบผักหวานป่าอย่างเดียว ยังขายเมล็ดพันธุ์และกิ่งพันธุ์ด้วย และยังนำพืชผักผลไม้ในสวนมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าด้วย อย่างเช่น น้ำมัลเบอรี่ มัลเบอรี่ไซรัป แยมหม่อน ชาใบหม่อนขาว ชาใบมะเดื่อฝรั่ง ข้าวโปร่งหม่อน ฯลฯ ใช้ชื่อแบรนด์ “แอนนา” เรียกว่าเป็นสวนที่ทำตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเลยทีเดียว

เดิมนั้น คุณพิมพ์พกานต์ ทำงานเป็นพยาบาล อยู่ที่โรงพยาบาลกรุงเทพฯ และเป็นพยาบาลอิสระ รวมระยะเวลากว่า 10 ปี กระทั่งเริ่มสนใจการทำเกษตรอย่างจริงจังเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว แรงจูงใจที่อยากมาทำเกษตร เนื่องจากเจ้าตัวมองแล้วว่าคนต้องกินอาหารทุกวัน การทำธุรกิจอาหารและการเกษตรน่าจะเหมาะกับยุคปัจจุบันที่พืชผักอาหารราคาแพงขึ้น ในส่วนของราคาผักหวานป่าก็แพง ตกกิโลกรัมละ 300-500 บาท ถือว่าสูงมากทีเดียว อีกทั้งยังนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงเลียง แกงจืด แกงส้ม เป็นต้น

ขณะเดียวกันก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2551 ทางครอบครัวได้ลองปลูกผักหวานป่า เพราะเห็นว่าคนอีสานชอบกินแกงผักหวานป่ามาก อีกทั้งคนในพื้นที่ยังไม่มีใครปลูกได้ ดูแล้วมีตลาดรองรับแน่นอน และได้ไปดูแนวทางการปลูกผักหวานป่าจากอำเภอบ้านหมอ จังหวัด สระบุรี จากนั้นสั่งเมล็ดพันธุ์มาเพาะกล้า หลังจากปลูกผักหวานป่ามาได้สัก 7 ปี พ่อก็เสียชีวิต ทำให้แม่ต้องดูแลสวนผักหวานป่าคนเดียว คุณพิมพ์พกานต์จึงได้เข้ามาช่วยงานในสวนเต็มตัว และยังเน้นการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยใช้ผลผลิตในสวนมาทำทั้งหมด

คุณพิมพ์พกานต์ เล่าว่า ช่วงแรกได้ใช้เงินลงทุน ประมาณ 500,000 บาท ลงทุนปลูกผักหวานป่า 6.5 ไร่ เนื่องจากที่ดินแปลงปลูกไม่มีไฟฟ้าและแหล่งน้ำ ต้องขุดสระ 2 สระ ประมาณ 1 ไร่ แล้วนำดินไปถมในพื้นที่ลุ่มต่ำ และใช้เงินในการปลูก เตรียมเมล็ดพันธุ์ เครื่องสูบน้ำ 2 ตัว ค่าแรงงานปลูกและดูแลอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ได้เริ่มเก็บผักหวานป่าเมื่อเข้าปีที่ 5 ผักหวานป่าเริ่มโตเต็มที่ คาดว่าจะได้เงินทุนคืนภายในปีนี้ และปีหน้ามีเป้าหมายจะได้ผลผลิตจากผักหวานป่า 500,000 บาท ต่อปี

“หลังจากดิฉันได้ทำการตลาดออนไลน์ เพื่อโปรโมตสวนผักหวานป่าให้คนในพื้นที่ได้รู้จักเพิ่มมากขึ้น ปรากฏว่าได้รับเสียงตอบรับจากลูกค้าในชุมชนทั่วอำเภอและทั้งจังหวัด มีออเดอร์จองผักหวานป่ากันข้ามวัน ลูกค้าต้องเข้าคิวรอ แจ้งจองล่วงหน้ากัน 1-2 วัน ลูกค้ากินแล้วติดใจผักหวานป่ายอดอ่อนๆ เก็บสดใหม่ทุกวัน ซึ่งต้องตื่นตั้งแต่ตี 4 ถึงตี 5 ทุกวัน เพื่อเก็บผักหวานป่าให้ทันออเดอร์ ซึ่งทำให้มีรสชาติหวาน หอม กรอบ อร่อย และลูกค้าต่างบอกปากต่อปากว่า ถ้าจะกินแกงผักหวานป่าให้อร่อยต้องซื้อจาก อมรฟาร์มเท่านั้น”

คุณพิมพ์พกานต์ บอกด้วยว่า ผักหวานป่านอกจากจะทำเป็นอาหารได้หลายเมนูแล้ว คนโบราณยังนิยมนำมาทำยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคได้หลายชนิด เนื่องจากเป็นพืชที่มีโปรตีน วิตามินซี และใยอาหารสูง ช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน และช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี ในส่วนของรากผักหวานป่า สามารถนำมาต้มเพื่อแก้อาการปวดมดลูกและแก้ดีพิการ อีกทั้งแก่นต้นผักหวานนำมาต้มน้ำดื่มแก้อาการปวดตามข้อ

สำหรับชาผักหวานป่า มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็ง เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินซี และสารประกอบฟีนอลิก ดื่มง่าย ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย

เทคนิคการปลูกผักหวานป่า
คุณพิมพ์พกานต์ ยังได้แจกแจงเทคนิควิธีการปลูกและการดูแลผักหวานป่าเพื่อให้ออกตลอดทั้งปีว่า ทางฟาร์มเน้นปลูกจากการเพาะเมล็ดเป็นหลัก เนื่องจากจะได้ต้นผักหวานป่าที่มีรากเดินดีและแข็งแรง อีกทั้งจะมีชีวิตอยู่ได้นานเป็น 100 ปี สามารถเก็บผลผลิตได้ชั่วลูกชั่วหลาน

สำหรับขั้นตอนการปลูกก็ไม่ยาก เริ่มจาก

1. รองก้นหลุมด้วยขี้วัว

2. ปลูกหลังจากเพาะกล้าเมล็ดได้สัก 1 เดือน

3. ขุดหลุมปลูกไม่ต้องให้ลึกมาก

4. ระยะปลูกที่แนะนำ 1×1 เมตร จะได้จำนวน 400 ต้น ต่อไร่ และระยะ 2×2 เมตร จะได้ 200 ต้น ต่อไร่

5. ต้นอ่อนต้องครอบด้วยกระถางหรือเข่งไม้ไผ่ ให้ต้นกล้าผักหวานป่าต้นอ่อนโดนแสงแดดน้อย เป็นเวลา 1 ปี

6. หลังปลูกเสร็จ ต้องให้น้ำประมาณ 1 เดือน ก่อนที่ฤดูฝนจะมาถึง

7. ในฤดูกาลแตกยอดเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมของทุกปี ในช่วงที่ต้องการให้ผักหวานป่าออกยอด ควรตัดแต่งกิ่ง

8. ให้ขี้วัว ขี้หมู ขี้ไก่ ปีละ 2-3 ครั้ง

9. พ่นน้ำหมักชีวภาพหัวปลีฉีดพ่นยอดผักหวานป่า จะทำให้ยืดยาวได้น้ำหนัก

ช่วงที่เหมาะแก่การปลูกในพื้นที่ราบดอนประมาณเดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคม เมื่อได้รับน้ำสม่ำเสมอผักหวานป่าจะเจริญเติบโตเร็ว ถ้าพื้นที่ปลูกเป็นเนินเขา ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูก จะต้องปลูกประมาณเดือนมิถุนายน ซึ่งเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน

เจ้าของอมรฟาร์มบอกว่า สมัคร UFABET การปลูกผักหวานป่าหลายคนบอกว่า ปลูกง่าย ดูแลยาก ตายง่าย โตช้า มีแนวโน้มตายมากกว่ารอด แต่จากประสบการณ์หลายปีที่ผ่านมาของทางฟาร์ม ค้นพบเทคนิคการปลูกผักหวานป่าให้รอด และโตไวด้วยวิธีธรรมชาติแบบง่ายๆ ดังนี้

1. ปลูกในพื้นที่ป่าที่มีอยู่แล้ว เช่น ป่าเต็งรัง สวนป่า

2. ผักหวานป่าชอบแดดรำไร ชอบมีต้นไม้พี่เลี้ยง เช่น ตะขบ มะขามเทศ ยางนา ขี้เหล็ก มะม่วง ประดู่

3. ที่ดินเหมาะแก่การปลูก ต้องเป็นที่เนิน ดอน ภูเขา น้ำไม่ท่วมขัง

4. การบริหารจัดการน้ำเป็นสิ่งสำคัญในการปลูกผักหวานป่า เช่น ห้ามน้ำท่วมขัง ให้น้ำในหน้าแล้ง ต้องวางระบบน้ำให้ดี

สำหรับการดูแลต้นผักหวานป่าให้ได้ใบดกและดี มีหลายปัจจัยที่ต้องระมัดระวัง อย่างเช่น ระวังหนู และแมงอีนูน หนอนจาะแทะต้น ระวังน้ำขัง รากเน่า ฝนฟ้าพายุ และระวังอย่าเหยียบหรือกระแทกต้นผักหวานบ่อยๆ

คุณพิมพ์พกานต์ ให้ข้อมูลอีกว่า ด้วยความที่ดินเป็นที่ราบดอน การบริหารจัดการน้ำเป็นสิ่งจำเป็น จึงขุดสระน้ำและเจาะบ่อบาดาลไว้ใช้ พอถึงหน้าแล้งก็บริหารจัดการน้ำด้วยระบบสปริงเกลอร์ หน้าฝนก็คอยดูแลไม่ให้น้ำท่วมขัง เพราะถ้าปล่อยให้น้ำแช่ขังจะทำให้รากเน่า ต้นผักหวานจะตายได้ ที่สำคัญต้องคอยตรวจว่ามีหนอนเจาะต้นผักหวานป่าหรือไม่ เพราะแมลงหนอนร้ายจะมากับพวกปุ๋ยขี้ไก่

แรกทีเดียวนั้น ทางอมรฟาร์มปลูกผักหวานป่า 6.5 ไร่ แต่ปีนี้ได้เพิ่มมาเป็น 10 ไร่ เนื่องจากที่ผ่านมาผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าพืชชนิดนี้ต้องมีพืชพี่เลี้ยงด้วย โดยทางฟาร์มปลูกมะม่วง หม่อน และฝรั่ง เป็นพืชพี่เลี้ยง

เล็งทำท่องเที่ยวฟาร์มสเตย์
คุณพิมพ์พกานต์ ระบุว่า เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพมาตรฐาน เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าผักหวานป่าอมรฟาร์มปลอดสารพิษแน่นอน จึงได้มองถึงการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย (GAP) ซึ่งทางสวนอยู่ระหว่างดำเนินการขอใบอนุญาต การรับรองมาตรฐาน GAP จากกรมวิชาการเกษตร

สำหรับการแข่งขันทางการตลาดในเพื้นที่ คุณพิมพ์พกานต์ ระบุว่า มีผักหวานป่าราคาถูกจากสระบุรีเข้ามาตีตลาดมาก แต่ด้วยคุณภาพของผักหวานป่าอมรฟาร์มที่สวนเก็บใหม่สดทุกวัน รสชาติดีกว่าผักหวานสระบุรี และปลอดสารพิษแน่นอน จึงได้รับความนิยมมากกว่าผักหวานสระบุรี