ต่อมาในเรื่องการผสมเกสร ต้องยอมรับว่าทุเรียนเทศใช้แมลง

ในการผสมเกสรน้อยมาก เนื่องจากว่าทางสวนได้เลี้ยงผึ้งเพื่อใช้ในการผสมเกสรแทน ถือเป็นตัวช่วยที่สำคัญ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับทางสวน ซึ่งนับตั้งแต่ต้นทุเรียนออกดอกแล้วจะต้องนับไปอีกประมาณ 100 วัน ถึงจะเก็บผลผลิตได้ เฉลี่ยต่อต้นต่อปีที่ 200 ลูก และกิ่งละไม่เกิน 2 ลูก นอกจากนี้ ต้นทุเรียนเทศยังสามารถให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ที่แตกต่างจากสวนอื่นๆ เนื่องจากว่าทางสวนไร่ทรัพย์ทวีไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น ทำให้ต้นทุเรียนเทศมีความสมบูรณ์ แข็งแรง นำไปสู่ผลผลิตที่ได้ทั้งคุณภาพและราคาที่พึงพอใจ

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าต้นทุเรียนเทศจะเป็นพืชตระกูลน้อยหน่า แต่ถ้าได้ขึ้นชื่อว่าทุเรียน แน่นอนการทำการตลาดจึงไม่ยากสักเท่าไร เพราะที่ผ่านมาก็สามารถพาชื่อ ทุเรียนเทศเข้าไปอยู่ในกลุ่ม ตลาด Modern Trade ซึ่งเป็นตลาดค้าปลีกสมัยใหม่ เป็นระบบการค้าที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการวางจำหน่ายในตลาด อ.ต.ก.(องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร) อีกด้วย รวมไปถึงการส่งออกไปยังต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออก สหรัฐอเมริการ หรือแม้กระทั่งประเทศใหญ่อย่างจีน ซึ่งทั้งตลาดการขายทั้งหมดที่ได้กล่าวมาเมื่อข้างตันนั้นต่างก็มีราคาในการวางจำหน่ายหรือส่งออกที่แตกต่างกัน ส่วนราคาที่ขายตามตลาดทั่วไปจะตกอยู่ที่ กิโลกรัมละ 50-60 บาท และราคาตามตลาด Modern Trade และ ตลาด อ.ต.ก.(องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร) อยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 100 บาทขึ้น อยู่กับขนาดของลูกทุเรียนเทศ ถือเป็นอีกหนึ่งประตูสู่ความสำเร็จที่สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน

“การทำการตลาดของทุเรียนน้ำ ตอนนี้เราขายในตลาด Modern Trade และพวกตลาด อ.ต.ก. รวมไปถึงขายให้กับ Agency ที่มีการส่งสินค้าออกนอกประเทศด้วย เช่น ส่งออกไปยังกลุ่มประเทศอาหรับ สหรัฐอเมริกา และประเทศจีน ราคาก็จะสูงกว่าท้องตลาดทั่วที่ขายในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช คิดเป็นกิโลกรัมละ 50-60 บาท แต่ตลาดที่มีการส่งออกไปยังตลาด Modern Trade หรือตลาด อ.ต.ก. ก็จะสูงถึง 100 กว่าบาท” คุณทวี บอก

ทั้งนี้ ทางสวนไร่ทรัพย์ทวี ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่พร้อมจะให้ความรู้แก่ผู้ที่ชื่นชมอยากจะศึกษาวิธีปลูกทุเรียนเทศ หรือศึกษาหาความรู้ในการนำทุเรียนเทศไปแปรรูปต่างๆ เพื่อให้เกษตรกรมีการงานที่ดีและการันตีรายได้ที่มั่นคงต่อไป

วันนี้สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด ใช่เพียงเป็นผู้ปลูกพืชผักผลไม้อินทรีย์ป้อนตลาดเท่านั้น แต่ยังได้รับการยกย่องจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในฐานะ “สวนเกษตรอินทรีย์ต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นต้นแบบของสหกรณ์ที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ฉะนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่มีคณะต่างๆ ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนแวะเวียนมาศึกษาดูงานอยู่ประจำ เพราะถือเป็นสหกรณ์อีกแห่งที่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะในเรื่องของเกษตรอินทรีย์

ขณะที่สหกรณ์ก็ทำอีกหลายธุรกิจที่ต่อเนื่องกับงานเกษตรอินทรีย์เพื่อให้ครบวงจร ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ส่งผลให้สมาชิกมีชีวิตที่ดีขึ้นและมีความสุข

เรียนรู้จากประสบการณ์จริง

สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด ก่อตั้งเมื่อปลายปี 2546 อยู่ที่ ตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50210 ปัจจุบันมีสมาชิกเกือบ 300 ราย ซึ่งทั้งหมดล้วนผ่านการอบรมเพิ่มความรู้ในการปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์ เริ่มตั้งแต่การปรับปรุงดิน การปลูกพืชผักแบบเกษตรอินทรีย์ การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ เพื่อความยั่งยืนของเกษตรกร ตลอดจนการพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพื่อเพิ่มมูลค่า ด้วยการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แยมลูกหม่อน แชมพูน้ำยาล้างจาน ซีอิ๊วขาว เต้าเจี้ยวอินทรีย์ เมล็ดธัญพืชต่างๆ และชาสมุนไพร เป็นต้น ฯลฯ

คุณดวงรัตน์ ญานะ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด เล่าที่มาที่ไปของสหกรณ์แห่งนี้ว่า เกิดจากบทเรียนของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เชียงใหม่ ลำพูน ที่ได้รับผลกระทบในระบบเกษตรเชิงเดี่ยว ซึ่งต้องพึ่งพิงปัจจัยการผลิตภายนอกไร่นาและชุมชน เกษตรกรต้องใช้ต้นทุนในการผลิตสูง เป็นสาเหตุที่ทำให้เกษตรกรยากจน มีหนี้สินเพิ่มขึ้น สุขภาพร่างกายทรุดโทรมจากการทำงานหนัก และพิษภัยของสารเคมี สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย ขณะที่อาหารกลายเป็นแหล่งสะสมของสารพิษต่างๆ

เมื่อเห็นปัญหาร่วมกัน ช่วงแรกได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มเครือข่ายที่ผลิตเกษตรอินทรีย์ พร้อมตั้งเป็นชมรมผู้ผลิตพืชผักปลอดสารพิษเชียงใหม่ ลำพูน ซึ่งไม่ได้ประกอบธุรกิจในเชิงกำไรทางการเงิน แต่เน้นการส่งเสริมให้สมาชิก ผลิตเอง ขายเอง ในรูปแบบของตลาดนัดเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดช่องว่างของพ่อค้าคนกลาง ให้กำไรสู่เกษตรกรผู้ผลิตโดยตรง

จากนั้นกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เชียงใหม่ ลำพูน จึงเห็นพ้องร่วมกันให้ยกระดับกลุ่มเป็นสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด โดยจดทะเบียนเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2546 เพื่อดำเนินงานการผลิต แปรรูป และขาย ในระบบเกษตรอินทรีย์

สหกรณ์ดังกล่าวดำเนินธุรกิจ 6 ธุรกิจด้วยกัน ดังนี้ ธุรกิจแปรรูปผลผลิตและผลิตสินค้า, ธุรกิจรวบรวม, ธุรกิจสินเชื่อ, ธุรกิจรับฝากเงิน, ธุรกิจรวบรวมผลผลิต และธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย

หลากหลายมาตรฐาน

ที่ผ่านมาสหกรณ์ได้ส่งเสริมสมาชิกปลูกพืชผักผลไม้อินทรีย์ ส่วนใหญ่เน้นผักพื้นบ้านและผักสวนครัว และผลไม้ส่วนหนึ่ง รวมถึงยังส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวอินทรีย์ประเภทต่างๆ อาทิ ข้าวกล้องและข้าวไรซ์เบอร์รี่ พร้อมกันนี้ได้นำไปแปรรูปด้วย ซึ่งสหกรณ์ได้จัดหลักสูตรการเรียนรู้ เรื่องการผลิตในระบบอินทรีย์ให้กับสมาชิกด้วย อย่างเช่น การผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนในครัวเรือน และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

การทำเกษตรอินทรีย์ของสมาชิกแต่ละรายนั้น พูดได้ว่าเกือบทั้งหมด ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงเป็นแบบอย่าง โดยเริ่มจากการขุดร่อง ปลูกหญ้าแฝก และขุดร่องทำสวน เริ่มแรกก็ปลูกพืชผักผลไม้ไว้กินเอง ต่อมาเมื่อมีผลผลิตเหลือก็นำไปขาย โดยเฉพาะพวกพืชผักสวนครัว ไม่ว่าจะเป็นผักกาด คะน้า กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ถั่วพู ถั่วลันเตา พริกขี้หนู จิงจูฉ่าย ผักบุ้ง ผักตามฤดูกาล หรือผักเมืองหนาว เป็นต้น นอกจากนี้ เกษตรกรยังปลูกไม้ผลชนิดต่างๆ อย่างเช่น มะม่วง ลำไย กล้วย มะพร้าว หม่อน อัญชัญ เสาวรส ซึ่งเมื่อขายผลสดแล้ว ยังสามารถนำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าได้อีกด้วย

ในการทำเกษตรอินทรีย์ของสมาชิกสหกรณ์นั้น คุณดวงรัตน์แจกแจงว่า มีหลายมาตรฐานทั้งที่ได้มาตรฐาน PGS มาตรฐานไอฟ่ม มาตรฐาน มอก. และมาตรฐาน มอน. (มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ)

ผลิตภัณฑ์เด่นอย่างหนึ่งของสหกรณ์ก็คือ ซีอิ๊วขาวอินทรีย์ ที่ใช้วัตถุดิบถั่วเหลืองอินทรีย์ ใช้ชื่อแบรนด์ “ช้อนทอง” ซึ่งเป็นผลผลิตของเครือข่ายสหกรณ์ เป็นสินค้าที่ขายดีและจะทำก็ต่อเมื่อมีลูกค้าสั่ง อย่างเช่น ทางเลมอน ฟาร์ม สั่งทำ ซึ่งวิธีการหมักถั่วเหลืองนั้นใช้วิถีหมักตามธรรมชาติ ไม่มีวัตถุกันเสียหรือสารกันบูดมาเจือปน ที่สำคัญมี อย. รับรอง ได้มาตรฐานการผลิต

ช่องทางการตลาด

สำหรับช่องทางตลาดนั้นมีหลากหลาย อาทิ ตลาดนัดเกษตรอินทรีย์ ขายที่ตลาดจริงใจ เจ เจ มาร์เก็ต เชียงใหม่ ในวันเสาร์-อาทิตย์ ส่วนตลาดเกษตรอินทรีย์ในโรงเรียน มีที่โรงเรียนดาราวิทยาลัย, โรงเรียนปริ้นส์รอแยลวิทยาลัย ขายในวันพุธ และวันศุกร์, ที่ข่วงเกษตรอินทรีย์ ขายวันจันทร์, วันอังคาร, วันพฤหัสบดี, ตลาดอินทรีย์หมู่บ้านแลนด์แอนด์เฮาส์ แม่โจ้ ขายวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ตลาดอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขายวันจันทร์, วันพุธ, วันศุกร์ และยังนำสินค้าไปขายให้กับเครือข่ายร้านค้าสหกรณ์ในจังหวัดและต่างจังหวัดด้วย รวมถึงยังจำหน่ายผ่านช่องทางเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก และไลน์

ในเรื่องราคา คุณดวงรัตน์ยอมรับว่า ราคาสินค้าผลผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์จะสูงกว่าในระบบเคมีทั่วไป ประมาณ 15% แต่เมื่อเทียบกับในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตแล้วถือว่าราคาไม่แพงเลย เมื่อเทียบกับระบบเคมีที่มีการผลิตง่ายกว่ามาก แถมมีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนจากพิษภัยของสารเคมี

คุณดวงรัตน์ เล่าให้ฟังว่า สหกรณ์ได้ทำงานร่วมกับทางสามพรานโมเดลในหลายส่วนด้วยกัน อาทิ ผ่านระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม PGS แล้วเชื่อมโยงเข้าสู่ในระบบอื่นๆ เช่น ระบบตลาดเกษตรอินทรีย์ และการขับเคลื่อนระบบอาหารอินทรีย์ ผ่านการท่องเที่ยววิถีอินทรีย์ (organic tourism) ซึ่งเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบ สู่การขับเคลื่อนในระดับเครือข่ายร่วมกัน

คุณดวงรัตน์แจกแจงถึงปัญหาอุปสรรคของการปลูกแบบอินทรีย์ว่า มีหลายประการ อย่างแรกคือ ขาดองค์ความรู้ในระบบเกษตรอินทรีย์ เช่น ความรู้ในด้านการผลิต การแปรรูป การตลาด และระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์ 2. ขาดการเชื่อมโยงในการทำงานในระบบเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ 3. ขาดการรวมกลุ่ม เครือข่าย ทำให้ไม่มีอำนาจต่อรองกับพ่อค้าคนกลาง ถูกเอารัดเอาเปรียบ และ 4. ขาดความมุ่งมั่น แรงจูงใจระหว่างการทำเกษตรอินทรีย์ ทำให้หันกับไปเข้าสู่การผลิตแบบเชิงเดี่ยว ส่งผลให้ล้มเหลวในการทำเกษตรอินทรีย์

ส่งเสริมเก็บเมล็ดพันธุ์

ช่วงปีสองปีที่ผ่านมานี้ ทางสหกรณ์ได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการขับเคลื่อนวิถีเกษตรอินทรีย์ อย่างเช่น เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการผักปลอดภัย/อินทรีย์ในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร โครงการระบบการตรวจสอบย้อนกลับ ร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ โครงการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม PGS กับกรมพัฒนาที่ดินและมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย และเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการรับรอง โครงการเฝ้าระวังมาตรฐานสินค้าเกษตรของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และการกระจายสินค้าเกษตรอินทรีย์ร่วมกับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร

สำหรับวางแผนธุรกิจที่นี่ไม่เน้นธุรกิจสินเชื่อเหมือนกับสหกรณ์อื่นๆ แต่จะเน้นการส่งเสริมความเข้มแข็งของกลุ่มเครือข่าย ของสมาชิกสหกรณ์ให้เกิดความเข้มแข็งในระดับบุคคล และระดับกลุ่มเครือข่าย ตามลำดับ ดังนั้น จึงได้เน้นแนวทางของธุรกิจที่จะช่วยเหลือสมาชิกเป็นหลัก อาทิ ธุรกิจแปรรูปสินค้า/การผลิตสินค้า ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย (เมล็ดพันธุ์ข้าว เมล็ดพันธุ์พืช สินค้าอุปโภคบริโภค)

ขณะเดียวกัน จะเน้นหนักในเรื่อง 1. การทำเมล็ดอินทรีย์เพื่อขยายพันธุ์และการบริโภคต้นอ่อน 2. การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า 3. การขยายช่องทางการตลาดของผลผลิตอินทรีย์ นอกนั้นจะเชื่อมโยงธุรกิจผ่านในระบบเครือข่ายสหกรณ์ต่างๆ และเครือข่ายที่ผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์

ในส่วนของการเก็บเมล็ดพันธุ์นั้น คุณดวงรัตน์ขยายความว่า เน้นพืชผักพื้นบ้าน หลักๆ เป็นพวกตระกูลผักกาด บวบ ถั่วฝักยาว พริก มะเขือ เป็นพวกผักสวนครัวต่างๆ ซึ่งเกษตรกรปลูกตามหัวไร่ปลายนา สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ได้ง่าย และเป็นผักที่มีความต้านทานโรคสูง จะได้ไม่ต้องไปพึ่งพาเมล็ดพันธุ์จากบริษัทเอกชนที่ส่วนใหญ่เป็นผักจากจีนอย่างพวกบร็อกโคลี่ ผักคะน้า ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังเน้นการเก็บเมล็ดพันธุ์ธัญพืช อย่างถั่วชนิดต่างๆ อาทิ ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วเขียว งาดำ งาขาว งาม่อน ซึ่งธัญพืชเหล่านี้สามารถนำมาแปรรูปและปลูกต้นอ่อนไว้ขายได้ด้วย ซึ่งเป็นพืชต้นอ่อนที่ตลาดต้องการ

ทั้งหมดนี้คงทำให้ได้เห็นแล้วว่าการทำธุรกิจต่อเนื่องตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ บวกกับการยึดมั่นในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 รวมถึงการทำเกษตรอินทรีย์ ส่งผลดีต่อทั้งผู้ปลูกและผู้บริโภค

ผักลิ้นห่าน จัดเป็นผักพื้นเมืองที่หายากอีกชนิดหนึ่ง คนเก่าแก่ในบางพื้นที่เรียกว่า ผักหลักไก่ สำหรับคนจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดพังงา มักจะพูดออกสำเนียงเป็น ผักลิ้นหาน (ซึ่งน่าจะมีมาแต่โบราณนานแล้ว) ความอร่อยของผักลิ้นห่านนั้นจะมีความกรอบและอร่อย ปัจจุบัน ในจังหวัดภูเก็ตได้มีผู้ปลูกผักลิ้นห่านเป็นการค้านับได้ก็มีจำนวนหลายๆ ราย

สำหรับชื่อ ผักลิ้นห่าน อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูสำหรับคนสมัยใหม่นัก แต่ก็จะเป็นที่รู้จักของชาวภูเก็ตตั้งแต่รุ่นเก่าก่อนซะมากกว่า…ปัจจุบันเริ่มหากินได้ยาก หรือบางพื้นที่อาจจะสูญพันธุ์ไปแล้วโดยสิ้นเชิง

ส่วนที่ยังคงหลงเหลืออยู่บ้างตามบ้านเรือน ที่มีการเพาะพันธุ์ไว้สำหรับปรุงประกอบอาหาร และหากมีมากก็จะแบ่งกินหรือแบ่งขายกันบ้าง

มารู้จัก ผักลิ้นห่าน

ผักลิ้นห่าน คือ ชื่อที่ชาวบ้านเรียกผักพื้นบ้านชนิดหนึ่ง เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสั้นๆ และมีไหลทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มักแตกกอเป็นช่วงๆ ขอบใบหยักเล็กน้อย ใบยาวรีคล้ายลิ้นห่าน ปลายใบแหลม ใบยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ใน 1 ต้น มีใบประมาณ 7-15 ใบ สีเขียวเข้ม ถ้าแสงแดดจ้าใบจะออกเหลือง

หากไม่สังเกตหรือไม่รู้จักก็อาจจะทำให้เข้าใจว่า เป็นต้นหญ้า ในอดีตมีมากอยู่ตามธรรมชาติบริเวณพื้นที่ริมทะเลที่มีดินทราย ตามริมชายหาดฝั่งทะเลอันดามัน และพบมากตลอดแนวชายทะเลในพื้นที่จังหวัดพังงาและจังหวัดภูเก็ต แต่ปัจจุบันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวที่เจริญอย่างไม่หยุดยั้ง พื้นที่และที่ดินชายทะเลเหล่านั้นได้ถูกนายทุนกว้านซื้อไปทำธุรกิจริมชายหาด เช่น โรงแรม รีสอร์ต ร้านอาหาร และยังมีการเทคอนกรีตเป็นทางเดินบ้าง ทำให้กระทบกับพื้นที่ที่ผักลิ้นห่านขึ้น ส่งผลให้ผักลิ้นห่านได้สูญหายไปจากชายหาดตามธรรมชาติในที่สุด แต่ก็ยังพอมีให้เห็นบ้างในพื้นที่ที่อนุรักษ์เท่านั้น

วิธีปลูกและดูแลรักษา ผักลิ้นห่าน

ผักลิ้นห่าน สามารถเจริญเติบโตและฝังตัวบนผืนทรายตามชายฝั่งทะเล จะขึ้นอยู่ตามบริเวณใต้ร่มต้นสน และผักบุ้งทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่ๆ มีคุณสมบัติในการระบายน้ำดี และอุ้มน้ำได้น้อย อุณหภูมิอยู่ในช่วงที่สังเคราะห์แสงได้ตลอดปี จึงส่งผลทำให้ผักชนิดนี้สามารถดูดซึมสารอาหารบางส่วนไปเลี้ยงตนเองได้

การเพาะและขยายพันธุ์ มี 3 วิธี คือ

1. ถอนต้นผักลิ้นห่านให้ติดราก แล้วนำมาอนุบาลเพาะเลี้ยงในถุงชำ (ถุงดำ) หรือกระถาง
ขยายพันธุ์โดยใช้ไหลผักลิ้นห่านนำมาปักชำ (ส่วนมากมักจะได้รับความนิยมสูง)
การเพาะด้วยเมล็ด (ไม่ค่อยนิยม) การตัดต้นเก่าให้เหลือโคนต้นไว้สัก 2 มิลลิเมตร เมื่อรดน้ำบำรุงต้นใบก็จะงอกมาใหม่หรือแตกหน่อข้าง หรือถอนต้นเล็กๆ ที่เกิดจากไหลเหมือนสตรอเบอรี่ นำมาปลูกใหม่โดยให้ติดราก วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการขยายพันธุ์

ส่วนผสมดิน สำหรับใช้เพาะเลี้ยงในแปลงปลูก หรือกระถาง

หน้าดิน 2 ส่วน
แกลบเผา 1 ส่วน
ปุ๋ยคอก (แห้ง) 1 ส่วน
แกลบดิบเก่า 1/2 ส่วน
นำส่วนผสมทั้ง 4 ตัว มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดี จากนั้นนำต้น (กอ) ไหล มาปลูกลงในดินผสมไว้แล้ว และสามารถนำไปปลูกลงแปลง หรือกระถางเลยก็ได้เช่นกัน ลิ้นห่าน…ผักพื้นบ้านหายาก

ผักพื้นบ้านพื้นเมืองชายทะเลอีกอย่างหนึ่ง จะกินเป็นผักเหนาะ (แกล้ม) หรือนำไปปรุงประกอบอาหารได้อร่อยๆ หลายๆ เมนู หรือยอดอ่อนๆ จะกินสดๆ รสชาติออกมันๆ ฝาดนิดหน่อย กินกับแกงไตปลา หรือขนมจีนน้ำยา ได้อร่อยอย่าบอกใครเชียว

ผักพื้นบ้านริมทะเลภูเก็ต กรอบ มัน เจือขมเล็กน้อย สร้างสรรค์ได้สารพัดเมนู ผู้เขียนเองได้ลองสัมผัสและชิมรสชาติครั้งแรกก็ที่จังหวัดภูเก็ตแห่งนี้นี่เอง สำหรับผักลิ้นห่านสามารถทำได้หลายเมนู แต่ที่นิยมทำก็คือ ต้มกะทิผักลิ้นห่านใส่กุ้งสด ผักลิ้นห่านผัดน้ำมันหอย และทานสดกับน้ำพริก ซึ่งพบว่ามีความอร่อย มีความกรอบ มัน และวันนั้นเลยได้ชิมเมนูผักลิ้นห่านครบทั้ง 3 เมนูด้วยกัน จึงไม่ลืมที่จะนำเมนูอร่อยๆ ของคนภูเก็ตมาบอกต่อๆ กันไป และหากท่านใดมีโอกาสแวะเวียนไปเที่ยวภูเก็ต ก็ต้องขอฝากเมนู ผักลิ้นห่าน เป็นเมนูแนะนำด้วยนะคะ…รับรองไม่ผิดหวัง

สูตรต้มกะทิผักลิ้นห่าน

(สูตรคุณแม่เต่า ท่านกรุณาบอกต่อความอร่อยของเมนูเด็ดๆ ของภูเก็ตมาให้ ต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย)

ส่วนผสม

ผักลิ้นห่าน 200 กรัม
กุ้งสด (จะใส่กุ้งแห้ง หรือใส่ปลาฉิ้งจ้าง ก็อร่อยเลิศรสเช่นกัน) 150 กรัม
หอมแดง 3 หัว
กะปิน้ำพริกอย่างดี 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำกะทิ (แยกส่วนหัวและหาง) 250 กรัม
เกลือป่น 1/2 ช้อนชา ผักลิ้นห่านตัดรากออก แล้วเอาใบแก่ออกให้หมด นำไปล้างให้สะอาด พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ
กุ้งทะเลสดๆ นำมาปอกเปลือก ให้เหลือส่วนหางไว้ นำมาผ่าหลังแล้วชักเส้นดำออก ล้างน้ำให้สะอาด พักไว้
โขลกหอมแดง กะปิ เกลือ ให้เข้ากัน พักไว้
นำหางกะทิมาตั้งไฟปานกลาง รอให้น้ำกะทิเดือด ใส่กะปิ หอมแดง และเกลือป่นที่โขลกไว้แล้วตามลงไป
รอให้น้ำกะทิเดือด ใส่กุ้งสดที่เตรียมไว้
ใส่ผักลิ้นห่าน (เทคนิคการปรุงเมนูนี้ก็คือ หลังจากใส่ผักลิ้นห่านลงไปในหม้อแล้ว ให้เคี่ยวแค่ให้ผักพอสุกเท่านั้น จะได้รสชาติผักที่อร่อยกว่าการเคี่ยวจนผักเปื่อย)
ชิมให้ได้รสชาติเค็ม หวาน รอพอเดือดอีกครั้ง จากนั้นให้ใส่หัวกะทิตามลงไป เป็นอันว่าเสร็จพร้อมเสิร์ฟได้ทันที และต้องกินตอนร้อนๆ หรอยแรง
(บางสูตร บางตำรา หรือร้านอาหารบางร้าน เขาจะตอกไข่ไก่หรือไข่เป็ดลงไปพอให้ไข่สุกไม่แข็ง ก็ได้รสชาติหวาน หอม อร่อยไปอีกรสชาติหนึ่ง)

ผักลิ้นห่านผัดน้ำมันหอย

วิธีปรุง เหมือนการผัดผักบุ้งไฟแดงทุกประการ ส่วนความอร่อยก็แล้วแต่นักชิมทั้งหลายท่านจะชื่นชอบ ผักบุ้งไฟแดง หรือลิ้นห่านไฟแดง ตัดสินใจเองแล้วกัน พื้นที่ชายหาดหลายๆ แห่ง เปลี่ยนจากชายหาดที่เคยเงียบสงบ ให้ชาวบ้านได้ออกไปทอดแหหาปลา หาผักลิ้นห่านเอามาจิ้มน้ำพริกได้ ปัจจุบัน ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้อีกแล้ว เพราะชายทะเลบางหาดได้ถูกนายทุนบุกรุกกั้นเป็นสัดส่วน ปิดทางลงทะเลของชาวบ้านไปหมด ทำให้ผักลิ้นห่าน ผักพื้นบ้านชายทะเลฝั่งอันดามันของไทย จึงเริ่มหายากหรืออาจหาไม่ได้เลยก็ว่าได้ เพราะด้วยพื้นที่พื้นดินทุกตารางนิ้วของจังหวัดภูเก็ตนั้นมีราคาค่อนข้างแพงมากถึงมากที่สุด

ดังนั้น เพื่อไม่ให้ผักพื้นเมืองชนิดนี้สูญพันธุ์ไป จึงได้มีผู้อนุรักษ์และขยายพันธุ์พืชพื้นเมืองชนิดนี้ไว้ด้วยการปลูกเป็นสวนผักลิ้นห่าน ผักลิ้นห่านปลูกในกระถาง ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นหลังๆ ได้รู้จักและช่วยกันอนุรักษ์ผักพื้นเมืองชนิดนี้ไว้ให้คงอยู่คู่เมืองภูเก็ตลอดไป และไม่แน่ว่าในอนาคตอีกไม่นานเราคงได้เห็นเมนูเด็ดๆ ใหม่ๆ เชลล์ชวนชิมกับ พิซซ่าผักลิ้นห่าน ก็ได้ ใครจะไปรู้

ผู้เขียนต้องขอขอบคุณผู้ที่ให้ข้อมูลต่างๆ และสูตรต้มกะทิผักลิ้นห่าน จาก (น้องอ้น และคุณแม่) สารพัดงอกฟาร์ม เลขที่ 35 หมู่ที่ 2 ถนนเจ้าฟ้า ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83130 หรือหากสนใจหรือต้องการข้อมูลผักลิ้นห่าน เพื่อนำไปปลูกสามารถติดต่อโดยตรงได้ที่ คุณณรงศักดิ์ ลูกอ้น หน้าร้านตั้งอยู่ที่ ร้านวรพลสังฆภัณฑ์ สถานการณ์น้ำน้อยทางภาคอีสานดูจะสร้างปัญหาให้กับอาชีพปลูกข้าวของชาวบ้านหลายพื้นที่จนต้องหาทางปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นที่ใช้น้ำน้อยแทน

อย่างชาวบ้านที่ตำบลบุ่งหวาย SBO SLOT อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้ขานรับแนวทางของภาครัฐเพื่อที่จะปลูกพืชผักสมุนไพรพื้นบ้านอย่างผักขะแยง ซึ่งมีคุณสมบัติใช้น้ำน้อย อายุสั้น เก็บเกี่ยวมีรายได้แบบวันต่อวัน

ลักษณะการปลูกผักขะแยงของชาวบ้านในหมู่บ้านนี้จะใช้พื้นที่นาหลังเก็บเกี่ยวหรือพื้นที่บริเวณบ้านที่มีจำนวนเนื้อที่แตกต่างกันตามกำลังของครัวเรือน โดยชาวบ้านจะรวมตัวเป็นกลุ่มทั้งหมู่บ้านเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทั้งวิธีการปลูก การดูแล รวมไปถึงการขาย จนเกิดความเข้มแข็งสร้างรายได้หลายหมื่นบาทต่อครัวเรือน จนได้รับการกล่าวขานว่า “หมู่บ้านผักขะแยงเงินล้าน”

คุณแพ พรมวิจิตร บ้านเลขที่ 105 หมู่ที่ 14 ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โทรศัพท์ (087) 870-4290 ทำอาชีพปลูกผักขะแยงกับบัวบกสร้างรายได้มานานเกือบ 10 ปี ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยออกไปทำงานยังจังหวัดต่างถิ่น แต่ต้องประสบปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับครอบครัว

คุณแพเริ่มปลูกผักขะแยงในพื้นที่เพียง 2 ไร่ แล้วแบ่งพื้นที่ประมาณ 2 งาน เพื่อปลูกข้าวนาปรังไว้บริโภคในครัวเรือน เธอบอกว่าผักขะแยงจะเริ่มปลูกเดือนมีนาคม จะมีการปรับพื้นที่ด้วยการไถพรวนก่อนแล้วนำเบี้ยหรือต้นกล้าที่ได้จากแปลงเพาะต้นกล้ามาปลูกดำให้มีระยะห่างต้นสัก 1 คืบ แล้วยังไม่ต้องใส่ปุ๋ย

จากนั้นจึงปล่อยน้ำเข้าในพื้นที่ปลูกสูงสัก 2 ข้อนิ้วมือ รอสัก 1 สัปดาห์ จึงเริ่มใส่ปุ๋ย ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 ประมาณ 1 ถังน้ำ ในพื้นที่ต่อ 1 งาน แล้วจะหว่านปุ๋ยสูตรนี้อีกครั้งเมื่อสังเกตว่าใบมีสีเหลืองเพราะแสดงว่าขาดปุ๋ย อย่างไรก็ตาม น้ำในแปลงปลูกผักขะแยงไม่ควรปล่อยให้แห้ง และควรเติมน้ำเข้าเมื่อระดับน้ำลดต่ำ

แมลงศัตรูที่พบคือ ตัวบุ้ง คุณแพแจงว่า ตัวบุ้งมักจะมาทำลายต้นผักขะแยงในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งจะต้องใส่ยาป้องกันจำนวน 1 ช้อน ต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วฉีดพ่น ส่วนโรคไม่เคยพบเนื่องจากเป็นพืชผักทางธรรมชาติจึงมีความแข็งแรง

หลังจากปลูกเป็นเวลาประมาณ 45 วัน ผักขะแยงจะเจริญเติบโตเป็นกอขนาดใหญ่ จึงเริ่มเก็บผลผลิตด้วยการใช้วิธีดึงออกมาทั้งกอ แต่ต้องเหลือปล่อยไว้สักกอละ 4-5 ต้น เพื่อให้มีการขยายพันธุ์ แล้วใส่ปุ๋ยอีก จากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ จะเก็บรุ่นต่อไปได้อีก

ในแต่ละครั้งจะเก็บผักขะแยงได้ 100-200 ถุง (ถุงละ 100 กรัม) แล้วขายถุงละ 50-60 บาท ขึ้นอยู่กับช่วงเวลา เพราะถ้าหน้าร้อนผักขะแยงมีราคาสูงเพราะปลูกยาก คุณแพ บอกว่า ชาวบ้านในหมู่บ้านตำบลบุ่งหวาย ปลูกผักขะแยงกันทุกครอบครัวเนื่องจากผักชนิดนี้เป็นที่ต้องการของตลาดจึงมีรายได้ดีอย่างต่อเนื่อง

คุณแพเผยถึงรายได้จากการเก็บผักขะแยงขายว่า ถ้าในช่วงที่เก็บได้มากสุดแล้วผักมีราคาสูงจะมีรายได้ถึงวันละ 2,000 บาท แล้วจะเก็บทุกวัน แต่หลังจากเดือนเมษายนเป็นต้นไปราคาผักขะแยงเริ่มลดลงเหลือประมาณ 40 บาท ต่อถุง ทำให้รายได้ค่อยๆ ลดลง อย่างไรก็ตาม ในรอบการปลูกต่อไปเธอตั้งใจจะเพิ่มพื้นที่ปลูกผักขะแยงให้มากขึ้น เพราะจะได้มีผลผลิตจำนวนมากพร้อมกับมีรายได้เพิ่มขึ้นมากด้วย