ต้นทุนการให้บริการ ต้องใช้นักบัญชีต้นทุนหรือไม่

ธุรกิจที่เป็นการให้บริการนั้น เอาเข้าจริงจะแตกต่างจากกิจการผลิตและร้านค้าค่อนข้างมาก บางคนบอกว่าจับต้องได้ยากกว่า หาต้นทุนในการให้บริการได้ยากกว่า อย่างไรก็ตาม ต้นทุนการให้บริการส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับบุคคล เช่น เงินเดือน ค่าแรงช่าง ค่าวิชาชีพ ค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น

กิจการให้บริการโดยทั่วไปต้องตีมูลค่าต้นทุนออกมาเป็น อัตราค่าบริการต่อชั่วโมงการทำงาน แล้ววัดการให้บริการในแต่ละเรื่อง แต่ละประเภทออกมาว่าใช้เวลาในการให้บริการโดยประมาณเท่าไร ในทางบัญชี ธุรกิจบริการต้องวัดต้นทุนโดยคำนวณเป็นหน่วยของการให้บริการ และต้องหาค่าประมาณของต้นทุนบริการต่อหน่วยวัดดังกล่าว ก็จะสามารถระบุต้นทุนการให้บริการที่จับคู่กับรายได้ออกมาได้ โดยทั่วไป เราจึงไม่ค่อยเห็นนักบัญชีต้นทุนในกิจการให้บริการ ยกเว้นงานบริการนั้นมีลักษณะการให้บริการที่เฉพาะเจาะจงในลักษณะ Job Order Costing

ธุรกิจโฆษณา มีต้นทุนหลัก คือ ค่าสื่อและค่าแรง ซึ่งต้องใช้ Time Sheet ในการบันทึกเวลาการทำงานของครีเอทีฟ ต้นทุนของงานบริการจึงมีลักษณะเฉพาะเจาะจงตามแต่ลักษณะและประเภทของธุรกิจ

ต้นทุนกิจการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี

ในปัจจุบันมีรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ต ระบบเครือข่ายโทรคมนาคม หรือต้นทุนของกิจการสื่อสาร กิจการที่ให้บริการด้านเทคโนโลยี ต้องวัดต้นทุนของการให้บริการในเครือข่ายสำหรับผู้ใช้งานระบบสื่อสารหรือเทคโนโลยี ต้นทุนสำคัญของกิจการเหล่านี้จึงเป็นเรื่องเงินลงทุนในเครือข่ายและอุปกรณ์ ลองจินตนาการดูว่าวิธีการคิดต้นทุนของกิจการเหล่านี้ย่อมแตกต่างจากกิจการผลิตสินค้าโดยสิ้นเชิง โดยจะต้องมีโมเดลการคิดต้นทุนที่แตกต่างจากกิจการผลิต

งานของนักบัญชีต้นทุนเกี่ยวข้องต่อเนื่องกับการบริหารสินค้าคงคลัง

ลักษณะของเนื้องานที่ต่อเนื่องกันสำหรับนักบัญชีต้นทุนในกิจการผลิตนั้น นักบัญชีต้นทุนมักจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกับ การควบคุมสินค้าคงเหลือ การจัดวางระบบการจัดเก็บสินค้าให้มีความเที่ยงตรง เนื่องจากการบริหารสินค้าคงคลังเป็นหัวใจของการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นกิจการผลิตหรือซื้อมาขายไป

นักบัญชีต้นทุนจึงต้องมีความรู้ความชำนาญเรื่องระบบการบริหารสินค้าคงเหลือ ซึ่งขอบเขตของระบบการบริหารสินค้าคงเหลือในโลกยุคนี้มันกินความไปถึงเรื่องโลจิสติกส์ หรือซัพพลายเชน ที่ไล่สายตั้งแต่การสั่งซื้อสินค้า การขนส่งสินค้า การจัดส่งสินค้า การโหลดของ การส่งของ การบริหารการสั่งซื้อที่มีประสิทธิภาพ การขจัดต้นทุนจม การไม่เก็บสินค้าไว้มากเกินไป ฯลฯ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ครอบคลุมการทำธุรกิจอย่างกว้างขวาง นักบัญชีต้นทุนจึงต้องรอบรู้และเข้าใจโลกธุรกิจอย่างมาก ความรู้ด้านบัญชีอาจถือได้ว่าเป็นส่วนเสี้ยวของงานที่ต้องดูแลรับผิดชอบทั้งหมด

ประกอบกับในโลกยุคดิจิตอล การนำตัวช่วยด้านข้อมูลและเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง ก็ยิ่งเป็นเรื่องที่นักบัญชีต้นทุนหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องหาความรู้และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การบริหารจัดการด้านต้นทุนและสินค้าคงเหลือเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่เช่นนั้นแล้วคงเป็นเรื่องยากที่จะแข่งขันกับกิจการอื่น เหมือนอย่างที่เขาพูดกันว่า ทุกวันนี้สินค้าตัวเดียวกันมีกำไรขั้นต้นที่บางเฉียบ (คือน้อยมาก) ใครที่สามารถหาวิธีลดต้นทุนลงได้แม้เพียงเล็กน้อย ก็สามารถเอาชนะคู่แข่งได้แล้ว ในทางตรงกันข้าม หากใครมีต้นทุนที่สูงกว่าคู่แข่งเพียงเล็กน้อย ก็ยากที่จะแข่งขันกับเขาได้ต่อไป

วันที่ 30 ต.ค. นายบุญมาก บุญเต็ม ผู้จัดการสหกรณ์ยูงทอง จำกัด อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช กล่าวกับผู้สื่อข่าวถึงกรณีราคายางผกผันลดลงอย่างน่าใจหายว่า ราคาน้ำยางตอนนี้อยู่ที่ กก.ละ 41 บาท ยางรมควันอยู่ที่ 51 บาท และขี้ยางอยู่ที่ 18 บาท ถ้าเป็นอย่างนี้ชาวสวนยางจะอยู่อย่างไร สมาชิกสหกรณ์ถอดใจกันหมดแล้ว เพราะราคาตกจนสู้ไม่ไหว ยางราคาถูกแล้วยังขายไม่ได้
หลังจากได้รับซื้อยางจากสมาชิกสหกรณ์ ก็จะนำไปขายที่ตลาดกลางยางพารา ปรากฏว่าต้องรอวันหรือสองวันถึงจะขายได้ ทำให้ชาวสวนยางต้องแบกรับภาระอย่างหนัก ไม่ทราบว่า การยางแห่งประเทศไทยทำอะไรอยู่ตอนนี้ ตั้งขึ้นมาแล้วไม่ทำอะไรที่เป็นรูปธรรม อยากวิงวอนให้รัฐบาลออกมาหามาตรการช่วยเหลือในเรื่องราคายางพาราที่ตกต่ำวันละบาทสองบาท ยิ่งนานวันชาวสวนยางคงตายกันหมด

นายบุญมาก กล่าวอีกว่า ราคายางผกผันผิดปกติทุกวัน บางวันกลุ่มพ่อค้าคนกลางเอายางไปขาย และขายได้ขายดี พอสหกรณ์หรือชาวบ้านเอาไปขาย กลับต้องรอเป็นวันๆ ตนมั่นใจว่าน่าจะรู้เห็นกันระหว่างตลาดกลางยางพารากับพ่อค้าคนกลาง ทำให้เกิดปัญหาจนส่งผลให้ชาวสวนยางเสียหายอย่างมาก หากไม่มีใครมาดูแลในเรื่องนี้คิดว่าอาจจะมีการนำน้ำยางพาราไปเททิ้งกันแน่ๆ

“ตอนนี้ชาวสวนยางกลุ่มต่างๆ เตรียมตัวที่จะหารือกันเพื่อออกมาเคลื่อนไหวหรือทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเห็นความยากลำบากของชาวสวนยาง หากเรายังอยู่นิ่งกันอย่างนี้คงต้องตายไปตามๆ กัน ซึ่งกำลังคิดอยู่ว่าจะออกมาเคลื่อนไหวอย่างไร คาดว่าอีกไม่นานผลของการหารือคงจะชัดเจน และคิดว่าชาวสวนยางทุกคนจะออกมาร่วมกันทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างแน่นอน นายบุญมาก กล่าว

นายกิลเบอร์ต ซานเชซ ชาวฟิลิปปินส์วัย 47 ปี ได้สัมผัสกับพื้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2557 หลังจากที่นายซานเชซ ปีนขึ้นไปอาศัยอยู่บนต้นมะพร้าวอยู่นานถึง 3 ปี เนื่องจากกลัวว่าจะถูกคนทำร้าย

ข่าวระบุว่า นายซานเชซ อาศัยอยู่ที่เมืองลาปาซ จังหวัดอากูซัลเดล ซูร์ ได้ปีนขึ้นไปอยู่บนต้นมะพร้าวที่สูงถึง 60 ฟุต ซึ่งอยู่ใกล้กับบ้านของตัวเอง ตั้งแต่ปี 2557 และตั้งใจไว้ว่าจะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่บนต้นมะพร้าวตลอดไป

นางวินิเฟรดา แม่ของซานเชซ บอกว่า ลูกชายของเธอปีนขึ้นไปอยู่บนต้นมะพร้าวหลังจากถูกทำร้ายร่างกายโดยใช้ปืนตบเข้าที่หัว จนเกิดความหวาดกลัวว่าจะถูกทำร้าย เลยปีนขึ้นไปอยู่บนต้นมะพร้าวที่สูงที่สุด และอยู่บนนั้นตลอด โดยมีแม่คอยเป็นคนส่งข้าวส่งน้ำขึ้นไปให้ทุกวัน โดยการใช้รอกส่งขึ้นไป

แม่ของซานเชซบอกด้วยว่า เธอพยายามที่จะบอกให้ลูกชายลงมา อย่างน้อยก็ลงมาเพื่ออาบน้ำ แต่ก็ไม่เป็นผล ดังนั้น สิ่งที่ทำได้คือส่งข้าว ส่งน้ำ เสื้อผ้า และบุหรี่ ขึ้นไปให้ลูกชายทุกวัน เพื่อให้ลูกชายมีชีวิตอยู่ แม้แต่การขับถ่าย นายซานเชซก็ยังทำจากบนต้นมะพร้าว

ขณะที่พี่น้องและญาติคนอื่นๆ ก็ไม่สามารถโน้มน้าวให้นายซานเชซลงมาจากต้นไม้ได้ กระทั่งเรื่องราวของนายซานเชซถูกเผยแพร่ไปทั่วโลกโซเชียล ทางการท้องถิ่นจึงได้พยายามหาทางช่วยนำตัวชายซานเชซลงมา

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา ทีมเจ้าหน้าที่ 50 คน พร้อมกับสมาชิกของครอบครัวนายซานเชซ ได้พยายามโน้มน้าวให้นายซานเชซลงมาจากต้นมะพร้าวอีกครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ เจ้าหน้าที่จึงได้เริ่มต้นต้นมะพร้าวดังกล่าวทิ้ง ท่ามกลางความเสี่ยงที่จะทำให้นายซานเชซได้รับบาดเจ็บหรืออาจจะถึงกับเสียชีวิต หากต้นมะพร้าวล้มลงมา

แต่ที่สุดแล้ว นายซานเชซก็ลงมาอยู่กับพื้นได้อย่างปลอดภัย โดยร่างกายเต็มไปด้วยแผลแมลงสัตว์กัดต่อย และยังเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ก่อนจะถูกส่งตัวไปประเมินอาการทางจิตต่อไป

วันที่ 31 ตุลาคม 2560 เวลา 07.00 น. สภาพอากาศในพื้นที่ จ.ลำปาง เช้าวันนี้อุณหภูมิได้ลดลงตามที่ทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศไว้ว่า พื้นที่ประเทศไทยได้ขยับเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว จึงทำให้พื้นที่ภาคเหนือ รวมถึง จ.ลำปาง มีอุณหภูมิที่ลดต่ำลง และหนาวเย็นลงในช่วงนี้ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน เช้ามืด และเช้าตรู่

โดยเช้าวันนี้อุณหภูมิต่ำสุดบริเวณพื้นราบวัดได้เฉลี่ย 18 – 20 องศาเซลเซียส โดยสถานีตรวจวัดสภาพอากาศการเกษตร อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ตั้งอยู่บริเวณพื้นราบวัดอุณหภูมิได้ต่ำสุดเช้าวันนี้ 18.5 องศาเซลเซียส

ส่วนตัวเมืองลำปางวัดได้ต่ำสุดเช้านี้ 19.1 องศาเซลเซียส นับเป็นอุณหภูมิที่ลดต่ำลง 2 – 3 องศาเซลเซียสแล้วในช่วง 1 – 2 วันนี้ โดยที่บางแห่งก็มีหมอกหนาวลงมาปกคลุมในพื้นที่ด้วย นับเป็นภาพหมอกหนาวที่เกิดขึ้นครั้งแรก หลังขยับเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือตอนบน

กยท. ร่วม กรมทางหลวงลงนาม MOU ตอบรับนโยบายส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ เร่งพัฒนางานวิจัยสู่การผลิต-แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางหนุนภารกิจกรมทางหลวง พร้อมช่วยเหลือชาวสวนยาง

วันที่ (30 ตุลาคม 2560) กรมทางหลวง และการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาวิจัยและพัฒนา และการส่งเสริมการใช้ยางพาราในภารกิจของกรมทางหลวง เน้นให้เกิดความร่วมมือเพื่อพัฒนางานวิจัย ต่อยอดสู่การผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา หรือเทคโนโลยีในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางพาราในรูปแบบต่างๆ เพื่อสนับสนุนภารกิจของกรมทางหลวง พร้อมตอบรับนโยบายส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางได้ โดยมี นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง และ ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เป็นผู้แทนจาก 2 หน่วยงาน ในการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ณ ห้องสัมมนาเทิดศักดิ์ เศรษฐมานพ ชั้น 3 กองฝึกอบรม กรมทางหลวง

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า กรมทางหลวงดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลด้านการส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ โดยผลิตและแปรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา เพื่อเพิ่มมูลค่าและสนับสนุนการใช้ยางภายในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งทุกภาคส่วนต้องบูรณาการทำงานร่วมกัน ทั้งนี้ กรมทางหลวง เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบงานวิจัยและพัฒนา งานก่อสร้าง บูรณะและบำรุงรักษาทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงสัมปทาน และการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เป็นองค์กรที่มีภารกิจในการบริหารจัดการและส่งเสริมการใช้ยางพาราของประเทศอย่างครบวงจร ทั้งสองหน่วยงานได้ร่วมกันวิจัยและพัฒนาและการส่งเสริมการใช้ยางพาราในภารกิจกรมทางหลวง

เพื่อให้เกิดการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา เกิดนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีในการผลิตภัณฑ์ยางพาราในรูปแบบต่าง ๆ และส่งเสริมการเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศ ตลอดจนสนับสนุนการใช้ยางพาราในภารกิจของกรมทางหลวง โดยการบูรณาการร่วมกันในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ และการดำเนินการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่าและสนับสนุนการใช้ยางภายในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้ง เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ไขสถานการณ์ราคายางให้เกิดเสถียรภาพ สร้างความยั่งยืนทั้งระบบ และช่วยยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางและวงการยางพาราต่อไปทั้งนี้ ในปี 2561 กรมทางหลวงเตรียมแผนการใช้ปริมาณน้ำยางพาราข้น จำนวน 4,586 ตัน เพื่อใช้ในงานบูรณะซ่อมแซมผิวทาง และใช้ในงานวิจัยและพัฒนาระหว่างกรมทางหลวงและการยางแห่งประเทศไทย

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างการยางแห่งประเทศไทยและกรมทางหลวง เพื่อให้นโยบายการส่งเสริมการใช้ยางในประเทศเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งทั้งสองหน่วยงานจะร่วมผลักดันให้เกิดการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ยางต่างๆ เพื่อให้การใช้ยางภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น อันนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าให้กับยางพาราในประเทศต่อไป โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาร่วมกัน ต่อยอดไปจนถึงกระบวนการผลิตและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากยางพารา ตลอดจนนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิตเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินภารกิจของกรมทางหลวง ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นการเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศแล้ว ยังถือเป็นการช่วยเหลือด้วยการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางอีกทางหนึ่งด้วย

มิตรผลจับมือโรงงานแม่รวย ศึกษากระบวนการปลูกถั่วลิสง หวังส่งเสริมชาวไร่อ้อยปลูกป้อนโรงงานถั่วโก๋แก่ หลังประสบปัญหาขาดวัตถุดิบอย่างหนัก พร้อมแจ้งเกิดศูนย์ต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง นำร่อง 70 แห่ง 8 จังหวัดปีนี้ ก่อนขยายครบ 7,000 แห่งทั่วประเทศในอนาคต

นายบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มธุรกิจ กลุ่มงานอ้อย กลุ่มมิตรผล เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ทางกลุ่มมิตรผลได้ร่วมกับบริษัท โรงงานแม่รวย จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายถั่วลิสงกรอบเคลือบกะทิ ภายใต้แบรนด์ “โก๋แก่” เพื่อศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผลิตถั่วลิสงในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยว และการดูแลรักษาหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ถั่วลิสงที่มีคุณภาพดี ปลอดภัยจากสารอะฟลาทอกซิน พร้อมส่งเป็นวัตถุดิบเข้าโรงงานแปรรูป หลังจากนั้นจะเตรียมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชาวไร่อ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปปลูกเสริมหลังการเก็บเกี่ยวอ้อยระหว่าง 4-5 เดือน เนื่องจากมีตลาดรองรับชัดเจน เพราะทางบริษัท โรงงานแม่รวยกำลังขาดแคลนวัตถุดิบถั่วลิสงอย่างมาก

“ก่อนหน้านี้ มิตรผลให้นโยบายชาวไร่อ้อยไปปลูกพืชตระกูลถั่วบำรุงดิน แรก ๆ ให้ปลูกถั่วเหลืองอย่างเดียวสลับกับการปลูกอ้อย ตอนนี้เริ่มมองถั่วลิสง เพราะผลิตภัณฑ์ถั่วลิสงโก๋แก่ยังมีความต้องการผลผลิตมาก ขาดแคลนมาก เรากำลังดูว่าระหว่างที่เราพักดิน 4-5 เดือน เราปลูกในพื้นที่เรา ตอนนี้กำลังศึกษาร่วมกันอยู่ ถ้าทำได้ จะทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น ตอนนี้เรากำลังหาผู้เชี่ยวชาญเรื่องการจัดเก็บ เรื่องอะฟลาทอกซินมาให้ความรู้ก่อน เก็บแล้วทำอย่างไรไม่ให้เกิดอะฟลาทอกซิน จะเริ่มทดลองแถวอีสาน เพราะอีสานปลูกอ้อยในช่วงฤดูหลังฝน อ้อยปลายฝน จะมีเวลาตั้งแต่เราปิดหีบอ้อยหลังสงกรานต์ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปจะเข้าสู่ฤดูฝน ก็สามารถปลูกถั่วได้ พอฝนหมดเก็บเกี่ยวพวกถั่ว ปลูกอ้อยตามเลย การปลูกพืชตระกูลถั่วจะมีปมดึงไนโตรเจนจากอากาศเข้ามาเก็บไว้ที่ดิน จะเป็นประโยชน์บำรุงให้พืชเขียว และงอกไว เป็นการตัดวงจรศัตรูพืชด้วย รวมถึงจะช่วยชาวไร่ในการทำตลาดอีกหลายสินค้าที่อยู่ระหว่างพัฒนา โดยจะผลิตและวางจำหน่ายลักษณะวิสาหกิจชุมชน สินค้าโอท็อปในอนาคต” นายบรรเทิงกล่าวและว่า

ขณะเดียวกัน มิตรผลได้เข้าร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนิน “โครงการ 5 ประสานเกษตรทฤษฎีใหม่” ภายใต้นโยบายสานพลังประชารัฐ ซึ่งได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2560 โดยใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท โดยมิตรผลได้คัดเลือกเกษตรกรกลุ่มที่มีความพร้อม จำนวน 292 ราย จากทั้งหมด 1,100 ราย ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ เลย ตาก อำนาจเจริญ มาอบรมเกษตรทฤษฎีใหม่กับปราชญ์ในพื้นที่ และสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อส่งเสริมการผลิตในแปลง โดยการตั้งเป็นธนาคารปศุสัตว์และพันธุ์พืช เพื่อให้เกษตรกรได้มีส่วนร่วมในการแบ่งปันองค์ความรู้แก่เกษตรกรรายอื่น รวมถึงการช่วยหาตลาดให้

ล่าสุด มิตรผลได้จัดทำโครงการพิเศษที่จะขับเคลื่อนชาวไร่อ้อยรายเล็ก เรื่องการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงได้มีโครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ มีโครงการนำร่อง 70 ศูนย์ภายในปีนี้ หลังจากนั้นจะขยายไปถึง 700 ศูนย์ ในปี 2561 และครบ 7,000 ศูนย์ในอนาคต ภายใต้ชื่อ “โครงการทำตามพ่อ ปลูก เพ(ร)าะ สุข” โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาชาวไร่อ้อย ขยายวงกว้างให้มีการทำเกษตรผสมผสานในครัวเรือน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ มีความมั่นคงด้านอาหารในครัวเรือน ซึ่งเป็นแนวทางสร้างสุขให้ชาวไร่ได้อย่างยั่งยืน ให้ครอบคลุมกับชาวไร่ในเครือข่ายให้ได้มากที่สุด และในเดือนพฤศจิกายน 2560 จะจัดตลาดนัดพิเศษนำร่องให้ชาวไร่อ้อยทุกจังหวัดที่อยู่ในโครงการ นำผลิตผลทางการเกษตรที่ปลูกได้ และแปรรูปมาวางจำหน่ายที่เซ็นทรัลเวิลด์

“การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การใช้แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ การรวมแปลง จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตชาวไร่อ้อย โดยเฉพาะการปลูกพืชผสมผสานเพิ่มรายได้ที่นอกจากพืชประธาน คือ อ้อย ที่ผ่านมาอาจจะเกิดอุปสรรค เพราะเกษตรกรอาจจะยังไม่เชื่อมั่น แต่เมื่อได้เห็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ เห็นชาวไร่บางคนที่ประสบความสำเร็จจากสิ่งเหล่านี้ คนที่เหลือจะอยู่นิ่งแบบเดิมไม่ได้ นั่นเป็นสิ่งหนึ่งที่เราคิดว่าต้องมีศูนย์เรียนรู้ ให้เกิดความเข้มแข็ง ให้ความรู้เรื่องดิน น้ำ ปศุสัตว์ พืชผล นอกจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว คือ อ้อย”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงบ่ายจนถึงเย็นวันที่ 30 ตุลาคม นายฐานะ ทองสมุย หัวหน้าชุดเฝ้าระวังและติดตามช้างป่า อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาวจังหวัดระนองและชุมพร กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช พร้อมด้วยนายวิถี กลิ่นนุ้ย และนายสุนทร วรดิษ สมาชิก อบต.เขาค่าย หมู่ 3 นายธนพล คงทอง สมาชิก อบต.เขาค่าย หมู่ 12 นายสมัย ธรรมเกษ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ต.เขาค่าย อ.สวี จ.ชุมพร นำคณะผู้สื่อข่าวเข้าสังเกตการณ์ กรณีช้างป่าจำนวน 11 ตัว ที่เข้ามาทำลายพืชผลอาสินของชาวบ้านในพื้นที่ ต.เขาค่าย อ.สวี จ.ชุมพร โดยทำได้เพียงเฝ้าสังเกตการณ์อยู่ห่างๆ ประมาณ 1 กิโลเมตรเท่านั้นเพื่อความปลอดภัย และใช้เวลาสังเกตการณ์ประมาณ 2.30 ชั่วโมง

นายฐานะกล่าวว่า ช้างป่าโขลงนี้มาจากป่า อ.พะโต๊ะที่แยกออกจากฝูงมาหากินในพื้นที่ ต.เขาค่าย เพราะพื้นที่ป่าเหลือน้อย อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาวจังหวัดระนองและชุมพร ได้จัดชุดเจ้าหน้าที่ชุดเคลื่อนเร็วที่เฝ้าติดตามช้างป่าฝูงนี้แต่ไม่สามารถเข้าใกล้ชิดได้ ที่ผ่านมาช้างป่าฝูงนี้ที่มี 11 ตัว เป็นตัวเมีย 9 ตัว เป็นลูกช้างตัวผู้ 2 ตัว ได้เข้าทำลายต้นทุเรียน มะพร้าว กล้วย เพื่อเป็นอาหาร จนพืชผลอาสินของชาวบ้านได้รับความเสียหาย ขณะนี้ทำได้เพียงสังเกตพฤติกรรมของช้างอยู่ห่างๆ และหาวิธีป้องกันโดยกันแนวเขตไม่ให้ช้างเข้ามาทำลายพืชผลอาสินอีก และได้มีการสำรวจความเสียของพืชผลอาสินของชาวบ้านเพื่อรายงานให้ต้นสังกัดทราบแล้ว รอเพียงการสั่งการลงมาว่าจะช่วยเหลือเยียวยาอย่างไรเท่านั้น

ด้านนายวิถีกล่าวว่า ช้างป่าเข้ามาทำลายพืชผลอาสินของชาวบ้านในพื้นที่หมู่ 3, 8, 10 และ 13 ต.เขาค่าย อ.สวี จ.ชุมพร มีสวนทุเรียน มะพร้าว หมาก กล้วย ในสวนของชาวบ้านเสียหายเป็นจำนวนมาก จึงต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งอบรมให้ความรู้ชาวบ้านเกี่ยวกับวิธีไล่ช้างเวลาเจอมาทำลายผลอาสิน วิธีวิ่งหลบหนีช้างป่าให้ปลอดภัย เพราะชาวบ้านจะต้องไล่ช้างป่าอยู่เสมอเวลาเข้ามาทำลายพืชผลอาสินและช้างเองก็พร้อมที่จะมาทำร้ายชาวบ้านอยู่ตลอดเวลา

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า กรมทางหลวง และการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้ร่วมกันวิจัยและพัฒนาและการส่งเสริมการใช้ยางพาราในภารกิจกรมทางหลวง เพื่อให้เกิดการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา เกิดนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีในการผลิตภัณฑ์ยางพาราในรูปแบบต่าง ๆ และส่งเสริมการเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศ ตลอดจนสนับสนุนการใช้ยางพาราในภารกิจของกรมทางหลวง โดยในปี 2561 กรมทางหลวงเตรียมแผนการใช้ปริมาณน้ำยางพาราข้น จำนวน 4,586 ตัน เพื่อใช้ในงานบูรณะซ่อมแซมผิวทาง และใช้ในงานวิจัยและพัฒนาระหว่างกรมทางหลวงและการยางแห่งประเทศไทย

การบูรณาการร่วมกันในครั้งนี้ replicascamisetasfutbol2018.com เพื่อส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ และการดำเนินการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่าและสนับสนุนการใช้ยางภายในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้ง เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ไขสถานการณ์ราคายางให้เกิดเสถียรภาพ สร้างความยั่งยืนทั้งระบบ และช่วยยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางและวงการยางพาราต่อไป

ด้านนายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ กยท. กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่าง กยท.และกรมทางหลวง เพื่อให้นโยบายการส่งเสริมการใช้ยางในประเทศเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งทั้งสองหน่วยงานจะร่วมผลักดันให้เกิดการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ยางต่างๆ เพื่อให้การใช้ยางภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น อันนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าให้กับยางพาราในประเทศต่อไป โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาร่วมกัน ต่อยอดไปจนถึงกระบวนการผลิตและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากยางพารา ตลอดจนนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิตเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินภารกิจของกรมทางหลวง นอกจากจะเป็นการเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศแล้ว ยังถือเป็นการช่วยเหลือด้วยการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางอีกทางหนึ่งด้วย

เกษตรจัดงาน “วันยุวเกษตรกรโลก” ความภาคภูมิใจ ยุวเกษตรกรไทยก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 พร้อมกับประเทศสมาชิกที่มีการดำเนินงานยุวเกษตรกร (4-H) ทั่วโลก ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี

นายประสงค์ ประไพตระกูล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากการที่กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ร่วมการประชุม The 1st Global 4-H Network Summit 2014 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งได้มีการลงนามร่วมกับผู้แทนภูมิภาคต่างๆ รับรองกฎบัตรเครือข่ายยุวเกษตรกรโลก และประกาศปฏิญญา กรุงโซล เพื่อการขับเคลื่อนงาน 4-H ร่วมกันเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 มีผลทำให้วันที่ 1 พฤศจิกายนของ ทุกปีถือเป็น “วันยุวเกษตรกรโลก (Global 4-H Day)” ดังนั้น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของยุวเกษตรกร และมีส่วนร่วมในการเฉลิมฉลอง “วันยุวเกษตรกรโลก” พร้อมกับประเทศสมาชิกที่มีการดำเนินงานยุวเกษตรกร (4-H) ทั่วโลก และเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานยุวเกษตรกร (4-H) ของประเทศไทยในยุคก้าวสู่ Thailand 4.0 กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้ จัดงาน“วันยุวเกษตรกรโลก”ประจำปี 2560 ในวันพุธที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี ภายใต้ Theme ความภูมิใจ ยุวเกษตรกรไทย ก้าวสู่ Thailand 4.0 โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ประกอบด้วย ยุวเกษตรกร ที่ปรึกษายุวเกษตรกร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และผู้เกี่ยวข้อง รวมจำนวนทั้งสิ้น 250 คน

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “4-H Growth Engine” โดย Dr. Charlene Yen, Committee of Global 4-H Network กิจกรรมประกวดเรียงความ กิจกรรมประกวดเพ้นท์สีลงบนภาพตราสัญลักษณ์ “วันยุวเกษตรกรโลก” การประกวดภาพถ่ายกิจกรรมยุวเกษตรกร และกิจกรรมสถานีเรียนรู้วิทยาศาสตร์เกษตร และนิทรรศการจากภาคีเครือข่ายต่างๆ ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรมุ่งหวังในการเสริมสร้างทัศนคติของยุวเกษตรกร ให้ภูมิใจในคุณค่าของการเกษตร ยอมรับอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีความสำคัญต่อการดำรงชีพ และเศรษฐกิจของประเทศ ก้าวทันความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีทักษะอาชีพเกษตร ทักษะการดำเนินชีวิตในสังคม โดยเน้นวิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์และการปฏิบัติจริง (Learning by doing) มีความพร้อมในการสืบทอดอาชีพการเกษตร และเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศต่อไป