ต้นทุน ผลผลิต และรายได้ผลผลิตเริ่มปลูกเมื่อปี 62 ตอนนี้ผล

ผลิตออกมาให้เก็บขายได้ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา และคาดว่าจะมีผลผลิตให้เก็บต่อเนื่องยาวไปจนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ผลผลิตถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง ยังไม่ดกมาก 4 ไร่ เก็บผลผลิตได้สัปดาห์ละ 1 ตัน

ต้นทุนการผลิต…ถือว่าต่ำมาก ถ้าเทียบกับรายได้ เพราะ

ใช้อุปกรณ์เก่าที่มีอยู่มาประยุกต์
เพาะต้นกล้าเอง
ต้นทุนค่าปุ๋ยที่แบ่งใส่เป็นช่วง และใส่ในปริมาณที่น้อย เมื่อคิดคำนวณต้นทุนแล้ว ไม่ถึง 10,000 บาท ต่อไร่
รายได้…สัปดาห์ละ 10,000 บาท คิดเฉลี่ยรายได้ต่อเดือน ประมาณ 40,000 บาท ตอนนี้เก็บขายไป 2 เดือน รายได้ทะลุหลักแสนบาทไปแล้ว

การตลาด ในยุค โควิด-19
ต้องยืนด้วยลำแข้งตัวเอง
เจ้าของบอกว่า ช่วงที่ผ่านมาเจอแจ๊คพ็อตหลายอย่าง ปีนี้โชคไม่ดี มะละกอราคาตกต่ำมาตั้งแต่ต้นปี เพราะเจอพิษ โควิด-19 เศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลให้พ่อค้า แม่ค้า ที่เคยตกลงซื้อขายกันไว้หายไป ดังนั้น เมื่อไม่มีพ่อค้า แม่ค้า มารับซื้อ แต่ผลผลิตก็ยังออกอยู่เหมือนเดิม จึงจำเป็นต้องหาวิธีระบายของด้วยตนเอง ด้วยการเข้าไปติดต่อพ่อค้า แม่ค้า ทั้งในอำเภอและจังหวัด ซึ่งตอนแรกเขาก็แบ่งรับแบ่งสู้ เพราะเขาไม่รู้จักเรา ไม่รู้ว่าของที่เรามาขายมีคุณภาพแค่ไหน แต่พอได้ทดลองซื้อไปขายก็ติดใจ กลายเป็นแม่ค้าประจำ

โดยตกลงราคาซื้อขายที่ กิโลกรัมละ 10 บาท ถือว่าขายได้ราคาดีถ้าเทียบกับช่วงที่กำลังเกิด โควิด-19 เพราะที่อื่นไม่สามารถกระจายของได้เลย เคยถามสวนใหญ่ๆ ขายกิโลกรัมละ 5 บาท ก็ยังขายไม่ได้ บางสวนถึงกับต้องไปจ้างคนงานมาปอกเปลือกส่งขายโรงงาน ก็ยังขายได้ กิโลกรัมละ 7-8 บาท ก็ไม่คุ้ม เพราะต้องเสียค่าแรงคนงานเพิ่ม ต้องบอกว่าปีนี้สวนใหญ่ๆ ล้มกันเยอะ เกษตรกรมือใหม่จึงจำเป็นต้องศึกษาการตลาดและมีไหวพริบรับมือกับวิกฤตที่จะเกิดขึ้นให้ได้ ซึ่งถ้ามีสติรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้แล้ว ตนก็ยังยืนยันว่ามะละกอยังเป็นพืชที่มีอนาคตดี เพียงแต่เกษตรกรต้องพยายามพึ่งตัวเองให้ได้ พยายามศึกษาให้ตัวเองเก่งในทุกด้าน ทั้งด้านของการผลิตสินค้าให้มีความสม่ำเสมอ การตลาดก็ต้องหาเองให้เป็น และถ้าหาเองเป็นแล้วเรื่องคุณภาพก็สำคัญ ต้องซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ครั้งไหนผลผลิตไม่ดี ก็ไม่ต้องขาย หรือบอกให้เขารู้ก่อนว่าครั้งนี้ผลผลิตที่ได้มาเป็นอย่างไร นี่คือหัวใจสำคัญ

ฝากถึงมนุษย์เงินเดือนอยากทำเกษตร
“เดี๋ยวนี้ที่เห็นมา มนุษย์เงินเดือนหันมาเป็นเกษตรกรกันเยอะ อย่างเมื่อเร็วๆ นี้ ผมก็มีลูกค้าสั่งหน่อกล้วยให้ไปส่งที่สวน แต่เมื่อได้ไปเห็นลักษณะพื้นที่ของเขาแล้ว ยังไม่เหมาะสมกับการทำเกษตร หรืออีกทางคือ เลือกปลูกพืชไม่เหมาะสมกับสภาพดิน ก็เลยอยากบอกทุกคนที่จะมาทำเกษตรเลยว่า ก่อนที่จะมาทำ ต้องเตรียมตัวให้พร้อม ศึกษาให้ดี ว่าตอนนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ สภาพแวดล้อมพร้อมไหม และเหมาะกับพืชที่จะปลูกหรือเปล่า พยายามหาความรู้เยอะๆ อย่าคิดว่ามีพื้นที่ มีเงินมาลงทุนแล้วจะได้ ห้ามคิดแบบนั้นเด็ดขาด เพราะจะมีโอกาสล้มเหลวสูงมาก ทางที่ดีคือต้องหาความรู้ และค่อยๆ ลงมือทำ อาจจะเริ่มจาก 1 ไร่ และวิเคราะห์ดูว่าจะสามารถปลูกต่อหรือขยายเพิ่มได้ไหม และที่สำคัญต้องใจเย็นๆ อย่าใจร้อน รอให้เป็น อดทนให้ได้ ถ้าทำได้ ยังไงผมก็ยังยืนยันว่าอาชีพเกษตรกรก็ยังเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สร้างความยั่งยืนให้กับชีวิตได้เสมอ”

กรมวิชาการเกษตร ลุยต่อยอดงานวิจัยผลิตชีวภัณฑ์ราเขียวเมตาไรเซียม โชว์แบบใหม่อัดเม็ดพร้อมใช้ สะดวก สลายตัวได้ง่าย แถมคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้ดีกว่าเชื้อสด ยืดอายุเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้นานเป็นปี ยันประสิทธิภาพปราบด้วงแรดศัตรูร้ายทำลายมะพร้าวเทียบเท่าใช้เชื้อสด จดอนุสิทธิบัตรแล้ว

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ราเขียวเมตาไรเซียม เป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด ปัจจุบัน สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ได้คัดเลือกราเขียวเมตาไรเซียมสายพันธุ์ DOA-M5 ที่มีความจำเพาะเจาะจงในการเข้าทำลายด้วงแรด ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญในมะพร้าวและพืชตระกูลปาล์ม โดยราเขียวสามารถทำลายด้วงแรดได้ทั้งในระยะตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย โดยที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ราเขียวเมตาไรเซียมในรูปแบบเชื้อสดที่เลี้ยงในธัญพืช ซึ่งสามารถเลี้ยงขยายได้ง่าย แต่มีข้อเสียเรื่องระยะเวลาในการเก็บรักษาซึ่งไม่สามารถเก็บเชื้อไว้ได้นาน และไม่สามารถควบคุมคุณภาพของเชื้อได้ เนื่องจากการเก็บรักษาเชื้อจำเป็นต้องเก็บในที่เย็นเพื่อรักษาประสิทธิภาพของเชื้อ

ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาและต่อยอดงานวิจัยดังกล่าว สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช จึงได้ศึกษาการผลิตชีวภัณฑ์เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม โดยพัฒนาขบวนการผลิตเพื่อให้ได้เชื้อราบริสุทธิ์ในปริมาณมาก ที่สามารถควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพของเชื้อราให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปผลิตในเชิงอุตสาหกรรมที่สะดวกต่อการนำไปใช้ในรูปแบบอัดเม็ด ซึ่งมีข้อดีกว่าเชื้อสด คือสามารถควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ราเขียวเมตาไรเซียมที่ผลิตขึ้นได้ ยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น สะดวกในการขนส่ง เกษตรกรนำไปใช้ได้ง่าย และผลิตภัณฑ์ยังมีการสลายตัวได้ง่ายเมื่อได้รับความชื้น โดยสามารถหว่านลงพื้นที่เพื่อลดการระบาดของด้วงแรดในแหล่งขยายพันธุ์ ซึ่งการใช้เชื้อรูปแบบอัดเม็ดสะดวกต่อการหว่านลงในพื้นที่แทนการโรยเชื้อผงลงดิน หรือการผสมน้ำพ่น

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ชีวภัณฑ์เมตาไรเซียมรูปแบบเชื้อสดอัดเม็ด สามารถเก็บรักษาได้นานเป็นปี โดยเก็บในถุงอะลูมิเนียมฟอยด์ในระบบสุญญากาศ และเก็บภายใต้อุณหภูมิ 7-8 องศาเซลเซียส ยังคงคุณภาพและมีประสิทธิภาพในการควบคุมด้วงแรดได้เหมือนการใช้เชื้อสด ไม่เปลืองพื้นที่ในการเก็บรักษา สะดวกในการขนส่งและการนำไปใช้ ไม่ต้องระวังในเรื่องการเสื่อมคุณภาพและการฟุ้งกระจายเชื้อในระหว่างขนส่งและการนำไปใช้ และยังสามารถควบคุมคุณภาพเชื้อได้ ทราบปริมาณเชื้อที่ใช้ในพื้นที่ได้แน่นอน ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้ยื่นขอจดอนุสิทธิบัตร “ชีวภัณฑ์เชื้อราเขียวเมตาไรเซียมรูปแบบเชื้อสดอัดเม็ด” และได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตชีวภัณฑ์เชื้อราเขียวเมตาไรเซียมรูปแบบเชื้อสดอัดเม็ดให้ภาคเอกชนนำไปดำเนินการขยายผลผลิตภัณฑ์สู่เกษตรกรแล้ว

ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร. (02) 579-7580 ต่อ 133, 134 “ชมรมผู้ปลูกมะม่วงอำเภอเนินมะปราง” จังหวัดพิษณุโลก เกิดจากการรวมตัวของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง จำนวน 14 คน เมื่อปี 2532 ปัจจุบัน มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเกือบ 200 ราย ทางชมรมฯ จะบริหารงานในรูปคณะกรรมการกลุ่ม มี “อาจารย์ศิลป์ชัย ตระกูลทิพย์” ทำหน้าที่เป็นประธานชมรมฯ พวกเขาติดต่อสื่อสารกันผ่านการประชุมกลุ่ม ที่จัดขึ้นทุกเสาร์ที่สองของเดือน รวมทั้งผ่านหัวหน้ากลุ่มย่อย ซึ่งได้จากการแบ่งกลุ่มสมาชิกออกตามพื้นที่เป็น 10 กลุ่ม สมาชิกทั้งหมดเป็นเกษตรกรชาวสวนมะม่วงที่มีพื้นที่ทำกินเฉลี่ย 45 ไร่/ครัวเรือน

อาจารย์ศิลป์ชัย กล่าวว่า ทางชมรมฯ วางเป้าหมายพัฒนาองค์กรเป็น “ศูนย์เรียนรู้ชุมชนมะม่วง” เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการเกษตรให้แก่สมาชิกและผู้สนใจ เพื่อผลิตสินค้าคุณภาพดีป้อนตลาดทั้งในประเทศและส่งออก ที่ผ่านมา ทางชมรมฯ ได้ร่วมกับ อาจารย์ธวัชชัย รัตน์ชเลค และ อาจารย์รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์ แห่งศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำวิจัยเกี่ยวกับการทำสวนมะม่วงของสมาชิก ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จนได้ข้อสรุปที่เป็นวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด จำนวน 10 ขั้นตอน เรียกว่า “บันได 10 ขั้น สู่ความสำเร็จในการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก”

บันได ขั้นที่ 1 การพักฟื้นต้น
หลังเก็บเกี่ยว เกษตรกรจะให้ต้นมะม่วงได้พักเพื่อฟื้นฟูตนเอง 1 เดือน ประมาณช่วงเดือนพฤษภาคม เป็นระยะการให้ปุ๋ยก่อนการตัดแต่งกิ่ง ทั้งนี้ ต้นมะม่วงจะผลิใบชุดที่หนึ่งตามธรรมชาติ จะเริ่มต้นให้ปุ๋ยเคมีทางใบ เพื่อเร่งใบชุดที่หนึ่ง พร้อม “บ่มตา” เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้ตา เพื่อผลิใบชุดที่สองออกมาพร้อมกัน โดยใช้ (ต่อน้ำ 200 ลิตร) โพแทสเซียมไนเตรต อัตรา 1,000 กรัม ร่วมกับจิบเบอเรลลิน 2% อัตรา 30-50 มิลลิลิตร (ช่วยล้างพาโคลบิวทราโซลที่ตกค้างบนปลายยอด) หลังจากนั้นจึงค่อยให้ปุ๋ยทางดิน ในช่วงที่ฝนยังไม่ตก กรณีปุ๋ยคอก (มูลวัวแห้ง) หรือปุ๋ยหมัก ใส่ตามร่องที่ขุดไว้เป็นวงรอบชายพุ่มแล้วกลบปิด ใช้ 5-10 กิโลกรัม/ต้น

บันได ขั้นที่ 2 การล้างต้น
เพื่อกำจัดศัตรูพืชออกไปจากต้น เกษตรกรจะ “ล้างต้นด้วยสารเคมี” แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ หลังการพักต้น ก่อนและหลังการตัดแต่งกิ่ง ระยะที่สอง ก่อนการเปิดตาดอก (ดึงดอก) อาจารย์ศิลป์ชัย อธิบายความว่า ระยะแรกจะเริ่มตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม จะฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชประเภทมด ต่อ แตน ฯลฯ ที่เป็นอุปสรรคต่อการตัดแต่งกิ่งและจัดทรงต้น สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ ไซเพอร์เมทริน คลอร์ไพริฟอส อะบาเมคติน เมโทมิล หรือ คาร์บาริล สำหรับสารเคมี 3 ชนิดแรก เลือกใช้ในช่วงตัดแต่งกิ่งเท่านั้น ห้ามใช้ทุกกรณีหลังจากมะม่วงติดผลแล้ว การพ่นก่อนตัดแต่งกิ่งจะช่วยลดปัญหาศัตรูพืชที่สะสมอยู่ในกิ่งและใบที่ตัดแต่งลงมา

หลังตัดแต่งกิ่งเสร็จ เกษตรกรจะพ่นกำมะถัน ในอัตรา 500 กรัม/น้ำ 200 ลิตร เพื่อกำจัดเพลี้ยไฟ ไรแดง รวมทั้งเชื้อราบางชนิด สาเหตุที่ต้องแยกการพ่นสารเคมี 2 ครั้ง เพราะครั้งแรกทรงพุ่มมีกิ่งใบแน่นทึบ สารเคมีฉีดพ่นไม่ทั่วถึง และหากใช้กำมะถันร่วมกับยาฆ่าแมลงกลุ่มอื่นที่ระบุไว้ข้างต้น อาจเป็นพิษกับพืชได้

บันได ขั้นที่ 3 การตัดแต่งกิ่งและการจัดทรงต้น
สำหรับต้นมะม่วงที่ให้ผลผลิตแล้ว ให้เลือกตัดแต่งกิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป เช่น กิ่งที่โคนต้น กิ่งทับซ้อน กิ่งมุมแคบ (ทำมุมกับลำต้นหรือกิ่งหลักน้อยกว่า 45 องศา) กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งแห้ง กิ่งที่เป็นโรค กิ่งกระโดงที่ทำให้ทรงพุ่มสูงขึ้นไป รูปทรงเปิดยอด อาจารย์ศิลป์ชัย กล่าวว่า เน้นตัดแต่งกิ่งให้เป็นทรงพุ่มโปร่ง โดยตัดแต่งกิ่งออกไม่เกิน ร้อยละ 40 ระวังอย่าตัดแต่งกิ่งเกิน ร้อยละ 50 เพราะจะทำให้มีปัญหาหลังกิ่งแตก (เพราะถูกแสงแดดที่ส่องทะลุลงมาเผา) หากตัดแต่งกิ่งน้อยกว่า ร้อยละ 40 จะส่งผลให้พุ่มต้นทึบเกินไป เกิดปัญหาการระบาดของศัตรูพืชได้ง่าย

การจัดทรงต้น ควรจัดทรงพุ่มเป็นรูปครึ่งวงกลมหรือสุ่มไก่คว่ำ ความสูงหลังจากการตัดแต่งกิ่งกำหนดไว้ไม่เกิน 2.50 เมตร การควบคุมความสูง จะเริ่มทำเมื่อต้นมะม่วงอายุ 4-5 ปี ควรตัดแต่งกิ่งให้เสร็จภายใน 7 วัน เพื่อไม่ให้กระทบต่อแผนการชักนำการออกดอก หากมีพื้นที่มาก ควรแบ่งสวนออกเป็นแปลงย่อยเพื่อให้แต่ละแปลงเสร็จงานตามเวลาที่กำหนด

การทำมะม่วงนอกฤดูแบบก่อนฤดูของอำเภอเนินมะปราง สำหรับมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ จะตัดแต่งกิ่งช่วงเดือนมิถุนายนให้เสร็จ ช้าที่สุดไม่เกินปลายเดือนมิถุนายน ขณะที่พันธุ์อื่นๆ เช่น ฟ้าลั่น จะทำได้จนถึงเดือนกรกฎาคม เพราะตอบสนองต่อสารพาโคลบิวทราโซลง่ายกว่าพันธุ์น้ำดอกไม้ ส่วนพันธุ์ฟ้าลั่น พร้อมถูกดึงดอกได้ประมาณ 28-30 วัน หลังราดสาร แต่พันธุ์น้ำดอกไม้ใช้เวลาตั้งแต่ 45-60 วัน หลังการราดสาร

บันได ขั้นที่ 4 การบำรุงรักษาต้นและใบ
หลังการตัดแต่งกิ่งเสร็จในเดือนมิถุนายน นับตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป ควรให้ต้นมะม่วงได้สะสมอาหาร สมบูรณ์แข็งแรง และผลิใบใหม่ได้ 1 ชุด อย่างสม่ำเสมอกันทั้งต้น และทั้งแปลง (ถือเป็นชุดที่สอง เมื่อนับการผลิใบใหม่ตามธรรมชาติตั้งแต่ในระยะพักฟื้นต้นเป็นชุดแรก) และรอเวลาประมาณ 15-21 วัน ให้ใบชุดนี้เจริญสู่ระยะใบเพสลาด (เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเขียวอ่อนแล้ว) เตรียมพร้อมสำหรับการราดสารได้ มักทำในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ดังนั้น ช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมจึงเร่งให้ปุ๋ย บำรุงต้น สะสมอาหาร ดึงใบอ่อน พร้อมรักษาใบให้สมบูรณ์ สอดคล้องกันอย่างเป็นระบบ

การให้ปุ๋ยหลังตัดแต่งกิ่ง เน้นให้ปุ๋ยทางใบ ตั้งแต่ 7 วัน หลังตัดแต่งกิ่งเสร็จ จนถึงก่อนการราดสาร เพื่อเร่งใบอ่อนให้ผลิพร้อมกัน (ดึงใบอ่อน) และเพิ่มความสมบูรณ์ให้ใบใหม่ยิ่งขึ้น อาจารย์ศิลป์ชัย บอกว่า การดึงใบโดยทั่วไป มี 2 กรณี กรณีแรก ตัดแต่งกิ่งออก 40% โดยไม่ตัดปลายยอดออก พ่นดึงใบก่อนการตัดแต่งกิ่ง กรณีที่สอง ตัดแต่งปลายยอดบริเวณใต้ข้อที่ 1 ออก (วิธีนี้ดีกว่าวิธีแรก เพราะช่วยตัดยอดซึ่งมีสารพาโคลบิวทราโซลสะสมอยู่ออกไป ลดปัญหาการสะสมที่ปลายยอด จุดอ่อนคือ หาแรงงานยาก) พ่นดึงใบหลังตัดแต่งกิ่ง ภายใน 7 วัน และใช้ไทโอยูเรีย 500 กรัม ร่วมกับโพแทสเซียมไนเตรต (13-0-46) จำนวน 2,500 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร

การบำรุงใบ เมื่อต้นมะม่วงผลิใบอ่อน (พ่นหลังตัดแต่งกิ่ง 7 วัน ซึ่งเป็นระยะตาใบเริ่มโผล่) ให้ใช้ปุ๋ยทางใบ สูตรที่มีไนโตรเจนสูง เช่น ปุ๋ยเกล็ด 30-20-10 อัตรา 500 กรัม หรือ น้ำตาลทางด่วน อัตรา 200 มิลลิลิตร หรือปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ 20-20-20 อัตรา 500 กรัม หรือ 21-21-21 อัตรา 500 กรัม ผสมกับสารฆ่าเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม 50% WP อัตรา 200 กรัม ตามด้วยสารฆ่าแมลง เช่น คาราริล 85% WP อัตรา 500 กรัม หรือ อิมิดาคลอพิด 70% WG อัตรา 30 กรัม หรือ เมทโทมิล 40% SP อัตรา 200 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร

เมื่อตาเริ่มผลิใบออกมา ให้หมั่นตรวจสอบ ถ้ามีแมลงศัตรูพืชมากัดยอด ให้ฉีดพ่นใหม่ รวมพ่นได้ 3-4 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน ต้นก็จะเข้าสู่ระยะใบเพสลาดสำหรับการราดสาร กรณีต้องการทำใบ 2 ชุด หลังตัดแต่งกิ่ง เมื่อใบชุดแรกแก่ ให้ดึงใบใหม่อีกรอบ (หนึ่งรอบชุดใบ จะใช้เวลาประมาณ 28 วัน) หลังจากมีการผลิใบ ให้ดูแลรักษาเหมือนชุดแรก จนกระทั่งถึงใบเพสลาด จึงพร้อมราดสารอีกครั้ง หากใบอ่อนผลิออกมาสม่ำเสมอพร้อมกันทั้งต้นและใบมีความสมบูรณ์จะเลือกใช้ใบเพียงชุดเดียวแล้วราดสารเลย หลังราดสารครบเวลาตามเป้าหมาย เมื่อดึงดอกแล้วออกเป็นใบด้วยเหตุผลใดก็ตาม ให้บำรุงรักษาใบใหม่ต่อเนื่องจนสะสมอาหารไว้อย่างเต็มที่ จึงค่อยดึงดอกใหม่อีกครั้งโดยไม่ต้องราดสารอีก

บันได ขั้นที่ 5 การราดสาร
เกษตรกรนิยมราดสารโดยใช้สารพาโคลบิวทราโซล 10% WP เพื่อชักนำการออกดอกในมะม่วง การราดทางดินจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าการพ่นทางใบ กรณีมะม่วงน้ำดอกไม้ การใช้ทางดินจะแสดงผลในช่วงประมาณ 45-60 วัน หลังราดสาร ระยะใบเพสลาด หรือช่วงหลังผลิใบได้ประมาณ 15-21 วัน เป็นช่วงที่เหมาะสมสำหรับการราดสาร ทั้งนี้ ดินต้องมีความชื้น อาจารย์ศิลป์ชัย บอกว่า เกษตรกรนิยมราดสารในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม จนถึงต้นเดือนสิงหาคม เพราะไม่ค่อยมีปัญหาความชื้นในดิน กรณีไม่มีฝนตกหรือดินแห้ง ควรให้น้ำกับต้นมะม่วงก่อนการราดสาร ประมาณ 3 วัน เพื่อให้ดินมีความชื้นแล้วจึงค่อยราดสาร

กรณีมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ อายุ 5-7 ปี ควรตัดแต่งกิ่งโปร่ง ต้นสูงไม่เกิน 2.5 เมตร ราดสารในอัตรา 10 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร หากต้นมะม่วงอายุเกินกว่านี้ ควรราดสารในอัตรา 15-20 กรัม/ เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร โดยพิจารณาจากความหนาแน่นของใบ และความสูงของต้นประกอบ หากต้นสูงมากต้องเพิ่มปริมาณการใช้สารเพิ่มขึ้นไปอีก

เกษตรกรจะราดสารบริเวณโคนต้น โดยทำความสะอาดรอบโคนต้นก่อน แล้วทำเป็นแอ่ง ผสมน้ำอย่างน้อย 5 ลิตร/ต้น ควรให้น้ำมากจะได้ผลดีกว่า ใช้น้ำน้อย หลังราดสารแล้ว หากไม่มีฝนตก ต้องให้น้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ดินมีความชื้น ประมาณ 10-15 วัน ระวังอย่าราดสารเกินกว่าที่กำหนด เพราะจะทำให้ต้นมะม่วงแสดงอาการเลื้อยของกิ่ง และเปลือกแตก นำไปสู่อาการดื้อต่อสารเร็วขึ้น โดยปกติอาการดื้อสารพาโคลบิวทราโซล (ไม่ตอบสนองในการชักนำให้ออกดอก) พบเมื่อราดสารติดต่อกันประมาณ 8 ปี มักเกิดในพื้นที่ที่เป็นดินลูกรัง

บันได ขั้นที่ 6 การบำรุงตาดอกและเปิดตาดอก
หลังจากราดสารปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม สมัครเว็บแทงบอล ต้นมะม่วงจะเริ่มปรับสมดุลของฮอร์โมน มีการสะสมอาหารและถูกชักนำสร้างตาดอกขึ้น ภายใน 45-60 วัน เพื่อส่งเสริมการสร้างตาดอก ช่วงกลางเดือนกันยายนให้สมบูรณ์ ควรบำรุงตาดอกก่อนเปิดตาดอก โดยให้ปุ๋ยทางดิน หลังราดสาร ประมาณ 7 วัน เกษตรกรนิยมให้ฮิวเทคจี (ปุ๋ยเคมีอินทรีย์ สูตรบำรุงดอก) อัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น

กรณีต้นมะม่วงอายุมาก ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะเพิ่มสัดส่วนปุ๋ยเป็น 3 กิโลกรัม/ต้น หรือใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น เพื่อให้ต้นสะสมอาหารสำหรับสร้างตาดอก หลังราดสารแล้ว ดินมีความชื้น อาจใส่ปุ๋ยได้ทันที หลังจากให้ปุ๋ยทางดินประมาณ 15 วัน ควรฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ สูตร 6-16-36 หรือ 5-20-25 หรือ 0-52-34 หรือ 0-42-56 อัตรา 1 กิโลกรัม/น้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่น 3-4 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน

ควรล้างต้นก่อนเปิดตาดอก เพื่อป้องกันศัตรูพืชก่อนการแทงช่อดอก โดยใช้กำมะถันผง 500 กรัม/น้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นฆ่าเพลี้ยไฟ ไรแดง และเชื้อรา ก่อนดึงดอก ประมาณ 7 วัน การเปิดตาดอก หรือ “ดึงดอก” เป็นการใช้สารเคมีกระตุ้นให้ตาดอกที่มีความพร้อมผลิบานออกมาพร้อมกันทั้งต้น เพื่อความสะดวกในการจัดการสวน

อาจารย์ศิลป์ชัย กล่าวว่า การดึงดอก จะทำหลังราดสารประมาณ 45-60 วัน ในช่วงปลายเดือนกันยายน-ต้นเดือนตุลาคม ยกเว้นพันธุ์เขียวเสวย ใช้เวลาประมาณ 60 วัน วิธีการดึงดอก จะใช้ ไทโอยูเรีย 500 กรัม ร่วมกับโพแทสเซียมไนเตรต 2.5-3.0 กิโลกรัม พร้อมสาหร่ายทะเลสกัด 300 มิลลิลิตร (หรือใช้ รู้ดวัน 200 มิลลิลิตร/น้ำ 200 ลิตร) ในกรณีใช้เครื่องฉีดพ่น นิยมพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน หลังจากนั้น ตาดอกจะแทงช่อออกมา หลังจากดึงดอก 1 สัปดาห์ มีการผลิของตาออกมา อาจเกิดเป็นช่อใบมากกว่าช่อดอก หากปรากฏช่อดอกออกมาพร้อมกันเกิน ร้อยละ 70 ของยอดทั้งหมดบนต้น ก็ถือว่า ประสบความสำเร็จแล้ว

บันได ขั้นที่ 7 การบำรุงช่อดอก และช่อผล

การบำรุงช่อดอก ต้องเริ่มดูแลรักษาช่อดอก ตั้งแต่ระยะเดือยไก่/ระยะเขี้ยวหมา หรือหลังจากดึงดอกครั้งที่ 2 แล้ว ประมาณ 7-10 วัน ให้ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ สูตร 6-16-36 อัตรา 400 กรัม หรือ สูตร 10-52-17 อัตรา 500 กรัม/น้ำ 200 ลิตร รวมทั้งฉีดพ่นแคลเซียมโบรอน และสารฆ่าเชื้อรา เพื่อป้องกันโรคจากเชื้อราเป็นหลัก เช่น โพรคลอราช 50% WP 200 กรัม และไตรฟล็อกซี่สโตรบิน 50% WP 30 กรัม สลับกับ ไดฟีโนโคนาโซล 25% SL 100 มิลลิลิตร/น้ำ 200 ลิตร ส่วนสารฆ่าแมลงที่แนะนำคือ คาร์บาริล 85% WP 500 กรัม สลับกับอิมิดาโคลพริล 70% WG อัตรา 30 กรัม สำหรับกำจัดเพลี้ยจักจั่นและเพลี้ยไฟ

สารจับใบ ควรพ่นก่อนดอกบาน ประมาณ 3 ครั้ง ตั้งแต่ระยะเดือยไก่จนถึงก่อนดอกบาน หากสภาพอากาศแห้งแล้ง การพ่นครั้งสุดท้าย ควรเพิ่มอะมิโนแคลเซียม 100 มิลลิลิตร/น้ำ 200 ลิตร เพื่อช่วยให้ดอกมีความชุ่มชื้นและมีกลิ่น ช่วยดึงแมลงพาหะมาผสมเกสร ให้ผสมสารเคมีทั้งหมดตามลำดับ เมื่อดอกเริ่มบานให้หยุดการพ่นสารเคมีทุกชนิด