ต้นยางที่เสริมรากจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีครึ่ง ถึง 2 ปี

แผลก็จะเชื่อมติดกันสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน ต้นยางที่เสริมรากนี้นอกจากจะทำให้ระบบรากแข็งแรง โค่นล้มยากแล้ว ต้นก็จะเจริญเติบโตได้ดีกว่าต้นยางที่มีรากเดียว ในช่วงดังกล่าวคุณชาตรีได้ให้ปุ๋ยเคมี สูตร 27-6-6 เพื่อบำรุงต้น ประมาณต้นละ 100 กรัม ปีละ 3 ครั้ง ในช่วงก่อนฝน กลางฝน และปลายฝน ส่วนปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวิภาพที่ทำเองจะให้ในช่วงที่มีเวลาว่างจากงานประจำ

คุณชาตรีจะทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ โดยใช้ถังสีฟ้า ขนาด 200 ลิตร วัสดุดิบที่นำมาใช้ ได้แก่ ปลา หรือไส้ปลา หรือหอยเชอรี่ (สับหรือบด) จำนวน 30 กิโลกรัม ไข่ไก่หรือไข่เป็ด 50 ฟอง นมสดให้ซื้อตามห้างที่หมดอายุแล้วจะได้ของราคาถูก จำนวน 20 ลิตร กากน้ำตาล 20 กิโลกรัม สาร พด.2 ของกรมพัฒนาที่ดินจำนวน 2 ซอง กรณีมีกลิ่นเพิ่มกากน้ำตาลได้ และใช้ผลไม้ที่ไม่มีรสเปรี้ยว เช่น ฝรั่ง มะละกอ กล้วย หน่อกล้วย ไส้กล้วย จำนวน 50 กิโลกรัม ส่วนผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น สับปะรด มะม่วง มะยม ใช้ไม่ได้

หั่นวัสดุทั้งหมดเอาแค่หยาบๆ ก็พอ ใส่ลงในถังหมักปากกว้างที่มีฝาปิด นอกจากนี้ นำไข่ไก่ที่ต่อยให้แตกใส่ลงไปทั้งเปลือก ใส่น้ำจำนวน 30 ลิตร หรือพอท่วมวัสดุ สูตรน้ำหมักชีวภาพที่คุณชาตรีทำไว้ใช้ในสวน นิยมใช้น้ำหมักจากต้นกล้วยมาแทนน้ำเปล่า เพื่อให้มีธาตุอาหารเพิ่มขึ้น โดยคนวัตถุดิบทั้งหมดให้เข้ากัน ประมาณ 2-3 วัน ค่อยมาคนกลับวัสดุในถัง ใช้ฝาปิดไว้อย่าให้มิด เพื่อเป็นการระบายแก๊ส ถังหมักน้ำชีวภาพควรเก็บไว้ในที่ร่มไม่ให้โดนแดด ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน หรือสังเกตว่าฟองอากาศที่เคยขึ้นมาตอนคนจะหายไป ก็กรองแล้วนำมาใช้ได้ ส่วนเศษวัสดุที่เป็นส่วนผสมยังคงย่อยไม่หมด แต่จะค่อยๆ ย่อยไปได้เรื่อยๆ น้ำหมักชีวภาพจะจำหน่ายลิตรละ 50 บาท

คุณชาตรีจะใช้น้ำหมักชีวภาพในสวนยาง 2 รูปแบบ คือ ใช้รดที่โคนต้น ในอัตราส่วนครึ่งลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ด้วยเครื่องพ่นสะพายหลัง วิธีที่สอง ใช้ฉีดพ่นทางใบเพื่อเป็นฮอร์โมนพืช โดยใช้อัตราส่วนที่เจือจางกว่าลงครึ่งหนึ่ง น้ำหมักชีวภาพสูตรนี้ สามารถใช้ปรับสภาพในบ่อปลา ผสมน้ำให้สัตว์เลี้ยงกินได้

น้ำหมักสูตรนี้คุณชาตรีใช้ในสวนยางอย่างสม่ำเสมอ และแนะนำให้เกษตรกรที่รู้จักกัน นำไปใช้ในแปลงปลูกเมล่อน ปรากฏว่าได้ผลดี จึงมาซื้อไปใช้ในการปลูกเมล่อน ครั้งละหลายสิบลิตร นอกจากนี้ สามารถนำไปคลุกกับขุยมะพร้าวที่ใช้ในการตอนพืช ช่วยให้รากพืชเจริญเติบโตได้เร็วและแข็งแรงมาก

สูตรการทำปุ๋ยหมัก

นอกจากนี้ คุณชาตรียังได้ผลิตปุ๋ยหมักขึ้นใช้เอง โดยใช้วัตถุดิบคือ มูลวัวหรือมูลสัตว์อื่นๆ ประมาณ 500 กิโลกรัม เศษพืชผักหรือผลไม้ต่างๆ ในสวน กรณีนี้สามารถใช้ผลไม้เปรี้ยวได้ จำนวน 500 กิโลกรัม ใช้น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตไว้แล้วจำนวน 30 ลิตร กระดูกวัวเผา 200 กิโลกรัม ถ้าไม่มีใช้แร่ฟอสเฟตแทนก็ได้ สาร พด.1 จำนวน 1-2 ซอง

การหมักปุ๋ยควรทำอยู่ในโรงเรือน แบ่งวัสดุหลักคือ มูลสัตว์และพืชผักเป็นอย่างละ 3 ส่วน ครั้งแรกโรยมูลสัตว์ลงไปก่อนแล้วทับด้วยเศษพืชผัก ใส่กระดูกวัวเผาหรือแร่ฟอสเฟตลงไป รดด้วยน้ำหมักชีวภาพแบบเข้มข้นไม่ต้องผสมน้ำ 10 ลิตร ผสม สาร พด.1 ลงไปด้วย ทำแบบนี้อีก 4 ชั้น ก็ได้กองปุ๋ยหมักที่มีพืชผักอยู่บนสุด อย่าลืมใส่ท่อพีวีซี หรือใช้ไม้ไผ่เป็นท่อระบายอากาศ สัก 9-10 อัน หมักประมาณ 15 วัน จึงกลับกองปุ๋ยหมักเพื่อให้จุลินทรีย์ทำงานอย่างทั่วถึง ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน หรือหมดกลิ่น หรือกองปุ๋ยหมักมีอุณหภูมิปกติก็นำไปใช้งานได้ ก่อนนำไปใช้งาน ควรนำปุ๋ยหมักมาบดให้ละเอียดก่อน ปัจจุบัน คุณชาตรีได้ใช้ปุ๋ยหมักภายในสวนเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ย มีเหลือขายอยู่จำนวนไม่มากนัก

ปัจจุบันสวนยางของคุณชาตรีที่ปลูกด้วยวิธีเสริมราก ทำให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตได้เร็วกว่าปกติ เมื่อบำรุงต้นยางด้วยปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพที่ทำใช้เองเสริมเข้าไปด้วย ยิ่งทำให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

สวัสดีครับ สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน พบกันเป็นประจำ ในคอลัมน์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย The challenge of smallscale farmers” กับผมธนากร เที่ยงน้อย ฉบับนี้พาท่านไปพบปะพูดคุยกับอีกหนึ่งธุรกิจเกษตรที่ทำรายได้เป็นอย่างดี แม้ในช่วงที่โควิดกำลังระบาดไปทั่ว พอพูดถึงโควิดที่กำลังระบาดในคน ก็ทำให้นึกถึงโรคระบาดในสัตว์บ้านเราอย่าง กาฬโรคแอฟริกาในม้าที่รุนแรงมากพอสมควร

จนมาถึงโรคลัมปีสกิน ที่กำลังระบาดในวัว ควาย ในบ้านเราตอนนี้ ช่วงนี้ทั้งคนทั้งสัตว์อ่วมโรคระบาดไปตามๆ กัน จนเกษตรกรด้านปศุสัตว์บางท่านเอ่ยปากกับผมว่าเลิกเลี้ยงสัตว์ ไปปลูกไม้ด่างขายดีกว่ามั้ง ได้ยินแล้วก็เศร้าใจ ไม่ว่าอย่างไร ก็ขอเป็นกำลังใจให้ ขอให้พี่น้องเกษตรกรไทยทุกท่านก้าวข้ามสถานการณ์นี้ไปได้ด้วยกันทุกท่านครับ กลับมาเข้าเรื่องธุรกิจเพาะกล้าไม้ป่าของเราครับ ผมพาท่านไปตระเวนไกลถึงแม่วงก์ นครสวรรค์ ห่างจากกรุงเทพฯ 323 กิโลเมตร เพื่อมาดูให้ถึงต้นทางธุรกิจเพาะกล้าไม้ป่ากันครับ

เอบี พันธุ์ไม้ แม่วงก์ นครสวรรค์
แนะนำให้ท่านรู้จักกับ คุณพีรยุทธ โสภารัตน์ และ คุณสุขาร โสภารัตน์ เจ้าของ เอบี พันธุ์ไม้ ร้านจำหน่ายกล้าไม้ป่าและพันธุ์ไม้ต่างๆ เอบี พันธุ์ไม้ ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 182 หมู่ที่ 7 ตำบลเขาชนกัน อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ คุณพีรยุทธ เริ่มต้นเล่าให้ฟังว่ามองเห็นช่องว่างทางธุรกิจ เพราะคนที่ไปขอกล้าไม้ป่าจากหน่วยงานของภาครัฐต่างๆ มักจะต้องรอนาน จึงเห็นว่ากล้าไม้ป่าน่าจะเป็นที่ต้องการของคนทั่วไป จึงหันมาจับธุรกิจนี้ “ทำเรื่องเพาะพันธุ์กล้าไม้ป่ามากว่า 3 ปี เป็นธุรกิจที่ทำนอกเหนือจากงานประจำ ยิ่งในช่วงนี้ที่มีกฎหมายใหม่ห้ามทิ้งพื้นที่ให้ว่างเปล่า จึงมีความต้องการพันธุ์ไม้ป่าเพื่อไปปลูกในพื้นที่กันเยอะ ก็ถือว่าเรามาถูกทาง”

แรงส่งแรงหนุนธุรกิจกล้าไม้ป่า
กล้าไม้ป่า ที่ร้าน เอบี พันธุ์ไม้ ของคุณพีรยุทธมีหลากหลาย “เรามีทั้งไม้พะยูง ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้ยูคาฯ ไม้สาทร มะค่าโมง ไม้แดง ไปจนถึงไม้ผล อย่าง มะขามเปรี้ยวฝักยักษ์ น้อยหน่า เราก็มี” คุณพีรยุทธ บอกว่า ที่ เอบี พันธุ์ไม้ มีกล้าไม้หลากหลายชนิด เพราะเรามองว่าตอนนี้หลายเหตุหลายปัจจัยส่งผลให้คนไทยหันมาปลูกต้นไม้มากขึ้น โดยเฉพาะไม้ป่า เพราะมีกฎหมายหลายฉบับที่ออกมาแล้ว เป็นการสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมให้คนไทยปลูกไม้ป่าและปลูกพืชต่างๆ มากขึ้น ผมลองไปค้นดูก็พอจะเห็นแรงจูงใจให้คนไทยปลูกไม้ป่า ไม้ผล มากขึ้นจากการปลดล็อกไม้ยืนต้นตัดได้ไม่ผิดกฎหมาย ประกาศราชกิจจานุเบกษา ยกเลิกไม้หวงห้าม ตาม มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 สำหรับ พ.ร.บ. ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 ที่มีรายละเอียดตอนหนึ่งว่า

“ไม้ทุกชนิดที่ขึ้นในที่ดินมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่เป็นไม้หวงห้าม”

จึงทำให้การปลูก การตัดไม้มีค่า ไม่ต้องทำเรื่องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่อีกต่อไป หรือกล่าวได้ว่า กฎหมายฉบับนี้ได้ยกเลิกการกำหนดไม้หวงห้ามในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินจะควบคุมเฉพาะไม้ในป่าเท่านั้น ที่ดินในสิทธิครอบครองสามารถตัดได้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนปลูกและตัดไม้ได้สะดวก (https://greennews.agency/?p=18868) ภาษีที่ดินก็เป็นอีกหนึ่งแรงหนุนให้คนไทยหันมาปลูกไม้ป่า ปลูกไม้ผลมากขึ้น คือ ที่ดินรกร้างว่างเปล่า บ้านไม่ใช้ประโยชน์ และอื่นๆ ที่ดินประเภทนี้มีการกำหนดอัตราเพดานภาษีไว้ที่ 1.2% โดยหากที่ดินมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.3% ขณะที่ที่ดินมูลค่า 50-200 ล้านบาท อัตราภาษีเพิ่มขึ้นเป็น 0.4% ไล่เรียงไปถึงมูลค่าที่ดินมากกว่า 5,000 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.7% อย่างไรก็ตาม หากที่ดินรกร้างว่างเปล่า ยังคงปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์ ทุกๆ 3 ปี อัตราภาษีจะเพิ่มขึ้น 0.3% แต่อัตราภาษีรวมทั้งหมดต้องไม่เกิน 3% สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

แค่ 2 ปัจจัย ที่ผมยกมา ก็เป็นปัจจัยสนับสนุนให้คนไทยปลูกไม้ป่า ไม้ผลมากขึ้น จึงเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจเพาะชำกล้าไม้ อย่างที่ เอบี พันธุ์ไม้ ของคุณพีรยุทธได้รับผลดีอยู่ในตอนนี้

จะขายต้นอะไร ดูจากความต้องการของตลาด
การเลือกพันธุ์ไม้ของคุณพีรยุทธจะดูจากความต้องการของตลาด อย่างตอนนี้ ไม้พะยูง มาแรงมาก เพราะเป็นกระแสจากข่าวต่างๆ ส่วนสักและประดู่มีความต้องการมากอย่างสม่ำเสมอ ยูคาฯ ก็เป็นไม้โตเร็วที่มีความต้องการมากสม่ำเสมอ ทั้งกล้าไม้พะยูง กล้าสัก กล้าประดู่ และยูคาฯ จึงเป็นพันธุ์ไม้หลักๆ ที่คุณพีรยุทธมีไว้จำหน่าย คุณพีรยุทธ เล่าว่า “ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นชาวบ้านทั่วไป รวมไปถึงวัยรุ่นหรือคนรุ่นอายุ 25 ปีขึ้นไป ที่เป็นวัยกำลังสร้างตัว ปัจจุบันคนรุ่นนี้สนใจหันมาปลูกไม้ป่ากันเยอะ อาจจะมาจากสื่อต่างๆ ที่นำเสนอเรื่องนี้ จึงทำให้วัยรุ่นวัยสร้างตัวสนใจหันมาปลูกไม้ป่ามากขึ้น ทั้งไม้โตเร็ว อย่าง ยูคาฯ และไม้ป่าอื่นๆ เพราะคนรุ่นใหม่หวังจะให้เป็นเงินออมสำหรับอนาคต ส่วนเกษตรกรกลุ่มที่มีอายุมากขึ้นไป มักจะเลือกปลูกไม้ยูคาฯ เป็นหลัก เพราะต้องการเงินสดเงินเร็ว ไม่สามารถปลูกไม้ป่าเพื่อรอนานๆ ได้”

ส่วนการเลือกปลูกไม้ป่าเศรษฐกิจในมุมมองของคุณพีรยุทธ มองว่า “ไม้ป่าที่มีอนาคตทางธุรกิจ ผมมองว่า สัก ประดู่ ยังเป็นไม้ป่าเศรษฐกิจที่สำคัญ ส่วนพะยูงแม้ตอนนี้จะมีกระแสแรงมาก แต่หากปลูกเป็นไม้ป่าเศรษฐกิจแล้ว ต้องใช้เวลานาน คนปลูกอาจจะไม่ได้อยู่ใช้เงิน หากจะปลูกไม้ป่าเศรษฐกิจที่ใช้เวลาไม่นานนัก มะค่า และประดู่ ยังน่าสนใจ ส่วนไม้ป่าเศรษฐกิจ อย่าง สัก ก็ยังน่าลงทุน ส่วนการปลูกยูคาฯ จะสามารถตัดได้หลังจากปลูกไปแล้ว 3 ปี และสามารถไว้ตอเพื่อให้งอกออกมาและตัดต่อไปอีกได้ 7-8 ปี ไม้ยูคาฯ มีตลาดรับซื้อตลอด จึงทำให้สามารถขายกล้าพันธุ์ได้ตลอดเช่นกัน”

ป่าปลูกที่มีประโยชน์หลากหลายเป็นทางเลือกที่ดี
การปลูกไม้ป่าเศรษฐกิจนั้นต้องใช้เวลานานจึงจะมีรายได้เข้ามา ในช่วงระหว่างรอรายได้จึงเป็นช่วงสำคัญสำหรับเกษตรกร หากเป็นเกษตรกรรายใหญ่สายป่านยาว อาจจะไม่ใช่ปัญหาสำคัญนัก แต่สำหรับเกษตรกรรายย่อย การรอรายได้หลายปีอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก เกี่ยวกับเรื่องนี้คุณพีรยุทธให้ข้อคิดเห็นว่า “ไม้ป่าจำพวก ไม้เต็งรัง ไม้ยางนา ก็เป็นไม้ป่าเศรษฐกิจที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่ง เพราะนอกจากสร้างป่าเศรษฐกิจแล้ว ในพื้นที่ป่าเหล่านี้ยังสามารถเพาะเห็ดต่างๆ ได้ เช่น เห็ดระโงก เห็ดเผาะ เป็นต้น จึ

Zero waste เป็นแนวคิดในการที่จะทำให้ไม่เกิดของเหลือหรือทำให้เกิดของเหลือน้อยที่สุดในกระบวนการผลิต แล้วจึงนำส่วนที่เหลือไม่สามารถใช้ประโยชน์แล้วไปกำจัด เริ่มมีการนำมาใช้ในช่วง ค.ศ. 1970 ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งภาคอุตสาหกรรมยังได้มีการแลกเปลี่ยนหรือขายของเหลือดังกล่าวให้กับโรงงานหรือสถานประกอบการอื่นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปทำให้ของเหลือเหล่านั้นมีจำนวนน้อยลง ถือเป็นแนวคิดการจัดการที่เป็นประโยชน์กับทั้งสิ่งแวดล้อมและภาคอุตสาหกรรมทุกแขนง

คุณอภิรนันท์ ธรรมจันท์สนิท หรือ พี่ข้าว อยู่บ้านเลขที่ 12 หมู่ที่ 3 ตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี อดีตข้าราชการครูหัวใจเกษตร จากมือสมัครเล่นสู่เกษตรกรมืออาชีพ พร้อมแนวคิดการจัดการแปลงแบบเกษตรกรยุคใหม่ ด้วยการนำแนวคิด Zero waste มาใช้ในการปลูกข้าวโพดหวานสีแดงราชินีทับทิมสยาม โดยไม่ให้เกิดขยะเหลือทิ้ง คือทุกส่วนสามารถนำมาใช้ประโยชน์หมุนเวียนได้ทั้งหมด จนเกิดเป็นการสร้างอาชีพต่อยอดอนาคตได้อย่างยั่งยืนงอาจจะเป็นแนวทางสร้างอาชีพ สร้างรายได้เสริมระหว่างการรอรายได้จากไม้ป่าเศรษฐกิจ” ตัวของคุณพีรยุทธเองจึงพยายามส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกไม้ป่าประเภทเต็งรัง พวกยางนา เพราะจะสร้างอาชีพเสริมให้ชาวบ้านได้ ทำให้ทุกวันนี้ไม้ป่าอย่าง ประดู่ สัก ยางนา เป็นพันธุ์ไม้ป่าเศรษฐกิจที่ขายดีที่สุดของ ร้าน เอบี พันธุ์ไม้ ของคุณพีรยุทธ

ใครสนใจอยากทำธุรกิจกล้าไม้ป่าต้องฟัง
คุณพีรยุทธ เล่าว่า วงจรการทำธุรกิจกล้าไม้ป่าในรอบปีจะเริ่มต้นในช่วงฤดูหนาว คือเดือนพฤศจิกายน ก็จะเริ่มเตรียมดิน เตรียมหาเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าเพื่อนำมาปลูก เมื่อปลูกเพาะพันธุ์ไปแล้วและต้นกล้าก็จะเริ่มโตดีและพร้อมขายได้ในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ขายดีที่สุด ในส่วนเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าส่วนใหญ่หาเก็บเอาตามป่า อย่างเช่น พวกเต็ง รัง ยางนา หากหาไม่ได้ก็จะสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ตเพื่อเอามาเพาะพันธุ์ ส่วนยูคาลิปตัสจะขายดีช่วงเดือนเมษายนเป็นต้นไป”

คุณพีรยุทธ มองว่า “ธุรกิจเพาะขยายพันธุ์กล้าไม้ป่ายังไปได้ดี เพราะยังมีพื้นที่ว่างในประเทศไทยอีกเยอะ อีกอย่างธุรกิจนี้ก็ยังมีกำไรพอเลี้ยงตัวเองได้ ทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำตลาดมากมายนัก ลูกค้าส่วนใหญ่ก็บอกกันปากต่อปากเป็นลูกค้าในเขตนครสวรรค์และพื้นที่ใกล้เคียง” ส่วน คุณสุขาร บอกว่า “การจะทำธุรกิจเพาะพันธุ์กล้าไม้ป่า คนขายจะต้องมีความรู้ในเรื่องการเพาะพันธุ์ไม้ จะต้องมีประสบการณ์ เพื่อจะสามารถแนะนำให้เกษตรกรที่จะซื้อพันธุ์ไม้ป่าไปปลูก คนที่สนใจทำธุรกิจนี้ ต้องมีใจรักค่ะ เพราะเป็นธุรกิจที่ค่อยๆ เดิน อีกอย่างการปลูกต้นไม้ก็เหมือนการเลี้ยงลูก ต้องเอาใจใส่ คนที่ไม่รักต้นไม้ ทำธุรกิจนี้ได้ยาก”

ในช่วงที่คนในแวดวงธุรกิจเกษตรต่างส่ายหัวและก้มหน้าก้มตาพยายามฟันฝ่าวิกฤตนี้ไปให้ได้ ก็ยังมีธุรกิจเพาะพันธุ์ไม้ป่า ที่ยังเดินหน้าต่อได้ แม้จะเดินหน้าอย่างช้าๆ แต่ก็ไม่หยุดเดิน ส่วนใครที่จะเข้ามาในธุรกิจนี้ ก็ขอให้อ่านซ้ำคำแนะนำข้างบนให้ถี่ถ้วนกันก่อนนะครับ หรือใครอยากคุย สอบถามเพิ่มเติมกับ คุณพีรยุทธ โสภารัตน์ ติดต่อไปได้ที่เบอร์ 089-589-6326 ส่วนฉบับนี้หมดพื้นที่แล้ว ต้องขอลากันไปก่อน ขอให้โชคดี ไม่มีโรคกันทุกท่านทั่วหน้า สวัสดีครับ

พี่ข้าว เล่าถึงจุดเริ่มต้นการเป็นเกษตรกรให้ฟังว่า อดีตตนเองเคยเป็นครูมาก่อน แต่ด้วยลักษณะนิสัยส่วนตัวที่เป็นคนรักอิสระจึงคิดว่าตัวเองไม่เหมาะกับงานที่ทำอยู่ จึงได้ตัดสินใจลาออกจากการเป็นครูเพื่อมาเป็นเกษตรกร แต่ต้องบอกก่อนว่าในตอนนั้นก่อนที่ตนเองจะออกจากงาน ก็ได้ทดลองทำอะไรหลากหลาย เพื่อค้นหาความชอบของตนเอง ทำมาหลายอย่าง ทั้งเลี้ยงสัตว์ ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง ก็นานกว่าจะได้ผลผลิตแต่ละครั้ง หรือจะเป็นด้านไม้ประดับก็เคยทำแต่แล้วก็ไม่ใช่ทาง จนสุดท้ายมาจบที่การปลูกข้าวโพด เนื่องจากข้าวโพดเป็นพืชที่ปลูกดูแลง่าย ปลูกครบ 65 วัน ได้เก็บขายแน่นอน

ข้าวโพดหวานราชินีทับทิมสยาม
ปลูก 2 ไร่ สร้างประโยชน์รอบด้าน
ทั้งขายฝักสด-แปรรูป-เป็นอาหารสัตว์
เจ้าของบอกว่า ตอนแรกที่มุ่งมั่นจะปลูกข้าวโพดเป็นพืชหลักสร้างรายได้ก็ยังไม่ค่อยมีความมั่นใจเท่าไรนัก แต่พอได้ลงมือทำไปแล้วผลลัพธ์ออกมาดี ทั้งคนในครอบครัวและคนรอบข้างที่รู้จักกัน เมื่อได้เห็นผลผลิตที่ตนเองปลูกแล้วต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ข้าวโพดของเราสวยน่ากิน ตรงนี้จึงเป็นตัวจุดประกายว่าจะลองปลูกขายแบบจริงจัง บวกกับพื้นฐานเดิมเป็นคนชอบกินข้าวโพดเป็นชีวิตจิตใจอยู่แล้วจึงทำให้สนุกไปกับการปลูกทดลองหาพันธุ์แปลกๆ ไปเรื่อย เพราะนอกจากความสนุกแล้วยังถือเป็นการได้หาจุดเด่นของไร่ไปในตัว จนกระทั่งไปถูกใจอยู่กับข้าวโพดสายพันธุ์หนึ่ง คือข้าวโพดราชินีทับทิมสยาม มีจุดเด่นที่สีสันสวยงาม สามารถกินดิบได้ รสชาติหอมหวาน และที่สำคัญมีคุณประโยชน์มากมาย ทั้งในด้านของสุขภาพและการต่อยอดแปรรูปออกมาได้หลากหลายผลิตภัณฑ์

โดยที่สวนเริ่มต้นปลูกข้าวโพดบนพื้นที่ 3 งาน และค่อยๆ มีการขยับขยายพื้นที่ปลูกมาเป็น 2 ไร่ แบ่งปลูกเป็นรุ่น รุ่นละ 1,000 ต้น เพื่อให้มีผลผลิตเก็บขายได้ตลอดทั้งปี และปลูกเท่าที่ทำไหว ที่เหลือจะเป็นการขยายเครือข่ายให้คนในชุมชนได้ปลูกแล้วส่งขายให้กับเรา และทำหน้าที่หาเมล็ดพันธุ์และแนะนำวิธีการปลูกดูแลให้กับเครือข่าย เพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาได้คุณภาพเหมือนกันทุกฝัก

“เมื่อก่อนพี่เคยมีประสบการณ์นำเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดราชินีทับทิมสยามไปให้ชาวบ้านที่เป็นเครือข่ายปลูก เขาก็บอกว่าเขาปลูกเป็นเพราะเคยปลูกข้าวโพดมาก่อน แต่พอถึงเวลาเก็บผลผลิตที่ได้คุณภาพไม่เหมือนที่เราปลูกเอง พี่ก็เลยลองไปดูว่าเขาปลูกยังไง ก็ได้เห็นว่าเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดทั่วไปเขาไม่ได้ใส่ใจเท่าเราปลูก เพราะเทคนิคการปลูกของเรากว่าจะได้ผลผลิตที่ออกมาดีนั้น เราจะเริ่มต้นนับทุกสิ่งที่เกี่ยวกับข้าวโพด นับตั้งแต่วันเพาะเมล็ดลงถาด กำหนดระยะเวลากี่วันที่จะย้ายเมล็ดในถาดลงดิน นับเวลาให้น้ำ ใส่ปุ๋ย ตรวจแปลง ซึ่งเราละเอียดมาก ถึงได้ผลผลิตที่คุณภาพดีขนาดนี้”

แนวคิดจัดการแปลง Zero waste
เกิดจากความเสียดายเนื่องจากในตอนแรกคิดแค่เพียงจะปลูกแค่การขายฝักสดเท่านั้น แต่เมื่อได้ลองคลุกคลีอยู่กับข้าวโพดจริงๆ จึงได้รู้ว่าข้าวโพด 1 ต้น สามารถนำมาสร้างประโยชน์อะไรได้บ้างนอกจากการขายฝัก คือ

ต้นข้าวโพดหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้วสามารถนำมาบดสับแล้วหมัก นำมาเป็นอาหารให้สัตว์เลี้ยงภายในฟาร์มกินได้
กากของข้าวโพดที่เหลือจากการแปรรูป นำมาหมักเป็นอาหารเลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ดภายในฟาร์ม
นอกจากเป็นอาหารสัตว์ได้แล้ว ยังสามารถนำมาทำน้ำหมักรดพืชผักภายในสวนได้อีก
การนำมาแปรรูปเป็นได้หลากหลายผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวโพดของที่ฟาร์ม เช่น ทองม้วน คุกกี้ ข้าวเกรียบ น้ำนมข้าวโพด และสบู่ ที่ทำมาจากข้าวโพดราชินีทับทิมสยามทั้งหมด

จุดเด่นข้าวโพดราชินีทับทิมสยาม…สามารถกินดิบได้ ไม่อืดท้อง มีแป้งน้อย และที่สำคัญ สีของฝักเป็นสีแดง ซึ่งหลายคนต่างทราบกันดีอยู่แล้วว่าผลไม้ที่มีสีแดง สีม่วง และสีน้ำเงิน เช่น องุ่น ทับทิม และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ จะมีสารแอนโทไซยานินสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ชะลอความเสื่อมของดวงตาได้อีกด้วย

ขั้นตอนการแปรรูปน้ำนมข้าวโพด
ผลิตภัณฑ์เด่นสร้างรายได้
พี่ข้าว บอกว่า การเริ่มต้นแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดนั้น เป็นวิธีแก้ปัญหาในช่วงที่ตลาดฝักสดไม่ราบรื่น ขายออกได้ช้า และด้วยเงื่อนไขของข้าวโพดสำหรับกินฝักสดนั้นหากเก็บไว้นานรสชาติจะไม่อร่อย จึงต้องหาวิธีระบายของออกที่นอกจากการทิ้งและให้วัวกิน จนได้เป็นแนวคิดการแปรรูปผลิตภัณฑ์ขึ้นมาหลากหลาย ซึ่งจากวันที่เริ่มต้นแปรรูปจนถึงวันนี้คิดว่าตนเองคิดถูกมากๆ เพราะการแปรรูปถือว่าไม่ได้เป็นแค่ทางเลือกแต่ยังเป็นทางรอดที่ดีในการระบายสินค้าและยังเป็นการสร้างช่องทางเพิ่มได้มาจนถึงปัจจุบัน

ขั้นตอนแปรรูปน้ำนมข้าวโพดราชินิทับทิมสยาม
การเลือกวัตถุดิบ ข้าวโพดที่เหมาะสำหรับการนำมาแปรรูปคือต้องเป็นข้าวโพดที่สดใหม่เท่านั้น ส่วนรูปร่างลักษณะของฝักจะเล็กหรือใหญ่ก็ได้แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน
แกะเปลือกข้าวโพด แล้วฝานเมล็ดนำไปปั่น สมัคร Holiday Palace สมัคร Holiday Palace หากท่านใดอยากลองทำดื่มเองที่บ้านสามารถใช้เครื่องปั่นน้ำผลไม้ทั่วไปได้
3. เมื่อปั่นเสร็จให้ใช้ถ้วยตวงวัตถุดิบให้ได้สัดส่วน 1 ต่อ 1 คือถ้าใช้ข้าวโพด 1 ถ้วย ก็ต้องใส่น้ำ 1 ถ้วย ถือเป็นจุดแข็งของที่ฟาร์มที่ใส่เนื้อข้าวโพดเยอะ ด้วยความที่เป็นเจ้าของวัตถุดิบเอง ดังนั้น วัตถุดิบที่ใส่จะไม่มีการหวง
4. ต้มน้ำให้เดือดแล้วใช้แกนของข้าวโพดที่ฝานเนื้อออกอย่าเพิ่งทิ้ง ให้นำเอาแกนตรงนั้นมาต้ม จะได้สารแอนโทไซยานิน คือสารสีแดง และวิตามินที่อยู่ในจมูกข้าวโพดที่ติดอยู่ที่แกน
5. ต้มให้เดือดแล้วเอาแกนออก จากนั้นใส่เนื้อข้าวโพดที่ฝานไว้ลงไป ต้มต่ออีกประมาณ 10 นาที เติมเกลือลงไปเล็กน้อย และใส่ใบเตยลงไปอีกนิดหน่อย แล้วปิดไฟ ทิ้งไว้ให้เย็น
6. นำมาบรรจุใส่ขวด หรือภาชนะที่เตรียมไว้ (โดยสูตรของเราไม่ได้มีการเติมน้ำตาล เพราะฉะนั้น ความหวานที่ได้จะมาจากข้าวโพดล้วนๆ)
ปริมาณการผลิต…500 ขวด ต่อ 1 รอบการผลิต สินค้าขายหมดอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่เกิน 2 วัน ราคาขายขวดละ 20 บาท ถือเป็นราคาที่ถูกมากๆ เพราะปลูกเองถึงสามารถขายราคานี้ได้

การสร้างมูลค่าเพิ่ม…รายได้ 25,000-30,000 บาท ต่อเดือน จากการขายน้ำนมข้าวโพด ถือว่าตนเองคิดไม่ผิดที่หาทางออกด้วยการแปรรูป เพราะ 1. จากเมื่อก่อนมีรายได้จากการขายฝักสดเพียงอย่างเดียว หากวันไหนฝนตกก็กระจายสินค้าออกได้ยาก หรือฝักที่ตกเกรด ฝักเล็กแม่ค้าไม่รับซื้อแทนที่จะทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ ก็สามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้ 2. ช่วยยืดอายุการขายได้นานขึ้น ไม่ต้องรีบขาย ไม่ต้องลดราคาสินค้าของตนเองลง และ 3. นอกเหนือจากการสร้างรายได้คือเรื่องของคุณค่าทางจิตใจ ที่ตนเองรู้สึกภูมิใจที่ทำให้คนในชุมชนที่เมื่อก่อนเคยปลูกแต่อ้อยกับมัน ต้องรอผลผลิตรายปี แต่เมื่อเขามาทำกับเรา เขาสามารถแบ่งพื้นที่เล็กๆ มาปลูกข้าวโพด 2 เดือน เก็บผลผลิตได้ก็สามารถนำเงินส่วนนี้ไปใช้จ่ายในครอบครัวระหว่างรอรายได้ประจำปี

ฝากถึงเกษตรกรทั้งมือเก่า-ใหม่
“การแปรรูปถึงแม้จะเป็นการเพิ่มกระบวนการและเป็นการเพิ่มต้นทุน แต่นี่ก็เป็นช่องทางการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและยืดอายุให้สินค้าเราได้เหมือนกัน จึงอยากจะแนะนำกับเกษตรกรทุกท่านว่าถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรง ก็ให้ลองหันมาแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบที่มีในไร่ในสวนของตัวเองกันเถอะ มันเป็นทางออกที่ดีจริงๆ ยิ่งช่วงที่เกิดโควิด-19 ยิ่งเห็นได้ชัดว่าการแปรรูปสำคัญแค่ไหน หากที่สวนของพี่ยังขายแต่ฝักสดอย่างเดียวคงจะต้องเหลือทิ้ง และมีรายได้แค่ทางเดียว แต่เมื่อหันมาแปรรูปรู้สึกว่าไม่ต้องรีบกระจายสินค้า ขายไม่หมดก็นำมาแปรรูปขายได้หลากหลายผลิตภัณฑ์ ถือเป็นการเพิ่มช่องสร้างรายได้ในยุคที่เศรษฐกิจไม่สู้ดีนัก” พี่ข้าว กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร. (093) 567-6728 หรือติดต่อได้ที่เพจเฟซบุ๊ก : บ้านไร่ลุงสนิทฟาร์ม และติดตามยูทูป ที่ช่อง : ฟาร์มสนุก channel