ต้องคิดให้ได้ว่าสิ่งที่เราทำอะไรที่จะให้เงินเป็นรายวันอะไรจะให้เงิน

สัปดาห์ รายเดือน และรายปี ในตอนนั้นเป็ดไข่ 30 ตัว และไก่ไข่ 20 ตัว จากเป็ดไก่สาว กับโรงเห็ดนางฟ้า 500 ก้อน คือเงินรายวันเพราะเก็บได้ทุกวัน ไข่ไก่ไข่เป็ด 40 กว่าใบ กับเห็ดวันละ 1-2 กิโลกรัม 2 อย่างได้วันละ 200-250 บาทก็นำไปส่งร้านค้าที่ติดต่อไว้ทั้ง 7 ร้าน โดยแบ่งเป็นร้านละวัน และเริ่มปลูกผัก ชะอม โหระพา กะเพรา มะเขือ ผักบุ้ง ผักคะน้า ก็เอาไปส่งร้านค้าเดิมบ้าง

ร้านค้าใหม่บ้างตามที่เราไปคุยไว้ ตอนแรกได้เป็นรายสัปดาห์ พอครบวงรอบก็กลายเป็นรายได้รายวัน เพิ่มมาอีกเป็นวันละ 300-350 บาท นอกจากนี้ ยังไปนั่งขายตลาดนัดสัปดาห์ละ 2 วัน เพื่อให้คนรู้จัก หลังจากนั้น ก็มีหน่วยงานราชการเข้ามาดูผลงาน และชักนำเข้าโครงการ 5 ประสาน ซึ่งเป็นหน่วยงานทั้งหมดเกี่ยวกับการเกษตร ได้ไปอบรบเกี่ยวกับการเกษตรหลายครั้ง ต่อมาได้ขยายเพิ่มจากเดิมอีก 3 ไร่ปลูกมะละกอแขกนวลทำส้มตำ เมื่อปี 2560 ได้รับคัดเลือกเป็นเกษตรกรต้นแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ของจังหวัด รวม 30 ราย ช่วงนี้ได้เพิ่มการเลี้ยงจิ้งหรีดขึ้นอีกอย่าง

การตลาดตอนเริ่มต้น ว่าที่ ร.ต. วรพลได้ไปพูดคุยกับร้านอาหารตามสั่ง 7 ร้าน และได้เพิ่มร้านค้าขึ้นเรื่อยๆ หลังจากมีผลผลิตมากขึ้น จากการขับรถมอเตอร์ไซค์ไปส่ง เมื่อผลผลิตมากขึ้นจึงต้องใช้รถกระบะขนพืชผัก ทุกวันเมื่อรับออเดอร์ก็จะรวบรวมไปส่งในตอนสายอีกวันไม่มีวันหยุด ในช่วงนี้เริ่มมีคนมาดูงานในแปลงมากขึ้น สามารถขายของหน้าสวนได้ และเริ่มเป็นวิทยากรอบรมเกี่ยวกับเรื่องการเกษตรให้โรงเรียน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มเกษตร สปก. หรือเอกชนต่างๆ จากพื้นที่ 4 ไร่ที่ทำ เหลือพื้นที่อีก 8 ไร่ที่พ่อยังทำมันสำปะหลังอยู่ ว่าที่ ร.ต. วรพลต้องการนำพื้นที่ที่เหลือมาขยายให้ใหญ่ขึ้น จึงคำนวณรายได้ให้พ่อดูในการทำมันสำปะหลัง ถึงแม้จะทำผลผลิตได้ไร่ละ 5 ตัน แต่เมื่อคำนวณกำไรแล้วพ่อจะได้วันละ 13 บาท พ่อก็ยังเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง แต่ด้วยแรงสนับสนุนของแม่และพี่สาว ก็ได้ขยายแปลงไปอีก 8 ไร่ รวมเป็น 12 ไร่

เมื่อ ว่าที่ ร.ต. วรพลได้ทำเกษตรจนเป็นรูปร่างและประสบความสำเร็จระดับหนึ่งแล้ว เสียงซุบซิบนินทาเริ่มหายไป ทั้งนี้ สังเกตว่าคนแถวบ้านไม่ค่อยย่างกรายมา ส่วนใหญ่จะเป็นคนบ้านไกลจะมาดู ที่ 12 ไร่นี้ ได้แบ่งปลูกข้าวไว้กิน 2 ไร่ พ่อจะมีรายได้จากการเลี้ยงไก่ชนและดูแลมะละกอ ส่วนแม่ดูแลเป็ดไก่จิ้งหรีดสัตว์เลี้ยงต่างๆ ส่วนพี่สาวรับราชการที่อำเภอ เริ่มชำระหนี้ได้เป็นบางส่วน

จากที่มีคนมาดูสวนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ทำให้หลงตัวเอง เริ่มทำเกษตรสวยหรู หมายถึงว่าเมื่อรู้ว่าจะมีคนมาชมสวนก็จะใช้เวลาตกแต่งสวนให้ดูสวยงามก่อน 1 วัน เมื่อคนมาดูแล้วก็จะต้องหยุดอีก 1 วันเนื่องจากเหนื่อย ทำให้เสียเวลาไป 2 วัน แต่เมื่อได้มีโอกาสไปอบรม สัมมนา พูดคุยกับเกษตรกรท่านอื่นๆ ที่ประสบความสำเร็จแล้วหันว่าดูเรา ทำให้คิดได้ว่าไม่ควรให้คนที่มาดูเห็นแต่ความสำเร็จ ต้องให้ดูอุปสรรคด้วย เพื่อให้เขาฉุกคิด ในการทำงานเกษตรไม่ได้สำเร็จเสมอไป ถ้าเขาเห็นแต่ความสำเร็จก็จะฮึกเหิมอยากทำ แต่พอเจออุปสรรคเข้าก็จะท้อเพราะไม่ได้เตรียมใจไว้ก่อน ในการบรรยาย ว่าที่ ร.ต. วรพลจึงมักจะพูดถึงอุปสรรคก่อนความสำเร็จ การเกษตรต้องเริ่มจากหนึ่งเสมอเพื่อให้รับรู้ปัญหาอุปสรรค เมื่อผ่านขั้นแรกไปแล้วเรียนรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นและแก้ไขได้ก็สามารถขยายไปได้ อย่าเอาเรื่องเงินมาพูดอย่างเดียว เท่ากับปิดบังเกษตรกรทำให้หลงทาง

หลังจากนั้น ได้ปลูกอ้อยคั้นน้ำพันธุ์สุพรรณ 50 เพื่อคั้นน้ำขายและขายพันธุ์อ้อยด้วย ได้ไปเช่าร้านในตลาดที่อำเภอเพื่อเปิดขายน้ำอ้อย ทุกวันหลังจากส่งของในตลาดเสร็จจึงจะเปิดร้านน้ำอ้อย แต่ถ้าวันไหนมีธุระหรือเหนื่อยมากก็จะไม่เปิด นอกจากน้ำอ้อยที่ขายในร้านแล้วยังมีผลิตภัณฑ์จากสวนไปขายด้วย นอกจากอ้อยแล้ว ยังปลูกไผ่ซางหม่นเพื่อขายหน่อ ลำ และขยายพันธุ์จำหน่ายอีกด้วย การเลี้ยงสัตว์ก็ยังเพิ่มหนูอีก 20 วงบ่อ ปัจจุบันที่สวนนี้มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 4-50,000 ต่อเดือน และสามารถชำระหนี้สินได้เกินครึ่งแล้ว

ว่าที่ ร.ต. วรพลฝากถึงเกษตรกรมือใหม่ที่จะเข้ามาทำให้ดูตัวเองก่อนว่าชอบอะไร ถนัดด้านไหน ทุกอย่างที่ทำให้เขียนในกระดาษก่อนคำนวณตัวเลขทุกตัว ให้เห็นกำไรขาดทุนในกระดาษก่อนดีกว่าขาดทุนจริง ถ้าวางแผนได้เหมาะสม อาชีพเกษตรก็สามารถเลี้ยงครอบครัวเราได้ ความสุขที่แท้จริงคือมีเวลาให้กับครอบครัวมานั่งกินข้าวพร้อมหน้ากัน ได้คุยกันถึงมีเงินทองไม่มากก็มีความสุข

ปัจจุบัน ชาวนาในหลายพื้นที่กำลังตื่นตัวและมองเห็นความสำคัญของวิธีการทำนาต้นทุนต่ำ หนึ่งในนั้นก็คือ คุณพิชิต เกียรติสมพร ชาวนาวัย 45 ปี ประธานศูนย์ข้าวชุมชนบ้านสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เจ้าของรางวัลเกษตรกรดีเด่น ระดับเขต สาขาอาชีพทำนา เขต 2 ประจำปี 2559 และสมาร์ทฟาร์มเมอร์ต้นแบบด้านการปลูกข้าวแบบลดต้นทุนการผลิต ถามว่าแนวทางของวิธีการทำนาลดต้นทุนคืออะไร…นั่นก็คือ การจัดการต้นทุนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ส่วนต่างระหว่างรายจ่ายกับรายรับอยู่ห่างกันให้มากที่สุด ผลที่ตามมาก็คือ กำไร ที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

คุณพิชิต เกียรติสมพร เริ่มดำเนินการศูนย์ข้าวชุมชนบ้านสวนแตง เมื่อ ปี 2544 ปัจจุบัน มีสมาชิก 27 ราย โดยเน้นการพัฒนาการผลิตข้าวของสมาชิกให้มีความสามารถในการผลิตและการจัดการผลผลิตข้าว สมาชิกสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ดีควบคู่กับการจำหน่ายข้าวเปลือกคุณภาพดี ทำให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

บนพื้นที่นากว่า 15 ไร่ คุณพิชิต เลือกปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 และ กข 61 เนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาด และใช้แรงงานในครัวเรือนทั้งหมด โดยมุมมองในการทำนาของคุณพิชิตคือ ถ้าต้นทุนการผลิตต่ำ จะทำให้เหลือกำไรมาก จึงยึดการปลูกข้าวแบบลดต้นทุน ตามแนวทาง “3 ต้องทำ 3 ต้องลด” มาตลอด จะให้ความสำคัญกับการลดต้นทุนการผลิตมากกว่าเรื่องของปริมาณผลผลิต

และจากสถานการณ์ภัยแล้งติดต่อกันหลายฤดูกาลที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในหลายพื้นที่ คุณพิชิต ได้นำคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ของกรมการข้าว โดยศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี เกี่ยวกับการทำนาแบบประหยัดน้ำ หรือที่เรียกว่า “เปียกสลับแห้งแกล้งข้าว” มาใช้โดยตลอด จึงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก โดยเจ้าหน้าที่ได้ส่งเสริมให้ใช้วิธีการติดตั้งท่อดูน้ำ ซึ่งทำจากท่อ พีวีซี (PVC) ขนาด 4 นิ้ว เจาะรูรอบๆ ห่างกันรูละ 5 เซนติเมตร ประมาณ 4 รู นำท่อไปฝังลงในนา (ประมาณ 10 วัน หลังใส่น้ำครั้งแรก) โดยกดท่อให้ลึกระดับ 5 เซนติเมตร (รูแรก) แล้วเอามือควักดินด้านในออกจนเห็นรูสุดท้าย จะเห็นว่ามีน้ำซึมเข้าจนเต็มท่อ หากระดับน้ำลดลงไม่ถึง 15 เซนติเมตร ก็ยังไม่จำเป็นต้องให้น้ำ วิธีนี้จะทำให้ทราบว่าระดับน้ำใต้ดินยังมีเพียงพอสำหรับข้าว เพราะข้าวไม่ใช่พืชน้ำ ไม่จำเป็นต้องเอาน้ำไปแช่ขังไว้ จึงช่วยประหยัดน้ำและลดค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำเข้านาลงไปได้กว่าครั้งละ 100 บาท

เทคโนโลยีการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง เป็นสิ่งที่กรมการข้าวได้พัฒนาเพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตข้าวได้ แม้น้ำชลประทานมีจำกัด นำมาใช้กับการเพาะปลูกข้าวได้ทั้งนาปีและนาปรัง โดยพบว่าสามารถลดปริมาณการใช้น้ำลงได้ ร้อยละ 20-50 ขึ้นอยู่กับชนิดของดินและสภาพอากาศ และช่วยลดค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการสูบน้ำได้อย่างน้อย ร้อยละ 30 นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มรากข้าวให้ดูดซับธาตุอาหารได้ดีขึ้น ทำให้ใส่ปุ๋ยน้อยลง ประหยัดต้นทุนการทำนาได้อีกทางหนึ่ง

สำหรับเทคโนโลยีการจัดน้ำแบบเปียกสลับแห้ง มีขั้นตอนและวิธีการ ดังนี้

ตอนเตรียมดินปลูกข้าว ปรับพื้นที่ให้เรียบสม่ำเสมอ เพื่อลดปัญหาวัชพืช ทำให้น้ำไปได้ทั่วถึงกันหมด เมื่อหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวแล้วระบายน้ำออกจากนาให้แห้ง
เมื่อข้าวอายุประมาณ 10 วัน ให้พ่นสารกำจัดวัชพืช โดยพิจารณาตามชนิดของวัชพืชที่เกิดขึ้น เมื่อวัชพืชตายได้ 3 วัน ให้เพิ่มระดับน้ำในนา ประมาณ 3 เซนติเมตร ขังนาน 3 วัน

ใส่ปุ๋ยครั้งแรก (ข้าวอายุ 20-30 วัน) แล้วรักษาระดับน้ำท่วมผิวดิน ขังน้ำไว้จนกระทั่งน้ำแห้ง หากพบวัชพืชให้รีบกำจัดทิ้งอีกครั้ง
ประมาณ 2 สัปดาห์ เมื่อน้ำในนาเริ่มแห้ง ดินเริ่มแตก ให้ระบายน้ำลงนา ระดับ 3-5 เซนติเมตร ขังไว้จนกระทั่งน้ำแห้ง ให้น้ำแบบเปียกสลับแห้ง จนกระทั่งข้าวอายุประมาณ 45-50 วันหากพบวัชพืชต้องรีบกำจัดก่อนใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2

เมื่อข้าวอยู่ในระยะแตกกอสูงสุด (ข้าวอายุ 45-50 วัน) ให้เพิ่มระดับน้ำในนาสูง 5 เซนติเมตร ขังไว้นาน3 วัน จนข้าวเริ่มกำเนิดช่อดอก (อายุ 50-55 วัน)
ใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 2 (ข้าวอายุ 50-60 วัน) หลังจากนั้น 7 วัน ให้เพิ่มระดับน้ำ 10 เซนติเมตร รักษาระดับน้ำจนข้าวออกดอกถึงระยะแป้งในเมล็ดเริ่มแข็ง (15-20 วัน หลังข้าวออกดอก)
หลังข้าวออกดอกแล้ว 20 วัน ระบายน้ำออกจากแปลงให้แห้ง เพื่อเร่งการสุกแก่

“แนวทางการทำนาแบบแกล้งข้าว เป็นการทำให้ดินเปียกบ้าง แห้งบ้าง ดีกว่าการขังน้ำตลอดฤดูกาล เพราะเมื่อข้าวขาดน้ำจะกระตุ้นให้เกิดการแตกรากใหม่มาชอนไชหาน้ำใต้ดิน ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้ตัวเองแกร่งขึ้น แข็งแรง ไม่ล้มง่าย ดูดซับธาตุอาหารได้ดี แม้ว่าวิธีการนี้จะต้องระวังปัญหาวัชพืชเป็นพิเศษ แต่ก็ช่วยลดการระบาดของแมลงศัตรูข้าว พวกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หนอนห่อใบข้าวได้ดี

เพราะวิธีนี้จะทำให้ต้นข้าวไม่อวบน้ำ เพราะช่วงที่ขาดน้ำข้าวจะดูเหมือนแกร็น แมลงพวกนี้จะไม่ชอบ มันชอบต้นข้าวที่อวบน้ำ ก็ไปหาอาหารจากแหล่งอื่นแทน เราก็ลดค่าสารกำจัดแมลง ลดค่าสูบน้ำลงไปได้มาก และยังช่วยให้ฟางย่อยสลายได้ดี ช่วยลดภาวะโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าวที่ลดลง ซึ่งแม้ว่าสถานการณ์น้ำจะอยู่ในช่วงปกติ ผมก็ยังใช้วิธีการนี้อยู่ตลอด เพราะช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดปัญหาหลายๆ อย่าง และเป็นวิธีธรรมชาติที่ยั่งยืน” คุณพิชิต กล่าว

จากแนวทางการปลูกข้าวด้วยการใช้เทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตข้าว ด้วยวิธีการ 3 ต้องทำ 3 ต้องลด คือ ต้องปลูกข้าวไม่เกิน 2 ครั้ง ต่อปี ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีในอัตราที่เหมาะสม ต้องทำบัญชีฟาร์ม ลดอัตราเมล็ดพันธุ์ข้าว ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และลดการใช้สารเคมี เพื่อนำไปใช้เพิ่มศักยภาพการผลิต ร่วมกับการทำนาแบบประหยัดน้ำโดยวิธีเปียกสลับแห้ง รวมถึงการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเป็นสารชีวภัณฑ์เพื่อลดการใช้สารเคมี และการใช้ปุ๋ยสั่งตัด ทำให้คุณพิชิตสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้กว่าไร่ละ 2,000 บาท จากเดิมที่ต้นทุนการผลิตจะอยู่ที่ประมาณไร่ละเกือบ 5,000 บาท

นอกจากการดำเนินงานในฐานะประธานศูนย์ข้าวชุมชนบ้านสวนแตงแล้ว คุณพิชิต ยังเปิดบ้านของตนให้เป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อการเกษตรด้านต่างๆ ในนาม ศูนย์จัดการดินและปุ๋ยชุมชนบ้านสวนแตง และศูนย์จัดการศัตรูพืชบ้านสวนแตงอีกด้วย โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนรู้ได้ศึกษาตามความต้องการ เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางการพัฒนาข้าวของชุมชนที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี โดยพัฒนาการผลิตข้าวและชาวนาในพื้นที่ให้มีความสามารถในการผลิตและการจัดการผลผลิตข้าว สมาชิกสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ดีควบคู่กับการจำหน่ายข้าวเปลือกคุณภาพดี ทำให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเอง สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพัฒนาการผลิตข้าวให้มีประสิทธิภาพต่อไป

สนใจเข้าไปเรียนรู้วิถีการทำนาที่ช่วยประหยัดเงินในกระเป๋า ควบคู่กับการประหยัดน้ำแบบนี้ ติดต่อไปได้ที่ คุณพิชิต เกียรติสมพร เลขที่ 22/2 หมู่ที่ 4 ตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โทรศัพท์ (089) 174-2512

วันนี้ วัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เชิญท่านมาสหัสขันธ์บ้านของเรา อำเภอสหัสขันธ์ ถูกน้ำท่วมเมื่อการก่อสร้างเขื่อนลำปาว ปี พ.ศ. 2505 และกักเก็บน้ำ ปี พ.ศ. 2510 จากตำบลโนนศิลา มาตั้งที่ตำบลโนนบุรี จึงเรียกว่า “อำเภอใหม่” เป็นชื่อที่คนเมืองกาฬสินธุ์ หรือเมืองน้ำดำเรียก “อำเภอสหัสขันธ์” มี 8 ตำบล 85 หมู่บ้าน พื้นที่ทางการเกษตรกว่าแสนไร่ มีข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล พืชผัก เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร 6,500 ครัวเรือน อำเภอสหัสขันธ์ เป็นเมืองหลักในอดีตที่ผ่านมา แยกออกเป็นอำเภอคำม่วง อำเภอสามชัย อำเภอสมเด็จ

คุณวิลัย ภูยิ่ง อดีตกำนันตำบลภูสิงห์ เล่าให้ฟังว่า ตนเองเป็นสายเลือดนักปกครอง จากผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มาเป็นผู้ใหญ่บ้าน และเป็นกำนัน จนเกษียณอายุราชการ ทำหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุข ให้ประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด วันลา หรือมาสาย ฝนแล้ง แมลงกิน ดินไม่ดี ปราบปรามโจรขโมย ว่าความลูกบ้าน ขัดแย้งกันเรื่องส่วนตัว ครอบครัว ผัวเมียทะเลาะกัน ลูกบ้านขัดแย้งกัน ทุกเรื่องราว ของทุกกระทรวง ทบวง กรม กำนันวิลัยเดินนำหน้า คุณวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอใหม่ “สหัสขันธ” ไปรอบๆ

กำนันวิลัย กล่าวว่า ตนเองเริ่มต้นตั้งแต่เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ก่อนปี 2548 จ้างรถแบ๊กโฮขุดดิน คิวละ 13 บาท หมดเงิน 90,000 บาท จัดการเรื่องระบบน้ำ เปิดเพื่อการระบาย ปิดเพื่อการจัดเก็บน้ำ สถานที่ไม่ไกลจากที่ว่าการอำเภอสหัสขันธ์ ผ่านทางขึ้นนมัสการพระพรหม บนภูสิงห์ ประมาณ 5 กิโลเมตร ลาดยาง ยกเว้นทางลงไปไร่นาสวนผสม ลาดชัน นิดหน่อย แต่บรรยากาศดีมาก ญาติมิตร เพื่อนๆ แวะเวียนมาบ่อยมาก มีสถานที่พักผ่อน เรื่อง ขาวปลา อาหาร เครื่องดื่ม บริการตนเอง แบบคนกันเอง ใครมาแล้วอยากมาอีก

เงียบสงบได้อรรถรสจริงๆไร่นาสวนผสม พื้นที่กว่า 50 ไร่ พร้อมชี้ชวนชมผลงาน บ่อปลาขนาด 15×30 เมตร จำนวน 2 บ่อ บ่อน้ำปลูกเรือนกลางน้ำขนาด 2 ไร่ น้ำลึก 4 เมตร ร่มรื่นร่มเย็น บ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ขนาด 1-2 ไร่ จำนวน 3 บ่อ ปลูกไม้ผล มะม่วงมัน มะม่วงกินสุก กว่า 100 ต้น มะพร้าวน้ำหอม ลิ้นจี่ มะยงชิด มะนาว ผักหวานป่า มะไฟ ไผ่กิมซุ่ง หม่าจู ด้ามขวาน ปลูกริมรั้วเป็นแนวกันชน ริมห้วยขี้เข็บ ที่ไหลลงมาจากเทือกเขาภูสิงห์ ป่าไม้ผสมผสาน ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ยางนา ประดู่ป่า พะยูง สักทอง เกือบพันต้นอายุกว่า 10 ปี จะเป็นป่าไม้เงินล้านในเร็ววันนี้ นาข้าวนาน้ำฝน ฤดูแล้งปลูกแตงโม ดำเนินการตามศาสตร์พระราชา ที่สำคัญ เลี้ยงไก่ป่าจำนวนมากกว่า 300-400 ตัว สวนร่มรื่นดีมาก รอบสระมีต้นทองกวาว หรือดอกจาน

กำนันวิลัย บอกว่า เกษตรอำเภอสหัสขันธ์ เกษตรตำบล เป็นญาติมิตรของเกษตรกรจริงๆ จากรุ่นแรกจนเหลือเป็นเกษตรตำบลรุ่นลูก รุ่นหลาน คุณเจตสุภางค์ พรหมสุคนธ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ คุณภัทรพล นนทสุกลวงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ คุณอภิเดช แก้วพระพาน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ คุณฉัตรา ปทุมพร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ คุณจิตลดา มาตตรา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และ คุณศิวพร เมฆฉาย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

“ที่นี่มีอาหาร มีรายได้ มีความสุข วันนี้อยู่กันตายาย ท้ายสวนมอบให้เกษตรกรที่เป็นเครือญาติกันพักอาศัย ทำการเกษตรแบบหมุนเวียน ปลูกข้าว แตงโม พืชผัก รายได้ตลอดทั้งปี วันนี้ขอขอบคุณ ท่านเกษตรอำเภอสหัสขันธ์ ที่เดินทางมาเยี่ยม โดยมิได้นัดหมาย หากต้องการแวะมาเยี่ยม โทร. (093) 502-8466 ครับ ยินดีต้อนรับทุกท่าน” กำนันวิลัย บอก

สำนักงานเกษตรอำเภอสหัสขันธ์ ทำงานตามวิสัยทัศน์ กรมส่งเสริมการเกษตร “เกษตรกรมีความเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม และมีรายได้ที่มั่นคง” ที่สำคัญคือ การตลาดนำการเกษตร เป็นการสร้างความเข้มแข็งของภาคการเกษตรในระดับฐานรากด้วยการส่งเสริมการเกษตรการผลิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและพัฒนาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร

คนรุ่นเก่า วัย 79 ปี อย่าง คุณวิจิตร ไกรสรสวัสดิ์ ที่เกิดมาในยุคการเปลี่ยนผ่านเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง หวนย้อนอดีตจากประสบการณ์ชีวิตในวัย 18 ปี ที่เป็นนักเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศิริราช ย่านบางกอกน้อย สมัยนั้นยังเวิ้งว้างหามีตึกรามบ้านช่องไม่ ริมสองฝั่งคลองบางกอกน้อยยังรกทึบเต็มไปด้วยต้นไม้ใบหญ้าและล่องสวน ผู้คนยังคงสัญจรไปมาด้วยเรือพาย เรือหางยาว มีอยู่วันหนึ่งเพื่อนพาไปเที่ยวบ้านสวน ที่บางขุนนนท์ เพื่อนเด็ดผลไม้ชนิดหนึ่งมาให้กิน ทำให้เขาติดอกติดใจรสชาติ ฝังอยู่ในความทรงจำตั้งแต่นั้นมา ผลไม้ชนิดนี้ในสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกว่า มะปรางเสวย

“ผมเป็นคนเรียนหนังสือเก่ง สมัคร SBOBET พ่อแม่เขาให้เรียนแพทย์ สมัยก่อนแพทย์ต้องมาเป็น อันดับ 1 แต่การเรียนแพทย์หนีไม่พ้นต้องผ่าพิสูจน์ศพ ผมรู้สึกไม่ชอบเอาเสียเลย จึงหนีไปญี่ปุ่น ไปเรียนวิศวะไฟฟ้าที่ญี่ปุ่น ตั้งแต่อายุ 20 ปี จนจบด้านไฟฟ้ามา 3 สาขา ได้เป็นวิศวกรไฟฟ้ากำลัง และกลับมาทำงานในประเทศไทย ดูแลเรื่องไฟฟ้าให้กับโรงงานต่างๆ ของญี่ปุ่น” คุณวิจิตร เล่า

เมื่อได้ทำงาน เป็นนายช่างใหญ่ ชีวิตไม่เคยแวะเวียนเข้าสวนอีกเลย จนกระทั่ง โรงงานใหญ่ในกรุงเทพฯ ไม่สามารถขยายตัว ขยายฐานการผลิตได้ เพราะมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทแม่ในญี่ปุ่นจึงให้เขาสำรวจหาพื้นที่ดินเพื่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ให้อยู่ห่างออกไปจากกรุงเทพฯ

ช่วงระหว่างนี้เองคุณวิจิตรมีโอกาสตระเวนไปทั่วสารทิศ ทั้งเหนือ ใต้ ออก ตก ตระเวนสำรวจหาสถานที่สร้างโรงงาน บริษัทให้รถมา 1 คัน จะไปไหนมาไหนเบิกจ่ายได้โดยสะดวก จังหวัดเป้าหมายที่เลือกคือ ระยอง นครนายก ขอนแก่น นครสวรรค์ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร ภาคใต้ก็ไปสำรวจมาด้วยเช่นกัน

สุดท้ายก็มาเลือกซื้อที่ดิน 1,200 ไร่ ที่จังหวัดกำแพงเพชร ในการสร้างโรงงานแห่งใหม่ เหตุที่เลือกจังหวัดกำแพงเพชร เพราะเป็นเมืองน่าอยู่ ติดกับแม่น้ำปิง เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไม่มีวันเหือดแห้ง มติผู้บริหารจึงเลือกจังหวัดกำแพงเพชรในการสร้างโรงงาน เช่นเดียวกับบริษัทเบียร์ขนาดใหญ่ ที่อยู่ใกล้ๆ กัน บนพื้นที่ 4,500 ไร่ ซึ่งตนเองเป็นผู้สำรวจและเลือกสถานที่ดังกล่าวด้วยเช่นกัน

เป็นความโชคดีของจังหวัดกำแพงเพชร ที่มีเขื่อนขนาดใหญ่ ชื่อว่า “เขื่อนภูมิพล” ตั้งอยู่เหนือขึ้นไปที่จังหวัดตาก เป็นเขื่อนชามอ่างยักษ์ที่ไม่มีวันแห้งเหือด ตลอดทั้งปีต้องปล่อยน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้า การเกษตร การอุปโภค บริโภค เช่นเดียวกับโรงงานขนาดใหญ่ที่ต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำเพื่อการผลิต

“ชีวิตเรามันสั้น แต่ประวัติผมมันยาว” คุณวิจิตร ย้ำอยู่เสมอ…เสมือนสื่อให้รู้ว่าตัวเองนั้นผ่านเรื่องราวชีวิตมามากมาย ไม่อยากจะเก็บงำความรู้ไว้อยู่กับตัว ไม่รู้ชีวิตเราอยู่ได้อีกยาวนานเท่าไร…

คุณวิจิตร ย้อนถึงชีวิตการทำงาน เมื่อตอนอายุ 30 กว่าๆ ได้ซื้อที่ดินที่นครนายก คลองสิบสี่ เดินทางไปกลับบ่อยๆ อยู่ไม่ไกลจากบ้านพักที่กรุงเทพฯ ซึ่งตอนนั้นยังไม่รู้จักจังหวัดกำแพงเพชร