ถึงตอนนั้นสหกรณ์จะเริ่มทำแผนการตลาดและแผนการผลิต

อย่างจริงจัง โดยจะใช้ Farmer Market ของสหกรณ์การเกษตรลำพระเพลิง จำกัด เป็นจุดรวบรวมผลผลิตและคัดบรรจุ เพื่อส่งไปจำหน่ายตามสถานที่ต่างๆ เช่น ห้างเซ็นทรัล สหกรณ์ร้านค้าในเครือข่ายโรงพยาบาลมหาราชในจังหวัดนครราชสีมา หรือการเจาะตลาดเข้าไปที่โรงเรียนนานาชาติ ฯลฯ ซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริมรายได้และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้แก่เกษตรกรสมาชิก

นางวารี ขวัญเกตุ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรลำพระเพลิง จำกัด กล่าวว่า ตนเองมีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 23 ไร่ พื้นที่เกือบ 20 ไร่ ใช้ปลูกข้าวเจ้าพันธุ์พิษณุโลก 80 และ กข 49 โดยผลผลิตส่วนหนึ่งจะเก็บไว้สำหรับบริโภคในครัวเรือน ผลผลิตอีกส่วนหนึ่งจะส่งขายให้โรงสี

เนื่องจากพื้นที่อยู่ในเขตชลประทานจึงสามารถทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง ในรอบ 1 ปี มีรายได้จากการขายข้าว 200,000 บาท นอกจากนี้ ยังกันพื้นที่ไว้ 4 ไร่ สำหรับปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ที่สหกรณ์การเกษตรลำพระเพลิง จำกัด เข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตตั้งแต่เริ่มเพาะปลูก เช่น นำรถมาช่วยดำนาและเก็บเกี่ยว หลังจากตากข้าวแล้ว จึงรวบรวมและขนไปขายให้สหกรณ์ ซึ่งในปีหนึ่งจะปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ได้ไม่เกิน 1 ครั้ง เพราะหากปลูกติดต่อกันผลผลิตที่ได้ในรอบที่สองเมล็ดข้าวจะเล็กลง รายได้เสริมจากการขายข้าวไรซ์เบอร์รี่ ปีละประมาณ 30,000 บาท

นอกจากนี้ ยังมีการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อไว้บริโภคในครัวเรือน เหลือจากการบริโภคจะนำออกไปขายที่ตลาด แต่ก็ไม่มาก สำหรับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) นางวารีบอกว่า ที่บ้านมีของกินเกือบทุกอย่าง แทบไม่ต้องไปซื้อจากข้างนอก จึงไม่รู้สึกว่าได้รับผลกระทบอะไรในเรื่องอาหารการกิน ส่วนเรื่องรายได้จากการขายข้าวก็ไม่ได้กระทบกระเทือนอะไร

นายอ่าง เทียมสำโรง สมาชิกสหกรณ์ที่ยึดอาชีพการทำเกษตรผสมผสาน ได้พูดถึงสหกรณ์ว่า นอกเหนือจากการปลูกข้าวตามฤดูกาลปกติแล้ว ทางสหกรณ์ยังได้เข้ามาส่งเสริมตนเองให้ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ประมาณ 3 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 700-800 กิโลกรัม/ไร่ โดยสหกรณ์จะรับซื้อผลผลิตทั้งหมดในราคากิโลกรัมละประมาณ 18-20 บาท หนึ่งรอบการผลิตจะมีรายได้ประมาณ 37,800-48,000 บาท

และปลูกผักปลอดสารพิษอีกประมาณ 2 ไร่ โดยจะปลูกพืชแทบทุกชนิด หมุนเวียนกันไป เช่น ต้นหอม กระเทียม ผักกวางตุ้ง คะน้า พริก กะเพรา โหระพา ฯลฯ นอกจากนี้ ยังปลูกละมุดไว้อีกประมาณ 2 ไร่

สำหรับผลผลิตที่ได้ บางวันแม่บ้านจะนำไปขายเองที่สหกรณ์ หรือไม่ก็ฝากร้านค้าของสหกรณ์ขายให้ บางครั้งก็นำไปขายที่ตลาดในจังหวัดนครราชสีมา รายได้จากการขายผักแต่ละวันไม่น้อยกว่า 300-400 บาท เดือนหนึ่งมีรายได้รวมประมาณเกือบ 20,000 บาท สำหรับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) นายอ่างบอกว่าไม่มีผลกระทบอะไร เพราะที่บ้านมีกินมีใช้เกือบหมดแล้ว

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงหลายเดือนมานี้ ทำให้ประชาชนจำนวนมากได้รับผลกระทบครั้งใหญ่ในเรื่องอาหารและการใช้ชีวิต กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) จึงได้น้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางสร้างพื้นฐานความพอมี พอกิน พอใช้ ให้กับประชาชน จัดทำ “แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว” ขึ้น เมื่อต้นเดือนเมษายน เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้คนไทยได้มีอาหารปลอดภัยไว้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และเตรียมความพร้อมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองในสภาวะวิกฤตได้ ซึ่งปัจจุบันดำเนินการมาถึงครึ่งทางแล้ว โดยได้ส่งมอบเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวไปยังทุกจังหวัดทั่วประเทศตามกำหนดการที่วางไว้ ไม่เว้นแม้แต่จังหวัดห่างไกลอย่าง “ยะลา”

จะพัฒนาใครเขา ต้องเริ่มจากเราก่อน

นายกิติพล เวชกุล พัฒนาการจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า จังหวัดยะลาเริ่มใช้แผนปฏิบัติการ 90 วันฯ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ตั้งแต่วันที่ 13 เม.ย. 2563 ตามแนวทางของ พช. คือ ‘จะพัฒนาใครเขา ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน’ โดยเริ่มทำการปลูกพืชผักสวนครัวในบริเวณจวนผู้ว่าราชการจังหวัด บ้านพักข้าราชการ พช. ตลอดจนสถานที่ราชการนอกสังกัด พช. เป็นลำดับแรก อย่างเช่นที่บ้านพักของตนก็ได้ปลูกผักสวนครัวบริเวณรอบรั้วของบ้านด้วยเช่นกัน จนตอนนี้มีผักสวนครัวรวมแล้ว 23 ชนิด สามารถเก็บมากินได้บ้างแล้ว และบางส่วนได้นำไปแบ่งปันให้ผู้อื่น รวมถึงได้พัฒนาแปลงผักให้เป็นสถานที่เรียนรู้ขนาดย่อมแก่ผู้ที่สนใจด้วย เพื่อเป็นการทบทวนองค์ความรู้ของระดับผู้นำและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับประชาชน ก่อนทยอยมอบเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน ไปยังทุกพื้นที่ของจังหวัด ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี ประชาชนหลายคนหันมาปลูกผักสวนครัวกันมากขึ้น

“แผนปฏิบัติการ 90 วัน เป็นโอกาสอันดีที่ประชาชนจะเริ่มต้นเตรียมความพร้อมพึ่งพาตนเองในสภาวะวิกฤต เพราะนอกจากจะทำให้มีผักปลอดสารพิษกินแล้ว ยังช่วยคลายเครียด และพลิกความทุกข์ให้กลายเป็นความสุขได้ อีกทั้งยังช่วยสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้อื่นได้อีกด้วย เห็นได้จากการโพสต์รูปแปลงผักของแต่ละคนบนกลุ่มเฟซบุ๊กของ พช. อย่าง ปลูกพืช ปลูกผัก ปลูกรัก กับพช. ที่มีประชาชนจำนวนมากผลัดเปลี่ยนเข้ามาแบ่งปันรูปภาพ และแบ่งปันประสบการณ์การปลูกผักกันทุกวัน จนกลายเป็นสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่”

เจ้าหน้าที่ พช. ยะลาจะติดตามผลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ขั้นตอนการรับมอบเมล็ดพันธุ์ผัก ตลอดจนช่วงที่ลงแปลงไปแล้ว และช่วงที่ผลผลิตเริ่มเติบโต ด้วยการทำรายงานส่งให้ พช. ทุกสัปดาห์ รวมถึงจะเข้าไปสนับสนุน เยี่ยมชม และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการปลูกพืชกับประชาชนอยู่เสมอ โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ สนับสนุนให้ประชาชนได้ลงมือทำจริง นอกจากนั้นยังได้มีการส่งเสริมการปลูกผักให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ด้วย ไม่เว้นแม้แต่สถานที่สำคัญทางศาสนา เพราะสถานการณ์ช่วงนี้ทำให้พระสงฆ์ได้รับผลกระทบไม่ต่างจากประชาชนทั่วไป พช. จึงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเครื่องอุปโภคบริโภคไปถวายแด่วัด จำนวน66 แห่งในจังหวัด และสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวจำนวนหนึ่งให้วัดและประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงได้ร่วมกันปลูกผักในแปลงผักของวัด โดยเร็ว ๆ นี้มีแผนจะขยายการสนับสนุนนี้ออกไปสู่มัสยิดและสุเหร่าในพื้นที่ด้วย

“ขยายผลสู่ “ครอบครัวต้นแบบ”

ขั้นตอนสุดท้ายของแผนปฏิบัติการ คือ ขยายผลสู่การคัดเลือกครอบครัวต้นแบบที่ร่วมปลูกผักสวนครัวกับโครงการ และสามารถแก้ไขภาวะวิกฤตของครอบครัวได้จริง เช่น ครอบครัวของนางสาปินะห์ สะตี ในพื้นที่ ต.หน้าถ้ำ จ.ยะลา ที่ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการนี้ เพราะอยากประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เขาได้นำเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับจาก พช. ไปปลูกในแปลงผักหลังบ้านคละกันหลายชนิด เช่น ตะไคร้ กระเจี๊ยบ ขิง ข่า กวางตุ้ง เป็นต้น โดยตลอดเวลาที่ผ่านมาได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดีจาก พช. ในด้านการให้คำแนะนำเรื่องเพาะปลูกและการทำบัญชีครัวเรือน ปัจจุบันผลผลิตบางส่วนเก็บมากินได้แล้ว และบางส่วนที่ทานไม่หมดได้นำไปแจกจ่ายให้เพื่อนบ้าน รวมถึงนำไปจัดจำหน่ายในชุมชนด้วย

จากผลลัพธ์อันเป็นรูปธรรมที่เกิดขึ้นกับชาวยะลาในครั้งนี้ กล่าวได้ว่า “แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว” ของ พช. เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหาร ที่สามารถทำได้จริงและมีความยั่งยืน เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับทุกสภาวะวิกฤต เพื่อพาประชาชนและประเทศชาติก้าวผ่านความยากลำบากไปได้ด้วยดี

การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านการประกอบอาชีพและสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ นับเป็นอีกบทบาทสำคัญที่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลานี้ ที่ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤตการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด -19

ทั้งนี้ นายประจวบ ลีรักษาเกียรติ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กล่าวว่า ในช่วงเดือนมีนาคม 2563 ที่ผ่านมาศูนย์ฯ ได้นำข้อมูลของผู้มีรายได้น้อยที่ต่ำกว่าเส้นความยากจนในพื้นที่ตำบลคลองขุด จากองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งพบว่ามีผู้มีรายได้อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว จำนวน 20 คน จึงส่งเจ้าหน้าที่งานวิชาการการเกษตรของศูนย์เข้าไปดำเนินการส่งเสริมพัฒนาอาชีพให้แก่ราษฎรทั้ง 20 คน

“ เป้าหมายการดำเนินการในครั้งนี้ เพื่อให้มีความรู้และเข้าใจในการประกอบอาชีพตามสภาพและพื้นฐานที่พึงมี ที่สำคัญเพื่อเป็นการให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยเฉพาะด้านการดำรงชีพ จึงจัดทำโครงการฝึกอาชีพระยะสั้นขึ้น ซึ่งมีทั้งการพัฒนาอาชีพทางด้านการเกษตร เช่น การเพาะเห็ดเศรษฐกิจ การปลูกพืชผักสวนครัว ตลอดจนการแปรรูปน้ำหม่อน การทำชูชิ เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น”

นายประจวบ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังมีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำก็มีเช่นกัน แต่จะต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรมที่นานกว่า เพราะมีความซับซ้อนมากกว่า ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการผลิตให้ประชาชนก้าวสู่ระดับมืออาชีพ ต่อไป

ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในตอนนี้จะเน้นด้านการฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นก่อน เพราะสามารถเห็นผลและทำเงินได้เร็วเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่ประชาชนกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ คือเรื่องของเศรษฐกิจครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างที่ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

โดยได้มีการถ่ายทอดความรู้ในการเพาะปลูกประเภทพืชผักสวนครัว การเพาะเห็ดจากวัสดุเหลือใช้ การเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการยังชีพ และการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อนำไข่มาบริโภคภายในครัวเรือนเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องอาหารในครัวเรือนก่อน โดยส่งเสริมสนับสนุนให้เพาะเห็ด ประกอบด้วย เห็ดฮังการี่ เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า ให้กับผู้มีรายได้น้อยจำนวน 6 คนที่สมัครใจ

“เพื่อให้ทุกคนได้มีเห็ดบริโภคในครัวเรือน หากเหลือค่อยจำหน่ายแก่ผู้คนในชุมชน และนำรายได้ส่วนนี้มาเป็นใช้จ่ายในส่วนอื่น ๆ ที่ครอบครัวต้องการต่อไป ซึ่งจากการดำเนินโครงการฯ ในครั้งนี้ สามารถนำข้อมูลจากความพึงพอใจ และความต้องการของราษฎรมาวางแผนงานเพื่อดำเนินการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตตามความเหมาะสมให้ได้ครบทั้ง 20 คน ในโอกาสต่อไป”

“ทั้งนี้ทางศูนย์ได้ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2563 มาถึงวันนี้ 6 พฤษภาคม 2563 สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว และยังนำออกขายหลังจากบริโภคในครัวเรือนเพียงพอแล้ว เป็นรายได้เสริมที่ดีทีเดียว ปัจจุบันทั้ง 6 รายนี้สามาถเก็บผลผลิตได้ 46 กิโลกรัม มีรายได้จากการขายเห็ดถึง 2,200 บาท ขณะที่การเก็บเห็ดก็ยังสามารถเก็บได้ทุกวันอย่างต่อเนื่องประมาณ 5 เดือน ก้อนเห็ดจึงจะหมดอายุ และเห็ดที่เข้าไปส่งเสริมให้เพาะเลี้ยงนั้นจะเป็นเห็ดฮังการี่ เห็นนางรม เห็ดนางฟ้า ส่วนนี้จะเพาะได้ค่อนข้างง่าย ต่อไปก็จะต่อยอดด้วยการส่งเสริมให้เพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการดีและขายได้ราคา “ นายประจวบ กล่าว

นอกจากหลักสูตรที่เปิดฝึกอบรมแล้ว ทางศูนย์ฯ ยังเตรียมกล้าไม้จำพวกพืชผักสวนครัวเพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนที่เดือดร้อน เช่น กล้าหม่อน 5,000 กล้า ผักคิ่ว หรือวอเตอร์เครส เพื่อนำไปปลูกสำหรับบริโภคภายในครัวเรือนเป็นการเริ่มต้น เหลือค่อยนำออกจำหน่ายต่อไป

ซึ่งมีกล้าพืชผักสวนครัวหลายชนิด เช่น แคขาว แคแดง มะเขือเปาะ เป็นต้น รวมถึงประเภทไม้ยืนต้นกึ่งล้มลุก เช่น กระถิน และประเภทล้มลุกเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วต้องปลูกใหม่ เช่นผักบุ้งก็มีเตรียมไว้แจกจ่าย เช่นกัน

“ส่วนทางด้านการประมงนั้น ทางศูนย์ได้เตรียมพันธุ์สัตว์น้ำไว้ให้เกษตรกร ประกอบด้วยปลากะพงขาว และกุ้งกุลาดำ เพื่อให้นำไปปล่อยในบ่อที่เกษตรกรมีอยู่แล้วและให้หากินตามธรรมชาติ ซึ่งเกษตรกรจะเลี้ยงประมาณ 4 เดือน ก็สามารถจับขึ้นมาบริโภคและขายได้ โดยเกษตรกรและประชาชนที่สนใจสามารถเข้ามาเรียนรู้ถึงวิธีการเพาะเลี้ยงจากเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ หลังจากฝึกอบรมแล้วก็จะมอบปัจจัยการผลิตเหล่านี้ให้แก่เกษตรกรโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น”ผอ. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กล่าวทิ้งท้าย

‘ความมั่นคงทางอาหาร’ ในสถานการณ์ ‘โควิด’ คือสิ่งที่ ‘กรมการพัฒนาชุมชน’ (พช.) ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง จึงก่อเกิดปฏิบัติการ Quick Win ‘90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร’ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นแล้วตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา โดยปักธงรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวทั่วประเทศเพื่อลดรายจ่าย สร้างรายได้ผ่านการเพาะเมล็ดพันธุ์และต้นกล้าสู่ผืนแผ่นดินซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางออกของประเทศ ไม่เพียงจากภาวะโรคระบาด หากแต่รวมถึงวิกฤตภัยแล้งซึ่งรัฐบาลประกาศเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องเร่งแก้ไข

วันนี้นับเป็นเวลากว่า 1 เดือนของปฏิบัติการที่มุ่งเน้นการ “รับรู้” และ “มีส่วนร่วม” ระหว่างภาครัฐกับประชาชน เพื่อให้ก่อเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม หยั่งรากลึกถึงท้องถิ่น หมู่บ้าน ครอบครัว หน่วยเล็กๆ อันสำคัญยิ่ง โดยมีแนวคิด ‘ผู้นำต้องทำก่อน’ จึงส่งภารกิจไปให้ข้าราชการที่กระจายอยู่ในทุกตำบลอำเภอช่วยกันส่งเสริมการปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ ซึ่งปลอดภัยจากสารพิษ และยาฆ่าแมลง มีการผนึกกำลังสร้างระบบยุทธศาสตร์สวนครัวครบวงจร ขับเคลื่อนร่วมกับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีเครือข่าย รวมถึงองค์กรทางศาสนา

สำหรับการดำเนินการขั้นถัดไปในระหว่างเดือนพฤษภาคม กรมการพัฒนาชุมชน เดินหน้าส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวแบบ “เข้าถึงทุกครัวเรือน” ซึ่งมีหัวใจสำคัญคือการหมั่นเยี่ยมบ้านโดยทีมปฏิบัติการหมู่บ้านซึ่งเคาะประตูทักทายพร้อมให้คำแนะนำและกระตุ้นปฏิบัติการ เน้นย้ำประเด็น ‘พึ่งพาตนเอง’ ในขณะเดียวกันก็ผลักดันให้ก่อเกิดการร่วมแรงร่วมใจในลักษณะการรวมกลุ่มย่อยขนาดเล็กๆ ยึดโยงวิถีชีวิตดั้งเดิมของท้องถิ่นต่างๆ ที่มีการ ‘เอามื้อสามัคคี’ ครัวเรือนใดยังอยู่ระหว่างตัดสินใจ ทีมปฏิบัติการจะแวะพูดคุยกระตุ้นการเรียนรู้จากตัวอย่างทั้งในชุมชน เช่น บ้านผู้นำ รวมถึงชุมชนภายนอกที่ทำแล้วประสบผลสำเร็จ ส่วนบ้านไหนลงมือทำอย่างแข็งขัน เจ้าหน้าที่กรมการพัฒนาชุมชน ติดตามให้กำลังใจ แวะเวียนเคาะประตูบ้านชื่นชมสวนครัวอันงอกงามพร้อมให้คำแนะนำเพิ่มเติม สวนครัวบ้านไหน สำเร็จงดงาม จะถูกหยิบยกเป็นตัวอย่างเพื่อสร้างแรงบันดาลใจสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นหยิบเมล็ดพันธุ์แรกลงสวน หย่อนกล้าต้นแรกสู่ผืนดินของตัวเอง

สุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดเผยว่า กิจกรรมการทำงานของ พช. นั้น จริงๆ แล้วก็คือวิถีชีวิตชาวบ้าน ในยามที่เกิดภาวะวิกฤตเช่นนี้ พช. ก็ยังเดินหน้าเคาะประตูบ้าน ผลักดันการพัฒนาโดยเน้นย้ำการพึ่งพาตนเอง ดังเช่นกรณีศึกษาที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ อย่าง อบต.โก่งธนู “ที่โก่งธนู ลพบุรี ทั้งตำบลร่วมโครงการบ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง ทุกบ้านมีผักเป็น 10 ชนิด รวมทั้งตำบลมีหลายร้อยชนิด เท่านั้นไม่พอยังทำถนนหนทางสองฝั่ง ปลูกไม้ผล และไม้ยืนต้นด้วย” อธิบดี พช. กล่าว

นอกเหนือจากการส่งเสริมให้ปลูกผักสวนครัวแบบเข้าถึงทุกครัวเรือนแล้ว นโยบายในเดือนพฤษภาคมนี้ ยังมีการ ‘สร้างเครือข่าย ขยายผล’ โดยเชื่อมโยงการแลกเปลี่ยน แบ่งปันเมล็ดพันธุ์ และต้นกล้า ในรูปแบบ “โครงการทอดผ้าป่าต้นไม้” สร้างการเรียนรู้ในลักษณะ “ชุมชนนักปฏิบัติ” ที่มีดัชนีชี้วัดเป็นผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมที่มองเห็นและจับต้องได้ ผักสวนครัวที่ชาวบ้านปลูกขึ้นตามปฏิบัติการนี้ ไม่เพียงถูกปรุงเป็นเมนูจานสดใหม่ไร้สารพิษให้คนในครอบครัวได้กินอย่างอิ่มหนำ หากแต่ กรมการพัฒนาชุมชน มีนโยบายการรวมกลุ่มนำผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคและทำบุญ ทำทานและแบ่งปันไป ‘แปรรูป’ อีกทั้ง ‘จำหน่าย’ ตามเป้าหมายของปฏิบัติการที่คาดหวังช่วยครัวเรือนลดรายจ่าย และยังเพิ่มรายได้อีกด้วย ปฏิบัติการนี้จะสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2563 โดยมีการคัดเลือก “บุคคลต้นแบบ” และเชิดชูเกียรติ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ ไม่เพียงเท่านั้น จะมีการติดตามความก้าวหน้าต่อไป แม้จบ 90 วันของปฏิบัติการ

นี่คืออีกแนวนโยบายในโครงการสร้างสรรค์ของกรมการพัฒนาชุมชนที่คาดหวังเสริมพลังบวกทางใจ สร้างความมั่นคงทางกายภาพ แก่สังคมไทยในวันวิกฤต ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลิตเพื่อเป็นอาหารสัตว์ เป็นพืชอายุสั้น ที่ใช้น้ำน้อย หลังการเกี่ยวข้าวแล้วเกษตรกรตำบลเมืองหลวง ได้รวมกลุ่มปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อตัดเป็นต้นสด ในช่วงอายุ 80-90 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่ฝักข้าวโพดอยู่ในระยะน้ำนม 50% เหมาะที่จะตัดมาสับบดใส่ถุงหรือถังเพื่อหมักให้ได้ระยะที่เหมาะสม เมื่อวัวกินจะได้รับโปรตีน วิตามิน หรือแร่ธาตุ แล้วส่งผลให้วัวเจริญเติบโตสมบูรณ์ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงฤดูแล้งนี้ จะเป็นทางเลือกให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตและยกระดับรายได้เพื่อก้าวสู่วิถีการยังชีพที่มั่นคง

คุณลัดดา วงษ์ภักดี เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตัดต้นสด เล่าให้ฟังว่า ปกติทำนาเป็นอาชีพหลัก หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวได้จัดพื้นที่ 7 ไร่ ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย และเลี้ยงวัว 9 ตัว และควาย 7 ตัว ด้วยการปล่อยให้ไปกินหญ้าในทุ่งนาหรือกินฟางข้าวแห้ง วัวก็เจริญเติบโตได้ดีระดับหนึ่ง

เมื่อก่อนนี้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อขายเป็นข้าวโพดฝักแก่ตากแห้งให้โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ ระยะเวลาปลูกถึงเก็บเกี่ยว 120 วัน บางฤดูใช้ต้นทุนการผลิตมาก และได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มทุน

การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เมื่อผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ศรีสะเกษ พร้อมคณะ มาตรวจเยี่ยมการเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน ได้แนะนำให้เกษตรกรที่เลี้ยงวัวรวมกลุ่มปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อตัดต้นสดไปสับบดแล้วนำไปหมักให้วัวกิน จะทำให้ได้รับโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ วัวจะเติบโตแข็งแรง การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อตัดต้นสดจะเก็บเกี่ยวไวกว่าปกติ 30 วัน ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง และเพิ่มรายได้ครัวเรือน เมื่อพิจารณาแล้วจึงรวมกับเกษตรกรในชุมชนปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นทางเลือกใหม่

การเตรียมแปลง …ได้ไถเตรียมดินยกร่องแปลงปลูก กว้าง 120 เซนติเมตร ความยาวแปลงตามแนวพื้นที่ จัดร่องน้ำระหว่างแปลงปลูก กว้าง 60 เซนติเมตร หยอดเมล็ดข้าวโพด หลุมละ 1-3 เมล็ด ปลูกเป็น 2 แถว ห่างจากขอบแปลงด้านนอกเข้าไปด้านละ 15 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้นตามแนวขอบแปลงห่างกัน 15 เซนติเมตร

พันธุ์ปลูก …ได้ซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ร้านจำหน่ายวัสดุการเกษตรหรือสหกรณ์ ในตลาดท้องถิ่นหรือในเมือง เป็นเมล็ดพันธุ์พื้นเมือง คุณภาพปลอดภัย ราคา 140-150 บาท ต่อกิโลกรัม

การใส่ปุ๋ย …หลังการปลูกได้จัดการใส่ปุ๋ยตรงสูตรตามค่าวิเคราะห์ดิน ใส่ตามอัตราส่วนและระยะเวลา

การให้น้ำ …ตลอดฤดูกาลปลูก ต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะใช้น้ำน้อยและพอเพียง ต้นข้าวโพดก็จะเติบโตได้ดี การเก็บเกี่ยว …เมื่อต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อายุ 80-90 วัน เป็นช่วงต้นข้าวโพดติดฝักระยะน้ำนม 50% ได้ใช้มีดพร้าตัดที่โคนต้น รวบรวมนำเข้าโรงเรือนเพื่อจัดการสับบดและหมักให้ได้ระยะที่เหมาะสมก่อน

การสับบดและหมัก …นำต้นข้าวโพดสดใส่เข้าเครื่องสับบด แล้วให้ไหลผ่านลงไปในภาชนะรองรับ รวบรวมนำไปใส่ในถังหมัก ปิดฝาหรือใส่ถุงพลาสติกหนามัดปากถุงให้แน่น การหมักไม่ใส่ส่วนผสมอื่นใดเติมลงไป เพราะต้นข้าวโพดจะมีน้ำหรือความชื้นพอเพียงในการย่อยได้ดีอยู่แล้ว เมื่อหมักได้ที่เหมาะสมจึงนำมาให้วัวกิน

อาหารวัว …ต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้นสดที่สับบดและหมักดีแล้ว วัวแต่ละตัวจะกิน ประมาณ 2 เข่ง หรือ 23 กิโลกรัม ต่อวัน วัวจะได้รับทั้งโปรตีนสูง วิตามิน และแร่ธาตุ ที่พอเพียง ทำให้วัวเจริญเติบโตแข็งแรงได้ดี

การตัดสินใจปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตัดต้นสดสับบดหมัก เมื่อจัดให้วัวกิน ทำให้วัวเจริญเติบโต แข็งแรง ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ทำให้ได้ก้าวสู่ความสำเร็จ มีรายได้เพิ่มและก้าวเดินสู่การยังชีพด้วยวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

คุณลุงไพฑูรย์ ฝางคำ เว็บคาสิโนออนไลน์ ประธานวิสาหกิจชุมชนศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน เล่าให้ฟังว่า หลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้วได้สนับสนุนให้สมาชิกปลูกพืชหมุนเวียนอายุสั้น ใช้น้ำน้อย เช่น ปลูกถั่วเหลือง ปอเทือง ถั่วเขียว หรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อช่วยตัดวงจรศัตรูพืชที่ฝังตัวอยู่ในดิน และเมื่อไถกลบทั้งต้นก็จะถูกย่อยสลายทำให้โครงสร้างดินอุดมสมบูรณ์และช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยลงในฤดูถัดไป

ส่วนการเชื่อมโยงกับเพื่อนเกษตรกรบ้านเมืองหลวงที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตัดต้นสด ได้ส่งเสริมด้านการตลาด ด้วยการซื้อข้าวโพดหมักมาเป็นอาหารวัว ได้เข้าไปเรียนรู้กระบวนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตัดต้นสดสับบดและหมัก เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางพัฒนาการเกษตรให้กับชุมชนตำบลผักไหมมีความมั่นคงยั่งยืน

คุณมังกร วงศ์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ศรีสะเกษ เล่าให้ฟังว่า ได้ติดตามงานส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ในหลายพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า มีเกษตรกรเลี้ยงวัวและควาย เฉลี่ย 1-5 ตัว ต่อราย เพื่อใช้เป็นแรงงานเกษตรหรือซื้อขายในเชิงการค้า เพื่อพัฒนาการผลิตวัวคุณภาพ จึงสนับสนุนพ่อพันธุ์วัว 1 ตัว ให้นำมาผสมกับแม่วัวพันธุ์พื้นเมือง 30 ตัว เกษตรกรต้องปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาให้การเลี้ยงพ่อพันธุ์วัวมีสุขภาพแข็งแรง

ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตัดต้นสดมาสับบดและหมักเป็นอาหารวัว โดยให้ตัดเก็บหลังจากปลูกได้ 80-90 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นข้าวโพดติดฝักในระยะน้ำนม ประมาณ 50% นำต้นข้าวโพดทั้งต้นเข้าสับบดแล้วใส่ถังหมัก เมื่อวัวกินจะย่อยง่าย ได้รับทั้งโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ วัวเจริญเติบโตไวและมีสุขภาพแข็งแรง

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตัดต้นสด พื้นที่ 1 ไร่ จะได้ผลผลิต 5-6 ตัน ขายได้ 2 บาท ต่อกิโลกรัม หรือมีรายได้ 10,000-12,000 บาท ต่อไร่ เมื่อปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาดี ข้าวโพด 1 ต้น จะได้น้ำหนัก 4 กิโลกรัม เป็นการปลูกพืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อย ต้นทุนการผลิตลดลง ได้ผลตอบแทนคุ้ม เกษตรกรมีรายได้และมั่นคงในการยังชีพ

จากเรื่อง ฤดูแล้ง ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตัดต้นสดสับบด หมักเลี้ยงวัวและขาย รายได้ดี เป็นทางเลือกการปลูกพืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อย ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณลัดดา วงษ์ภักดี บ้านเลขที่ 66/1 หมู่ที่ 3 บ้านเมืองหลวง ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ โทร. 087-880-9334 หรือ ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ศรีสะเกษ โทร. 045-612-507 ก็ได้ครับ