ถึงแม้ประเทศไทยไม่สามารถปลูกอินทผลัมผลแห้งได้ เนื่องมาจาก

สภาพภูมิอากาศที่ต่างจากประเทศแถบอาหรับ แต่อาจจะไม่ใช่ปัญหาเพราะการปลูกอินทผลัมผลสดก็ยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องสภาพภูมิอากาศที่หลายประเทศในแถบอาเซียนปลูกไม่ได้หรือคุณภาพไม่ดี แต่ความได้เปรียบกลับมาอยู่ที่ประเทศไทย ฉะนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้การแข่งขันทางด้านผลสดจึงมีแนวโน้มที่สดใสอยู่มากเพราะไร้คู่แข่งที่น่ากลัว

อย่าตั้งความหวังว่าจะโกยเงินจากอินทผลัมผู้ที่คิดจะปลูกอินทผลัมแล้วเจตนาใช้ราคาสูงเป็นตัวกำหนด หรือที่ผ่านมามีผู้คนที่รู้จักผมกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ต้องการปลูกอินทผลัมเพราะขายได้ราคาสูง อยากจะบอกว่าถ้าคิดแบบนั้นระวังจะผิดหวัง เพราะเมื่อคุณมองตลาดจะให้ผลตอบแทนกลับมาด้วยมูลค่าเงินจำนวนมาก คุณก็จะทุ่มเงินลงทุนอย่างเต็มที่

ความจริงต้นทุนอินทผลัมไม่ได้สูง แต่ที่ขายกันแพงเพราะมีกลไกราคาจากตลาดต่างประเทศ อย่างที่มาเลเซียราคาประมาณ 280 บาท ต่อกิโลกรัม โดยที่ทางมาเลเซียรับมาจากอาหรับในราคา 150 บาท พอเดินทางเข้ามาที่หาดใหญ่ราคากิโลกรัมละ 300 บาท พอมาถึงกรุงเทพฯ ราคากิโลกรัมละ 400 กว่าบาท แล้วเมื่อนำไปขายในผู้บริโภคราคากิโลกรัมละ 500-600 บาท ผมบอกได้เลยว่าราคาระดับนี้ขายส่งให้แก่ห้างโมเดิร์นเทรดชั้นนำหลายแห่ง แล้วผลผลิตที่นำไปขายเป็นฝีมือของคนไทยล้วน

“ปีนี้ (2561) ผมมีออเดอร์จากมาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม อีกเป็นจำนวนมาก ถ้าว่าทำไมเราไม่ส่งไปขายให้แก่ประเทศเหล่านั้นในจำนวนมากๆ แต่ในทางปฏิบัติประเทศเหล่านั้นเขาซื้อมาจากทางอาหรับในราคาต่ำกว่าซื้อจากไทย แล้วถ้าเราจะขายให้เขาต้องขายในราคาเดียวกับที่เขาซื้อจากอาหรับ แล้วจะขนไปขายทำไม? สู้ขายในประเทศได้ราคาสูงกว่า ความยุ่งยากในการขนย้ายถ่ายเทก็ไม่มี

แต่ในโอกาสหน้าไม่แน่เพราะถ้าผลผลิตเกิดล้นตลาดเพราะปลูกกันมากขึ้น ก็อาจจะต้องดันไปแข่งกับต่างประเทศ แล้วเมื่อถึงตอนนั้นใครที่หวังขายราคาสูงต้องคิดหนัก อย่าไปหวังเลยครับ ถ้าคุณตั้งเพดานเป้าหมายขายสัก 80-100 บาทอันนี้ลงทุนไปเลย”

คุณอนุรักษ์ บอกว่า การที่ตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะที่อยู่ใกล้ไทยยอมควักเงินซื้อแม้ขายในราคากิโลกรัมละ 400 บาท เป็นเพราะไทยมีจุดแข็งตรงที่ได้คุณภาพผลสดใหม่โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางนาน คุณภาพความอร่อย ความกรอบ ของอินทผลัมจากไทยเป็นที่ยอมรับแล้ว แม้ลักษณะผลจะมีลายที่ผิวหรือที่เรียกว่าขนแมวก็ไม่ใช่เงื่อนไขที่ลูกค้าจะปฏิเสธซื้อ เพียงแต่อาจจะต้องช่วยประชาสัมพันธ์กันให้มากหน่อยว่าการที่มีลักษณะผิวแบบนั้นมันไม่ใช่สินค้าเสียหายแต่มันเป็นอัตลักษณ์ประจำของไทยหรือเรียกได้ว่าเป็นพันธุ์บาร์ฮีแบบไทย

“เพราะคนที่บริโภคอินทผลัมเป็นประจำ หรือผู้ที่คลุกคลีอยู่จะรู้ดีว่าผลอินทผลัมแบบมีลายเส้นที่ผิวจะอร่อย หวาน กรอบ กว่าผลแบบเรียบ ซึ่งเป็นจุดเด่นของอินทผลัมของไทย แต่ในอนาคตหากมีการปรับปรุงแก้ไขก็ดีเพราะจะได้สร้างราคาให้สูงได้อีก

จัดระเบียบอินทผลัม สร้างมาตรฐานเพื่อการค้า

คุณอนุรักษ์ บอกว่า ภายหลังเมื่อมีองค์กรกลางที่เข้ามาจัดระเบียบ มาตรฐาน เพื่อให้มีความเท่าเทียมกันทุกแห่ง จึงมีการกำหนดจัดแบ่งเกรดผลอินทผลัมออกตามคุณภาพและขนาดตามมาตรฐานกลางดังนี้ ถ้าผลที่มีขนาด 15-18 กรัม เป็นเกรด A, ขนาด 12-15 กรัม เกรด B, ขนาด 10-12 กรัม เกรด C แล้วถ้าต่ำกว่า 10 กรัม เป็นเกรด D ทั้งนี้ ทุกเกรดต้องมีความหวานไม่ต่ำกว่า 29 บริกซ์

“เมื่อเห็นการเข้ามาจัดการเรื่องมาตรฐานแล้วบอกได้ว่าเริ่มมีความยากเข้ามาไม่เหมือนสมัยก่อนแล้ว ดังนั้น ขอบอกว่าถ้าท่านต้องการเดินเข้ามาในเส้นทางอินทผลัมไม่ต้องรีบ อย่าเร่ง เพราะไม่ง่าย แล้วผมไม่คิดว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จ ยกเว้นคุณมีใจสู้เต็มที่แล้วถ้าทำสำเร็จก็ปิดประตูเจ๊งได้เลย เพราะทุกอย่างมีแต่รายได้เข้ามา

คิดง่ายๆ ถ้าคุณขายเพียงกิโลกรัมละ 80 บาทก็ไม่ทันแล้ว เพราะอย่างบาฮีปลูกใช้เวลาเพียง 2 ปีจะได้ผลผลิตเริ่มต้นประมาณ 20-30 กิโลกรัม แล้วปลูกไร่ละ 25 ต้น ถ้าคุณปลูกสัก 5 ไร่ ได้กี่ต้น ได้เงินเท่าไร”

เจ้าของสวนอินทผลัมรายนี้ชี้ให้เห็นถึงการลงทุนปลูกอินทผลัมว่าไม่ต้องใช้เงินลงทุนอะไรมากมาย การปลูกระยะห่าง 8 คูณ 8 เมตร ใช้จักรยานหรือมอเตอร์ไซค์วิ่งทำงานภายในสวนก็ได้ หรือใส่ปุ๋ยก็ให้คนในครอบครัวช่วยกันยังได้ อีกทั้งการจัดตารางดูแลต้นอินทผลัมก็ไม่ได้ยุ่งยาก แล้วทำซ้ำเหมือนกันทุกวัน

“กิจกรรมการปลูกอินทผลัมเป็นงานที่ซ้ำๆ ทุกปี ใส่ปุ๋ยแบบเดิม รดน้ำแบบเดิม ผสมเกสรเหมือนเดิม ดูแล้วอาจง่ายกว่าการปลูกมะนาวเสียด้วย เพียงแต่อินทผลัมเป็นของใหม่ที่ทุกคนเพิ่งรู้จักก็เลยคิดว่ายาก อีกทั้งยังเป็นไม้ผลที่ให้ผลผลิตตลอดทุกปี ถ้าใส่ใจยิ่งได้มาก นับเป็นมรดกส่งให้ลูกหลานต่อไปได้

สิ่งเหล่านี้ฟังดูง่ายแต่ในทางปฏิบัติเริ่มต้นไม่ง่ายเลย เพราะอย่างน้อยคุณต้องลงมือทำเองทั้งหมด ต้องผ่านการเรียนรู้ฝึกปฏิบัติอย่างแท้จริงด้วยตัวเอง แต่ถ้าผ่านช่วงการเรียนรู้ไปแล้ว ในขั้นต่อไปคือความชำนาญแล้วจะไม่มีอะไรยากอีกต่อไป”

ปลูกได้ไม่ทั่วประเทศ เพราะอินทผลัมไม่ชอบความชื้นแฉะ

สำหรับแหล่งปลูกอินทผลัมในไทยก็ไม่ได้ปลูกกันทุกภาค ภาคที่ดูจะได้เปรียบทางภูมิศาสตร์สักหน่อยคือภาคกลาง หรือทางอีสานก็ได้ ทางภาคเหนือตอนล่างจะดี แต่เหนือตอนบนในบริเวณภูเขายิ่งแย่ ทางใต้น่าจะประมาณเพชรบุรีหรือชุมพร หรือถ้าประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามปลูกได้เพียงครึ่งประเทศเพราะเจอพายุเข้าก็จบ

เหตุผลที่บอกเช่นนี้เพราะโดยธรรมชาติของอินทผลัมไม่ชอบความชื้นแฉะ อุณหภูมิที่ชอบประมาณ 32-38 องศา อันนี้ปลูกได้ไม่ตาย แต่คุณภาพผลผลิตจะออกมายังไงตอบไม่ได้ ส่วนอุณหภูมิที่ไม้ผลชนิดนี้ชอบมากคือ 18 องศา ช่วงเดือนที่เหมาะมากคือประมาณธันวาคม-มกราคม

“ดังนั้น ถ้าสวนคุณอยู่ในตำแหน่งที่มีอากาศหรืออุณหภูมิในตอนเช้าประมาณ 18 องศาติดต่อกันสัก 7 วันเพื่อให้เกิดการสร้างตาดอกเก็บไว้ที่ซอกกาบใบแล้ว รับประกันได้ว่าในปีนั้นผลผลิตที่คุณหวังไว้เป็นไปตามจริงแน่ คุณได้เห็นเงินก้อนแน่”

ความหวานไม่เป็นอันตราย แถมยังมีสรรพคุณมากมายต่อสุขภาพ

หลายคนที่เพิ่งรู้จักอินทผลัมเมื่อได้ลองชิมต่างบอกตรงกันว่าหวาน เกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ต้องบอกว่าถึงแม้อินทผลัมจะมีรสหวาน แต่ไม่อันตรายต่อสุขภาพ ในทางตรงกันข้ามกลับมีประโยชน์มากด้วย (ยกเว้นห้ามรับประทานมากเกินไป) ที่พูดเช่นนี้เพราะได้อ่านงานวิจัยของหลายสถาบันแล้ว

“อย่างคนที่รับประทานอินทผลัมวันละไม่กี่เมล็ดร่วมกับอาหารสุขภาพต่างๆ ภายในเวลา 5 วันปรากฏว่าน้ำหนักลดลง เพราะอินทผลัมที่มีขนาดผลใหญ่จำนวน 7 ผล มีแคลอรีหรือพลังงานเท่ากับข้าวแกง 1 จาน ฉะนั้น ในวงการสุขภาพจึงให้เครดิตอินทผลัมว่าเป็นอีกหนึ่งผลไม้สุขภาพที่น่าสนใจ”

คุณอนุรักษ์ บอกว่า การแปรรูปอินทผลัมสามารถทำได้หลายอย่าง ถ้าช่วงไหนที่คุณไม่พอใจราคาขายแล้วยังไม่ต้องการขายก็นำอินทผลัมสดไปเก็บในตู้เย็นในช่องแช่แข็งจะพบว่าภายในเวลา 5 วันนำมารับประทานแล้วจะมีความกรอบ มีเนื้อคล้ายไอศกรีม อาจจะสุกเล็กน้อย มีความฉ่ำ และทุกวันนี้ที่สวนของผมมีออเดอร์ส่งให้เอสแอนด์พี เพื่อนำไปประยุกต์กับเมนูอาหารได้มากมาย

รวมตัวกันจัดตั้ง “กลุ่มปลูกอินทผลัมภาคตะวันตก (WDP)” เจาะตลาดในและต่างประเทศ

สำหรับการรวมตัวของผู้ปลูกอินทผลัมจากจังหวัดทางภาคตะวันตก หรือในชื่อเรียกว่า “กลุ่มปลูกอินทผลัมภาคตะวันตก (WDP)” นอกจากจะร่วมกันขายผลสดแล้วยังวางแผนเพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นน้ำอินทผลัมหรืออินทผลัมอบกรอบ โดยได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ดึงเฉพาะน้ำออกจากผลจึงไม่ทำให้คุณค่าทางโภชนาการอย่างอื่นเสีย ซึ่งเมื่อคุณรับประทานแล้วจะรู้สึกคล้ายกับการรับประทานทุเรียนอบกรอบ

นอกจากนั้น ยังแปรรูปเป็นผงในรูปแบบเดียวกับซีรีแล็คที่ใส่ชงกับน้ำร้อนดื่ม สำหรับเป็นอาหารเสริม แล้วยังมีแบบผงที่มีลักษณะเดียวกับคอฟฟี่เมต เนื่องจากคุณสมบัติเฉพาะของอินทผลัมที่มีแป้งกับเส้นใยอาหารและน้ำตาลอยู่แล้วเมื่อนำมาผสมกับกาแฟได้ทันทีโดยไม่ต้องปรุงอะไรอีก

คุณอนุรักษ์ แสดงความเป็นห่วงแล้วไม่สบายใจว่า มีหลายคนยังไม่รู้จักอินทผลัมเป็นอย่างดี พอได้รับฟังข้อมูลจากแห่งต่างๆ ที่แนะนำก็หลงเชื่อ เพราะคนเหล่านั้นมีเจตนาไม่ดีมาหลอกเอาเงิน อย่าไปเชื่อถ้าเขาบอกว่ามีต้นพันธุ์เพาะเนื้อเยื่อแท้จำหน่ายในราคาถูก ความจริงในประเทศไทยยังไม่สามารถเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออินทผลัมในตอนนี้ได้ ดังนั้น หากมีใครมาแอบอ้างว่าสวนของเขาเพาะต้นเนื้อเยื่อได้ขอให้คิดไว้ก่อนล่วงหน้าว่าถูกหลอก

พร้อมทั้งยังระบุว่าต้นพันธุ์เพาะเนื้อเยื่อทุกต้นที่นำมาจากตะวันออกกลางมีหลักฐานการผลิตเป็นแถบบาร์โค้ดที่ตรวจสอบกลับแหล่งที่มาได้ ฉะนั้น กว่าท่านจะรู้ตัวว่าถูกหลอกอาจเสียเงินไปจำนวนมากแล้ว จึงฝากไว้ว่าเมื่อใดที่ท่านเจอเรื่องเหล่านี้ ขอให้โปรดได้ใช้ความระมัดระวัง อย่าด่วนตัดสินใจ ถามคนที่อยู่ในวงการที่เชื่อถือได้เสียก่อน

“การเดินทางอยู่บนอาชีพอินทผลัมอย่าเพียงคิดว่าต้องมีความเข้าใจอย่างเดียว ควรต้องเข้าถึงด้วย เริ่มต้นอย่าทำมาก ค่อยๆ เพิ่ม แล้วควรศึกษาปัญหาระหว่างทำด้วยตัวเอง จนเกิดความชำนาญทางเทคนิคและอื่นๆ ถ้าถามว่าปลูกอินทผลัมง่ายไหม ผมตอบว่าง่าย เพราะคลุกคลีกันมายาวนานเป็นสิบปี

ฉะนั้น ทั้งหมดที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าอินทผลัมยังมีอนาคตอีกยาวไกล เพราะที่พูดมาเป็นเพียงภาพรวม แต่ต่อไปในอนาคตมองว่าอินทผลัมยังอาจมีอะไรทำได้มากกว่านี้” คุณอนุรักษ์ กล่าวปิดท้าย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม เรื่องอินทผลัม ติดต่อบริษัท อินทผลัมภาคตะวันตก จำกัด หรือที่ศูนย์ศึกษาเรียนรู้การปลูกอินทผลัมและการแปรรูป โทรศัพท์ (092) 681-1919, (081) 732-3681, (091) 505-9956 และ (098) 281-4988 fb : อินทผลัมภาคตะวันตก พืชผักสวนครัวมีความสำคัญยิ่ง

เราชาวบ้านนิยมปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเอง สาเหตุที่ปลูกผักมิใช่ต้องการพืชผักปลอดสารพิษอย่างเดียว แต่เพราะเรามีวิถีชีวิตแบบพอเพียง ทำมาหาเลี้ยงตัวเองมานมนานแล้ว พืชผักเหล่านั้นเป็นต้นว่า ข่า ตะไคร้ มะกรูด พริก มะเขือ กะเพรา โหระพา แมงลัก และบวบ เป็นต้น

ผักเหล่านี้ปลูกง่าย เราชาวบ้านคุ้นชินกับการปลูกมาแต่บรรพกาล คนบ้านนอกแทบไม่มีบ้านไหนไม่มีพืชผักสวนครัวเป็นของตนเอง จะต่างกันก็เพียงของใครปลูกไว้มาก ใครปลูกไว้น้อยเท่านั้น

การปลูกขั้นแรกต้องเตรียมดิน

สมัยเก่าก่อนหรือถิ่นฐานที่มีดินอุดมสมบูรณ์ไม่ต้องเตรียมก็ได้ เพียงแต่กินแล้วโยนเมล็ดทิ้งลงไป พืชผักบางชนิดเมื่อฝนตกก็ขึ้นเอง ปล่อยไว้นานไปก็ไปเก็บมาประกอบอาหารได้สบายๆ

แต่การปลูกแบบนั้นมีข้อเสียอยู่ อย่างน้อย 1 อย่าง คือ พืชผักจะขึ้นไม่เป็นระเบียบ ไม่สามารถกำหนดตำแหน่งที่ควรจะขึ้นได้ จึงเหมาะสำหรับคนที่มีพื้นที่มากๆ ส่วนคนที่มีพื้นที่น้อยๆ หรือต้องการผลผลิตมากๆ จำเป็นต้องเตรียมดินเสียก่อน

การเตรียมดิน เราชาวบ้านมักใช้จอบขุดดินให้เป็นร่อง หรือไม่ก็ขุดเป็นแถวเป็นแนว สับดินให้แตก เพื่อพืชผักจะได้ขึ้นง่ายๆ แล้วหยอดเมล็ด หรือลงกล้าพืชผักที่เราต้องการปลูกลงไป

สมัยนี้ เรามีพลั่วขนาดเล็ก เข้ามาช่วยในการเตรียมดิน

เราเรียกว่า พลั่วแซะดิน ขนาดของมันกระชับมือ เครื่องมือชนิดนี้ใช้เตรียมดินได้สะดวกดี เมื่อเราใช้จอบขุดดินยกร่องแล้ว ก็ใช้พลั่วนี้แซะดินออกเป็นหลุมๆ เรามักใช้กับการแซะให้เกิดหลุมเล็กๆ แล้วหยอดเมล็ดพืชผักลงไป

นอกจากแซะดินเป็นหลุมเล็กๆ แล้ว เรายังใช้กับการขุดย้ายกล้าพืชผักอีกด้วย เป็นต้นว่า เมื่อเห็นว่ากะเพราขึ้นผิดที่ผิดทาง ฝนตกลงมาดินเปียกแฉะ เราก็ใช้พลั่วแซะดินนี้ไปแซะกะเพราออก แล้วใช้พลั่วแซะดินนี้เองขุดหลุมใส่ต้นกล้ากะเพราลงไป

การย้ายพืชผักเล็กๆ บางคนใช้ถอนต้น แล้วใช้จอบขุดหลุมปลูกในที่ต้องการ เรื่องนี้ไม่ได้ผิดกติกา เพราะเราชาวบ้านก็ทำกันมานาน และได้ผลดี แต่ถ้าใช้พลั่วแซะดินจะนุ่มนวลกว่า เปอร์เซ็นต์ที่พืชผักรอดจะมีสูงกว่า เพราะเป็นการกระทำอย่างนุ่มนวล ไม่บุ่มบ่าม ไม่หักโหมรุนแรง ถ้าจะเปรียบเทียบกับการแต่งงานของหญิงสาวชาวบ้าน ก็ได้แต่การแต่งงานตามประเพณี ไม่ใช่รักกันหนาก็พากันหนี หรือไม่ฉุดคร่าข่มขืนน้ำใจเอาสาวเจ้ามาอย่างไม่เมตตา

การที่ชายกับหญิงจะมาอยู่ด้วยกัน ชาวบ้านแถวๆ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อก่อนมี 3 รูปแบบ คนสมัยนี้อาจไม่รู้จักบางรูปแบบแล้ว เพราะเลือนหายไปกับกาลเวลา

แบบที่หนึ่งรุนแรงสุดคือ หนุ่มไหนชอบสาวใด ก็พาพวกไปฉุดเอามา แล้วติดต่อกับญาติฝ่ายหญิงเพื่อไปส่งตัวตามประเพณี แบบนี้พ่อ แม่หญิงไม่ชอบ และตัวผู้หญิงเองก็ไม่ชอบ แบบที่สองพาหนี เมื่อหนุ่มสาวรักกันก็พากันหนีไป แล้วส่งญาติมาติดต่อเพื่อส่งตัวตามประเพณี แบบนี้ฝ่ายหญิงและชายชอบ เพราะยินยอมพร้อมใจกันทั้งสองฝ่าย แต่พ่อ แม่หญิงไม่ชอบ เพราะไม่เข้าตามตรอกออกตามประตู

ประเภทที่สามนุ่มนวลที่สุด ชอบกันทุกๆ ฝ่าย คือแต่งงาน เมื่อรักกันชอบกันฝ่ายชายก็ส่งเถ้าแก่ไปสู่ขอฝ่ายหญิง ทำให้ชื่นมื่นด้วยกันทุกฝ่าย

การย้ายกล้าพืชผักด้วยพลั่วแซะดินก็นุ่มนวลดุจเดียวกัน

พลั่วแซะดิน เราหาซื้อตัวพลั่วตามท้องตลาด แล้วหาไม้มาทำด้ามเอาเอง แต่ปัจจุบันไม่ต้องทำด้ามเองก็ได้ เพราะมีชนิดที่มีด้ามให้เรียบร้อยแล้ว มีทั้งด้ามไม้ และด้ามเหล็กเป็นเนื้อเดียวกันกับพลั่วเลยก็มี ใครถนัดใช้อย่างไร ก็เลือกซื้อได้ตามสบาย

พลั่วแซะดิน เราชาวบ้านเลือกใช้กับงานเล็กๆ หมายถึง งานที่ไม่ออกแรงมาก อย่างแซะเอากล้าไม้ไปปลูก ขุดหลุมเล็กๆ บางทีก็ใช้ทุบดินในร่องผักให้แตก ถ้าเป็นงานหนักกว่านั้น อย่างขุดหลุมใหญ่ๆ ลึกๆ เขาก็จะใช้จอบ

เครื่องมือของใช้ชาวบ้านมีมากมาย เราชาวบ้านเลือกใช้กันเหมาะสมกับงานอยู่แล้ว มีบางครั้งเท่านั้นที่เรานำเครื่องมือมาใช้ผิดประเภท แต่นั่นหมายถึง ต้องเสี่ยงอันตราย หรือไม่ก็ล่าช้า ใช้เวลามากกว่าที่ควรจะเป็น อย่างใช้มีดฟันต้นไม้ แทนที่จะใช้ขวาน เป็นต้น

แม้เราจะรู้ๆ กันอยู่ว่า เครื่องมือชนิดไหนใช้กับอะไร

แต่บางครั้งเราก็อยู่ในฐานะเลือกไม่ได้มากนัก จึงจำต้องเลือก ทำให้บางครั้งเกิดปัญหาตามมาหญ้าคอมมิวนิสต์, หญ้าคา หรือ หญ้าขจรจบดอกเล็ก เป็นชื่อทางการที่ตั้งไว้อย่างไพเราะ
แต่ทว่า หญ้าเหล่านี้เป็นวัชพืชสร้างความรำคาญให้แก่เกษตรกร ชาวสวนผลไม้ในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยเฉพาะสวนทุเรียน สวนมังคุด สวนเงาะ หรือแม้กระทั่งพี่น้องชาวสวนยาง ยังต้องพบกับวัชพืชเหล่านี้ แม้ว่าจะพอมีประโยชน์ในการปกคลุมหน้าดิน สร้างความชุ่มชื้นให้กับผืนดินได้อย่างดีก็ตาม ปัญหา หญ้าคอมมิวนิสต์ ปกคลุมพื้นที่ และด้วยลักษณะเฉพาะที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว พร้อมกับสาเหตุหลัก คือก่อผลกระทบต่อพืชหลักที่เกษตรกรหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือปัญหาที่แท้จริง

“หญ้าคอมมิวนิสต์” วัชพืชตัวฉกาจ จะใช้รากฝอยที่แข็งแรงช่วยกันแย่งอาหารไม้ผล ทำให้เกษตรกรในพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลแกลง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ในพื้นที่การเกษตร (ไม้ผล) ราว 30 ไร่ เลือกใช้การกำจัดหญ้าทางเคมีโดยใช้ยาฆ่าหญ้า

หญ้าคอมมิวนิสต์ เป็นวัชพืชที่ทนแล้ง ตายยาก ตายแล้วเกิดใหม่ ด้วยรากที่แผ่กระจายอยู่ชั้นดิน โดยมีดอกและเมล็ด เมื่อต้นหญ้ามีอายุที่แก่จัด ดอกและเมล็ดปลายยอดหญ้าออกปลิวตามลมไปยังพื้นที่ใด แผ่นดินใดที่เหมาะสม ก็จะเกิดก่อเป็นต้นอ่อน ที่สำคัญคือ เติบโตขยายพันธุ์รวดเร็วมาก

ด้วยเหตุแห่งผลเสียของการใช้ยาฆ่าหญ้า คุณสกุลศักดิ์ ทิพย์ไชย เกษตรกรชาวสวนผลไม้ จึงได้หันกลับสู่วิถีภูมิปัญญา ด้วยวิธีการ “ทำลายหญ้าคา ด้วยวิธีภูมิปัญญา ไร้ยาเคมี

คุณสกุลศักดิ์ เล่าว่า ระยะเวลาของการเรียนรู้พื้นที่สวนผลไม้ ร่วม 26 ปี ที่ผ่านมา ได้พิจารณาเห็นว่า พื้นใดที่เป็นพื้นที่ราบต่ำ สลับ พื้นที่เนิน กลางป่าเขา ในแถบภาคตะวันออก ไม่ว่าจะเป็น จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี หรือแม้กระทั่ง จังหวัดชลบุรี ซึ่งแม้จะเหลือพื้นที่ทางการเกษตรไม่มากนักในขณะนี้ แต่ผลที่เกิดขึ้น คือ เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว ล้วนแต่เผชิญกับปัญญา วัชพืช หญ้าคอมมิวนิสต์ขึ้นปกคลุม พื้นที่การเกษตรไม้ผลด้วยกันทั้งสิ้น หญ้าคอมมิวนิสต์ หรือ หญ้าคา ที่มีอายุต้นแก่ กอใหญ่ ต้นแข็ง ล้มยาก หากตัดโดยใช้เครื่องตัดหญ้า ก็จะทำให้ชาวสวนเหนื่อยแรงในการตัด ซึ่งหากปล่อยไว้นาน จนกระทั่งถึงอายุที่ออกดอก หรือออกเมล็ดแล้ว การทำลายทิ้งจะยากมาก

“หากใช้ยาฆ่าหญ้า ก็เป็นจะการทำลายดินที่อุดมสมบรูณ์ ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งเกษตรกรท่านใดที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกันนี้ แนะนำให้ใช้วิธีการนาบให้ต้นล้มก่อน แล้วค่อยใช้เครื่องตัดหญ้า ตัดให้ขาดวิ่น

วิธีการ คือ นำต้นกล้วย สายพันธุ์ใดก็ได้ที่เราไม่ต้องการ มาเป็นเครื่องมือให้กับเรา โดย

ต้นกล้วย 1 ต้น เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร ขึ้นไป นำมาตัดปลายยอดทิ้ง เป็นท่อนยาว โดยมีความยาวประมาณ 1.5 – 2 เมตร
2.ใช้ เชือก มะลิลา หรือเชือกไนล่อน ความยาวของเชือก ประมาณ 10 – 15 เมตร เป็นอย่างน้อย จากนั้น ใช้ส่วนหัวและส่วนปลายของเชือกมัดบริเวณปลายลำต้นของต้นกล้วยทั้งสองข้าง (โดยเชือกที่ใช้มัดนั้นจะต้องเป็นเชือกเส้นเดียวกัน

วิธีปฏิบัติ ใช้แรงคน ดึงปลายเชือกทั้งสองข้างไปพร้อมๆ กันในพื้นที่ที่มีหญ้าคอมมิวนิสต์ปกคลุม โดยต้องออกแรงดึงเชือกไปพร้อมๆ กัน จะทำให้ต้นกล้วยท่อนยาวและมีน้ำหนักทับหญ้าคอมมิวนิสต์ต้นสูงท่วมหัว ล้มโค่นลงแบบยอมสิโรราบ เรียบเป็นหน้ากลองได้อย่างง่ายดาย หลังจากนั้นเกษตรกรจึงค่อยใช้เครื่องตัดหญ้าชนิดเครื่องเหวี่ยงมือ หั่นตัดด้วยใบพัดครื่องยนต์หรือจะเป็นเครื่องตัดหญ้าชนิดไสตัด ก็สะดวกและเบาแรง

เพียงเท่านี้ เกษตรกรก็จะได้นำหญ้าคอมมิวนิสต์ มาเป็นปุ๋ย ใส่บริเวณโคนต้นไม้ผล เพื่อเป็นการปกคลุมโคนต้นป้องกันการระเหยของน้ำหน้าดินบริเวณโคนต้นได้อย่างสบาย ข้อสังเกต อายุของต้นหญ้าคอมมิวนิสต์ที่แก่จัด จนเป็นระยะตั้งท้อง ออกดอก ออกเมล็ด จะเป็นต้นที่สูง เนื้อหญ้าแข็งแกร่ง แต่โคนต้นจะกรอบและหักง่าย จึงเป็นผลทำให้วิธีการกำจัดแบบใช้ต้นกล้วยทับ ทำให้ต้นหญ้าล้มโดยง่ายและไม่ต้องออกแรงมาก

การปลูกมะม่วงแบบประสบการณ์จริง เป็นการรวบรวมเอาเทคนิคและวิธีการจากชาวสวนมะม่วงที่ประสบความสำเร็จ นำมาเรียบเรียงเพื่อให้ผู้อ่านอ่านง่าย และนำไปเป็นแนวทางการปฏิบัติได้จริง

มะม่วง เป็นพืชที่ปลูกง่าย สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกสภาพ แต่หากจะปลูกมะม่วงในเชิงพาณิชย์และเพื่อการส่งออกจะต้องเลือกพื้นที่ที่ค่อนข้างดอน น้ำไม่ท่วมขัง กรณีพื้นที่เป็นที่ลุ่มจะต้องยกร่องเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เพราะนิสัยของมะม่วงแม้จะทนต่อสภาพน้ำท่วมขังแต่หากน้ำท่วมนานๆ จะมีผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผลผลิต อีกประการที่สำคัญคือแปลงมะม่วงที่มีน้ำท่วมขังมักเกิดปัญหาโรคเข้าทำลายได้ง่ายกว่าแปลงปลูกที่มีการระบายน้ำดี

การเตรียมพื้นที่ปลูก “พื้นที่ดอน” การปลูกมะม่วงในพื้นที่ดอนจะต้องปรับพื้นที่ให้ค่อนข้างเรียบเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน เก็บเศษไม้และก้อนหินออกให้หมด จากนั้นให้ไถดินตากไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์

การวัดระยะปลูก ก่อนอื่นจะต้องดูสภาพพื้นที่เป็นหลัก นักวิชาการหลายท่านต่างแนะนำให้วัดระยะแถวในแนวเหนือ-ใต้ หรือปลูกมะม่วงแบบขวางตะวันเพื่อให้ต้นมะม่วงได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึงทุกต้น แต่บางครั้งสภาพพื้นที่ของเราไม่อำนวยก็สามารถดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ได้

ระยะปลูกที่เหมาะสมโดยทั่วไปแล้ว จะใช้ระยะระหว่างต้น 6 เมตร และระหว่างแถว 6 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ 45 ต้น แต่อาจมีเกษตรกรบางรายปรับระยะปลูกใหม่ให้ชิดกว่าเดิม เป็นระหว่างต้น 5 เมตร และระหว่างแถว 6 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 52 ต้น ได้จำนวนต้นมะม่วงเพิ่มจากเดิม 7 ต้น ต่อไร่เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่น้อย แต่การปลูกระบบนี้ชาวสวนจะต้องควบคุมทรงต้นให้ดี

“พื้นที่ลุ่ม” สำหรับในพื้นที่ลุ่มอาจจะมีความยุ่งยากเพิ่มขึ้นเล็กน้อยโดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มที่มีประวัติน้ำท่วมขังสูง ถ้าระดับน้ำเคยท่วมสูงมากจะต้องทำคันกั้นน้ำให้สูงกว่าระดับที่น้ำเคยท่วมมาก่อนประมาณ 0.5-1 เมตร ก่อนแล้วจึงยกร่อง แต่หากน้ำขังไม่มากให้ใช้วิธีการยกร่องอย่างเดียวก็พอ การขุดร่องโดยทั่วไปแล้วควรจะต้องให้สันร่องมีความกว้างประมาณ 5 เมตร ตัวร่องน้ำกว้างประมาณ 1.50-2 เมตร ส่วนความลึกขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่แต่ละแปลง ที่ต้องกำหนดให้มีสันร่องกว้างๆ ก็เพื่อความสะดวกของผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะในระยะห่อผลและเก็บผลผลิต ผู้เขียนเคยไปพบแปลงมะม่วงแปลงหนึ่งที่ปลูกแบบยกร่อง แต่มีสันร่องที่ค่อนข้างแคบมากทำให้มีปัญหาในการปฏิบัติงาน คนงานไม่สามารถห่อผลผลิตได้ เพราะไม่มีพื้นที่ในการตั้งบันได ทำให้เสียโอกาสในการผลิตมะม่วงคุณภาพดีๆ เพราะไม่ได้ห่อผล

การเตรียมหลุมปลูก หากเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ แนะนำให้ใช้เครื่องเจาะหลุมช่วยจะเป็นการประหยัดเวลาและช่วยประหยัดค่าแรงงานไปได้มาก เครื่องเจาะที่นิยมใช้โดยทั่วไป จะมีขนาดหลุมกว้าง 50-75 เซนติเมตร เจาะลึกลงไปประมาณ 50 เซนติเมตร แต่หากเป็นการปลูกไว้ตามสวนหลังบ้าน แบบบ้านละ 1-2 ต้น ให้ใช้จอบขุดหลุมกว้าง, ยาวและลึก 50 เซนติเมตร ก็พอ หลังขุดหลุมเสร็จให้หาปุ๋ยคอกเก่ามาผสมกับดินที่ขุดขึ้นมา ต้นละ 1-2 บุ้งกี๋ พยายามใช้จอบผสมคลุกเคล้าดินกับปุ๋ยคอกให้เข้ากันดี เพราะหากผสมไม่ดีอาจมีปัญหาทำให้มะม่วงที่ปลูกใหม่ตายเพราะปุ๋ยคอกได้

เมื่อผสมเสร็จให้โกยดินที่ผสมลงในหลุมเหมือนเดิม โดยพูนดินให้เป็นในลักษณะหลังเต่า ทิ้งเวลาไว้ประมาณ 7-10 วัน จึงเริ่มปลูกมะม่วงได้ แต่บางครั้งพบเกษตรกรบางรายใช้วิธีขุดหลุมแล้วปลูกเลย ปุ๋ยคอกจะนำมาใส่ทีหลัง วิธีนี้ก็สามารถทำได้โดยเฉพาะคนที่ปลูกในพื้นที่มากๆ และไม่สามารถหาแรงงานในการเตรียมหลุมได้

พันธุ์มะม่วงที่น่าปลูก เกษตรกรหลายรายมักตั้งคำถามว่า “จะปลูกมะม่วงพันธุ์อะไรดี” คำถามนี้ยังไม่มีใครกล้าตอบแบบฟันธงได้ เพียงแต่สามารถให้คำแนะนำเพื่อประกอบการตัดสินใจว่า ควรจะเลือกปลูกพันธุ์อะไรดี แต่จากข้อมูลทั้งภาครัฐและเอกชนต่างยอมรับว่าพันธุ์มะม่วงที่มีผู้นิยมปลูกเป็นการค้ามากที่สุดของบ้านเราในปัจจุบันนี้ ได้แก่ พันธุ์น้ำดอกไม้ (ทั้งพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์ 4 และน้ำดอกไม้สีทอง ซึ่งทั้งสองพันธุ์เป็นมะม่วงบริโภคผลสุก) เพราะเป็นพันธุ์ที่ตลาดมีความต้องการสูง ขายได้ราคา มีตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองตลาดต่างประเทศเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนมะม่วงในกลุ่มบริโภคผลดิบหรือมะม่วงมัน เช่น เขียวเสวย, แรด, ฟ้าลั่น, เพชรบ้านลาด, มันขุนศรี ฯลฯ พื้นที่ปลูกมีไม่มากนักและกำลังลดลงเรื่อยๆ เพราะขายได้ราคาต่ำกว่าพันธุ์น้ำดอกไม้ เนื่องจากตลาดต่างประเทศมีความต้องการน้อย

การเตรียมกิ่งพันธุ์ มีปราชญ์หลายท่านพูดว่า “การเริ่มต้นที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” การทำสวนมะม่วงก็เช่นกัน ก่อนจะตัดสินใจเลือกซื้อกิ่งพันธุ์จะต้องแน่ใจว่ากิ่งพันธุ์ที่เราจะซื้อมาปลูกนั้นดีจริง เกษตรกรสวนมะม่วงหลายรายมีวิธีในการเลือกซื้อกิ่งพันธุ์ดังนี้

1.จะต้องเป็นกิ่งพันธุ์แท้ตรงตามพันธุ์ที่เราต้องการ ปัญหาเรื่องการซื้อมะม่วงพันธุ์หนึ่งแล้วได้อีกพันธุ์หนึ่งไปแทนเป็นปัญหาที่พบเห็นได้ทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะกิ่งพันธุ์ที่ออกมาขายกันใหม่ๆ ราคาแพงๆ หากซื้อไปแล้วเป็นพันธุ์ปลอมนอกจากจะเสียเงินเสียเวลาแล้วยังช้ำใจไปอีกนาน ในเรื่องนี้ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ในช่วงที่มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองออกขายใหม่ๆ คนแห่กันปลูกกันมาก ปลูกไปได้ไม่นานมะม่วงที่ออกมากลับไม่เป็นพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง แต่เป็นมะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4 แทน ดังนั้น ก่อนซื้อจะต้องซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้

เป็นกิ่งแข็งแรงสมบูรณ์ กิ่งมะม่วงที่จะนำมาทำพันธุ์จะต้องเป็นกิ่งที่แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลงรบกวน ถ้าเป็นกิ่งใหญ่จะต้องมีขนาดสมดุลกับต้นตอ ไม่ใช่กิ่งใหญ่แต่ต้นตอเล็กมาก จะพบปัญหาด้านการเจริญเติบโต การเลือกกิ่งพันธุ์จะต้องเป็นกิ่งที่ตัดชำมาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ใบไม่เหี่ยวแห้ง กิ่งที่ดีใบจะต้องเขียวเป็นมัน แสดงว่าระบบรากขยายดีพร้อมปลูก

ต้องขยายพันธุ์จากต้นที่ไม่เคยราดสารแพคโคลบิวทราโซลมาก่อน เพราะหากเราใช้กิ่งพันธุ์ที่ผ่านการราดสารฯมาปลูกมักพบปัญหากิ่งเลื้อยและต้นไม่ค่อยเจริญเติบโต เวลาซื้อให้สังเกตง่ายๆ หากพบว่ากิ่งพันธุ์ที่ซื้อมามีลักษณะเลื้อยยอดไม่ตั้งเหมือนมะม่วงปกติแสดงว่าขยายพันธุ์มาจากต้นที่ผ่านการราดสารมาแล้วควรหลีกเลี่ยง
การปลูก เมื่อเราได้กิ่งพันธุ์มาแล้ว ก่อนปลูกประมาณ 1-2 วัน ต้องงดน้ำเพื่อให้ดินในถุงแห้ง ป้องกันดินแตกเวลาปลูก (ดูว่าให้แค่พอแห้ง ไม่ใช่ปล่อยจนมะม่วงเหี่ยว) ก่อนปลูกอาจรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 16 – 16 – 16 ต้นละประมาณ 1 ช้อน ถ้าปลูกแปลงใหญ่ แนะนำให้ขุดหลุมให้เสร็จเสียก่อนแล้วค่อยปลูกทีหลัง เพื่อความสะดวกในการเล็งต้นให้เป็นแนวตรงกัน ที่สำคัญก่อนปลูกเวลาวางกิ่งพันธุ์ ห้ามให้กิ่งพันธุ์ล้มหรือนอนเพราะกิ่งพันธุ์จะตายได้ง่าย ต้องวางกิ่งพันธุ์ให้ตั้งเท่านั้น

การให้น้ำมะม่วงที่ปลูกใหม่ การปลูกมะม่วงในระยะแรกจะต้องให้น้ำให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอ มีหลายท่านสอบถามว่าจะต้องรดน้ำกี่วันต่อครั้ง คำตอบคือ ให้ดูจากความชื้นของดินเป็นหลัก กรณีปลูกมะม่วงหน้าฝนอาจจะไม่ต้องรดน้ำเลยก็ได้ แต่หากเป็นช่วงฤดูแล้งอาจจะต้องรดน้ำ 5-7 วัน ต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและอากาศ ในช่วงฤดูแล้งเกษตรกรหลายท่านใช้ฟางข้าวมาคลุมที่โคนต้นมะม่วงเพื่อลดการระเหยของน้ำ ทำให้ดินมีความชื้นได้นานขึ้นเว้นระยะเวลาในการรดน้ำนานออกไปได้