ถ้าต้องการลองลิ้มชิมรสส้มโอนครชัยศรีของแท้

ให้สังเกตจากผลส้มโอที่มีสติ๊กเกอร์ GI ติดไว้ทุกผล แล้วควรหาซื้อตามสถานที่กำหนด อย่าง ที่วัดไร่ขิง พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง หรือที่ร้านส้มโอนครชัยศรีภายในปั๊ม ปตท. (กม. ที่ 26) ถนนบรมราชชนนีขาออกเลยเซ็นทรัลพลาซ่า ศาลายา ประมาณ 2 กิโลเมตร นอกจากนั้น ทางกลุ่มยังเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเป็นหมู่คณะเข้าเยี่ยมชมสวนส้มโอพร้อมทำกิจกรรมต่างๆ” คุณประวิทย์ กล่าว

สอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณประวิทย์ บุญมี บ้านเลขที่ 26/1 หมู่ที่ 8 ตำบลท่าตลาด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ (081) 340-2867 แวะเข้าสวน ดูชาวสวนปลูก ส้มโอขาวน้ำผึ้งที่มีคุณภาพ

คุณอนันต์ วัฒนา อยู่บ้านเลขที่ 21 หมู่ที่ 6 ตำบลทรงคะนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นอีกหนึ่งชาวสวนที่ช่วยพ่อ-แม่ ปลูกส้มโอมาตั้งแต่เด็ก หลังจากนั้น แยกมาปลูกเองเมื่อมีครอบครัว แล้วยังคงยึดอาชีพปลูกส้มโอจนถึงทุกวันนี้

พื้นที่ปลูกส้มโอของคุณอนันต์มี 2 แห่ง คือที่สวนตัวเอง มีพื้นที่ปลูก 15 ไร่ และเช่าที่ดินปลูกอีก 10 ไร่ และส้มโอที่ปลูกเป็นพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง โดยบอกว่า ก่อนปี 2554 ได้ปลูกพันธุ์ทองดีมาก่อน แต่ขณะนั้นประสบปัญหาต้นทุนการปลูกสูง ประกอบกับปริมาณส้มโอในตลาดมีมากจนล้น ทำให้ราคาเหลือเพียงลูกละ 15 บาท เป็นราคาที่ต่ำกว่าราคามะพร้าวแห้งเสียอีก แต่ถ้าต้องการให้มีราคาสูง จะต้องปลูกแบบเป็นระบบเพื่อส่งออกนอกจึงจะได้ราคาดี ถึงลูกละ 40 บาท ซึ่งมองดูแล้วคงสู้ไม่ไหว

ภายหลังน้ำท่วมใหญ่ ปี 2554 ปรากฏว่าสวนส้มหลายแห่งเสียหาย สวนที่เหลือรอดก็ต้องพยุงตัวต่อไป นับจากนั้นจึงทำให้ส้มโอในพื้นที่มีน้อยแล้วหายาก และที่วางขายตามแผงค้ามีราคาสูง ลูกละ 60 บาท ยิ่งถ้าเน้นปลูกขายต่างประเทศยิ่งมีราคาสูงมากถึงลูกละ 80-90 บาท

คุณอนันต์ บอกถึงเหตุผลที่เปลี่ยนมาปลูกส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้งอย่างเดียว เพราะไม่เพียงเป็นพันธุ์ส้มที่ปลูก/ดูแลง่าย จนมีต้นทุนที่ไม่สูงแล้ว ส้มโอพันธุ์นี้ยังมีจุดเด่นอยู่ที่เนื้อสวย รสหวานปนเปรี้ยวเล็กน้อย เป็นที่ต้องการของตลาดฮ่องกงและไต้หวัน จนทำให้มีราคาดี

ผลเสียหายของสวนส้ม หลังปี 2554 ทำให้ขาดแคลนต้นพันธุ์ ดังนั้น กิ่งพันธุ์จึงมีราคาถึง 100 บาท ต่อกิ่ง แล้วหาได้ยาก เลยทำให้จำเป็นต้องปลูกเพียง 300 ต้นก่อน จากนั้นค่อยใช้วิธีขยายพันธุ์ด้วยการตอนจากต้นรุ่นแรกเพิ่มขึ้นมาอีก จำนวน 400 ต้น

ดังนั้น สวนของคุณอนันต์ที่มีเนื้อที่ปลูก จำนวน 15 ไร่ ปลูกส้มแบบร่องน้ำ แบ่งปลูก 2 รุ่น คือ รุ่นอายุ 5 ปี ปลูกจำนวน 6 ไร่ มีส้มโอ จำนวน 300 ต้น ส่วนที่เหลือภายในพื้นที่เดียวกัน จำนวน 400 ต้น เป็นส้มอายุราวปีเศษ

อดเปรี้ยวไว้กินหวาน

คุณอนันต์ บอกว่า แปลงที่ปลูกมา 5 ปี มีผลผลิตตลอดตั้งแต่ปีที่ 2 ของอายุต้น แล้วได้เก็บผลผลิตไว้บ้างเล็กน้อยต้นละ 2-3 ผล ได้ปีละประมาณ 2,000 กว่าผล เพื่อนำมาขายเป็นค่าปุ๋ย/ยา และคิดว่าในช่วงหน้าแล้งที่จะมาถึงตั้งใจว่าจะทำเป็นการปลูกแบบให้มีระบบที่ต้องมีการสกัดน้ำ ควบคุมการให้ปุ๋ย เพื่อบังคับให้ออกดอกมากกว่าช่วงปกติ แล้วทำให้มีผลผลิตจำนวนมากด้วย

แล้วเพิ่มเติมอีกว่าโดยปกติทางธรรมชาติส้มโอจะให้ผลผลิตได้ปีละ 4 ครั้ง โดยเริ่มมีผลผลิตตั้งแต่ปีที่ 2 เพียงแต่อาจไม่สมบูรณ์ แล้วชาวสวนมักทิ้งลูกเพื่อปล่อยให้ต้นมีขนาดใหญ่ สมบูรณ์ เพื่อรอการทำชุดใหญ่ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ปีที่ 5 หรือบางรายอาจปล่อยไปถึงปีที่ 8 เพื่อให้ต้นสมบูรณ์มากที่สุด แล้วถ้าบริหารจัดการอย่างดีในช่วงนั้นจะได้ผลผลิต ต้นละ 120-200 กิโลกรัม โดยมีน้ำหนักเฉลี่ย ผลละ 2 กิโลกรัม

เขาบอกต่ออีกว่า ส้มโอนครชัยศรีมีตลอดทั้งปี ทั้งนี้เพราะชาวสวนมีการปลูกแบบทะวาย เนื่องจากมีลำต้นใหญ่แข็งแรง หรือบางสวนที่ปลูกแบบบริหารจัดการน้ำ/ปุ๋ย ไปแล้วยังคงได้ผลผลิตต่อเนื่อง แต่มักไม่เก็บไว้ เพราะต้องการพักต้น เตรียมการปลูกในรุ่นต่อไปเพื่อให้มีคุณภาพดี

ลักษณะการขายส้มโอในพื้นที่นครชัยศรีนิยมขายเป็นผล แตกต่างจากที่อื่น ที่ขายโดยคิดเป็นน้ำหนัก คุณอนันต์บอกว่า ปกติถ้าปลูกอย่างมีคุณภาพมักได้ผลที่มีขนาดน้ำหนัก 1.8-2 กิโลกรัม กำหนดราคาขายจากสวน ผลละ 120 บาท หรือถ้าน้ำหนักสักผลละ 1.5 กิโลกรัม ขายผลละ 60 บาท

การปลูก

เจ้าของสวนรายนี้บอกว่า ควรจะเลือกกิ่งพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ โดยชี้ว่าควรจะเลือกจากสวนที่รู้จัก หรือหากไม่รู้จักต้องสอบถามจากเจ้าของสวนว่า เป็นสวนที่ปลูกเพื่อเก็บลูกหรือสวนที่ตอนกิ่งขายอย่างเดียว ซึ่งถ้าปลูกตอนกิ่งขายอย่าไปซื้อ เพราะไม่เคยไว้ลูก ถ้าซื้อมาปลูกต้องรอถึง 5 ปี กว่าจะรู้ได้ว่าเมื่อมีผลแล้วขั้วหลุดง่าย เพราะคนทำกิ่งขายจะเน้นความสมบูรณ์ของกิ่งเป็นหลัก จึงควรเลือกสวนที่เก็บผลขายแล้วตอนกิ่งขายด้วยจึงจะปลอดภัยกว่า เพราะลงทุนไปถึง 5 ปีแล้ว

คุณอนันต์ ให้รายละเอียดการขยายพันธุ์ด้วยการตอนว่า เมื่อกิ่งมีการแตกใบอ่อน ให้ทิ้งไว้สัก 3 เดือน ให้มีรากเต็มที่ จากนั้นจะตัดกิ่งตอนลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ทันที

สำหรับหลุมปลูก มีขนาดความลึก ประมาณ 10 เซนติเมตร กว้าง ประมาณ 50 เซนติเมตร คุณอนันต์ บอกว่า สวนอื่นอาจต้องมีการใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม แต่สำหรับสวนของเขาไม่ต้องใส่อะไร และเมื่อนำต้นลงหลุมแล้วให้ใช้ไม้รวกปักยึดต้นสัก 3 อันครึ่งท่อนเพื่อป้องกันลมพัดต้นล้มหรือเอียง อันมีผลต่อระบบรากทำให้ต้นเจริญเติบโตช้า

ระหว่างที่ต้นส้มมีขนาดเล็ก แล้วถ้าไม่ใช่หน้าฝนต้องหมั่นรดน้ำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง ควรรดให้ท่วมขัง ให้ทำเช่นนี้ประมาณ 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นต้นจะเริ่มฟื้น จึงค่อยเว้นวันรด

พอแตกใบอ่อนรุ่นแรกให้ฉีดยาป้องกันหนอนชอนใบ เพลี้ย ไร แล้วให้ใส่ฮอร์โมนด้วย สำหรับปุ๋ยที่ใส่ ควรใช้ตัวหน้าสูง เช่น 30-20-0 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตทั้งต้นและใบ ให้ใส่ จำนวน 1 ช้อนแกง โรยบริเวณรอบต้นให้ห่างสักฝ่ามือ แล้วรดน้ำตาม

พอเริ่มเข้าฤดูแล้งให้ใส่ปุ๋ยคอก เพื่อรักษาความชื้นหน้าดินในช่วงขาดน้ำแล้วเป็นการช่วยในเรื่องการแตกใบอ่อนด้วย ปุ๋ยคอกที่ใช้จะเป็นมูลไก่หรือมูลหมูก็ได้ตามความสะดวก แต่สำหรับคุณอนันต์เลือกใช้มูลไก่ โดยซื้อมาเป็นกระสอบ ขนาด 25 กิโลกรัม จากนั้นนำมาพักไว้สัก 5 เดือน จนกว่าจะหมดกลิ่น แล้วแนะว่าห้ามซื้อมาแล้วใส่ต้นทันที เพราะจะทำให้ต้นตายได้

การใส่มูลไก่ ต้นละประมาณ 5 กิโลกรัม ในช่วงที่ต้นส้มโอมีอายุปีกว่า จากนั้นจะเริ่มใส่ปุ๋ยสูตรอีก อาจจะเป็นสูตรเดิม คือ 30-20-0 หรือจะเปลี่ยนเป็น 20-20-0 ก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเร่งระบบรากให้แข็งแรงพร้อมกับสร้างลำต้นให้มีขนาดใหญ่ ใส่ปุ๋ยต้นละสัก 3 ขีด โรยรอบต้นแล้วรดน้ำตาม ควรใส่ทุกเดือน แล้วให้ใส่ไปตลอดจนถึงอายุต้น 5 ปี จากนั้นจึงปรับเป็นปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 เพื่อเป็นการบำรุงผลกับต้น อย่างไรก็ตาม สูตรปุ๋ยอาจมีการสลับได้ตามความเหมาะสม

ระหว่างที่ต้นเจริญเติบโตควรมีการตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์ สามารถรับแสงและอากาศได้อย่างเต็มที่ การตัดแต่งกิ่งใบควรสังเกตว่า กิ่ง/ใบ อันไหนที่มีลักษณะไม่งาม ดูโทรม ให้ตัดทิ้ง อาจไล่ตั้งแต่กิ่งใบด้านล่างขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ควรตัดแต่งพอสมควร อย่าไปตัดออกมาก เพราะจะส่งผลต่อการเจริญเติบโต รวมถึงจะตักโคลนในร่องขึ้นมาใส่ที่ต้นปีละครั้ง เพื่อนำสารอาหารขึ้นมาหล่อเลี้ยงต้นให้สมบูรณ์

เจ้าของสวนระบุว่า โรค/แมลง ที่พบและสร้างปัญหามากคือ เพลี้ยไฟ แมงมุมแดง ไรแดง ซึ่งมักมาดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ตั้งแต่ต้นยังเล็กทำให้ใบซีด เหี่ยวแล้วตาย ดังนั้น จึงเริ่มป้องกันตั้งแต่ต้นยังเล็ก ให้ฉีดทุก 7 วัน ในช่วงแรก จากนั้นขยับเป็นเดือนละครั้ง อีกทั้งจะต้องหมั่นทำความสะอาดใต้ต้นด้วย อย่าปล่อยให้มีหญ้าหรือวัชพืชขึ้น ควรถางออกบ่อยๆ

ยืนยัน…ส้มโอนครชัยศรี ยังเป็นไม้ผลที่สร้างรายได้ดี

คุณอนันต์ ชี้ว่าส้มโอเป็นไม้ผลที่มีอนาคต เพราะถ้าคุณปลูกอย่างมีคุณภาพและใส่ใจ ก็จะได้ค่าตอบแทนที่เกินคุ้ม อย่างในกรณีปลูกไว้สัก 5 ไร่ ได้ผลผลิตสักหมื่นลูก ก็ได้จับเงินล้านต่อปีทันที เพราะอย่างตอนนี้ปลูกเท่าไรก็ไม่พอ มีลูกค้าต้องการมาก แม้อาจมีราคาถึงผลละ 100-130 บาท จากสวน ยังมีคนมารับซื้อ หรือบางรายเข้ามาติดต่อเองถึงสวน เพื่อส่งไปต่างประเทศ แต่คงต้องปฏิเสธเพราะยังไม่พร้อม

“ฉะนั้น ถ้าคิดจะลงทุนทำสวนส้มโอ ถ้ามีพื้นที่สัก 5 ไร่ จะต้องเตรียมเงินไว้สัก 500,000 บาท หรือเฉลี่ยไร่ละแสนบาท ต่อปี สำหรับเป็นทุนตั้งแต่เริ่มปลูก นับไปจนถึงเวลา 5 ปี”

มีคนพูดแล้วมักเข้าใจว่าส้มโอเป็นไม้ผลที่ใช้สารเคมีมาก คุณอนันต์ บอกว่า ก็จริง แต่ไม่ถูกทั้งหมด เพราะถ้าคุณรู้ถึงกระบวนการปลูกอย่างลึกแล้วไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากช่วงเวลาที่ใช้เคมีทุกวันคือเฉพาะช่วงติดดอกเท่านั้น หลังจากนั้นพอมีผลขนาดเท่ามะนาวก็จะเว้นเกือบ 2 สัปดาห์ จนเมื่อผลขนาดกำปั้นจะเว้นไปถึงครึ่งเดือน ต่อจากนั้นแล้วยิ่งทิ้งห่าง จนเมื่อก่อนเก็บผลผลิตจะหยุดฉีดพ่นยานานเป็นสัปดาห์ ซึ่งสารเคมีก็ไม่ได้หลงเหลือแล้ว

คุณอนันต์ เล่าว่าหลายปีที่ผ่านมาชาวสวนส้มโอเลิกปลูกกันเป็นจำนวนมาก อย่างถ้าก่อนน้ำท่วมใหญ่ ปี 2554 ก็เหลือที่ปลูกกันสัก 60 เปอร์เซ็นต์ พอหลังน้ำท่วมใหญ่ชาวสวนส้มโอได้รับความเดือดร้อน จึงเลิกทำอย่างสิ้นเชิง จะเหลือไว้สัก 10 เปอร์เซ็นต์ ที่อดทนทำต่อ แล้วทำให้รายที่เหลือรู้จักกันอย่างดี

“ตอนนี้แม้หลายพื้นที่ทั่วประเทศสามารถปลูกส้มโอได้ แต่ด้วยความได้เปรียบทางธรรมชาติ ซึ่งทำให้ดิน น้ำ อากาศ ในบริเวณพื้นที่นครชัยศรีปลูกส้มโอได้รสชาติอร่อย มีหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย มีเนื้อแน่น สีสวย อันเป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์ประจำพันธุ์ จนเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก และนับว่าส้มโอยังคงเป็นไม้ผลที่สร้างเงินให้แก่ชาวสวนทุกคนได้อย่างดี” คุณอนันต์ กล่าว

คุณอธิคม ขุนแก้ว อายุ 39 ปี อยู่บ้านเลขที่ 426 หมู่ที่ 6 ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง สมาชิกยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ของสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง อดีตพนักงานบริษัท ได้ใช้พื้นที่นาร้างที่แทบไม่ได้ใช้ประโยชน์ มาปรับเปลี่ยนทำการเกษตรผสมผสาน ตามความฝันของตัวเอง สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร ของเกษตรกรรายอื่นอีกด้วย

คุณอธิคม เล่าว่า หลังจากที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการเกษตร ได้สอบบรรจุเข้ารับราชการในหน่วยงานแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนราธิวาส แต่ด้วยเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จึงต้องลาออกจากราชการ จากนั้นไปทำงานบริษัทเอกชน ไปเป็นอาจารย์พิเศษ และตำแหน่งสุดท้าย ดำรงตำแหน่งผู้บริหารบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ทำให้ค้นพบว่า ไม่ใช่ชีวิตที่แท้จริงของตนเอง จึงได้ลาออกจากบริษัทเมื่อปี 2557 และกลับมาอยู่บ้านเกิดที่อำเภอควนขนุน

หลังจากกลับมาอยู่บ้าน ได้ซื้อที่ดินนาร้างว่างเปล่า จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 3 ไร่ ซึ่งเป็นที่นาของครอบครัว ที่ได้ขายไปเมื่อหลายปีก่อน จากนั้นได้ขุดคันยกร่อง ขนาดร่องกว้าง 13 เมตร คูร่องกว้าง 4 เมตร ลึก 3 เมตร บนคันร่องปลูกปาล์มร่องละ 2 แถว จำนวน 80 ต้น ระหว่างแถวปาล์มปลูกพืชผักหลากหลายชนิด เช่น พริก ตะไคร้ มะเขือ พริกไทย มะนาว มะกรูด ไม้ประดับชนิดต่างๆ โดยทั้งหมดจะปลูกในกระถาง เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวในช่วงน้ำหลาก จะมีน้ำท่วมขัง นอกจากนี้ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งบางคนไม่มีพื้นที่ปลูกพืชผักไว้บริโภค สามารถนำพืชผักในกระถางไปเป็นไม้ประดับ และยังเป็นผักสวนครัวได้อีกด้วย

คุณอธิคม กล่าวว่า สำหรับพืชผักที่ปลูกในกระถาง จะเก็บเกี่ยวผลผลิตทุกวัน และนำไปขายด้วยตนเอง แต่บางครั้งมีลูกค้ามารับซื้อถึงที่ สามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบาย และที่สำคัญตนอยู่อย่างมีความสุข เพราะได้อยู่กับธรรมชาติ นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ ด้วย เกษตรกรที่สนใจ จะศึกษาเรียนรู้ สอบถามได้ที่ โทร. (091) 024-6280 ได้ทุกวัน

“ผักกาดหัว” เป็นพืชผักอายุปีเดียว ที่ปลูกกันไว้เพื่อบริโภคส่วนของรากที่ขยายตัวใหญ่ขึ้น ซึ่งเราเรียกว่า “หัวผักกาด”

อาจจะเป็นสีแดงหรือสีขาวก็ได้คุณภาพของหัวผักกาดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุ์ การปลูก การปฏิบัติดูแลรักษาตลอดจนการเก็บเกี่ยว ถ้าหากปล่อยให้อายุแก่หรือเลยระยะเวลาเก็บเกี่ยวแล้วรากจะขยายใหญ่มากยิ่งขึ้นเพื่อสะสมอาหารสำหรับสร้างดอกและติดเมล็ดเนื้อจะเริ่มฟ่าม มีเส้นใยมากขึ้น

ผักกาดหัว มีชื่ออื่นๆอีก เช่น ผักขี้หูด ผักกาดจีน ไชโป๊ หรือ ไช้เท้า เป็นต้น สามารถปลูกได้ดีในดินร่วนปนทราย ซึ่งมีความชื้นในดินสูงพอสมควร และได้รับแสงแดดตลอดวัน มี pH ประมาณ 5.5-7.0 และอุณหภูมิ ประมาณ 18.5-24 องศาเซลเซียส สามารถปลูกได้ผลดีที่สุดในช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม เป็นที่นิยมปลูกกันมากทางภาคตะวันตกของประเทศไทย เช่น แถบจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และกาญจนบุรี

ผักกาดหัว นิยมปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารทั้งรับประทานสดหรือดองเค็ม (ไชโป๊) เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงพอสมควร คือ ในปริมาณ 100 กรัม จะให้โปรตีน 1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.6 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม วิตามิน เอ 10 ไอ.ยู. รวมทั้งพลังงาน 17 แคลอรีน นอกจากนี้ ยังมีธาตุอาหารอื่นๆ รวมอยู่อีกมากมาย

ราก : รสชุ่ม เย็น ละลายเสมหะ แก้พิษ ท้องอืดแน่น เนื่องจากการกินมากเกิน เสมหะมากไม่มีเสียง อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด กระหายน้ำ บิด และปวดหัวข้างเดียว รากทำให้สุก ใช้เป็นยาระบาย สมานลำไส้ บำรุงม้าม ขับเสมหะ เรียกน้ำลาย แก้คันและบำรุงเลือด

เมล็ด : รสเผ็ด ชุ่ม เย็น เมล็ดคั่วแล้วมีรสเผ็ด ชุ่ม สุขุม ใช้เป็นยาระบาย ระงับอาการหอบ ช่วยย่อยอาหาร ขับเสมหะ แก้ไอหอบมีเสมหะมาก ท้องอืดแน่น บิด และแก้บวม

ใบ หรือ ทั้งต้น : รสเผ็ด ขม สุขุม ทำให้เจริญอาหาร แก้ท้องเฟ้อเรอเปรี้ยว ท้องอืดแน่น อาหารไม่ย่อย บิด ท้องร่วง เจ็บคอ ต่อมน้ำนมบวม และน้ำนมคั่ง

พบเห็นกระท้อนปลูกอยู่ใกล้บ้านน้อย ให้เดาคงเป็นเพราะขั้นตอนบางอย่าง ยุ่งยากกว่าจะได้ลิ้มชิมรสโดยเฉพาะการห่อ แต่ก็ไม่เหลือบ่ากว่าแรงสำหรับผู้ปลูก กระท้อน หากตั้งใจจริง

หากสนใจปลูกกระท้อน ก็แวะไปตามร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้ เขามีให้เลือก อาจเป็นสายพันธุ์อีล่า หรือปุยฝ้าย ทุกวันนี้เขาไม่มีพันธุ์ปลอม เพียงแต่อีล่า

อาจหายากสักหน่อย เขาอาจถามกลับมาว่า ปุยฝ้ายได้ไหม หากพอใจก็ซื้อมา หลังปลูกผ่านปีที่ ๓-๔ ไปแล้ว กระท้อนก็จะเริ่มให้ผลผลิต ปลูกกระท้อน

เมื่อมีผลผลิตหากไม่ห่อไม่ได้กินแน่ เพราะแมลงวันทองจะวางไข่ ตัวหนอนชอนไช

ในผลเสียหาย

แมลงวันทองเริ่มวางไข่เมื่อผลเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง ดังนั้น ควร ห่อผลตั้งแต่กระท้อนมีขนาดเท่ามะนาว วิธีการห่อใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ กระ-

ดาษถุงปูนซีเมนต์ หรืออาจเป็นใบต้องแห้งก็ได้ ผู้ที่ปลูกมากๆ เป็นการค้า ก่อน

ห่อเขาจะใช้สารเคมีหรือสารสกัดชีวภาพฉีดพ่นให้ แต่หากปลูกแบบมือสมัครเล่น

ไม่จำเป็นต้องพ่นก็ได้

การห่อผลนอกจากจะป้องกันแมลงวันทองทำลายแล้ว ยังช่วยให้ผลไม้มี

ขนาดใหญ่ขึ้นกว่าปกติ ๕-๒๐ เปอร์เซ็นต์อีกด้วย การห่อเป็นการหลีกเลี่ยงสารเคมีได้อย่างดี “พริกไทย” จัดได้ว่ามีความสำคัญทางเศรษฐกิจและจำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันของคนไทยมาช้านาน ในการประกอบอาหารและใช้เป็นเครื่องเทศ ปรุงรสชาติอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ ส่วนประกอบของเครื่องแกงต่างๆ การถนอมอาหาร และใช้ประโยชน์ในด้านเภสัชกรรมยาสมุนไพร ทุกส่วนของพริกไทยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ เช่น เมล็ดพริกไทยอ่อน เมล็ดพริกไทยดำ เมล็ดพริกไทยขาว พริกไทยป่น พริกไทยแช่แข็ง น้ำมันหอมระเหยพริกไทย และพริกไทยดอง เป็นต้น

ประโยชน์ของพริกไทย เกี่ยวข้องกับอาหาร ใช้ปรุงแต่งกลิ่นและรสชาติอาหาร เช่น ก๋วยเตี๋ยว ข้าวต้ม โจ๊ก ต้มจืด แกงเลียง และใช้ในการถนอมอาหาร ทำให้อาหารที่มีพริกไทยปรุงรสเก็บไว้ได้นานกว่าปกติ เช่น เนื้อบด หมูบด ตับบด หมูยอ แฮม ไส้กรอก เพราะพริกไทยมีน้ำมันหอมระเหย (Volatile oil)

นอกจากนั้น พริกไทย ยังใช้ประโยชน์ในด้านสมุนไพร ช่วยย่อยอาหาร เช่น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ลดไขมันในเส้นเลือด ปัจจุบัน นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ในรูปอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ

พริกไทย เป็นพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ เจริญเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อน เช่น ประเทศบราซิล หมู่เกาะอินเดียตะวันตก ประเทศไต้หวัน มาเลเซีย และปลูกมากในจังหวัดจันทบุรีของประเทศไทย เป็นพืชตระกูลเดียวกับ ดีปลี ชะพลู และพลู ชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิระหว่าง 15-35 องศาเซลเซียส ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบที่ลุ่มน้ำขัง ลำต้น มีลักษณะเป็นเถาเลื้อยยืนต้น ต้องอาศัยค้างในการพยุงและยึดเกาะลำต้น โดยใช้รากขนาดเล็กที่เกิดตามข้อปล้อง เรียกว่า มือตุ๊กแก

ลำต้น สามารถเจริญเติบโตเป็นกิ่งข้าง หรือกิ่งกระโดง โดยกิ่งกระโดงจะมีความสมบรูณ์และขนาดใหญ่ ตั้งดิ่งจากผิวดิน

ส่วน กิ่งข้างหรือกิ่งแขนง จะขนานแตกออกเป็นทรงพุ่ม ใบ พริกไทยเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ เป็นประเภทใบเดี่ยวเกิดสลับตามข้อของลำต้น มีลักษณะเป็นรูปไข่โคนใบใหญ่ ฐานใบกลม กว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตร ยาว 7-14 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ลักษณะคล้ายใบพลู พื้นผิวใบเรียบ ผิวใบด้านบนเป็นมันสีเขียวเข้มถึงเขียวอ่อนไล่กันไปจากใบอ่อนถึงใบแก่ ด้านล่างใบสีจะจางกว่าด้านบน ขนาดใบและเส้นใบจะแตกต่างกันระหว่างสันของเส้นใบจะนูน

ดอก จะเกิดตรงข้ามกับใบในส่วนของกิ่งแขนง ออกดอกเป็นช่อ ความยาวประมาณ 7-14 เซนติเมตร ไม่มีก้านช่อ ดอกตัวผู้แยกกับดอกตัวเมีย แต่อยู่ในช่อเดียวกัน ผลเล็ก มีสีเขียวเข้มและจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแดงเมื่อแก่จัด ระยะเวลาตั้งแต่ออกดอกจนเก็บเป็นพริกไทยเมล็ด 6-7 เดือน

ผล ค่อนข้างกลม เรียงตัวกันหนาแน่นบริเวณแกนกลางของช่อผล ผลอ่อนจะมีสีเขียวเข้มและจะค่อยๆ เปลี่ยนไปตามอายุผล ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 มิลลิเมตร มีกลิ่นฉุน รสชาติเผ็ด เกิดจากสารแอลคาลอยด์ของไพเพอรี

พริกไทย เป็นพืชที่สามารถ เจริญเติบโตและให้ผลผลิตดี

แม้ในพื้นที่ซึ่งมีความชื้นสูง ไม่มีน้ำท่วมขัง สูงจากระดับน้ำทะเล 0-1,200 เมตร สภาพเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี ค่าความเป็นกรด เป็นด่าง อยู่ที่ 6.0-6.5 ความลึกของหน้าดินมากกว่า 50 เซนติเมตร พื้นที่อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 20 องศาเหนือและใต้ อุณหภูมิ 10-30 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 1,200-2,500 มิลลิเมตร มีแหล่งน้ำที่สะอาดปราศจากสารพิษเจือปน มีความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 5.0-6.5

ผลผลิตพริกไทย หากเทียบกับผลตอบแทนที่ได้ในแต่ละปีจะดีกว่าผลไม้ชนิดอื่นในพื้นที่มาก และถ้าหากเกษตรกรดูแลต้นพริกไทยไม่ให้ทรุดโทรม ก็จะทำให้ผลผลิตในปีต่อๆ ไปดีขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากการลงทุนในเรื่องต้นทุนได้ลงไปแล้วในปีแรก อีกทั้งสามารถเก็บไว้ได้นานหลายปี

พันธุ์ซีลอน เป็นพันธุ์พริกไทยที่นำมาจากประเทศศรีลังกา นิยมปลูกเพื่อขายเป็นพริกไทยสด มากกว่าทำพริกไทยดำหรือขาว ลักษณะของยอดจะออกสีน้ำตาลแดง จึงเรียกกันว่า “ซีลอนยอดแดง” นอกจากนี้ ยังมี พันธุ์ซีลอนยอดขาว เป็นพันธุ์พริกไทยที่นำมาจากประเทศศรีลังกา เช่นเดียวกันกับพันธุ์ซีลอนยอดแดง พริกไทยพันธุ์นี้ความจริงเป็นพริกไทย พันธุ์ PANIYUR-1 ซึ่งเป็นพริกไทยพันธุ์ลูกผสมของประเทศอินเดีย ระหว่างพ่อพันธุ์ Uthirankota กับแม่พันธุ์ Cheriyakaniyakadan (John.K.Ghanara tham, 1994)

พริกไทยพันธุ์นี้จะมีลักษณะเถาอ่อน สีจะเขียวอ่อนเกือบขาวโดยเฉพาะที่ยอดอ่อน จึงนิยมเรียกว่า “ซีลอนยอดขาว” เนื่องจากมีผู้นำพันธุ์มาจากประเทศศรีลังกา (ซีลอน) ลักษณะต่างๆ จะคล้ายกับพันธุ์ศรีลังกาที่แตกต่างกันชัดเจนก็คือ ส่วนยอด ช่อผลจะยาวกว่าพันธุ์ศรีลังกาเล็กน้อย การเจริญเติบโตเร็วกว่าพันธุ์ซาราวัก ผลสดจะมีลักษณะโตกว่าพันธุ์ซาราวัก นิยมปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นพริกไทยสด เพื่อส่งโรงงานทำพริกไทยดอง

พริกไทยซีลอน มีคุณลักษณะเด่นคือ มีใบและทรงพุ่มใหญ่ ฝักยาว น้ำหนักดี ที่สำคัญเป็นพริกไทยพันธุ์หนัก สามารถเก็บฝักอ่อนจำหน่ายได้ เมื่อฝักมีอายุตั้งแต่ 3-6 เดือน ซึ่งถือเป็นข้อดี เพราะสามารถอั้นฝักไปเก็บขายในช่วงเดือนที่พริกไทยมีราคาแพงได้ อีกทั้งพริกไทยสายพันธุ์นี้ไม่ค่อยมีโรครบกวน จะมีปัญหาเดียวในช่วงปลายฝนต้นหนาวคือ ราน้ำค้าง ซึ่งเราสามารถแก้ปัญหานี้ได้ ด้วยการฉีดสารป้องกันเชื้อราทั่วไป ก่อนที่จะตัดแต่งกิ่ง จากนั้นจึงปลูกลงไร่ ให้ระยะห่าง 2-2.5×2-2.5 เมตร

พันธุ์ซาราวัก หรือ พันธุ์คุชซิ่ง พันธุ์ที่ชาวสวนพริกไทยจังหวัดจันทบุรี นิยมเรียกพันธุ์ “มาเลเซีย” นั่นเอง เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก นำมาจากรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย สามารถต้านทานโรครากเน่าได้ดีกว่าพันธุ์จันทบุรี ซึ่งปลูกอยู่แต่เดิม เจริญเติบโตได้เร็วและให้ผลผลิตสูงกว่า ถ้าต้นสมบูรณ์จะให้ผลผลิตน้ำหนักสดเฉลี่ย ประมาณ 9-12 กิโลกรัม ต่อค้าง ต่อปี หรือไร่ละประมาณ 3,600-4,800 กิโลกรัมต่อปี เป็นพันธุ์สำหรับนำไปทำพริกไทยดำและพริกไทยขาว

เช่นเดียวกับเกษตรกร คุณประเสริฐ จันทโรทัย บ้านเลขที่ 115 หมู่ที่ 1 ตำบลวังสำโรง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โทร. (087) 841-2310 ที่เริ่มปลูกพริกไทยซีลอนมาได้ 1 ปีเศษ ซึ่งพริกไทยเริ่มให้ผลผลิตบ้างแล้ว เก็บขายในท้องถิ่นและแม่ค้าได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100 บาท และยังขยายพันธุ์พริกไทยซีลอนด้วยการตอน สร้างรายได้เป็นอย่างดีในช่วงรอเวลาที่ต้นพริกไทยจะเริ่มให้ผลผลิต

คุณประเสริฐ เล่าว่า การปลูกพริกไทยถือว่าเป็นพืชใหม่ในพื้นที่อำเภอตะพานหิน เพราะส่วนมากเกษตรกรแถบนี้ก็จะทำนาข้าว ปลูกข้าวโพด ชะอม สวนมะนาว สวนส้มโอ แต่บังเอิญตนเองได้มีโอกาสไปนั่งฟังบรรยายเรื่องการปลูกพริกไทย ที่จัดขึ้นในตำบล ก็ได้รับฟังข้อมูลมาว่า พริกไทยเป็นพืชที่ปลูกครั้งเดียวแต่มีอายุการเก็บเกี่ยวนานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป และราคาซื้อขายพริกไทยสดค่อนข้างดี จึงเกิดความสนใจก็ไปศึกษาดูงานและซื้อต้นพันธุ์มาปลูก โดยเริ่มต้นปลูกในพื้นที่ 2 งาน โดยใช้เสาหลักปูน จำนวน 200 หลัก และต้นพันธุ์พริกไทยซีลอน จำนวน 4 ต้น ต่อหลักปูน ต้องใช้ต้นพันธุ์พริกไทย 800 ต้น และต้องมุงซาแรนคลุมอีกที แม้เป็นการลงทุนที่สูง แต่คุณประเสริฐเล่าว่า มีแนวโน้มของตลาดที่ดีมาก น่าจะสามารถคืนทุนได้ไม่นาน

สามารถปลูกได้ทั้งปีถ้ามีแหล่งน้ำ มีระบบน้ำที่ดี แต่ส่วนมากนิยมปลูกช่วงฤดูฝน เพราะต้นพริกไทยตั้งตัวได้เร็ว ประหยัดเรื่องการให้น้ำ โดยจะใช้ต้นพันธุ์ไทย 4 ต้น ต่อหลุม หรือค้าง ใช้ระยะ ปลูก 2×2 เมตร โดยเลือกใช้เสาปูนหน้ากว้าง 4 นิ้ว ความยาว 2.50 เมตร เพื่อจะขุดหลุมฝังลงดินไป 0.50 เมตร ให้เสาปูนมีความสูงจากพื้นขึ้นไป 2 เมตร

การขุดหลุม ซึ่งปัจจุบันทำได้สะดวกมากขึ้น สล็อตออนไลน์ โดยมีตัวเจาะหลุมติดหลังรถไถ หรือแบบเครื่องเจาะหลุมคล้ายๆ สว่านมือ ราคาเครื่อง 5,000-6,000 บาท แล้วแต่จะเลือกใช้ ในพื้นที่ดอนไม่มีน้ำท่วมขังก็เพียงปรับพื้นที่ให้เรียบ ไม่ให้พื้นที่เป็นแอ่งกระทะ เพราะต้นพริกไทยไม่ชอบน้ำขังแฉะ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ลุ่มก็ให้ใช้รถไถ ขึ้นเป็นแปลงลูกฟูก จุดประสงค์เพื่อให้บริเวณที่ปลูกระบายน้ำได้ดีนั้นเอง ซึ่งแม้พื้นที่ปลูกพริกไทยจะเป็นพื้นที่ดอน ก็สามารถขึ้นแปลงเป็นลูกฟูกได้ ปากหลุมห่างจากโคนค้าง ประมาณ 10-15 เซนติเมตร (เรื่องของระยะปลูกมีหลายระยะ เพราะเกษตรกรจะเป็นคนตัดสินใจว่าระยะปลูกแบบไหนที่จะเหมาะสมที่สุด นั้นมีปัจจัยต่างๆ ในการตัดสินใจ) ผสมดินที่ขุดขึ้นมาในอัตรา ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน ต่อดิน 2 ส่วน โกยดินกลบลงในหลุมตามเดิม แต่จะมีลักษณะเป็นโคกดินหรือหลังเต่า เพราะมีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้นมา ขุดหลุมให้พอดีกับถุงต้นพันธุ์พริกไทย โดยนำต้นพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูกให้ปลายยอดเอนเข้าหาค้างเสาปูน หันด้านที่มีรากหรือตีนตุ๊กแกเข้าหาค้าง กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม และรดน้ำให้อย่างสม่ำเสมอในช่วงแรกของการปลูก