ทบทวนประมาณการต้นทุนผลิตสับปะรดของเกษตรกรให้สอดคล้อง

กับความเป็นจริง เนื่องจากเกษตรกรปลูกสับปะรด 1 ครั้ง สามารถตัดผลผลิตได้หลายครั้ง ทำให้ต้นทุนผลิตในแต่ละครั้งที่ตัดผลผลิตไม่เท่ากัน

เกษตรกรขาดแคลนสายพันธุ์สับปะรดที่ดีเป็นเวลานาน จึงควรเร่งวิจัยพัฒนาสายพันธุ์สับปะรดที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าให้แก่เกษตรกรหรือร่วมพัฒนาสายพันธุ์คุณภาพกับภาคเอกชน เพื่อให้ได้ผลผลิตสับปะรดที่ดี ปริมาณเพียงพอกับความต้องการ และมีคุณภาพสูง

ด้านการตลาด 1. กรณีผลสับปะรดออกสู่ตลาดมากเกินความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมควรปรับเปลี่ยนรูปแบบของการบริโภคให้เกิดประโยชน์อื่นๆ เช่น การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอางค์ ยารักษาโรค เครื่องปรุงต่างๆ ปุ๋ยอินทรีย์ อาหารสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ตามความคิดสร้างสรรค์อันจะสามารถก่อประโยชน์อย่างแท้จริง โดยจัดให้มีเวทีประกวดนวัตกรรม

กำหนดราคาสับประรดให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของผลผลิตสับปะรดที่เป็นธรรม ทั้งภาคเกษตรกรและภาคอุตสาหกรรมการแปรูป โดยราคารับซื้อผลผลิตไม่ควรต่ำกว่าต้นทุนการผลิตบวกค่าจัดการของเกษตรกร 30%
โรงงานแปรรูปผลผลิตควรแจ้งปริมาณผลผลิตแต่ละประเภทที่แปรรูปและเก็บสต็อกต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถทราบประมาณการเคลื่อนไหวของผลิตภัณฑ์และผลผลิตในอุตสาหกรรมสับปะรด นำไปสู่การบริหารจัดการอุตสาหกรรมสับปะรดอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยจะนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาสับปะรดตกต่ำไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ต่อไป

กรมส่งเสริมสหกรณ์ขานรับนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนและยกระดับรายได้แก่เกษตรกร เฟ้นหาสหกรณ์ที่เข้มแข็ง 1,240 แห่ง ทำหน้าที่เป็นหัวขบวนนำเกษตรกรก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป SME เกษตร พัฒนาการบริหารจัดการรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกร และใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาต่อยอด แปรรูปและพัฒนารูปแบบสินค้าให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน พร้อมนำระบบ E-commerce ขยายช่องทางจำหน่ายสินค้าสหกรณ์ผ่านระบบออนไลน์ให้เข้าถึงผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายปรับโครงสร้างสินค้าเกษตรใหม่ โดยมุ่งเน้นให้เกษตรกรพัฒนาการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด และยกระดับเกษตรกรให้ก้าวสู่นักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปหรือ SME เกษตร เพื่อให้เกิดการขยายตัวเศรษฐกิจของชุมชนในระดับฐานรากของประเทศ พร้อมทั้งได้สนับสนุนให้สหกรณ์การเกษตรที่เข้มแข็งและมีศักยภาพเข้ามา มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการสินค้าการเกษตร ด้วยการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมและองค์ความรู้ต่าง ๆ เข้ามาใช้บริหารจัดการตั้งแต่ระดับการผลิต การแปรรูป และการตลาด กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงได้คัดเลือกสหกรณ์ที่มีศักยภาพ ในด้านการดำเนินธุรกิจการเกษตรแบบครบวงจร จากสหกรณ์การเกษตรทั้งหมด 3,000 กว่าแห่ง ทั่วประเทศ สามารถคัดสหกรณ์ที่มีความพร้อมจะพัฒนาให้เป็น SME เกษตร จำนวน 1,240 แห่ง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกเป็นสหกรณ์ที่มีเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจและมีศักยภาพในด้านการส่งเสริมสมาชิกผลิตสินค้าการเกษตรที่สำคัญ โดยสหกรณ์ทำหน้าที่ในการรวบรวมและแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าส่งจำหน่ายสู่ตลาด มีจำนวน 705 แห่ง ซึ่งกรมฯจะเข้าไปส่งเสริมเรื่องการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาต่อยอดในการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและขยายช่องทางตลาดรองรับ

สหกรณ์กลุ่มที่ 2 เป็นสหกรณ์ที่มีการรวบรวมผลผลิตการเกษตร แต่ยังไม่มีการรวมเป็นกลุ่มผู้ผลิต เพื่อพัฒนารูปแบบแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้าและยังขาดช่องทางการตลาด มีจำนวน 410 แห่ง ซึ่งจะต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการและการรวมกลุ่มสมาชิก พัฒนากระบวนการผลิตและการแปรรูป พร้อมทั้งสนับสนุนเงินทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การตลาด การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าและยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้รับรองมาตรฐาน คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน จึงจะผลักดันสินค้าการเกษตรของสหกรณ์กลุ่มนี้ออกสู่ตลาดได้

สำหรับสหกรณ์กลุ่มที่ 3 เป็นสหกรณ์ที่รวมกลุ่มดำเนินธุรกิจแล้ว แต่ยังไม่มีการรวบรวมสินค้าการเกษตร มีอยู่จำนวน 125 แห่ง ทางกรมฯจะประสานหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าไปแนะนำส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้สมาชิกสหกรณ์เหล่านี้ผลิตสินค้าการเกษตรซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด และพัฒนาระบบบริหารจัดการของสหกรณ์ให้มีความพร้อมสำหรับการรวบรวมและขยายช่องทางตลาดสินค้าให้แก่เกษตรกร ซึ่งอาจจะต้องใช้เงินทุนเข้ามาสนับสนุนในเรื่องการรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรและพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน และออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยสหกรณ์สามารถยื่นขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเพื่อมาดำเนินการ ในส่วนนี้ได้ ส่วนการขยายช่องทางการตลาดสินค้าสหกรณ์ กรมฯจะสนับสนุนให้สหกรณ์เปิดพื้นที่เป็นตลาดกลางสินค้าการเกษตรเพิ่มขึ้นอีก 6 แห่ง และจะเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าสหกรณ์ ยกระดับสหกรณ์ให้ก้าวเข้าสู่ ยุคการค้าสมัยใหม่ด้วยการพัฒนาระบบ E-commerce เชื่อมโยงสินค้าสหกรณ์ไปสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันได้มีการเปิดเวปไซต์ www.coopshopth.com ขึ้นมารองรับการเปิดตลาดสินค้าสหกรณ์ผ่านช่องทางระบบออนไลน์เรียบร้อยแล้ว

วันที่ 20 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่สนามชนไก่ สุริยะ ต.หนองสามวัง อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี นายสมควร ปิยะพงศ์เดชา ปศุสัตว์จังหวัดปทุมธานี พร้อมด้วยนายไพรัตน์ รุ่งสว่าง ปศุสัตว์อำเภอหนองเสือ นายอนุกูล สุริยะสวัสดิ์ นายก อบต.หนองสามวัง และเจ้าหน้าที่ ปศุสัตว์อำเภอหนองเสือ เข้าตรวจสอบไก่ชนภายในสนามชนไก่สุริยะ พร้อมกับฉีดพ่นยาป้องกันเชื้อโรคไข้หวัดนกโดยรอบสนามชนไก่หลังจากที่องค์กรการสุขภาพสัตว์โรคได้มีรายงานการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรงในประเทศแถบอาเซียนโดยพบทั้ง 48 จุดในประเทศแถบอาเซียน

นายสมควร ปิยะพงศ์เดชา ปศุสัตว์จังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า องค์กรการสุขภาพสัตว์โรคได้มีรายงานการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรงในประเทศแถบอาเซียนโดยพบทั้ง 48 จุดในประเทศแถบอาเซียน นายสรวิศ ธานีโต รองอธิบดี รักษาราชการแทนอธิบดีกรมปศุสัตว์ได้เป็นห่วงเรื่องนี้เป็นอย่างมากจึงได้เข้มงวดมาตรการควบคุมป้องกันโรคระบาดในสัตว์ปีก โดยคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกในระดับจังหวัดและระดับอำเภอจัดให้มีการประชุมติดตามสถานการณ์และวางแผนการควบคุมโรคในทันที่หากว่ามีการพบหรือสงสัยว่ามีการแพร่ระบาดในพื้นที่นั้นๆ อีกทั้งยังจะได้มีการประชาสัมพันธ์ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกให้มีเล้าหรือโรงเรือนที่สามารถป้องกันลมและฝนได้ เนื่องจากเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สัตว์ปีกอ่อนแอป่วยเป็นโรคระบาดได้พร้อมทั้งให้ความรู้การเลี้ยงที่ถูกต้องการจัดการและการป้องกันโรคอย่างละเอียด

วันที่ 20 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่โรงเรียนบ้านไร่ ต.สะบ้าย้อย อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา มีนักเรียนหญิงชั้น ป.6 อยู่คนหนึ่ง ชื่อว่าด.ญ.ณูรฟาตินร์ อาบูทัดสา อายุ 12 ปี ชื่อเล่นที่เพื่อนๆและคุณครูเรียกว่า “เดะเช๊าะ” มีสภาพร่างกายพิการไม่มีขาทั้งสองข้างมาแต่กำเนิด เดินไม่ได้ แต่ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการเดินทางมาเรียนหนังสือ นอกจากนี้เธอยังเรียนพร้อมทำกิจกรรมและเล่นกับเพื่อนร่วมห้องอย่างมีความสุข ท่ามกลางสภาพร่างกายที่พิการไม่ได้เป็นปมด้อยให้กับตัวเองอย่างใด

“ที่ประทับใจมากที่สุดคือระหว่างที่อยู่ในโรงเรียน มีเพื่อนๆในห้องเรียนคอยอุ้มไปไหนมาไหนตลอด ทั้งไปห้องน้ำไปห้องสมุดไปห้องคอมพิวเตอร์ไปกินข้าว และทำกิจกรรมนอกห้องเรียน”

ที่สนิทที่สุด ด.ญ.นัดดา ดามิ หรือนัดดา ที่คอยอุ้มและช่วยเหลือกันมาตั้งแต่เรียนชั้นอนุบาลจนกระทั่งถึง ป.6 และหาก ด.ญ.นัดดาป่วย หรือต้องทำไปทำธุระก็จะมี ด.ญ.นาสิตา ขะรีทัดมา ช่วยอุ้มแทนหรือหากไม่มีทั้งสองคนนี้ก็จะมีเพื่อนๆในห้องคนอื่นๆผลัดเปลี่ยนกันช่วยอุ้มตลอด

นางนัยนา สยามพล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านไร่ เปิดเผยว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง ด.ญ.ณูรฟาตินร์ หรือน้องเดะเช๊าะ กับ ด.ญ.นัดดา สองคนนี้เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่เด็กๆและจะคอยช่วยเหลือกันมาตั้งแต่เรียนชั้นอนุบาล เพราะน้องนัดดา สงสารน้องเดะเช๊าะ ที่เดินไปไหนมาไหนไม่ได้ โดยเฉพาะระหว่างคาบที่ต้องเดินไปเรียนที่ห้องคอมพิวเตอร์หรือห้องสมุด น้องนัดดาก็จะคอยอุ้มน้องเดะเช๊าะมาตลอด และบางทีก็จะมีเพื่อนๆคนอื่นคอยช่วยเหลือ ซึ่งเป็นความรักระหว่างเพื่อนที่มีให้กับเพื่อน

“ผลการเรียนของน้องเดะเช๊าะอยู่ในเกณฑ์ดี มีความสามารถพิเศษด้านการวาดรูปส่วนเรื่องอื่นๆไม่มีปัญหา ทั้งเรื่องครอบครัวแม้พ่อแม่จะเสียชีวิตไปแล้ว แต่ก็มีพี่สาวที่คอยดูแลเป็นอย่างดี”

นางนัยนา กล่าวว่าสำหรับน้องนัดดานั้น มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งช้ากว่าปกติแต่ก็อยู่ในระดับที่สามารถเรียนร่วมกับเพื่อนได้และ เป็นเด็กจิตอาสาที่ชอบช่วยเหลือคนอื่น แต่ที่เป็นห่วงคือสภาพครอบครัวของน้องนัดดานั้นลำบากมาก

ด้าน นางณัฐนรีย์ แก้วขวัญ หรือครูติ๊ก ครูวิชาดนตรีและคอมพิวเตอร์ กล่าวชื่นชมน้องเดะเช๊าะและเพื่อนในห้องว่า ทุกคนอยู่กันอย่างมีความสุขช่วยเหลือกันในทุกๆเรื่องแม้ว่าเพื่อนจะมีสภาพร่างกายที่ไม่เหมือนคนอื่น แต่ก็เป็นที่รักของเพื่อนๆซึ่งจะคอยหมุนเวียนกันอุ้มทั้งเพื่อนสนิทอย่างน้องนัดดา น้องนาสิตา

ด.ญ.ณูรฟาตินร์ หรือน้องเดะเช๊าะ กล่าวว่า ขอบคุณเพื่อนๆที่คอยช่วยเหลือตัวเธอมาตลอดโดยเฉพาะนัดดากับนารีตา ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทที่คอยช่วยเหลือทั้งขณะอยู่ที่โรงเรียนและอยู่ที่บ้าน

ส่วนนัดดากับนาสิตา บอกเหมือนกันว่าเต็มใจที่จะช่วยเพื่อนไม่เหนื่อยที่ต้องคอยอุ้มเพื่อนไปไหนมาไหนแม้จะหนักก็ตาม เพราะเพื่อนตัวโตขึ้นทุกวัน และรักเพื่อนคนนี้มากและจะช่วยเหลือต่อไปจนกว่าจะเรียนจบไปพร้อมๆกันหรือแม้แต่อยู่ที่บ้าน

“ทั้งนี้หากผู้ใจบุณต้องการช่วยเหลือ ด.ญ.ณูรฟาตินร์ หรือน้องเดะเช๊าะ และ ด.ญ.นัดดา ดามิ หรือนัดดา ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทที่มีบกพร่องทางการเรียนรู้ และครอบครัวลำบากมากติดต่อไปได้ที่ นางนัยนา สยามพล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านไร่ เบอร์โทร 084-7472734”

นางรัตนา ถิะโชติ เกษตรจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยในระหว่าง พิธีเปิดโครงการคลินกเกษตรเคลื่อนที่ไตรมาสที่ 1 ซึ่งมีนางพาตีเมาะ สะดียามู รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสเป็นประธานเปิดว่า การจัดงานในครั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา อีกทั้งบริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ คลินิกต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอีกมากมาย ทั้งการให้คำแนะนำการใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา การป้องกันโรคในพืช แนะนำการดูแลสวนยางพาราหลังน้ำท่วม โดยการปรับปรุงบำรุงดิน แนะนำและสนับสนุนเวชภัณฑ์ยาในสัตว์ และมอบพันธุ์ปลา

นายสมศักดิ์ นามตาปี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า ได้พบปะพูดคุยกับเกษตรกร ถึงการช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูหลังน้ำลด และประชาสัมพันธ์การขอรับความช่วยเหลือสำหรับเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ด้านพืช ด้านประมง และด้านปศุสัตว์ ซึ่งสามารถยื่นแบบขอรับความช่วยเหลือได้ภายในวันที่ 22 ธันวาคม นี้

หลังขับเคี่ยวกันมาจนถึงรอบชิงชนะเลิศ “รับเบอร์แลนด์ ดีไซน์ คอนเทสต์” เพื่อค้นหาสุดยอดเยาวชนนักออกแบบรุ่นใหม่ สร้างสรรค์ผลงานจากวัสดุโฟมยางพารา

ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Future Living ปั้นยางให้เป็นงาน” ในที่สุดกลุ่มนักศึกษาทีม “Group” จากสาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็เป็นผู้คว้ารางวัลชนะเลิศไปครอบครอง

กับผลงานที่มีชื่อว่า “Kid and Attentive เพราะชีวิตคือการเดินทาง” เป็นการออกแบบโดยการนำความนุ่มนิ่มของโฟมยางมานำเสนอในรูปแบบที่นอนสำหรับเด็ก ประกอบกับเทคนิคและลูกเล่นทำให้ “ที่นอน” ไม่ได้มีไว้สำหรับ “นอน” เพียงอย่างเดียว

นุธสิญจน์ เทือกตาหลอย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สมาชิกทีม Group เล่าว่า ตอนแรกสมาชิกทั้ง 3 คนในทีมมีแนวคิดจะทำผลงานอย่างกระเบื้องจากโฟมยางพารา จนทางรับเบอร์แลนด์ได้เข้ามาทำกิจกรรมที่มหาวิทยาลัย จึงมองเห็นจุดเด่นของโฟมยางเรื่องความนิ่ม เลยมองว่ากระเบื้องคงจะไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่ จึงหันมามองเรื่องที่นอนแทน

“พอเราได้โจทย์มาว่าเป็นที่นอน ก็คิดว่าจะทำที่นอนยังไงให้แตกต่างจากที่มีในปัจจุบัน ประกอบกับกลุ่มเป้าหมายของเราเป็นเด็กเลยออกแบบให้ที่นอนยางพาราเป็นของเล่นเด็กไปด้วย” นุธสิญจน์อธิบาย

ขณะที่ กาญจนา ศรีรินทร์ เสริมว่า กว่าจะได้ผลงานนี้มามีการปรับค่อนข้างเยอะมาก จากรอบแรกสุดเป็นหมอนกับที่นอน จนมีการพัฒนามาเรื่อยๆ ทั้งรูปแบบ ลวดลาย และผ้าห่มที่ใช้เศษโฟมยางพารามาปั่นเป็นเย็บคลุมด้วยผ้า ซึ่งส่วนประกอบทั้ง 3 ชิ้นสามารถจัดเรียงใหม่และนำมาเป็นของเล่นส่งเสริมด้านจินตนาการด้วย

ที่นอนยางพาราของทีม Group ยังเสริมด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่ทำให้ผลงานชิ้นนี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับอนาคตด้วย รัฐนันท์ ชั่งเพ็ชรผล สมาชิกคนสุดท้ายของทีม เล่าว่า จากโจทย์ฟิวเจอร์ลีฟวิ่ง จึงมองว่าการทำผลิตภัณฑ์ขึ้นมาจะต้องคำนึงด้วยว่าจะมีผลต่ออนาคตยังไง เป็นที่มาของการนำเรื่องของซีโร่ เวสต์ (Zero Waste) หรือขยะเป็นศูนย์มาใช้

“เพราะยางพาราเป็นวัตถุดิบที่ย่อยสลายยาก การทำลายจะต้องเผา ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เราจึงนำเรื่องนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบ โดยการนำเศษยางพาราที่เหลือใช้จากเดิมจะต้องเผาทิ้ง นำมาปั่นละเอียดแล้วใช้แทนนุ่น ใส่ในหมอนและผ้าห่มสำหรับเด็ก”

“ส่วนตัวทีมของพวกเราก็คิดว่าจะชนะครับ (หัวเราะ) ตั้งแต่แรกก็พยายามหาความแตกต่างจากท้องตลาดทั่วไปว่าเราดีกว่าเขายังไง ซึ่งเราทำทั้งรูปแบบ การใช้ประโยชน์ และคาแร็กเตอร์ที่แตกต่าง แต่พอชนะแล้วก็รู้สึกดีใจและภูมิใจมาก” เป็นความรู้สึกจากเยาวชนนักออกแบบจากแดนอีสาน

ด้าน ชลวุฒิ พรหมสาขา ณ สกลนคร อาจารย์ที่ปรึกษาของทีม Group หนึ่งในทีมอาจารย์ผู้สนับสนุนการเข้าร่วมการประกวดครั้งนี้ บอกว่า ปกติทางมหาวิทยาลัยจะพยายามหางานประกวดที่น่าสนใจและสอดคล้องกับเนื้อหาวิชามาให้เด็กนักศึกษาทำ รวมถึงโครงการครั้งนี้ทีมอาจารย์เห็นว่ามีความน่าสนใจ เลยเกิดเป็นความร่วมมือของทั้งคณะ โดยอาจารย์ทุกคนเข้ามาช่วยแนะนำให้ความรู้และเป็นอาจารย์ที่ปรึกษากับเด็กแต่ละทีม

“ส่วนตัวผมมองว่าโฟมยางพารามันสามารถเป็นอะไรได้อีกเยอะมาก แต่ตอนแรกทุกคนก็ยังงงๆ กันอยู่ ตัวอาจารย์เองก็ไม่มีประสบการณ์หรือเทคนิคการผลิตยางพารา ตอนที่เด็กนำไอเดียมาเสนอก็ยังมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติทางกายภาพของยาง เด็กก็ยังไม่รู้ อาจารย์ก็ไม่รู้ ก็เกิดเป็นความสงสัยว่าจะเป็นไปได้หรือเปล่า จนกระทั่งทางรับเบอร์แลนด์ได้มาจัดกิจกรรมเวิร์กช็อปที่มหาวิทยาลัย มีตัวอย่างมาให้ดู มีชิ้นงานมาให้ดู เด็กก็เริ่มให้ความสนใจมากขึ้น เริ่มสนุกและเห็นความเป็นไปได้ในการสร้างผลิตภัณฑ์มากขึ้น”

จุดนี้เองนำมาสู่การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูกับศิษย์ ประกอบกับการ เวิร์กช็อปจากรับเบอร์แลนด์ที่บุกมาถึงขอนแก่น ช่วยสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจเรื่อง “ยางพารา” มากขึ้น แต่การที่ทีมจาก ม.ขอนแก่น จะคว้ารางวัลชนะเลิศนั้น ชลวุฒิบอกว่าไม่คาดหวังมาก่อน

“ผมไม่รู้ว่าทีมจากมหาวิทยาลัยอื่นจะส่งผลงานแบบไหน จึงไม่กล้าคาดหวัง อีกทั้งผลงานชิ้นนี้ถ้ามองในประเด็นฟิวเจอร์ลีฟวิ่ง ผมก็มองว่ายังไม่ค่อยมีความเป็นอนาคตสักเท่าไหร่”

ชลวุฒิบอกอีกว่า สำหรับโครงการประกวดนับเป็นการสร้างโอกาสให้เด็กค่อนข้างมาก มีทั้งการอบรมให้ความรู้ เวิร์กช็อปและพาเด็กไปดูกระบวนการผลิตที่โรงงาน จะเห็นได้ชัดว่าทีมที่ผ่านเข้ารอบมีพัฒนาการดีขึ้น

“ที่สำคัญ โครงการนี้มีจุดเด่นตรงเงื่อนไขว่านำไปผลิตจริง และมอบรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย 50 เปอร์เซ็นต์ ให้กับเด็ก เป็นอะไรที่ใจปล้ำและกล้าหาญมาก ไม่เคยเห็นการมอบรางวัลแบบนี้มาก่อน เลยพยายามเอาจุดนี้มาผลักดันเด็กๆ ด้วยเหมือนกัน (หัวเราะ)”

ซึ่งแนวคิดการจัดการประกวดตลอดจนต่อยอดให้มีการผลิตจริงและแบ่งรายได้ให้กับทีมผู้ชนะ เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญของ รับเบอร์แลนด์ อุทยานการเรียนรู้เกี่ยวกับยางพาราของไทย ส่งผลให้สะเทือนวงการออกแบบให้หันมามองพืชเศรษฐกิจอย่างยางพารา

ฐวัฒน์ สมมะโนพัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด รับเบอร์แลนด์ บอกว่า จุดเริ่มต้นของโครงการนี้ คือความต้องการต่อยอดการออกแบบผลิตภัณฑ์จากโฟมยางพารา ที่ปัจจุบันนำมาใช้ทำ “หมอน” กับ “ที่นอน” เป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับคนไทยและนักออกแบบไทยยังมองข้ามโฟมยางพาราอยู่

“เชื่อว่าการจัดงานครั้งนี้จะส่งผลในเชิงบวกให้สถาบันหลายแห่ง หรือนักออกแบบรุ่นใหญ่หลายท่านหันกลับมามองยางพาราและร่วมกันออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราให้กับประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรของประเทศไทยด้วย” เป็นมุมมองจากผู้ริเริ่มโครงการ

สำหรับผลงานชนะเลิศครั้งนี้ ฐวัฒน์ให้ความเห็นว่า ทีม Group สามารถตั้งโจทย์และตีโจทย์ของตัวเองได้ 100 เปอร์เซ็นต์ คือตั้งโจทย์ว่าเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแล้วทำโปรดักต์สำหรับเด็กอย่างแท้จริง มีการออกแบบดีไซน์สวยงามน่ารัก ที่สำคัญคือทำคะแนนได้ดีในส่วนของการผลิตได้จริง

“ทีมนี้เรียกได้ว่าเป็นทีมม้ามืด จากผลงาน 277 ทีม ทีมนี้ไม่ได้อยู่ในผลงานที่ผมมองเอาไว้ด้วยซ้ำ จนเขาได้นำเสนอผลงาน เราก็เริ่มเห็นอะไรหลายอย่าง ได้เห็นไอเดียแนวคิดที่น่าสนใจและความคิดเบื้องหลังที่เขาทำออกมา ถึงได้รู้ว่าเขามีความรอบคอบมากจริงๆ ในการใช้วัสดุโฟมยางพารา หรืออาจจะบอกได้ว่าเขามองภาพรวมและองค์รวมของการใช้ยางพาราได้อย่างสมบูรณ์แบบมาก ในเรื่องของการเอาโฟมยางพารามาใช้และเอาเศษเหลือจากยางพารามาปั่นเป็นเศษโฟมเพื่อทำเป็นผ้าห่ม ตรงนี้ผมมองว่ามันเป็นซีโร่ เวสต์ แล้วยังสามารถเป็นอีโคโปรดักต์ (ECO product) ได้ด้วย ยังทำให้เห็นว่ายางพาราสามารถทำมาใช้ได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบฉีดมาเป็นแผ่นโฟม หรือเศษที่เหลือก็นำมาใช้ประโยชน์ได้หมด”

ฐวัฒน์บอกอีกว่า หลังจากนี้จะนำผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศไปพัฒนาต่อยอดให้เหมาะกับการใช้งานจริง ก่อนจะผลิตและจำหน่ายจริง โดยจะแบ่งรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายให้กับทีมที่ชนะเพื่อให้เป็นกำลังใจกับเด็กและเป็นแบบอย่างให้กับน้องๆ นักออกแบบคนอื่นว่างานออกแบบของเขาสามารถสร้างเป็นผลงานจริงได้

ขณะที่ รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนึ่งในคณะกรรมการที่ร่วมการคัดเลือกและตัดสินการประกวดครั้งนี้ ระบุว่า ต้องยอมรับว่าทีมที่ชนะมีความชัดเจน มีความแตกต่างจากหมอนและที่นอนยางพาราที่มีอยู่ในท้องตลาด มีการครีเอตหมวดหมู่ใหม่ขึ้นมาอย่างชัดเจน

“อีกประเด็นคือ ผลงานนี้โปรดักชั่นไม่ยากเลย คือลงทุนพลังงานนิดเดียวแต่ได้ของที่แตกต่างเยอะ ในเชิงกระบวนการแล้วเรารู้สึกว่ามันฉลาด ไม่ได้ทำอะไรมากเลย แค่เปลี่ยนรูปร่างและการใช้งานใหม่ คือทำอะไรที่น้อยแล้วได้รับผลลัพท์มากมันเจ๋งกว่า ด้วยเหตุผลนี้ทำให้ผมมองว่าเขาโดดเด่นกว่าคนอื่น แล้วสิ่งที่เขาเสนอมา 3 คอลเล็กชั่น เรามองว่ามันสามารถเป็นอีก 10 คอลเล็กชั่นได้เลย เช่น เซตไดโนเสาร์ เซตสัตว์บก เซตสัตว์น้ำ เซตทศกัณฐ์ คือมันสามารถต่อยอดไปได้เรื่อยๆ โดยคอนเซ็ปต์ ขณะที่ผลงานอื่นอาจจะจบที่ตัวของมันเอง” เป็นเหตุผลของทีมคว้าชัยในมุมมองของคณะกรรมการ

รศ.ดร.สิงห์ทิ้งท้ายว่า สำหรับผลงานปีแรกก็รู้สึกดีใจที่มีเยาวชนสนใจมาก แต่อยากให้เพิ่มเติมเรื่องของเทคโนโลยี เพราะถ้าเป็นเรื่องของอนาคต ควรจะผนวกจินตนาการเข้ากับเทคโนโลยี เช่น ระบบเซ็นเซอร์ หุ่นยนต์เข้ามาทั้งในเชิงการผลิตและการใช้งาน แต่ตอนนี้นักออกแบบยังมีเวลาน้อย เชิงคอนเซ็ปต์ยังไม่เป็นเรื่องของอนาคต แล้วอย่างการตัดสินเกิดความรู้สึกว่าทั้ง 10 ผลงานนี้ตัดสินใจไม่ได้เลยว่าจะเลือกชิ้นไหน

อย่างไรก็ตาม โครงการครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของวงการนักออกแบบไทย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ให้หันกลับมามองยางพารา ทรัพยากรสำคัญของประเทศ และร่วมต่อยอดสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2560 นายเกษม รักสุจริต เกษตรจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวแล้วเกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่มีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ และปล่อยทิ้งไว้เพื่อรอฤดูกาลทำนาครั้งถัดไป โดยก่อนฤดูกาลเก็บเกี่ยว หน่วยงานในสังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม ได้ลงพื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชระยะสั้นที่ใช้น้ำน้อย ได้ผลผลิตเร็ว รวมถึงเป็นที่ต้องการของตลาดให้แก่เกษตรเพื่อที่จะได้มีรายได้และมีอาชีพเสริมให้กับตนเองและครอบครัว ภายใต้โครงการผักอินทรีย์ ที่เน้นให้เกษตรกรปลูกผักแบบปลอดภัย ลดการใช้สารเคมีทุกชนิด หันมาใช้สารชีวภัณฑ์และน้ำหมักชีวภาพแทน ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตแล้ว ยังเป็นการรักษาสุขภาพของตัวเกษตรกรเองและผู้บริโภคด้วย

นายเกษมกล่าวว่า จากการลงพื้นที่ติดตามผลและให้ความรู้เพิ่มเติมแก่กลุ่มเกษตรกรบ้านหนองบาท้าว หมู่ที่ 2 ตำบลศรีสงคราม อำเภอศรีสงคราม ซึ่งถือเป็นกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการแปลงเกษตรของตนเอง ทั้งยังมีการต่อยอดพัฒนา ขยายผลสู่เพื่อนเกษตรกรด้วยกัน และมีการรวมกลุ่มเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการผลิตที่เป็นเกษตรแปลงใหญ่มากยิ่งขึ้น มีอำนาจในการต่อรองสินค้ากับพ่อค้าคนกลาง

นางอภิรดี ขะดุล stacyscreations.net เกษตรกรในกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักบ้านหนองบาท้าว เปิดเผยว่า คนในชุมชนส่วนใหญ่ ได้ปรับเปลี่ยนมาปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนการปลูกข้าวนาปรัง เพราะมองว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่าที่สำคัญยังมีรายได้มาหล่อเลี้ยงครอบครัวเหมือนเดิม โดยแต่ละคนจะปลูกพืชหลากหลายชนิด หมุนเวียนกันไปตามความต้องการของตลาด เช่น คะน้า กะหล่ำ ผักสลัด ผักกาด ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว ซูกินี กะหล่ำดอก และยาสูบ ซึ่งจะมีการวางแผนการปลูกร่วมกัน เพื่อให้ผลผลิตที่ได้ไม่ออกมามากจนเกินความต้องการของตลาด โดยจะเป็นนำผลผลิตของแต่ละแปลงมารวมกลุ่มกันจำหน่ายทำให้ทุกคนมีรายได้อย่างต่อเนื่องในทุกๆ วัน ซึ่งในช่วงนี้ผักทุกชนิดของกลุ่มเป็นที่ต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น ด้วยผู้บริโภคมีความมั่นใจในการผลิตของทางกลุ่ม

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 20 ธันวาคม ที่กระทรวงแรงงาน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) นำโดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธาน คสรท. น.ส.ธนพร วิจันทร์ รองประธาน คสรท. นายชาลี ลอยสูง รองประธาน คสรท. และนายสมพร ขวัญเนตร รองประธาน คสรท. พร้อมด้วยเครือข่ายแรงงานเดินทางเพื่อร่วมแถลง “จุดยืนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงาน” ก่อนจะเข้าพบ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อหารือประเด็นค่าจ้างขั้นต่ำในเวลา 13.00 น.

นายสาวิทย์กล่าวว่า การมาในครั้งนี้เพื่อมาแสดงจุดยืนถึงการปรับค่าจ้างขั้นต่ำว่า ต้องเพิ่มเท่ากันทั่วประเทศ โดยยึดหลักว่า 1 คนต้องเลี้ยงครอบครัวได้ 2 คน หมายความว่าเงินค่าจ้างขั้นต่ำต้องเพียงพอสำหรับเลี้ยงสมาชิกในครอบครัว 3 คน ส่วนที่มีตัวเลขออกไปก่อนหน้านี้ว่า 712 บาทต่อวันนั้น เป็นตัวเลขสำรวจแรงงาน 29 จังหวัด ประมาณ 3,000 คน แต่ทาง คสรท.ไม่ได้เสนอว่าต้องตัวเลขเท่านี้ เพียงแต่ตัวเลขจะเป็นเท่าไรต้องมาพิจารณาร่วมกัน ซึ่งหากจะพูดถึงต่อคนแล้ว เคยทำการสำรวจไว้ว่าแรงงานต้องได้ค่าจ้างขั้นต่ำประมาณ 360 บาท เนื่องจากการสำรวจหนี้แต่ละคน ณ ปัจจุบัน พบว่ามีหนี้สินเฉลี่ยต่อวันถึง 225.87 บาท

“ขอยืนยันว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำต้องเป็นไปตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือไอแอลโอ (ILO) ซึ่งตรงนี้จะเป็นการพิสูจน์คำสัญญาของรัฐบาลที่เคยระบุไว้ว่า การบริหารประเทศจะต้องยึดหลักการทางสากล อย่างล่าสุดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรีมีมติประกาศวาระแห่งชาติ เรื่องสิทธิมนุษยชนร่วมขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะพาประเทศให้ก้าวพ้นการเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง แต่จะเป็นไปได้อย่างไรหากค่าแรงขั้นต่ำยังไม่เพิ่ม ยังมีความเหลื่อมล้ำ ดังนั้น การเพิ่มค่าแรงต้องเท่ากันทั่วประเทศ ไม่ใช่เพิ่มเป็นกลุ่ม ส่วนตัวเลขก็ต้องเพียงพอต่อการยังชีพทั้งครอบครัว

ประธาน คสรท. กล่าวอีกว่า ประเด็นการเพิ่มค่าแรงนั้น ต้องมีการตรึงราคาสินค้าควบคู่ไปด้วย ไม่เช่นนั้นไม่เกิดประโยชน์ แต่ที่ผ่านมาเมื่อขึ้นค่าแรง รัฐบาลมักอ้างว่าสินค้าจะแพงขึ้น ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริง ค่าจ้างแรงงานต่อผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้นไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจากการสำรวจที่ผ่านมาพบว่า รองเท้าราคา 100 เหรียญ จริงๆ มีค่าแรงเพียง 0.4 เปอร์เซ็นต์ แต่กลับเพิ่มราคาสินค้า ซึ่งไม่สมควร นอกจากนี้ รัฐบาลควรกำหนดโครงสร้างค่าจ้าง และปรับค่าจ้างทุกปี เพราะหากไม่กำหนด ทำให้ลูกจ้างไม่สามารถวางแผนชีวิตล่วงหน้าได้เลย ไม่ใช่ต้องรอกับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งไม่มีความแน่นอน”