ทั้งนี้ การบำรุงแตงร้านหลังจากหยอดเมล็ดเป็นต้นมา

(ตั้งแต่ระยะก่อนออกดอก จนถึงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต) คุณฤทธิ์ จะใช้วิธีให้ปุ๋ยผ่านระบบสายน้ำหยดทั้งหมด ดังนั้น ปุ๋ยที่ใช้ในระยะนี้ต้องมีคุณสมบัติสามารถละลายได้ดีเยี่ยม เพื่อไม่ให้กากปุ๋ยอุดตันสายน้ำหยด และพืชได้รับธาตุอาหารครบถ้วน ซึ่งปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 16-16-16 บลู และปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 15-9-20 นั้น ตอบโจทย์การประยุกต์ใช้ผ่านระบบน้ำหยดมาก เนื่องจากละลายไว ไม่ต้องใช้ผ้ากรองกากปุ๋ยก่อนปล่อยผ่านหัวจ่ายน้ำ ช่วยประหยัดเวลาทำงานมากขึ้น

การแต่งแขนง
เทคนิคช่วยลดโรค-แมลง เพิ่มผลผลิตมากขึ้น
การปลูกแตงร้านนั้นไม่ควรปล่อยให้เถาเลื้อยไปอย่างไร้ทิศทาง โดยเฉพาะในระยะแรก ต้องมีการช่วยมัดยอดเถาแตงร้านเข้ากับค้างบ้าง จนกระทั่งแตงร้านเริ่มแตกแขนง คุณฤทธิ์ จะตัดแขนง ข้อที่ 1-3 ทิ้ง (นับจากโคนต้นขึ้นมา) เพื่อให้เถาหลักเป็นทรงพุ่มโปร่ง ลดการสะสมโรคและแมลง และยังช่วยกระตุ้นให้แตงร้านโตไว เดินยอดได้ดี เพิ่มผลิตมากขึ้นอีกด้วย

ผลผลิตได้คุณภาพ ราคาดี
มีผู้มารับซื้อถึงที่
การเก็บเกี่ยวแตงร้านจะทยอยเก็บผลผลิตทุกวัน ไม่ปล่อยให้ผลแก่คาต้น เพราะนอกจากจะทำให้แตงร้านตกไซซ์แล้ว ยังทำให้ผลผลิตโดยรวมลดลงด้วย

หลังจากเก็บแตงร้านแต่ละวันจนเสร็จแล้ว คุณฤทธิ์ ก็จะรวบรวมผลผลิตทั้งหมดมาใส่ลงถุง ถุงละ 10 กก. เพื่อรอพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน โดยภาพรวมของราคาที่ตนเองเคยเจอนั้น จะอยู่ที่ประมาณ 6-8 บาท/กก. เท่ากับมีรายได้ประมาณ 30,000-50,000 บาท เมื่อหักต้นทุนประมาณ 10,000 บาท/ไร่ ก็ถือว่าเป็นรายได้เสริมที่น่าพอใจ เพราะว่าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งเอง โดยบางช่วงที่ผลผลิตขาดตลาด ราคาอาจพุ่งไปถึง กก.ละ 20 บาท รอบนั้นก็ถึงขั้นจับเงินแสนกันเลยทีเดียว

คุณฤทธิ์ ถือเป็นตัวอย่างของเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่มองหาโอกาสจากสิ่งรอบตัวได้เป็นอย่างน่าชื่นชม แม้ว่าพื้นที่แค่ 1 ไร่กว่าๆ อาจดูไม่มากนักสำหรับการทำเกษตร แต่หากมีการเลือกปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ และความต้องการของตลาด รวมทั้งมีการศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาผลผลิตอย่างจริงจัง พืชปลูกเสริมอย่าง “แตงร้าน” ก็อาจพลิกโอกาสสร้างรายได้ เทียบเท่ากับอาชีพหลักได้อย่างคาดไม่ถึง

พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเกษตรกรในอำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี นอกจากมะนาว กล้วยไข่ แล้ว ยังมีมะละกอ ถึงแม้พื้นที่ปลูกไม่มากนัก ราว 50-100 ไร่ หมุนเวียนตลอดปี แต่ก็สร้างรายได้ให้เกษตรกรไม่น้อย

จุดเริ่มต้นของงานปลูกมะละกอที่อำเภอหนองหญ้าปล้อง มีขึ้นเมื่อปี 2541 สำนักงานเกษตรอำเภอหนองหญ้าปล้อง โดย คุณบุญส่ง พูลพัฒน์ อดีตเจ้าหน้าที่เกษตร และ คุณชาญณรงค์ พวงสั้น รับราชการอยู่สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี ได้มีโครงการแปลงจัดไร่นาให้กับเกษตรกร พืชหนึ่งที่บรรจุในโครงการคือมะละกอ

เมื่อโครงการแปลงจัดไร่นาผ่านไป ปรากฏว่า เกษตรกรติดใจงานปลูกมะละกอ จึงปลูกมาถึงปัจจุบันนี้

คุณบุญส่ง บอกว่า เกษตรกรปลูกมะละกอราว 10 ราย พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่ อยู่ที่หมู่บ้านห้วยเกษม ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ สายพันธุ์มะละกอที่นำมาปลูก ได้มาจากอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ลักษณะของสายพันธุ์ ก้ำกึ่งระหว่างพันธุ์แขกดำและสายน้ำผึ้ง เกษตรกรได้เก็บสายพันธุ์สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ อาจจะเรียกว่าสายพันธุ์”หนองหญ้าปล้อง”ก็ได้

“จุดเด่นของพันธุ์นี้ ดก ค่อนข้างทนต่อโรค เมื่อสุกเปลือกนิ่ม เนื้อในยังกินได้ ลักษณะผลยาว เนื้อสีแดงส้ม เนื้อไม่เละ เป็นได้ทั้งมะละกอกินสุกและมะละกอส้มตำ ชั่วอายุของมะละกอต้นหนึ่ง มีผลผลิตไม่ต่ำกว่า 150 กิโลกรัมอย่างแน่นอน”คุณบุญส่งพูดถึงคุณสมบัติมะละกอที่หนองญ้าปล้อง

คุณบุญส่ง บอกว่า พื้นที่ปลูกมะละกอที่หนองหญ้าปล้อง หมุนเวียนปีหนึ่งราว 100 ไร่ อายุของมะละกอที่ปลูก อยู่ได้อย่างน้อย 2 ปีครึ่ง หากดูแลดีเกษตรกรจะเก็บผลผลิตได้ 15 ตัน ต่อไร่ ต่อปี มีการคิดคำนวณกันแล้ว พื้นที่ปลูก 8 ไร่ จำนวน 2,000 ต้น มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาทต่อปี ต้นทุนการผลิตไร่ละ 1.5 หมื่นบาท แต่ระบบน้ำต้องดี คือมีระบบสปริงเกลอร์ให้

หนึ่ง…ตรวจแปลงทุกวัน หากพบโรคใบด่างวงแหวน ให้รีบตัดต้นเผาทำลายทันที

สอง…เครื่องมือเก็บ อย่างตะกร้าและเครื่องมือสอย ต้องใช้แปลงใครแปลงมัน ตะกร้าของแม่ค้า จะไม่สับเปลี่ยนกับของเกษตรกร แต่ใช้วิธีขนถ่าย เพราะอาจจะมีเชื้อจากแปลงของเกษตรกรรายอื่น ทำให้เกิดการติดเชื้อได้

สาม…เมื่อมะละกอหมดอายุ ต้องรีบตัดต้นแล้วเผาทำลายทันที หากปล่อยไว้ จะเป็นแหล่งสะสมโรค

ดูตัวเลขแล้ว ถือว่า มะละกอสร้างรายได้ดี แต่ก็มีปัจจัยที่ทำให้เจ๊งได้เหมือนกัน

เกษตรกรบางรายปลูกมะละกอ 10 ไร่ ถึงวันใกล้เก็บ เห็นเงินล้านในอีก 4-5 เดือน แต่เมื่อมีลมพายุมา เงินหายวับไปกับตา เก็บผลผลิตได้หลักหมื่นบาท เรื่องแบบนี้แม้แต่คุณบุญส่งก็เคยประสบมา ดังนั้นเกษตรกรต้องเลือกพื้นที่ปลูกให้ปลอดภัยจากลมพายุ

คุณสุวิทย์ ทับทิม เกษตรกรอยู่บ้านเลขที่ 71 หมู่ 2 ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี ปลูกมะละกอมาตั้งแต่ปี 2541 ถือว่าเป็นลูกศิษย์ของคุณบุญส่ง

คุณสุวิทย์เล่าว่า ตนเองเคยปลูกอ้อยเป็น 100 ไร่ เมื่อมาปลูกมะละกอ 10 ไร่ มีรายได้ดีกว่า ปัจจุบันเกษตรกรรายนี้ปลูกขนุน เงาะ และมะละกอ พื้นที่ปลูกของเขาไม่แน่นอน แต่หมุนเวียนมีมะละกอเฉลี่ยตลอดปี 1,000 ต้น โดยทยอยปลูก

เกษตรกรรายนี้แนะนำว่า การคัดพันธุ์มะละกอนั้น ผลต้องสวย ผลยาว เก็บมาผ่าชิมเนื้อเป็นขั้นตอนสุดท้าย ถึงแม้ผลสวย แต่เนื้อไม่หวานใช้ทำพันธุ์ไม่ได้ ดังนั้น ต้องเลือกผลที่สวยและเนื้อหวาน

วิธีการปลูก เริ่มจากเพาะเมล็ดในถุง 3 ต้น ปลูกลงดิน ระยะรัหว่างต้นระหว่างแถว 2.50 เมตร คูณ 2.50 เมตร เมื่อมีดอก คัดต้นที่มีดอกกะเทยไว้ 6 เดือน มะละกอเริ่มติดผล

จนกระทั่ง 9 เดือน จึงเก็บผลสุกส่งตลาดได้

การดูแลรักษามะละกอ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เกษตรกรต้องใส่ใจ โดยเฉพาะโรคใบด่างวงแหวนต้องตรวจดูแปลงทุกวัน

เรื่องน้ำ คุณสุวิทย์ให้น้ำโดยระบบสปริงเกลอร์ ลงทุนในส่วนนี้ไร่ละ 6,000-7,000 บาท น้ำมีความสำคัญมาก หากไม่มีระบบน้ำ ไม่ควรปลูกมะละกอเชิงการค้าอย่างเด็ดขาด

ปุ๋ย เจ้าของเน้นปุ๋ยคอก เมื่อมีผลผลิตใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ระยะเวลาที่ใส่ให้ 2 เดือน ต่อครั้ง หากฝนชุก ต้องเปลี่ยนเป็นสูตร 13-13-21 เพื่อเพิ่มความหวาน เรื่องของความหวาน แม่ค้าจะเป็นผู้บอกให้ผู้ปลูกทราบอีกทีหนึ่ง หากความหวานน้อยเขาก็บอก ผู้ปลูกก็จะปรับปรุง

ส่วนใหญ่แล้วคุณสุวิทย์ ขายมะละกอที่ปลูกเป็นมะละกอสุก

“แม่ค้ามาซื้อมีคนเดียว เขาส่งตลาดศรีเมือง ราชบุรี งานปลูกมะละกอถือเป็นอาชีพที่ดี แต่ต้องเลือกทำเล เช่น หลบหลีกเรื่องลม อยู่ไกลจากชุมชนพอสมควร คนปลูกมะละกอด้วยกันเองต้องเข้าใจ เมื่อโละต้นทิ้ง ต้องทำลาย เพราะขืนปล่อยไว้เมื่อเกิดโรค ติดต่อกัน จะสร้างความเสียหายได้”คุณสุวิทย์บอก

ต้นทุนการผลิตมะละกอ ของเกษตรกรหนองหญ้าปล้องไร่ละหมื่นเศษๆ หากดูแลดี จะให้ผลตอบแทนแก่เจ้าของได้เป็นแสนบาท หากดูแลไม่ดี หรือมีลมพายุ อาจจะขายมะละกอได้ไร่ละไม่ถึงหมื่นบาท เรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว

อย่างที่ทราบกันอยู่ว่า ในอนาคตสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีการคำนวณจากสำนักงานสถิติแห่งชาติว่า จำนวนผู้สูงอายุของไทยจะมีมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทั้งหมด ซึ่งผู้สูงอายุไม่น้อยกลัวว่าเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณจะส่งผลให้เป็นภาระของลูกหลาน จึงทำให้ผู้สูงอายุไม่น้อยได้หากิจกรรมยามว่างทำ เพื่อเป็นการสร้างสุขให้กับการดำเนินชีวิต เช่น ท่องเที่ยว กิจกรรมนันทนาการ ตลอดจนอาชีพที่สนใจ รวมไปถึงทางด้านการเกษตร

ซึ่งงานทางการเกษตรถ้าหากทำในช่วงที่เกษียณแล้ว พืชบางชนิดอาจเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ไม่ทัน จะต้องมีการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเข้าสู่วัยเกษียณ เพื่อเป็นอาชีพรองรับเมื่อต้องเกษียณจากงานอย่างเต็มตัว เมื่อออกจากงานก็สามารถขายผลผลิตได้ทันที จึงเป็นเสมือนกิจกรรมยามว่างที่สร้างเงินและความสุขไปพร้อมกัน เหมือนเช่น ดร. ชวัลวิทย์ แจ่มขำ อยู่บ้านเลขที่ 289 หมู่ที่ 10 ตำบลผ่านศึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นผู้ที่ได้เริ่มทำการเกษตร คือสวนมะพร้าวน้ำหอม โดยเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเกษียณอายุราชการจะมาถึง

ปลูกสวนมะพร้าว ไว้รอก่อนเกษียณอายุงาน

ดร. ชวัลวิทย์ เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนจบการศึกษาทางด้านการเกษตร หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง ที่บ้านกร่าง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตพิษณุโลก) และศึกษาต่อไปถึงจบปริญญาเอก ในช่วงแรกทำงานรับราชการเป็นเกษตรตำบล ต่อมาจึงได้ย้ายมาทำงานเป็นรองปลัดอยู่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งด้วยจบการศึกษาทางด้านการเกษตร และมีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับทางด้านนี้ด้วย จึงมีแนวคิดมาตั้งแต่สมัยก่อนแล้วว่า อยากจะมีสวนเป็นของตนเอง เพื่อเป็นอาชีพยามว่างหลังวัยเกษียณ

“เราจะรู้เลยว่า คนที่จบเกษตร ก็จะมีความตั้งใจอยู่แล้ว ว่าเมื่อเกษียณจากงานแล้ว จะทำอาชีพอะไรรองรับเมื่อวัยเกษียณ ซึ่งผมก็ได้มาเลือกสร้างสวนมะพร้าวอยู่ที่อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เหตุที่เลือกที่นี่เพราะภรรยาผมเป็นคนพื้นที่นี้ โดยได้ซื้อที่ดินบางส่วนเอาไว้ด้วย ก็เลยคิดที่จะสร้างสวนมะพร้าวให้เติบโตก่อนที่เราจะเกษียณออกมา ก็เลยได้ที่นี่ทำสวนเก็บเกี่ยวผลผลิต” ดร. ชวัลวิทย์ เล่าถึงที่มา

สวนมะพร้าวที่ปลูกทั้งหมดภายในสวน ใช้เนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ โดยแบ่งแปลงปลูกมะพร้าวเป็น 3 รุ่น โดย รุ่นที่ 1 มีอายุอยู่ที่ 3 ปีครึ่ง รุ่นที่ 2 มีอายุอยู่ที่ 3 ปี และรุ่นที่ 3 มีอายุอยู่ที่ 2 ปีครึ่ง ซึ่งสายพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมที่นำมาปลูก ส่วนใหญ่ซื้อมาจากจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดฉะเชิงเทรา

เลือกสายพันธุ์มะพร้าว ที่เป็นแหล่งเชื่อถือได้

ก่อนที่จะลงมือปลูกมะพร้าวน้ำหอมในพื้นที่ที่เตรียมไว้ ดร. ชวัลวิทย์ เล่าว่า จะต้องไปหาซื้อสายพันธุ์จากแหล่งที่ต้องการเสียก่อน ซึ่งต้นกล้ามะพร้าวที่ดีต้องได้จากต้นแม่พันธุ์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จึงจะทำให้มีความสมบูรณ์ของพันธุ์ค่อนข้างดี โดยในพื้นที่ที่ปลูกจะเน้นใช้เขตน้ำชลประทาน จึงทำให้มีน้ำดูแลต้นมะพร้าวตลอดทั้งปี

“วิธีการปลูก ในขั้นตอนแรกก็จะทำพื้นที่แปลงให้มีถนนเป็น 4 แปลง โดยปลูกมะพร้าวอยู่บริเวณริมถนนก่อน จากนั้นจึงนำไปปลูกลงในพื้นที่แปลง โดยให้มีระยะห่าง ประมาณ 6×7 เมตร ก็จะได้ประมาณ 40 ต้น ต่อไร่ รองก้นหลุมปลูกด้วยขี้ไก่ จากนั้นก็รดน้ำดูแลไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้อายุให้ผลผลิตได้” ดร. ชวัลวิทย์ บอกถึงวิธีการปลูก

ซึ่งระยะเวลาการเจริญเติบโตของมะพร้าวน้ำหอมภายในสวน ดร. ชวัลวิทย์ บอกว่า จะใช้เวลาประมาณ 3 ปีครึ่ง ก็จะเริ่มให้ผลผลิตได้ โดยการติดผลผลิตภายในสวนส่วนใหญ่จะมีผึ้งและแมลงเป็นตัวช่วยในเรื่องการผสมเกสร จึงทำให้ต้นมะพร้าวแต่ละต้นค่อนข้างติดผลผลิตดี

ในเรื่องของการใส่ปุ๋ยบำรุงต้นนั้น ดร. ชวัลวิทย์ บอกว่า จะใส่ในช่วงต้นฝนและปลายฤดูฝน เป็นปุ๋ยขี้ไก่และปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ผสมกับ สูตร 21-0-0

ในเรื่องการป้องกันโรคและแมลง ต้นมะพร้าวน้ำหอมที่ยังไม่ออกผลผลิต จะมีการใช้ยากำจัดเพื่อช่วยให้ต้นมีความสมบูรณ์ กันจากศัตรูจำพวกหนอนหัวดำและด้วง เมื่อมะพร้าวเริ่มออกจั่นเพื่อติดผลก็จะหยุดใช้สารเคมีทันที

“มะพร้าวต่อต้นจะให้จั่นอยู่ที่ 15-18 จั่น ต่อปี ซึ่งใน 1 ปี สำหรับที่สวนออกประมาณ 12 ทะลาย ก็เพียงพอแล้ว ซึ่งที่สวนผม 1 ทะลาย จะมีประมาณ 10 ผล โดยที่สวนก็มีผลผลิตออกขายต่อเดือนก็ประมาณ 7,000-15,000 ผล โดยนำเงินที่ขายได้มาเลี้ยงภายในสวนก่อน พอเริ่มมีผลผลิตมากขึ้น คราวนี้ก็จะเป็นผลผลิตที่เลี้ยงดูเราในอนาคต” ดร. ชวัลวิทย์ อธิบาย

เน้นขายผลผลิตในพื้นที่ และส่งขายตลาด

ในเรื่องหลักการทำตลาดมะพร้าวน้ำหอม ดร. ชวัลวิทย์ บอกว่า จะเน้นทำการตลาดแบบหลากหลายแบบ เช่น ให้พ่อค้ามาติดต่อซื้อผลผลิตที่สวน และบางส่วนจะส่งให้พ่อค้าแม่ค้าที่อยู่แถวตลาดลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

“ที่สวนตอนนี้ราคามะพร้าว ขายอยู่ที่ ผลละ 15 บาท เพื่อที่ให้พ่อค้าแม่ค้าเขาไปทำการตลาดได้ ซึ่งตอนนี้ในอำเภออรัญประเทศเองก็สามารถขายได้เรื่อยๆ ซึ่งผลตอบรับก็ถือว่าดีมาก เพราะภายในตลาดโรงเกลือมีร้านค้าค่อนข้างมาก ดังนั้น แม่ค้าที่ขายของในตลาดเขาก็ต้องใช้มะพร้าวอย่างน้อย ร้านละ 1 ผล เพราะเซ่นไหว้เจ้าที่ก่อนเปิดร้าน จึงทำให้มะพร้าวสามารถขายได้ตลอดที่อรัญประเทศ” ดร. ชวัลวิทย์ บอก

ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะปลูกมะพร้าวน้ำหอมเป็นอาชีพ ดร. ชวัลวิทย์ ให้แนวคิดสำหรับผู้ที่กำลังจะเกษียณจากงานว่า ควรปลูกต้นให้เจริญเติบโตก่อนที่จะเกษียณออกจากงาน เมื่อเตรียมทุกอย่างพร้อมเรียบร้อยแล้ว ผลผลิตที่ได้ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยทำเงินในช่วงหลังเกษียณได้อย่างสบาย

“สำหรับคนที่อยากปลูก มีพื้นที่น้อยอยู่ก็สามารถปลูกได้ อาจจะเริ่มทีละ 5 ต้น 10 ต้น เมื่อให้ผลผลิตก็อาจจะช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับเราได้ เมื่อเรารู้สึกว่าทำแล้วประสบผลสำเร็จมากขึ้น ก็ค่อยๆ ขยับขยายต่อไป มันก็จะเป็นรายได้หลักได้ในอนาคต ซึ่งอยากจะบอกว่าเราไม่ควรทำงานเพื่อสร้างรายได้เพียงทางเดียว ควรที่จะหารายได้เสริมต่างๆ ให้กับครอบครัว ก็จะเป็นการช่วยกระจายความเสี่ยงออกไปได้ ดังนั้น ควรหาอาชีพเสริมทำสำรองไปกับอาชีพหลัก ก็จะทำให้มีรายได้มากขึ้น” ดร. ชวัลวิทย์ กล่าวแนะนำ

เมื่อเร็วๆ นี้ สื่อมวลชนจากส่วนกลาง ได้มีโอกาสติดตาม คุณธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ไปเยี่ยมชมความสำเร็จของโครงการสินเชื่อธุรกิจสร้างไทย ซึ่งชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “โครงการล้านละร้อย” ในพื้นที่ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

ย้อนกลับปี 2562 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถภาคปศุสัตว์ไทย ฟื้นฟูอาชีพแก่เกษตรกร บรรเทาความเดือดร้อนเสียหาย อันเนื่องมาจากภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ รวมทั้งผลกระทบจากราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำ และสร้างอาชีพทางเลือกใหม่ด้วยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชไม่เหมาะสมมาเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ โคเนื้อขุน กระบือเนื้อ แพะเนื้อ และไก่พื้นเมือง

กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อตามมติ ครม. (26 พ.ย. 62) ภายใต้ชื่อ ธุรกิจชุมชนสร้างไทย ซึ่งเป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 0.01 ต่อปี (กู้ 1 ล้าน ดอกเบี้ย 100 บาท ต่อปี) ให้แก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร ที่สนใจอาชีพเลี้ยงสัตว์ ภายใต้หลักการ “ตลาดนำการผลิต” เพื่อลดความเสี่ยงด้านภาระหนี้สิน เป็นการเพิ่มทางเลือกและสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกร

ธ.ก.ส. ได้กำหนดวงเงินสินเชื่อโครงการธุรกิจชุมชนสร้างไทย รวม 50,000 ล้านบาท (ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 พฤศจิกายน 2565) เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการธุรกิจชุมชนสร้างไทย จะได้รับสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนและเงินทุนหมุนเวียน ในอัตราดอกเบี้ย ล้านละ 100 บาท เป็นระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันกู้ หลังจากนั้น ปีที่ 4 เป็นต้นไป ธ.ก.ส. คิดอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์ปกติ กำหนดชำระคืนเงินกู้กรณีค่าใช้จ่ายหมุนเวียน ไม่เกิน 12 เดือน (พิเศษไม่เกิน 18 เดือน) กรณีค่าลงทุน ไม่เกิน 15 ปี (พิเศษไม่เกิน 20 ปี) นับแต่วันที่กู้

ทั้งนี้ คุณธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. มีเป้าหมายขับเคลื่อน ธ.ก.ส. เป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน มุ่งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชนบท โดยกระบวนการทำงานให้ทันสมัย เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการดูแลเกษตรกรลูกค้าให้สามารถยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน ผ่านมาตรการสนับสนุนด้านสินเชื่อที่วางไว้

หากใครสนใจ โครงการสินเชื่อโครงการธุรกิจชุมชนสร้างไทย สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ หรือ ธ.ก.ส. ในพื้นที่ได้ตลอดเวลา ในวันและเวลาราชการ

วิสากิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงแพะสิชลก้าวหน้า

“คุณจารึก เพ็ชรด้วง” (โทร. 087-908-0227) ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงแพะสิชลก้าวหน้า ตำบลเขาน้อย อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้การต้อนรับผู้จัดการ ธ.ก.ส. และคณะ ด้วยความยินดี

ชุมชนเลี้ยงแพะแห่งนี้ เกิดขึ้นเมื่อปี 2556 โดย คุณจารึก เพ็ชรด้วง เริ่มอาชีพเลี้ยงแพะเพียงคนเดียวก่อน สามารถสร้างอาชีพและรายได้ที่ดี ทำให้เกษตรกรรายอื่นสนใจทำอาชีพเลี้ยงแพะตามมาอีก 7 คน ต่อมาพวกเขาได้จดทะเบียนตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงแพะสิชลก้าวหน้า กิจการของกลุ่มฯ เจริญเติบโตมาตามลำดับ จนถึงปัจจุบันมีเกษตรกรในพื้นที่ 6 ตำบล 13 หมู่บ้าน สนใจทำอาชีพเลี้ยงแพะ และสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มฯ แล้ว จำนวน 32 คน

กลุ่มวิสาหกิจฯ แห่งนี้ เป็นหนึ่งในสถาบันเกษตรกรตัวอย่างที่เข้มแข็ง ประสบความสำเร็จทางการตลาดอย่างน่าชื่นชม สามารถสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกปีละ 1.5 แสนบาท ต่อคน จากการขายแพะเนื้อ ผลิตภัณฑ์จากแพะ เช่น โยเกิร์ตนมแพะ ขนมชั้นนมแพะ นมแพะสด สบู่นมแพะ กระเป๋าหนังแพะ ปุ๋ยมูลแพะ ฯลฯ

ปัจจุบัน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงแพะสิชลก้าวหน้า ส่งเสริมการเลี้ยงแพะแบบครบวงจรให้กับชาวบ้านในชุมชน และนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นานาชนิด ส่งขายในประเทศและต่างประเทศ แม้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกลุ่มจะเลี้ยงแพะขุน แพะตัวเมีย แต่พวกเขาไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทันความต้องการของกลุ่มผู้รับซื้อและตลาดผู้บริโภค ราคาแพะจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากนี้ ยังเจอปัญหาอุปสรรคในเรื่องต้นทุนวัตถุดิบอาหารแพะที่มีราคาสูง รวมถึงวัสดุในการก่อสร้างคอกเลี้ยงก็ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน ทำให้ทางกลุ่มฯ มีต้นทุนการผลิตที่สูงและไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทันกับความต้องการของตลาด

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงแพะสิชลก้าวหน้า แทงบอลสเต็ป จึงสมัครเข้าร่วมโครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย กับ ธ.ก.ส. โดยได้รับสนับสนุนสินเชื่อ จำนวน 5,100,000 บาท ซึ่งทางกลุ่มฯ นำไปจัดซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ให้กับสมาชิก โดยแจกจ่ายแพะให้แก่สมาชิก รายละ 20 ตัว สามารถเพิ่มพ่อพันธุ์ 15 ตัว และแม่พันธุ์ 300 ตัว และทำให้เกิดลูกแพะเพิ่มขึ้นอีกกว่า 300 ตัว

ที่ผ่านมา กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เข้ามาถ่ายทอดองค์ความรู้ในการเลี้ยงแพะให้กับชุมชนแห่งนี้ ได้แก่การสร้างคอกเลี้ยงสัตว์ยกสูง ซึ่งมีข้อดีคือ อากาศถ่ายเทได้สะดวก และปูพื้นเป็นร่อง ทำให้มูลของแพะตกลงข้างล่าง พื้นคอกแห้ง สะอาดอยู่เสมอแล้ว เกษตรกรยังมีรายได้เพิ่มจากการเก็บมูลแพะไปขายเป็นปุ๋ยคอก เฉลี่ยกระสอบละ 30-50 บาท

นอกจากนี้ ยังแนะนำเทคนิคการผสมอาหารโดยใช้หัวอาหารผสมกับผักที่ปลูกในฟาร์ม ทำให้ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลง ขณะเดียวกัน กลุ่มเกษตรกรได้เรียนรู้เรื่องการแปรรูปเนื้อแพะ เช่น แพะเนื้อ แพะขุน แกงแพะ ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง แพะสวรรค์ ฯลฯ ทำให้สมาชิกกลุ่มฯ มีรายได้และผลกำไรเพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบัน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงแพะสิชลก้าวหน้า เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการเลี้ยงแพะ มีเกษตรกรและผู้สนใจแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมกิจการอย่างต่อเนื่องแล้ว ที่นี่ยังเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่อีกด้วย

กล่าวได้ว่า ทางกลุ่มฯ ประสบความสำเร็จทางการผลิตและการตลาดอย่างน่าชื่นชม เป็นตัวอย่างที่ดีของการประกอบอาชีพการเลี้ยงแพะของท้องถิ่น ส่งผลให้กลุ่มเกษตรกรแห่งนี้ได้รับรางวัลวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับประเทศ และรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ในการประกวดสถาบันเกษตรกรดีเด่นระดับชาติ กรมปศุสัตว์ ประจำปี 2560

ขอขอบคุณ ข้อมูลและภาพประกอบข่าว จาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงแพะสิชลก้าวหน้า