ทั้งนี้ พ่อค้าแม่ค้ายังนำไปแปรรูปผลิตเป็นน้ำปั่นหม่อนเบอร์รี่

ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้บริโภคมาก โดยหม่อนเบอร์รี่ เก็บเกี่ยวได้ทุกวัน สลับสับเปลี่ยนกันแต่ละต้น บางวันเก็บได้วันละ 5-6 กก. รวมแล้วจะให้ผลผลิตประมาณ 15 กก./ปี/ต้น

นางจำนง บอกว่า รวมแล้วมีรายได้ 15,000 บาท/ปี แต่หากปลูกเป็นไร่ ประมาณจำนวน 26 ต้น/ไร่ จะให้ผลผลิตโดยเฉลี่ยประมาณ 390 กก. คิดเป็นเงินถึง 39,000 บาท/ไร่/ปี และสำหรับหม่อนเบอร์รี่ สามารถนำจิ้มพริกเกลือรับประทาน หรือในส่วนของยอดอ่อนนำมาแกงเลี้ยงและเป็นผักจิ้มก็ได้ ส่วนใบแก่ก็นำมาตากแห้งแปรรูปทำเป็นน้ำชาไว้ดื่ม ซึ่งจะมีคุณค่าทางอาหารมากมาย

“ตอนนี้ทางบ้านมีการชำเพาะเป็นต้นขาย ต้นละ 20 บาท โดยจะมีผู้ซื้อไปปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ แต่ก็ยังไม่ปรากฎให้เห็นในพื้นที่ และหากปลูกเป็นแปลงใหญ่ก็สร้างรายได้ที่ดีกว่ายางยางพาราแน่นอน”นางจำนงกล่าว

กรมชลประทาน”คิกอ๊อฟ”เดินหน้าโครงการไทยนิยมยั่งยืน พร้อมกันทั่วประเทศ จัดสรร 1.3 หมื่นกว่าล้านจัดจ้างแรงงาน ส่งเสริมการใช้ยางพารา ฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งน้ำ ย้ำทุกโครงการต้องโปร่งใส ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด “รองประพิศ”ประเดิม อ่างเก็บน้ำกุดลิงง้อ อุดรฯ

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีฝ่ายก่อสร้าง กรมชลประทาน ลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อเป็นประธานในกิจกรรมคิกอ๊อฟไทยนิยม ยั่งยืน สำนักงานชลประทานที่ 5 กรมชลประทาน โดยมี นายวัชรินทร์ สุตลาวดี นายอำเภอเมืองอุดรธานี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี หัวหน้าสถานีพัฒนาที่ดินอุดรธานี หัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ หัวหน้าสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหม ผู้แทนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ผู้แทนกรมประมง ผู้แทนสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี รองนายก อบต.นาดี กำนันตำบลนาดี และประชาชนจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ ร่วมกิจกรรมคิกอ๊อฟ ไทยนิยม ยั่งยืน กรมชลประทาน

นายประพิศ กล่าวว่า กรมชลประทาน เดินหน้าตามแผนปฏิบัติงานแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ของกรมชลประทาน หลังจากที่ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของประชาชนร่วมกับกระทรวงมหาดไทยตามโรปแมด ครบถ้วนทั้ง 4 เวที ทั่วประเทศ จำนวน 13,382 ครั้ง 15,020 หมู่บ้าน 3,590 ตำบล 747 อำเภอ ครอบคลุม 76 จังหวัด

การดำเนินงานโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ของกรมชลประทาน แยกเป็น 4 เมนู ดังนี้
1. โครงการจ้างแรงงานชลประทานสร้างรายได้เกษตรกร ภายใต้กรอบการขับเคลื่อน “คนไทยไม่ทิ้งกัน” มีเป้าหมาย 76 จังหวัด งบประมาณ 187.5545 ล้านบาท จัดจ้างแรงงานจำนวน 7,520 คน
2. โครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้กรอบการขับเคลื่อน “ชุมชนอยู่ดีมีสุข” มีพื้นที่ดำเนินการครอบคลุมทุกภาค รวม 53 จังหวัด งบประมาณ 3,548.0209 ล้านบาท ปริมาณการใช้ยางพารา 3,509.50 ตัน ระยะทางรวม 999.65 กิโลเมตร
3. การพัฒนาแหล่งน้ำสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ภายใต้กรอบการขับเคลื่อน “รู้กลไกการบริหารราชการ” โดยมีเป้าหมาย 30 จังหวัด จำนวน 300 แห่ง งบประมาณ 699.5056 ล้านบาท มีพื้นที่รับประโยชน์ 92,285 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 14,611 ครัวเรือน
4. การพัฒนาฟื้นฟูแหล่งน้ำชลประทานเพื่อป้องกันและบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งภายใต้กรอบการขับเคลื่อน “รู้กลไกการบริหารราชการ” มีเป้าหมาย 68 จังหวัด งบประมาณ 9,266.904 ล้านบาท ความจุในการเก็บกักน้ำรวม 14.09 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ชลประทาน 17,900 ไร่

การดำเนินงานโครงการไทยนิยม ยั่งยืน จะเน้นย้ำในเรื่องความถูกต้อง โปร่งใส เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะมีการแต่งตั้งบุคคลภายนอก อาทิ กลุ่มผู้ใช้น้ำ ผู้นำหมู่บ้าน และปราชญ์ชาวบ้าน เข้ามาเป็นผู้สังเกตการณ์ตลอดโครงการฯ รวมทั้งจะมีการติดตามผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าของโครงการฯ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับทราบอย่างต่อเนื่อง อนึ่ง การขับเคลื่อนโครงการไทยนิยม ยั่งยืนของกรมชลประทาน จะดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 และเบิกจ่ายงบประมาณให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เพื่อให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานของโครงการฯการขับเคลื่อนโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ตอบสนองความต้องการของประชาชน และให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด นำไปสู่การพัฒนารายได้ในทุกชุมชนและส่งเสริมการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

นายประพิศ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมคิกอ๊อฟ โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ที่อ่างเก็บน้ำกุดลิงง้อ ตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี แห่งนี้ เป็นกิจกรรมที่อยู่ในเมนูจ้างแรงงานชลประทานสร้างรายได้เกษตรกร โดยกรมชลประทานได้ดำเนินการจ้างแรงงานราษฎรที่เป็นเกษตรกรที่ได้ลงทะเบียนตามโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 42 คน ทำกิจกรรมปรับปรุงพื้นที่อ่างเก็บน้ำ กำจัดจอกหูหนู และวัชพืชทางน้ำ กิจกรรมดังกล่าวจะช่วยให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้นต่อเดือนประมาณเดือนละ 6,000 บาท และยังส่งผลให้อ่างเก็บน้ำมีสภาพดีขึ้น และน้ำในอ่างมีคุณภาพดีขึ้น ในส่วนของวัชพืชจะนำไปต่อยอดเพื่อใช้เป็นวัสดุในการทำปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกพืช หรือปรับปรุงบำรุงดินต่อไป โดยความร่วมมือของโครงการชลประทานอุดรธานี สถานีพัฒนาที่ดินอุดรธานี และ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

สำหรับอ่างเก็บน้ำกุดลิงง้อ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2499 แล้วเสร็จปี พ.ศ. 2505 มีพื้นที่ชลประทาน 6,256 ไร่ สามารถกักเก็บน้ำได้ 6.40 ล้าน ลบ.ม. ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล คือ ตำบลนาดี ตำบลบ้านตาด และตำบลหนองไฮ นอกจากนี้ ยังมีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 1 แห่ง และกลุ่มเกษตรกรใช้ประโยชน์จากน้ำในการปลูกผักปลอดสารพิษอีกจำนวนหนึ่ง

พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ นวนคร ปทุมธานี จัดงาน มหกรรม “พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ 2018 Agri’ Museum Expo รื่นเริง เบิกบาน สืบสานเกษตรไทย” ระหว่างวันที่ 1 – 3 มิถุนายน 2561 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 20.00 น. สืบสานตำนานเกษตรไทย จากพิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ และศูนย์การเรียนรู้กว่า 30 แห่ง ทั่วประเทศ

ซึ่งภายในงานมีกิจกรรมสืบสานประเพณีวัฒนธรรมวิถีเกษตรของไทย ของเล่นพื้นบ้านวิถีเกษตรไทย 4 ภาค อาหารพื้นบ้านพื้นถิ่น เรียนรู้และสัมผัสวีถีชีวิตเกษตรไทยทั้ง 4 ภาค ผ่านนิทรรศการมีชีวิตหลากหลายรูปแบบ ข้าวปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เครื่องมือเครื่องใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สนุกสนาน ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน เสวนาภาษาพิพิธภัณฑ์และการจัดการดูแลวัตถุชิ้นงาน จัดแสดง อบรมวิชาของแผ่นดินอบรมเชิงปฏิบัติการ ไม่มีค่าใช้จ่าย ตลอดทั้ง 3 วัน กว่า 20 วิชา

นายสหภูมิ ภูมิธฤติรัฐ ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กล่าวว่า “…พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ นอกจากเป็นแหล่งเรียนรู้พระอัจฉริยภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ด้านการเกษตร ภูมิปัญญา นวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีเกษตรไทยในมิติต่างๆ ที่มีชีวิตและทันสมัย เชื่อมโยงขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ

โดยการจัดงานในครั้งนี้ เน้นการขับเคลื่อนเชื่อมโยงพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่มีศักยภาพในการถ่ายทอดองค์ความรู้ในหลากหลายแขนงวิชา โดยเฉพาะด้านเกษตร วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญา และเทคโนโลยี จากพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ชั้นนำของประเทศไทย อาทิ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกาญจนาภิเษก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรี มิวเซียมสยาม ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านของพ่อ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษากรุงเทพฯ และศูนย์เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ทั่วประเทศ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีการจัดเสวนาพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์ตลอดทั้ง 3 วัน ในหัวข้อ “เกษตรกรรมบ้านโนนวัด 6 พันปี ชัวร์หรือมั่วนิ่ม” โดย ผศ.ดร.วรชัย วิริยารมภ์ “การอนุรักษ์วัตถุพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน” และ “นิทรรศการบ้านๆ แต่มีสไตล์” สืบสานเกษตรไทยอบรมวิชาของแผ่นดิน เช่น “เกษตรออนไลน์สไตล์จอนนอนไร่” “เกษตรทฤษฎีใหม่สวนข้างบ้าน” “การเพาะเห็ดโคนน้อยในถังกลม” และอีกหลายวิชาซึ่งเรียนรู้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย..”

รื่นเริงเบิกบาน สนุกสนานกับกิจกรรมต่างๆ ในวิถีเกษตรพื้นบ้าน 4 ภาค ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมภาคอีสานสนุกครื้นเครงเซิ้งฟ้อน สาธิตและฝึกทำของเล่นพื้นบ้านการละเล่นวิถีเกษตรไทย ตุ๊กตาชาววัง สานปลาตะเพียน ประดิษฐ์ว่าว ฯลฯ

กลับมาอีกครั้ง ยิ่งใหญ่ สนุกครบรส “พิพิธภัณฑ์เธียเตอร์” มนต์เสน่ห์แห่งพิพิธภัณฑ์มีชีวิตผ่านเรื่องเล่าตัวละคร และบรรยากาศย้อนยุคตลาดเก่า จัดแสดงวัน 1 รอบเท่านั้น !!! ชมนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ในอาคารราคาพิเศษ พร้อมรับชมภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ สนุกเพลินๆ เกมงานวัดย้อนยุค ปาโป่ง ยิงปืนจุกน้ำปลา ช้อป ชิม สินค้าเกษตรคุณภาพ ต้นไม้ พันธุ์ไม้ อิ่มอร่อย อาหารท้องถิ่นต้นตำรับพื้นบ้าน สะอาด ปลอดภัย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ตรงข้ามโรงพยาบาลการุญเวช(นวนครเดิม) ริมถนนพหลโยธิน จ.ปทุมธานี โทรศัพท์ 0-2529-2212-13 มือถือ 087-359-7171, 094-649-2333 คลิกดูรายละเอียดที่

“บนเส้นทางอันร่มเย็นด้วยเงาไม้ คือวิถีทางที่ให้ความสงบสุขแก่ชีวิตมนุษย์แต่ละคน”

“ธรรมชาติได้ให้ทั้งคนและต้นไม้ มาเป็นมิตรร่วมโลก โดยมุ่งให้คนก่อนอื่นว่าได้รับโอกาสให้มีวิวัฒนาการ บนพื้นฐานตนเองมาไกลกว่าต้นไม้ จึงควรเป็นฝ่ายที่แสดงความรับผิดชอบต่อต้นไม้อย่างเต็มที่”

“ธรรมชาติเป็นผู้ปลูกต้นไม้ให้เจริญงอกงามอย่างได้สัดส่วน ดังนั้นคนจะปลูกต้นไม้ได้ดี จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง”

“มนุษย์แต่ละคนที่เกิดมาต่างก็ปรารถนาความสุข จึงควรเป็นความสุขที่ไม่ทำให้เพื่อนมนุษย์และชีวิตอื่นๆ รวมถึงต้นไม้ต้องได้รับความเดือดร้อนด้วย”

เป็นส่วนหนึ่งของแต่ละช่วง คำปรารภในบทความภายใต้หัวข้อเรื่อง “จากต้นไม้ถึงคุณภาพชีวิตของมนุษย์” โดย ศาสตราจารย์ ระพี สาคริก เขียนไว้ในหนังสือ วันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติ พ.ศ. 2539 จัดพิมพ์โดย กองสวนสาธารณะ สำนักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร

ทุกๆ ปี เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 หรือวันเพ็ญกลางเดือน 6 ซึ่งเป็นวันพุทธบูชาของเหล่าพุทธศาสนิกชน พึงรำลึกถึงปฏิบัติบูชาในวัน “วิสาขบูชา” เป็นประเพณีสืบเนื่องกันมา จนเชื่อมโยงกับการที่ทางราชการเห็นความสำคัญในวันนี้ให้เป็น “วันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติ” อีกวันหนึ่ง ซึ่งประชาชนรู้จักกันมาหลายปีถึงปัจจุบัน

วันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติ ตามความที่เป็นมา ด้านงานในความรับผิดชอบของกองสวนสาธารณะ ถ้าหากย้อนหลังถึงที่มาก็พบว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2503 กำหนดให้วันเข้าพรรษาของทุกปีเป็นวันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติ ตามมติทางราชการ โดยในบางปีบางช่วงเวลา ได้เชื่อมโยงกับวันสำคัญในพุทธศาสนา และเป็นวันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติ โดยกองสวนสาธารณะและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในแต่ละช่วงปี ได้เผยแพร่เอกสารวันต้นไม้ทุกปี พอจะเป็นตัวอย่างดังนี้

วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 วันเข้าพรรษา พลตรีจำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 พลตรีจำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 วันวิสาขบูชา พลตรีจำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 พลตรีจำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2536 วันวิสาขบูชา ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 วันวิสาขบูชา ร.ต.ต. เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ รองปลัดกรุงเทพมหานคร (ปฏิบัติราชการแทน)

วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 วันวิสาขบูชา นายพิจิตต รัตนกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 วันวิสาขบูชา นายพิจิตต รัตนกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ต่อมากองสวนสาธารณะ พัฒนาการบริหารเปลี่ยนแปลงขยายขอบเขตมีหน่วยงานในความรับผิดชอบมากขึ้น จัดตั้งเป็นสำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม แต่สำหรับเอกสารเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบหนังสือ “วันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติ” เปลี่ยนเป็นหนังสือ “สวนและต้นไม้ ประจำปี พ.ศ….” ก็ยังเผยแพร่ความรู้ให้ผู้สนใจ หน่วยงานต่างๆ ขอรับเอกสารดังกล่าวโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทุกๆ ปี ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

สำหรับ “วันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติ” ตรงกับวันวิสาขบูชาของทุกปี โดยมีความเป็นมาจากวันต้นไม้ประจำปีของโลกมีในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2481 ต่อมากรมป่าไม้ ได้เชิญชวนหน่วยงานและประชาชนร่วมกันปลูกต้นไม้ในวันที่ 24 มิถุนายน 2484 และถือว่าเป็นวันต้นไม้ประจำปีอย่างเป็นทางการครั้งแรก ซึ่งเป็นวันชาติของทุกปี ในปี พ.ศ. 2503 ได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นวันเข้าพรรษา และในปี พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้วันวิสาขบูชาซึ่งอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม เป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2561 วันวิสาขบูชา ตรงกับวันอังคารที่ 29 พฤษภาคม เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ตามปีปฏิทิน ซึ่งถือเป็นวันสำคัญที่สุดทางพระพุทธศาสนา เป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ เนื่องจากล้วนมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของพระพุทธเจ้า คือเป็นวันที่พระศาสดา คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ดังนั้น พุทธศาสนิกชนทั่วโลกจึงให้ความสำคัญในวันวิสาขบูชานี้

วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า “วิสาขปุรณมีบูชา” แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (คือเดือน 6) ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 3 ประการ ดังที่กล่าวมา สำหรับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อทรงพระเยาว์ ก็คือเจ้าชายสิทธัตถะ แปลว่า สมปรารถนา

วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542 องค์การสหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก โดยเรียกว่า Vesak Day ตามคำเรียกของชาวศรีลังกา ผู้ที่ยื่นเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณาและได้กำหนดให้วันวิสาขบูชานี้ ถือเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติอีกด้วย เพราะเป็นวันให้กำเนิดอารยธรรมมนุษย์ที่ยิ่งใจ และเรียกกันว่า “วันพระพุทธเจ้า”

จากที่ได้กล่าวถึงหน่วยงาน กองสวนสาธารณะ สำนักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันนี้พัฒนางานและชื่อหน่วยงานใหม่ เรียกว่า สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ที่ได้จัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่วิชาการด้านการเกษตร การปลูกดูแลรักษาต้นไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ โดยแต่ละปี แต่ละเล่ม จะรวบรวมข้อเขียนงานวิชาการ งานวิจัย จากนักวิชาการหลายด้าน โดยเหล่าคณาจารย์จากสถาบันการศึกษาหลายหน่วยงานให้การสนับสนุนเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการหลากหลายแขนง เผยแพร่เป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจทุกระดับการศึกษา ทำให้มีกิจกรรมในวันมงคลวันวิสาขบูชา เชื่อมโยงกับ “วันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติ” โดยมีหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการปลูกป่ารักน้ำ รักษาทรัพยากรป่าไม้ของชาติ คือ หน่วยงาน “กรมป่าไม้” ซึ่งโอนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาเป็น กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่พ.ศ. 2546 และกรมป่าไม้ได้จัดวันสำคัญที่เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการเชิญชวนปลูกป่า รักษาต้นไม้ ได้แก่

วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ (วันที่ 14 มกราคม ทุกปี)

วันป่าไม้โลก (วันที่ 21 มีนาคม ทุกปี)

วันต้นไม้ประจำปีของชาติ (วันวิสาขบูชา ทุกปี)

วันคล้ายวันสถาปนากรมป่าไม้ (วันที่ 18 กันยายน ทุกปี)

วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ (วันที่ 21 ตุลาคม ทุกปี)

มีโครงการปลูกป่าวันวิสาขบูชา เนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติจากหน่วยงานต่างๆ มากมาย แต่ละภูมิภาคภายใต้การสนับสนุนจากกรมป่าไม้ ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละปีก็มีการแจกกล้าไม้ เพื่อนำไปปลูกตามโครงการต่างๆ มากมาย

จากการปฏิบัติบูชาเนื่องในวันวิสาขบูชา ทางพุทธธรรม และเชื่อมโยงกับวันต้นไม้ประจำปีของชาติ ถ้าหากศึกษาตามพุทธประวัติ หรือศึกษาจากข้อเขียนนักวิชาการต่างๆ ที่ได้กล่าวถึงบริบทของพระพุทธองค์ที่ใช้ผืนป่าพนาสี เป็นที่ค้นหาอริยะสัจปฏิบัติธรรมมาตลอดนั้น จะเห็นว่าอยู่ในป่าตลอดมา ดังได้ศึกษาจากหนังสือ “พระพุทธศาสนากับสิ่งแวดล้อม” เรียบเรียงโดย รองศาสตราจารย์ ดร. ประเวศ อินทองปาน ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขียนไว้ในหนังสือ “พระพุทธศาสนากับป่าไม้” พอจะสรุปได้ดังนี้

ความสำคัญของป่า และการอนุรักษ์ป่าจากแง่มุมพระพุทธศาสนา ซึ่งปรากฏในพระไตรปิฎก โดยสามารถศึกษาได้จาก

1. พุทธประวัติ หรือพุทธจริยวัตร ซึ่งเกี่ยวข้องกับป่าไม้ ต้นไม้ เรื่องราวที่พระพุทธองค์ตรัสเทศนาแก่บุคคล ส่วนมากจะเป็นสวนป่า หรือใต้โคนต้นไม้
2. พระสงฆ์พุทธสาวก ที่ถือธุดงค์ปฏิบัติธรรมในป่าหรือใต้โคนต้นไม้ พระพุทธองค์ยกย่องเป็นภิกษุตัวอย่าง
พระวินัย ทรงบัญญัติสิกขาบทให้เป็นศีล ห้ามพระสงฆ์ทำลายต้นไม้ หรือพรากของเขียว (ภูตคาม) ทุกชนิด ว่าด้วยพืชพันธุ์ไม้ “ภิกษุใดขุดเองก็ดี ให้ผู้อื่นขุดก็ดี ซึ่งแผ่นดินเป็นอาบัติปาจิตตีย์”
ในสิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติตามสมัยว่า แผ่นดินเป็นของมีอินทรีย์ คือมีชีวิต ภิกษุใดพรากภูตคาม (คือ ต้นไม้ ต้นหญ้า เถาวัลย์ เป็นต้น) อันเป็นของเขียว และคำว่า พราก ได้แก่ ขุด ถอน หรือตัดฟัน เป็นต้น คำภาษาในพุทธศาสนามีคำเรียก เช่น รุกฺข (ต้นไม้) ภูตคาม (พืช) ฉะนั้น พืชทุกชนิดจึงรวมอยู่ในคำว่า “ภูตคาม” ซึ่งมีความหมายกว้างครอบคลุมพืชถึง 5 ชนิด ได้แก่

1. พืชพันธุ์ที่เกิดจากเหง้า (หัว) คือพืชที่ใช้เหง้าขยายพันธุ์ ได้แก่ ขมิ้น ขิง ข้าว แฝก
2. พืชพันธุ์ที่เกิดจากลำต้นคือ พืชที่ขยายพันธุ์ได้ด้วยการตอน ได้แก่ ต้นโพธิ์ ต้นไทร
3. พืชพันธุ์ที่เกิดจากข้อ (ปล้อง) คือพืชที่ใช้ข้อปลูก ได้แก่ อ้อย ไม้ไผ่ ไม้อ้อ
พืชพันธุ์ที่เกิดจากยอด คือ พืชที่ใช้ยอดปักก็งอก ได้แก่ แมงลัก ผักบุ้งล้อม เถาหญ้านาง
พืชพันธุ์ที่เกิดจากเมล็ด คือพืชที่ใช้เมล็ดเพาะ ได้แก่ ข้าว ถั่ว งา ฯลฯ
นอกจากคำว่า ภูตคาม ยังมีคำว่า พืชคาม ที่ใช้ร่วมกับคำว่าภูตคาม ซึ่งหมายถึงพืชหรือของเขียวที่ถูกพรากออกจากที่ แล้วยังสามารถงอกได้อีก เช่น ผักบุ้ง