ทั้งนี้ สหกรณ์จะรับซื้อมังคุดคุณภาพจากสมาชิกในราคากิโลกรัมละ

40-50 บาท ซึ่งทำให้สมาชิกพึงพอใจกับราคานี้เป็นอย่างมาก เพราะต้นทุนจะไม่สูง แต่สัปดาห์นี้สหกรณ์ต้องประสบปัญหาและได้รับผลกระทบจากการเกิดอุทกภัยรุนแรงในแขวงจำปาสัก ประเทศลาว ทำให้เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยแตกเสียหาย ส่งผลให้ไม่มีตู้คอนเทนเนอร์สำหรับใส่มังคุดเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ ประกอบกับช่วงวันหยุดยาวทำให้หาตู้คอนเทนเนอร์ได้ไม่ทันรองรับผลผลิต จึงทำให้ราคามังคุดตกลงมาที่ 31 บาท ทั้งนี้ สหกรณ์คาดว่าจะระบายมังคุดออกสู่ตลาดทั้งหมดภายในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งการผลิตมังคุดคุณภาพดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้สมาชิกสหกรณ์ไม่ต้องกังวลเรื่องราคาและตลาดเหมือนกับที่อื่น

อย่างไรก็ตาม สหกรณ์ได้ส่งเสริมให้สมาชิกดูแลมังคุดตั้งแต่ระบบน้ำในสวน และการใส่ปุ๋ย เพื่อให้ได้มังคุดผลโต และราคาดี ถ้าเราผลิตมังคุดคุณภาพ ตลาดประเทศจีนจะรับซื้อทั้งหมดและให้ราคาดีตามคุณภาพ สหกรณ์พยายามจะชี้ให้สมาชิกเห็นว่าถ้าผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ตลาดก็ต้องการ และส่งผลต่อราคาสินค้าที่ต่างกับมังคุดทั่วไปเกือบเท่าตัว ดังนั้น หากสมาชิกทำมังคุดคุณภาพ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องราคาและตลาดรองรับ ซึ่งสหกรณ์พยายามชักชวนสมาชิกให้เข้าใจเรื่องสินค้าคุณภาพเพราะจะได้ราคาที่ดีกว่า ยิ่งถ้าเกษตรกรผลิตสินค้าได้คุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดก็ยิ่งทำให้ได้ราคาจะสูงขึ้นนั่นเอง

สำหรับจุดเด่นของมังคุดของสหกรณ์การเกษตรพรหมคีรี จำกัด จะมีลักษณะผิวมัน หูสวย ผลโต เปลือกบาง เนื้อในดี รสชาติหวานอร่อย แม้ว่าราคาจะสูงกว่ามังคุดทั่วไป แต่ก็สามารถขายได้หมด เพราะตลาดมีความต้องการบริโภคมังคุดที่มีคุณภาพ และเมื่อส่งไปขายที่ประเทศจีน เพื่อยกระดับสินค้าไปขายที่ตลาดบน ซึ่งต้องทำให้ลูกค้าตลาดบน พึงพอใจมากที่สุด ซึ่งปัจจุบันสมาชิกก็เข้าใจเป็นอย่างดีและหันมาทำมังคุดคุณภาพมากขึ้น นับว่าเป็นการสร้างโอกาสและช่องทางการตลาดและเป็นทางเลือกใหม่ให้กับสมาชิกมากขึ้นในการผลผลิตสินค้าคุณภาพเพื่อจะได้ราคาสูงขึ้น

ปัญหาภัยธรรมชาติในโลกมนุษย์ขณะนี้รุนแรงขึ้นทุกวัน
เราคงไม่สามารถไปต่อสู้กับสารพัดภัยธรรมชาติที่ประเดประดังเข้ามาได้

แต่เราสามารถเตรียมรับมือได้ หากตั้งอยู่บนความไม่ประมาท
หลายครั้งหลายหน ความสูญเสียเกิดจากความประมาท ความมักง่ายของมนุษย์ เราจึงได้ยิน คำว่า “วัวหายล้อมคอก” กันอยู่เรื่อยๆ แม้ภัยธรรมชาติทุกครั้งจะสร้างความเสียใจให้กับเราอย่างมากมาย
แต่ในระยะเวลาไม่นานก็มักจะเกิดเหตุการณ์เดิมๆ ซ้ำซากขึ้นมาอีก
สถานการณ์เรื่องน้ำก็เช่นกัน

หลายครั้งหลายหน เรียกได้ว่าบ่อยมาก หรือแทบจะทุกปี ประเทศเราสะบักสะบอมกับเรื่องน้ำ

โดยเฉพาะ เมื่อ ปี 2554 ทุกคนคงจะจำเหตุการณ์นั้นได้เป็นอย่างดี
หากมองย้อนกลับไป จะเห็นได้ว่าส่วนหนึ่ง ความสูญเสียเกิดจากความประมาท การคาดการณ์ผิด และการส่งสัญญาณเตือนไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

สำหรับปีนี้ หน่วยงานด้านบริหารจัดการน้ำ ต่างยืนยันว่า ปริมาณน้ำไม่มากเหมือน ปี 2554

แต่เมื่อมาถึง ณ วันนี้ เพิ่งเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนได้ไม่นานนัก
ปรากฏว่า ปริมาณน้ำในหลายเขื่อนเริ่มอยู่ในเกณฑ์น่าเป็นห่วง

ล่าสุด กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ จากสถานการณ์ฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักในบางแห่ง ส่งผลให้สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำหลายแห่งมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์ควบคุม มี 11 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล, น้ำอูน, น้ำพุง, จุฬาภรณ์, อุบลรัตน์, ลำปาว, ลำพระเพลิง, ป่าสักชลสิทธิ์, วชิราลงกรณ, แก่งกระจาน และปราณบุรี

สิ่งที่น่าเป็นห่วงตอนนี้ นอกจากการเร่งระบายน้ำ จะทำให้พื้นที่ปลายน้ำต้องได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง หนักขึ้นเรื่อยๆ แล้ว
ยังมีความกังวลความแข็งแรงของอ่างเก็บน้ำและเขื่อน

แม้ว่าเราจะเชื่อมั่นในความเอาจริงเอาจังของกรมชลประทาน และหน่วยงานด้านน้ำ แต่ก็อดเป็นห่วงไม่ได้ว่า ตลอดระยะเวลาฤดูฝนของปีนี้ จะสามารถรับมือได้ตลอดรอดฝั่งแค่ไหน

ต้องฝากถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วย โดยเฉพาะรัฐบาล
จะต้องไม่ประมาท ต้องเอาจริงเอาจังชนิดเข้มข้นเกี่ยวกับเรื่องน้ำในปีนี้

ทั้งการพยากรณ์อากาศ คำนวณปริมาณน้ำ การระบายน้ำ การเฝ้าระวัง การตรวจสอบและที่สำคัญคือการแจ้งเตือนก่อนภัยพิบัติจะมาถึงข้อมูลต่างๆ ข้อเท็จจริงจะต้องให้ประชาชนได้รับรู้รับทราบ อย่าปกปิด เพียงเพื่อเหตุผลใดๆ ก็ตาม

มิฉะนั้น ความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงจะหวนกลับมาอีก
และอาจจะหนักหนาสาหัสกว่าเดิม

เมื่อถึงเวลานั้นแล้ว จะมานั่งเสียใจกันภายหลัง
กลายเป็น “วัวหายล้อมคอก” ซ้ำซากเหมือนเดิมอีกไม่รู้จักจบสิ้น การเติบโตอย่างน่าประทับใจของกลุ่ม บริษัท KTIS แห่งประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงประโยชน์จากการลงทุนด้านเครื่องจักรอุปกรณ์สมัยใหม่ในการผลิตน้ำตาล ซึ่งรวมไปถึงรถตัดอ้อยของ
Case IH

การผลิตน้ำตาลเป็นความสำเร็จเชิงพาณิชย์ที่ยอดเยี่ยมด้านหนึ่งของประเทศไทย ในตลาดน้ำตาลทั่วโลก
ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับสองของโลกรองจากบราซิล และมีโรงงานผลิตน้ำตาลขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางเหนือ 200 กิโลเมตร กลุ่ม บริษัท KTIS เป็นเจ้าของโรงงานดังกล่าวพร้อมโรงงานอีก 2 แห่ง ของบริษัทได้เพิ่มผลผลิตของโรงงานเพื่อรองรับความต้องการที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทยอยเพิ่มกำลังการผลิตจาก ระดับ 11,500 ตัน ไปสู่ระดับ 88,000 ตัน ต่อวัน

การทำไร่อ้อยของเกษตรกรคู่สัญญา ของ KTIS ก็ได้ปรับเปลี่ยนจากการใช้แรงงานจำนวนมากมาใช้เครื่องจักรอุปกรณ์มากขึ้นเพื่อที่จะรองรับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นถึง 8 เท่า และอัตราผลผลิตที่สามารถนำส่งเข้าสู่โรงงานได้เพิ่มสูงขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นผลจากอุปกรณ์ อย่าง เช่น รถตัดอ้อย รุ่น Austoft®
A8000 ของ Case IH KTIS ได้รับประสบการณ์จากรถตัดอ้อย รุ่น Austoft 8000 ว่า เป็นอุปกรณ์ขั้นสูง มีผลิตภาพ และมีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในตลาดเป็นครั้งแรก

โดยในตอนแรกที่พิจารณาซื้อรถตัดอ้อยนั้น พวกเขายังดูต่อต้านเสียด้วยซ้ำ KTIS คำนวณว่าอุปกรณ์จะต้องสามารถเก็บเกี่ยวอ้อยได้ 300 ตัน ของต้นอ้อยต่อวัน เพื่อให้ได้รับความคุ้มค่าของอุปกรณ์ แต่เดิมแรงงาน 1 คน มีอัตราการเก็บเกี่ยวที่ 1 ตัน ต่อวัน หรือ 2 ตัน ถ้าเก็บเกี่ยวได้ง่ายขึ้น โดยการเผาไปด้วย
ซึ่งรถตัดอ้อยจะต้องทำงานให้ได้เท่ากับแรงงาน 150 คน ถึง 300 คน หากคิดว่าเครื่องเก็บเกี่ยวไม่มีทางทำได้ตามระดับอัตราผลผลิตดังกล่าว KTIS ก็จะเลิกพิจารณาซื้อทันที

ทั้งนี้ รถตัดอ้อยเครื่องแรกของบริษัทได้ซื้อเครื่องจักรมือสองมาจากออสเตรเลีย ซึ่งทำงานได้ตามเป้าหมายทั้งหมดของพวกเขา ปัจจุบัน KTIS ใช้เครื่องเก็บเกี่ยว Case IH มือหนึ่งที่ซื้อมาจากศูนย์กระจายสินค้าระดับภูมิภาคในกรุงเทพฯ ของ Case IH ซึ่งให้อัตราผลผลิตในการเก็บเกี่ยวที่ดีขึ้น ฤดูเก็บเกี่ยวมีข้อจำกัดของช่วงเวลาที่สั้น ซึ่งอยู่ที่ ประมาณ 130 วัน ซึ่งรถตัดอ้อยช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและปัญหาการเผาอ้อยซึ่งทำให้หน้าดินเกิดความเสียหายในเชิงความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นสาเหตุของมลพิษทางอากาศ การใช้เครื่องเก็บเกี่ยวจึงช่วยให้ผลต่อสภาวะโลกร้อนนั้นได้ลดลงอย่างมาก

เครื่องเก็บเกี่ยว Austoft 8000 Series เป็นเครื่องเก็บเกี่ยวที่ทำได้ตามความต้องการด้านประสิทธิภาพตลอดเวลาและอัตราผลผลิตได้มากที่สุดจากกลุ่มเครื่องเก็บเกี่ยวที่มีอยู่ทั้งหมด รถตัดอ้อย รุ่น 8000 Series
ออกแบบมาเพื่อการเก็บเกี่ยวในไร่แบบแถวเดียว ที่มีระยะห่างแถวที่ 1.5 เมตร หรือแบบแถวคู่ ซึ่งเหมาะสำหรับพื้นที่การผลิตขนาดใหญ่

โดยสามารถรองรับการผลิตได้ผลสูงสุดถึง 100 ตันอ้อย ต่อชั่วโมง สมรรถนะและความน่าเชื่อถือที่ยอดเยี่ยมของ Austoft 8000 มาจากการรวมกันของปัจจัยต่างๆ อันได้แก่ เครื่องยนต์ทรงพลัง ขนาด 353 แรงม้า พร้อมเทคโนโลยี Smart Cruise ซึ่งปรับความเร็วรอบ (rpm) ของเครื่องยนต์โดยอัตโนมัติ
การเน้นความสำคัญที่ระบบไฮดรอลิกน้อยลงและลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงได้สูงสุดถึง 0.7 ลิตร ต่อตันของต้นอ้อย ชุดตัวแยกใบอ้อย ขนาด 45 องศา พร้อมขอบหมุนวนตัวนอก ระบบการทำความสะอาด Antivortex ในชุดแยกขจัดตัวหลัก ความเร็วชุดตัวสับสูง ขนาด 205 รอบ ต่อนาที และขนาดมิติที่ใหญ่ของชุดตัวสับ แผ่นจานมีดตัดใกล้ระดับพื้นดิน และลูกกลิ้งตัวป้อนประสิทธิภาพการเก็บเกี่ยวที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยคุณลักษณะเพิ่มเติมของ Cruise Control

ซึ่งจะควบคุมและจดจำความเร็วบนพื้นดินโดยอัตโนมัติ และ Auto Tracker ในตัวซึ่งจะควบคุมความลึกใบมีดตัดที่ฐานโดยอัตโนมัติ ทำให้มั่นใจในการตัดที่ระดับใกล้พื้นดินที่แม่นยำและสม่ำเสมอโดย
มีการสูญเสียลำต้นอ้อยน้อยที่สุด ประสิทธิภาพเหล่านี้ช่วยลดความเสียหายของรากหน่ออ่อนโดยเฉลี่ยที่ 27% ลดการถอนรากที่ส่วนปลายของแถวได้ถึง 28% และลดการสูญเสียส่วนลำต้นของอ้อยโดยรวมได้ถึง 63% การเติบโตเชิงพาณิชย์ พร้อมกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างน่าประทับใจ กลุ่ม บริษัท KTIS สร้างการเติบโตทางธุรกิจโดยทำได้ตามมาตรฐานระหว่างประเทศทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง โรงงานน้ำตาลรวม

ผลของ KTIS ที่อยู่ในจังหวัดนครสวรรค์มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากระดับ 500 ไปสู่ 15,000 ตัน ต่อวัน
ส่วนโรงงานไทยเอกลักษณ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ได้เพิ่มกำลังการผลิต จากระดับ 6,000 ไปสู่ 18,000 ตัน ต่อวัน และโรงงานเกษตรไทยฯ ในจังหวัดกาญจนบุรี เริ่มต้นจากกำลังการผลิต ที่ระดับ 5,000 ตัน ต่อวัน และต่อมาได้ย้ายที่ตั้งไปที่จังหวัดนครสวรรค์ เพิ่มกำลังการผลิตไปสู่ระดับ 12,000 ตัน ต่อวัน และ 55,000 ตัน ต่อวัน ในปัจจุบัน โดยปัจจุบัน KTIS ใช้รถตัดอ้อย จำนวน 120 คัน เพื่อป้อนวัตถุดิบให้กับโรงงานน้ำตาล และมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าวเป็นรถตัดอ้อย ของ Case IH

คุณประพันธ์ ศิริวิริยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS ผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ให้ความคิดเห็นว่า : “รถตัดอ้อย ของ Case IH เป็นเครื่องที่มีคุณภาพสูง จัดการได้ง่าย และดูแลรักษาง่าย

นอกจากนี้ ยังเพิ่มการรับประกันด้วยบริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยมด้วย มีทีมผู้เชี่ยวชาญเครื่องเก็บเกี่ยวโดยเฉพาะ และอะไหล่ที่พร้อมให้บริการอย่างรวดเร็วเมื่อต้องการ อีกทั้งทีมฝ่ายบริหารของ Case ก็ ‘รับฟังความคิดเห็นของลูกค้า’ นั่นก็ทำให้เราพึงพอใจมาก” Case IH ได้เปิดศูนย์กระจายสินค้าใหม่ในกรุงเทพฯ เมื่อปีที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนผู้ใช้เครื่องเก็บเกี่ยวและอุปกรณ์การเกษตรอื่นๆ สำหรับชาวไทย
การเปิดศูนย์ดังกล่าวเป็นการให้ความมั่นใจว่า ลูกค้าสามารถเข้าถึง

การกระจายอะไหล่ บริการ และคำแนะนำทางเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญของเราได้โดยตรง นอกจากจะเป็นการตระหนักถึงความสำคัญของตลาดภายในประเทศแล้ว โครงการนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ของ Case IH เพื่อทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านเครื่องจักรเก็บเกี่ยวอ้อยระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

มาตรฐานระดับสูงของ KTIS ก็เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมเช่นกัน กลุ่มบริษัทนี้ยังเป็นเจ้าของและดำเนินงานโรงไฟฟ้า 3 แห่ง โดยแต่ละโรงตั้งอยู่ติดกับโรงงานน้ำตาลแต่ละแห่งของพวกเขา กำลังการผลิตไฟฟ้ารวมกัน 160 เมกะวัตต์ ซึ่งมีสัญญาขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
และส่วนหนึ่งของไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็ป้อนให้โรงงานน้ำตาลทั้ง 3 แห่ง รวมถึงโรงเยื่อกระดาษที่ทำมาจากชานอ้อย ซึ่งช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง เพราะสามารถลดการตัดต้นไม้ได้ถึงปีละ 32 ล้านตัน และผลิตภัณฑ์ยังเป็น Food Grade อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมี บริษัท เคทิส ไบโอเอทานอล ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม KTIS เป็นผู้ผลิตเอทานอลด้วยกำลังการผลิต 230,000 ลิตร ต่อวัน และใช้น้ำกากส่าซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตเอทานอลนำมาผลิตก๊าซชีวภาพป้อนเป็นเชื้อเพลิงให้กับหม้อต้มไอน้ำในโรงงานเอทานอล อีกทั้งยังมีการใช้ประโยชน์จากกากตะกอนหม้อกรองซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตน้ำตาล โดยนำมาผสมกับสารจุลินทรีย์ต่างๆ

เพื่อเป็นประโยชน์ในการผลิตวัสดุปรับปรุงดินอีกด้วย คุณประพันธ์ บอกว่า กระบวนการที่เชื่อมโยงระหว่างกันนี้ส่งผลให้เกิด “ของเสียเป็นศูนย์” สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงผลดีสำหรับธุรกิจและสภาพแวดล้อม และส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะการใช้เทคโนโลยี อย่างเช่น การใช้รถตัดอ้อย ของ Case IH

Case IH เป็นทางเลือกที่โดดเด่นสำหรับมืออาชีพ ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานและประสบการณ์ในอุตสาหกรรมการเกษตรมากกว่า 175 ปี กลุ่มผลิตภัณฑ์รถแทรกเตอร์ รถเกี่ยวนวด และรถทำฟ่อนฟางอันทรงพลังที่หลากหลายของเราได้รับการสนับสนุนด้วยเครือข่ายตัวแทนจำหน่ายระดับมืออาชีพที่มีประสบการณ์สูงของเราที่อุทิศตัวเพื่อมอบการสนับสนุนและโซลูชั่นผลิตภัณฑ์ที่มีสมรรถนะสูงสุดที่จำเป็นสำหรับความต้องการด้านผลผลิตและประสิทธิภาพการทำงานในยุคศตวรรษที่ 21 ให้กับลูกค้าของเรา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการของ Case IH โปรดดูทางออนไลน์ได้ที่ www.caseih.com

ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย ดร.ศิริพร ลาภเกียรติถาวร ผู้อำนวยการ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ วว. และทีมนักวิจัย นำผลงานวิจัยเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ยางพาราด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์สำหรับผลิตจำหน่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศ ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ เนื่องในโอกาสสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) แถลงข่าวการจัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2561 (Thailand Research Expo 2018) วันที่ 1 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

ทั้งนี้ มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2561 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-13 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์ โดย วว. จะนำผลงานวิจัยเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการ พร้อมการบรรยายพิเศษ เพื่อเผยแพร่ผลงานที่เป็นประโยชน์สู่สาธารณชนต่อไป ดังนี้

แปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพารา แบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1.1 ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

ที่นอนและหมอนยางพาราเพื่อการสุคนธบำบัด ที่นอนและหมอนยางพาราเพื่อการสุคนธบำบัด ใช้เทคโนโลยีด้านนวัตกรรมวัสดุร่วมกับการใช้กลิ่นที่สกัดจากพืชชนิดต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมให้นอนหลับง่าย ปรับอารมณ์ให้สมดุลและสงบ ช่วยผ่อนคลาย อาทิ กลิ่นหญ้าแฝก กลิ่นมะลิ เป็นต้น ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับน้ำยางพาราได้ 3-5 เท่า

แผ่นกันลื่นจากยางพาราสำหรับพรมอเนกประสงค์ ใช้เทคโนโลยีเคลือบยางบนผ้าเพื่อผลิตแผ่นกันลื่น ซึ่งช่วยให้แผ่นพรมอเนกประสงค์สามารถยึดเกาะกับพื้นได้ดี ไม่ก่อให้เกิดการลื่นล้มได้ง่าย ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับน้ำยางพาราได้มากกว่า 10 เท่า ช่วยลดการนำเข้าแผ่นกันลื่นจากต่างประเทศและเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันทางธุรกิจได้ดีอีกด้วย

เครื่องขึ้นรูปแผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ สำหรับใช้พิมพ์รูปเท้าเฉพาะของแต่ละบุคคล โดยนำน้ำยางพารามาพัฒนาเป็นถุงแบบพิมพ์รอยเท้า เพื่อใช้ในการทำแผ่นเสริมรองเท้าให้เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีลักษณะเท้าไม่เข้ากับมาตรฐานหรือกลุ่มลูกค้าที่ต้องการดูแลสุขภาพและเล่นกีฬา ช่วยส่งเสริมให้เกิดมูลค่าของน้ำยางพาราได้ถึง 10 เท่า มีต้นทุนการผลิตเครื่องถูกกว่าท้องตลาด 75% ทดแทนการนำเข้าที่มีราคาหลายแสนบาท

แผ่นยางปูพื้น ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติเป็นไปตาม มอก.2377-2551 ช่วยลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์แผ่นยางปูพื้น ปัจจุบันนำผลิตภัณฑ์ไปใช้งานจริงที่โรงพยาบาลวังจันทร์ จ.ระยอง เพื่อใช้ฝึกกายภาพสำหรับหัดเดินของผู้ป่วยและพัฒนาการเด็ก ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับยางพาราได้ 4 เท่า

1.2 ผลิตภัณฑ์เพื่อเกษตรกรรม

ถุงมือผ้าเคลือบยาง น้ำยางจะช่วยเพิ่มความทนทานให้แก่ถุงมือ ทำให้ถุงมือผ้าเคลือบยางมีคุณสมบัติป้องกันการบาดคม บาดเฉือน ลดแรงกระแทก กันลื่น นำไปใช้ในงานด้านเกษตรกรรม ประมง ก่อสร้างและอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับน้ำยางพาราได้มากกว่า 10 เท่า และน้ำยาง 1 กิโลกรัมสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตถุงมือผ้าเคลือบยางได้ถึง 30 คู่

ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1. ชั้นป้องกันการกัดเซาะจากบล็อกประสานรูปแบบใหม่ที่ปรับปรุงคุณสมบัติด้วยน้ำยางพารา 2. ชั้นกรองจากผ้าเคลือบน้ำยางพารา สามารถส่งเสริมให้เกิดการสะสมและสร้างชั้นตะกอนดินบนแผ่นวัสดุ ซึ่งพืชสามารถเจริญเติบโดยมีรากช่วยยึดโยงเสริมความแข็งแรงให้กับแนวตลิ่งได้ และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับน้ำยางพาราได้ 2-3 เท่า

เครื่องชุบเคลือบถุงมือผ้าด้วยยางพาราแบบกึ่งอัตโนมัติ การทำงานของเครื่องมีการเคลื่อนที่แบบวงกลมเป็นจังหวะ โดยจังหวะหยุดการเคลื่อนที่เป็นจังหวะที่ใช้ในการจุ่มสารเคลือบและขั้นตอนการจุ่มน้ำยาง ซึ่งใช้ระยะเวลา 15-20 วินาที ต่อคู่ มีกำลังการผลิต 300 คู่ ต่อ 8 ชั่วโมง

การถ่ายทอดเทคโนโลยี เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน/OTOP และผู้ประกอบการ SME มากกว่า 5 เรื่อง จำนวนเกษตรกร/ผู้ประกอบการได้รับการอบรมมากกว่า 500 คน ทำให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่มากกว่า 10 รายครอบคลุมทุกภาคในประเทศ

ผลกระทบที่ได้รับ

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ

– สร้างมูลค่าเพิ่มยางพาราด้วยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์

– ช่วยแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ

– ลดการนำเข้าของผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ

ผลกระทบทางสังคม ช่วยให้ชาวสวนยางพาราและคนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ผลกระทบด้านเกษตรกรรม สร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกรจากการขายยางพารา ผลกระทบด้านอุตสาหรรม เกิดผู้ประกอบการใหม่ เช่น ถุงมือผ้าเคลือบยาง หมอนเพื่อการสุคนธบำบัด และแผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ

กระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้าผลักดันสินค้าเกษตรแปรรูป ผ่านโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค OPOAI 4.0 ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน กว่า 10 ปีแล้วที่โครงการโอปอยเข้าไปช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ SMEs ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 200 ล้านบาท ผ่านแผนงานของโครงการ 7 แผนงาน ซึ่งในแต่ละแผนงานมุ่งหวังให้สถานประกอบการสามารถแข่งขันได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การดำเนินงานของโครงการโอปอย จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) ทีมงานที่ปรึกษา และสถานประกอบการที่จะต้องผสานความร่วมมือกันในการดำเนินโครงการ โดย สอจ. จะทำหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือ ติดตาม และประสานงาน ส่วนทีมงานที่ปรึกษาจะเป็นผู้ที่เข้าไปให้คำปรึกษาแก่สถานประกอบการ สำหรับสถานประกอบการมีหน้าที่ให้รายละเอียดแก่ทีมงานที่ปรึกษา และร่วมกันแก้ไข ดำเนินการปรับปรุงตามคำแนะนำของที่ปรึกษา รวมทั้ง ทีมที่ปรึกษายังได้จัดทำแผนการดำเนินงาน ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อให้สถานประกอบการนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอดได้ด้วยตนเอง

10 ปีที่ผ่านมา โครงการสามารถลดต้นทุน เพิ่มรายได้ให้สถานประกอบการคิดเป็นมูลค่ากว่า 4,914 ล้านบาท จากวงเงินงบประมาณรวมทั้งหมดที่ได้รับ 394.60 ล้านบาท ให้ผลประโยชน์มากถึง 12.45 เท่าของวงเงินงบประมาณ มีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการโอปอยจำนวนกว่า 1,505 ราย เฉลี่ยได้แล้วแต่ละรายสามารถลดต้นทุนเพิ่มรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มได้เฉลี่ยรายละ 3.27 ล้านบาท ซึ่งหากผู้ประกอบการแต่ละรายยังคงดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง หรือนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอดก็จะสามารถลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ในแต่ละปีให้กับสถานประกอบการได้มากทีเดียว

กระทรวงอุตสาหกรรม หวังว่าโครงการโอปอยจะเป็นหนึ่งในโครงการเล็กๆ ที่จะช่วยผลักดันให้สินค้าเกษตรแปรรูปของไทยก้าวสู่ Industry 4.0 และผู้ประกอบการยังสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทุกจังหวัด หรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

“โอ๊ะมื่อโชเปอ” คำกล่าวสวัสดีของชาวปกากะญอ เมื่อพบฝรั่งยิ้มกว้าง “แดเนียล เฟรเซอร์” เป็นครั้งแรก ในหมู่บ้านขุนแปะ หมู่บ้านเล็กๆ ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีวิถีชีวิตสุดเรียบง่ายและแสนอบอุ่น ทำอาชีพเกษตรกรรม ทอเสื้อผ้าใส่เอง

พิธีกรฝรั่ง “แดเนียล” สัมผัสวิถีชาวปกากะญอ แห่งบ้านขุนแปะ หมู่บ้านแห่งนี้มีวิถีชีวิตสุดเรียบง่าย ทำอาชีพเกษตรกรรม ปลูกข้าว ปลูกผัก ไว้รับประทานเอง นอกจากนี้ ยังทอผ้าทำเครื่องนุ่งห่มไว้ใส่เองอีกด้วย ซึ่งเสื้อผ้าของชาวปกากะญอนั้นแฝงไปด้วยความหมาย เช่น ผู้หญิง ถ้าใส่สีดำหมายถึงแต่งงานแล้ว และไม่สามารถกลับมาใส่สีขาวได้อีก ส่วนผู้ชายจะนิยมใส่สีแดง แต่สามารถเลือกใส่สีต่างๆ ได้ตามความชอบ เป็นวัฒนธรรมเล็กๆ น่ารักๆ ของชาวปกากะญอ จากนั้นไปทำความรู้จักกับเมนูพื้นบ้านชื่อแปลก “ต่าพอเพาะ” หรือ “ข้าวเบ๊อะ” ชิมสมุนไพรพื้นบ้าน และถั่วเน่า ที่เปรียบเสมือนปลาร้านั่นเอง

สถ.ได้รับแจ้งจากสธ.ว่า ได้จัดทำโครงการรณรงค์ “อาสาปราบยุงควบคุมโรคไข้เลือดออก” โดยมี พล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมมอบนโยบาย และเปิดโครงการ โดยมีข้อสั่งการให้ขอความ ร่วมมือทุกอปท. สนับสนุนทรัพยากรในการควบคุมโรคให้เพียงพอ โดยใช้งบประมาณของท้องถิ่นและกองทุนสุขภาพตำบล

จึงขอความร่วมมือจังหวัดแจ้งอปท.ดังนี้ นำชุมชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทุกสัปดาห์ อปท.เป็นหน่วยงานรับผิดชอบร่วมกับร.พ.ส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาปราบยุง

รวมทั้งรณรงค์ในศาสนสถานทุกสัปดาห์ และให้อปท.ประชาสัมพันธ์เน้นย้ำแก่ประชาชนในพื้นที่ เมื่อมีไข้อย่าซื้อยามากินเอง โดยไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์
ความร่วมมือ “ข่าวสด” กรมส่งเสริม

พิจิตร – นายยลวัตร และ นางประไพร นามโฮง บ้านเลขที่ 409 หมู่ที่ 8 ตำบลแหลมรัง อำเภอบึงนาราง กล่าวว่า ปลูกยางพาราในพื้นที่ 5 ไร่ เป็นเวลา 13 ปีแล้ว มีรายได้ไม่ถึง 1 หมื่นบาท ขาดทุนย่อยยับ พอรัฐบาลมีโครงการลดพื้นที่การปลูกยางจึงเข้าโครงการ เนื่องจากทนพิษสภาวะเศรษฐกิจไม่ไหว ราคายางตกต่ำ ลำบากมากหากทำไปต้องอดตาย

ด้าน นายกิตติชาติ ชาติยานนท์ เกษตรจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า พิจิตรมีพื้นที่ปลูกยาง 4,579 ไร่ เป็นเกษตรกร 208 ราย แต่มีขึ้นทะเบียนกับทางราชการแค่เพียง 1,801 ไร่ เป็นเกษตรกร 132 ราย อีกทั้งมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืนด้วยการจะโค่นต้นยางทิ้งแล้วปลูกพืชอย่างอื่น 14 ราย จำนวน 119 ไร่ ซึ่งจะได้รับเงินทุนอุดหนุนไร่ละ 10,000 บาท แต่ไม่เกิน รายละ 10 ไร่ โดยต้นยางต้องมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 25 ปี มีต้นยางเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 25 ต้น ต่อไร่