ทั้งนี้ เพื่อรับมือกับสภาวะแล้งและอุทกภัยที่รุนแรงอันเกิดจาก

การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เกิดขึ้นรวดเร็ว รัฐบาลต้องเร่งนำนวัตกรรมทางการเกษตรเข้ามาใช้ในภาคการเกษตร เพื่อติดอาวุธให้เกษตรกรไทย รวมถึงสร้างศักยภาพเพาะปลูก ดูแลผลผลิต และลดการสูญเสีย เนื่องจากภัยแล้งและน้ำท่วม ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ปัจจัยที่ท้าทายเหล่านี้ เป็นเรื่องด่วนที่ต้องนำมาใช้เพื่อการปฏิรูปภาคการเกษตร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่ง ลดต้นทุน ให้เกษตรกรรายย่อย และขนาดกลาง มีรายได้เพิ่มขึ้น ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งหนึ่งในสามของประชากรไทยอยู่ในภาคเกษตรกรรม

จากแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติและนโยบายประเทศไทย 4.0 หากรัฐบาลใช้นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มาใช้ในภาคการเกษตร ตามมาตรฐานที่เป็นระดับสากล อาทิ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice หรือ GAP) เป็นวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการผลิตอาหารที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืน เพื่อการบริโภคในประเทศและเพื่อการส่งออก การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและโดรนในวงการเกษตร รวมถึงความก้าวหน้าทางการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชคุณภาพ การอารักขาพืชผลทางการเกษตร และการทำฟาร์มแบบยั่งยืน เป็นต้น ถือเป็นการติดเครื่องมือให้กับเกษตรกรเพื่อเอาชนะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

“ไททา ในฐานะตัวแทนบริษัทอุตสาหกรรมพืชศาสตร์ มุ่งเน้นการวิจัย และพัฒนา ปรับปรุงด้านการเกษตรทุกมิติ ภายใต้งบประมาณ มากกว่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 10,000 ล้านบาท ต่อปี ยินดีให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการเป็นพี่เลี้ยงในการส่งเสริม สนับสนุนให้เกษตรกรไทยมีความรู้ และใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตด้านการเกษตร ซึ่งมั่นใจว่าเกษตรกรในท้องถิ่น ธุรกิจการเกษตรและผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการลงทุนครั้งยิ่งใหญ่นี้”

นางวรณิกา กล่าวว่า การพัฒนาความก้าวหน้าทางการเกษตร ในการเพิ่มความแม่นยำและประสิทธิภาพในการทำการเกษตรอย่างเห็นได้ชัด โดยเทคโนโลยีโดรนถือเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเพิ่มความปลอดภัยและความแม่นยำของการอารักขาพืช และยังช่วยดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้หันมาทำงานในการเกษตรแบบก้าวหน้าได้เป็นอย่างดี เกษตรกรจำเป็นต้องเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ เช่นเดียวกับนวัตกรรมก่อนหน้าเช่น ผลิตภัณฑ์อารักขาพืชที่สร้างสรรค์มาเพื่อให้พวกเขามีความเป็นอยู่ที่ดีและเพื่อช่วยพิทักษ์ผลิตผลทางการเกษตรจากศัตรูพืชที่เข้าทำลายเช่น หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด

อย่างไรก็ตาม ไททาหวังว่ารัฐบาลจะทำการหารือกับเกษตรกรและผู้มีส่วนได้เสียในภาคเกษตรในการตัดสินใจสำคัญๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาและยกระดับภาคการเกษตร นำไปสู่การลงทุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตร เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลกของประเทศ

เกษตรฯ รวมศูนย์ข้าวชุมชน เร่งเครื่องเพิ่มศักยภาพผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี 2 แสนตัน ภายในปี 63 รองรับความต้องการใช้ในประเทศ พร้อมผนึกเครือข่ายเชื่อมโยงการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

นายประภัตร โพธสุธน รมช. เกษตรฯ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดการสัมมนาเชื่อมโยงเครือข่ายประธานศูนย์ข้าวชุมชนระดับเขต พร้อมมอบนโยบายแนวทางการทำงาน ณ โรงแรม ดิ ไอเดิล เซอร์วิส เรสซิเดนซ์ จ.ปทุมธานี ว่า ศูนย์ข้าวชุมชนมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาการผลิตข้าวและชาวนา และผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไว้ใช้เองอย่างเพียงพอในชุมชน เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดี ที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับเรื่องข้าวมาโดยตลอด ชาวนาจึงเปรียบเสมือนผู้สร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศ อีกทั้ง กระทรวงเกษตรฯ ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและเพิ่มเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ ที่จะสามารถช่วยให้การเพาะปลูกได้ผลผลิตดียิ่งขึ้น

รัฐบาลต้องการสร้างระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของประเทศให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง โดยศูนย์ข้าวชุมชนคือส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จ จึงต้องร่วมมือกันในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ให้เพียงพอกับความต้องการใช้ในแต่ละปี โดยกระทรวงเกษตรฯ พร้อมจะสนับสนุนเครื่องมือต่างๆ อาทิ เครื่องคัดแยกเมล็ด เครื่องอบลดความชื้นข้าวเปลือก รวมไปถึงการสร้างแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการทำนาให้กับศูนย์ข้าวชุมชนแต่ละพื้นที่ เป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากภัยแล้งได้ รวมทั้งยังเป็นแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค ในหมู่บ้านได้อีกด้วย

สำหรับความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของไทยนั้น มีปริมาณสูง ประมาณ 1.4 ล้านตัน ต่อปี เพื่อใช้เพาะปลูกในพื้นที่นา ประมาณ 60 ล้านไร่ อย่างไรก็ตาม เมล็ดพันธุ์ข้าวสามารถใช้ปลูกต่อเนื่องได้ประมาณ 3 ครั้ง จากนั้นต้องเปลี่ยนชุดใหม่ จึงมีความต้องการเป็นจำนวนมากเกินศักยภาพของส่วนราชการที่จะผลิตได้ ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ จึงได้สนับสนุนและส่งเสริมให้ชาวนาในแต่ละท้องถิ่นรวมตัวกันตั้งเป็นศูนย์ข้าวชุมชนทำหน้าที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีบริการประชาชน

รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาข้าวและชาวนาในท้องถิ่นนั้นๆ โดยให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการ และปัจจัยการผลิตที่จำเป็นแก่ศูนย์ฯ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2543 ของกรมส่งเสริมการเกษตร และต่อมาปี 2549 กรมการข้าว ได้ดำเนินการต่อ ปัจจุบันมีการขึ้นทะเบียนศูนย์ข้าวชุมชนแล้วทั้งสิ้น 2,028 ศูนย์ กระจายอยู่ในแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญทั่วประเทศ มีสมาชิกรวม 61,680 ราย สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีบริการชาวนาได้ปีละประมาณ 100,000 ตัน

อย่างำรก็ตามเมล็ดพันธุ์เปรียบเสมือนต้นน้ำ ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพก่อนถึงมือเกษตกรเพื่อนำไปเพาะปลูก พร้อมกันนี้ได้ตั้งเป้าหมายการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพให้เพิ่มขึ้นจากเดิม 85,000 ตันต่อปี เป็น 200,000 ตัน ต่อปี ภายในปี 2563 โดยจะสนับสนุนเครื่องมือที่จำเป็น นอกจากนี้ ต้องหาตลาดที่มีคุณภาพ สามารถติดต่อซื้อขายกับผู้ซื้อได้โดยตรง โดยการทำระบบซื้อขายออนไลน์ มีระบบตรวจสอบย้อนกลับเพื่อทราบแหล่งที่มา พร้อมกับติดโลโก้เครื่องหมาย Q บนสินค้าเพื่อเป็นการยกระดับเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ได้มาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัยผ่านการรับรองจากกระทรวงเกษตรฯ สร้างความน่าเชื่อถือ และสร้างมูลค่าให้กับสินค้าได้

นายประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว กล่าวเพิ่มเติมว่า ศูนย์ข้าวชุมชนนับเป็นองค์กรชาวนาที่มีความเข้มแข็ง มั่นคง และมีความก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารจัดการองค์กรอย่างเป็นระบบ โดยมีคณะกรรมการบริหารงานในทุกระดับ คือ ระดับจังหวัด เขต และประเทศ ซึ่งการสัมมนาในครั้งนี้ กรมการข้าวได้เชิญประธานศูนย์ข้าวชุมชนรวมทั้งสิ้น 8 เขต และเจ้าหน้าที่รวม 282 คน เข้าร่วมสัมมนาเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายในการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 15-18 ก.ย. 62 ณ โรงแรมดิไอเดิล เซอร์วิส เรสซิเดนซ์ จ.ปทุมธานี

โดยคาดหวังว่าการสัมมนาในครั้งนี้ศูนย์ข้าวชุมชนจะมีแผนและเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมและมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ รวมทั้งมีการเชื่อมโยงเครือข่ายในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป นอกจากนี้ ภายในงานประกอบด้วย การอภิปรายเรื่อง แนวทางการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีของศูนย์ข้าวชุมชนและการเตรียมความพร้อมสู่นาแปลงใหญ่ การบรรยายพิเศษโดยมีหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ เทคโนโลยีการเกษตรและระบบสารสนเทศทางการเกษตร แนวทางการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีของศูนย์ข้าวชุมชน และการสนับสนุนแหลล่งเงินทุนและปัจจัยการผลิต เป็นต้น

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ขอเชิญผู้ประกอบการในกลุ่มผู้ผลิตอาหารฟังก์ชั่น อาหารผู้สูงอายุ และอาหารเพื่อสุขภาพ เข้าร่วมสัมมนา Functional Food: Trend of Future – Health Claim – Market Strategy ในวันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2562 เวลา 08.30 – 16.00 น. ณ โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ

งานสัมมนาที่จะช่วยให้ผู้ผลิตอาหารฟังก์ชั่นได้ข้อมูลครบทุกมิติ ทั้งทิศทางสินค้าอาหารฟังก์ชั่นจากข้อมูลเจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภค แนวโน้มเทคโนโลยีนวัตกรรมอาหารสุขภาพจากการวิเคราะห์แผนที่สิทธิบัตรเพื่อค้นหาโอกาสในการทำตลาดอาหารฟังก์ชั่น พร้อมเข้าใจหลักคิดและข้อกำหนดของ อย. และความเข้าใจที่ผู้ผลิตอาหารควรรู้เกี่ยวกับแนวทางทำธุรกิจอาหารฟังก์ชั่นและ อาหารสำหรับผู้สูงอายุ รับจำนวนจำกัดเพียง 50 ท่าน (1 บริษัท ไม่เกิน 2 คน) ค่าลงทะเบียนท่านละ 700 บาท (รวม Vat 7%) โอนผ่านธนาคารกรุงเทพ สอบถาม โทร. (02) 564-7000 ต่อ 1388 หรือสมัครได้ที่ https://forms.gle/bc146Jr1Ubdjo239A

นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์ “รู้ฉลาก กินฉลาด ลดโซเดียม เพื่อสุขภาพ” จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พร้อมมอบประกาศนียบัตร แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการร่วมเป็นภาคีให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในการลดปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป โดยมี นางสาวชลิตา กลัดนิ่ม รองกรรมกรรมผู้จัดการ สำนักพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป เป็นตัวแทนบริษัทรับมอบ ณ ศูนย์การค้า เอ็มบีเค เซ็นเตอร์

ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับแนวโน้มความต้องการผู้บริโภคที่เน้นเรื่องคุณค่าทางโภชนาการ ควบคู่กับคุณภาพและรสชาติของอาหาร บริษัทฯ จึงทุ่มเทวิจัยและพัฒนาอาหารทุกเมนูด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย จากศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารซีพีเอฟ (CPF Food Research and Development Center) ให้เหมาะสมกับสุขโภชนาการและความต้องการอาหารของผู้บริโภคในแต่ละช่วงวัย ภายใต้ “หลักปฏิบัติในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น” (CPF Healthier Choice Principle) โดยมีเป้าหมาย ในปี 2563 จะวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นร้อยละ 30 ของผลิตภัณฑ์อาหารใหม่

ซีพีเอฟ ร่วมมือกับ อย. ในโครงการ “มาตรการการปรับลดปริมาณเกลือหรือโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหารเชิงสมัครใจ” เพื่อแสดงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ส่งเสริมให้คนไทยใส่ใจในการดูแลสุขภาพ ด้วยการร่วมรณรงค์ให้ผู้บริโภคเกิดความตระหนักรู้ ในการลดการบริโภคเกลือหรือโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหาร และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง (NCDs) ตอบรับนโยบายสุขภาพคนไทยดีถ้วนหน้าของกระทรวงสาธารณสุข

ผลิตภัณฑ์ ซีพี บาลานซ์ (CP Balance) เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่ช่วยสร้างสมดุล ให้ผู้บริโภคได้คุณค่าโภชนาการครบห้าหมู่ แคลอรีต่ำ และที่สำคัญมีใยอาหาร (ไฟเบอร์) สูง ขณะที่ปริมาณโซเดียม และไขมันอิ่มตัวต่ำ ซึ่งผู้บริโภคสามารถอ่านฉลากคุณค่าทางโภชนาการบนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งแสดงให้ผู้บริโภคทราบถึงพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมของอาหารในการตัดสินใจเลือกบริโภค

ซีพี บาลานซ์ มีทั้งหมด 7 เมนู อาทิ ข้าวกล้องแกงส้มปลาแพนกาเซียสดอรี่ ข้าวกะเพราอกไก่นุ่ม ข้าวน้ำพริกอกไก่ ข้าวกล้องต้มทรงเครื่อง โดย เมนูข้าวอบธัญพืชและไก่เป็นผลิตภัณฑ์แรกในกลุ่มที่ได้รับสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพของ อย. ส่วนเมนูอื่นๆ อยู่ระหว่างการขอรับการรับรองต่อไป เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพ วางจำหน่ายในร้าน ซีพี เฟรชมาร์ท และร้านสะดวกซื้อ seven-eleven

นายประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า ในช่วงระยะเวลานี้ ได้เกิดอุทกภัยขึ้นในหลายพื้นที่ สร้างความเสียหายให้แก่ชาวนาเป็นจำนวนมาก กรมการข้าวจึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ดูแลชาวนาอย่างใกล้ชิด ทั้งที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และเฝ้าระวังพื้นที่อื่นๆ ที่อาจมีการระบาดของแมลงศัตรูข้าวซ้ำเติมชาวนาเพิ่มมากขึ้น ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีจึงได้ทำการติดตั้งเครื่องกับดักแสงไฟนีออน บริเวณแปลงขยายพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ซึ่งข้าวอยู่ในระยะแตกกอและเริ่มตั้งท้อง จำนวน 3 จุด

พบว่า เครื่องกับดักแสงไฟนีออน 3 เครื่อง ต่อคืน พบแมลงหล่า ประมาณ 900-1,500 ตัว และพบแมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ประมาณ 1,500-2,100 ตัว ต่อคืน จึงจัดอยู่ในระดับการระบาดรุนแรง ดังนั้น เกษตรกรผู้ปลูกข้าวจึงควรเฝ้าระวังและสำรวจแปลงนาอยู่เสมอ หากพบแมลงหล่าหรือเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้รีบป้องกันและทำลายเพื่อไม่ให้เกิดการระบาด

แมลงหล่า Scotinophara coarctata (Fabricius) เป็นมวนชนิดหนึ่ง มีลักษณะค่อนข้างกลมคล้ายโล่ ด้านหัวและอกเป็นรูปสามเหลี่ยม ลำตัวมีสีน้ำตาลหรือดำเป็นมันวาว ยาว 7-8 มิลลิเมตร กว้าง 4-5 มิลลิเมตร เพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย ชอบอาศัยรวมกลุ่มที่โคนต้นข้าวเหนือระดับน้ำในตอนกลางวัน ส่วนกลางคืนจะเคลื่อนย้ายขึ้นบนต้นข้าว ตัวเต็มวัยมีอายุนานถึง 214 วัน อยู่ข้ามฤดูหนาวหรือฤดูแล้ง โดยฟักตัวอยู่ในร่องระแหงดินในที่มีหญ้าชื้น เมื่อสภาพภูมิอากาศเหมาะสมจะบินเข้าแปลงนา ตัวเต็มวัยสามารถอพยพได้ระยะทางไกลๆ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นข้าว ทำให้บริเวณที่ถูกทำลายเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเหลือง ขอบใบข้าวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำคล้ายข้าวเป็นโรคไหม้ ชอบทำลายในระยะข้าวแตกกอ ทำให้กอข้าวมีอาการแคระแกร็น มีสีเหลืองหรือเหลืองแกมน้ำตาล และการแตกกอลดลง ถ้าทำลายหลังระยะข้าวตั้งท้องจะทำให้รวงข้าวแกร็น ออกรวง ไม่สม่ำเสมอและเมล็ดลีบ

วิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้ 1. สำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ 2. ใช้แสงไฟฟ้าล่อแมลงและทำลายในช่วงที่มีการระบาด เนื่องจากแมลงหล่าชอบบินมาเล่นแสงไฟเวลากลางคืน 3. ปลูกข้าวที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น เพื่อลดการเพิ่มประชากรในนาข้าว 4. กำจัดวัชพืชที่ขึ้นหนาแน่นในนาข้าวเพื่อให้นาข้าวโปร่งแสงแดดส่องถึงโคนต้นข้าว ทำให้สภาพนาข้าวไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัยของแมลงหล่า 5. พื้นที่ระบาดที่สามารถไขน้ำเข้านาได้ ให้ไขน้ำเข้าท่วมโคนต้นข้าว เพื่อให้นาข้าวไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการเข้าทำลายของแมลงหล่า 6. ถ้าพบแมลงหล่ามากกว่า 5 ตัว ต่อกอ ควรใช้สารเคมีกำจัดแมลง คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์ 20% อีซี) อัตรา 80 มิลลิเมตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเฉพาะจุดที่มีการระบาดโดยพ่นบริเวณโคนต้นข้าว

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata lugens (Stal) เป็นแมลงปากดูด ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลถึงน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว และชนิดปีกสั้น

ชนิดปีกยาวสามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกลโดยอาศัยกระแสลมช่วย ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่วางไข่ที่กาบใบข้าวหรือเส้นกลางใบ บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้งคล้ายกล้วยหอม มีสีขาวขุ่น ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ใน 1 ฤดูปลูกข้าวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัย (generation) เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทําลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์ท่อน้ำ ท่ออาหารบริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทําให้ต้นข้าวมีใบเหลืองและแห้งตายคล้ายถูกน้ำร้อนลวกเป็นหย่อมๆ เรียก “อาการไหม้ (hopperburn)” โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวง นอกจากนี้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเป็นพาหะนําเชื้อไวรัสโรคใบหงิก (rice ragged stun) มาสู่ต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็น ต้นเตี้ย ใบสีเขียวแคบและสั้น ใบแก่ช้ากว่าปกติ ปลายใบบิดเป็นเกลียวและขอบใบแหว่งวิ่น

การป้องกันและควบคุมปริมาณของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล สามารถทำได้ดังนี้ คือ 1. หมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้รีบกำจัด ถ้าเกิดการระบาดให้ปฏิบัติตามคำแนะนำการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ของกรมการข้าว และงดการใช้สารอะบาเม็กติน ไซเปอร์เมทริน เป็นต้น 2. ไม่ขังน้ำในแปลงนาตลอดเวลา ควรปล่อยให้ระดับน้ำมีพอดีดินเปียก เพื่อให้สภาพนิเวศในแปลงนาไม่เหมาะสมต่อการขยายประชากรของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และยังทำให้มดสามารถขึ้นมากัดกินตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้อีกทางหนึ่ง

3. ในระยะก่อนข้าวตั้งท้อง เมื่อตรวจพบตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล วัยที่ 1-2 จำนวนมากกว่า 1 ตัว ต่อต้น ให้ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น บูโพรเฟซิล หรืออีโทเฟนพรอกช์ หรือไอโซโปรคาร์บ 4. ในระยะข้าวตั้งท้องถึงออกรวงเมื่อตรวจพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 10 ตัว ต่อกอ หรือ 1 ตัว ต่อต้น และไม่พบมวนเขียวดูดไข่หรือพบน้อยมาก ให้ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น ไดโนทีฟูเรน หรือไพมิโทรซีน โดยใช้อัตราตามคำแนะนำที่ระบุในฉลาก และปรึกษาเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยข้าวและศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวในพื้นที่ 5. ในระยะข้าวใกล้เก็บเกี่ยวกรณีพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเต็มวัยบินมาเล่นแสงไฟตามบ้านให้ใช้เครื่องดูดแมลงล่อทำลาย หรือกับดัดกาวเหลืองล่อทำลาย เพื่อลดจำนวนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่จะอพยพไปยังแปลงข้าวปลูกใหม่

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อที่ ศูนย์วิจัยข้าวใกล้บ้านหรือทางเว็บไซต์ของกรมการข้าว www.ricethailand.go.th หรือศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ptt_rrc.ricethailand.go.th โทรศัพท์ (02) 577-1688-9 หรือ สายด่วน หมอข้าว 1170 กด 4 ในวันและเวลาราชการ

ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี (เมื่อเร็วๆ นี้) : เยาวชน พสวท. (โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) กว่า 80 คน ที่ร่วมเข้า “ค่ายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ นักเรียนที่ได้เหรียญรางวัลโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2561 วิชาวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6” ที่จัดขึ้นโดยฝ่ายวิชาการ หลักสูตร และสื่อการเรียนรู้ (ACM) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อรับการติวเข้มจากพี่ๆ ทีมวิจัยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ หรือ A-MED ของ สวทช. ที่ได้ออกแบบกิจกรรมเกี่ยวกับบริการทางทันตกรรมด้วยการเชื่อมโยงกับสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน เพื่อให้น้องๆ ได้เรียนรู้ระบบฟันผ่านกลไกงานวิจัยต่างๆ ของศูนย์ A-MED และเกิดความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ปลุกความเป็นนวัตกร (Innovator) ให้แก่เยาวชน ซึ่งผลงานอาจจะสามารถต่อยอดจริง พัฒนาเป็นนวัตกรรม (Innovation) ในอนาคตได้

ดร. สิรสา ยอดมงคล นักวิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ฝังใน ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สวทช. เปิดเผยว่า กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “ค่ายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ นักเรียนที่ได้เหรียญรางวัลโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2561 วิชาวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6” โดยทีมวิจัยได้นำเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้ในงานด้านทันตกรรมมาเสริมความรู้ให้น้องๆ โดยเริ่มต้นจากการบรรยายเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องทางทันตกรรม เช่น การ

เอ็กซเรย์ อินทราออรัลสแกนเนอร์ และตัวอย่างการใช้งานต่างๆ จากนั้นทำการแบ่งกลุ่มเพื่อให้น้องๆ ร่วมทำกิจกรรมที่สื่อถึงการออกแบบทางทันตกรรมด้วยกัน 3 กิจกรรม ได้แก่ ฐานกิจกรรมที่ 1 “2D Design : ออกแบบอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์อัจฉริยะ” เพื่อให้น้องๆ นำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับออกแบบในรูปแบบต่างๆ และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ คล้ายเป็นกิจกรรม to be design ที่ให้ลองใช้ไอเดียออกแบบผลิตภัณฑ์สักชิ้นหนึ่งขึ้นมา เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือแพทย์หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุหรือคนพิการทั่วไปให้มีคุณภาพ การใช้ชีวิตที่ดีขึ้น จุดนี้ทีมวิจัยได้ให้น้องๆ ลองคิด ลองวาดภาพออกมา ดูว่าจะมีหน้าตาอย่างไร เป็นแบบไหน และมีชื่อเรียกว่าอะไร ใช้ประโยชน์อย่างไร เพื่อที่ว่าจะสร้างสรรค์ออกมาได้ว่าผลงานนี้จะช่วยอะไรได้บ้าง

ต่อด้วยฐานกิจกรรมที่ 2 “3D Scan ทางทันตกรรม : Intraoral Scan Workshop” เพื่อฝึกปฏิบัติการใช้งานเครื่องอินทราออรัลสแกนเนอร์ (Intraoral Scanner) หรือเครื่องสแกนเนอร์ในช่องปาก ในรูปแบบชิ้นงานจำลอง เพื่อให้ได้ไฟล์ภาพสามมิติในช่องปากที่สามารถนำมาใช้ประกอบกับภาพสามมิติที่ได้จากเครื่อง DentiiScan (หรือเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์แบบลำแสงทรวงกรวยสำหรับงานทันตกรรมและศัลยกรรมบริเวณช่องปากและใบหน้า) แล้วแสดงผลการรวมภาพออกมาเป็นไฟล์ภาพเพื่อให้ทันตแพทย์วางแผนการรักษาได้ ฐานนี้น้องๆ จะได้ฝึกและทำความรู้จักกับเรื่อง 3D Scan ด้วยอุปกรณ์ที่ต้องใช้เทคโนโลยีอินทราออรัลสแกนเนอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ยังใหม่ในขณะนี้ ทดแทนการพิมพ์ปากแบบทั่วไปที่ต้องใช้วัสดุเข้าไปให้คนไข้กัด แต่เครื่องนี้จะเป็นเครื่องถ่ายภาพภายในช่องปาก เรียกว่าเป็นการพิมพ์ปากแบบดิจิทัลก็ได้ ทำให้เห็นข้อมูลฟันของคนไข้เป็นไฟล์ดิจิทัล ประโยชน์ที่ได้คือ ทันตแพทย์จะใช้ไฟล์ตัวนี้นำไปใช้ในการวางแผนการจัดฟัน การฝังรากฟันเทียม หรือประเมินลักษณะอื่นๆ ในช่องปากได้ทันที ทำให้คนไข้รับความสะดวกสบายยิ่งขึ้น

และฐานสุดท้ายคือ ฐานที่ 3 “เรียนรู้ดูการทำงานของเครื่องพิมพ์สามมิติ (3D Printing)” ที่โรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) หรือ FABLAB ของ สทวช. ที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร ฐานนี้น้องๆ จะได้เรียนรู้การทำงานเครื่องพิมพ์สามมิติ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่นำมาใช้ในเครื่องทันตกรรม ภาพสามมิติจะช่วยทำให้เห็นว่า ลึกเท่าไร เอียงมุมไหน และตัวสแกนจะช่วยดูได้ด้วยว่าเส้นประสาทฟันอยู่ตรงไหน เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีตัวนี้จะทำให้ทันตแพทย์สามารถวางแผนได้ว่า ควรจะฝังลึกเท่าไรถึงจะไม่โดนเส้นประสาท ทำให้การฝังรากฟันเทียมทำได้ง่ายขึ้นในกรณีของคนไข้ที่ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมากนัก

“กิจกรรมค่ายฯ ในครั้งนี้ ทีมวิจัย A-MED สวทช. มุ่งหวังให้น้องๆ ได้รับประโยชน์ใน 2 ส่วนหลักๆ คือ การได้รู้จักกับอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ในทางทันตกรรมว่ามีเทคโนโลยีใหม่ๆ อะไรบ้าง เพื่อเปิดโลกทัศน์ของน้องๆ และการได้ส่งเสริมพร้อมกระตุ้นให้น้องๆ ได้ใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่ มาใช้ในการออกแบบที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์หรือเพื่อผู้สูงอายุ ซึ่งน้องๆ อาจเห็นจากปัญหาที่พบได้ในทางการแพทย์ เช่น การถอดฟันหรือจัดฟัน ทำให้เกิดเป็นที่มาของปัญหาที่ต้องออกแบบสิ่งที่จะมาช่วยแก้ปัญหา เรียกได้ว่าเสริมความเป็นนวัตกร (Innovator) ให้น้องๆ ได้ลองมองจากปัญหาสิ่งที่พบเจอในชีวิตประจำวัน แล้วทำการสร้างอุปกรณ์หรือสิ่งใดก็ตามที่สามารถมาช่วยแก้ปัญหานั้นๆ ซึ่งไม่แน่สิ่งที่น้องๆ คิดในวันนี้อาจจะเป็นจริงหรือเกิดเป็นนวัตกรรม (Innovation) ที่สามารถใช้งานได้จริงในอนาคตก็เป็นได้” ดร. สิรสา ยอดมงคล กล่าวสรุป

นายเหงียน ต้วน ทัน (Mr. Nguyen Tuan Thanh) รองผู้ว่าราชการจังหวัดบิ่นห์ดิ่นห์ ประเทศเวียดนาม เป็นประธานในพิธี “ทำดีต่อมหาสมุทร” ภายใต้แนวคิด “พลังใหม่จากขยะพลาสติก” โดย นายมนตรี สุวรรณโพธิ์ศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี.เวียดนาม คอร์ปอร์เรชั่น หรือ ซี.พี.เวียดนาม (CPV) นำทีมอาสาสมัคร พร้อมด้วยสมาชิก และเยาวชนชาวเวียดนาม กว่า 1,200 คน ร่วมกันเก็บขยะ และจัดการขยะ ด้วยการทำขยะพลาสติกรีไซเคิล คืนความสวยงามให้กับทะเล พร้อมร่วมกิจกรรมปั่นจักรยาน เพื่อรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติก และช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ณ เมืองกุยเยิน จังหวัดบิ่นห์ดิ่นห์ ประเทศเวียดนาม

วช. ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร 11 องค์กร จัดระดมสมอง สะท้อนความคิด นโยบายสิ่งแวดล้อมเมือง ผ่านงานวิจัย เพื่อส่งต่อ (ว่าที่) ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในกรุงเทพมหานคร เป็นปัญหาเกิดขึ้นมานาน ทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งการแก้ไขปัญาต้องใช้องค์ความรู้จากงานวิจัย ไปสู่การแก้ปัญหาทางนโยบายและปฏิบัติ ที่ผ่านมาสิ่งแวดล้อมในเมืองใหญ่แบบกรุงเทพมหานครได้ทวีความรุนแรงและเผชิญกับปัญหาในหลายประเด็น ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ และที่เดินทางเข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานคร