ทั้งนี้ แปลงมะเขือเทศแต่ละแปลงจะมีขนาดไม่กว้างมากนัก

เพื่อให้การกระจายน้ำเป็นไปอย่างทั่วถึง แต่ละแปลงจะเชื่อมต่อกันได้โดยการทะลายคันกันน้ำเล็กน้อย พอให้น้ำไหลส่งต่อไปยังแปลงอื่นได้ สำหรับขั้นตอนการให้น้ำ คุณแอร์ จะปล่อยน้ำเข้าในแปลงปลูก และวิดน้ำรดตามบริเวณต้นมะเขือเทศ ทุกๆ 5-7 วัน/ครั้ง โดยเกษตรกรจะต้องไม่ปล่อยน้ำให้สูงถึงระดับรากของมะเขือเทศ (ความสูงไม่เกินครึ่งร่องปลูก) เพราะจะทำให้มะเขือเทศได้รับน้ำมากเกินไปจนเกิดการชะงักการเจริญเติบโต

สุดท้าย คุณแอร์ เน้นว่า กระบวนการเตรียมแปลงสำหรับระบบน้ำแบบนี้ เกษตรกรจะต้องปรับหน้าดินให้เสมอกัน เพื่อให้น้ำสามารถไหลถึงกันได้อย่างสะดวก และไม่เหมาะกับ “ดินทราย” เนื่องจากมีการกักเก็บน้ำที่ไม่ดี

“ปรับโครงสร้างดิน” ด้วยปุ๋ยอินทรีย์
ช่วยดินดูดซับธาตุอาหารได้ดีขึ้น

ก่อนปลูกมะเขือเทศท้อ คุณแอร์ จะทำการเพาะกล้าโดยใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ระหว่างนั้นจะต้องทำการเตรียมดิน โดยจะเริ่มจากการไถพรวนดิน และตากดินไว้ประมาณ 10 วัน จากนั้นจึงไถพรวนดินอีกรอบ แล้วจึงขึ้นแปลงปลูก

ทั้งนี้ ก่อนลงปลูกกล้า คุณแอร์ จะต้องรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู อัตรา 15-20 กก./ไร่ เพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารในดินให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืชในระยะแรก ทำให้พืชแข็งแรง มีรากหยั่งลึก หาอาหารได้มากขึ้น

คุณแอร์ บอกว่า การทำการเกษตรซ้ำบนพื้นที่เดิมย่อมทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง หากจะรักษาธาตุอาหารในดินให้คงอยู่ใกล้เคียงกับสภาพเดิม ก็ต้องเติมธาตุอาหารกลับคืนไปเช่นกัน

หลังจากนั้น คุณแอร์ จะรองก้นหลุมทับอีกชั้นด้วย “ปุ๋ยอินทรีย์” อย่างปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ประมาณ 2-3 กระสอบ ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดิน เพิ่มช่องว่างสำหรับการระบายน้ำ-การถ่ายเทอากาศ และที่สำคัญคือ เพิ่มความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารได้ดีขึ้น เมื่อใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ควบคู่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู จะทำให้ดินมีความสมบูรณ์ทั้งโครงสร้างและธาตุอาหาร เอื้อต่อการเจริญเติบโตของรากพืช

สูตรเด็ดความสำเร็จ ผลผลิตมากกว่า 5 ตัน/ไร่
“ธาตุอาหารในดิน” ต้องเพียงพอ
คุณแอร์ เล่าย้อนให้ฟังว่า ด้วยความที่ตนเองนั้นไม่มีความรู้ด้านการเกษตรมาก่อน มาเริ่มทำเกษตรตั้งแต่เรียนจบชั้น ม.6 ก็ได้แต่ทำตามประสบการณ์ที่พ่อแม่เคยทำมา แต่ปัจจุบันการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นง่ายขึ้น จึงได้ลองศึกษาเรื่องความต้องการธาตุอาหารของพืชในแต่ละระยะการเจริญเติบโต และปรับวิธีการบำรุงดินตาม ก็พบว่าได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน

โดยจากเดิมที่รุ่นพ่อแม่เคยปลูกมะเขือเทศได้ผลผลิตประมาณ 3 ตัน/ไร่ แต่ปัจจุบันบนพื้นที่เดียวกันนั้นสามารถเพิ่มผลผลิตได้ขั้นต่ำ 5 ตัน/ไร่ ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่ค่อยข้างมากสำหรับการปลูกพืชบนพื้นที่สูง

โดยขั้นตอนการบำรุงดินของคุณแอร์ จะแบ่งป็น 3 ช่วง ดังนี้

ช่วงที่ 1 ระยะต้นกล้า (อายุประมาณ 7 วัน หลังย้ายกล้า)
ช่วงนี้เป็นช่วงเร่งการเจริญเติบโต คุณแอร์ จะใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู ในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อให้ต้นมะเขือเทศแตกราก-แตกแขนงได้ไว ร่วมกับปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 46-0-0 อัตรา 10-15 กิโลกรัม/ไร่ ช่วยให้ใบพืชมีสีเขียว ลำต้นแข็งแรง เมื่อใส่ปุ๋ยเสร็จแล้ว จะปล่อยน้ำเข้าในแปลงปลูก และวิดน้ำรดตาม ทุกๆ 5-7 วัน/ครั้ง

ช่วงที่ 2 ระยะทรงพุ่ม (อายุประมาณ 30 วัน หลังย้ายกล้า)
ช่วงนี้ต้นมะเขือเทศเริ่มสูงประมาณ 50 ซม. กำลังเตรียมพร้อมสำหรับการติดดอก จะใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู อัตรา 70 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 13-13-24 อัตรา 70 กิโลกรัม/ไร่ (อัตราส่วน 1:1)โดยวิธีการให้ปุ๋ย คุณแอร์จะโรยปุ๋ยบริเวณใต้ต้นมะเขือเทศ แล้วกลบดินตาม จากนั้นจะปล่อยน้ำเข้าในแปลงปลูก และวิดน้ำรดตาม ทุกๆ 5-7 วัน/ครั้ง ตรงจุดที่ฝังปุ๋ย สาเหตุที่ต้องกลบปุ๋ยเนื่องจากป้องกันเม็ดปุ๋ยกระเด็นร่วงตกร่องแปลงขณะรดน้ำ นอกจากนี้ ยังถือเป็นการขุดลอกร่องแปลงไม่ให้ตื้นไปในตัว เพราะดินที่ใช้กลบปุ๋ยนั้นคือดินจากร่องน้ำนั่นเอง

ทั้งนี้ คุณแอร์ บอกว่า ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู สามารถละลายได้ง่ายมาก อาศัยน้ำแค่ปริมาณเล็กน้อยก็ทำให้เม็ดปุ๋ยละลายได้แล้ว ยิ่งช่วงฤดูแล้งที่มีน้ำสำหรับรดต้นมะเขือเทศไม่มาก ก็ไม่ต้องกังวลว่าเม็ดปุ๋ยจะไม่ละลายจนพืชจะได้รับธาตุไม่ครบถ้วนคุณแอร์ เสริมว่า ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 16-16-16 บลู นั้นมีธาตุอาหารรอง-ธาตุอาหารเสริม อย่าง “แคลเซียม-โบรอน” จะช่วยให้ต้นมะเขือเทศแข็งแรง ไม่โทรม สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 15-16 มีด ซึ่งแตกต่างจากสวนคนอื่นที่จะสามารถเก็บผลผลิตได้เพียง 10 มีด เท่านั้น และ “แคลเซียม-โบรอน” ยังมีส่วนช่วยในการป้องกันผลแตก และเสริมให้เนื้อแน่นอีกด้วย ส่วนปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 13-13-24 จะช่วยเรื่องการติดดอก ขั้วเหนียว ไม่หลุดร่วงง่าย

ช่วงที่ 3 ระยะเร่งดอก-ผล (อายุประมาณ 65 วัน หลังย้ายกล้า)
ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่มะเขือเทศเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต คุณแอร์ จะปรับสูตรปุ๋ย เป็นสูตร 8-24-24 หรือ ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 9-25-25 อัตรา 30 กิโลกรัม /ไร่ ความถี่ทุก 15 วัน/ครั้ง โดยจะโรยปุ๋ยระหว่างต้นมะเขือเทศ ช่วยให้มะเขือเทศท้อผลใหญ่ ดก สีเข้มสวยขึ้นอย่างชัดเจน

ลดใช้สารเคมี ด้วยเทคนิคการจัดการแปลง
ยกระดับผลผลิตปลอดภัยมาตรฐาน GAP
จุดเริ่มต้นของการทำเกษตรปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP ของคุณแอร์ นั้นมาจากความต้องการเพิ่มช่องทางการตลาด และเพื่อผลผลิตที่ปลอดภัยต่อทั้งตนเองและผู้บริโภค ดังนั้น ตลอดกระบวนการผลิตจะต้องมีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธี รวมถึงการลดใช้สารเคมีด้วยการจัดการแปลงอย่างเป็นระบบ

เริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน หลังจากขึ้นแปลงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนปลูกคุณแอร์ จะใช้วิธี “ปล่อยน้ำขังท่วมแปลง” ประมาณ 2 วัน แล้วจึงปล่อยน้ำออก วิธีนี้จะช่วยให้วัชพืชและไข่แมลงที่ฝังอยู่ในดินถูกทำลาย ลดปัจจัยเสี่ยงเรื่องศัตรูพืชได้ดี

นอกจากนี้ ยังใช้วิธีการ “ตัดแต่งทรงพุ่ม” ของต้นมะเขือเทศ เพื่อให้แปลงโปร่ง อากาศหมุนเวียนได้สะดวก ไม่เป็นที่หลบซ่อนของแมลง และช่วยให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตสะดวกขึ้นด้วย

ทั้งนี้ ศัตรูพืชหลักของมะเขือเทศคือ “หนอนชอนใบ” ที่จะเข้าทำลายโดยการเจาะผลและใบมะเขือเทศ ทำให้ผลผลิตลดลงกว่า 80-90% สามารถกำจัดได้โดยใช้สารชีวภัณฑ์ หัวเชื้อแบคทีเรียบีที (Bacillus thuringiensis) ฉีดพ่นให้ทั่วต้น

ส่วนศัตรูอีกชนิดหนึ่งคือ “แมลงหวี่ขาว” เป็นแมลงประเภทปากดูด ที่จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ทำให้ใบพืชหงิกงอ ต้นแคระแกร็น สามารถกำจัดได้โดยใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย (Beauveria bassiana) ฉีดพ่น โดยเชื้อราชนิดนี้จะมีฤทธิ์ทำให้แมลงค่อยๆ อ่อนแอและตายในที่สุด

ทั้งนี้ คุณแอร์ เน้นว่า การกำจัดศัตรูพืชด้วยสารชีวภัณฑ์นั้นต้องรีบใช้ขณะที่ศัตรูพืชยังไม่ระบาดไม่หนัก จึงจะได้ผลดีที่สุด ดังนั้น เกษตรกรต้องหมั่นตรวจดูแปลงอยู่เสมอ เพื่อที่จะสกัดวงจรได้ทัน

มะเขือเทศมีคุณภาพ เพิ่มช่องทางการตลาด
ส่งขายโมเดิร์นเทรด-ออนไลน์
อายุการเก็บเกี่ยวของมะเขือเทศท้อ “ซีซันไนน์” จะอยู่ที่ประมาณ 55-60 วัน (หลังหยอดเมล็ด) โดยจะเก็บทุก 2 วัน/ครั้ง ต่อเนื่องประมาณ 15-16 มีด ผลผลิตสามารถจำหน่ายได้ทั้งตลาดบริโภคผลสดและตลาดโรงงาน แต่คุณแอร์ จะเน้นไปที่ตลาดบริโภคผลสด โดยแบ่งการตลาดออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 จำหน่ายตลาดทั่วไป (ประมาณ 60%) ซึ่งจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงแปลง โดยผลผลิตจะแบ่งออกเป็น 3 เบอร์ (เบอร์ 1 คือ ผลใหญ่ คุณภาพดีที่สุด ส่วนเบอร์ 2 และเบอร์ 3 จะขนาดเล็กลงตามลำดับ) หากมะเขือเทศเป็นเบอร์ 1 สัดส่วนที่มาก ก็จะได้รับราคาประเมินสูงตามไปด้วย
ส่วนที่ 2 จำหน่ายผ่านโมเดิร์นเทรด (ประมาณ 30%) ภายใต้แบรนด์ “ผักดอยโอเค” ซึ่งเป็นแบรนด์เครือข่ายเกษตรแปลงใหญ่บ้านวังกอง โดยการจำหน่ายผ่านช่องทางนี้จะได้ราคาสูงกว่าตลาดทั่วไปถึง 30%

ส่วนที่ 3 จำหน่ายช่องทางออนไลน์ (ประมาณ 10%) ผ่านเพจเฟซบุ๊ก “ผักกะดอย” ซึ่งเป็นช่องทางการจำหน่ายผัก GAP ของคนในชุมชนบ้านวังกอง ส่งตรงถึงผู้บริโภคโดยไม่ผ่านคนกลาง
สำหรับราคาเฉลี่ยของมะเขือเทศท้อจะอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 7-8 บาท แต่ในช่วงที่ราคาดีอาจจะพุ่งสูงถึงกิโลกรัมละ 20-25 บาท หากเจอช่วงราคาดีในแต่ละรอบการผลิตจะสร้างรายได้ให้คุณแอร์ ตั้งแต่ 100,000-300,000 บาทเลยทีเดียว โดยเมื่อหักต้นทุนการผลิตประมาณ 20,000-30,000 บาท (ต่อพื้นที่ 3 ไร่) ก็นับว่าเป็นพืชที่สร้างรายได้ไม่ธรรมดา

คุณแอร์ บอกว่า สิ่งที่ทำให้การปลูกมะเขือเทศของตนเองพัฒนาได้อย่างทุกวันนี้ มาจากความตั้งใจมองหาโอกาสใหม่ๆ และพัฒนาองค์ความรู้การทำเกษตรตั้งแต่การผลิต การตลาด ตลอดจนสร้างความเชื่อมโยงเครือข่ายของเกษตรกร เพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขันของสินค้าเกษตร

อย่างการยกระดับคุณภาพผลผลิตสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน GAP ถือเป็นหนึ่งในความสำเร็จก้าวสำคัญ ที่ทำให้มะเขือเทศท้อจากชาวบ้านธรรมดา สามารถวางจำหน่ายบนห้างสรรพสิค้าได้อย่างน่าภูมิใจ

แต่สุดท้ายแล้ว หัวใจของความสำเร็จนั้นก็ขึ้นอยู่กับ “คุณภาพ” ของผลผลิต ที่คุณแอร์ ดูแลตั้งแต่การเตรียมแปลงตามหลัก GAP ใช้ทฤษฎีความรู้เรื่องธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช ให้สัมพันธ์กับระยะการเจริญเติบโตมาปรับใช้ จนทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้มาตรฐาน และสร้างการยอมรับในทุกช่องทางการตลาดอย่างทุกวันนี้

จริงอยู่การปลูกมะม่วงของชาวสวนมะม่วงไทยในเชิงพาณิชย์ปัจจุบันนี้ แทบทั้งหมดจะปลูกพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เนื่องจากผลิตเพื่อการส่งออกเกือบทั้งหมด พื้นที่ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออก หลักๆ จะอยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา, นครราชสีมา, ประจวบคีรีขันธ์, อุดรธานี, พิจิตร, สระแก้ว, สุพรรณบุรี, เชียงใหม่ ฯลฯ

เช่นเดียวกันกับที่ “สวนคุณลี” อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โทร. (081) 886-7398, (081) 901-3760 ก็ปลูกมะม่วงไทยหลายสายพันธุ์โดยเฉพาะมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองที่ปลูกเป็นจำนวนมาก สุดท้ายได้ตัดสินใจเปลี่ยนยอดมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเป็นมะม่วงพันธุ์อาร์ทูอีทูทั้งหมด เพื่อหลีกเลี่ยงราคามะม่วงน้ำดอกไม้ที่ราคาตกต่ำในหลายปีที่ผ่านมา เพื่อผลิตในเชิงการค้า สร้างปริมาณสินค้าที่มากพอ เพราะมีพ่อค้ามารับซื้อเพื่อการส่งออกทั้งหมด และได้ราคาดีไม่แพ้มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง

อีกทั้งมีราคาดีตลอดฤดูกาล แม้จะเป็นช่วงที่มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองมีราคาตกต่ำในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากๆ ซึ่งมะม่วงอาร์ทูอีทู ก็จำหน่ายได้กิโลกรัมละประมาณ 30-80 บาท (ซึ่งราคาจะปรับตัวขึ้นลงตามสภาวะเศรษฐกิจ แต่ในภาพรวมราคาก็ถือว่าดีมากพอสมควร)

โดยราคาซื้อขายออกจากสวนคุณลี ในปี 2564 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35-45 บาท ซึ่งเป็นมะม่วงอาร์ทูอีทูแบบห่อผลด้วยถุงคาร์บอน (ถุงห่อชุนฟง) เพื่อให้ผิวผลมะม่วงอาร์ทูอีทูมีสีเหลืองสวยเหมือนมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง โดยผลผลิตมะม่วงอาร์ทูอีทูจะห่อหรือไม่ห่อผลนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ส่งออกว่าจะส่งไปขายที่ประเทศไหน ซึ่งเป็นไปได้ชาวสวนควรจะมีการพูดคุยกับผู้ส่งออกไว้ก่อนล่วงหน้า

จากที่สวนคุณลี จังหวัดพิจิตร ปลูกมะม่วงอาร์ทูอีทูมาประมาณ 15 ปี พบว่า ราคามะม่วงอาร์ทูอีทูนั้น ราคาซื้อขายค่อนข้างดีในระดับที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบราคาขายกับมะม่วงสายพันธุ์อื่น

ลักษณะของผล มะม่วงอาร์ทูอีทู

รูปทรงผลมะม่วงอาร์ทูอีทู มีลักษณะทรงกลมคล้ายรูปหัวใจ มีน้ำหนักผลเฉลี่ย 500 กรัม ถึง 1,000 กรัม (ขึ้นอยู่กับการไว้ผลและการบำรุง) ความยาวของผล เฉลี่ย 10-12 เซนติเมตร และความกว้างของผล เฉลี่ย 7-10 เซนติเมตร สีเนื้อเมื่อสุกมีสีเหลืองสด ลักษณะผลของเนื้อมีเสี้ยนน้อย เนื้อแข็ง รสชาติหวานหอม ทานอร่อย และไม่มีกลิ่นขี้ไต้

อาร์ทูอีทู เป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงปานกลางถึงสูงมาก ต้องควบคุมทรงพุ่มทุกปีให้มีความเตี้ยอย่างเหมาะสม หลังจากการเพาะปลูกต้นมะม่วงอาร์ทูอีทูจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และเริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป แต่จะปล่อยให้ติดผลจำนวนมากในปีที่ 4 เป็นต้นไป เนื่องจากทรงพุ่มจะใหญ่สมบูรณ์แล้ว

ลักษณะของดอกมะม่วงอาร์ทูอีทูมีความยาวของช่อดอก 20-50 เซนติเมตร ความกว้างของช่อดอก 10-20 เซนติเมตร ความหนาแน่นของขนมีน้อยมาก หรือไม่มีเลย สีของดอกมีสีแดงด้านๆ และมีเปอร์เซ็นต์ของดอกสมบูรณ์เพศเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการติดผลได้ง่ายกว่ามะม่วงพันธุ์อื่น มะม่วง “อาร์ทูอีทู” (R2E2) เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ เราสามารถปลูกอาร์ทูอีทู ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ 6×8 เมตร (ระยะระหว่างต้น 6 เมตร และระยะระหว่างแถว 8 เมตร) ปลูกได้ประมาณ 33 ต้น ต่อ 1 ไร่

วิธีการปลูก

ในการปลูกนั้นเมื่อขุดหลุมเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว ก็จะกลบดินที่ผสมปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอก ให้พูนสูงกว่าระดับดินเดิม 10 เซนติเมตร นำกิ่งพันธุ์มะม่วงมาปลูก โดยตรวจสอบว่ากิ่งพันธุ์นั้นมีรากขดกันเป็นก้อน ที่เรียกว่า รากขัดสมาธิ หรือไม่ ถ้ามีต้องตัดออกก่อน เพราะจะทำให้ระบบรากไม่แผ่กระจายออก ทำให้ต้นแคระแกร็น

จากนั้นเจาะหลุม และนำมะม่วงต้นกล้าลงปลูก โดยให้รอยแผลของกิ่งทาบอยู่เหนือดิน ใช้ไม้ไผ่ปัก แล้วใช้เชือกมัดยึดกับลำต้น เพื่อกันลมโยก ถ้าแสงแดดจัดอาจพรางแสงด้วยวัสดุต่างๆ เช่น ทางมะพร้าว โดยพรางแสงแดดทางทิศตะวันตก เพราะในช่วงบ่ายที่อุณหภูมิของวันจะสูงที่สุด

สำหรับผ้าพลาสติกพันรอยทาบควรนำออกหลังจากการปลูกไปแล้ว 2-3 เดือน เพื่อป้องกันรอยทาบจะแยกจากกัน เมื่อปลูกเสร็จแล้วใช้มือกลบดินบริเวณโคนกิ่งให้แน่น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม เพื่อให้ดินจับแน่นกับราก

ปกติแล้วการปลูกมะม่วงจะทำในฤดูฝนซึ่งสภาพอากาศชุ่มชื้น แต่ถ้าหากหลังจากปลูกไปแล้วฝนไม่ตก จำเป็นจะต้องรดน้ำทุก 2-3 วัน เมื่อมะม่วงตั้งตัวได้ก็สามารถขยายระยะการให้น้ำเป็น 3-5 วัน ต่อครั้ง และ 7-10 วัน ต่อครั้ง ตามลำดับ โดยสังเกตต้นมะม่วงว่ามีอาการเหี่ยวเฉาหรือดินแห้งหรือไม่

และเมื่อผ่านพ้นปีแรกไปแล้ว อาจจะให้น้ำทุก 15-20 วัน เพื่อไม่ให้ต้นมะม่วงชะงักการเจริญเติบโต ซึ่งปกติแล้วในสภาพพื้นที่ยกร่องจะมีปัญหาน้อยกว่าที่ดอน เนื่องจากระดับน้ำใต้ดินสูง ในการตัดแต่งกิ่งและจัดทรงพุ่มมะม่วงอาร์ทูอีทู

มะม่วงอาร์ทูอีทูเป็นพันธุ์มะม่วงที่โตเร็วมากในช่วง 2-3 ปีแรก ถ้าต้นไม่ได้รับการแต่งกิ่ง ต้นจะสูงมาก และให้ผลน้อยลง ในช่วง 2 ปีแรก ต้นมะม่วงต้องได้รับการแต่งกิ่ง 2-3 ครั้ง ต่อปี เพื่อให้กิ่งก้านอยู่ในรูปทรงที่ดี เพื่อจะรองรับน้ำหนักของผลผลิตในช่วงปีต่อๆ ไป

เนื่องจากอาร์ทูอีทูมีการเจริญเติบโตในแนวสูง การแต่งกิ่งเพื่อลดความสูงจึงมีความจำเป็นมากในช่วงปีแรกๆ และการแต่งกิ่งก็ยังต้องทำทุกปี หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดจากต้น

“สวนคุณลี” อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ปลูกมะม่วงหลากหลายสายพันธุ์เป็นจำนวนมาก เช่น มะม่วงอาร์ทูอีทู, มะม่วงไต้หวัน T1, มะม่วงไต้หวัน T2, มะม่วงไข่พระอาทิตย์ญี่ปุ่น, มะม่วงงาช้างแดง, แก้วขมิ้น ฯลฯ

ทางสวนคุณลี จึงมีข้อแนะนำในการดูแลรักษามะม่วงให้ได้คุณภาพ หรือนำไปเป็นแนวทางใช้ในปีต่อๆ ไป เช่น ระยะเดือยไก่ ล้างโรคแมลง เร่งความสมบูรณ์ หลังจากที่เราทำการเปิดตาดอกจนดอกเป็นระยะเดือยไก่ หรือมีความยาวประมาณครึ่งนิ้วแล้ว เกษตรกรจะต้องเร่งสร้างความสมบูรณ์ของดอกให้เต็มที่ เพราะช่อดอกที่มีความสมบูรณ์ ปริมาณดอกสมบูรณ์เพศจะสูง การติดผลจะง่าย

ในช่วงนี้เกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 10-52-17 อัตรา 50 กรัม ฉีดพ่นร่วมกับฮอร์โมน “โปรดั๊กทีฟ” อัตรา 10 ซีซี (ต่อน้ำ 20 ลิตร) ปุ๋ย 10-52-17 และฮอร์โมน “โปรดั๊กทีฟ” จะช่วยเร่งความสมบูรณ์ของช่อดอก ทำให้ก้านดอกอวบใหญ่ มีสีแดงเข้ม ปริมาณดอกสมบูรณ์เพศสูงมาก

ระยะเดือยไก่ นอกจากจะฉีดปุ๋ยและฮอร์โมนเพื่อสร้างความสมบูรณ์แล้ว เกษตรกรจะต้องทำการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดโรคแมลงไปในคราวเดียวกัน สารป้องกันกำจัดแมลงที่นิยมใช้ คือ สารเมทโทมิล เพราะในระยะนี้ศัตรูที่เกษตรกรจะพบมากที่สุดก็คือ หนอนต่างๆ อัตราที่ใช้ให้ดูตามคำแนะนำของฉลาก

ส่วนด้านโรคระยะนี้จะต้องล้างโรคให้หมด แนะนำให้ใช้สารในกลุ่มเบนโนมิล อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม จะช่วยป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรคต่างๆ ได้ดี

ในระยะนี้ถ้าพื้นที่ปลูกมะม่วงของท่านมีน้ำรด สามารถให้น้ำได้ การให้น้ำจะช่วยให้ดอกมะม่วงมีความสมบูรณ์การติดผลดี และช่อดอกโรยช้า ระยะก้างปลา ก่อนดอกบาน ตามปกติแล้วมะม่วงจะมีระยะเวลาตั้งแต่แทงช่อดอก จนถึงดอกเริ่มบาน ประมาณ 20 วัน (ระยะเวลาอาจเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพอากาศ) การดูแลในช่วงก่อนดอกบาน หรือดอกเริ่มบานจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ข้อแนะนำในระยะนี้ยังสามารถฉีดพ่นสารเคมีได้ตามปกติ

เกษตรกรจะใช้ฮอร์โมน “โปรดั๊กทีฟ” อัตรา 10 ซีซี ผสมกับสารกลุ่มแคลเซี่ยมโบรอน เช่น โกรแคล อัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฮอร์โมน “โปรดั๊กทีฟ” และสารในกลุ่มแคลเซี่ยม โบรอนจะช่วยเรื่องความสมบูรณ์ของดอก ทำให้ดอกติดผลง่าย ลดการหลุดร่วงของผล และมีผลติดดก

ศัตรูที่ต้องระวังในระยะนี้ คือ เพลี้ยไฟ และ สมัครเล่นไพ่ป๊อกเด้ง เพลี้ยจักจั่น ซึ่งศัตรูทั้ง 2 ชนิดนี้ จะเข้าทำลายระยะดอกเริ่มบาน จนถึงระยะติดผลอ่อน สร้างความเสียหายให้แก่ช่อมะม่วงอย่างมาก แนะนำให้ใช้สารโปรวาโด อัตรา 3 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม จะช่วยป้องกันกำจัดแมลงดังกล่าวได้ดี หากพบปัญหาการระบาดของเพลี้ยไฟที่รุนแรง แนะนำให้ใช้สารเดซิส อัตรา 10 กรัม ผสมกับโปรวาโด 3 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โรคที่สำคัญในช่วงนี้จะต้องป้องกันโรคแอนแทรกโนสให้ดี เพราะจะทำให้ช่อมะม่วงเกิดความเสียหายได้สูงมาก แนะนำให้ใช้สาร “ฟลิ้นท์+แอนทราโคล” จากประสบการณ์ชาวสวน พบว่า สารดังกล่าวสามารถป้องกันโรคแอนแทรกโนสได้ค่อนข้างดีมาก โดยใช้ ฟลิ้นท์ อัตรา 5 กรัม ผสมกับแอนทราโคล อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง

ระยะดอกบานต้องดูแลเป็นพิเศษ ตามปกติถ้าดอกมะม่วงบานจะต้องห้ามฉีดพ่นสารเคมีโดยเด็ดขาด เพราะการฉีดพ่นสารเคมีจะทำให้ดอกมะม่วงได้รับความเสียหาย นอกจากนั้นพิษของสารเคมียังไปทำลายแมลงที่มาช่วยผสมเกสรตามธรรมชาติ ทำให้การติดผลต่ำหรือไม่ติดผลเลย

แต่จากประสบการณ์จริงของชาวสวนพบว่า ในช่วงดอกบานจะมีศัตรูเข้าทำลายจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องฉีดพ่นสารเคมี ซึ่งศัตรูต่างๆ ที่เข้าทำลายระยะนี้ ได้แก่ เพลี้ยไฟ เป็นแมลงขนาดเล็กที่ทำลายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงของช่อดอก ทำให้ดอกแห้ง ดอกร่วงไม่ติดผล จะระบาดหนักในช่วงอากาศร้อนและแห้งแล้ง

เกษตรกรมักพบว่า เมื่อเพลี้ยไฟเข้าทำลาย ดอกมะม่วงจะแห้งอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านเรียก “ดอกวูบ” เมื่อเคาะดูจะพบตัวเพลี้ยไฟเป็นจำนวนมาก การป้องกัน ต้องหมั่นสังเกตช่อดอกมะม่วงบ่อยๆ โดยการเดินเคาะช่อดอกลงบนกระดาษสีขาว ถ้าพบเพลี้ยไฟปริมาณมากกว่า 5-10 ตัว ต่อช่อดอก ต้องฉีดพ่นสารเคมีทันที

สารเคมีที่แนะนำในช่วงดอกบานจะต้องเป็นกลุ่มยาเย็น ที่ไม่เป็นพิษกับดอก เช่น สารโปรวาโด ใช้อัตรา 3 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เคล็ดลับการฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ แนะนำให้ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นที่ลมสงบ เพราะเพลี้ยไฟจะออกหาอาหารทำให้ถูกสารเคมีได้ง่าย และช่วงเย็นอากาศไม่ร้อน ดอกมะม่วงจะไม่ค่อยเสียหาย

โรคแอนแทรกโนส (ช่อดำ) มักระบาดในช่วงที่มีฝนตกสลับกับอากาศร้อน โดยจะทำให้ช่อดอกเน่าดำและหลุดร่วง หากสังเกตจะพบจุดดำเล็กๆ บริเวณก้านช่อดอก ช่อดอกจะเน่าดำ ลุกลามจากยอดไปยังโคนช่อดอก ทำให้ดอกมะม่วงไม่ไปติดผล