ทางด้านศาสตราจารย์ นายแพทย์จิลส์ มองเตเลสโกต์ แพทย์

ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ แห่งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยฝรั่งเศส (France University Hospital) ได้กล่าวว่า โรคเบาหวานเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เชื่อว่ามาจากหลายปัจจัยร่วมกันไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของภาวะความอ้วนหรือน้ำหนักเกิน หรือการออกกำลังกาย รวมถึงการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง

“ซึ่งเราควรให้ความรู้แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ให้พวกเขาได้รับความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลตนเอง ซึ่งในปัจจุบันผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนมากจะเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะโรคหัวใจล้มเหลว (HF) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่เกิดในช่วงต้นและมักไม่สามารถตรวจพบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน แม้ว่าจะมีการควบคุมปัจจัยเสี่ยงแล้วก็ตาม”

ความจัดจ้านของอาหารไทยที่คุ้นลิ้น อาจเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำให้คนไทยจำนวนมากละเลยผลข้างเคียงด้านสุขภาพไป สุดท้ายแล้ว การลดรับประทานอาหารที่มีรสชาติหวาน หรือเค็มจัด อาจจะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานได้

คุณเสน่ห์ รัตนาภรณ์ เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด มอบหมายให้ คุณวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ ติดตามงานส่งเสริมการเกษตร ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ 15 ตำบล 199 หมู่บ้าน พื้นที่กว่า 1,042 ตารางกิโลเมตร นักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ 10 คน ข้าวหอมมะลิ เป้าหมายหลักนำนโยบายแห่งรัฐ คือการเกษตรระบบแปลงใหญ่ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต สร้างคุณภาพ การบริหารจัดการ สู่การตลาดที่ดี ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ข้าวหอมมะลิ ฐานเรียนรู้เรื่อง ดิน น้ำ ข้าว พืช สัตว์ ประมง แปรรูปผลผลิต สู่การตลาดคุณภาพ เป็นศูนย์การศึกษาดูงานของชุมชน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรพอเพียง เป้าหมาย คือ เกษตรกรกินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้หมด ครอบครัวเกษตรกรมีความสุข กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องแบกรับภารกิจหลัก

ผ่านทางพบ คุณยอด หลักสนาม อยู่บ้านเลขที่ 50 ม. 15 บ้านหนองมั่ง ต.สระคู อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด โทร. 083-344-7040 เกษตรกรหนุ่มใหญ่ กำลังก้มๆ เงยๆ ในแปลงพืชผัก เป็นมะเขือเปราะ อายุ 35-40 วัน ปลูกด้วยการบริหารจัดการน้ำแบบประหยัด สูบน้ำใต้ดินมาใช้ คลุมหน้าดินด้วยฟางข้าว วัชพืชไม่รุนแรง จะระบาดมากคือ “ปลวก” มันมาใต้ดิน หากมีการเตรียมดินที่ดี สามารถป้องกันได้

ต้นมะเขือเหี่ยว แน่นอนคือ ปลวก ไม่ใช่รากเน่าโคนเน่า พริก ผักชี ผักบุ้ง อายุ 25-30 วัน ถอนขาย คะน้า กะเพรา แมงลัก คุณยอดเป็นคนทำงาน ประมาณ 12-16 ชั่วโมง เช้าๆ นำวัว ควาย ไปเลี้ยงในทุ่งนา จากนั้นเดินทางมาที่สวนผัก รดน้ำพรวนดิน เก็บพืชผักไปให้ภรรยา นำไปจำหน่ายที่ตลาด รับประทานอาหาร ไปทำงานก่อสร้าง ทั้งวัน 17.00 น. เดินทางไปนำวัว ควาย เข้าคอก จากนั้นเดินทางไปแปลงพืชผัก 1 ไร่ ให้น้ำ พรวนดิน

คุณยอด บอกว่า ตนเองมีความสุขดี ลูกสาว 1 คน กำลังเรียนหนังสือ ตนทำงานตลอดเรื่อยมา ทำให้ร่างกายแข็งแรงดี ไม่เครียด โชคดีที่นักส่งเสริมการเกษตร เอาใจใส่ดูแลเกษตรกร คุณนิรมล ภาสองชั้น เกษตรตำบลสระคู ออกมาให้ความรู้เรื่องการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน การใช้น้ำสกัดชีวภาพ สารไล่แมลง การจัดการดิน ปลูกพืชหมุนเวียน ดินได้พักหน้าดินบ้าง โรค และแมลงลดลง

คุณยอด บอกว่า วันนี้ดีใจที่ เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ เดินทางลงมาพบปะพูดคุย เรื่องการเพาะปลูกพืช นำความห่วงใยของท่านสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผวจ. ร้อยเอ็ด สู่เกษตรกร เกษตรกรรายนี้ชอบคำพูดของเกษตรอำเภอฯ “มีความขยันอย่างฉลาด ปราศจาคอบายมุข มองเห็นความทุกข์ยากของคนอื่น เป็นภารกิจที่จะต้องแก้ไข”

ถึงแม้ทำงานเหนื่อยแต่เกษตรกรมีกำลังใจจาก ภรรยาและลูก ส่วนราชการออกมาให้คำแนะนำ เราเดินไปด้วยกัน เหนื่อยแต่มีกำลังใจ

การเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ลดการใช้สารเคมี ใช้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ก้าวเข้าสู่การเกษตรอินทรีย์ สำนักงานเกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินหน้าไปด้วยกัน ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ไปที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ที่นี่ไม่มีภูเขา ไม่มีถ้ำ ไม่มีอุโมงค์ ไม่มีน้ำตก แต่เรามีทุ่งกว้าง “ทุ่งกุลาร้องไห้” ไปนอนเต็นท์ดูดาว ท่ามกลางสายลม ห่มฟ้า คืนเดือนมืดชมดาว คืนเดือนหงายชมพระจันทร์ เส้นทางวัฒนธรรม “กู่กาสิงห์ กู่โพนวิท กู่โพนระฆัง กู่พระโกนา ดูลิง 3 ฝูง สระสี่เหลี่ยม สุสานพันปีขี้นกอินทรีย์ มาท่องเที่ยววิถีชุมชน วิถีชาวบ้านแบบคนทุ่งกุลาร้องไห้”

ผู้อ่านมีโอกาสแวะไปทางทุ่งกุราร้องไห้ คนท้องถิ่นยินดีต้อนรับคุณกอนี วิจารณ์ เจ้าของสวนสะละบ้านทุ่งเหรียง หมู่ที่ 2 ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง บอกว่า ปลูกสะละมาเกือบ 6 ปี ขณะนี้สะละแต่ละกอได้แตกกอ ขยายตัวออก บางกอประมาณ 7 ต้น และรวมแล้วเป็น 1,000 ต้น จากพื้นที่ จำนวน 3 ไร่ โดยบางต้นจะให้ผลผลิตที่ต่างกัน มีตั้งแต่ระดับ 8 ทะลาย ถึง 15 ทะลาย และ 1 ทะลาย มีผลผลิตประมาณ 1 กิโลกรัม

“เฉลี่ยจะให้ผลผลิตภาพรวมประมาณกว่า 80 กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยราคาค้าส่ง 40 บาท/กิโลกรัม ค้าปลีก 50 บาท/กิโลกรัม สำหรับของคุณกอนี จากจำนวน 1,000 ต้น จะมีรายได้ที่ดีต่อปี”

ปลูกสะละสายพันธุ์อินโดฯ 200 ต้น ขณะนี้ราคาประมาณ 100 บาท/กิโลกรัม สายพันธุ์เนินวง 800 ต้น ราคา 50 บาท/กิโลกรัม และสายพันธุ์สุมาลี ราคา 70 บาท/กิโลกรัม และมีอยู่จำนวนหนึ่งทางด้านราคาได้ยืนระดับนี้มาตลอด และจะมีพ่อค้า แม่ค้า มารับซื้อถึงหน้าสวน นอกนั้นขายปลีกในพื้นที่

คุณกอนี วิจารณ์ ยังบอกอีกว่า เริ่มแรกได้ลงทุนซื้อต้นพันธุ์ ต้นละ 1,200 บาท ซึ่งปัจจุบันราคาได้ทยอยลดลง มาอยู่ที่ 350 บาท และในส่วนยุคเริ่มแรกการปลูกสะละที่จังหวัดพัทลุง ราคาต้นพันธุ์ ประมาณ 5,000 บาท

“ขณะนี้ จังหวัดพัทลุง ที่ได้โค่นยางพาราแล้วก็หันไปปลูกสะละกันเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะที่ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด ปลูกแล้วกว่า 200 ไร่ ทั้งแปลงขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ 10 ไร่ แต่ยังไม่ให้ผลผลิต และจะปลูกสายพันธุ์สุมาลีกัน”

คุณกอนี บอกด้วยว่า สำหรับตนยังมีโครงการในที่ดิน 3 ไร่ โดยจะปลูกสะละประมาณ 200 กอ จะเป็นสายพันธุ์สุมาลี โดยราคาต้นพันธุ์อยู่ที่ประมาณ 330 บาท/ต้น ซึ่งนอกจากจะขายสะละผลสดแล้ว ยังมีการแปรรูปเป็นสะละลอยแก้ว ราคาแก้วละ 10 บาท และสะละทรงเครื่อง แก้วละ 20 บาท นอกจากนั้นยังมีโครงการแปรรูปสะละกวน โดยกลุ่มเกษตรกรสะละ กำลังหารือพูดคุยกันถึงว่าจะต้องมีการแปรรูปสะละเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ เพื่อไว้รองรับการตลาด เพราะขณะนี้หันมาปลูกสะละกันมากขึ้น

คุณไพรวัลย์ ชูใหม่ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า จังหวัดพัทลุง เป็นแหล่งปลูกสะละรายใหญ่ทางภาคใต้และเป็นรายแรก ขณะนี้ประมาณอยู่ระหว่างสำรวจตัวเลข แต่เข้าหลักหมื่นไร่แล้ว และจังหวัดพัทลุงยังมีพื้นที่เหมาะสมอีกมาก สามารถปลูกได้ถึง 50,000 ไร่ ยกเว้นบางพื้นที่เขต 5 อำเภอ ที่ติดกับทะเลสาบสงขลา โดยปัจจุบันปลูกมากที่ อำเภอป่าบอน และอำเภอศรีบรรพต และปลูกกันทุกอำเภอแล้ว สะละปลูกมาในพื้นที่จังหวัดพัทลุงมาร่วม 16 ปี

“สะละ มีผลผลิตยังไม่พอกับความต้องการของตลาด และตลาดที่สำคัญคือ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสตูล และอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา”

คุณไพรวัลย์ บอกอีกว่า ส่วนตัวเลขเงินหมุนสะพัด ไม่สามารถรวบรวมได้ เพราะราคาหน้าสวนกับราคาหน้าแผงต่างกัน หน้าแผงมีราคาตั้งแต่ 100-120 บาท/กิโลกรัม แต่หน้าสวน ราคา 50-60-80 บาท/กิโลกรัม

สำหรับการให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อปี 10 ทะลาย/ต้น ประมาณ 6,000 บาท/ต้น/ปี สะละ 1 กอ จะมีประมาณ 3 ต้น สะละ 1 กอ จะให้ผลตอบแทน เท่ากับยางพารา 1 ไร่ ในขณะนี้

สะละ ลงทุนมากในตอนแรก คือ ค่าต้นพันธุ์ ค่าระบบน้ำ น้ำจะต้องเพียงพอ โดยขนาดพื้นที่ จำนวน 10 ไร่ จะต้องมีระบบน้ำ 1 ไร่ ขาดน้ำไม่ได้ และจะต้องดำเนินการอย่างประณีตตามวิธีการ มีการผสมเกสร การบันทึกเวลา ผลผลิตจึงจะได้คุณภาพ พร้อมกับจะสามารถวางแผนรองรับการตลาดได้ ประการสำคัญขณะนี้จะต้องเน้นพัฒนาทางด้านคุณภาพ เพราะบางสวนสะละยังไม่ได้ขนาดที่ตลาดต้องการอยู่ และสะละจังหวัดพัทลุง ได้มีการพัฒนาแปรรูปหลายผลิตภัณฑ์ มีตั้งแต่ น้ำสะละ สะละลอยแก้ว สะละผง สะละแยม ฯลฯ ปัจจุบัน มีพ่อค้าคนกลางกำลังดำเนินการทำตลาดเข้าสู่ห้างโมเดิร์นเทรด โดยกำหนดผลสะละที่ได้ขนาด และตั้งราคาที่ 40 บาท/กิโลกรัม

ปราจีนบุรี ไม่เพียงมีพันธุ์ไผ่ที่หลากหลาย มีหน่อไม้หรือชะอมที่อร่อยเท่านั้น แต่ไม้ผลหลายชนิดของจังหวัดนี้มีดีติดอันดับไม่แพ้แหล่งอื่น

ส้มโอ ที่ปราจีนบุรี จัดว่ามีคุณภาพไม่น้อยหน้าเลยทีเดียว ทั้งรสชาติความหวาน เนื้อ ขนาด ล้วนเป็นที่ถูกใจเซียนผลไม้จำนวนมาก แล้วยังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเกิดจากการปรับปรุงและพัฒนาการปลูก/ดูแลของชาวสวน ถึงขนาดต้องจัดประกวดส้มโอของจังหวัดกันเลย

ชาวปราจีนบุรีปลูกส้มโอสำหรับขายส่งตลาดในและต่างประเทศ แต่จะเน้นไปทางตลาดต่างประเทศมากกว่า โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกในพื้นที่จะเป็นทองดีและพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง เนื่องจากมีรสชาติหวานและเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วไป

คุณนิกร ศรีศิริ บ้านเลขที่ 74/1 หมู่ที่ 7 ตำบลศรีมหาโพธิ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี โทรศัพท์ (089) 095-2921 ได้ช่วยญาติพี่น้องทำสวนส้มโอมาตั้งแต่เด็ก นับจากนั้นถึงตอนนี้รวมเป็นเวลาทั้งสิ้นประมาณ 30 ปี มีสวนส้มโอหลายแห่ง ถ้านับพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 50 ไร่

ส้มโอที่ปลูกมากคือ พันธุ์ทองดี จำนวนกว่า 40 ไร่ รองลงมาเป็นขาวน้ำผึ้งราว 4 ไร่ แล้วล่าสุดทดลองปลูกพันธุ์ทับทิมสยาม โดยผลผลิตส้มโอทองดีจะขายให้แก่บริษัทที่รับซื้อเพื่อส่งไปต่างประเทศ ส่วนขาวน้ำผึ้งจะส่งขายในตลาดภายในประเทศทั้งปลีกและส่ง

ต้นพันธุ์ส้มโอที่ปลูกมาจากการตอนกิ่ง ซึ่งขั้นตอนการปลูกจะต้องเตรียมดินด้วยการไถพรวนแล้วปรับปรุงคุณภาพดิน ขุดหลุมปลูกขนาดไม่ใหญ่ แล้วนำต้นพันธุ์ลงปลูก ทั้งนี้ ถ้าพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มควรจะต้องทำแปลงปลูกแบบยกโคก แต่ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องน้ำสามารถปลูกแบบพื้นราบได้ ระยะปลูกขึ้นอยู่กับขนาดมาก-น้อยในแต่ละแปลง ถ้าแปลงใดมีพื้นที่ไม่มากจะกำหนดระยะปลูก 6 คูณ 6 เมตร แต่ถ้ามีพื้นที่มากอาจกำหนดระยะปลูก 7 คูณ 7 เมตร หรือ 8 คูณ 8 เมตร เมื่อปลูกแล้วให้วางระบบการให้น้ำ ทั้งนี้ พื้นที่ปลูกส้มโอของคุณนิกรมีทั้งสองแบบ

หลังจากเก็บผลผลิตรุ่นสุดท้ายหมดราวเดือนตุลาคม จะเริ่มดูแลต้นส้มโอด้วยการตัดกิ่งและใบที่ไม่สมบูรณ์ออกเท่านั้น แต่ไม่ได้ตัดออกมากเหมือนกับการตัดแต่งทรงพุ่ม ทั้งนี้ เพราะคุณนิกรต้องการให้ได้ผลผลิตมากในรุ่นต่อไป จากนั้นใส่ปุ๋ยคอก ถ้าเป็นปุ๋ยขี้ไก่แกลบใส่ประมาณ 50 กิโลกรัม ต่อต้น ถ้าเป็นปุ๋ยขี้วัวใส่ประมาณ 3 กระสอบ ต่อต้น ส่วนปุ๋ยสูตรที่ใช้มักใส่เป็นสูตรเสมอ อย่าง 15-15-15 หรือ 16-16-16 โดยจะใส่เป็นประจำเฉลี่ยปีละประมาณ 15-20 กิโลกรัม ต่อต้น

“ปุ๋ยสูตรเสมอใส่ไปจนถึงเดือนกันยายนหรือหมดฝนก็จะหยุดใส่ แล้วปล่อยต้นแห้งเหี่ยวเฉา จากนั้นจึงเริ่มให้น้ำเพื่อให้ใบอ่อนแตก แล้วจึงค่อยใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 เพื่อช่วยในการเร่งออกดอก แล้วบำรุงดอก แล้วยังชี้ว่าปุ๋ยสูตรต่างๆ ที่นำมาใส่ล้วนเสริมสร้างความสมบูรณ์ของต้น ใบ และดอก ทั้งยังช่วยให้คุณภาพผลผลิตส้มโอมีเนื้อแน่น ไม่แฉะ หวาน หอม รวมถึงยังมีขนาดใหญ่”

เจ้าของสวนส้มโอชี้ว่า อายุต้นส้มโอจะยาวนานแค่ไหนขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ลักษณะดินและสิ่งแวดล้อมในแต่ละพื้นที่เป็นตัวกำหนด ทั้งนี้ หากพื้นที่แห่งใดที่มีชั้นใต้ดินเป็นหินหรือลูกรังจะทำให้ต้นส้มโอที่ชอบลักษณะแบบนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีแล้วมีอายุยาวนานสามารถให้ผลผลิตที่มีความสมบูรณ์ต่อเนื่อง ในทางตรงกันข้าม ถ้าเจอสภาพดินที่ลุ่มชื้นแฉะอายุต้นก็ไม่นาน อาจได้ผลผลิตสูงในช่วงแรก จากนั้นผลผลิตจะค่อยลดลง เพราะเจอโรคต่างๆ สำหรับสวนส้มโอของคุณนิกรมีลักษณะพื้นที่ทั้งสองแบบ

“ทางด้านโรค/แมลง ในช่วงที่เริ่มปลูกส้มโอยังไม่ค่อยพบ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะยังใหม่อยู่ การสะสมเชื้อโรค หรือการเกิดศัตรูยังไม่ปรากฏมากนัก จนเมื่อปลูกได้หลายปี หรือมาในระยะหลังนี้มักพบบ่อยโดยเฉพาะพวกเพลี้ยหอยที่เข้ามาทำลายต้น หรือเชื้อโรคที่เกิดจากในดินเพราะดินมีความชื้นสูง สำหรับแมลงศัตรูมีน้อย เพราะที่ผ่านมามักใช้สารอินทรีย์ฉีดป้องกัน ซึ่งถ้าเป็นพื้นที่ประสบปัญหาดังกล่าวอาจต้องรื้อเพื่อปรับปรุงดินแล้วปลูกใหม่”

คุณนิกร บอกว่า ผลผลิตส้มโอหลังจากเก็บชุดแรกแล้ว จะเริ่มทยอยมีผลผลิตออกมาเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงประมาณปลายเดือนตุลาคม ซึ่งจะเป็นชุดสุดท้าย ทั้งนี้ ผลผลิตส้มโอทองดีทุกรุ่นจะส่งเข้าบริษัทที่รับซื้อเพื่อส่งไปขายต่างประเทศ โดยต้องเก็บก่อนแก่

ส่วนผลผลิตขาวน้ำผึ้งที่ขายตลาดในบ้านเรายังไม่เก็บจะรอจนกว่าแก่จัดคาต้นจึงจะเก็บขาย ทั้งนี้ ผลผลิตที่เก็บในแต่ละรุ่นมีจำนวนมาก-น้อยต่างกัน โดยผลผลิตรุ่นแรกๆ จะมีมากประมาณ 3-4 หมื่นลูกต่อรุ่น แต่จะค่อยๆ ลดน้อยลงจนเกือบรุ่นสุดท้ายจะได้ผลผลิตประมาณ 2 หมื่นกว่าลูก

คุณนิกร เผยถึงความเปลี่ยนแปลงราคาส้มโอที่กระทบต่อรายได้เกษตรกรชาวสวนว่า ในช่วง 5-6 ปี ที่ผ่านมา ราคาส้มโออยู่ในระดับที่ชาวสวนพอใจมาก ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลพวงมาจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 แล้วสร้างความเสียหายต่อแหล่งปลูกส้มโอย่านนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง ส่งผลต่อผลผลิตส้มโอจำนวนมากหายไปจากตลาด

“ขณะเดียวกัน ผลผลิตส้มโอในแหล่งจังหวัดปราจีนบุรีที่มีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพอยู่ตลอดทำให้ขายได้ราคาดี โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศที่เข้ามาสนใจผลผลิตส้มโอมากขึ้น ซึ่งถึงแม้ตอนนี้ภาพรวมผลผลิตส้มโอกลับสู่ภาวะปกติแล้วส่งผลต่อราคาขายในประเทศ แต่ชาวบ้านในพื้นที่ก็ยังไม่เดือดร้อนเนื่องจากมีการพัฒนาคุณภาพพร้อมเร่งปลูกเพื่อส่งขายต่างประเทศเป็นหลัก”

สวนส้มโอคุณนิกรปลูกส้มโอขายส่งตลาดต่างประเทศถึงกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นส้มพันธุ์ทองดี ส่วนขาวน้ำผึ้งขายในตลาดเมืองไทย ทั้งนี้ ราคาขายตลาดต่างประเทศขึ้นอยู่กับทางบริษัทที่รับซื้อตั้งราคา แต่สำหรับราคาขายส้มโอขาวน้ำผึ้งในบ้านเรากำหนดขายเป็นลูก โดยแบ่งออกเป็น 3 ขนาด ที่วัดตามผล ซึ่งถ้าเป็นขนาด 17 นิ้ว ราคาขายส่งอยู่ระหว่าง 50-60 บาท ขนาด 18 นิ้ว ราคาขายส่งอยู่ระหว่าง 70-80 บาท และขนาด 19 นิ้ว ราคาขายส่งอยู่ที่ 120 บาทขึ้นไป แต่ถ้าเป็นราคาขายปลีกส่วนมากจะขายที่ขนาด 19 นิ้ว ซึ่งกำหนดราคาขายเริ่มต้นที่ 200 บาท ต่อผล

นอกจากผลผลิตส้มโอที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศแล้ว คุณนิกรยังมีลูกค้าประจำทั้งในพื้นที่และจังหวัดอื่นแวะเวียนมาอุดหนุนกันเป็นประจำ จากแผงตั้งขายหน้าบ้าน

ทั้งนี้ เจ้าของสวนเผยถึงแนวคิดการปลูกส้มโอว่าทุกครั้งจะปลูกด้วยความเอาใจใส่ มีระเบียบวินัยต่อการปลูกตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนกระทั่งเก็บผลผลิต เป็นสวนส้มโอที่ได้มาตรฐาน ดังนั้น คุณภาพส้มโอทุกผลที่เกิดจากความมุ่งมั่นและตั้งใจจึงมีรสหวานหอม เนื้อแน่น แห้งพอดี เปลือกบาง และผลใหญ่ เป็นที่ชื่นชอบของบรรดาลูกค้าขาประจำทั้งในพื้นที่และต่างจังหวัด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผลผลิตส้มโอของคุณนิกรมีมาตรฐาน มีคุณภาพสม่ำเสมอ พร้อมกับได้รับรางวัลต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมายทุกปี

คุณนิกร เล่าว่า ในปัจจุบันวิธีปลูกส้มโอและแนวคิดการตลาดเปลี่ยนไป โดยในสมัยก่อนจะวางแผนปลูกส้มโอเพื่อให้มีผลผลิตตรงกับช่วงเทศกาลสำคัญ เพื่อให้ขายได้ราคาสูง ซึ่งความคิดเช่นนี้เหมือนกันทั่วไปจึงทำให้ผลผลิตล้นตลาด ราคาไม่สูงตามที่คาดหวัง

“แต่ตอนนี้วิวัฒนาการต่างๆ เปลี่ยนไป เทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาช่วยขยายช่องทางการตลาดให้กว้างขึ้น ผลผลิตการเกษตรสามารถนำไปขายได้ทั่วโลก ฉะนั้น แนวคิดเดิมอาจล้าสมัย เพราะตลาดทั่วโลกมีความต้องการต่อเนื่อง การเก็บรักษาไม่เป็นอุปสรรคปัญหาเ พราะสามารถเก็บในห้องแช่เย็นได้โดยยังรักษาคุณภาพไว้ ด้วยเหตุผลนี้จึงช่วยให้ชาวสวนมีรายได้มากขึ้น ขอเพียงให้คุณมีความตั้งใจผลิตสินค้าให้มีคุณภาพเท่านั้น” คุณนิกร กล่าว

ทางด้าน คุณวิโรจน์ วัฒนวิเชียร เกษตรอำเภอศรีมหาโพธิ กล่าวว่า เกษตรกรที่ปลูกส้มโอในพื้นที่มีจำนวนกว่า 70 ราย มีวิธีปลูกและแหล่งจำหน่ายเหมือนกัน ทั้งนี้ ทางเกษตรอำเภอได้ให้ชาวบ้านจดเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อจะได้เป็นช่องทางเปิดโอกาสให้ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือในทุกเรื่องจากภาครัฐ ขณะเดียวกัน ยังช่วยประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ส้มโอในพื้นที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยหาตลาดให้ชาวสวนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การปลูกส้มโอนับเป็นทางเลือกของรายได้ที่ชาวบ้านทำกันนอกจากการทำนาที่เป็นอาชีพหลักทางการเกษตร โดยระยะหลังพบว่าชาวบ้านให้ความสนใจหันมาปลูกส้มโอกันมากขึ้น เพราะต่างเห็นว่ามีตลาดต่างประเทศรองรับแน่นอนและมีราคาขายสูง อีกทั้งยังมีความต้องการต่อเนื่อง นอกจากนั้น ส้มโอยังเป็นไม้ผลที่ปลูกไม่ยาก ขยายพันธุ์ด้วยกิ่งตอน ทำให้ใช้เวลาไม่นานในการเก็บผลผลิต

“อีกไม่นานคงต้องมีการรวมกลุ่มปลูกส้มโอแปลงใหญ่ เพื่อสร้างให้เป็นระบบที่สมบูรณ์ มีกระบวนการดูแลในด้านต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อสร้างประสิทธิภาพในระบบตลาดให้มีความเข้มแข็ง เป็นที่ยอมรับมากขึ้น อีกทั้งสำนักงานเกษตรยังให้ความสำคัญต่อการเลิกใช้สารเคมีที่มีผลกระทบกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนส่งเสริมให้ชาวสวนหันมาใช้ปัจจัยทางธรรมชาติเพื่อการปรับปรุงดินและไม้ผล เพราะต้องการช่วยลดความเสี่ยง พร้อมกับช่วยลดต้นทุน” คุณวิโรจน์ กล่าว

น.ส.ฟ้าใส บุญส่ง เจ้าของฟ้าใสฟาร์ม วัย 42 ปี เล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปว่า “ย้อนกลับไป เมื่อปี 2553 ขณะนั้นสำเร็จการศึกษาปริญญาโท ด้านการส่งเสริมการเกษตร จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) เริ่มอาชีพการเป็นนักวิจัยอิสระ ควบคู่กับทำงานประจำ และได้ศึกษาแนวทางเกษตรธรรมชาติของมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เจ้าของแนวคิดชาวญี่ปุ่น กระทั่งเล็งเห็นว่า ปัจจุบันคนเรามีอายุเฉลี่ยที่สั้นลง เนื่องจากกินพืชผักที่มีสารพิษไปสะสมในร่างกาย จึงผันตัวมาทำการเกษตรที่ปลอดภัย ก่อนจะตัดสินใจลาออกจากงานประจำ โดยมีความตั้งใจแน่วแน่มาทำการเกษตรตามแนวทางเกษตรธรรมชาติ ซึ่งเน้นให้การเพาะปลูกพืชทุกชนิดเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้สารเคมีใดๆทั้งสิ้น”

น.ส.ฟ้าใส กล่าวต่อว่า จากนั้น ในปี 2554 ได้เข้ามาซื้อที่ต่อจากเจ้าของเดิม บนพื้นที่ 2 ไร่ ลงมือลงแรงร่วมกับ นายนิเวศ ชายฝั่ง ผู้เป็นคู่ชีวิต ซึ่งลาออกจากงานประจำตำแหน่งนักพัฒนาองค์กรเอกชน มาช่วยกันปรับเปลี่ยนพื้นที่ เพาะปลูกพืชผักและพรรณไม้นานาชนิดเท่าที่จะหาพันธุ์มาปลูกได้ อาทิ ผักกวางตุ้ง คะน้า อ้อย ชะพลู ขมิ้น พริกขี้หนู เตยหอม กระชาย บัวบก อัญชัน กุหลาบ ตลอดจนพันธุ์ไม้พื้นเมืองอีกหลายชนิด โดยปลูกตามแนวคิดเกษตรธรรมชาติให้ทุกอย่างอยู่กันอย่างสมดุลเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ท่ามกลางสายตาผู้คนหาว่า “บ้า” แต่ก็ไม่ได้สนใจ เพราะรู้ว่ากำลังทำอะไรกันอยู่ ต้นทุนการเพาะปลูกจะต่ำมากๆ เนื่องจากพันธุ์ก็หาได้จากท้องถิ่น ไม่ใช้ปุ๋ยและสารเคมี ทำให้ไม่มีรายจ่ายในส่วนนี้ ต่อมามีเจ้าหน้าที่เข้ามาแนะนำให้ขอมาตรฐาน organic thailand จากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ จึงได้ยื่นคำขอไป และได้รับการตรวจสอบมาตรฐานโดยอยู่ในระยะปรับเปลี่ยน เพียง 3 เดือน ก็ผ่านมาตรฐาน ได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง

ผลผลิตของฟาร์มในระยะแรกเริ่มจะเน้นการบริโภคเองและแจกจ่ายเพื่อนบ้าน ต่อมาเริ่มมีคนเข้ามาติดต่อขอซื้อจึงแบ่งขาย ปัจจุบันผลผลิตบางส่วนจะนำมาวางจำหน่ายที่ตลาดเกษตรกร หน้าศาลากลางจังหวัด ผลผลิตอีกจำนวนหนึ่งจะทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของฟาร์ม อาทิ แชมพูสระผมจากดอกอัญชัน ชาใบหม่อน ชารางจืด สบู่ขมิ้น ฯลฯ จำหน่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ สร้างรายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งรายได้อีกทางของฟาร์มมาจากการเพาะและจำหน่ายพันธุ์ไม้ท้องถิ่น ซึ่งบางชนิดหายากเป็นที่ต้องการ เช่น ยอบ้าน แคนา จำปาดะ หมากหมก ผักหวานบ้าน ผักปรัง เป็นต้น