ทายาทสายตรงของคุณวัชระ ได้เข้ามาดูแลสานต่อกิจการจาก

คุณพ่อพร้อมพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เข้ามาให้บริการแก่ลูกค้าที่สนใจ ได้แก่ มะยงชิดทูลเกล้าคว้านเมล็ดเนื้อแน่นๆหวานกรอบฉ่ำๆ มะยงชิดปั่น มะยงชิดลอยแก้ว ไอศครีมมะยงชิด ที่ผสมผสานเนื้อมะยงชิดเน้นๆอร่อยอมเปรี้ยวหวานกำลังดี..อร่อยฟินเว้อ..อย่าบอกใครเชียว

สวนละอองฟ้า2 เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเข้าชมสวนได้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ผู้สนใจสามารถเวียนมาชมสวนและเลือกซื้อมะยงชิดทูลเกล้าลูกโต ๆ คัดไซร์พิเศษ 12ลูก/กิโลกรัม หวานเข้มข้นทุกลูก รวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปหลากหลายเมนู ที่สวนละอองฟ้า 2 ได้ทุกวัน นอกจากฤดูมะยงชิดแล้วก็ยังมีผลไม้ตามฤดูต่างๆอีกมากมาย เรียกว่าใครมานครนายกห้ามพลาดเด็ดขาด ติดต่อสั่งจองสินค้าได้ล่วงหน้ากับคุณมดได้ที่เบอร์โทร 089-6993083

ขอขอบคุณภาพประกอบข่าว จาก สวนละอองฟ้า 2 โรคใบด่างมันสำปะหลัง ถือเป็นโรคร้ายแรงที่สำคัญของมันสำปะหลัง หากเกิดขึ้นแล้วหมายถึงการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศดังที่เกิดขึ้นมาแล้วในทวีปแอฟริกาและแถบคาบสมุทรอินเดีย

มีรายงานจากต่างประเทศแถบแอฟริกา อินเดีย ศรีลังกา เวียดนาม และกัมพูชา พบการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง ทำลายผลผลิตมันสำปะหลังมากถึง 88 เปอร์เซ็นต์ ในประเทศไทยไม่เคยปรากฏการเกิดโรคใบด่างมันสำปะหลังมาก่อน จากรายงานกลุ่มงานไวรัสวิทยา กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ว่า โรคใบด่างมันสำปะหลังมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส

ในจีนัส (genus) Begomovirus ไวรัสชนิดนี้มีรายงานว่า มีทั้งหมด 12 ชนิด โดย 10 ชนิด ก่อความเสียหาย 80-100 เปอร์เซ็นต์ ในหลายประเทศทางแอฟริกา เช่น ยูกันดา แทนซาเนีย แซมเบีย มาดากัสการ์ บูร์กินาฟาโซ มาลาวี และซิมบับเว เป็นต้น ส่วนในทวีปเอเชียพบการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง เพียง 2 ชนิด คือ อินเดียน คาสซาวา โมเซอิค ไวรัส (ICMV) ในประเทศอินเดีย และศรีลังกา คาสซาวา โมเซอิค ไวรัส (SLCMV) พบมีการระบาดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา เวียดนาม และกัมพูชา ปรากฏความเสียหายต่อผลผลิตมันสำปะหลังมากถึง 88 เปอร์เซ็นต์

คุณภูวนารถ มณีโชติ นักวิชาการโรคพืชชำนาญการ กลุ่มงานไวรัสวิทยา กลุ่มวิจัยโรคพืช กล่าวว่า เมื่อปี 2558 มีรายงานการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดรัตนคีรี ประเทศกัมพูชา ได้มีการนำไปวิเคราะห์พบว่าเกิดโรคเชื้อไวรัสชนิด ศรีลังกา คาสซาวา โมเซอิค ไวรัส (SLCMV) และได้มีการประกาศว่าในประเทศกัมพูชามีการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส SLCMV นอกจากนี้ยังพบว่า ในปี 2560 มีการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังชนิดนี้ในจังหวัดเตนินห์ บริเวณภาคใต้ของประเทศเวียดนาม มีการระบาดประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ปลูก และคาดว่าจะมีการระบาดเพิ่มมากขึ้นอีกถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ในฤดูการปลูก ปี 2561/2562 และได้มีการระบาดออกไปอีก 11 จังหวัด ของประเทศเวียดนามรวมทั้งโฮจิมินห์ด้วย

คุณภูวนารถ กล่าวต่อไปว่า กรมวิชาการเกษตร มีความกังวลเกรงว่าโรคใบด่างมันสำปะหลังจะระบาดเข้ามาในประเทศไทย เนื่องจากพื้นที่การระบาดในประเทศกัมพูชาอยู่ใกล้ชายแดนของประเทศไทย จึงเตรียมการสกัดกั้นไม่ให้โรคใบด่างมันสำปะหลังเข้ามาในประเทศไทย โดยเฝ้าระวังคอยสำรวจแปลงมันสำปะหลังของเกษตรกร จนกระทั่งเดือนสิงหาคม 2561 ที่ผ่านมาได้มีการตรวจพบต้นมันสำปะหลังของเกษตรกรมีลักษณะอาการคล้ายโรคใบด่างมันสำปะหลังที่ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 2 ต้น

และพบที่ อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ เราได้ทำการสำรวจต้นมันสำปะหลังในรัศมี 5 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 60 ไร่ จึงได้ทำลายทั้งหมดโดยการไถแล้วฝังกลบ เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม แม้จะพบเพียง 2 ต้น จะใช่โรคใบด่างหรือไม่ก็ตาม เมื่อมีอาการและลักษณะคล้ายโรคใบด่างมันสำปะหลัง ก็จำเป็นต้องทำลายทั้งแปลง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายออกไป

โชคดีที่เกษตรกรยินยอมให้ทำลายทั้งแปลง เมื่อเราชี้แจงถึงความเสียหายที่จะเกิดในบ้านเรา คุณภูวนารถ บอกพร้อมกับยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดของประเทศกัมพูชา เช่น จังหวัดรัตนคีรี เสียมราฐ อุดรมีชัย กำปงธม กำปงจาม และตโมงฆมุม เป็นผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังของกัมพูชา ปี 2561/2562 มีแนวโน้มผลผลิตโดยรวมจะลดลงอีกประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์

“เนื่องจากชายแดนของประเทศกัมพูชาอยู่ติดกับประเทศไทย ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องช่วยกันเฝ้าระวังอย่าให้ท่อนพันธุ์หลงเข้ามาในประเทศไทยได้”

อาการของโรคใบด่างมันสำปะหลัง

เมื่อนักวิชาการโรคพืชไปพบต้นมันสำปะหลังที่มีลักษณะคล้ายโรคใบด่าง กลุ่มวิจัยโรคพืชของกรมวิชาการเกษตรและนักวิชาการเกษตร ได้เข้าไปแนะนำให้ความรู้แก่เกษตรกรเจ้าของแปลงมันสำปะหลังให้รู้จักลักษณะอาการของโรคใบด่างมันสำปะหลัง ตลอดจนความรุนแรงของโรคที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่เกษตรกรเอง และให้เกษตรกรเจ้าของแปลงหมั่นเข้าไปตรวจสอบแปลงมันสำปะหลังของตน

มันสำปะหลังที่เป็นโรค จะแสดงอาการใบด่างเหลือง ใบเสียรูปทรง ยอดที่แตกใหม่จะแสดงใบด่างอย่างรุนแรง ลำต้นแคระแกร็น ทั้งนี้ ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัสและพันธุ์มันสำปะหลังด้วย

“อาการใบด่างของมันสำปะหลังมีหลายรูปแบบ เช่น ด่างเขียวซีดสลับเขียวเข้ม ด่างเหลืองสลับเขียว ใบหงิกหรือหงิกเหลือง ใบย่อยหงิกเบี้ยว หงิกงอ โค้ง เสียรูปทรง ใบอ่อนและใบที่เจริญใหม่มีขนาดเล็กลง ยอดหงิกต้นแคระแกร็น”

การแพร่ระบาดของโรค

คุณภูวนารถ พูดถึงสาเหตุการแพร่กระจายของโรคใบด่างมันสำปะหลัง มีสาเหตุหลักมาจากการนำท่อนพันธุ์มาจากต้นที่เป็นโรคใบด่าง ที่มีเชื้อไวรัสสาเหตุของโรคปนเปื้อนมาปลูก จึงทำให้โรคใบด่างมันสำปะหลังแพร่กระจายออกไปยังพื้นที่ต่างๆ ดังที่เกิดในประเทศใกล้เคียงบ้านเรา นอกจากนั้น ยังมีแมลงหวี่ขาวยาสูบ เป็นพาหะไปดูดน้ำเลี้ยงจากต้นที่เป็นโรค ไปดูดน้ำเลี้ยงจากต้นที่ไม่เป็นโรคต่อก็จะเป็นโรคขึ้นมา จึงทำให้เกิดการแพร่กระจายและระบาดไปยังพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ต้นมันสำปะหลังก็จะแพร่กระจายโรคได้อย่างรวดเร็ว

มาตรการเฝ้าระวัง การแพร่กระจายของโรคพืชที่สำคัญ

หากมีการระบาดของโรคพืชที่สำคัญและร้ายแรงเกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น โรคใบด่างมันสำปะหลัง เป็นต้น จะต้องมีการประกาศเขตควบคุมโรค คุณชลธิชา รักใคร่ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ กลุ่มเฝ้าระวังศัตรูพืช กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ชี้แจงว่า ในกรณีที่ตรวจพบศัตรูพืชที่สำคัญ และไม่สามารถบริหารจัดการด้วยมาตรการต่างๆ

ได้ เช่น การทำลายหรือฝังกลบ หรือการทำลายอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการทุกอย่าง แต่ก็ไม่สามารถยับยั้งการระบาดของโรคได้ เราจำเป็นต้องหันมาใช้มาตรการทางด้านกฎหมาย คือ มาตรา 17 ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่ง พ.ร.บ. 17 ให้อำนาจไว้ว่า ในกรณีที่ตรวจพบศัตรูพืชร้ายแรงที่ไม่เคยมีในประเทศไทยมาก่อน สามารถประกาศให้เป็นเขตควบคุมศัตรูพืช วัตถุประสงค์ก็เพื่อป้องกันมิให้ศัตรูพืชร้ายแรงแพร่ระบาดจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งที่ยังไม่มีโรคระบาด โดยแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจพื้นที่ที่ประกาศเขตควบคุม

การประกาศเขตควบคุมโรคจะต้องบอกขอบเขตในหมู่บ้านนั้นให้ชัดเจนว่า ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก จรดกับหมู่บ้านอะไรในเขตนั้นๆ ที่เราคิดว่ามีศัตรูพืชกักกัน ดังนั้น การที่จะนำเข้าหรือส่งออกพืชในเขตควบคุม จะต้องผ่านการตรวจของเจ้าหน้าที่

คุณชลธิชา กล่าวว่า ในกรณีที่มีโรคพืชที่สำคัญและร้ายแรงเกิดขึ้นในประเทศใกล้เคียง และเป็นโรคที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย หรือสงสัยว่าพืชที่พบมีลักษณะการคล้ายโรคที่เกิดก็จำเป็นต้องทำลายและฝังกลบ โดยให้เจ้าของแปลงหรือเจ้าของสวนเป็นผู้ทำลาย เมื่อทำลายหมดแล้วก็ประกาศยกเลิกเป็นเขตควบคุม

ถ้าเกษตรกรไม่ยอม จะมีมาตรการอย่างไร

คุณชลธิชา ชี้แจงว่า ในกรณีที่ข้อมูลทางวิชาการระบุชัดเจนว่า พืชนั้นๆ เป็นโรคร้ายแรงที่สำคัญจำเป็นต้องทำลายเพื่อไม่ให้เกิดแพร่ระบาด จะทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งของเกษตรกรเอง และถ้าพืชนั้นเป็นพืชเศรษฐกิจจะทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องของภัยพิบัติจึงต้องใช้มาตรการทางด้านกฎหมายของบ้านเมือง ถ้าไม่ยอมทำลายถือว่าเป็นความผิดทางอาญา มีโทษจำคุกทั้งปรับทั้งจำ ซึ่งเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ควบคุมกฎหมาย กรมวิชาการเกษตรเกี่ยวข้องเฉพาะเรื่อง พ.ร.บ. กักพืชเท่านั้น

โชคดีที่ยังไม่มีการระบาดของโรคพืชที่รุนแรงเกิดขึ้นในบ้านเรา แต่กรมวิชาการเกษตรจำเป็นต้องมี พ.ร.บ. กักพืช พ.ศ. 2507 ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภัยพิบัติรุนแรงขึ้นได้ ดังนั้นขอให้เกษตรกรปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงาน เจ้าหน้าที่ และนักวิชาการของกรมวิชาการเกษตรอย่างเคร่งครัด และช่วยกันเฝ้าระวังอย่าให้เหตุเกิดขึ้นมาได้

การป้องกันโรคใบด่างมันสำปะหลัง

เกษตรกรควรใช้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังจากต้นที่ไม่เป็นโรคใบด่างมาปลูก ควรใช้ท่อนพันธุ์ภายในประเทศ ไม่นำท่อนพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาปลูก เพราะอาจเสี่ยงต่อการนำเอาท่อนพันธุ์ที่ติดเชื้อไวรัสเข้ามาปลูก
เกษตรกรควรหมั่นเดินตรวจแปลงตั้งแต่เริ่มปลูกทุกๆ 2 สัปดาห์ หากพบอาการที่ผิดปกติสงสัยว่าจะเป็นโรคใบด่าง เช่น ใบหงิก ใบด่าง ให้แจ้งเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร หรือกรมส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ให้มาตรวจสอบ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะขุดถอนทำลายต้นต้องสงสัยออกจากแปลงนำไปฝังกลบพ่นต้นที่เหลือในแปลงและแปลงข้างเคียงด้วยสารฆ่าแมลงเพื่อทำลายแมลงหวี่ขาวยาสูบ ติดตามการเกิดโรคใบด่างในแปลงอย่างต่อเนื่องทุก 2 สัปดาห์

หากเกษตรกรมีข้อสงสัยหรือพบอาการโรคใบด่างมันสำปะหลัง ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สามารถแจ้งได้ที่สายด่วนเฝ้าระวังโรคใบด่างมันสำปะหลัง กลุ่มงานเฝ้าระวังศัตรูพืชกักกัน กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร. (02) 579-8516, (061) 415-2517 หรือกลุ่มงานไวรัสวิทยา โทร. (02) 579-9588

“เจก รัตนตั้งตระกูล” ชื่อนี้หากใครดูช่วงข่าวในพระราชสำนัก หรือรายการข่าวในบางช่วง ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 ก็จะได้มีโอกาสพบผู้ประกาศข่าว ซึ่งอ่านข่าวด้วยสไตล์กระฉับกระเฉง เป็นตัวของตัวเอง และไม่เพียงแต่จะมีความสามารถด้านการเป็นผู้ประกาศข่าว ยังมีความสามารถในการเป็นเกษตรกรชั้นแนวหน้าของพื้นที่บางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการด้วย

คุณเจก รัตนตั้งตระกูล กระโดดเข้ามาศึกษาเทคโนโลยีไฮโดรโปนิกส์กับการปลูกผักสลัดประเภทต่างๆ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว และเรียนรู้จากการทดลองปลูกด้วยตนเอง ตามคำแนะนำของครูที่สอนในคอร์สการอบรมแบบวันเดียวจบ จนกระทั่งวันนี้ เป็นเจ้าของ “โกดังผักสลัด ณ บางกะเจ้า” อย่างเต็มตัว ในวัยเพียง 40 ปี

ผลงานการปลูกผัก ได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทผักสลัด พันธุ์กรีนโอ๊ค และรางวัลชมเชย พันธุ์เรดโอ๊ด จากงานมหกรรมสินค้าเกษตรปลอดภัย และของดีเมืองปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2561 และปีนี้ก็คว้ารางวัลที่ 3 มาครอง ด้วยคุณภาพของผักสลัดที่ปลูกด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์

แรงบันดาลใจที่นับเป็นจุดสำคัญในการเริ่มต้นให้คุณเจกก้าวเข้ามาเป็นหนึ่งในเกษตรกรที่ได้รับการยอมรับนั้นคือ การเติบโตมากับธรรมชาติที่บางกะเจ้า และแวดล้อมไปด้วยผู้คนที่อยู่กับธรรมชาติ มีความเป็นเกษตรกรอยู่ดั้งเดิม จึงคิดว่าควรทดลองปลูกผักให้เป็นกิจกรรมของครอบครัว จึงนำพื้นที่บางส่วนของบริเวณบ้านให้เป็นพื้นที่ปลูกผักแบบลงดิน ซึ่งก็พบกับอุปสรรคหลายอย่างในเรื่องของธรรมชาติที่ควบคุมไม่ได้

จากนั้นจึงเริ่มไปเรียนเทคนิคการปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์จากคอร์สที่มีการอบรม เมื่อเรียนแล้วนำความรู้มาทดลองใช้ทันที ด้วยการตั้งโต๊ะปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์เพียงตัวเดียว โดยใช้โต๊ะที่มีความยาว 12 เมตร และใช้เงินลงทุน 30,000-40,000 บาท ซึ่งปัจจุบันมีโต๊ะปลูกผักทั้งหมด 5 โต๊ะ

“ประมาณเกือบ 2 ปีที่แล้ว ครอบครัวเราอยากจะหากิจกรรมสนุกๆ ทำด้วยกัน ส่วนผมนอกเหนือจากการอ่านข่าว อย่างน้อยได้ลองทำ ปลูกพืช ปลูกผัก ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีมีท้องร่องหลังสวน ก็ลองปลูกผักเล่นๆ ดู ก็ยังไม่เป็นไฮโดรโปนิกส์ ก็เจอทั้งเรื่องแมลง ทั้งโรค คุมลำบาก ก็เลยคุยกันในครอบครัวว่า ลองปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ดูไหม เรียนวันหนึ่งก็จบแล้ว เมื่อเรียนเสร็จแล้ว ก็ทดลองปลูก เพื่อให้รู้ว่าเราชอบไหม และทุกฤดูกาลจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลกับผักที่เราปลูกอย่างไรบ้าง ต้องทดลองปลูก ตอนนั้นก็ต้องถมที่ พื้นที่หลังบ้านเป็นร่องสวน ซึ่งมันรกมาก ปรับพื้นที่ใหม่ ปูหิน และนำโต๊ะที่จะปลูกผักสลัดไปลงเพียงโต๊ะเดียว วางไว้กลางแจ้ง และก็เริ่มนำเทคนิคที่เรียนมาใช้ บวกกับประสบการณ์ของตัวเองนิดๆ หน่อยๆ ปรากฏว่าผักที่ปลูกออกมาให้ผลผลิตได้ดี” คุณเจก เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้น

สำหรับรอบผักสลัดที่คุณเจกปลูกนั้น จะมีรอบการเติบโตประมาณ 42 วัน ต่อรอบ ตั้งแต่ขั้นตอนการลงเมล็ด และ เติบโตจนเก็บกินได้ ซึ่งช่วงแรกที่ปลูกเพียงโต๊ะเดียว ได้ผลผลิตราว 480 ต้น ก็นำผลผลิตมากินเอง พร้อมกับแบ่งให้เพื่อนบ้านกิน โดยคุณเจกบอกว่า เป็นความสุขที่ได้เห็นตั้งแต่เป็นผักเม็ดเล็กๆ และเติบโตขึ้นมา จนมีผลผลิตให้กิน

“ตอนลงทุนยังไม่ได้มองตลาด ให้มีกิจกรรมที่มีความสุข เหมือนปลูกผักอยู่หลังบ้านแล้วกินผลผลิต แต่ผลผลิตที่ได้มันเยอะน่ะ 480 ต้น ตอนลองปลูกเต็มโต๊ะ ก็หลายกิโล แล้วผักต้นใหญ่มาก 1 ต้น แบ่งได้ 2 จาน สบายๆ 480 ต้นก็ได้เป็นพันจาน ในช่วง 2 รอบแรก ได้ผลผลิตออกมาทานเอง พอรอบหลังทานไม่หมด ก็เปิดบ้านให้คนปั่นจักรยานเข้ามาเพื่อให้เก็บผักกลับบ้าน คิดต้นละ 25 บาท คนก็ทยอยกันมา โดยเฉพาะช่วงวันเสาร์และอาทิตย์ มาเคาะประตูบ้าน ซื้อผักหน่อยจ้า เราก็เปิดหลังบ้านให้เขาเดินเข้ามาเก็บ ต่อมาลูกค้าก็เริ่มถามหาว่ามีอะไรให้ทานบ้างไหม ก็เริ่มเปิดเป็นร้านอาหารตามมาเรื่อยๆ” คุณเจก เล่า

มาถึงตรงนี้เรื่องของผักสลัดก็สนุกขึ้นอีก เมื่อคุณเจกนำผลผลิตจากการปลูกด้วยไฮโดรโปรนิกส์ ไปให้เพื่อนๆ ที่ช่อง 3 ชิม หลังจากนั้นก็เปิดจำหน่าย ซึ่งมีทั้งแบบตัดต้นไปขายแบบสด และการแปรรูปนำผักสลัดไปใส่กล่อง จำหน่ายพร้อมน้ำสลัด ซึ่งมีสูตรทั้งแบบญี่ปุ่น และซีฟู้ด สนนราคาเพียง 3 กล่อง 100 บาท รวมทั้งนำไปเปิดขายที่ตลาดนัดดาราของช่อง 3 เรียกว่า วางไม่ถึง 2 ชั่วโมง ขายหมดในพริบตา เพราะนอกจากจะมีผักสลัดที่มีคุณภาพแล้ว ยังมีโลโก้ของคุณเจก การันตีว่าเป็นผักสลัดไฮโดรโปรนิกส์ เป็นผลผลิตที่ปลูกโดยผู้ประกาศข่าว

“ผมก็มาคิดว่าเมื่อกระแสตอบรับดี เราก็เปิดอีกส่วนหนึ่งเป็นร้านอาหารให้คนที่บางกะเจ้าได้ทาน ทำตามออเดอร์ ก็คิดว่า เปิดเป็นที่เล็กๆ ตอนแรกไม่ได้คิดจะเป็นร้านอาหาร คิดแค่ว่า มีที่เก็บผลผลิต ก็เริ่มต้องซื้อตู้เย็น และก็ต่อบ้านน็อกดาวน์ พอมีบ้านน็อกดาวน์ เต็นท์ก็เริ่มมา ชื่อโกดังผักสลัดก็เริ่มมา จากนั้นก็คิดกับภรรยาว่าจะตั้งชื่ออะไรดี ก็คิดชื่อโกดังผักสลัดขึ้นมา เพื่อให้เป็นที่จดจำชื่อ พอทำร้านอาหารก็เป็นที่รู้จักมากขึ้น จากเมนูสลัดที่เคยได้รับความนิยมจากตลาดนัดดาราช่อง 3 ก็ค่อยๆ ขยาย เป็นเมนูข้าว เป็นเมนูเพื่อสุขภาพ ส่วนเมนูดั้งเดิมก็คือ โกดังสลัด แหนมเนือง และเมนูล่าสุดคือ เมี่ยงไก่ลาว ทุกวันนี้ก็เป็นธุรกิจครอบครัว ใครทำอะไรได้ก็มาช่วยกันก่อน ซึ่งตอนนี้เปิดเฉพาะเสาร์อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ส่วนลูกค้ามีทั้งเป็นกลุ่มที่มาสัมมนา และกลุ่มเด็กอนุบาล มาดูสวนผัก ก็เป็นอะไรที่เราเซอร์ไพรส์ มีลูกค้าเข้ามาเรื่อยๆ” ผู้ประกาศข่าวช่อง 3 เล่าถึงความสนุกกับที่สิ่งที่เริ่มทำจากจุดเล็กๆ ในการปลูกผักสลัดและขยายกิจการมาเรื่อยๆ”

สำหรับเป้าหมายต่อไป คุณเจก ตั้งเป้าว่าจะขยับขยายกิจการให้รองรับลูกค้าได้มากขึ้น และมีความมั่นคงมากขึ้น จากเดิมที่เริ่มต้นจากธุรกิจในครอบครัว

“ตอนนี้คนรู้จักระดับหนึ่ง แต่เราต้องการให้คนรู้จักมากกว่านี้ มันควรจะเป็นธุรกิจที่เลี้ยงตัวเองได้มากกว่านี้ ตอนนี้อาจจะเปิดบริการได้แค่เสาร์อาทิตย์และวันหยุด ในมุมของผม ต่อไปร้านอาหารอาจจะต้องขยายเวลาเปิดในวันธรรมดา ถ้าโกดังเหมือนร้านอื่นๆ ที่เขามีเมนูเพื่อสุขภาพ ไปเปิดที่อื่นเพิ่มได้ไหม นี่คือโมเดลที่เพิ่มขึ้นมา ตอนนี้ก็ต้องเริ่มคิดแล้วว่า ผลผลิตที่ได้มาจะไปขายใครต่อ เพราะ 1 ปี จะได้ผลผลิตทั้งหมด 8 รอบ ต่อการปลูก 1 โต๊ะ วันนี้มีทั้งหมด 5 โต๊ะ รวมทั้งโต๊ะขนาดอนุบาล” คุณเจก เล่าให้ฟังถึงการเติบโตของร้านอาหารซึ่งต่อยอดมาจากการปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ ที่มีโอกาสขยายเป็นธุรกิจที่มั่นคงต่อไปได้”

ที่สำคัญการต่อยอดของคุณเจก ที่เดินทางมาถึงการทำร้านอาหารซึ่งมีเมนูเพื่อสุขภาพ มีเมนูหลักคือ สลัดผักไฮโดรโปนิกส์ ภายใต้ชื่อร้าน “โกดังผักสลัด ณ บางกะเจ้า” นั้น คุณเจก ไม่ได้เรียนจบสาขาด้านเกษตรกรรม แต่มีความสนใจทางด้านการเกษตร เพราะเติบโตกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติในพื้นที่บางกะเจ้า จึงทำให้การเรียนรู้ปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์มีการต่อยอดขึ้นเรื่อยๆ โดยคุณเจกมีวิธีคิดที่จะเป็นกำลังใจให้กับเกษตรกรทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ได้อย่างดี

“การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ไม่ใช่การทำเกษตรแบบเดิมๆ สมัครยูฟ่าเบท เป็นการทำเกษตรแบบอาศัยเทคโนโลยีนิดๆ เข้ามาช่วย มีเรื่องอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ มีหลักการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การผสมปุ๋ย และเรื่องหลักการเทคโนโลยี เครื่องทุ่นแรงต่างๆ มีระบบราง ระบบเรื่องของน้ำ ซึ่งทุกอย่างสามารถควบคุมได้ ถ้าเราอิงกับธรรมชาติร้อยเปอร์เซ็นต์ จะควบคุมมันไม่ได้ แต่ถ้าปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ เราควบคุมได้ ปัจจัยบางอย่างที่ส่งผลต่อพืช สามารถควบคุมมันได้ แม้จะมีผิดพลาดบ้าง เช่น ปลูกแล้วบางต้นก็ตายบ้าง แต่สัดส่วนตั้งแต่ปลูกมา ประสบความสำเร็จ 90% ส่วนอีก 10% เจอกับผักที่ตาย หรือขายไม่ได้ ก็ถือว่าชนะเลิศแล้วในการปลูกผักสลัดแบบไฮโดรโปนิกส์”คุณเจก เล่าให้ฟังอย่างมีความสุขถึงประสบการณ์ที่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และทดลองทำ จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี จนประสบความสำเร็จ

วิธีคิดในการเรียนรู้กับการปลูกผักสลัดด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์จากคุณเจก จะนำมาใช้กับการทำอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเรื่องเกษตรกรรมอย่างเดียว “ผมคิดว่า ไม่จำเป็นต้องมองแต่เรื่องเกษตร แต่ถ้าเราอยากทำอะไรก็ลองทำดู พอรู้ว่าไม่ใช่ ก็คือไม่ใช่ ถ้ายังมีเวลาก็ลองทำอะไรหลายๆ อย่าง ถ้าเป็นวิชาเกษตรก็ลองเอาความรู้ วิชาใหม่ๆ เรื่องของเทคโนโลยีเข้าไปจับ เพื่อให้การเกษตรพัฒนา จริงๆ ไฮโดรโปรนิกส์ก็เป็นศาสตร์ๆ หนึ่ง ที่มีกระบวนการเรียนรู้ตลอดเวลา และ ณ วันนี้ เราปลูกได้แล้ว แต่มันเป็นไปได้ไหม ที่เราจะเอาพืชชนิดอื่นมาลองปลูก

ก็มีแล้วน่ะ อย่างผักไทยๆ ก็ปลูกได้ อาทิ ผักชี ต้นหอม หรือเป็นไปได้ไหมที่จะนำดอกไม้มาปลูกด้วยวิธีไฮโดรโปรนิกส์ แม้กระทั่งการทำเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน ทำยังไงก็ได้ที่ทำให้ผลผลิตที่มีดีขึ้นกว่าเดิม นี่คือ การเอาองค์ความรู้เข้ามาจับ การเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น การบริหารจัดการในฟาร์มเอง ทุกอย่างต้องใช้แรง เป็นไปได้ไหมว่า ถ้าลดคน ลดแรงงาน และนำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยได้อีก อันนี้คือ สิ่งที่ต้องคิดต่อ แม้มันจะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ผมก็ว่ามันไม่จบที่เราจะต้องเรียนรู้” คุณเจก เล่าให้ฟัง