ทำนาแบบอินทรีย์ “แมลงศัตรู” มีบ้าง ไม่ใช่กำจัดอย่างเดียว

การทำนาอินทรีย์ มีปัญหาเรื่องโรคและแมลงบ้าง แต่เพราะมีระยะของต้นข้าวที่พอเหมาะ ทำให้ต้นข้าวใบตั้งแข็งแรง แมลงบางตัว เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จึงเพียงมาอาศัยอยู่เท่านั้น การทำลายแทบไม่พบเห็น

ข้อคิดที่น่าสนใจอย่างหนึ่งนั้น อาจารย์แนะนำว่า แมลงชอบมาทำลายต้นข้าวช่วงเดือนมืด ดังนั้น จะใช้กับดักกาวเหนียวดักจับแมลง

“แมลงบางชนิดมีประโยชน์ เกษตรกรไปกำจัดหมด เมื่อมีแมลงศัตรูพืชมา ต้องมีตัวห้ำตัวเบียน เดือนมืดโจรมา ผมใช้ฟิวเจอร์บอร์ดทาด้วยกาวดักแมลง เดือนมืดแมลงมา ข้างขึ้นไม่มา “คนเกิดข้างขึ้นฉลาดกว่าคนเกิดข้างแรม พืชเกิดข้างขึ้น เติบโตดีกว่าข้างแรม” โบราณถือเป็นตำนาน ทำนาข้าวต้องทำข้างขึ้นครับ ปลูกพืช ปลูกบ้าน ทำงานมงคลข้างขึ้น ผมทำอะไรเน้นข้างขึ้น…ควรให้เกษตรกรรู้เรื่องการใช้ปัจจัยการผลิต ผมไม่ให้เข้าเลยยูเรีย

ตัวอย่าง คนเหนือกินอาหารอย่าง คนภาคกลางกินอาหารอย่าง เพราะฉะนั้น เอ็นพีเค ไม่ใช่อาหารสำเร็จ ไม่รู้ว่าพืชขาดอะไร เกษตรกรรู้ เอ็นพีเค ว่าต้องใส่ ขาดไม่ได้…ถามว่าทำไมขาดไม่ได้ เพราะว่าในตลาดมีขาย

แนะนำกันไว้อย่างนี้ ในแปลงนาอินทรีย์ของเราไม่ใช้เคมีเลย เราใช้จุลินทรีย์ น้ำร้อนเพราะดูดซับแสงแต่ดินต้องเย็น ไม่ว่าฤดูกาลไหน ไม่เห็นรากพืชเราเป็นสีน้ำตาล เราเห็นรากสีขาวแตกฝอยเป็นเส้น ไม่มีการเจ็บป่วยทางราก รากกระจายรอบต้นเยอะมาก อายุข้าว 1 เดือน ถอนไม่ขึ้น ผมบอกเกษตรกรให้ทำนาดำ เกษตรกรจะลดต้นทุนได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ครับ กำไร 50 เปอร์เซ็นต์ อยู่ได้แล้วครับ นาที่ใส่ปุ๋ยเคมี 30-40 ปี ดินเป็นกรด ถ้านำดินไปสังเคราะห์นั่นแหละเป็นโรงงานปุ๋ย” เป็นแง่คิดในการทำนาหลายๆ เรื่อง ที่อาจารย์ชัชวาลย์ แนะนำ

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. เผยข้อมูลการวิจัยและพัฒนากัญชง หรือ เฮมพ์ พร้อมผลักดันเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ของเกษตรกร ซึ่งจากผลการวิจัยขณะนี้สามารถพัฒนาพันธุ์เฮมพ์ 4 พันธุ์ ที่ได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร คือ RPF1, RPF2, RPF3 และ RPF4 ซึ่งเป็นพันธุ์สำหรับผลิตเส้นใย โดยมีเปอร์เซ็นต์เส้นใย 12-14.7% ปริมาณสารที่เป็นประโยชน์ CBD 0.8-1.2% และมีปริมาณสารเสพติด THC ต่ำกว่า 0.3% และคาดว่าจะได้สายพันธุ์ใหม่ๆ เพิ่มอีก 5 พันธุ์ ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจปริมาณและคุณภาพของเมล็ด รวมทั้งการกำหนดราคาและแนวทางการบริหารจัดการ โดยคาดว่าจะสามารถจำหน่ายได้ประมาณเดือนเมษายน 2564

คุณวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เปิดเผยว่า เมื่อปี พ.ศ. 2547 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้มีพระราชเสาวนีย์ให้มีการศึกษาการเพาะปลูกกัญชงอย่างจริงจังในประเทศไทย ความว่า “…สมควรศึกษาและส่งเสริมให้เกษตรกรชาวเขาปลูกกัญชง เพื่อใช้เส้นใยผลิตเครื่องนุ่งห่มและจำหน่ายเป็นรายได้…” คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2548 มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ศึกษาและพิจารณาแนวทางการส่งเสริม และการควบคุมดูแลการปลูกกัญชง

จากนั้น สศช. จึงได้ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง และมูลนิธิโครงการหลวง เริ่มดำเนินการวิจัยและพัฒนากัญชงอย่างจริงจัง มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยต่อมา เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2552 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การส่งเสริมการปลูกเฮมพ์เป็นพืชเศรษฐกิจบนพื้นที่สูง ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2552-2556 และเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553 ได้เห็นชอบแผนปฏิบัติการพัฒนาเฮมพ์บนพื้นที่สูง ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2553-2557) และแผนปฏิบัติการพื้นที่นำร่องส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ 5 จังหวัด เชียงใหม่ น่าน เชียงราย ตาก และเพชรบูรณ์

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนากัญชง มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนกระทั่งปัจจุบัน โดยได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานที่สำคัญ คือการพัฒนาพันธุ์ เทคโนโลยีการผลิต การแปรรูป การตลาด และสนับสนุนการผลักดันให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยระยะแรกมุ่งการใช้ประโยชน์ด้านเส้นใย และต่อมาได้ขยายการวิจัยและพัฒนาด้านสาร CBD เมล็ด และส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งผลการวิจัยสามารถพัฒนาพันธุ์เฮมพ์ 4 พันธุ์ และได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร คือ RPF1, RPF2, RPF3 และ RPF4 ซึ่งเป็นพันธุ์สำหรับผลิตเส้นใย โดยมีเปอร์เซ็นต์เส้นใย 12-14.7% ปริมาณสารที่เป็นประโยชน์ CBD 0.8-1.2% และมีปริมาณสารเสพติด THC ต่ำกว่า 0.3% รวมทั้งเมล็ดมีคุณค่าทางโภชนาการสูง สามารถผลิตเพื่อการบริโภคได้ และคาดว่าจะได้สายพันธุ์ใหม่ๆ เพิ่มอีก 5 พันธุ์ ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ ได้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต ระบบการปลูกภายใต้การควบคุมตามกฎหมาย รวมทั้งการแปรรูปเส้นใยเฮมพ์ และส่วนอื่นๆ ของเฮมพ์ ส่งผลให้มีการแก้ไขกฎหมายและข้อกำหนด/ระเบียบต่างๆ ให้สามารถปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจได้

จากการแก้กฎหมายและข้อกำหนด/ระเบียบ ฉบับที่สำคัญคือ “กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2563” และ “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563” ที่มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564 ทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง รวมทั้งกำหนดให้ส่วนของกัญชงที่ไม่จัดเป็นยาเสพติด ได้แก่ ใบ เมล็ด (seed และ grain) ราก ลำต้น และสารสกัด CBD ที่มี THC ต่ำกว่า 0.3% ทำให้กัญชงมีโอกาสที่จะเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร และขณะนี้มีเกษตรกร เอกชน และหน่วยงานต่างๆ จำนวนมาก ต้องการเมล็ดและส่วนประกอบต่างๆ ของเฮมพ์จาก สวพส. ทั้งเพื่อการปลูกและการศึกษาวิจัย

สวพส. จึงได้กำหนดแนวทางการสนับสนุนและส่งเสริมการปลูกและพัฒนาการผลิตกัญชงโดย

จัดหาเมล็ดและส่วนต่างๆ ของกัญชง ที่ไม่จัดเป็นพืชเสพติด สำหรับจำหน่ายแก่เกษตรกรที่ได้รับการอนุญาตปลูก โดยเมล็ดพันธุ์รับรองสำหรับฤดูการผลิต ปี 2564 ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2564 ค่อนข้างมีจำนวนจำกัด เนื่องจากไม่ได้มีการผลิตสำรองไว้ในปีที่ผ่านมา ก่อนกฎหมายอนุญาต ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจปริมาณและคุณภาพของเมล็ด รวมทั้งการกำหนดราคาและแนวทางการบริหารจัดการ โดยคาดว่าจะสามารถจำหน่ายได้ประมาณเดือนเมษายน 2564 และ
ในฤดูการผลิต 2565-2566 ได้วางแผนส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง และโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปลูกเฮมพ์เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ และส่วนประกอบของเฮมพ์ที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดจำหน่าย โดยจะเริ่มรับแผนความต้องการจากผู้สนใจในเดือนเมษายน 2564

“ด้วยคุณสมบัติอันหลากหลายของกัญชงหรือเฮมพ์ที่มีความยืดหยุ่น ทนทาน แข็งแรง ให้เส้นใยที่ยาว นำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น เปลือก/เส้นใยทำผลิตภัณฑ์สิ่งทอ แกนลำต้นทำวัสดุก่อสร้าง เมล็ดมีคุณค่าทางโภชนาการสูงทำผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอาง และใบสามารถสกัดทำเป็นยารักษาโรค ทำให้มีการใช้ประโยชน์กันมานานและมีการวิจัยและพัฒนามากมาย โดย สวพส. พร้อมเป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูล การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ และขั้นตอนการปลูกให้แก่เกษตรกร บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หน่วยราชการ วิสาหกิจชุมชนหรือภาคเอกชนที่สนใจ เพื่อให้สามารถนำไปสร้างรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้ในอนาคต โดยสามารถติดตามข่าวสารต่างๆ ของสถาบันฯ ผ่านเว็บไซต์ https://www.hrdi.or.th/ หรือ Facebook Fanpage : สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)” คุณวิรัตน์ กล่าวส่งท้าย

“มะพร้าวน้ำหอม” เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่สนใจของเกษตรกร ตลาดที่สําคัญของมะพร้าวน้ำหอม ในต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และตะวันออกกลาง เป็นต้น

มะพร้าว เป็นพืชที่ปลูกและดูแลรักษาง่าย ไม่จําเป็นต้องใช้เทคนิคหรือประสบการณ์เหมือนไม้ผลชนิดอื่นๆ สามารถให้ผลผลิตได้เร็ว คือหลังจากปลูกประมาณ 3 ปี ก็เริ่มเก็บผลผลิตขายได้แล้ว ราคาจําหน่ายผลอ่อนก็อยู่ในเกณฑ์ดี

มะพร้าวอ่อนที่เราบริโภคสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ มะพร้าวน้ำหอม และมะพร้าวน้ำหวาน ซึ่งมีข้อแตกต่างกัน คือ มะพร้าวน้ำหอม จะมีกลิ่นหอมในตัวเองคล้ายใบเตย ส่วนมะพร้าวน้ำหวานจะมีรสหวานเพียงอย่างเดียว

ความหอมของมะพร้าวน้ำหอม
ความหอมในตัวเองของมะพร้าวน้ำหอม ซึ่งไม่พบในมะพร้าวอ่อนทั่วๆ ไป ทําให้เรานิยมบริโภคมะพร้าวพันธุ์นี้ เมื่อพิจารณาส่วนต่างๆ ของมะพร้าวน้ำหอม จะพบว่า มีส่วนที่เราสามารถทดสอบความหอมได้ เช่น
1. ปลายรากอ่อนของหน่อมะพร้าว
2. กะลาของผลอ่อน
3. น้ำและเนื้อมะพร้าว
นอกจากนี้ อาจมีส่วนอื่นๆ ที่แสดงความหอม แต่ไม่สามารถทดสอบได้ด้วยการดม อาจจะต้องใช้เทคนิคอื่นๆ มาช่วย ตามปกติสารหอมระเหยในพืชจะอยู่ในต่อมหรือในท่อของส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช ดังนั้นความหอมจึงเกิดขึ้นได้ในเนื้อเยื่อของส่วนต่างๆ ของมะพร้าวน้ำหอมนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว

สาเหตุที่มะพร้าวน้ำหอมไม่หอม
ปัญหาที่ผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมพบบ่อยๆ คือ ความหอมจะหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ถึงแม้ว่าหน่อพันธุ์ที่ปลูกจะเป็นพันธุ์แท้และเคยหอมมาก่อน แต่บางครั้งก็เหมือนกับบริโภคมะพร้าวน้ำหวานธรรมดา

เพื่อต้องการศึกษาสาเหตุของความหอมที่ไม่คงที่ ได้ทําการทดลองโดยคัดเลือกต้นมะพร้าวน้ำหอมที่เป็น พันธุ์แท้มาจํานวนหนึ่ง แล้วใช้เป็นต้นแม่มาผสมกับละอองเกสรตัวผู้ของมะพร้าวพันธุ์อื่นๆ ได้แก่ มะพร้าว ใหญ่ มะพร้าวน้ำหวาน (หมูสีเขียว) และมะพร้าวน้ำหอมต้นอื่นที่อยู่ในแปลงเดียวกัน นอกจากนี้ ยังได้ผสมตัวเองในจั่นเดียวกันอีกด้วย

ผลการทดลองตามตาราง พบว่าละอองเกสรตัวผู้มีอิทธิพลต่อความหอมของเนื้อมะพร้าว (Xenia Effect) มะพร้าวน้ำหอมที่ผสมกับมะพร้าวใหญ่และมะพร้าวน้ำหวาน ผลมะพร้าวจะไม่มีความหอม แต่ถ้าผสมตัวเอง หรือผสมกับมะพร้าวน้ำหอม ผลมะพร้าวที่ได้จะมีความหอมไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยังพบว่า ละอองเกสรตัวผู้ ก็มีผลต่อความหวานของน้ำมะพร้าวเช่นเดียวกัน

สองสามปีมานี้ ไม้ผลชนิดหนึ่งที่มาแรงเห็นจะได้แก่ ทุเรียน นอกจากเป็นผลไม้รสชาติดีแล้ว การซื้อขายกับต่างประเทศไปได้คล่อง บางปีผลผลิตมีน้อย ส่งผลให้ราคาขายจากสวนดี ถึงขั้นดีมาก ด้วยเหตุนี้ จึงมีเกษตรกรปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้น อาจจะโค่นเงาะทิ้ง โค่นยางพาราลง แล้วปลูกไม้ยอดนิยมอย่างทุเรียนแทน

ขณะเดียวกัน เกษตรกรที่ปลูกอยู่แล้ว ก็เอาใจใส่สิ่งที่มีอยู่เป็นพิเศษ เพราะขายผลผลิตได้ จึงมีกำลังซื้อปัจจัยการผลิต ส่งผลทำให้แวดวงที่เกี่ยวข้องพลอยคึกคักไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นต้นพันธุ์ ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช แรงงาน แม้แต่ค่าไฟฟ้าสูบน้ำมารดต้นทุเรียน ก็ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น ทีมงานนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน อยากดูแปลงทุเรียนเด่นๆ สักแปลง

เมื่อสอบถามไปยัง คุณทรงธรรม ชำนาญ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง ได้รับคำแนะนำให้ไปพูดคุยกับ ลุงเสส ใจดี ที่กองดิน

บ้านลุงเสสไปไม่ยากพบหน้าลุงเสส ถามว่าชื่อลุงแปลว่าอะไร “ก็อยู่ดีมีสุข อยากเป็น ส.ส. ก็ตัดสระเอออก…อีกอย่าง ส.เสือ 2 ตัวแข็งแรงดี” ลุงตอบอย่างอารมณ์ดี เริ่มต้นปลูกทุเรียน 2 ไร่ ทุกวันนี้ มี 68 ไร่
ลุงเสส อยู่หมู่ที่ 7 บ้านชำสมอ ตำบลกองดิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ตอนเด็กๆ ชีวิตของลุงลำบากมาก มีพี่น้องทั้งหมด 9 คน เมื่อแต่งงานปี 2507 ได้รับมรดก 2 ไร่ เพราะอยากทำสวน จึงขี่จักรยานไปซื้อพันธุ์ทุเรียนที่สองสลึง อำเภอแกลง ซึ่งอยู่ไกลมาก นำมาปลูก ขณะเดียวกันก็ช่วยทำนาปลูกข้าวในที่นาของครอบครัว

เวลาผ่านไป 7-8 ปี ขายทุเรียนชะนีมีผลผลิตขายได้ 1,700 บาท ต่อต้น ขณะที่ทำนาได้ข้าว 10 เกวียน ขายแล้วเหลือกำไร 3,000 บาท จุดนี้เองที่อยากให้ลุงทำสวน

“ปลูกทุเรียนแทบไม่ได้ใช้ปุ๋ยเคมี มีลูกออกมา กระดุมสวยๆ ขายลูกละ 15 บาท ชะนี ลูกละ 5 บาท ต่อมาได้แลกที่ดินกับพี่ชายอีก 2 ไร่กว่าๆ พี่ชายอยากได้ที่ลุ่ม เราเอาที่ดอน รวมแล้วมีที่ดินเกือบ 5 ไร่ ก็ทำสวนแล้วขยายเรื่อยมา ตอนนี้มีหลายแปลง ช่วยรวมหน่อยสิ ตรงนี้ 11 ไร่ ตรงโน้น 22 ไร่ ล่าสุดนี้ 9 ไร่…ที่นั่นอีก…ไร่” ลุงเล่า

รวมแล้วลุงปลูกทุเรียนในพื้นที่ 68 ไร่ พันธุ์ที่ปลูกมี กระดุม 60 ต้น ชะนีดั้งเดิมเหลืออยู่ 10 ต้น พวงมณี 5 ต้น ก้านยาว 2 ต้น ที่เหลือเป็นหมอนทอง เมื่อรวมแล้ว ลุงมีทุเรียนราว 1,300 ต้น

ผสมผสานเคมีและชีวภาพ
ผลผลิตที่สวนของลุง เริ่มเก็บขายได้ ตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงเดือนมิถุนายน

หลังเก็บเกี่ยว เจ้าของใส่ปุ๋ย สูตร 12-3-3 ให้ต้นละ 1 กิโลกรัม จากนั้นให้อีก 2 ครั้ง ห่างกันครั้งละเดือน เท่ากับว่า ต้นหนึ่งให้ปุ๋ย สูตร 12-3-3 จำนวน 3 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี

ถึงเดือนกันยายน ใส่ปุ๋ยเตรียมต้นเพื่อออกดอก ใส่สูตร 8-24-24 ต้นละ 1 กิโลกรัม ราวพฤศจิกายน ทุเรียนกระดุมจะเริ่มออกดอกมาก่อน ตามด้วยหมอนทอง ปุ๋ยเคมีจะหยุดอยู่แค่นี้ มีเจ้าหน้าที่เกษตรสำนักงานเกษตรจังหวัดระยองแนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม แต่ลุงยังไม่ได้ใส่ ลุงบอกว่า ปุ๋ยชีวภาพช่วยได้มาก

สูตรเด็ดปุ๋ยชีวภาพมีดังนี้

ผักบุ้ง 3 กิโลกรัม กล้วยน้ำว้าสุกปอกเปลือก 3 กิโลกรัม น้ำอ้อย 2 กิโลกรัม หมักไว้ 16 วัน เก็บไว้ในสภาพร่ม อย่าเปิดฝา

จากนั้นเปิดฝาเติมน้ำ 20 ลิตร หมักไว้อีก 15 วัน นำน้ำที่ได้ 10 ลิตร ผสมกับน้ำ 200 ลิตร ใส่น้ำอ้อย 10 กิโลกรัม หมักอีก 6 เดือน จะได้ปุ๋ยชีวภาพเข้มข้น

นำน้ำปุ๋ยอายุ 6 เดือน 1 ลิตร เทใส่บัวรดน้ำเติมน้ำให้เต็ม จากนั้นนำไปรดขณะที่ให้น้ำทุเรียน โดยรดตามรัศมีสายน้ำเหวี่ยง

สรุปคือ ให้ปุ๋ยแล้วรดน้ำตามนั่นเอง ระยะเวลาที่ให้นั้น ลุงเสส บอกว่า ตอนผลทุเรียนอายุ 2-3 ขีด ถึงครึ่งกิโลกรัม เหมาะสมที่สุด ปุ๋ยชีวภาพให้ปีละครั้งเท่านั้น

หากต้องการฉีดพ่นทางใบ ใช้น้ำปุ๋ยอายุ 6 เดือน ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ในวันที่ไม่มีแดด ลุงเสส บอกว่า การให้ปุ๋ยชีวภาพควรให้แต่เช้าก่อนแดดออก จะได้ผลดีมาก

การดูแลอย่างอื่น ช่วงที่แตกใบอ่อน ได้รับคำแนะนำว่า ต้องระวังเพลี้ยไฟ หากมีควรฉีดพ่นสารเคมีให้ แล้วคอยสังเกต ระยะต่อมา หากไม่มีระบาดก็ไม่ต้องฉีด รวมทั้งไรแดง ที่มักทำลายใบแก่

การให้น้ำก็สำคัญ ทุเรียนขาดน้ำไม่ได้ ปริมาณการให้มากน้อยแค่ไหนนั้น ช่วงก่อนออกดอกให้ไม่มากนัก ช่วงติดผลต้องดูแล เพราะมีผลต่อผลผลิตอย่างมาก เทคนิคเพิ่มคุณภาพ
การ “ไว้ผล” สำคัญไม่น้อย
เนื่องจากคลุกคลีอยู่กับทุเรียนมานาน มองเห็นสภาพต้นก็รู้แล้วว่า ควรจะไว้ผลต่อต้นเท่าไร

“ผมอยู่กับทุเรียนมากว่า 50 ปี จับทางได้แล้ว ดูจากคุณภาพทุเรียนที่ได้รับค่อนข้างดี แต่ก่อนนี้เอาไว้ทุกลูกที่ติด มองดูเต็มต้นไปหมด ต่อมาเรียนรู้ว่ามันมากเกินไป อาหารไม่พอไปเลี้ยงผล ขนาดของผลทุเรียนจึงเล็ก พูไม่เต็มและผลบิดเบี้ยวไปบางส่วน เดี๋ยวนี้ผมตัดแต่งเอาไว้แค่ ต้นละ 60-80 ผล เท่านั้น ขึ้นกับขนาดของต้นทุเรียน และจะดูจำนวนกิ่งใหญ่ที่จะเอาไว้ผลด้วย

สังเกตไหมว่าทุเรียนหลายต้นที่กิ่งล่างจะไม่มีลูกทุเรียนเลย เพราะถูกตัดแต่งออกไปหมด เนื่องจากลูกไม่สมบูรณ์ ตรงนี้เพื่อให้อาหารส่งขึ้นไปเลี้ยงลูกที่กิ่งข้างบน การตัดแต่งลูกทุเรียนผมจะตัดแต่ง 4 ครั้ง ตามระยะการเติบโตของลูกทุเรียนคือ

ครั้งที่ 1 ระยะที่ผลทุเรียนอ่อนมีขนาดเท่ากับไข่นกกระทา เว็บแทงฟุตบอล จะตัดผลอ่อนที่มีหางแย้ (ส่วนที่ยื่นจากปลายผลทุเรียนอ่อน ยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ดูคล้ายปลายหางแย้) ที่โค้งบิดเข้าหาผลทิ้งไป เลือกเอาไว้เฉพาะผลทุเรียนที่มีหางแย้ตรงเท่านั้น เพื่อจะได้ผลทุเรียนที่สมบูรณ์ พูเต็มทุกด้าน หากเลือกผลอ่อนที่หางแย้บิดเบี้ยวไว้ จะได้ทุเรียนที่มีทรงผลบิดเบี้ยว บางส่วนของผลจะลีบ ไม่มีเนื้อหรือไม่เต็มพู (ทรงแป้ว) ไม่ได้คุณภาพ ขายไม่ได้ราคา”

“ครั้งที่ 2 ตัดแต่งผลหลังจากครั้งแรก ประมาณ 15-20 วัน ดูว่าขนาดผลทุเรียนประมาณไข่ไก่ รูปทรงผลจะเริ่มชัดเจนขึ้นกว่าครั้งแรก ก็ยังคงเลือกตัดผลทุเรียนที่มีหางแย้บิดเบี้ยวออกทิ้งไป คำนวณว่าเอาไว้ 60-80 ลูก ต่อต้น อาจเผื่อไว้อีกนิดหน่อยก็ได้ การเลี้ยงผลจะเลือกไว้เฉพาะกับกิ่งที่ใหญ่ โดยเฉลี่ยก็ราวๆ 2-4 ผล ต่อกิ่ง เท่านั้น

ครั้งที่ 3 ตัดแต่งผลทุเรียนเมื่อมีขนาดของผลเท่ากับกระป๋องนมโดยประมาณ เลือกตัดผลทุเรียนที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งไป ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนมากแต่จะมีหลงเหลือมาไม่มากนัก ผลทุเรียนเกือบทั้งหมดค่อนข้างสมบูรณ์ดีแล้ว ครั้งที่ 4 นั้นเป็นครั้งสุดท้ายก็จะเข้าไปดูว่ายังมีผลทุเรียนที่บิดเบี้ยว ทรงไม่ได้คุณภาพหลงเหลืออีกหรือไม่ หากพบก็ตัดทิ้งไป ปกติก็จะมีสัก 1-3 ผล ต่อต้น เท่านั้น แต่หากพอรับได้ก็จะเก็บไว้ตัดขายต่อไป” คุณลุงเสส อธิบาย

ผลผลิตปีหนึ่งกว่า 100 ตัน
ลุงเสส มีลูก 3 คน แต่ละคนมีครอบครัวแล้ว สมาชิกในครอบครัวช่วยกันทำสวนอย่างแข็งขัน ลุงมีผลผลิตจำหน่าย 123 ตัน เฉลี่ยขายได้ทั้งปี กิโลกรัมละ 70 บาท

ลูกชายพูดกับลุงว่า ผลผลิตคงไม่ต่ำกว่า 150 ตัน เพราะติดผลผลิตดี ทุเรียนที่ปลูกใหม่ก็ให้ผลผลิตมากขึ้น

ผลผลิตชุดแรกที่ขายได้ เดือนมีนาคม เป็นทุเรียนกระดุม ราคาอยู่ที่ กิโลกรัมละ 100 บาท ดีกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งขายได้ราคากิโลกรัมละ 70 บาท

ผลผลิตกระดุม ของลุงมีราว 10 ตัน

“แปลงที่ปลูกกระดุม อยู่ห่างจากบ้านพอสมควร ผลผลิตทุเรียนกระดุมที่นี่ เคยมีคนมาซื้อส่งออกต่างประเทศ เนื้อดีมาก ส่วนหนึ่งเมล็ดลีบ”