ทำสวนในปัจจุบัน ต้องทำเป็นธุรกิจเจ้าของสวนบอกว่า การทำสวน

ต้องกล้าลงทุนทำผลผลิตให้ได้คุณภาพ มีผลกำไร นำเครื่องมือเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ มีการบริหารจัดการที่ดี ให้ผลผลิตได้คุณภาพมาตรฐาน ตลาดจะมาหาเราเอง และเป้าหมายหลักคือ ทำทุเรียนหมอนทองป้อนตลาดต่างประเทศ เพราะมีปริมาณมาก แต่พันธุ์อื่นๆ ที่พัฒนาคุณภาพมีปริมาณไม่มากนัก อย่าง หลงลับแล กระดุม พวงมณี ก้านยาว นวลทองจันทร์ เน้นตลาดภายในประเทศให้คนไทยด้วยกันบริโภคทุเรียนมีคุณภาพ และปลอดภัยต่อสุขภาพทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค ซึ่งในขั้นตอนของการดูแลสวน พยายามจะให้เป็นสวนอินทรีย์ ลดการใช้ปุ๋ยเคมีมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากขึ้น ซึ่งช่วยลดต้นทุนได้อีกด้วย” คุณกรีฑา กล่าว

ทำตลาดออนไลน์…รับจองลูก หรือเหมาต้นได้

คุณกรีฑา กล่าวว่า ตลาดทุเรียนต่างประเทศโดยเฉพาะจีน ช่วงเทศกาลเช็งเม้งต้นเดือนเมษายนความต้องการทุเรียนต้นฤดูจะสูง ทุเรียนมีน้อยจะได้ราคาดี พ่อค้าจะติดต่อเข้ามาตัดในสวนล่วงหน้าเป็น 10-15 วัน ไซซ์มาตรฐานที่ตลาดต่างประเทศต้องการ คือ 5 พูเต็ม หรือช่วงที่มีทุเรียนน้อยตลาดจะลดมาเป็น 2-3 พูเม็ด คือมี 2-3 พูเต็ม และมีพูเดียวที่มีเม็ดเดียวขนาดเล็ก ทำให้ได้มูลค่าสูง เช่น กระดุม ต้นฤดูราคากิโลกรัมละ 110-120 บาท

“ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เริ่มทำตลาดออนไลน์ เปิดให้ลูกค้าสั่งจองทางไลน์ เฟซบุ๊กของสวนหลงบูรพา และหลังๆ จองผ่านชมรมคนรักทุเรียนแห่งประเทศไทย ทำให้ตลาดไปได้กว้างมาก และจัดส่งให้ทางไปรษณีย์และบริษัทขนส่ง มีการรับประกันคุณภาพ เคลมได้พร้อมคำแนะนำกำหนดวันบริโภค และวิธีเคลมหรือเปลี่ยนทุเรียนลูกใหม่ ส่วนใหญ่จะเจอทุเรียนอ่อนในช่วงฝน แต่มีน้อยมาก เพียง 1-2 ราย ผลตอบรับดีมากแม้ราคาจะสูงกว่าตลาดทั่วไป ลูกค้าจองกันมาล่วงหน้า ผลผลิตไม่พอขาย ปีนี้มีลูกค้าจองทุเรียนก้านยาว แบบเหมาต้น มีอยู่ต้นละประมาณ 20 ลูก กิโลกรัมละ 280-300 บาท ซึ่งเป็นการพัฒนาการรับประกันลูกค้าไปอีกขั้นตอน เพราะต้องจัดทำเครื่องหมายของต้นทุเรียนที่ให้ผลผลิตที่ลูกค้าจอง เมื่อทุเรียนมีปัญหาจะได้ตรวจสอบสาเหตุและแก้ไขได้ถูกจุด” คุณกรีฑา กล่าวถึงการบริหารจัดการด้านตลาด

ทุเรียนสวนหลงบูรพา จะทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่ต้นมีนาคม กระดุมจะเริ่มตัดได้ก่อน จากนั้นกลางเดือนมีนาคมถึงสิ้นเดือนเมษายน ชะนี พวงมณี หมอนทอง หลงลับแล ก้านยาวรวมทั้งพันธุ์ใหม่ๆ นวลทองจันทร์จะทยอยสู่ตลาดและหมดลงก่อนฤดูกาลผลไม้ของภาคตะวันออก

เดือนกันยายนผ่านมาแล้วก็ผ่านไปทุกๆ ปี แต่สำหรับข้าราชการน้อยใหญ่ในเมืองไทย ทุกคนรู้กันดีว่าสิ่งที่จะไปพร้อมๆ กับการสิ้นสุดของเดือนกันยายนก็คือ ข้าราชการที่อายุถึง 60 ปี ต้องลาจากภาระการงานด้วยการเกษียณ ไม่ว่าตำแหน่งจะเล็กใหญ่ หน้าที่การงานจะสำคัญเพียงใด คำว่า “เกษียณ” ก็รอคอยข้าราชการและผู้ที่ทำงานให้รัฐทุกท่านอยู่ แต่ชีวิตหลังเกษียณจะดำเนินไปอย่างไรก็แล้วแต่การวางแผนและการปรับตัวของผู้เกษียณแต่ละท่าน

บทความชิ้นนี้จึงขอนำเสนอชีวิตหลังเกษียณของอดีตข้าราชการที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก รับใช้ประเทศและคนไทยมาทั่วทิศ พาท่านมารู้จักกับ คุณสุพจน์ เที่ยงน้อย ข้าราชการบำนาญของกระทรวงมหาดไทย อดีตข้าราชการที่บุกเบิกงานในชนบทมาหลายพื้นที่ทั่วประเทศ

คุณสุพจน์เริ่มต้นเล่าให้ฟังว่า “หลังจากผมเรียนจบจากก่อสร้างอุเทนถวาย (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตภาคตะวันตก อุเทนถวาย) และวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ) ผมก็สอบบรรจุได้และเริ่มต้นรับราชการตั้งแต่อายุ 22 ปี ในตำแหน่งนายช่างโยธา ที่ศูนย์ประจวบคีรีขันธ์ กรมเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) กระทรวงมหาดไทย จากจุดเริ่มในวันนั้นผมก็ได้ทำงานมาหลายตำแหน่งหลายพื้นที่ อย่างงานสนองพระราชดำริก็เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าโครงการพระราชประสงค์ ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปบุกเบิกวางแผนสร้างถนนหนทางในช่วงปี พ.ศ.2521 ตั้งแต่ยังไม่มีถนน ต้องนั่งเฮลิคอปเตอร์ของ ตชด.เข้าไปในพื้นที่ เป็นอีกตำแหน่งที่ผมยังจำได้ดี”

คุณสุพจน์เล่าต่อไปว่า “ชีวิตข้าราชการของผมค่อนข้างโลดโผน ได้ออกไปลุยอยู่ตามจังหวัดห่างไกลมามากมายหลายพื้นที่และหลายตำแหน่ง เพราะสมัยก่อนข้าราชการยังมีน้อย ข้าราชการหนุ่มๆ ที่ไม่ค่อยได้ใกล้ชิดผู้ใหญ่ เส้นสายไม่มีก็มักจะได้ออกไปลุยไปคลุกฝุ่นแถวภูธร ผมเคยรับตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมโยธาพร้อมกับตำแหน่งหัวหน้าโครงการก่อสร้างทาง เพื่อความมั่นคงของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท จังหวัดกาญจนบุรี ลำปาง และแม่ฮ่องสอน ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างทางเพื่อความมั่นคงกองทัพภาคที่ 3 เขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นหัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมโยธาที่พิษณุโลก หรือใต้สุดอย่างจังหวัดนราธิวาสผมก็ไปอยู่มาแล้ว

“หลังจากนั้นหาเวลาว่างไปเรียนต่อจนจบปริญญาโท MBA จากมหาวิทยาลัยนเรศวร แล้วไปรับตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบำรุง สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์ และลำพูน เคยดำรงตำแหน่งเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดนครสวรรค์ (รพช.จังหวัด) หลังจากยุบ รพช.ก็โอนย้ายมาประจำที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำพูนและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในช่วงสึนามิได้รับตำแหน่งเป็นหัวหน้าชุดก่อสร้างบ้านชั่วคราว และร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิภาคใต้ของไทย

“เมื่ออายุมากขึ้นผมก็ขยับไปทำงานบริหาร มีตำแหน่งเป็นหัวหน้ากลุ่มงานฝึกอบรม (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ) ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 11 สุราษฎร์ธานี รับผิดชอบ 6 จังหวัดภาคใต้ และกลับมารับตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณ ที่จุดเริ่มต้นที่ผมเข้ารับราชการคือที่ ศูนย์ฯ ปภ.เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ (เดิมคือศูนย์ รพช.ประจวบคีรีขันธ์) ในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงานฝึกอบรม (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ) รับผิดชอบ 6 จังหวัดภาคตะวันตกและภาคกลาง และเกษียณมาเป็นข้าราชการบำนาญเมื่อปี 2554 สิ่งที่ข้าราชการตัวเล็กๆ อย่างผมภูมิใจคือ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นข้าราชการดีเด่นของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เมื่อปี 2549 และได้รับพระราชทานเครื่องราชชั้นสายสะพายประถมาภรณ์มงกุฎไทยอีกด้วย ถือเป็นความภาคภูมิใจของผมและครอบครัวข้าราชการอย่างเรา” คุณสุพจน์เล่าถึงประสบการณ์อย่างออกรส

คุณสุพจน์และภรรยาคือ คุณบุบผา เที่ยงน้อย เล่าว่า ก่อนจะเกษียณได้วางแผนมานานแล้วว่าอยากจะทำไร่ ทำสวน มีชีวิตสงบๆ อยู่ที่บ้าน จึงเริ่มเตรียมการมาก่อนหน้านี้

“ผมซื้อที่ดินใกล้บ้านเอาไว้ประมาณ 2 ไร่ แล้วปลูกไม้ผลหลายอย่างรวมกันไว้ เน้นที่มะม่วงซึ่งมีหลายพันธุ์ มะพร้าว กล้วย ลำไย มีที่ว่างตรงไหน ผมก็ซื้อต้นไม้ผลมาลงไว้ ทำมา 10 กว่าปีก่อนเกษียณ แต่ก็ไม่เคยได้ดูแลเพราะผมย้ายไปประจำที่ไหนก็เอาครอบครัวไปด้วย ช่วงนั้นยังประจำอยู่ที่อื่น ไม่ได้ย้ายกลับมาที่นี่ ก็ปล่อยให้เทวดาเลี้ยงต้นไม้พวกนี้ไปก่อน มาลงมือกับสวนนี้อย่างจริงจังก็ตอนหลังจากเกษียณนี่เอง”

ในพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ คุณสุพจน์ปลูกมะม่วงไว้หลายพันธุ์ ทั้งพันธุ์มหาชนก มะม่วงอกร่องพันธุ์เพชรพิรุณ มะม่วงแก้ว เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีบ่อปลาเล็กๆ อีก 1 บ่อด้วย คุณสุพจน์เล่าว่า “มีแรงงานหลักอยู่ 2 คนเพราะลูกชาย ลูกสาวทำงานต่างกันที่ต่างจังหวัด เมื่อมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว สิ่งแรกที่เรา 2 คน ตายายต้องทำก็คือ ออกแรง เรื่องแรกคือผมต้องมาออกแรงถากถาง ฟันป่าวัชพืชที่ขึ้นคลุมเต็มพื้นที่ แม้ว่าสวนจะมีพื้นที่แค่ 2 ไร่ แต่ปล่อยร้างมานานมีวัชพืชเต็มไปหมดทั้งพวกหญ้าและไม้ยืนต้น ผมกับแม่บ้านเลยต้องมาออกแรงจัดการวัชพืชกันทุกวันโดยที่ไม่จ้างคนงานมาทำ ต้องช่วยกันทำเกือบ 2 อาทิตย์ จึงปราบพวกวัชพืชยืนต้นได้หมด”

คุณสุพจน์บอกว่า เขาพยายามทำงานทุกอย่างในสวนเอง จะไม่จ้างคนงานมาทำนอกจากบางเรื่อง เช่น ฉีดฮอร์โมนมะม่วงที่ต้องจ้างมืออาชีพมาทำ

“ผมกับแม่บ้านพยายามทำเองทุกอย่าง เพราะคิดว่านี่คือการได้ออกแรง ได้ออกกำลังกันทั้งวัน โดยที่เราไม่ต้องเสียเงินไปเข้าฟิตเนสที่ไหน เหงื่อท่วมกันทั้งวัน” ได้ตื่นเต้น ได้สนุกสนาน

การทำสวนได้สร้างความตื่นเต้นและความสนุกสนานให้เกษตรกรมือใหม่ทั้ง 2 คน

“ไม้ผลที่เราปลูกไว้มีหลายอย่าง อย่างมะม่วงก็ต้องดูแลอย่างหนึ่ง ครบเวลาก็ต้องตัดแต่ง ใส่ปุ๋ย ราดสารบังคับให้ออกนอกฤดู พอออกลูกก็ต้องคอยมาห่อ ดูแลอย่างใกล้ชิด ส่วนลำไยที่ปลูกไว้หลายต้น แต่เหลือรอดแค่ 5 ต้น ก็ทำให้เราตื่นเต้นไม่น้อยกว่ามะม่วง เมื่อปลูกแล้วมันไม่มีลูก เพราะอากาศไม่หนาวพอ ผมก็ไปหาซื้อสารโพแทสเซียมคลอเรตมาราด บังคับให้ลำไยออกลูก แต่เพราะที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไม่ค่อยมีการปลูกลำไย ไม่มีสารตัวนี้ขาย ผมจึงต้องดั้นด้นไปซื้อที่อื่น ครั้งแรกผมไปหาซื้อที่จังหวัดสมุทรสาคร แต่ดันจำชื่อสารผิดไปซื้อสารไทโอยูเรียมาก็ใช้ไม่ได้ ตัดสินใจลองใหม่ คราวนี้ไปหาซื้อสารโพแทสเซียมคลอเรตไกลถึงราชบุรี ที่ตื่นเต้นก็คือ เราอุตส่าห์ไปหาซื้อสารมา ราดสารไปแล้ว ลำไยของเราจะออกดอกไหม ราดสารไปแล้วลำไยของเราจะติดลูกเหมือนคำแนะนำทางวิชาการหรือเปล่า ตรงนี้ทำให้เราตื่นเต้นกันมาก”

นอกจากความตื่นเต้นแล้ว อาชีพเกษตรยังทำให้เกษตรกรมือใหม่ทั้ง 2 คนสนุกจนลืมความเหงาไปได้

“เวลาที่มะม่วงหรือลำไยออกลูก มักจะมีค้างคาวหรือแมลงมากวนจนลูกร่วง เราก็มานั่งคิดว่าจะทำอย่างไรกันดี สุดท้ายก็ไปซื้อถุงมาห่อผลมะม่วง ไปเอาตาข่ายมาเย็บเป็นถุงครอบช่อลำไยเอาไว้ ทั้งหมดเราคิดกันเอง ทำกันเองก็สนุกไปอีกแบบ ได้ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันลุ้นว่ามันจะใช้ได้ผลหรือเปล่า”

ผลผลิตได้กิน ได้แจกจ่าย ได้ขาย

คุณสุพจน์บอกว่า การที่เกษตรกรมือใหม่ทั้ง 2 คน สามารถทำให้สวนแห่งนี้มีผลผลิตออกมาได้ ก็เพราะสวนแห่งนี้มีพื้นที่น้อยแค่เพียง 2 ไร่ จึงง่ายต่อการดูแลรักษา หากพื้นที่มากกว่านี้ 2 คน ตายายคงจะทำไม่ไหว ส่วนผลผลิตที่ได้จากสวนแห่งนี้ คุณสุพจน์บอกว่า

“จากพื้นที่ 2 ไร่ เรามีผลไม้กินทั้งปี ทั้งมะม่วง มะพร้าว ละมุด ชมพู่ ผลผลิตทั้งหมด เราเก็บเอาไว้ให้ลูกหลานได้กินกัน นอกจากนั้นก็จ่ายแจกให้กับญาติพี่น้อง บ้านใกล้เรือนเคียง หากยังเหลือเราก็ขาย อย่างมะม่วงมหาชนกนี่ขายดีมาก มีแม่ค้ามารับซื้อทุกปี มะม่วงแก้วก็ขายได้ มะพร้าวน้ำหอมก็ขายได้

“เราคิดทำสวนเพื่อให้ลืมความเหงา ทำสวนเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ซึ่งมันก็ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า เรื่องเงินจากการขายผลผลิตเป็นแค่ผลพลอยได้ แต่สวนนี้ทำให้ใจ-กายเรามีความสุข คิดแค่นี้ก็พอแล้ว”

นี่คือตัวอย่างการทำสวนของวัยเกษียณที่ไม่ได้มุ่งในเรื่องการทำกำไร แต่เน้นในเรื่องการสร้างสุขภาพกาย สุขภาพใจเป็นหลัก ใครที่เกษียณแล้วจะจำไปใช้ นำไปลองทำบ้างคงจะดี แต่คนที่ยังไม่ใกล้เกษียณจะเก็บเรื่องนี้เอาไว้พิจารณาบ้างก็ไม่ว่ากัน

เทคนิคการทำมะม่วงและลำไยนอกฤดู

สำหรับการดูแลมะม่วงและลำไยเพื่อให้มีผลผลิตนอกฤดูนั้น คุณสุพจน์และคุณบุบผาเล่าว่า

“วิธีการต่างๆ เราอ่านมาจากเอกสารคำแนะนำของทางราชการ ผสมกับวิธีแบบชาวบ้านในพื้นที่ที่นิยมทำกัน สรุปได้ว่า การผลิตมะม่วงนอกฤดูนั้น มีวิธีการดังต่อไปนี้ก็คือ หลังจากเก็บมะม่วงในฤดูเสร็จเดือนเมษายนจะตัดแต่งกิ่ง เตรียมต้น เตรียมใบ โดยใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 ราดสารแพคโคฯ แล้วปล่อยไว้ 45 วัน ในช่วงนี้ต้องให้น้ำสม่ำเสมอ หลัง 45 วันจะทำการดึงดอกโดยใช้ไทโอยูเรียฉีดพ่น ถ้าโชคไม่ดีเจอฝนช่วงนั้น ดอกออกไม่เยอะก็ต้องรอเปิดตาดอกอีกครั้ง 20 วัน หลังจากนี้เมื่อมะม่วงผลใหญ่ขนาดไข่ไก่จะต้องห่อผลเพื่อป้องกันแมลงวันทองที่จะมาวางไข่ ส่วนสารเคมีกันรา กันแมลง เราจะพยายามไม่ใช้ผลผลิต ได้แค่ไหนเราก็เอาเท่านั้น”

ในส่วนขั้นตอนการทำลำไยนอกฤดู คุณสุพจน์บอกว่า “เราจะราดสารประมาณเดือนมิถุนายน โดยเลือกต้นที่สมบูรณ์และใบแก่เต็มที่กำจัดวัชพืชในทรงพุ่มแล้วหว่านสารโพแทสเซียมคลอเรต 100-120 กรัมต่อเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร รดน้ำให้ชื้นทุกวัน 3-5 วัน ให้น้ำเล็กน้อยเมื่อออกดอกและเพิ่มปริมาณน้ำมากขึ้นตามลำดับ เมื่อติดผลใส่ปุ๋ยเคมี 15-15-15 1-2 กิโลกรัมต่อต้น เมื่อผลใหญ่ประมาณหัวแม่มือควรมีการตัดแต่งช่อผลก่อนจะคลุมด้วยถุงตาข่ายป้องกันค้างคาว ผลผลิตลำไยจะเริ่มเก็บเกี่ยวประมาณ 22 สัปดาห์หลังติดผล หลังจากนั้นประมาณเดือนมีนาคมจะตัดแต่งกิ่งหลังเก็บเกี่ยวโดยตัดกิ่งกลาง กิ่งแห้งตายหรือโรค แมลงทำลายแล้วใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 10-20 กิโลกรัมต่อต้น และปุ๋ยเคมี 15-15-15 อีก 1-2 กิโลกรัมต่อต้น”

คุณต้น สันติคม ศรีเจริญ ศิษย์เก่าวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด ตามโครงการ “เรียนฟรี อยู่ประจำ ทำโครงการ” สำเร็จการศึกษา ตั้งปี 2549 เป็นเจ้าของฟาร์มทางจังหวัดชลบุรี “ศรีเจริญฟาร์ม”

วันนี้สำนึกรักบ้านเกิด งานผ้าป่าที่โรงเรียนหินกองวิทยาคาร ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด คิดถึงลุงวัชรินทร์ เขจรวงศ์ ที่เคยสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ สมัยท่าน ผอ.เกรียงศักดิ์ ศิลป์ประสิทธิ์ ได้ข่าวว่าตอนนี้เป็นเกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ จึงเรียนเชิญเยี่ยมแปลงไร่นาสวนผสม “เกษตรทฤษฎีใหม่” แปลงต้นแบบ รายได้หลักแสนบาทต่อปี มีรายได้ รายวัย รายสัปดาห์ รายเดือน รายปี

ต้น ขับรถยนต์นำหน้า จากปากทางข้างเทศบาลตำบลหินกอง มีซุ้มประตูบอกว่า “บ้านหนองสระ” ประมาณ 2 กิโลเมตร เข้าไปถึงไร่นาสวนผสมเกษตรทฤษฎีใหม่ คุณลุงอ่อนสา-คุณป้านิ่มนวล ชุมวัน สามีภรรยาให้การต้อนรับ ที่บ้านเลขที่ 69 ม.9 บ้านหนองสระ ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด โทร.084-8265759 บนพื้นที่ 6-2-0 ไร่ มีซุ้มทางเข้าเตรียมปลูก ฟัก แฟง ถั่วฝักยาว บวบ แตง

ลุงอ่อนสา เล่าให้ฟังว่า ที่นี่มีการจัดการตามรูปแบบไร่นาสวนผสมตามแนวพระราชดำริฯ เกษตรทฤษฎีใหม่ 30-30-30-10 ขุดบ่อน้ำขนาด กว้าง 15 เมตร ยาว 20 เมตร ลึก 7 เมตร มีน้ำตลอดทั้งปี บ่อขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 10 เมตร ลึก 7 เมตร อีก 5 บ่อ มีการเลี้ยงปลา นิล ไน ตะเพียน ปลาจาระเม็ด ปลาหมอ ปลากะโห้ ปลาดุก เลี้ยงหมู่ป่า แม่พันธุ์ 3 ตัว พ่อพันธุ์ 1 ตัว มะพร้าวน้ำหอม ไผ่ตงหวาน 106 กอ มะละกอ เพกา มะนาว มกรูด มะขามเทศ ขนุน 60 ต้น ข่า ตะไคร้ พลูกินหมาก พุทรา กล้วย มะม่วง ผักติ้ว ดอกกระเจียว แตงร้าน เครือหมาน้อย มะระขี้นก เป็ด 50 ตัว ห่าน ไม้ป่าใช้สอยริมรั้ว ยมหอม ยางนา เดินท่องเที่ยวไป สามารถสร้างเงินได้แทบทุกตารางนิ้ว

คุณลุงอ่อนสา-คุณป้านิ่มนวล สามีภรรยา เดินนำหน้า พร้อมเล่าให้ฟังว่า ปี 2546 เริ่มต้นทำ ขุดบ่อต้องลึกมาก 7-8 เมตร ดินล่างขึ้นมาด้านบน ดินไม่ดี ต้องปรับปรุงดิน ด้วยอินทรีย์วัตถุ ดำเนินกินกรรม คือปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่กินได้ “กิน แจก แลก ขาย” หรือ ปลูกไว้กินเหลือกินจั่งขายเจ้านายมาเก็บเป็นของฝากไผอยากให้เก็บไปกิน อยู่อย่างเอื้ออาทร จุนเจือกันไปของคนทุ่งกุลาร้องไห้ ตนเอง มี ลูก 4 คน รายได้จาก “ไร่นาสวนผสมเกษตรทฤษฎีใหม่” ส่งลูกเรียนหนังสือ จบปริญญาโท 2 คน ปริญญาตรี 2 คน รับราชการ 3 คน ทำงานบริษัทเอกชน 1 คน หลานชาย “ต้น” เขาไปเรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด ตามโครงการ “เรียนฟรี อยู่ประจำ ทำโครงการ” หลาน “ต้น” สันติคม ศรีเจริญ จบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ เป็นผู้ให้คำแนะนำมาโดยตลอด ศรีเจริญฟาร์ม ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ต้นเป็นเจ้าของ ผู้จัดการ

คุณลุงอ่อนสา-คุณป้านิ่มนวล บอกว่า ที่นี่ คือขุมทรัพย์ที่มีอยู่มีกินตลอดชีวิต เป็นแหล่งอาหารของชุมชน วันจันทร์ วันศุกร์ วันเสาร์ เปิดตลาดนัด ชุมชนตำบลหินกอง นำสินค้าทางการเกษตร พืชผัก หน่อไม้ ปลา มะนาว ภายในสวน ไปขาย มีรายได้ ครั้งละ 1,800-2,000 บาท เฉลี่ยเดือนละ 8,000-10,000 บาท ปีละ 120,000 บาท วันที่ไม่ได้ไปขายตลาด ขายเป็ด ปลา พืชผักหน้าสวน เกิดรายได้ทุกวัน ตนเองทำนาข้าวอีก 70-80 ไร่ ได้ข้าวหอมมะลิ 30-40 ตัน/ปี ขายข้าวได้ 4-5 แสนบาท/ปี วันนี้ คณะ เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ เดินทางมาแวะเยี่ยม คณะครู โรงเรียนหินกองวิทยาคาร มีอาหารจากไร่นาสวนผสมเกษตรทฤษฎีใหม่ ปลอดภัยจากสาพิษ ล้วนๆ คือ เกษตรอินทรีย์ บอกได้เลยว่า ยินดีมากๆเราภาคภูมิใจของความเป็น คนทุ่งกุลาร้องไห้ ชนะความยากจนด้วย “ศาสตร์พระราชา”

หลายคนคงจดจำความอร่อยของตำนาน “ส้มบางมด” ได้ขึ้นใจ ความจริง ส้มบางมดก็คือ ส้มเขียวหวาน อยู่ในตระกูลส้มแมนดาริน นิยมปลูกแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยอดีต มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ส้มกำนันจุล ส้มเพชรบูรณ์ ส้มสีทองจังหวัดน่าน ส้มศรีสัชนาลัย ส้มบางมด ส้มรังสิต ส้มกลุ่มนี้คือ ส้มเขียวหวานทั้งหมด แต่ปลูกในระดับอุณหภูมิที่ไม่เหมือนกัน ช่วงกลางคืนกับช่วงกลางวัน มีอุณหภูมิแตกต่างกันประมาณ 14 องศาเซลเซียส ผลส้มจะสร้างสีที่เข้มขึ้น สังเกตส้มเขียวหวานที่ปลูกในพื้นที่ภาคเหนือจะมีสีผิวเข้มกว่าส้มที่ปลูกทางตอนใต้

สาเหตุที่ต้นส้มที่ปลูกในพื้นที่ภาคกลาง ถูกเรียกว่า “ส้มเขียวหวาน” เพราะเป็นผลส้มแก่ที่มีเปลือกสีเขียวและมีรสหวาน เนื่องจากพื้นที่ภาคกลางไม่มีความแตกต่างด้านอุณหภูมิ (ช่วงกลางวัน-กลางคืน) เหมือนกับต้นส้มที่ปลูกในพื้นที่ภาคเหนือนั่นเอง ส่วนส้มสายน้ำผึ้ง หรือส้มโชกุน ความจริงเป็นต้นส้มเขียวหวานที่กลายพันธุ์ไป เมื่อนำต้นส้มเขียวหวานไปปลูกในพื้นที่ภาคเหนือ ผลส้มก็กลายเป็นสีเหลือง เมื่อนำต้นส้มไปปลูกที่หาดใหญ่ ชุมพร ซึ่งอุณหภูมิไม่ต่างกัน ผลส้มมีเปลือกเป็นสีเขียว ถูกเรียกว่า ส้มโชกุนเขียว

เยี่ยมชมสวนส้มนายแป๊ะ

คุณสุชาติ ธนะพฤกษ์ หรือ “คุณแป๊ะ” โทร. (081) 374-5226 เจ้าของสวนธนะพฤกษ์ หรือที่หลายคนเรียกกันติดปากว่า “สวนนายแป๊ะ” เนื้อที่ 70 ไร่ ตั้งอยู่เลขที่ 182 หมู่ที่ 2 ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันปลูกส้มเขียวหวาน เนื้อที่ 50 ไร่ ส่วนที่เหลืออีก 20 ไร่ ใช้ปลูกฝรั่งพันธุ์หวานพิรุณ และทุเรียน

คุณแป๊ะ ได้ประยุกต์ภูมิปัญญาชาวสวนส้มบางมดมาใช้ในการบริหารจัดการสวนส้มแห่งนี้ โดยปลูกส้มเป็นไม้ประธาน ในระยะห่าง 3.5 เมตร พร้อมปลูกทุเรียนหมอนทองเป็นพืชร่วมแปลง ในระยะห่าง 8-12 เมตร พื้นที่ว่างที่เหลือจะใช้ปลูกพืชล้มลุกอายุสั้นคือ มะเขือยาว กล้วย เป็นพืชเสริมรายได้ระหว่างรอเก็บส้มในปีที่ 3

เขาให้ปุ๋ยต้นส้ม ตามหลักเรโชปุ๋ย และสอดคล้องกับความต้องการของพืช เช่น ช่วงเร่งผลจะใช้ เรโชปุ๋ย 3:1:2 ช่วงปรับปรุงผลผลิต ใช้เรโชปุ๋ย 1:1:2 เมื่อต้องการเร่งดอกใช้เรโชปุ๋ย 1:2:2 โดยจะให้ปุ๋ยต่อไร่เพียงบางๆ ตามขนาดทรงพุ่ม สำหรับพื้นที่ 6×6 เมตร จะให้ไม่เกิน 1 กิโลกรัม รวมทั้งใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือน เพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าไปช่วยย่อยสารอาหารในดิน กระตุ้นการดูดซึมธาตุอาหารของรากพืชได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นความหวานแก่ผลส้มอีกทางหนึ่ง

“ต้นหญ้า” เป็นตัวช่วยดีที่สุด ในการปรับปรุงคุณภาพดินภายในสวนส้มแห่งนี้ เพราะรากหญ้าจะทำหน้าที่พรวนดินในแปลงส้มตลอดเวลา ช่วงฤดูแล้ง ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน จะปล่อยให้ต้นหญ้าเติบโตตามธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่รักษาความชื้นบนผิวดิน หลังจากนั้นจะตัดหญ้าในสวนส้มให้โล่งเตียนสวยงาม เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นหญ้าอุ้มน้ำในช่วงฤดูฝน

ในปี 2559 ผู้บริโภคสามารถซื้อส้มได้ในราคาต่ำสุด อยู่ที่กิโลกรัมละ 60 บาท ราคาสูงสุดอยู่ที่ 150 บาท โดยคุณแป๊ะ ขายส่งส้มเข้าตลาดไทได้ในราคาต่ำสุด อยู่ที่กิโลกรัมละ 20 บาท ราคาขายสูงสุด อยู่ที่กิโลกรัมละ 60 บาท สวนคุณแป๊ะ สามารถเก็บผลส้มออกขายได้ประมาณ 100,000 กิโลกรัม ต่อปี โดยผลผลิตส่วนใหญ่ถูกส่งขายตลาดไท และเริ่มพัฒนาช่องทางการขายใหม่สู่ “ตลาดโลจิสติกส์” โดยเก็บส้มแก่คุณภาพดี เกรดพรีเมี่ยม อายุ 10-11 เดือน ที่มีรสชาติอร่อย ส่งขายผู้บริโภคปลายทาง ผ่านทางระบบไปรษณีย์ขนส่ง

“ส้มเขียวหวาน ที่เข้าสู่ตลาดประมาณเดือนธันวาคม สมัคร GClub ถือว่ามีรสชาติอร่อยสุดในรอบปี เพราะต้นส้มเจริญเติบโตอย่างเต็มที่หลังผ่านฤดูฝน และช่วงฤดูหนาวเป็นระยะที่ต้นไม้พักตัว จะไม่มีการแตกใบอ่อนหรือแตกราก อาหารที่ปรุงได้ทั้งหมดก็จะถูกเก็บสะสมในผลส้ม ทำให้ผลส้มในรุ่นปลายหนาวนี้มีรสชาติอร่อยสุด” คุณแป๊ะ กล่าว

ทุกวันนี้ ผลผลิตส้มที่เกษตรกรไทยปลูกได้ ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ จนต้องนำเข้าส้มจากประเทศจีนมาจำหน่าย แต่ส้มจีนไม่ใช่คู่แข่งที่น่ากลัว เพราะส้มจีนที่แช่เย็นมาขายในไทย มีช่วงระยะเวลาการขายสั้นๆ แค่ปีละ 2 เดือน เท่านั้น (ตุลาคม-พฤศจิกายน)

คุณแป๊ะ กล่าวว่า ปีก่อนส้มจีนช่วงเก็บเกี่ยวโดนฝน ทำให้ผลผลิตคุณภาพไม่ดี เมื่อนำออกจากห้องเย็นมาวางขายในไทย คนซื้อต้องกินให้หมดภายใน 48 ชั่วโมง ก่อนส้มเน่า ทุกวันนี้ จีนเผชิญกับผลกระทบจากภาวะเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ทำให้ส้มจีนส่งเข้ามาขายในไทยไม่เยอะเท่าไร นอกจากนี้ ยังพบว่าตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน ผู้นำเข้าผลไม้ของจีนหันมาสั่งซื้อส้มเขียวหวานจากไทยในราคาสูง เพื่อนำมาใช้ไหว้เจ้าจนถึงเทศกาลสารทจีน

แนะนำการลงทุน

สำหรับผู้สนใจลงทุนทำสวนส้มอย่างมืออาชีพ คุณแป๊ะให้คำแนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงปลูกส้มซ้ำในแหล่งเดิมที่มีปัญหาโรคส้ม เช่น โรคกรีนนิ่ง ฯลฯ เพื่อความเสี่ยงจากปัญหาขาดทุน เพราะแหล่งปลูกส้มเดิม แม้เลิกปลูกส้มไปนานแล้วแต่ยังมีเชื้อโรคกรีนนิ่งแฝงอยู่กับต้นไม้กลุ่มอื่น โดยเฉพาะพืชตระกูลแตง ฯลฯ ส่งผลให้ต้นส้มที่ปลูกใหม่ มีโอกาสเสี่ยงรับเชื้อโรคกรีนนิ่งได้ง่ายขึ้น