ทำให้เกษตรกรหลายรายเข้าใจผิด ว่ามะละกอที่ปลูกเป็นโรค

จุดวงแหวน แต่ความจริงแล้วเกิดจากละอองของยาฆ่าหญ้า ดังนั้นเกษตรกรที่ปลูกมะละกอจะต้องตระหนักเป็นพิเศษ ไม่ควรฉีดพ่นสารฆ่าหญ้าในแปลงปลูกมะละกอ โดยเฉพาะช่วงต้นมะละกอยังต้นเล็ก ไม่แนะนำให้ใช้ยาป้องกันกำจัดวัชพืชใดๆ เพราะจะทำให้ต้นมะละกอเสียหายได้ง่าย แต่ถ้าต้นมะละกอโตแล้ว ก็สามารถเลือกใช้ยาป้องกันกำจัดวัชพืชได้ แต่ต้องระวังละอองยาอย่าให้โดนใบและผลโดยสวนมะละกอหลายๆ สวน ขณะนี้นิยมเลือกใช้ “บาสต้า-เอ๊กซ์” ซึ่งเป็นยาฆ่าหญ้าที่ค่อนข้างมีความปลอดภัยกับมะละกอโดยเฉพาะระบบราก เพราะไม่ถูกดูดซับ และสะสมในดิน จึงปลอดพิษตกค้าง สามารถกำจัดวัชพืชทั้งใบแคบและใบกว้าง มะละกอเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุได้ 8-10 เดือน จะเก็บเกี่ยวเมื่อผลมีสีผิวเปลี่ยนจากเขียวเป็นเขียวอ่อน หรือ ปรากฏแต้มสีเหลืองบริเวณปลายผล

แม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศสวยงาม ห้อมล้อมด้วยภูเขาเล็ก-ใหญ่มากมาย ส่งผลให้เกิดเป็นเส้นทางสัญจรที่คดเคี้ยวชนิดเซียนขับรถหลายรายชื่นชอบ มีทัศนียภาพจากป่าเขาที่มองเห็นเป็นผืนสีเขียวในหน้าฝน ช่วยให้มีความสุขต่อการพบเห็น ขณะที่ความหนาวเหน็บของอุณหภูมิที่ลดต่ำในหน้าหนาวสร้างบรรยากาศให้ผู้คนเดินทางไปสัมผัสยังสถานที่เที่ยวตามธรรมชาติหลายแห่งกันอย่างคึกคัก

“อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์” นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่รวบรวมสุดยอดสถานที่ท่องเที่ยวไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำตกแม่สุรินทร์ ดอยปุยหลวง และอีกแห่งไฮไลต์สำคัญในช่วงหน้าหนาวสำหรับผู้มาเยือนคือทุ่งดอกบัวตองดอยแม่อูคอ ที่มีลักษณะเป็นทิวเขาเขียวสูงสลับด้วยทิวทุ่งดอกบัวตอง จำนวนกว่า 500 ไร่ เหลืองอร่ามทั่วแนวเขา แล้วมีเพียงปีละครั้ง

จากสถานที่เที่ยวเหล่านี้ผลักดันให้เกิดเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่พักในรูปแบบโฮมสเตย์ การนำพืชผัก ผลไม้ มาขาย มีของที่ระลึกขาย ตลอดจนอาชีพรับจ้างต่างๆ ที่ล้วนสร้างเม็ดเงินจำนวนมากให้ชาวบ้านในพื้นที่มีรายได้ตลอดทั้งปี

‘ที่พักดอยแม่อูคอ บ้านปากาเกอะญอโฮมสเตย์’ เป็นสถานที่พักแนวแบ็คแพ็คตั้งอยู่ใกล้กับน้ำตกแม่สุรินทร์ทำให้ผู้พักมีความสุขจากการได้ยินเสียงน้ำที่ไหลจากภูเขา ตลอดจนบรรยากาศที่มีความชุ่มชื้นเย็นสบาย สามารถมาท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงหน้าหนาวจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติจำนวนมาก

นอกจากนั้น เจ้าของโฮมสเตย์แห่งนี้ยังทำสวนผสมอินทรีย์เพื่อนำผลผลิตทางการเกษตรต่างๆ ขายให้แก่นักท่องเที่ยว แล้วยังนำมาปรุงอาหารให้แก่ผู้เข้าพักโดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อ อีกทั้งยังมีสำหรับบริโภคในครอบครัวญาติพี่น้อง ช่วยให้ลูกค้าได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย แถมยังประหยัดต้นทุน

คุณการุณ คำสวัสดิ์ เจ้าของโฮมสเตย์ซึ่งเป็นชาวปกากะยอบอกว่า ก่อนหน้าที่จะมาทำอาชีพนี้ ตัวเขาเคยมีอาชีพรับจ้างทั่วไปในเมืองกรุง ทำงานหลายปีไม่เคยมีเงินเก็บ จนได้เห็นพระราชกรณียกิจเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในโทรทัศน์ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เดินทางกลับภูมิลำเนาบ้านเกิดเพื่อมาทำตามในผืนดินของครอบครัว

คุณการุณ ซึมซับแนวคิดและเรียนรู้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงจากพัฒนาชุมชน และสำนักงานเกษตร ขณะเดียวกันยังเติมความรู้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงจากการเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นทุกแห่ง แล้วนำข้อมูลมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ตัวเอง ขณะเดียวกันยังถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวให้แก่ชาวบ้านที่สนใจ

กระทั่งเมื่อแนวคิดตกผลึก แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในแบบฉบับของคุณการุณจึงได้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมด้วยกัน 2 ส่วน คือ การสร้างโฮมสเตย์ กับทำสวนเกษตรผสมผสาน โดยกิจกรรมทั้งสองส่วนจะต้องอยู่ภายใต้หลักคิดเริ่มต้นทำแต่น้อยๆ ใช้วัสดุอุปกรณ์ในพื้นที่โดยไม่ต้องลงทุน หรือใช้ทุนให้น้อยที่สุด เรียนรู้ให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง ทั้งนี้การทำน้อยๆ จะช่วยให้ได้ผลดีมากกว่าการทำมากๆ หลายอย่างจนล้มเหลว จากแนวคิดนี้ทำให้คุณการุณสามารถต่อยอดกิจกรรมแต่ละชนิดแล้วประสบความสำเร็จได้อย่างง่าย

โฮมสเตย์ของคุณการุณมีชื่อว่า ‘ที่พักดอยแม่อูคอ บ้านปากาเกอะญอโฮมสเตย์’ สร้างขึ้นแบบเรียบง่ายแนวธรรมชาติ ที่ตั้งอยู่ติดกับต้นทางน้ำตกแม่สุรินทร์ จึงทำให้มีเสียงน้ำไหลเป็นเครื่องขับกล่อม มีอากาศเย็นชุ่มชื่นสบายตัว จึงเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าทั้งคนไทยและต่างชาติที่มาใช้บริการตลอดปี

ในช่วงเทศกาลดอกบัวตองคือราวเดือนพฤศจิกายน มักจะมีนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางมาเที่ยวแล้วจองห้องพักกันอย่างคึกคัก ทำให้สินค้า อาหาร ขายดีมาก ทั้งนี้ ราคาโฮมสเตย์คิดเป็นรายคน คนละ 150 บาท ต่อคืน ส่วนอาหารก็คิดเป็นรายคนเช่นกัน ในอัตราคนละ 70 บาท มีอาหาร 3 อย่าง เป็นอาหารพื้นบ้าน หรือผักเมืองหนาว ผักกูด มีไก่บ้าน ไข่เจียว ไข่ดาว

สวนเกษตรผสมที่เกิดจากความคิดคุณการุณจะใช้หลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นแนวทาง อันประกอบด้วยบ่อเลี้ยงปลาดุกและปลาไน ปลูกข้าว ปลูกพืชผัก ผลไม้ ปลูกกาแฟ และเพาะเลี้ยงไส้เดือนเพื่อขายพันธุ์และทำปุ๋ย ซึ่งทุกกิจกรรมเน้นความเป็นอินทรีย์

ผลผลิตทางการเกษตรที่เกิดขึ้นถูกนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการบริโภคในครอบครัวและใช้เป็นอาหารของแขกที่มาพัก เขายกตัวอย่างการปลูกข้าวให้ฟังว่า ใช้ข้าวดอย หรือภาษาท้องถิ่นเรียกข้าวดอยบือโปะโละ ที่มีลักษณะเมล็ดกลมคล้ายข้าวญี่ปุ่น เป็นพันธุ์ข้าวที่ชาวบ้านพื้นเมืองปลูกกันมายาวนาน เป็นข้าวคุณภาพที่เกิดจากลักษณะภูมิประเทศที่มีความเย็น จึงไม่สามารถปลูกข้าวพันธุ์อื่นอย่างในพื้นที่ราบลุ่มได้ ทั้งนี้ จะเก็บแยกพันธุ์ข้าวไว้เพื่อนำมาใช้ปลูกในแต่ละรอบ

“ข้าวดอยดูแลไม่ยาก ใช้น้ำจากแหล่งน้ำบนเขา จะเริ่มปลูกข้าวราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนแล้วเก็บเกี่ยวประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ข้าวที่ปลูกไม่ต้องใส่ปุ๋ยยาอะไรเลย เพราะดินมีคุณภาพแล้วอากาศดีมาก ทั้งนี้ผลผลิตจากข้าวดอยที่เป็นข้าวซ้อมมือที่มีสรรพคุณช่วยแก้เหน็บชา ปวดตามแขนขา”

คุณการุณ ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ปลูกข้าวดอยในลักษณะเป็นกลุ่ม แล้วแปรรูปข้าวบรรจุเป็นแพ็คขาย ราคา 1 กิโลกรัม 70 บาท และครึ่งกิโลกรัม ราคา 35 บาท โดยขายตรงผ่านเฟซบุ๊ก อีกทั้งยังนำไปวางขายตามร้านต่างๆ หลายแห่งในละแวกพื้นที่ใกล้เคียง

“กาแฟ” เป็นพืชที่ชาวบ้านในพื้นที่ปลูกกันมายาวนาน ในสมัยก่อนชาวบ้านแยกกันขายผลผลิตกาแฟ แล้วประสบปัญหาราคาผันแปรจนบางครั้งกระทบกับรายได้ครัวเรือน แต่มาถึงตอนนี้พวกเขารวมตัวกันเป็นกลุ่มสร้างผลผลิตกาแฟพันธุ์อราบิก้าที่มีคุณภาพเนื่องจากปลูกในสภาพพื้นที่เหมาะสม แล้วแต่นับจากปี 2562 ทางราชการจะสนับสนุนเครื่องจักรก็คาดว่าจากนั้นชาวบ้านจะสามารถผลิตและแปรรูปได้เอง เกิดมีความเข้มแข็งขึ้น ช่วยให้มีรายได้มากขึ้น พร้อมกับการเพิ่มพื้นที่ปลูกเพื่อขยายกำลังการผลิตต่อไป

คุณการุณ เล่าว่า กาแฟเป็นพืชที่ปลูกมาในยุคคุณตาที่เริ่มปลูกเป็นรายแรก ตอนนี้คุณตาอายุ 108 ปี การปลูกกาแฟช่วยให้ชาวบ้านในพื้นที่มีรายได้ที่ยั่งยืน เพราะปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยาวนาน ความรู้เรื่องการปลูกกาแฟใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่สืบทอดต่อกันมา ขณะเดียวกันในเรื่องเทคโนโลยีได้รับการแนะนำส่งเสริมจากทางเกษตรที่สูง

“จุดเด่นของกาแฟในพื้นที่คือเป็นกาแฟที่ปลูกแบบธรรมชาติไม่ได้ใส่ปุ๋ยยาบำรุงอะไรเลย โดยพื้นที่ปลูกมีลักษณะลาดชัน ขณะที่ชาวบ้านทุกครัวเรือนเลี้ยงหมู/ไก่กัน ดังนั้นมูลสัตว์เหล่านี้จะดูดซึมลงในดิน และบางส่วนไหลไปตามพื้นที่ปลูกพืชเป็นบริเวณกว้าง จึงทำให้ดินทุกแห่งมีความสมบูรณ์ ขณะเดียวกันป่าในพื้นที่มีความชื้นสูงเพราะอยู่ใกล้น้ำตก สิ่งเหล่านี้จึงทำให้ผลผลิตกาแฟมีความเป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง เป็นกาแฟอินทรีย์ที่มีรสเข้มข้น หอมละมุน ถูกใจนักดื่ม”

ปลูกกาแฟในลักษณะรวมกลุ่มแบบเครือข่าย ผลผลิตกาแฟจะเริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม เป็นกาแฟที่ปลูกในสภาพธรรมชาติที่มีความสมบูรณ์มาก ปลูกในระดับความสูงที่ได้มาตรฐาน โดยผลผลิตที่แปรรูปแล้วจะบรรจุใส่ซอง ใช้ชื่อ “9102” เป็นกาแฟที่มีความปลอดภัย สะอาด ราคากาแฟน้ำหนัก 400 กรัม ราคาถุงละ 150 บาท

อีกทั้งยังปลูกเสาวรสไว้จำนวน 1 ไร่ มีจำนวนประมาณ 50 ต้น ขายผลผลิตเป็นผลสดให้แก่พ่อค้าในราคากิโลกรัมละ 5 บาท ทั้งนี้ ผู้มาเที่ยวก็สามารถซื้อในราคานี้ได้ โดยจะแบ่งส่วนหนึ่งไว้สำหรับคั้นเป็นน้ำผลไม้ไว้ให้ลูกค้าที่มาพัก แล้วขายดีมากให้แก่นักท่องเที่ยวในช่วงปลายปี

แล้วได้ขุดบ่อเลี้ยงปลาดุกและปลาไน เพาะเลี้ยงไส้เดือนเพื่อขายพันธุ์แล้วผลิตปุ๋ยไส้เดือนไว้ใช้เองแล้วมีจำหน่าย นอกจากนั้น ยังปลูกมะระหวาน หรือซาโยเต้ เพราะเป็นพืชที่ปลูกง่าย สามารถเจริญเติบโตตามต้นไม้ใหญ่ ไม่ต้องใส่ปุ๋ยยาอะไรก็งอกงามสมบูรณ์ดีมาก มีขนาดใหญ่ แล้วล่าสุดกำลังเริ่มปลูกอะโวกาโด เขาชี้ว่าความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้พืชไม้ผลทุกชนิดมีคุณภาพ สมบูรณ์เต็มที่โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาปุ๋ยยาแต่ประการใดเลย

ไม่เพียงผลผลิตทางการเกษตรที่คุณการุณผลิตและจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวและคนในชุมชน แต่เขายังจัดให้เป็นแหล่งทอผ้าพื้นเมืองของชาวปะกาเกอญอมีผ้าทอหลายแบบ หรือจะสั่งทอตามแบบ/ขนาดที่ลูกค้าต้องการ ทั้งนี้ เสื้อผ้าทอพื้นเมืองมีราคาเริ่มต้นที่ตัวละ 300 บาท

คุณการุณ ถือเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง หัวไว ใจสู้ ไม่ย่อท้อ แล้วมักลองทำทุกอย่างที่ท้าทาย ในที่สุดเขาก็ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างที่ไม่คาดฝันมาก่อน พร้อมกับได้รางวัลชีวิตตอบแทนด้วยการรับตำแหน่งเป็นประธานกลุ่มโฮมสเตย์ แล้วยังเป็นสมาชิกกลุ่ม Young Smart Farmer อีกทั้งยังได้รับรางวัล Young Smart Farmer ดีเด่นของอำเภอขุนยวมด้วย

“จากเมื่อก่อนไม่เคยมีเงินเก็บจนกระทั่งตัดสินใจกลับมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่บ้านเกิดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงเห็นผลจริงตามที่พ่อหลวงสอน ทำให้ทุกวันนี้มีรายได้เป็นของตัวเอง มีเงินเก็บ มีโอกาสซื้อรถ และสิ่งของเครื่องใช้เป็นของตัวเอง มีชีวิตครอบครัวที่อบอุ่น เพราะเราเริ่มต้นและใช้ชีวิตอย่างพอเพียงมาตลอด” คุณการุณ กล่าว

หากมีโอกาสเดินทางไปเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอน อย่าลืมแวะไปเที่ยว “อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์” แล้วแวะพักแรมที่ “บ้านปากาเกอะญอโฮมสเตย์” พร้อมเลือกซื้อผลผลิตการเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ (062) 983-0571 หรือเข้าไปส่องดูกิจกรรมต่างๆ ใน fb : ที่พักดอยแม่อูคอ บ้านปากาเกอะญอโฮมสเตย์

สภาพอากาศแห้งแล้ง อาจส่งผลกระทบต่ออ้อยปลูกใหม่และอ้อยตอในระยะเก็บเกี่ยวถึงระยะแตกกอ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวไร่อ้อยเฝ้าระวังการระบาดของหนอนกออ้อย มักพบการเข้าทำลายของหนอนกออ้อยอยู่ 3 ชนิด คือ หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอสีขาวและหนอนกอสีชมพู หนอนกอลายจุดเล็ก ตัวหนอนจะเจาะเข้าไปตรงส่วนโคนระดับผิวดิน และเข้าไปกัดกินส่วนที่กำลังเจริญเติบโตภายในหน่ออ้อย ทำให้ยอดอ้อยแห้งตาย ผลผลิตอ้อยลดลง 5-40% และยังพบหนอนเข้าทำลายอ้อยในระยะอ้อยย่างปล้อง โดยหนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในลำต้นอ้อย ทำให้อ้อยแตกแขนงใหม่ และแตกยอดพุ่ม

ส่วน หนอนกอสีขาว ตัวหนอนจะเจาะไชจากส่วนยอดเข้าไปกัดกินยอดที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ยอดแห้งตายโดยเฉพาะใบที่ยังม้วนอยู่ ส่วนใบยอดอื่นๆ ที่หนอนเข้าทำลายจะมีลักษณะหงิกงอ และมีรูพรุน เมื่ออ้อยมีลำแล้ว หนอนจะเข้าทำลายส่วนที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ไม่สามารถสร้างปล้องให้สูงขึ้นไปได้อีก ตาอ้อยที่อยู่ต่ำกว่าส่วนที่ถูกทำลายจะแตกหน่อขึ้นมาทางด้านข้าง และเกิดอาการอ้อยแตกยอดพุ่ม

หนอนกอสีชมพู หนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินตรงส่วนโคนของหน่ออ้อยระดับผิวดิน เข้าไปกัดกินส่วนที่กำลังเจริญเติบโตภายในหน่ออ้อย ทำให้ยอดแห้งตาย ถึงแม้ว่าหน่ออ้อยที่ถูกทำลายจะสามารถแตกหน่อใหม่เพื่อชดเชยหน่ออ้อยที่เสียไป แต่หน่ออ้อยที่แตกใหม่จะมีอายุสั้นลง ทำให้ผลผลิตและคุณภาพของอ้อยลดลง

สำหรับแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาหนอนกออ้อย ให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในแหล่งชลประทาน ควรให้น้ำเพื่อให้อ้อยแตกหน่อชดเชย และปล่อยแตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา อัตรา 30,000 ตัวต่อไร่ต่อครั้ง ให้ปล่อยติดต่อกัน 2-3 ครั้ง ใช้ในช่วงที่พบกลุ่มไข่ของหนอนกออ้อย

เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือนไปแล้ว หรืออ้อยแสดงอาการยอดเหี่ยว 10% ควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงเดลทาเมทริน 3% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 14 วัน กรณีพบการระบาดของหนอนกออ้อยหรืออ้อยแสดงอาการยอดเหี่ยวมากกว่า 10% ให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงอินดอกซาคาร์บ 15% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารลูเฟนนูรอน 5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นในอัตราส่วน 60 ลิตรต่อไร่

หลายปีที่ผ่านมาเมืองไทยประสบเจอสภาวะอากาศแปรปรวน ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ เนื่องจากฤดูกาลคลาดเคลื่อนไปหมด ฤดูหนาวก็มีฝนตก ฤดูร้อนก็มีฝนตก จำนวนวันที่อากาศร้อนในรอบปีก็จะเพิ่มมากขึ้น ความแปรปรวนระหว่างฤดู ระหว่างปีต่อปี มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น หลายพื้นที่โดนทั้งลมพายุ ภัยหนาว น้ำท่วม สภาพอากาศร้อนจัดจนเกิดภัยแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล สภาวะอากาศแปรปรวนเหล่านี้ ทำให้เกษตรกรวางแผนจัดการสวนไม้ผลได้ยากขึ้นเรื่อยๆ

งานวิจัยเรื่องรูปแบบการแปรปรวนภูมิอากาศต่อการผลิตทุเรียนจังหวัดจันทบุรี ของนางสาวศิริพร วรกุลดำรงชัย ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือเครือข่ายนักวิจัยสิ่งแวดล้อม ของศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยเน้นศึกษาข้อมูลสภาวะภูมิอากาศในรอบ 30 ปีของกรมอุตุนิยมวิทยา เช่น การเปลี่ยนอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ความชื้นสัมพัทธ์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อการผลิตทุเรียน เพื่อนำผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในอดีตมาใช้เป็นบทเรียนสำหรับวางแผนการรับมือสภาวะอากาศในปัจจุบันและอนาคต

ผลการศึกษาวิจัยในเบื้องต้นพบว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อพืชทั่วโลกหลายชนิด เช่น ท้อและบ๊วย ทางภาคใต้ของประเทศฝรั่งเศส ในช่วงปี ค.ศ. 1970-2001 ออกดอกเร็วขึ้น 1-3 สัปดาห์ เชอรี่บานเร็วขึ้น 2.2 วันในระยะเวลากว่า 10 ปี เมื่ออุณภูมิสูงขึ้น 1-4 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียส หรือปริมาณน้ำฝนลดลงเนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโน ล้วนส่งผลกระทบทำให้ข้าวและธัญพืชในประเทศอังกฤษ อินเดีย และฟิลิปปินส์ ปรับตัวลดลง เช่นกันกับต้นทุเรียนที่ปลูกในจังหวัดจันทบุรี ในช่วงปี 2548 และ2550 หลังเจอสภาวะอากาศแปรปรวน ต้นทุเรียนออกดอกและเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้นกว่าในปีก่อนๆ 3-4 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศยังส่งผลกระทบต่อการกระจายทางภูมิศาสตร์ของแมลง เพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะเร่งการเกิดโรคพืชและแมลงเร็วขึ้น และการแพร่ระบาดขยายตัวในวงกว้าง จากที่ลุ่มสู่พื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล จากเส้นศูนย์สูตรสู่ขั้วโลกเหนือและใต้ จะเห็นได้ว่าทางภาคเหนือของจีนในระยะ 10 กว่าปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มการเกิดโรคและแมลงรุนแรงขึ้น

สภาวะอากาศแปรปรวนในสวนทุเรียน

สภาพภูมิอากาศในจังหวัดจันทบุรี ในช่วงระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมาเทียบกับปัจจุบัน พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ความแปรปรวนของสภาพอากาศมีรูปแบบที่ไม่แน่นอน บางปีเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวทุเรียนได้เร็วกว่าปกติ ต้นทุเรียนมีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง แม้มีปัจจัยสภาพภูมิอากาศอากาศที่ไม่เหมาะสมมาแทรกซ้อนในแต่ละขั้นตอนการพัฒนาการของทุเรียนเกิดขึ้นบ้างแต่ไม่รุนแรง ต้นทุเรียน มีความสมบูรณ์ต้นดีพร้อมที่จะออกดอก เมื่อกระทบช่วงแล้ง ต้นทุเรียนออกดอกได้ในปริมาณมาก และเป็นดอกรุ่นเดียวกัน การติดผลดี ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

สภาวะอากาศแปรปรวน ส่งผลกระทบให้ต้นทุเรียนออกดอกถึง 3 รุ่น หลังการเก็บเกี่ยวเพื่อเตรียมต้นทุเรียนให้พร้อมสำหรับการออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม – ตุลาคม โดยช่วงเวลาดังกล่าว มีอุณหภูมิสูงสุด 32.63 องศาเซลเซียส และต่ำสุดเฉลี่ย 24.41 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนรวมรายปี 3,082.1 มิลลิเมตร ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 80.52 % ส่งผลทำให้ต้นทุเรียนแตกใบอ่อน 2-3 รุ่น ในช่วงก่อนชักนำให้ออกดอก

โดยทั่วไป ต้นทุเรียนเป็นไม้ผลที่ต้องการช่วงแล้งประมาณ 10-14 วันในการชักนำให้ออกดอก แต่ปลายเดือนตุลาคม – ธันวาคม กลับเจอฝนทิ้งช่วงเร็ว มีอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง ต้นทุเรียนที่มีความสมบูรณ์ดีพร้อมจะออกดอกได้ แต่ต้นที่ยังไม่พร้อมที่จะออกดอก เจอฝนตก และมีอุณหภูมิร้อน-หนาวเย็นสลับกัน และมีน้ำค้างมากในบางวัน ทำให้ต้นทุเรียนออกดอก และการพัฒนาของดอกชงัก ส่งผลให้ทุเรียนจันทบุรีในปีการผลิต 2553/2554 ออกดอกถึง 3 รุ่น รุ่นแรกออกดอกต้นเดือนพฤศจิกายน มีปริมาณดอกมากที่สุด 60% รุ่นที่สองออกดอกประมาณต้นเดือนธันวาคม ปริมาณดอก 30% รุ่นที่ 3 ออกดอกต้นเดือนมกราคม ปริมาณดอก 10% ทำให้มีผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดในช่วงเดือนมีนาคม

โดยรวมถือว่า ต้นทุเรียนให้ผลผลิตเร็วกว่าปีก่อน ๆ แม้ต้นทุเรียนจะมีผลผลิตทยอยออก 3 รุ่น แต่ได้ผลผลิตคุณภาพดี โดยทุเรียนทะยอยเข้าสู่ตลาดตั้งแต่เดือนมีนาคม-มิถุนายน ไม่กระจุกตัวในช่วงเวลาเดียวกันหมือนทุกปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกษตรสามารถขายผลผลิตได้ในราคาค่อนข้างสูง

สภาวะอากาศแปรปรวนในสวนมังคุด

มังคุดเป็นผลไม้ที่ต้องการช่วงแล้งในการชักนำออกดอกยาวนานกว่าทุเรียนประมาณ 20-30 วันขึ้นไป เมื่อมีฝนตกมาเป็นระยะๆ ทำให้ช่วงแล้งในการชักนำการออกดอกของมังคุดไม่มากพอ เมื่อเจอภาวะอากาศร้อนสลับหนาวเย็นเป็นช่วงๆ ส่งผลให้มังคุดออกดอกค่อนข้างล่าช้า

ยกตัวอย่าง ปีการผลิต 2553/2554 มังคุดออกดอกล่าช้ามากในราวเดือนกุมภาพันธ์ จากปกติที่ต้นมังคุดจะออกดอกช่วงเดือนธันวาคม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพของมังคุดเนื่องจากเกษตรกรต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงฤดูฝน ทำให้ผลมังคุดเกิดอาการเนื้อแก้วยางไหล

นอกจากนี้ ต้นมังคุดที่อั้นจะออกดอกมาเป็นเวลานาน เมื่อได้รับอากาศที่เหมาะสมจึงออกดอกมาเต็มต้น แต่จะออกดอกเป็นกระจุกเหมือนดอกโป๊ยเซียน และติดผลค่อนข้างมาก ทำให้ผลมีขนาดค่อนข้างเล็ก สภาวะอากาศแปรปรวนที่เกิดขึ้น เกษตรกรบางรายไม่รู้ว่าควรจะจัดการอย่างไร จะให้น้ำต่อไปหรือหยุดให้น้ำ หากให้น้ำมากเกินไป มังคุดแตกใบอ่อนทั้งต้น บางรายให้น้ำเสร็จฝนตก รอบของฤดูกาลเปลี่ยนแปลงไป

แนะวิธีรับมือสภาวะอากาศแปรปรวน

ทั้งนี้ เกษตรกรควรหมั่นสังเกตและจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในทุกๆ ปี เพื่อเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศว่ามีผลกระทบ ต่อการผลิตทุเรียนอย่างไร ในช่วงไหนบ้าง ถ้าเกิดสภาพอากาศแห้งแล้งแล้วมีฝนตกลงมา ทำให้ทุเรียนแตกใบอ่อน หรือทุเรียนดอกกำลังบาน เกิดมีฝนทำให้ไม่เกิดการผสมเกสร หรือฝนตกในช่วงติดผล ทำให้ผลร่วง ฯลฯ

ขณะเดียวกันเกษตรกรควรจดบันทึกเกี่ยวกับปัจจัยสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ อุณหภูมิร้อน เย็น ฝนตกมาก ฝนตกน้อย ความชื้นสัมพัทธ์ มีผลกระทบต่อการผลิตทุเรียนอย่างไร ในกรณีที่มีอากาศ หนาวมากเกินไป (ดอกจะไม่บาน) ร้อนมากเกินไป (ดอกอาจร่วง) เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้วางแผนปรับตัวหรือจัดการสวนผลไม้ ให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

เกษตรกรชาวสวนทุเรียนและมังคุดควรปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ โดยระลึกเสมอว่า ความเสี่ยงอากาศแปรปรวนมีแนวโน้มเกิดขึ้นเรื่อยๆ ควรวางแผนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในอนาคตด้วยความไม่ประมาท

หลังจากการเก็บเกี่ยวให้เตรียมต้นให้พร้อมทันที เร่งตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ย เพื่อบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้นให้กลับคืนมาโดยเร็วที่สุด เร่งให้ต้นทุเรียนแตกใบอ่อน พร้อมสร้างอาหาร ผลิดอกออกผลต่อไป หากเกษตรกรละเลยการเตรียมพร้อมดังกล่าว เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมมาถึงจะสูญเสียโอกาสในการทำให้ต้นไม้ผลิดอกออกผลได้ ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ช่วงนี้มีอากาศเย็น อุณหภูมิลดต่ำลง มีหมอกในตอนเช้า และมีแดดแรงในตอนกลางวัน กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมะม่วงให้เฝ้าระวังสังเกตการเข้าทำลายของด้วงงวงกัดใบมะม่วง มักพบการระบาดในระยะที่มะม่วงแตกใบอ่อน

โดยจะพบตัวเต็มวัยเป็นด้วงงวงขนาดเล็ก ก่อนการวางไข่ ด้วงงวงตัวเต็มวัยเพศเมียจะใช้อวัยวะที่อยู่ปลายงวงเจาะที่ด้านข้างของเส้นกลางใบมะม่วง จากนั้นจะวางไข่ตามแกนกลางใบอ่อนประมาณ 2-14 ฟองต่อใบ เมื่อวางไข่เสร็จแล้ว ด้วงงวงกัดใบมะม่วงจะกัดใบอ่อนห่างจากขั้วใบประมาณ 1-2 เซนติเมตรจนเหลือแต่โคนใบไว้บนต้น ภายในระยะเวลา 2-3 วัน ทำให้ใบอ่อนส่วนที่มีไข่ติดอยู่ร่วงหล่นลงบนพื้นดิน

ลักษณะรอยกัดจะเป็นเส้นตรงเหมือนใช้กรรไกรตัด เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนจะเจาะเส้นกลางใบและแทรกตัวเข้าไปกัดกินเนื้อเยื่อใต้ผิวใบ หนอนจะเจริญเติบโตอยู่ภายในใบมะม่วงที่ร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน จากนั้นจะเข้าดักแด้ตามพื้นดินที่มีความชื้นโดยใช้ดินสร้างเป็นรังดักแด้

เกษตรกรควรเก็บใบอ่อนมะม่วงที่ถูกกัดร่วงตามโคนต้นนำไปเผาหรือฝังทำลายทิ้งทันที เพื่อทำลายไข่และหนอนด้วงงวงกัดใบมะม่วง จากนั้น ให้เกษตรกรไถพรวนดินเพื่อจะช่วยลดความเสียหายลงได้

สำหรับในระยะที่มะม่วงแตกใบอ่อน หากพบการเข้าทำลายของด้วงงวงกัดใบมะม่วง เกษตรกรควรพ่นด้วยสารคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร การใช้สารกำจัดแมลงควบคุมแมลงศัตรูมะม่วงชนิดอื่นๆ มีส่วนช่วยลดการเข้าทำลายด้วงงวงกัดใบมะม่วงด้วย อบเชย เป็นสมุนไพรและเครื่องเทศที่คนไทยคุ้นเคยกันมานาน จนนำมาตั้งชื่อให้ลูกสาวก็มี ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนก็มีการกล่าวถึงไม้ชนิดนี้

สายหยุดกุหลาบอาบอวลดี ขอหยุดชมจูบทีเถิดสาวน้อย… ”

หลายคนจะคุ้นเคยกับกลิ่นอบเชยในพะโล้ แต่คนรุ่นใหม่ไม่น้อยที่ไม่รู้จัก แต่กลับคุ้นเคยกับคำว่า Cinnamon ที่เป็นส่วนประกอบหรือปรุงกลิ่นรสในเค้ก ซินนามอนโรลล์ ลูกอม ยาสีฟัน หรือในหมากฝรั่ง หลายคนที่สนใจเรื่องสุขภาพจะทราบสรรพคุณของอบเชยในการรักษาเบาหวาน ชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลินซึ่งกำลังเป็นที่สนใจทั่วไป อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหน้าตาของต้นอบเชยเป็นอย่างไร อบเชยมาจากไหน มีปลูกหรือไม่ และการผลิตและตลาดอบเชยทำอย่างไรนั้น จะเป็นที่น่าสนใจเช่นกัน

อบเชย เป็นเปลือกต้นของพืชในสกุล Cinnamomum ในวงศ์ Lauraceae หลายชนิด สามารถแบ่งตามแหล่งผลิตและคุณภาพของอบเชยได้ คือ

– อบเชยศรีลังกา (Cinnamomum verum J. Presl) หรืออบเชยเทศ (True Cinnamon) ปลูกมากในประเทศศรีลังกา ตอนใต้ของอินเดีย หมู่เกาะซิซิลี และบราซิล อบเชยที่ได้จากศรีลังกามีคุณภาพดีกว่าอบเชยที่ได้จากแหล่งอื่น เป็นที่นิยมในตลาดโลก

– อบเชยชวา [Cinnamomum burmannii (Nees) Blume] คาสิโนออนไลน์ หรืออบเชยอินโดนีเซีย (Indonesia Cassia) พบมากแถบเกาะสุมาตรา เกาะชวา และทางฝั่งตะวันตกของติมอร์ อบเชยชวาเป็นอบเชยที่จำหน่ายในท้องตลาดบ้านเรา เพราะมีการนำเข้าเพื่อใช้ในเครื่องแกง

– อบเชยจีน (Chinese Cassia) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum aromaticum Nees พบในมณฑลกวางสี ประเทศจีน และพม่า อบเชยจีนมีเปลือกหนาและหยาบกว่า สีเข้มกว่าอบเชยศรีลังกา

– อบเชยญวน (Saigon Cassia) ได้จากเปลือกที่แห้งแล้วของ Cinnamomum loureirii Nees มีลักษณะคล้ายอบเชยจีนมาก หอมไม่มาก แต่มีรสหวาน

– อบเชยไทย เป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ พบตามป่าดงดิบทั่วไป มี 2 ชนิด คือ Cinnamomum bejolghotha (Buch.-Ham.) Sweet และ Cinnamomum iners Reinw. Ex Blume มีคุณภาพไม่ดีเท่าอบเชยเทศ

อบเชย ในสภาพธรรมชาติทรงพุ่มอาจสูงตั้งแต่ 10-15 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร แต่อบเชยปลูกจะมีการดูแลรักษาโดยตัดแต่งกิ่งทรงพุ่ม ซึ่งมักจะสูงไม่เกิน 2-2.5 เมตร กิ่งอบเชยจะแตกขนานกับพื้นดินหรือโค้งลงหาดิน เปลือก ลำต้น และใบมีกลิ่นหอม ผลอบเชยมีขนาด 1.5-2 เซนติเมตร อบเชยชอบอากาศร้อนชื้น ดินร่วนซุยระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง ไม่เป็นทรายจัด ดินเหนียวทำให้เปลือกลำต้นหยาบและหนาทำให้คุณภาพต่ำ

วิธีขยายพันธุ์อบเชย

ใช้การเพาะเมล็ด โดยให้นำเมล็ดมาเพาะโดยเร็วใน 2-3 วัน เพราะเมล็ดจะสูญเสียความงอกอย่างรวดเร็ว เมล็ดที่มีความงอกดีจะใช้เวลาในการงอกประมาณ 20-30 วัน ควรเพาะในแปลงที่มีแสงรำไร ฝังเมล็ดลึกประมาณ 2.5 เซนติเมตร เมื่อกล้ามีอายุ 4-5 เดือน สูงประมาณ 15 เซนติเมตร ให้ย้ายลงถุงและเลี้ยงไว้อีกประมาณ 4-5 เดือน จึงย้ายลงแปลงเมื่อสภาพอากาศเหมาะสม การปลูกแบบการค้าควรใช้อบเชยที่ตลาดต้องการและมีคุณภาพดี เช่น พันธุ์ศรีลังกา