ที่ตั้งของบริษัท อยู่ต่างจังหวัด เป็นการกระจายงานลดการแออัด

ดร.ยงค์ยุทธ บอกว่า บริษัทพยายามใช้คนในพื้นที่ อย่างตนเองก็อยู่ลพบุรี เมื่อก่อนใช้คนไกลๆ เขาอยู่ไม่ค่อยทน ได้งานที่กรุงเทพฯ ก็กลับ จึงมีนโยบายรับคนในพื้นที่ไม่ไกลจากบริษัทมากขึ้น ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา

“ทางด้านส่งเสริมฯ ผมว่าใช้เยอะครับ ตรง เพราะเราได้ใช้เยอะ หากเรียนเรื่องคำนวณคงไม่ค่อยได้ใช้ เรื่องส่งเสริมเป็นเรื่องหลัก เกี่ยวกับงาน ผมไปช่วยมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี เป็นต้น เป็นอาจารย์พิเศษบ้าง เป็นวิทยากร และวิพากษ์หลักสูตรบ้าง เราถือว่า ส่วนหนึ่งเป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษาหรือปัจฉิมนิเทศนักศึกษาบ้าง จะได้รู้ว่าตัวเองเหมาะสมกับอาชีพอะไร คนรุ่นใหม่ ผู้หญิงเรียนเกษตรเยอะ กำลังงานภาคเกษตรยังต้องการนักศึกษาผู้ชายอยู่ แต่บริษัทก็ปรับตัว รับผู้หญิงทำงานวิจัยเพิ่มขึ้นบ้าง การเดินทางของผู้หญิงออกต่างจังหวัดหรือพื้นที่ถิ่นทุรกันดารอาจจะลำบาก” ดร.ยงค์ยุทธ พูดถึงวิชาที่เรียนมา

รางวัลแห่งชีวิตที่ได้รับ

การได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร) จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ (21 สิงหาคม 2563)

“ความรู้สึกส่วนตัว มีความภาคภูมิใจและเป็นเกียรติประวัติอย่างสูงสุดในชีวิตเป็นปริญญาฯ อันทรงเกียรติ ของสถาบันด้านการเกษตรชั้นนำของเมืองไทยที่มอบให้ นับว่าเป็นความภาคภูมิใจทั้งส่วนตัวผมเอง-ครอบครัว และบริษัทโดยรวม และจะเป็นแรงบันดาลใจให้ ผมก็ยังคงมุ่งมั่นในการให้การสนับสนุนภาคการศึกษาและสังคมโดยรวมต่อไป และยังคงมุ่งหวังที่จะขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อน มีส่วนร่วมพัฒนาภาคการเกษตรไทยในส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้เข้มแข็งขึ้นต่อไป” ทางผมใคร่ขอขอบพระคุณสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ได้ให้เกียรติอย่างสูงสุดมา ณ ที่นี้อีกครั้งหนึ่ง

“ข้าว” เป็นสินค้าที่ทำรายได้เข้าประเทศในแต่ละปีมีมูลค่ากว่าแสนล้านบาท แต่ปัจจุบันชาวนาส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงวัยที่นับวันเรี่ยวแรงกำลังจะถดถอยลงทุกที ลูกหลานชาวนาส่วนใหญ่ก็ออกไปทำงานในเมือง ทำให้หลายฝ่ายเกิดความเป็นห่วงว่า อนาคตข้าวไทย จะขาดแคลน เพราะขาดทายาทที่จะมาสืบทอดอาชีพชาวนา

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวจึงประกาศนโยบายเร่งด่วนที่จะพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ Young Smart Farmer โดยมุ่งส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เกิดการยอมรับการสืบทอดอาชีพเกษตรกรรมให้ก้าวหน้า สร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ เป็นกำลังหลักในการผลิตอาหารที่มีคุณภาพป้อนครัวไทย และครัวโลกในอนาคต

กรมส่งเสริมการเกษตร มุ่งพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ใน 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) คือเกษตรกรคนดี คนเก่ง ที่เป็นต้นแบบของเกษตรกรรายอื่นได้ และมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 180,000 บาท/ปี 2. เกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer : YSF ) มีอายุระหว่าง 17-45 ปี ที่เป็นบุตรหลานของเกษตรกร หรือบุคคลที่ผ่านสถาบันการศึกษามา แต่มีความรักในอาชีพเกษตรกรรม ให้เป็นผู้สืบทอดอาชีพเกษตรกรรมในอนาคต

เครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ จ.ร้อยเอ็ด (YSF 101)

จังหวัดร้อยเอ็ด มีพื้นที่ปลูกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง โดยเฉพาะ “ข้าวหอมมะลิ” ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญของจังหวัด มีแหล่งปลูกสำคัญอยู่ในพื้นที่อำเภอเกษตรวิสัย สุวรรณภูมิ โพนทราย และปทุมรัตต์ สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ดให้ความสำคัญกับ โครงการพัฒนาเกษตรกร ทั้งกลุ่มเกษตรกรปราดเปรื่อง และเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ เข้มข้นไม่แพ้จังหวัดอื่นๆ

สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด เน้นวิเคราะห์ข้อมูลวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เริ่มจากปรับกระบวนทัศน์เกษตรกรพร้อมสร้างแรงจูงใจ สร้างเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ จ.ร้อยเอ็ด (YSF 101) เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารกลุ่มเกษตรกรเครือข่าย และจัดหาช่องทางการเรียนรู้และการสื่อสาร

รวมทั้งจัดเวทีเรียนรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ กับนักวิชาการ และปราชญ์ชาวบ้าน สร้างเครือข่ายองค์ความรู้ สานสัมพันธ์เชื่อมโยงเครือข่าย สนับสนุนให้เกษตรกรเยี่ยมเยียนไปมาหาสู่กัน และนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในไร่นาของตัวเอง หากกลุ่มเกษตรกรอยากรู้เรื่องอะไร ขาดตรงไหน อยากไปดูงานที่ไหน ฯลฯ จะมีทีมเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรคอยดูแลประสานงานให้ตลอด

“คุณต้น” หรือ “นิติพงษ์ เจาะจง” วัย 41 ปี เกษตรกรเจ้าของกิจการ “ธัญทิพย์ฟาร์ม” คือหนึ่งในกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ “YSF 101” ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ดภาคภูมิใจ และยกย่องให้เป็นเกษตรกรต้นแบบด้านการทำนาแบบลดต้นทุน ควบคู่กับการเพิ่มมูลค่าในแปลงนา และเขายังเป็นชาวนานักประดิษฐ์ สร้างเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับนาน้ำตม ที่ช่วยให้การทำนาเป็นเรื่องง่าย ประหยัดแรงงาน ลดเวลาการทำงาน

คุณต้น มีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ “YSF 101” เพราะการไปศึกษาดูงานแต่ละแห่ง เป็นการเปิดโลกทรรศน์ ที่เขารู้สึกว่า เสมือนได้มุดหัวออกจากกะลา โลกกว้างใบนี้มีอะไรให้เราเรียนรู้มากมาย เขาฝากขอขอบคุณเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรและปราชญ์ชาวบ้านทุกท่านที่ร่วมแบ่งปันความรู้แบบเต็มๆ ทุกที่ที่ได้ไป และการประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเขามาก เป้าหมายแนวทางการปฏิบัติในพื้นที่ของเขาและกลุ่มเครือข่ายได้นำมาซึ่งความสามัคคี การแบ่งปันความรู้ และรายได้อย่างยั่งยืน

คุณต้น เรียนจบการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์บัณฑิต สาขาดนตรีศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี หลังจบการศึกษาก็ทำงานในอาชีพนักดนตรีที่เขาชื่นชอบ

แต่ทุกวันนี้ เขาทิ้งไมค์หันกลับมาทำอาชีพเกษตรตามรอยบรรพบุรุษ โดยให้เหตุผลว่า “ผมรักในเสียงดนตรี เพราะดนตรีคือ ธรรมชาติ ผมหลงใหลในเกษตรวิถีอินทรีย์ เพราะเป็นวิถีเกษตรที่เคารพธรรมชาติ ” ทำให้เขาถูกเรียกขานว่า “ชาวนาขาร็อค”

จุดเปลี่ยนที่ให้คุณต้นหลงใหลเกษตรวิถีอินทรีย์ เกิดขึ้นเมื่อเขามีโอกาสทดลองทำนาเคมีเหมือนกับเกษตรกรชาวนาทั่วไป เขาพบว่า การทำนาเคมีมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูง แต่ได้ผลผลิตต่ำ ข้าวไม่มีคุณภาพ เพราะใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีเยอะมาก ทำให้สุขภาพไม่ดี คุณภาพชีวิตแย่ลงทุกวัน แถมมีหนี้สินก้อนโต

เขาจึงหันมาศึกษาวิธีการทำนาลดต้นทุนจากแหล่งความรู้ต่างๆ และนำมาปรับใช้กับแปลงนาของตัวเอง จึงพบว่า เกษตรวิถีอินทรีย์เป็นหนทางแห่งความสุขยั่งยืนอย่างแท้จริง ใช้ต้นทุนต่ำ ข้าวมีคุณภาพดี ขายได้ราคาดี แถมสุขภาพคนปลูกคนกินก็ดี ทำให้เขามีความสุขมากกับการทำเกษตรวิถีอินทรีย์

“การทำนาเคมี ใช้ปุ๋ย ใช้ยาเต็มที่ ได้ผลผลิตเยอะในช่วงแรก ข้าวอุดมไปด้วยสารพิษ คนทำกับคนกิน สุขภาพไม่ดี สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ แต่การทำนาอินทรีย์ ปลอดสารพิษ ผลผลิตน้อยในช่วงแรก แต่จะดีขึ้นตามลำดับ คนทำกับคนกินสุขภาพดี สิ่งแวดล้อมดี นี่คือ คำตอบที่ทำให้ผมเลือกที่จะทำนาอินทรีย์ครับ” คุณต้น กล่าว

ทำนาแบบลดต้นทุน เพิ่มมูลค่า

การทำเกษตรเชิงเดี่ยว มีความเสี่ยงสูงในด้านผลผลิตและรายได้ คุณต้นจึงมุ่งทำเกษตรแบบผสมผสาน โดยทำนาตามแบบปู่ย่าตายาย คือ “ในน้ำมีปลา” มีบ่อน้ำในไร่นาเพื่อใช้ปลูกข้าวและใช้บ่อน้ำเลี้ยงปลาสำหรับเป็นอาหารและจับปลาออกขายเป็นรายได้เสริมเลี้ยงดูครอบครัว

“ในนามีข้าว” เขาปลูกทั้งพันธุ์ข้าวหอมมะลิ และข้าวไรซ์เบอร์รี่ แถมปลูกกระเจี๊ยบแดงบนคันนา เพื่อเป็นรายได้เสริม โดยขายในรูปแบบกระเจี๊ยบตากแห้ง และน้ำสมุนไพรพร้อมดื่มเพื่อสุขภาพ เช่น โกจิเบอร์รี่กระเจี๊ยบพุทราจีน ตะไคร้ใบเตยอัญชัน ฯลฯ รสชาติอร่อย ขายดีติดตลาด

คุณต้น ปลูกข้าวแบบลดต้นทุนด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ โดยใช้เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวนาน้ำตมที่เขาประดิษฐ์ขึ้นใช้เอง เรียกว่า โมเดล “นางาม 1” นับเป็นเครื่องหยอดข้าวแนวใหม่ ใช้งานง่ายมาก สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์น้อยกว่า แต่ได้ผลผลิตมากกว่าเดิม ต้นข้าวขึ้นเป็นระเบียบทำให้ดูแลจัดการในแปลงนาได้ง่าย ผลงานสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ไม่ธรรมดา จิ๋วแต่แจ๋วจริงๆ เพราะติด 1 ใน 30 ชิ้นงานเด่น จากโครงการประกวดผลงานเกษตรกรทั่วประเทศในโครงการเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ปี 2558

การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ของเขา เริ่มต้นจากใส่ใจเรื่องการเตรียมดินที่ดี เพิ่มจุลินทรีย์และอินทรียวัตถุให้กับดินด้วยการไม่เผาตอฟาง ปลดปล่อยธาตุอาหารที่หลงเหลืออยู่ในตอฟาง ออกมาให้พืชได้ใช้ และปรับปรุงดิน

การเตรียมดินที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง เขาไม่เผาฟาง แต่ใช้วิธีการไถกลบตอซัง และหมักด้วยน้ำจุลินทรีย์จาวปลวก รองพื้นปุ๋ยอินทรีย์ พ่นเชื้อราไตรโครเดอร์มา แช่เมล็ดข้าวด้วยเชื้อไตรโคเดอร์ม่า 1 คืน และหุ้ม 1 คืน หยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยเครื่องหยอด โมเดล “นางาม 1” ช่วยประหยัดเมล็ดพันธุ์ข้าว เพราะใช้แค่ 8 กิโลกรัม ต่อไร่ ประหยัดเวลาในการเพาะปลูก

แปลงนา 1 ไร่ ใช้เวลาปลูกข้าวเพียง 45 นาที ข้าวอายุ 14 วัน จะขึ้นเป็นแนวคล้ายการปักดำ เรียกว่า ผลงานชิ้นนี้ช่วยลดขั้นตอนการหว่านกล้า ถอนกล้า ขนย้ายกล้าและปักดำ ดูแลจัดการง่ายกว่าการปลูกข้าวทั่วไป

หากคุณเป็นชาวนา จะเลือกปลูกข้าวด้วยวิธีไหนถึงคุ้มค่ากับการลงทุน หากเปรียบเทียบ จากการทำนาใน 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. เครื่องหยอด แปลง 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 8 ก.ก. ใช้เวลาหว่านแค่ 45 นาที ต้นข้าวจะขึ้นเป็นระเบียบ แสงส่องถึง ต้นข้าวแข็งแรง 2. นาดำ ใช้เมล็ดพันธุ์ 5 ก.ก. ทำงาน 1 วัน ใช้แรงงาน 3 คน ต้นทุนผลิตที่ไร่ละ 1,000 บาท 3. นาหว่าน ใช้เมล็ดพันธุ์ 6 ก.ก. ใช้เวลาปลูก 10 นาที แต่ข้าวหนามาก

ในมุมมองของคุณต้น เขามองว่า การทำนาหว่านเจ๋งสุด ในตอนนี้ อันดับ 2 คือ นาหยอด ตามด้วยปลูกข้าวด้วยวิธีนาดำ
ปัจจุบัน แปลงนาของคุณต้นมีจุดเด่นในเรื่องต้นทุนต่ำ เพราะใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวน้อย ใช้ปุ๋ยน้อย แต่ได้ผลผลิตที่ดี

เพราะเขามีตัวช่วยคือ ใช้จุลินทรีย์จาวปลวก ฮอร์โมนนม ช่วยบำรุงต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวแตกกอได้ดี ใช้ฮอร์โมนไข่ เพื่อให้เมล็ดข้าวเต็มรวง รวมทั้งใช้ เชื้อราไตรโคเดอร์มา ป้องกันโรคไหม้คอรวง และเชื้อรา รวมทั้งใช้น้ำหมักหอยเชอรี่ และน้ำหมักสมุนไพรรวม เพื่อบำรุงต้นข้าวและป้องกันแมลงศัตรูพืช

ทุกวันนี้ คุณต้น เปิดบ้านเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำนาแบบลดต้นทุน ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้สนใจ นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกลุ่มกับเพื่อนเกษตรกรในท้องถิ่นจัดตั้ง “วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรอินทรีย์” มีการรวมตัวทำกิจกรรมการเกษตรอย่างครบวงจร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ เขาเชื่อว่า ถ้ามีคนหนุ่มรุ่นใหม่คิดได้และทำแบบนี้เยอะๆ จะทำให้ชุมชนชาวนาเข้มแข็งขึ้นอย่างยั่งยืน

หากใครสนใจ อยากอุดหนุนข้าวหอมมะลิและข้าวไรซ์เบอร์รี่ ที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์หรืออยากแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการทำนาต้นทุนต่ำ สไตล์ “ชาวนาขาร็อค” สามารถติดต่อ คุณต้น – นิติพงษ์ เจาะจง ได้ที่บ้านเลขที่ 129 หมู่ที่ 1 บ้านโนนโพธิ์ ตำบลนางาม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 45120 โทร 084-663*3327 หรือติดต่อทางเฟซบุ๊ก “ธัญทิพย์ฟาร์ม เกษตรวิถีอินทรีย์”

กล้วย เป็นสินค้าขายดี เป็นที่ต้องการของตลาดตลอดทั้งปี เกษตรกรส่วนใหญ่จึงรีบตัดกล้วยดิบออกมาบ่มให้สุกด้วยแก๊สเอทิลีนโดยตรงหรือใช้ถ่านแก๊ส แคลเซียมคาร์ไบด์ โดยทุบถ่านแก๊สเป็นก้อนเล็กๆ แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อถ่านแก๊ส ซุกไว้กลางเข่งกล้วย ก่อนที่จะบรรจุผลไม้ลงไปจนเต็มเข่ง ระหว่างการขนส่งกล้วยจะมีการคายน้ำทำปฏิกิริยาทางเคมีกับถ่านแก๊ส กลายเป็นแก๊สอะเซทิลีนไปกระตุ้นให้กล้วยเริ่มกระบวนการสุก แต่ผู้บริโภคไม่ชอบกล้วยลักษณะนี้ เพราะมีกลิ่นแก๊สติดในเนื้อกล้วย และมีรสชาติไม่อร่อยเหมือนกล้วยที่ปล่อยให้สุกตามธรรมชาติ

บ่มกล้วยโดยใช้ “ความร้อนจากธูป”
ความจริงในอดีตคนไทยนิยมบ่มผลไม้ให้สุกด้วยเทคนิคง่ายๆ โดยใช้ “ความร้อนจากธูป” เริ่มจากเรียงกล้วยดิบใส่โอ่ง จุดธูปประมาณ 7-8 ก้าน ปักใส่แก้วที่ใส่ทรายตั้งไว้กลางโอ่ง ปิดฝาโอ่งให้สนิท รอสัก 2-3 วัน จึงค่อยมาเปิดดู จะเห็นกล้วยสุกเหลืองพร้อมกันและมีรสชาติอร่อยตามที่ต้องการ

บ่มผลไม้โดยใช้ “เตาดินอบความร้อน”
อีกเคล็ดลับหนึ่งที่น่าสนใจคือ เคล็ดลับการบ่มผลไม้ให้สุก โดยใช้ “เตาดินอบความร้อน” จากภูมิปัญญาชาวบ้านสมัยโบราณในอำเภอลานสภา จังหวัดนครศรีธรรมราช

คุณสุรศักดิ์ ศรีอำนวย เล่าให้ฟังว่า สมัยปู่ย่าตายายนิยมบ่มกล้วยให้สุกด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบโบราณ โดยขุดหลุมลึก ประมาณ 60 ซม. ขนาดความกว้าง-ยาวของหลุมขึ้นอยู่กับจำนวนกล้วยที่ต้องการบ่ม เมื่อเตรียมหลุมเสร็จจะนำทางมะพร้าวแห้งมาเผาในหลุมนานประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อขับไล่ความชื้นในหลุมดินและมีความร้อนระอุในเนื้อดิน ประมาณ 50-60 องศา เปรียบเสมือน “เตาดินอบความร้อน” นั่นเอง

เมื่อเผาหลุมเสร็จ จะนำใบตองสดมากองปูรองก้นหลุม และกล้วยดิบที่หั่นเป็นหวีแล้ววางเรียงบนใบตองที่ปูพื้นไว้ ขั้นตอนต่อมาจะนำใบตองวางคลุมทับกล้วยในหลุมจนมิด จึงค่อยนำดินกลบอีกครั้งหนึ่ง โดยทั่วไปจะใช้เวลาบ่มกล้วยในหลุม ประมาณ 1-2 วัน เมื่อเปิดหลุมออกมาจะเห็นผลกล้วยสุกเหลืองพร้อมกันทั้งหมด หากต้องการให้กล้วยสุกงอมอร่อย ควรใช้เวลาบ่มประมาณ 2 วัน

คุณสุรศักดิ์ บอกว่า วิธีนี้ทำให้กล้วยสุกโดยไม่ต้องใช้แก๊ส ที่สำคัญใช้ต้นทุนต่ำ เพราะใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น สำหรับเทคนิคนี้อาศัยความร้อนระอุจากไอดิน ที่อุณหภูมิ 50 องศา ช่วยบ่มกล้วยให้สุกเหลืองและมีรสหวานอร่อยตามธรรมชาติมากที่สุด

แนะวิธีการตัดเครือกล้วย
ทุกวันนี้ เกษตรกรไทยจำนวนมาก ตัดกล้วยไม่เป็น ทำให้เครือกล้วยหล่นกระแทกดิน ผลผลิตเสียหาย ขายไม่ได้ราคา แม้แต่ตัวคุณสุรศักดิ์เองก็เพิ่งมาเรียนรู้การตัดกล้วยอย่างถูกวิธีเมื่ออายุ 40 กว่าปีนี้เอง คุณสุรศักดิ์เผยเคล็ดลับการตัดกล้วยแบบง่ายๆ คือ ใช้มีดฟันต้นกล้วยให้เป็นรอยบากปากฉลาม ที่ความสูงระดับหน้าอก จากนั้นใช้มือค่อยๆ ดึงใบกล้วยให้โน้มลงมา วิธีนี้จะทำให้ต้นกล้วยหักโค่นลงและเครือกล้วยแตะถึงดินพอดี โดยไม่ทำให้กล้วยเสียหาย

2 พี่น้องชาวบ้านเขาตาหน่วย ตำบลเกาะเปริด (เกาะ-เปิด) อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี คือ น.ส.สุรีย์พร สระแก้ว กับ น.ส.กมลพรรณ ชายหาด ที่ใช้ชีวิตเป็นสาวโรงงาน หวนนึกถึงบั้นปลายที่ต้องแก่เฒ่า และไม่มีความมั่นคงในชีวิต ซ้ำยังต้องเสี่ยงต่อกับสารเคมีที่อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย จึงอยากกลับบ้านเกิดและใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติในผืนนา จากมรดกตกทอดเพียง 2 ไร่เศษ ด้วยการศึกษาข้อมูลต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ จนพบแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงแห่งแผ่นดิน และทำการอ่านทบทวนศึกษาจนเข้าใจถึงหลักการ จึงลาออกจากงาน พร้อมกลับมาอาศัยอยู่ในถิ่นบ้านเกิด และขอสมัครเป็นคนทำงานบ้านกับคนในหมู่บ้าน เมื่อว่างเว้นจากงานบ้าน ก็ลงมือพลิกฟื้นผืนนา 2 ไร่เศษ ให้เป็นแหล่งน้ำจืดจำนวน 1 ไร่ ด้วยการจัดแบ่งแหล่งน้ำจืดเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นบ่อดิน และอีกบ่อปูด้วยแผ่นยางใช้กักเก็บน้ำจืดในหน้าฝน เพราะท้องถิ่นที่อยู่พื้นที่เป็นน้ำกร่อย พืชผักไม่อาจจะทนความเค็มได้ ซึ่งทั้ง 2 บ่อ ได้เลี้ยงปลากะพง ปลานิลจิตรดา และปลาดุก

ผืนที่ดินว่างเปล่าอีก 1 ไร่เศษ แทบทุกศอกจะไม่เหลือที่ว่างเปล่าให้เสียพื้นที่ไปโดยไร้คุณค่า พืชผักสวนครัวนานาชนิดได้รับการปลูกแบบไร่นาสวนผสมตามรอยพ่อที่วางไว้ว่า “แหล่งน้ำ” คือจุดสำคัญ น้ำที่มีไว้ใช้อุปโภคกับน้ำที่สามารถใช้เป็นปุ๋ยให้กับพืชได้ไม่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือ การทำเกษตรอินทรีย์ชีวภาพที่ใช้เป็นปุ๋ยจากการหมักของซากสัตว์ซากพืช

ด้วยเรือนพักหลังน้อยที่อาศัยเพียงพอต่อการหลับนอน ภายในที่พักยังนำการเพาะเห็ดเพื่อเก็บไปจำหน่ายได้ทุกวัน พร้อมกับไข่เป็ดที่เลี้ยงไว้ พร้อมยอดชะอมที่ปลูกแนวรั้ว ริมขอบสระ สามารถสร้างรายได้ แม้ไม่มากนัก แต่ก็เป็นกอบเป็นกำ วันละ 300 บาท ประจำทุกวัน ส่วนพืชสวนครัวอื่นๆ ก็สามารถสลับเก็บขายได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นกล้วยน้ำว้า มะระ มะละกอ ผักกูด ส่วนรายได้ที่หวังได้เป็นกอบเป็นกำคือ มะนาวโข่ ที่จะขายได้ราคาในช่วงหน้าแล้ง พร้อมกับปลาสารพัดที่รอเวลาโตได้ที่ ก่อนจะจับขายได้ในช่วงก่อนฤดูฝนที่จะมาถึงอีกครั้ง

สำหรับปัญหาการท้อแท้นั้น ก็ต้องมีเป็นเรื่องปกติของคนที่ต้องหันมาต่อสู้กับสิ่งที่ไม่เคยทำและเกิดขึ้นในชีวิต แต่ด้วยความมั่นใจในทฤษฎีของพ่อหลวง ว่าทุกอย่างต้องผ่านพ้นไปด้วยดี การตลาดที่เคยเครียดจะไปขายที่ไหน หมดไปเมื่อพืชผักได้เจริญเติบโตขึ้น ด้วยการเดินเข้าไปถามแม่ค้าในตลาด ว่ามีพืชผักแบบนี้ ต้องการบ้างหรือไม่ ซึ่งแม่ค้าต่างก็ยินดีรับซื้อ และก็สร้างความฉงน ทำไม สองคนพี่น้องจึงสามารถมีพืชผักเก็บมาขายให้ได้ทุกวัน ทั้งที่ทราบว่า มีพื้นดินทำกินแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ด้วยการยึดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทำให้ทั้งสองคนพี่น้องที่ยืดตามหลักของพ่อหลวง ด้วยการอยู่แบบพอมีพอกิน ต้องมีความอุตสาหะ ความอดทน การมีเมตตาและรู้จักการประหยัด เท่านี้ ชีวิตก็สามารถดำรงคงอยู่ได้อย่างมีความสุขทั้งร่างกายและจิตใจ

ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว ที่หัวไร่ปลายนา สมัคร GClub ตอไม้ จอมปลวก ข้างเล้าหมู เล้าไก่ คอกวัว คอกควาย รั้ว สวนหลังบ้าน บนต้นไม้ มักจะพบเจอพืชเถาชนิดหนึ่ง เป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหารคือ “ฟักเขียว” พืชที่มีเรื่องราวเล่าขานกันมาช้านาน ท้าทายต่อการพิสูจน์หาความจริง และเป็นผลผลิตในชุมชนชนบท ให้ความสำคัญต่อการดำรงชีวิต มากกว่าคิดในมิติเศรษฐกิจการค้าขาย ซึ่งอาจจะไม่มีมูลค่าสูงในการตลาด แต่มีคุณค่าความสำคัญต่อชีวิตมากยิ่งนัก

มีเรื่องราวของฟักเขียว ที่อยากจะพิสูจน์ความจริง เรื่องสำคัญที่ชายชาติอาชาไนยมักจะกังวลใจ ด้านแรกคือ ความเชื่อทางไสยศาสตร์ ที่ว่ากินฟัก จะทำให้ของมีครูเสื่อม ด้านที่สองสำคัญกว่ามากคือ ระงับความกำหนัด ไม่เกิดอารมณ์ที่จะใช้งานตามสมรรถภาพที่มี มันจะลดน้อยถอยลง หรือหดหายไป ระวังตัวอยู่เสมอ ถ้าวันไหนที่บ้านมีปฏิกิริยา ทำอาหารจากฟักเขียวให้กิน มักคิดไว้ก่อน มันต้องมีอะไรสักอย่าง ผู้ถือศีลจำเป็นต้องกินฟักมากกว่าคนมีไฟอย่างเรา ยกไปเลย

ฟักเขียว เขาชื่อเพราะพริ้งว่า Winter Melon เป็นพืชในวงศ์แตง CUCURBITACEAE

มีชื่อวิทยาศาสตร์ Benincasa hispida มีชื่อเรียกกันในแต่ละภูมิภาคแต่ละท้องถิ่นต่างกันไป แต่ที่รู้จักกันแน่คือ “ฟักเขียว” ภาคกลางรู้จัก ฟักเขียว ฟักแฟง ฟักขาว ฟักจีน แฟง คนอีสานเรียก บักฟัก บักโต๋น ภาคใต้เรียก ขี้พร้า คนเหนือเรียก ฟักขี้หมู ฟักจิง บ่ะฟักขม บ่ะฟักหม่น มะฟักหม่น มะฟักหม่นขม มะฟักหอม กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียก ลุ่เค้ส้า ดีหมือ มีชื่อภาษาจีนแต้จิ๋วว่า ตังกวย หรือตี่จือ ชื่อเรียกอย่างไร แม้ไม่เหมือนกัน แต่ถ้าบอกว่า “ฟักเขียว” ต่างก็รู้จักกันเป็นนามสากลแล้ว ส่วนอีกคำเรียกที่ว่า “แฟง” เข้าใจว่าเป็นฟักเหมือนกัน จะต่างกันที่อายุผล สีเขียวอ่อนกว่า และขนาดผลเล็กกว่า ถึงเรียกคู่กัน ฟักแฟง

เป็นไม้เถาล้มลุกอายุสั้น ต้นหรือเถามีสีเขียว เลื้อยทอดยาวตามผิวดินก็ได้ พันเกี่ยวขึ้นต้นไม้ ตอไม้ ที่เนินสูงก็ได้ มีขนหยาบๆ ปกคลุมทั่วต้น ใบใหญ่ หยาบ หยัก ออกสลับตามข้อเถา ขอบใบแยกเป็น 5-7 แฉก ใบกว้าง 5-15 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีขนหยาบปกคลุมทั่วใบ ก้าน จะคันระคายเคืองผิว เมื่อเข้าไปแหวกพุ่มสัมผัสถูกขนที่ใบ ต้น เถา ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองสด ดอกเพศผู้ เป็นหลอดยาว 5-10 เซนติเมตร มีกลีบดอก 5 กลีบ และกลีบเลี้ยง 5 กลีบ

ส่วนดอกเพศเมีย ก้านดอกสั้นกว่า ปลายกลีบ 3 แฉก มีรังไข่อยู่ภายในดอก ผลฟักเขียว มีรูปทรงกลมแบน และกลมยาว พบฟักเขียวผลโต เส้นผ่าศูนย์กลางมากถึง 30-40 เซนติเมตร กลมยาวถึง 60 เซนติเมตร เปลือกแข็ง ยิ่งแก่ยิ่งแข็ง เนื้อยิ่งแก่ยิ่งแข็งเช่นกัน เมื่อครบอายุแก่จัด เถาแห้งตาย ผลจะมีนวลขาวเกาะคลุมทั้งผล เก็บมาไว้ข้างยุ้งข้าว ถึงเวลาทำครัวก็นำไปปอกเอาเนื้อ ถ้ายังไม่ทำอาหาร ก็เก็บผลไว้อย่างนั้น อยู่ได้กว่าครึ่งปี ฟักเขียวที่คุณภาพดี เนื้อจะแน่น ไม่ฉ่ำน้ำมากนัก มีสีขาว ส่วนติดเปลือกมีสีเขียวเรื่อๆ ของเปลือกเจือเข้าเนื้อเล็กน้อย เมล็ดฟักเขียว คล้ายเมล็ดแตงกวาสีขาวอมเหลือง ในผลหนึ่งมีเยอะมาก ใช้ขยายพันธุ์ มีระยะพักตัวประมาณ 2 เดือน ควรเอาผึ่งลมให้แห้ง ห่อกระดาษ ไว้หยอดปลูกต่อไป