ที่ผ่านมา กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ จังหวัดกระบี่ ได้จัดพิธี

“ปล่อยรองเท้านารีเหลืองกระบี่คืนสู่ป่า” ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ ตำบลเขาคราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ภายใต้โครงการอนุรักษ์กล้วยไม้รองเท้านารี อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนสิงหาคม เพื่อสนองแนวทางพระราชเสาวนีย์ให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ดำเนินการขยายพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีเพื่อเพิ่มจำนวนและปลูกคืนสู่ป่าอย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกัน กรมวิชาการเกษตร ได้จัดทำโครงการบูรณาการเพื่อพัฒนาพืชสกุลรองเท้านารีต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี 2547-2553 ครอบคลุมงานวิจัยหลายสาขา ทั้งการพัฒนาพันธุ์เพื่อสร้างลูกผสมใหม่ การขยายพันธุ์ วัสดุปลูกการพัฒนาเทคโนโลยีโรงเรือน การอารักขาพืช (โครงการวิจัย กรมวิชาการเกษตร 2549-2552) ซึ่งผลงานวิจัยสามารถเผยแพร่เทคโนโลยีให้ภาคเอกชน และเกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งผลให้การส่งออกและการตลาดขยายตัวมากขึ้น

“รองเท้านารีเหลืองกระบี่” เป็นกล้วยไม้ป่าสายพันธุ์ท้องถิ่น ที่พบในหลายจังหวัดที่ติดกับชายฝั่งอันดามัน เช่น ภูเก็ต พังงา ตรัง แต่พบมากในจังหวัดกระบี่ จึงเป็นที่มาของชื่อ “รองเท้านารีเหลืองกระบี่” ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่หายากและมีปริมาณลดลง กรมวิชาการเกษตร จึงได้เร่งขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณโดยการนำไปปล่อยในป่าอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการสูญพันธุ์

จังหวัดกระบี่ ได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารี เพื่อเป็นการป้องกันการบุกรุกทำลายป่า และเป็นการอนุรักษ์กล้วยไม้พันธุ์รองเท้านารีให้อยู่คู่จังหวัดกระบี่ต่อไป พร้อมจัดงาน “วันเหลืองกระบี่บาน” เพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในฐานะทรงเป็นผู้ริเริ่มในการอนุรักษ์กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่

ขณะเดียวกันกิจกรรมดังกล่าวช่วยกระตุ้นจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ไปพร้อมๆ กัน งานวันเหลืองกระบี่บาน จัดเป็นประจำทุกปี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ภายในงานจัดแสดงนิทรรศการสายพันธุ์กล้วยไม้ป่า การประกวดกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่และกล้วยไม้ตระกูลต่างๆ การประกวดการจัดสวนหย่อมกล้วยไม้ การออกร้านจำหน่ายกล้วยไม้พันธุ์ต่างๆ การจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น

สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่
ส่งเสริมอาชีพเพาะพันธุ์กล้วยไม้ป่า

สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ กรมส่งเสริมการเกษตร เล็งเห็นว่า ปัจจุบัน กล้วยไม้ป่าในจังหวัดกระบี่สูญพันธุ์ไปจากป่าแล้ว แต่ยังมีชุมชนที่ปลูกเลี้ยงขยายพันธุ์และจำหน่ายกล้วยไม้ให้กับนักท่องเที่ยวเพื่อร่วมกิจกรรมปลูกป่า แต่การขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ ทำได้ปริมาณน้อย ต้นกล้าไม่เพียงพอแก่ความต้องการของตลาด

ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่จึงได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการขยายพันธุ์กล้วยไม้ป่าด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่าย ให้แก่วิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์เลี้ยงกล้วยไม้พื้นถิ่น อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ เลขที่ 2/1 หมู่ที่ 2 ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

คุณนพรัตน์ ถวิลเวทิน นักวิชาการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ โทร. 091-826-7373 กล่าวว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการดำเนินโครงการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชุมในจังหวัดกระบี่ อนุรักษ์กล้วยไม้ท้องถิ่นด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่าย ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์เลี้ยงกล้วยไม้พื้นถิ่นภายใต้การนำของประธานกลุ่มฯ คุณสมศักดิ์ ปานบุญ (บังหมาด)

วิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์เลี้ยงกล้วยไม้พื้นถิ่น ได้เรียนรู้วิธีการขยายพันธุ์กล้วยไม้ป่าเชิงการค้า โดยใช้เทคนิคการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ด้วยหม้อนึ่งไอน้ำทดแทนการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์หม้อนึ่งแรงดันไอน้ำ และเรียนรู้เรื่องสูตรอาหารสังเคราะห์ ร่วมกับการใช้สารเพิ่มผลผลิตชีวภาพสำหรับกล้วยไม้ O-80 เพื่อเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดและร่นระยะเวลาจากการเพาะเมล็ดเป็นต้นกล้า

“การดำเนินโครงการ ในช่วงปีแรก เกษตรกรยังไม่สามารถจำหน่ายต้นกล้ากล้วยไม้ได้ จะต้องรอให้กล้วยไม้มีอายุอย่างน้อย 2 ปี จึงสามารถจำหน่ายได้ ราคาขายต่อต้นโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 100-1,000 บาท ขึ้นอยู่กับฟอร์มดอกและต้น สำหรับต้นที่มีลักษณะสวยงาม เกษตรกรจะเก็บไว้ขายเป็นไม้ประดับให้แก่ผู้สนใจทั่วไป เมื่อขยายพันธุ์ได้มาก ก็จะไปปลูกคืนสู่ป่า เป็นการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนท้องถิ่นไปพร้อมๆ กัน” คุณนพรัตน์ กล่าว

ทุกวันนี้ วิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์เลี้ยงกล้วยไม้พื้นถิ่น ได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดไปใช้เพิ่มปริมาณต้นกล้ากล้วยไม้ป่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น กล้วยไม้เหลืองกระบี่ กล้วยไม้รองเท้านารีคางกบ กล้วยไม้รองเท้านารีขาวสตูล กล้วยไม้สิงโตใบพัด ฯลฯ โดยให้นักท่องเที่ยวร่วมกิจกรรมการปลูกกล้วยไม้ในพื้นที่หรือป่าชุมชน เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกในชุมชน และเป็นการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าอย่างยั่งยืน

โครงการดังกล่าว ช่วยให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มฯ มีรายได้เพิ่มขึ้น จากการผลิตต้นกล้ากล้วยไม้ เป็นการส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าอย่างยั่งยืนแล้ว เกษตรกรสามารถผลิตและจำหน่ายกล้วยไม้ได้อย่างถูกกฎหมาย ไม่ต้องลักลอบหาของป่า คาดว่าภายใน 2-3 ปีข้างหน้า เมื่อต้นกล้ากล้วยไม้โตขึ้น สามารถเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร 10-20%

โครงการถ่ายทอดความรู้เรื่องการขยายพันธุ์กล้วยไม้สู่ชุมชนของสำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ในครั้งนี้ นับเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ สร้างอาชีพและรายได้ยั่งยืนสู่ชุมชน ขณะเดียวกันยังช่วยอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารี ไม่ให้สูญพันธุ์ และมีส่วนร่วมปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวทั่วไป ที่เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความรู้สึกหวงแหนกล้วยไม้รองเท้านารีของจังหวัดกระบี่ได้อีกทางหนึ่ง

หนุ่มรัฐศาสตร์ลาออกจากงานประจำที่กรุงเทพฯ กลับบ้านเกิดที่ จ.ตรังและใช้พื้นที่ว่างหลังบ้านปลูกเมล่อนจนอิ่มตัว ก่อนจะหันมาปลูกมะเขือเทศกินผลสดขายกิโลกรัมละ 300 บาท ลูกค้าออนไลน์สั่งซื้อจนสุกไม่ทัน

ที่คอปเตอร์ฟาร์ม ฟาร์มอารมณ์ดี เลขที่ 1 หมู่ 7 ต.บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.ตรัง ซึ่งเป็นของนายจิตพงษ์ พีรพัฒนกัมพล อายุ 46 ปี ได้ใช้พื้นที่ว่างหลังบ้านหันมาปลูกมะเขือเทศกินผลสด พันธุ์โซราริโน่ (Solarino) ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศเนเธอร์แลนด์

โดยก่อนหน้านี้เมื่อ 7 ปีที่แล้ว นายจิตพงษ์ ได้ลาออกจากงานประจำที่กรุงเทพฯ เพื่อกลับบ้านเกิดที่ จ.ตรัง มาดูแลพ่อแม่ที่แก่ชรา และปลูกเมล่อนมาตั้งแต่ปี 2555 ต่อมาตลาดเมล่อนเริ่มอิ่มตัว จึงหันมาทดลองปลูกมะเขือเทศกินผลสดในโรงเรือนเมื่อปีที่แล้ว รวม 2 รุ่น แต่ไม่ประสบความสำเร็จอีก

กระทั่งมาทดลองปลูกรุ่นที่ 3 จำนวน 96 ต้น แล้วอาศัยประสบการณ์ที่ผ่านมา มาปรับใช้และให้ปลอดภัยจากสารเคมี จนประสบความสำเร็จในที่สุด ทำให้รุ่นนี้ได้ผลผลิตประมาณ 3-4 กิโลกรัม/ต้น โดยใช้เวลาปลูกประมาณ 60 วัน ก็สามารถทยอยเก็บขายได้ทุกวัน ๆ ละ 2-4 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 300 บาท และจะเก็บขายไปจนถึงกลางเดือนตุลาคมนี้

สำหรับช่องทางการตลาดนั้น ขายทางเฟซบุ๊กคอปเตอร์ฟาร์ม ฟาร์มอารมณ์ดีตรังเท่านั้น แต่ก็มีลูกค้าเข้ามาสั่งซื้อจนมะเขือเทศในแปลงสุกไม่ทันกันเลยทีเดียว

นายจิตพงษ์ กล่าวว่า นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเที่ยวชมและเลือกเก็บกินได้สดๆ เมื่อมะเขือเทศสุกเต็มที่จะเป็นสีแดงเข้มยาวเรียงต่อกันเป็นแถว เหมาะสำหรับการถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก ลองชิมแล้วค่อยซื้อกลับบ้านได้ ไม่หวงแต่อย่างใด

อย่างที่ทราบกันอยู่ว่า ในอนาคตสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีการคำนวณจากสำนักงานสถิติแห่งชาติว่าจำนวนผู้สูงอายุของไทยจะมีมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทั้งหมด ซึ่งผู้สูงอายุไม่น้อยกลัวว่าเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ จะส่งผลให้เป็นภาระของลูกหลาน จึงทำให้ผู้สูงอายุไม่น้อยได้หากิจกรรมยามว่างทำ

ซึ่งงานทางการเกษตรถ้าหากทำในช่วงที่เกษียณแล้ว พืชบางชนิดอาจจะเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ไม่ทัน อาจต้องมีการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเข้าสู่วัยเกษียณ เพื่อเป็นอาชีพรองรับเมื่อต้องเกษียณจากงานอย่างเต็มตัว เมื่อออกจากงาน พืชที่ปลูกสามารถให้ผลผลิตได้ทันที จึงเป็นเสมือนกิจกรรมยามว่างที่สร้างเงินและความสุขไปพร้อมกัน

ดร. ชวัลวิทย์ แจ่มขำ อยู่บ้าน เลขที่ 289 หมู่ที่ 10 ตำบลผ่านศึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นผู้ที่ได้เริ่มทำการเกษตร คือ สวนมะพร้าวน้ำหอม โดยเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเกษียณอายุราชการจะมาถึง ได้ปลูกและหาแหล่งพันธุ์เรื่อยๆ จนเมื่อเกษียณเต็มตัว ทำให้ ดร. ชวัลวิทย์ มีผลผลิตอย่างมะพร้าวน้ำหอมพร้อมจำหน่าย เกิดรายได้แม้ไม่ได้ทำงานประจำ

ดร. ชวัลวิทย์ เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนจบการศึกษาทางด้านการเกษตร หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงที่บ้านกร่าง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตพิษณุโลก) และศึกษาต่อไปถึงจบปริญญาเอก ในช่วงแรกทำงานรับราชการเป็นเกษตรตำบล ต่อมาจึงได้ย้ายมาทำงานเป็นรองปลัดอยู่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งด้วยจบการศึกษาทางด้านการเกษตร และมีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับทางด้านนี้ จึงมีแนวคิดมาตั้งแต่สมัยก่อนแล้วว่า อยากจะมีสวนเป็นของตนเอง เพื่อเป็นอาชีพยามว่างหลังวัยเกษียณ

“เราจะรู้เลยว่า คนที่จบเกษตร ก็จะมีความตั้งใจอยู่แล้วว่า เมื่อเกษียณจากงานแล้ว จะทำอาชีพอะไรรองรับเมื่อวัยเกษียณ ซึ่งผมก็ได้มาเลือกสร้างสวนมะพร้าวอยู่ที่อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เหตุที่เลือกที่นี่เพราะภรรยาผมเป็นคนพื้นที่นี้ โดยได้ซื้อที่ดินบางส่วนเอาไว้ด้วย ก็เลยคิดที่จะสร้างสวนมะพร้าวให้เติบโตก่อนที่เราจะเกษียณออกมา ก็เลยได้ที่นี่ทำสวนเก็บเกี่ยวผลผลิต” ดร. ชวัลวิทย์ เล่าถึงที่มา

เลือกสายพันธุ์มะพร้าว
ที่เป็นแหล่งเชื่อถือได้
ก่อนที่จะลงมือปลูกมะพร้าวน้ำหอมในพื้นที่ที่เตรียมไว้ ดร. ชวัลวิทย์ เล่าว่า จะต้องไปหาซื้อสายพันธุ์จากแหล่งที่ต้องการเสียก่อน ซึ่งต้นกล้ามะพร้าวที่ดีต้องได้จากต้นแม่พันธุ์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จึงจะทำให้มีความสมบูรณ์ของพันธุ์ค่อนข้างดี โดยในพื้นที่ที่ปลูกจะเน้นในเขตน้ำชลประทาน จึงทำให้มีน้ำดูแลต้นมะพร้าวตลอดทั้งปี

“วิธีการปลูก ในขั้นตอนแรกก็จะทำพื้นที่แปลงให้มีถนนเป็น 4 แปลง โดยปลูกมะพร้าวอยู่บริเวณริมถนนก่อน จากนั้นจึงนำไปปลูกลงในพื้นที่แปลง โดยให้มีระยะห่าง ประมาณ 6×7 เมตร จะได้ประมาณ 40 ต้น ต่อไร่ รองก้นหลุมปลูกด้วยขี้ไก่ จากนั้นก็รดน้ำดูแลไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้อายุให้ผลผลิตได้” ดร. ชวัลวิทย์ บอกถึงวิธีการปลูก ซึ่งระยะเวลาการเจริญเติบโตของมะพร้าวน้ำหอมภายในสวน ดร. ชวัลวิทย์ บอกว่า ใช้เวลาประมาณ 3 ปีครึ่ง ต้นจะเริ่มเติบโตเต็มที่พร้อมให้ผลผลิตได้ โดยการติดผลผลิตภายในสวนใหญ่จะมีผึ้งและแมลงเป็นตัวช่วยในเรื่องการผสมเกสร จึงทำให้ต้นมะพร้าวแต่ละต้นค่อนข้างติดผลผลิตดี

การใส่ปุ๋ยบำรุงต้นในช่วงต้นฝนและปลายฤดูฝนเป็นปุ๋ยขี้ไก่และปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ผสมกับ สูตร 21-0-0 ส่วนการป้องกันโรคและแมลง ต้นมะพร้าวน้ำหอมที่ยังไม่ออกผลผลิต มีการใช้ยากำจัดเพื่อช่วยให้ต้นมีความสมบูรณ์ กันจากศัตรูจำพวกหนอนหัวดำและด้วง เมื่อมะพร้าวเริ่มออกจั่นเพื่อติดผลก็จะหยุดใช้สารเคมีทันที

“มะพร้าวต่อต้นจะให้จั่นอยู่ที่ 15-18 จั่น ต่อปี ซึ่งใน 1 ปี สำหรับที่สวนออกประมาณ 12 ทะลาย ก็เพียงพอแล้ว ซึ่งที่สวน 1 ทะลาย จะมีประมาณ 10 ผล ที่สวนก็มีผลผลิตออกขายต่อเดือนก็ประมาณ 2,000 ผล โดยนำเงินที่ขายได้มาเลี้ยงภายในสวนก่อน พอเริ่มมีผลผลิตมากขึ้น คราวนี้ก็จะเป็นผลผลิตที่เลี้ยงดูเราในอนาคต” ดร. ชวัลวิทย์ อธิบาย

เน้นขายผลผลิตในพื้นที่
และส่งขายตลาด ในเรื่องหลักการทำตลาดมะพร้าวน้ำหอม ดร. ชวัลวิทย์ บอกว่า จะเน้นทำการตลาดหลากหลายแบบ เช่น ให้พ่อค้ามาติดต่อซื้อผลผลิตที่สวน และบางส่วนจะส่งให้พ่อค้าแม่ค้าที่อยู่แถวตลาดลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร เก็บอาทิตย์ละ 400-500 ผล มีพ่อค้าเข้ามาตัดถึงสวน ให้ผลละ 8 บาท

“ที่สวนตอนนี้ราคามะพร้าวขายอยู่ในราคาที่หลากหลาย ตั้งแต่ 8-20 บาท ทำตลาดแบบทั้งขายส่งและขายปลีก เพื่อที่ให้พ่อค้าแม่ค้าเขาไปทำการตลาดได้ ซึ่งตอนนี้ในอำเภออรัญประเทศเองก็สามารถขายได้เรื่อยๆ ซึ่งผลตอบรับก็ถือว่าดีมาก เพราะภายในตลาดโรงเกลือมีร้านค้าค่อนข้างมาก ดังนั้น แม่ค้าที่ขายของในตลาดเขาก็ต้องใช้มะพร้าวอย่างน้อย ร้านละ 1 ผล เพราะเซ่นไหว้เจ้าที่ก่อนเปิดร้าน จึงทำให้มะพร้าวสามารถขายได้ตลอดที่อรัญประเทศ” ดร. ชวัลวิทย์ บอก

“หัวไชเท้า” หรือ “ผักกาดหัว” เป็นชื่อของพืชล้มลุกขนาดเล็ก ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน มีลักษณะเป็นทรงกลมหรือทรงกระบอก ขนาดค่อนข้างอวบ ทั้งยังมีเนื้อในที่แน่นและฉ่ำน้ำด้วย โดยจะมีทั้งสีขาว สีม่วง สีชมพู และสีแดง ซึ่งสีและขนาดนั้นก็จะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ นอกจากนี้ หัวไชเท้า ยังนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นแกงจืดหัวไชเท้า หัวไชเท้านึ่ง ต้มจับฉ่าย ขนมผักกาด และเมนูอื่นๆ อีกมากมาย เรียกได้ว่าเป็นผักที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเลยทีเดียว

คุณอภิสิทธิ์ ญาณประสิทธิ์เวทย์ มีสวนอยู่ที่บ้านเลขที่ 3 หมู่ที่ 7 ตำบลขนงพระ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ปลูกหัวไชเท้าเพื่อส่งขาย บนพื้นที่กว่า 76 ไร่ โดยสามารถส่งผลผลิตออกขายได้วันละ 5-6 ตัน เรียกได้ว่าเป็นอาชีพที่ได้รับผลตอบรับและสร้างรายได้ให้กับคุณอภิสิทธิ์เป็นอย่างดี เจ้าของปลูกหมุนเวียนทุกวัน วันละ 1-2 ไร่ บนพื้นที่กว่า 70 ไร่ ทำให้มีผลผลิตเก็บขายทุกวัน

จากการปลูกผักกินใบ
สู่สวนหัวไชเท้า ระดับอุตสาหกรรม
คุณอภิสิทธิ์ เล่าถึงการทำสวนว่า เริ่มทำสวนมาตั้งแต่ปี 2546 โดยในระยะแรกจะเน้นการปลูกพืชประเภทผักกินใบ อย่าง กะหล่ำดอก และผักสลัด โดยจะปลูกหมุนเวียนไปเรื่อยๆ ก่อนที่จะหันมาเริ่มต้นทำสวนหัวไชเท้า บนพื้นที่กว่า 76 ไร่ เพื่อส่งขายอย่างเต็มตัว ส่วนผลผลิตที่เก็บได้นั้น โดยปกติจะสามารถส่งขายได้ในราคาประมาณ กิโลกรัมละ 10 บาท ซึ่งทางสวนสามารถส่งออกขายได้ วันละ 5-6 ตัน เลยทีเดียว

อย่างที่ทราบดีว่า หัวไชเท้านั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มยุโรป ที่มีลักษณะเด่นคือ รากขนาดเล็ก เนื้อภายในที่มีทั้งสีขาวและสีแดง นิยมปลูกและบริโภคในแถบยุโรปและอเมริกา มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวเพียง 18-25 วัน

และหัวไชเท้ากลุ่มเอเชียที่มีจุดเด่นที่เนื้อสีขาวและระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ยาวนาน 40-65 วัน ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย ก็มีทั้ง พันธุ์แม่โจ้ 1 พันธุ์ เคยู 1 นอกจากนี้ ยังมีพันธุ์ซากาตา และเอฟเวอเรส ไฮบริด อีกด้วย

“สำหรับหัวไชเท้าที่สวนเลือกปลูกคือ พันธุ์เอฟเวอเรส ไฮบริด เนื่องจากถือเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้สายพันธุ์อื่นๆ ทั้งยังมีจุดเด่นที่ขนาดของหัวที่โตสม่ำเสมอ โดยจะมีความยาว 30-35 เซนติเมตร และมีระยะเวลาเก็บเกี่ยวนานถึง 50 วัน

หลังจากหยอดเมล็ด ทำให้สามารถเก็บผลผลิตส่งขายได้นานกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ซึ่งจะมีระยะเวลาในการเก็บผลผลิตอยู่ที่ประมาณ 42-45 วัน จึงถือเป็นการเพิ่มโอกาสในการส่งผลผลิตออกขายได้เป็นอย่างดี” เจ้าของบอก

ขั้นตอนการเตรียมดิน
และการดูแลหลังปลูก
สำหรับการปลูกและการดูแลนั้น การเตรียมดินและแปลงก็ถือเป็นขั้นตอนแรกที่ต้องให้ความสำคัญ โดยในส่วนของแปลงนั้นจะต้องขุดเอาไว้ ประมาณ 4 เมตร เพื่อให้ง่ายต่อการนำเมล็ดลงปลูก ส่วนระหว่างการเตรียมดินก็จะมีการใช้ปุ๋ย โดยจะใช้ทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยอินทรีย์

ใสส่วนของการปลูกนั้น ที่สวนเลือกใช้วิธีการหยอด โดยจะหยอด 1 เมล็ด ต่อ 1 จุด และต้องเว้นระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ 20×20 เซนติเมตร ซึ่งจะมีการนำตะแกรงเหล็กที่วัดระยะห่างเอาไว้แล้ว มาใช้ในขั้นตอนการหยอดเมล็ดด้วย เพื่อให้ได้ระยะห่างที่แน่นอน

นอกจากนี้ เรื่องของการให้น้ำก็ถือเป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน โดยจะให้น้ำด้วยระบบสปริงเกลอร์วางขนาบไปด้านข้างทั้งสองด้านยาวไปตลอดทั้งแปลง เพื่อให้หัวไชเท้าได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสม

“หลังจากที่หยอดเมล็ดลงดินแล้ว ก็ต้องคลุมฟางเพื่อรักษาความชื้นในดินด้วย โดยความหนาของฟางที่คลุมนั้นก็จะแตกต่างกันตามสภาพอากาศและฤดูกาล คือถ้าอากาศหนาว ก็ไม่ต้องคลุมฟางหนามากนัก เนื่องจากอากาศมีความชื้นที่สูงอยู่แล้ว

และหลังจากคลุมฟางทิ้งเอาไว้ประมาณ 3 วัน หัวไชเท้าก็จะเริ่มงอก ซึ่งเมื่องอกแล้วก็ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี เนื่องจากมีโอกาสรอดสูงถึง 90%

หลังจากที่งอกแล้วก็ดูแลและให้น้ำตามปกติ ส่วนปุ๋ยที่ให้ก็จะเปลี่ยนมาให้เป็นปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ และในช่วงอายุ 25-28 วัน จะเน้นการให้ปุ๋ยด้วยวิธีการหว่านแทน โดยจะใช้ในปริมาณ 50 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่ สำหรับเรื่องของโรคและแมลงที่พบส่วนมากก็จะเป็นหมัดกระโดด ซึ่งก็จะใช้วิธีการกำจัดด้วยสารเคมีทั่วไป จึงไม่ถือว่าเป็นปัญหามากนัก” เจ้าของเล่าถึงการดูแล

“หัวไชเท้า” สร้างรายได้
ปลูกส่งขายตลอดปี
ในส่วนของผลผลิตนั้น ต้องยอมรับว่าสภาพอากาศถือเป็นปัจจัยสำคัญในการให้ผลผลิตของหัวไชเท้า ทำให้ระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูกจึงเป็นช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม

แต่เนื่องจากหัวไชเท้านั้นสามารถให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี และแม้ว่าปริมาณและคุณภาพของผลผลิตที่อาจจะไม่เท่ากับการปลูกในช่วงเดือนที่มีสภาพอากาศเหมาะสม แต่ก็ถือว่ายังคงให้ผลผลิตดีพอสมควร สำหรับการเก็บผลผลิตเพื่อส่งขายนั้น จะเริ่มเก็บหลังจากที่นำเมล็ดลงปลูกได้ประมาณ 50 วัน

ซึ่งก่อนที่จะนำหัวไชเท้าส่งขายนั้น จะต้องนำมาผ่านขั้นตอนการทำความสะอาดที่บ่อล้างก่อน โดยจะใช้น้ำที่ปั๊มขึ้นมาและปล่อยให้น้ำไหลอยู่ตลอดเวลา

นอกจากการทำความสะอาดแล้ว การคัดไซซ์ก็ถือเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งจะมีวิธีการคัดโดยการแบ่งขนาดของหัวไชเท้า โดย เบอร์ 1 จะมีขนาด ประมาณ 10-12 นิ้ว เบอร์ 2 ขนาด 8-10 นิ้ว และ เบอร์ 3 ขนาดจะอยู่ที่ 5-6 นิ้ว ซึ่งราคาที่ขายก็จะแตกต่างกันไปตามขนาด

และหลังจากคัดไซซ์แล้วจะต้องนำหัวไชเท้าไปผึ่งหรือตากให้แห้ง ก่อนจะบรรจุใส่ถุงพลาสติก ถุงละ 10 กิโลกรัม เพื่อเตรียมส่งขายที่ตลาดสี่มุมเมือง “ราคาของผลผลิตก็จะขึ้นและลงตามราคาของตลาดกลางเป็นหลัก ซึ่งเรื่องของราคาก็ต้องยอมรับว่าเป็นโจทย์ที่ยากที่สุดของเกษตรกร เพราะไม่สามารถควบคุมราคาได้ สำหรับราคาตอนนี้ก็จะอยู่ที่ประมาณ 10 บาท ถือว่าเป็นราคามาตรฐาน แต่ในช่วงเดือนพฤษภาคมหรือหน้าแล้งจะเป็นช่วงที่สามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงมาก เนื่องจากมีผลผลิตน้อย ทำให้ราคาจะพุ่งสูงได้ถึง 30 บาท เลยทีเดียว”

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชม ซื้อผลผลิต หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ คุณอภิสิทธิ์ คำพูดที่ว่า สูงสุดคืนสู่สามัญ ที่เคยได้ยินมา เห็นทีจะจริง พิสูจน์ได้จาก คุณอารีย์ พนักงานออฟฟิศ ที่ทำงานในตำแหน่งที่ดีและมั่นคง แต่สุดท้ายก็ยังโหยหาชีวิตที่เรียบง่าย และได้อยู่กับครอบครัวที่รัก

คุณอารีย์ นิลวดี (พี่ปุ้ย) เจ้าของสวนสวัสดี ตำบลบ่อปลาทอง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา อีกหนึ่งสาวออฟฟิศที่หลงใหลวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ถึงแม้ว่าเธอจะมีอาชีพการงานที่มั่นคง แต่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้ตอบโจทย์เธอทั้งหมด เธอยังโหยหาชีวิตที่เรียบง่าย โหยหาเวลาที่จะได้อยู่กับครอบครัวอย่างพร้อมหน้า จึงเลือกที่จะเป็นเกษตรกรวันหยุดแบบเต็มขั้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตัวเอง

พี่ปุ้ย เล่าว่า ตอนนี้ทำงานเป็นผู้จัดการอยู่ที่ เว็บแทงบอลออนไลน์ บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทนำเข้าส่งออกผลิตภัณฑ์ยา บริษัทตั้งอยู่ใจกลางเมือง เจอแต่ความศิวิไลซ์แต่เธอไม่เคยหลงใหลความศิวิไลซ์เหล่านี้เลย เธอโหยหาความเรียบง่าย และต้องการใช้วันหยุดที่มีน้อยนิดได้อยู่กับลูกและครอบครัวให้คุ้มที่สุด เพราะทุกวันนี้ด้วยรูปแบบการทำงานที่ค่อนข้างต้องใช้ความคิดเยอะ จันทร์ถึงศุกร์คือทำงาน กลับบ้านมาก็เหนื่อย จำเป็นต้องให้ลูกอยู่กับตายายที่โคราช ซึ่งสาเหตุนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนว่า ทำไมถึงอยากเป็นเกษตรกร ทั้งๆ ที่มีหน้าที่การงานที่มั่นคงแล้ว

“จุดเริ่มต้นทำเกษตรมาจากที่ต้องมาทำงานที่กรุงเทพฯ แต่ลูกต้องอยู่กับตายายที่โคราช ส่วนเรากับแฟนทำงานที่กรุงเทพฯ คือไม่อยากให้ห่างกับลูก ชีวิตในกรุงเทพฯ คือทำงานหาเงิน เพราะฉะนั้นทุกเย็นวันศุกร์เราจะกลับบ้านไปหาลูก ไปสอนการบ้านลูก หลังๆ จึงมีแนวคิดว่าเรากลับบ้านทุกอาทิตย์ อยากหากิจกรรมทำร่วมกันในครอบครัว จึงตัดสินใจซื้อที่แถวปักธงชัยเพื่องานเกษตร คิดว่าการทำเกษตรน่าจะตอบโจทย์ความต้องการของทุกคนในครอบครัว ได้ปลูกต้นไม้ร่วมกัน ได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ และถือเป็นการสร้างรายได้เพิ่มจากงานประจำไปด้วย” พี่ปุ้ย กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการเป็นเกษตรกรวันหยุด

เริ่มทำงานเกษตร บนพื้นที่ 8 ไร่
รายได้ยังไม่มาก แต่ความสุขล้นใจ
หลังจากที่พี่ปุ้ยจัดการซื้อที่ทำเกษตรเพื่อหากิจกรรมได้ทำร่วมกับครอบครัวได้ พี่ปุ้ย เล่าว่า เธอซื้อที่ต่อจากเจ้าของเดิมจำนวน 8 ไร่ เดิมทีที่ตรงนี้เคยปลูกละมุดมาก่อน แต่เนื่องจากละมุดไม่ได้เป็นผลไม้ตลาด เธอจึงเลือกปลูกกล้วยหอมแซมกับละมุด เนื่องจากกล้วยหอมเป็นผลไม้ที่คนทั่วไปนิยมกิน และเมื่อปีล่าสุดกำลังทดลองปลูกอะโวกาโด้ และฝรั่งกิมจูเพิ่มขึ้นมาในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ เพราะแนวคิดเริ่มจากอยากมีกิจกรรมทำกันในครอบครัว ปลูกกินเองถ้าเหลือจึงขาย จะยังไม่เน้นที่ตัวรายได้ แต่จะเน้นความสุขและสุขภาพของคนในครอบครัวเป็นหลัก

พี่ปุ้ย เล่าต่อว่า การเป็นเกษตรกรวันหยุดไม่ยากอย่างที่คิด หลายคนชอบหาข้ออ้างให้ตัวเองว่า ทำงานจันทร์ถึงศุกร์ก็เหนื่อยแล้ว แต่ถ้าเราอยากทำและคิดว่าสิ่งที่ทำเพิ่มขึ้นมาเป็นสิ่งที่รัก เราจะไม่รู้สึกเหนื่อยเลย อย่างตัวเธอเอง

โดยเธอเลือกที่จะแบ่งเวลาที่ว่างจากงานประจำ คือวันเสาร์กับอาทิตย์มาทำเกษตร การทำเกษตรของเธอเริ่มต้นจากศูนย์เพราะเธอเรียนมาทางด้านโทรคมนาคม ซึ่งก็ไม่เกี่ยวกับการทำเกษตรเลย เธออาศัยความมีใจรัก ความตั้งใจ และมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนว่า ทำไปเพื่ออะไร ทุกวันนี้ถ้าถามทุกความรู้ก็หาง่ายมาก ดูจากเฟซบุ๊ก ดูจากกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรที่เขามาให้ความรู้ กูเกิ้ลถือเป็นอาจารย์ตัวยง รู้ทุกอย่าง เราก็ค่อยๆ เรียนรู้ไปเรื่อยๆ