ที่ผ่านมา จังหวัดขอนแก่น มีการสนับสนุนเกษตรกรปลูกมะม่วงน้ำ

ภายใต้โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชไม่เหมาะสมเป็นไม้ผล การส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่ม ในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์มากขึ้น อีกทั้ง ยังมีการสนับสนุนโรงคัดเกรดมะม่วงเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของตลาด

ซึ่งแนวโน้มในอนาคตจะมีการเพิ่มตลาดส่งออกต่างประเทศ เช่น ตลาดสหรัฐอเมริกา เป็นต้น นอกจากนี้ เกษตรกรควรเฝ้าระวังโรคแอนแทรกโนสที่เกิดในช่วงอากาศร้อนชื้น อาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตได้ โดยเฉพาะมะม่วงที่อยู่ในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวและเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต

หากเกษตรกรหรือท่านใดที่สนใจข้อมูลการผลิตและการตลาดมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กำนันเกรียงศักดิ์ ชิตเจริญ อยู่บ้านเลขที่ 9/2 หมู่ที่ 1 ตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ได้มีวิธีการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรด้วยการลงมือทำด้วยตนเอง เพราะพื้นที่บริเวณนี้คนทั่วไปมองว่าไม่สามารถปลูกพืชผลทางการเกษตรได้

กำนันเกรียงศักดิ์ เล่าว่า เนื่องจากสมัยก่อนพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นที่รกร้างมาก่อน จึงได้ขอเช่าจากเจ้าของที่ดินเพื่อมาใช้ประโยชน์ทำการเกษตรสร้างรายได้ “พื้นที่บริเวณนี้มันปลูกอะไรไม่ค่อยได้ เพราะว่าน้ำเค็มมันมา ผมก็เลยอยากจะลองทำเกษตร กักน้ำจืดไว้ใช้เพื่อสู้กับน้ำเค็ม เพราะหลัง 2 ปีมานี่ เราวิกฤตเรื่องน้ำ พอน้ำมาน้อย น้ำทะเลมันก็จะหนุนมา ทำให้พื้นที่แถวนี้กลายเป็นมีน้ำเค็ม 10 เดือน น้ำจืด 2 เดือน ซึ่งก็ถือว่าเป็นผลดีอีกอย่างกับผลไม้บางชนิด เพราะปลูกที่นี่จะมีรสชาติที่หวาน อย่างเช่น มะม่วง กล้วยหอม” กำนันเกรียงศักดิ์ กล่าว

สังเกตได้จากสัตว์น้ำตามธรรมชาติ

กำนันเกรียงศักดิ์ บอกว่า วิธีที่จะรู้ได้ดีที่สุดเวลาที่น้ำเค็มจะเข้ามาในพื้นที่ สังเกตจากปลาเสือที่ว่ายน้ำเข้ามาในพื้นที่เพื่อมาอยู่ในบริเวณน้ำจืด ก็จะเตรียมขังน้ำไว้ โดยปิดที่กันที่มีลักษณะคล้ายฝาย เพื่อกักน้ำจืดไว้ในสวนไม่ให้ออกจากล่องสวนไป

“ผมก็เอาต้นมะพร้าวที่ตายๆ ขุดมา แล้วมาวางเรียงกัน จากนั้นปักหลักลงไป ส่วนข้างใต้เราก็วางท่อตรงข้างล่างฝายเพื่อใช้สำหรับไว้เติมเวลาที่น้ำจืดมา เราจะได้มีน้ำเข้ามาภายในสวน จากนั้นเราก็ใส่ดินเป็นคันกั้นขึ้นมาเรื่อยๆ ดินยุบเราก็ใส่ใหม่เรื่อยๆ อย่าให้ต่ำกว่าระดับน้ำเค็ม เพื่อที่น้ำเค็มจะได้ไม่เข้ามาในพื้นที่น้ำจืดของเรา เราจะได้นำมารดน้ำต้นไม้ที่เราปลูกได้” กำนันเกรียงศักดิ์ กล่าว

น้ำ นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ

ทุกสิ่งบนโลกนี้ขาดน้ำไม่ได้

จากความสำเร็จที่ได้ลงมือให้พื้นที่ที่ดูเหมือนไม่น่าจะปลูกพืชผลทางการเกษตรได้ ณ เวลานี้ กลับประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจสำหรับกำนันเกรียงศักดิ์ที่ได้ทดลองทำในวิธีนี้

“การเกษตรทุกอย่างจริงๆ มันไม่ยากนะ ขอให้มีน้ำอย่างเดียว เพราะถ้าเรามีน้ำไม่ว่าจะทำอะไร มันก็ได้หมด แต่ถ้าไม่มีน้ำนี่สิ ทุกอย่างมันจบหมด ตอนนี้พื้นที่ผมก็ปลูกทั้งพริกขี้หนู ถั่วฝักยาว ก็ได้ผลผลิตพอจำหน่ายได้ เพราะเก็บผลผลิตได้เร็วด้วย ใครสนใจก็ลองเอาไปทำดู” กำนันเกรียงศักดิ์ กล่าว

ซึ่งปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้สามารถปลูกไม้ผลได้หลากหลาย รวมทั้งพืชผักสวนครัว เป็นการสร้างรายได้ให้กับกำนันเกรียงศักดิ์ได้เป็นอย่างดี คุณศุภกานต์ พุทธรางกูร หรือ พี่อ้อ ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์จังหวัดเชียงราย อยู่บ้านเลขที่ 333/1 หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เล่าถึงที่มาของการกลับมาเป็นเกษตรกรว่า ก่อนที่จะมาทำเกษตรนั้นตนทำงานประจำเป็นพนักงานโรงแรมมาก่อน แล้วได้ลาออกจากงานประจำเพื่อมาสานต่องานที่บ้าน สืบเนื่องมาจากคุณแม่เป็นชาวนาสืบทอดมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่คุณย่า ซึ่งเป็นการทำนาข้าวแบบเดิม คือปลูกและนำไปขายให้กับโรงสี อยากได้ข้าวปริมาณมากๆ เลยใช้ปุ๋ยเคมีและยาในการเพาะปลูก เพื่อเพิ่มผลผลิต วนเวียนอย่างนี้ทุกปี ซึ่งราคาข้าวก็ผันแปรไปตามกลไกตลาด ทำให้มีกำไรน้อยมาก หรือบางปีขาดทุน เพราะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรงงาน มีราคาสูงขึ้น

คุณแม่จึงคิดว่าอยากจะปลี่ยนแปลงวิธีการทำนาข้าวแบบเดิม จึงเริ่มศึกษาการทำเกษตรอินทรีย์ และเก็บข้าวไว้เอง ไม่ขายให้กับโรงสี เพราะอยากจะผลิตข้าวที่ดีมีคุณภาพ เก็บไว้กินเอง และได้ขายข้าวที่ดีและปลอดภัยให้กับลูกค้า ซึ่งนอกจากนี้คุณแม่ยังได้มีการศึกษาการทำเกษตรผสมผสานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกไว้กินเอง เหลือจึงนำออกไปขาย ได้ลองผิดลองถูกมาตลอด และด้วยความตั้งใจจริงของคุณแม่ จึงเกิดเป็น “ฮอมฮักฟาร์ม” ฟาร์มข้าวเกษตรอินทรีย์ และเกษตรผสมผสาน มีเป็ดอารมณ์ดีเลี้ยงไว้เพื่อนำไข่ไปขาย ขุดบ่อเลี้ยงปลา ปลูกผักปลอดสารพิษ เพาะเห็ดฟางตามแนวคันดิน และยังมีอีกหลากหลายอย่างที่คุณแม่จะทำในไร่แห่งนี้

เมื่อเห็นความตั้งใจจริงของแม่แล้ว จึงอยากจะช่วยให้สิ่งที่คุณแม่ตั้งใจทำด้วยความรักประสบความสำเร็จ จึงได้ตัดสินใจลาออกจากงานแล้วกลับมาช่วยพัฒนาความฝันของแม่ให้เป็นจริง ในเรื่องของการกลับมาช่วยทำการตลาด ขายผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากฟาร์ม และประชาสัมพันธ์ ผ่านช่องทางต่างๆ ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นแม่จะยังไม่เห็นความสำเร็จมากนัก แต่เรารู้สึกได้ถึงความสุขของคุณแม่ที่เห็นเรามาช่วยสานต่อสิ่งที่ท่านรัก จึงเกิดเป็น ฮอมฮักฟาร์มแห่งนี้ขึ้นมา คุณศุภกานต์ พุทธรางกูร กล่าวถึงที่มาของ ฮอมฮักฟาร์ม เกษตรอินทรีย์

“ข้าว กข 43” ผลิตภัณฑ์เด่นจากฮอมฮักฟาร์ม
อร่อย นุ่ม น้ำตาลต่ำ เหมาะกับคนรักสุขภาพ
พี่อ้อ เล่าให้ฟังว่า ที่ฮอมฮักฟาร์ม มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 15 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว 10 ไร่ และอีก 5 ไร่ ที่เหลือจัดสรรทำเป็นเกษตรผสมผสาน เพาะเห็ดฟาง เลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด ปลูกผักปลอดสาร และมีการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อนำมาทำเป็นปุ๋ย โดยมีข้าวพันธุ์ กข 43 เป็นผลิตภัณฑ์เด่นของฟาร์ม เนื่องจากทางฟาร์มเล็งเห็นถึงคุณประโยชน์ของข้าวอินทรีย์ พันธุ์ กข 43 ตรงที่มีความหอม อร่อย นุ่ม น้ำตาลต่ำ ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ที่ต้องการลดน้ำตาลสามารถกินได้ ซึ่งถือว่าเหมาะกับกระแสคนรักสุขภาพที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน จึงถือโอกาสตรงนี้ ปั้นข้าว กข 43 ให้ติดตลาดและเป็นผลิตภัณฑ์สร้างรายได้หลักของที่ฟาร์ม

ส่วนเรื่องของการเพาะปลูกนั้น คุณแม่จะมีความชำนาญอยู่แล้ว เพียงแต่คุณแม่ยังขาดประสบการณ์ด้านการตลาด ตนจึงเข้ามาเป็นตัวช่วยหลักในการทำตลาด มีการสร้างแบรนด์ข้าวของตัวเองขึ้นมา ชื่อว่า “หอมละไม” ขายผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คนจำผลิตภัณฑ์ของฟาร์มได้ว่า ถ้าหากเป็นผลิตภัณฑ์ข้าว กข 43 ของแบรนด์หอมละไม ลูกค้าจะได้ข้าวน้ำตาลน้อยพร้อมกิน ที่สะอาด สะดวก ได้คุณประโยชน์ ปลอดภัย บรรจุในแพ็กเกจที่ให้ความสะดวกแก่ผู้บริโภคยุคปัจจุบัน สามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องโดยไม่ต้องแช่เย็น

และในแง่ของการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มนั้น ใน 1 ฤดูกาล จะได้ผลผลิตประมาณ 5-8 ตัน ต่อ 10 ไร่ จะนำมาแปรรูปขายเองทั้งหมด ซึ่งวิธีการนี้จะมีข้อแตกต่างในเรื่องของรายได้อย่างเห็นได้ชัด

“จากเมื่อก่อน ขายข้าวเปลือกได้ กิโลกรัมละ 7-8 บาท ขาดทุนเกือบทุกปี แต่พอได้ลองปรับเปลี่ยนวิถีแบบใหม่ คือปลูกเอง ขายเอง ที่ถึงแม้จะใช้เวลาแต่เมื่อเปรียบเทียบกับกำไรที่ได้แล้วเยอะกว่าเมื่อก่อนมาก จึงใช้ช่องทางตรงนี้ที่จะทำให้เป็นความยั่งยืนดีกว่า ค่อยๆ ทยอยสีข้าวออกมาขาย แพ็กขาย บรรจุถุงละ 1 กิโลกรัม ราคาถุงละ 60-70 บาท สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้หลายเท่าตัว หากเทียบกับต้นทุนค่าสีข้าว ค่าแพ็กเกจก็ยังคุ้มค่ามากกว่าการขายเป็นข้าวเปลือกที่ได้ราคาเพียงน้อยนิด เพียงแต่ว่าการแปรรูปขายเองอาจจะได้เงินช้า แต่คุ้มค่ากว่าแน่นอน และนอกเหนือจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นแล้ว การปลูกข้าวแบบอินทรีย์ยังเป็นผลดีกับทั้งตัวเกษตรกรและผู้บริโภคอีกด้วย”

“เกษตรผสมผสาน” งานสร้างรายได้
หลังว่างจากการทำนา
เจ้าของบอกว่า อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า นอกจากการปลูกข้าวเป็นรายได้หลักแล้ว ยังมีในส่วนของงานเกษตรผสมผสาน เป็นอาชีพสร้างรายได้เสริมหลังว่างจากการทำนา ขุดบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ดอารมณ์ดีกว่า 100 ตัว เพื่อขายไข่ และมีการเพาะเห็ดฟาง โดยนำเอาตอซังข้าวมาใช้ประโยชน์แทนการเผาทำลาย

มีวิธีการเพาะ ดังนี้

นำฟางจากตอซังข้าวหลังเก็บเกี่ยวมาแช่น้ำไว้ 1 คืน
ทำไม้แบบสำหรับอัดฟางให้แน่นเป็นกองๆ (ตัวอย่างของที่ฟาร์ม ใช้ความกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 1.20 เมตร)
หมักฟางจนใช้ได้แล้ว ให้เอามาใส่ไม้แบบ แล้วกดให้แน่นพอสมควร
จากนั้นให้โรยรำข้าวก่อน แล้วโรยเชื้อเห็ดฟางทับลงไป (ราคาเชื้อเห็ด ถุงละประมาณ 50 บาท) โดยให้โรยติดขอบไม้แบบ ชั้นเห็ดกับฟางจะทำ 2-3 ชั้น ต่อกอง
จากนั้นใส่ฟางทับ แล้วรดน้ำให้ชุ่มพอสมควร
ยกไม้แบบขึ้น

จากนั้นให้ใช้พลาสติกคลุมกองฟางไว้เพื่อควบคุมอุณหภูมิ แล้วรอเก็บผลผลิตได้เลย ประมาณ 10-15 วัน เห็ดฟางก็จะเริ่มออก

ข้อควรระวัง ให้รดน้ำข้างๆ กองฟาง (อย่ารดให้ถูกกองฟาง หรือเชื้อเห็ด) ทุกวัน ช่วง 2-3 วันแรก อุณหภูมิข้างในกองฟางควรอยู่ที่ 35-38 องศา หลังจากนั้นก็หมั่นเข้ามาดูกองฟาง จะมีเห็ดให้เก็บผลผลิตในทุกๆ วัน ถือว่าเป็นอาชีพเสริมที่น่าสนใจและทำง่ายมากๆ ต้นทุนต่ำ ใช้เวลาน้อย รายได้ดี กิโลกรัมละ 120 บาท ที่ฟาร์มเพาะประมาณ 30 กระบะ สามารถเก็บผลผลิตขายได้วันละประมาณ 10-15 กิโลกรัม ขายหมดทุกครั้งที่นำไปขาย ถือเป็นพืชสร้างรายได้ดี แต่จะทำได้แค่ช่วงเดียวคือ ช่วงหน้าหนาว เห็ดฟางจะไม่เหมาะกับอากาศที่ร้อนเกินไป

เริ่มหาตลาดจากการสร้างแบรนด์
สร้างคุณภาพสินค้าให้น่าเชื่อถือ
เจ้าของบอกว่า อาศัยความเป็นคนรุ่นใหม่ในการเริ่มต้นหาตลาด ใช้ความรู้ที่เรียนทางด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจมาพัฒนาสร้างแบรนด์ สร้างสตอรี่ของผลิตภัณฑ์ในฟาร์มให้เป็นที่จดจำของผู้บริโภค โดยที่ฟาร์มจะดึงจุดเด่นของการเป็นฟาร์มเกษตรอินทรีย์มาเป็นจุดขาย

ข้าว จะเป็นข้าวอินทรีย์ กข 43 ที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ เหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เป็นโรงพยาบาล โรงแรม และลูกค้าออนไลน์เป็นหลักซึ่งได้รับผลตอบรับจากผู้บริโภคดีมาก
เป็ดอารมณ์ดีที่เลี้ยงไว้ ประมาณ 100 ตัว เลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติ ให้อาหารเป็นเศษผักผลไม้ สามารถเก็บไข่ขายได้ วันละ 70-80 ฟอง โดยมีพ่อค้ารับซื้อเป็นเจ้าประจำเพื่อนำไปทำไข่เค็ม ด้วยลักษณะเด่นไข่เป็ดของที่ฟาร์มได้เบอร์ใหญ่ ไข่แดง สีสวย
เห็ดฟาง ที่มีต้นทุนการทำที่ต่ำมาก แต่สร้างรายได้ดี มีกลุ่มลูกค้าตลาดนัด เฉลี่ยรายได้ต่อเดือนจากขายพืชผลทางการเกษตรแล้ว มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ เดือนละ 25,000-30,000 บาท ในขณะที่คนในครอบครัวมีข้าวกินเอง มีผักผลไม้กินเอง โดยที่ไม่ต้องเสียเงินซื้อทุกวัน

“ความไม่ไว้วางใจ” คือ อุปสรรคที่คนรุ่นใหม่ต้องเจอ
ต้องพยายามก้าวผ่าน และพิสูจน์ตัวเองให้ได้
“ความไม่วางใจจากครอบครัว ถือเป็นอุปสรรคใหญ่ของเกษตรกรมือใหม่ ก็อยากจะบอกว่า ให้อดทน และพยายามพิสูจน์ตัวเองให้ได้ เพราะตัวพี่เองก็ต้องใช้เวลากว่า 2 ปี ที่จะมาพิสูจน์ให้แม่เห็นว่า สิ่งที่คนรุ่นใหม่คิดและทำไม่ได้แย่เสมอไป วันนี้เขาอาจยังไม่เชื่อ แต่ถ้าเราพิสูจน์ให้เขาเห็นว่าสิ่งที่เราพูดเป็นไปได้ อย่างเช่น บอกให้เขาทำเกษตรอินทรีย์ เปลี่ยนเลยตอนนี้เขายังไม่เชื่อแน่นอน เพราะเขาทำเคมีมาทั้งชีวิต หน้าที่เราก็แค่ทำให้เขาเห็นว่า ถ้าเปลี่ยนมาทำอินทรีย์ จะมีข้อดีอย่างไร หรือถ้าหากใครมีทักษะความสามารถในการหาตลาด ก็ทำแล้วไปขายให้เขาเห็นว่าเนี่ยทำเกษตรอินทรีย์มันดีแบบนี้ ผลผลิตขายได้แพงขึ้น คุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภคก็สูงขึ้นด้วย อยากให้ทุกคนอดทนและสู้ ถ้าทำได้แล้ว อาชีพเกษตรนับเป็นอาชีพที่ตอบโจทย์ชีวิตได้อีกอาชีพหนึ่ง” คุณศุภกานต์ กล่าวทิ้งท้าย

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ได้นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมพื้นที่โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ ณ บางเบิด จังหวัดชุมพร

คุณสมบูรณ์ ศรีสุบัติ หรือ ลุงนิล เป็นเกษตรกรต้นแบบ อยู่ที่ตำบลช่องไม้แก้ว อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ซึ่งพืชผลทางการเกษตรที่ปลูกส่วนใหญ่จะเป็นทุเรียน มีมากกว่า 700 ต้น อยู่ในสวนลุงนิล เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัดชุมพรค่อนข้างมาก

ลุงนิล เป็นที่รู้จักในนามของเกษตรกรผู้คิดค้น “เกษตรคอนโดฯ 9 ชั้น” ซึ่งจุดเด่นของลุงนิลคือ การได้รับความสนใจจากผู้ไปศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเกษตรผสมผสานและเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่เน้นใช้พื้นที่ของตนเองที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการปลูกพืชผักสวนครัวต่างๆ และพืชแซม พร้อมกับการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจไปในตัว และนอกจากจุดเด่นของลุงนิลจะอยู่ที่การทำสวนแล้ว ลุงนิลยังเป็นหนึ่งในผู้ที่ดูแลโครงการธนาคารต้นไม้ของจังหวัดชุมพรอีกด้วย

เศรษฐกิจพอเพียง
กู้วิกฤตชีวิตลุงนิล
ลุงนิล เผยถึงแนวคิดการทำเกษตรแบบผสมผสาน 9 ชั้น ว่า ในอดีตลุงนิลเคยทำอาชีพค้าขายมาเป็นเวลานาน แล้วก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่ด้วยความที่ลุงนิลในตอนนั้น ต้องการที่จะมีรายได้ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ด้วยความอยากรวย จึงมีความคิดที่สร้างรายได้เพิ่มด้วยการปลูกทุเรียน เนื่องจากคิดว่าทุเรียนน่าจะเป็นพืชที่ปลูกแล้วสร้างรายได้ให้กับลุงนิลเป็นกอบเป็นกำ ช่วงแรกที่เริ่มปลูก ลุงนิลลงทุนปลูกทุเรียน ประมาณ 700 ต้น แต่ด้วยความที่ลุงนิลในช่วงนั้นยังขาดประสบการณ์ทางด้านการจัดสรรพื้นที่ในการทำสวนทุเรียน จึงเป็นต้นเหตุที่ทำให้การปลูกสวนทุเรียนเกิดสภาวะขาดทุน และลุงนิลก็เกิดมีหนี้สินติดตัวในขณะนั้นอีกร่วม 2 ล้านบาทเลยทีเดียว และเหตุการณ์ในวันนั้นได้ทำให้ลุงนิลท้อแท้ จนถึงขั้นคิดสั้นฆ่าตัวตายเลยทีเดียว แต่นั่นเป็นเพียงแค่อารมณ์และความรู้สึกชั่ววูบเท่านั้น

“ในตอนนั้นทุกอย่างมันเหมือนจะไม่เหลืออะไรแล้ว และด้วยอารมณ์ชั่ววูบในตอนนั้น มันทำให้ผมเคยคิดที่จะทำสิ่งที่เลวร้ายที่สุดในชีวิต นั่นก็คือ การฆ่าตัวตาย ในขณะที่กำลังใช้ปืนจ่อหัว ผมก็เห็นลูกชายของผมที่เดินมาและนั่นเลยทำให้ผมเลือกที่จะสู้กับปัญหาต่อไป และในตอนเย็น วันที่ 4 ธันวาคมปีนั้นเอง ผมได้ยินพระราชดำรัสของพระองค์ท่านเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในโทรทัศน์ เท่านั้นเอง ผมนี่ถึงกับน้ำตานองหน้า ก้มลงกราบกับพื้น และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านเป็นล้นพ้น” ลุงนิล กล่าว

ณ วินาทีที่ลุงนิลได้ยินพระราชดำรัสของพระองค์ท่านเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการจุดประกายแห่งความหวัง ทำให้คนที่มืดมนในความคิด ไม่พบทางออกเลยสักทาง ได้มองเห็นแสงสว่างจนมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในชีวิต ตอนนั้นลุงนิลกลับมามีสติและคิดว่า หากตนตายไปแล้ว ลูกและครอบครัวจะอยู่อย่างไร คิดได้ดังนั้น จึงได้ยุติความคิดในการจบชีวิตตนเอง และมุ่งมั่นที่จะเดินไปข้างหน้าด้วยหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง ลุงนิลจึงเริ่มทำการเกษตรแบบผสมผสาน ดำเนินรอยตามพ่อของแผ่นดินตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

เกษตรคอนโดฯ 9 ชั้น
บนพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 17 ไร่ ลุงนิลทำเกษตรแบบผสมผสาน โดยการเลี้ยงปลา เลี้ยงหมู และปลูกพืชคอนโดฯ 9 ชั้น ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

ชั้นที่ 1 ใช้พื้นที่ส่วนล่างสุดของพื้นดิน เพื่อทำบ่อน้ำเลี้ยงปลา รวมถึงพืชผักต่างๆ ที่สามารถอาศัยอยู่ในน้ำได้ เช่น ผักกระเฉด ผักบุ้ง บัว ฯลฯ ชั้นที่ 2 จะเป็นการปลูกพืชคลุมดินจำพวกกลอย มันหอม หรือจะเป็นพืชตระกูลหัวต่างๆ เช่น ขมิ้น กระชาย ฯลฯ

ชั้นที่ 3 ปลูกพืชบนหน้าดิน เพื่อใช้ในการประกอบอาหารในครัวเรือนแทนการใช้เงินซื้อได้ โดยพืชผักประเภทนี้จะได้แก่ พริกขี้หนู ผักเหลียง มะเขือ ฯลฯ

ชั้นที่ 4 จะเน้นการปลูกส้มจี๊ด ที่มีประมาณ 1,000 ต้น สามารถเก็บได้ประมาณ 70 กิโลกรัม ต่อวัน ขายได้ประมาณ กิโลกรัมละ 20-60 บาท ซึ่งราคาก็ขึ้นอยู่กับท้องตลาดเช่นกับผลผลิตอื่นๆ บางครั้งลุงนิลสามารถสร้างรายได้ ได้ประมาณ 2,000 บาท ต่อวัน เลยทีเดียว

ชั้นที่ 5 ปลูกกล้วยเล็บมือนาง 1,000 กอ เก็บรายได้ต่อสัปดาห์ ขายได้ประมาณ 5,000 บาท ต่อสัปดาห์

ชั้นที่ 6 ปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ประมาณ 700 ต้น ซึ่งจะคอยเก็บผลผลิตที่ได้ตามฤดูกาล ปีละครั้ง ส่วนรายได้จะขึ้นอยู่กับท้องตลาด ที่คอยกำหนดราคาตลอดเวลา

ชั้นที่ 7 ปลูกพริกไทย ซึ่งเป็นพืชเกาะเกี่ยว กระท้อน ขนุน ซึ่งมีการเก็บผลผลิตหมุนเวียนไปทั้งปี รวมรายได้ ประมาณ 300,000 บาท ต่อปี

ชั้นที่ 8 เป็นส่วนของธนาคารต้นไม้ ประเภทไม้ยืนต้น ประมาณ 1,300 ต้น ซึ่งเพิ่งจะปลูกได้ 1 ปี มีต้นมะฮอกกานี ต้นตะเคียนทอง ต้นจำปาทอง เป็นต้น ซึ่งไม้เศรษฐกิจเหล่านี้ หากมีอายุครบ 20 ปี จะมีมูลค่า ประมาณ 100,000 บาท ต่อต้น ซึ่งต้นไม้เหล่านี้ ลุงนิล กล่าวว่า ตนปลูกไว้ให้เทวดาเลี้ยง หมายความว่า ปลูกไว้แล้วต้นไม้จะโตเองโดยธรรมชาติ

ชั้นที่ 9 ปลูกต้นไม้ยางนา เพื่อถวายแด่ในหลวงเป็นพิเศษ ต้นสูงเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 40-50 เมตร ในสวนของลุงนิลไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่เริ่มต้นทำเกษตรแบบผสมผสาน และได้รับแนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

การไม่ใช้ปุ๋ยและสารเคมีใดๆ ในสวนมาเป็นเวลานาน กลับพบว่า สภาพดินยิ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าในอดีตที่เคยใช้ปุ๋ยเคมี เพราะการใช้ปุ๋ยเคมีอาจทำให้ได้ผลผลิตมากเป็นที่น่าพอใจ

พืชทั้ง 9 ชั้นนี้ จะอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลกัน บ้างก็ให้ความร่มเงาแก่กัน บ้างก็เก็บน้ำและความชื้นให้กัน อยู่และเติบโตไปพร้อมๆ กัน โดยการปลูกใช้แนวคิดนี้ รวมทั้งการจัดการในเรื่องน้ำ เรื่องของแดด และยังรวมถึงการดูแลดินให้สมดุลนั้น จึงทำให้เกิดความหลากหลายและทำให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดและได้ผลผลิตตรงตามที่ต้องการ

อีกทั้งในแปลงเกษตรของลุงนิล มีการเลี้ยงปลา เลี้ยงหมู และเลี้ยงไก่ ซึ่งมูลหมูสามารถนำมาใช้เป็นอาหารปลาได้ ส่วนมูลหมูและมูลไก่ใช้ทำเป็นปุ๋ยให้กับพืชผักสวนครัวต่างๆ ที่ลุงนิลได้ปลูกไว้ในสวน นอกเหนือจากนี้ ยังมีการขุดสระน้ำเพื่อเป็นแหล่งน้ำไว้ใช้ในการเกษตร แต่ไม่มีการทำนาในพื้นที่แห่งนี้ เนื่องจากสภาพที่ดินและปัญหาทางแรงงานนั้นไม่มีความเอื้ออำนวย

‘ทุเรียน’
พืชหลักสร้างได้เป็นกอบเป็นกำให้แก่ลุงนิล
ในสวนของลุงนิล ทุเรียนคือสินค้าที่เป็นที่นิยมมากที่สุด สาเหตุที่ทุเรียนจากสวนลุงนิลต่างเป็นที่นิยมนั้นเป็นเพราะกรรมวิธีในการเพาะปลูก ที่ปลูกแบบวิธีธรรมชาติ โดยวิธีการปลูกของลุงนิลคือจะใช้ปุ๋ยที่ผ่านการหมักจากพืช รวมถึงมูลสุกรมาทดแทนเท่ากับเป็นการประหยัดต้นทุนได้ไปในตัว และจะไม่ให้น้ำบ่อยๆ นี่คือเอกลักษณ์จากสวนทุเรียนของลุงนิล

ทั้งนี้ นอกจากการนำทุเรียนไปขายสู่ตลาดแล้ว ลุงนิลยังได้เก็บเอาทุเรียนบางส่วนนำมาแปรรูปเป็นทุเรียนกวนที่มีรสชาติหอมหวาน ปราศจากการปรุงแต่งกลิ่นทุกอย่าง นอกจากทุเรียนที่แปรรูปแล้ว ลุงนิลยังนำพืชผลในสวนที่ปลูกไว้ มาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อีกมากมาย เช่น น้ำผึ้งแท้ ยาสมุนไพรลดความดัน สบู่สมุนไพร และอีกมากมาย

“เป้าหมายในชีวิตคือ การอยู่แบบคนที่มีคุณค่า และมีความพอเพียงกับชีวิต” ลุงนิล ยืนยัน

นี่คือ นิยามความพอเพียงของลุงนิล สมัคร Royal Online V2 เกษตรกรแบบผสมผสานแห่งบ้านทอน-อม ผู้มีรอยยิ้มเปื้อนใบหน้าและดวงตามีแววแห่งความหวังอยู่เสมอ แสดงให้เห็นถึงความสุขทั้งกายและใจที่แท้จริง บนฐานของความพอเพียง ปัญหาของการส่งออกข้าวไทยที่นับวันจะถดถอยลงทั้งปริมาณและมูลค่า ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ประเทศผู้นำเข้าต้องการข้าว “พื้นนุ่ม” มากกว่าเพิ่มขึ้น

ขณะที่ข้าวที่ประเทศไทยมีการปลูกข้าวพื้นนุ่มน้อย แม้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยได้พัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นนุ่มออกมาและให้การรับรองแล้วหลายพันธุ์ เช่น กข 39, กข 43, กข 53, กข 77 และ กข 79 แต่ยังไม่นิยมปลูกเป็นที่แพร่หลายมากนัก เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่างเวียดนามที่มีสายพันธุ์ที่หลากหลายกว่า ทำให้ผู้ซื้อหันไปซื้อข้าวพื้นนุ่มกับคู่แข่งมากขึ้น ไทยจึงสูญเสียส่วนแบ่งตลาดนี้ให้คู่แข่งอย่างเวียดนามไปอย่างน่าเสียดาย

โดยเวียดนามเป็นประเทศที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวอย่างมาก โดยจัดสรรงบประมาณกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3,000 ล้านบาท เพื่อวิจัยและพัฒนา โดยนำพันธุ์ข้าวที่ดีในตลาดมาพัฒนาเป็นพันธุ์ข้าวใหม่เพื่อทำตลาด มีระยะเพาะปลูกที่สั้น 90-95 วัน ปลูกได้ปีละ 3 ครั้ง ขณะที่ประเทศไทยรัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้กับการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเพียง 100 ล้านบาท/ปีเท่านั้น

แม้ว่าจะขาดแคลนงบประมาณด้านงานวิจัย แต่สถาบันการศึกษาอย่าง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย รศ.ดร. สุรีพร เกตุงาม อาจารย์ประจำภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัย ยังเดินหน้าทำงานวิจัยจนสามารถพัฒนาพันธุ์ข้าวเจ้า “หอมวาริน” ได้สำเร็จ โดยใช้เวลา 3-4 ปี ภายใต้งบประมาณ 3 ล้านบาท ที่นักวิจัยท่านนี้ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ในการเสนองานวิจัยเพื่อให้ได้งบประมาณดังกล่าวมา ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว รศ.ดร. สุรีพร ให้รายละเอียดว่า หลังจากได้รับงบประมาณมาจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในปี 2558 ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อผลิตพันธุ์ข้าวพื้นนุ่มให้ตรงกับความต้องการของตลาด เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศของพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และใกล้เคียง ซึ่งเป็นเขตอีสานใต้

ซึ่ง รศ.ดร. สุรีพร ระบุอีกว่า งานด้านการวิจัยของสถาบันการศึกษาควรถูกนำมาใช้จริงๆ ตอบโจทย์ความต้องการของคนในพื้นที่ทำออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับท้องถิ่น

ปัญหาของพื้นที่ที่พบก็คือ การกระจายตัวของน้ำฝนที่ไม่สม่ำเสมอในพื้นที่ปลูกข้าว โดยชาวนาจะอาศัยปลูกข้าวโดยอาศัยน้ำฝน บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ขณะที่ปัญหาความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศก็นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น จนก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน ฝนทิ้งช่วง ในช่วงที่มีการเพาะปลูก