ที่สำคัญหมั่นสังเกตสุขภาพร่างกายของตนเองและบุคคลในครอบครัว

หากไม่สบาย มีอาการคล้ายไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว อ่อนเพลีย เจ็บคอ ไอ อาจมีน้ำมูก น้ำตาไหล โดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว มักมีอาการรุนแรง สังเกตได้จากหอบ หายใจลำบาก หรือ ถ้ามีไข้สูงเกิน 2 วัน ต้องรีบไปรับการรักษาที่สถานบริการสาธารณสุขทันที

ขณะที่ จ.นครราชสีมา ส่งผลดีต่อพืชผลการเกษตรเมืองหนาวเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพุทรานมสด ซึ่งเป็นผลไม้เมืองหนาว ที่มีชื่อเสียงมากของ อ.วังน้ำเขียว ช่วงนี้ทุกต้นได้ออกลูกดกมากกว่าช่วงอื่นๆ เช่นที่สวนพิณพิมาย ภายในหมู่บ้านวังไผ่ทอง หมู่ 12 ต.วังหมี อ.วังน้ำเขียว ซึ่งมีนางแอน พิณพิมาย อายุ 46 ปี เป็นเจ้าของสวน ได้พาเข้าชมสวนพุทรานมสด กว่า 200 ต้น ที่ปลูกไว้ในสวนบนเนื้อที่ 4 ไร่ พบว่าต้นพุทรานมสดทุกต้นได้ออกลูกดกมาก จนกิ่งโน้มตกลงเกือบถึงพื้น โดยช่วงนี้ได้มีลูกค้าสั่งออเดอร์เข้ามาจำนวนมาก กิโลกรัมละ 50 บาท นางแอนจึงได้ช่วยกันกับลูกสาวเก็บลูกพุทรานมสด เพื่อคัดบรรจุใส่ถุง ส่งให้กับลูกค้าที่จะเข้ามารับซื้อถึงภายในสวนทุกวัน

และที่จังหวัดอุทัยธานี แม้กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์ว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้น แต่ในพื้นที่สูงติดป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของชาวไทยภูเขาเผ่ากระเหรี่ยง ละว้า และขมุก ในตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ และตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี นับพันครัวเรือน ที่ยังคงมีสภาพอากาศที่หนาวเย็นจัดในช่วงกลางคืนและเช้าตรู่ โดยวันนี้มีอุณหภูมิต่ำสุดเพียง 10 องศาฯ ทำให้ชาวไทยภูเขาในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ยากไร้ และอยู่ในถิ่นทุรดันดานห่างไกล ยังขาดแคลนเครื่องนุ่งห่มกันหนาวจำนวนมาก

เช่นที่ ชาวไทยภูเขาเผ่ากระเหรี่ยง บนพื้นที่สูงติดกับป่ากันชนห้วยขาแข้ง หมู่ที่ 3 บ้านกุดจะเลิด ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเป็นหมู่บ้านแห่งเดียวของอำเภอห้วยคต ที่ในมีบ้านดังกล่าวมีชาวบ้านอาศัยอยู่กว่า 30 หลังเรือน แต่ยังเป็นหมู่บ้านที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ทั้งที่เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ตั้งถิ่นฐานรกรากมานานนับ 100 ปี ซึ่งในช่วงนี้แต่ละบ้านเรือนต้องพาครอบครัวออกมาก่อไฟล้อมวงผิงไฟกันยกหมู่บ้านเพื่อคลายความหนาวเย็นจัด และด้วยสภาพอากาศที่หนาวเย็นจัดนี้ ยังส่งผลให้เด็กและผู้สูงอายุที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เริ่มมีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจกันแล้วหลายราย

เยี่ยมชม – กรมปศุสัตว์พาคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมผลดำเนินงานปศุสัตว์อินทรีย์ก้าวสู่ปีแห่งการยกระดับมาตรฐานสินค้า โดยชมโครงการไข่ไก่ออร์แกนิกบนดอยวาวีของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง และบริษัท ฮิลไทร์บ ออแกนิคส์ จำกัด จ.เชียงราย เมื่อเร็วๆ นี้

ปศุสัตว์เดินหน้าปี 2561 ขยายพื้นที่ผลิตปศุสัตว์อินทรีย์เพิ่มจาก 13 จังหวัด เป็น 24 จังหวัด ป้อนตลาดพรีเมี่ยม หนุนเกษตรกรรายย่อย ชูต้นแบบ “ฮิลไทรบ์-อัครา-แดรี่โฮม” ภายใต้สัญลักษณ์ DLD ORGANIC

นายวีรชาติ เขื่อนรัตน์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ปี 2561 กรมปศุสัตว์มีแผนขยายพื้นที่ผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ พื้นที่ 24 จังหวัด เพื่อร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ปี 2560-2564 ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมุ่งขยายพื้นที่และเพิ่มปริมาณการผลิตสินค้าปศุสัตว์อินทรีย์ป้อนตลาดพรีเมี่ยม เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มรักสุขภาพที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และตลาดยังเติบโตได้อีกมาก กรมปศุสัตว์จึงมีเป้าหมายขยายพื้นที่ส่งเสริมการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ จาก 13 จังหวัด เป็น 24 จังหวัด และเพิ่มจำนวนสินค้าเป็น 5 ชนิด เพื่อสร้างความหลากหลายและขยายทางเลือกให้กับผู้บริโภค คือ โคนม ไก่ไข่ เป็ดไข่ ไก่งวง หมูหลุม และแปลงพืชอาหารสัตว์อินทรีย์ คาดว่าปีหน้าจะมีฟาร์มรายใหม่ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ไม่น้อยกว่า 70 ฟาร์ม
การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ถือเป็นการเพิ่มมูลค่า รวมทั้งเพิ่มการค้าและการบริโภค และยกระดับมาตรฐานและการรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ โดยใช้โมเดลที่ได้ให้การรับรองปศุสัตว์อินทรีย์ รวม 154 ราย ภายใต้สัญลักษณ์ DLD ORGANIC

ปัจจุบันมีผลผลิตหลัก ได้แก่ ไข่ไก่อินทรีย์ ผลิตโดยบริษัท ฮิลไทรบ์ จำกัด และบริษัท อัครา จำกัด และน้ำนมโคอินทรีย์ ผลิตโดยบริษัท แดรี่โฮม จำกัด บนพื้นที่ 13 จังหวัดนำร่อง คือ สระบุรี นครราชสีมา เชียงราย ลำปาง นครปฐม อำนาจเจริญ ระยอง มหาสารคาม ยโสธร นครนายก อุทัยธานี และโรงงานวัตถุดิบอาหารสัตว์อินทรีย์ (ปลาป่น) 2 แห่ง จ.ระนอง ทั้งนี้จะเน้นแผนงาน 2 รูปแบบ คือ การสานต่อแนวคิดยโสธรโมเดล และจัดหาตลาดรองรับไก่ไข่อินทรีย์ และร่วมมือกับสมาพันธ์ SME ไทย เพื่อให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้ผลิตสินค้ารองรับตลาดดังกล่าวให้เพิ่มขึ้น

นายธนิก ชมชื่น ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ฮิลไทรบ์ ออร์แกนิคส์ จำกัด กล่าวว่า ฮิลไทรบ์ฯมีนโยบายและเป้าหมายในการส่งเสริมพัฒนาสังคมและชุมชน โดยเฉพาะเกษตรกรชาวเขาบนพื้นที่สูง ได้เข้าไปส่งเสริมให้ปรับเปลี่ยนอาชีพจากเดิมปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และทำไร่เลื่อนลอย โดยเข้าร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ตั้งแต่ปี 2556 จัดหาปัจจัยการผลิตให้ฟรี ทั้งพันธุ์ไก่ไข่ อาหารสัตว์อินทรีย์ เช่น ปลายข้าวและรำอินทรีย์ ข้าวโพดอินทรีย์ และกากถั่วเหลืองอินทรีย์ เป็นต้น พร้อมจัดอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์

ปัจจุบันมีฟาร์มไก่ไข่อินทรีย์ 100% ในเครือข่ายฮิลไทรบ์ บนดอยวาวี 11 กลุ่ม จำนวน 52 ฟาร์ม รวมพื้นที่กว่า 90 ไร่ เลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ฟาร์มละ 600-700 ตัว หรือรวมกว่า 31,500 ตัว วิธีการเลี้ยงปลอดการใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะทุกชนิด เกษตรกรในเครือข่ายเก็บไข่ไก่อินทรีย์ได้ผลผลิต รวมประมาณ 15,000-17,000 ฟอง/วัน โดยบริษัทจะรับซื้อไข่อินทรีย์เกรดคละ ยกเว้นไข่แตกและฟองที่เล็กเกินไป ราคารับซื้อฟองละ 0.80 บาท สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรเดือนละ 9,000-15,000 บาท แต่ละเดือนสามารถนำรายได้เข้าสู่ชุมชนไม่น้อยกว่า 400,000 บาท ที่สำคัญ

ผลผลิตไข่ไก่อินทรีย์มีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น มีคอเลสเตอรอลน้อยกว่าไข่ไก่ปกติ และมีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงกว่าไข่ไก่ปกติถึง 3 เท่า รายได้ดีกว่าการปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ข้าวโพด ถั่ว ขิง และฟักทอง เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ย 1,500 บาท/เดือน ผลผลิตไข่ไก่อินทรีย์ทั้งหมดจะถูกนำเข้าสู่โรงคัดบรรจุเพื่อคัดเกรด แพ็กกิ้ง ส่งขายโมเดิร์นเทรด ได้แก่ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต วิลล่า มาร์เก็ต เทสโก้ โลตัส แม็กซ์เวลู เดอะมอลล์ ฟู้ดแลนด์ ร้านริมปิง ร้านฟูจิ และส่งให้กับโรงพยาบาล โดยประมาณการผลผลิตทั้งปี 5,400,000 ฟอง แบ่งเป็นขายในประเทศ 5,300,000 ฟอง และส่งออกไปฮ่องกง 100,000 ฟอง

“ยอมรับว่าการเลี้ยงระบบอินทรีย์ค่อนข้างยาก มาตรฐานสูง ต้นทุนการเลี้ยงสูง จึงยังผลิตได้น้อย สำหรับไข่ไก่ที่ไม่ได้มาตรฐานนำไปแปรรูปเป็นเต้าหู้ออร์แกนิกขายอีกช่องทาง ที่สำคัญคือการสร้างการรับรู้ตลาดเกษตรอินทรีย์ไทย ซึ่งยังไม่กว้าง ทำให้ผู้บริโภคไม่เห็นความต่างและยังคงมองตลาดเดิม แต่มีผู้บริโภคบางกลุ่มที่ชื่นชอบ ซึ่งเป็นตลาดบนพรีเมี่ยม อยากให้รัฐผลักดันองค์ความรู้ให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจอาหารเกษตรอินทรีย์ตามนโยบายที่วางไว้ให้มากขึ้น ส่วนอนาคตบริษัทจะขยายกำลังผลิตและผลักดันการส่งออกไปต่างประเทศให้มากขึ้น” นายธนิกกล่าว

กรุงเทพฯ, 20 ธันวาคม 2560 – การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) จัดพิธีลงนามสัญญาให้ทุน ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น (RAC NAMA)

โครงการ RAC NAMA ถือเป็นโครงการแรกในประเทศไทยที่ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุน NAMA Facility ด้วยงบประมาณรวมทั้งสิ้น 14.7 ล้านยูโร (ประมาณ 565 ล้านบาท) โดยมอบหมายให้ GIZ ดำเนินงานร่วมกับรัฐบาลไทย ได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ในการนี้เงินทุนจำนวน 8.3 ล้านยูโร (ประมาณ 320 ล้านบาท) จากเงินงบประมาณโครงการ 14.7 ล้านยูโร จะถูกจัดสรรและตั้งเป็นกองทุน“RAC NAMA Fund” โดยมีกฟผ. เป็นผู้รับทุนในนามประเทศไทยและดำเนินมาตรการจูงใจทางการเงินในฐานะผู้จัดการเงินทุนโครงการเพื่อส่งเสริมการผลิตและการใช้เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้สารทำความเย็นธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย เนื่องด้วยกฟผ. เป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและองค์ความรู้จากประสบการณ์ในการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกและการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงโครงการฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ที่ช่วยรณรงค์ให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพมากว่า 20 ปี

นายกฎชยุตม์ บริบูรณ์จตุพร รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวในพิธีลงนามว่า “กฟผ. รู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่งในฐานะผู้รับทุนในนามของประเทศไทยและผู้บริหารกองทุน RAC NAMA เนื่องด้วยกฟผ. มีนโยบายหลักในการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการเพื่อความสุขของประชาชนควบคู่กับความมุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

โครงการ RAC NAMA นอกจากจะช่วยสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพตามแผนอนุรักษ์พลังงานของประเทศแล้ว ยังมีส่วนผลักดันให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้แสดงเจตจำนงและตั้งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศที่ร้อยละ 7-20 ภายในปี พ.ศ. 2563 และที่ร้อยละ 20-25 ภายในปี พ.ศ. 2573 เมื่อเทียบกับกรณีฐานปกติ โดยประเทศสามารถขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากต่างประเทศในด้านงบประมาณ การสร้างเสริมศักยภาพ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีประสิทธิภาพพลังงานสูงสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ กฟผ. ‘นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าเพื่อชีวิตที่ดีกว่า’ หรือ ‘Innovation Power Solutions for a Better Life.’”

นอกจากนี้ นายกฎชยุตม์ ยังเน้นย้ำว่า กฟผ. เองตั้งเป้าที่จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกที่ 4 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในปี พ.ศ. 2563 และที่ 10 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในปี พ.ศ. 2573 อันจะมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้แสดงเจตจำนงไว้กับประชาคมโลกต่อไป

มร.ทิม มาเลอร์ ผู้อำนวยการโครงการฯ GIZ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “เงินสนับสนุนจากกองทุน RAC NAMA Fund จำนวน 8.3 ล้านยูโรนี้ จะใช้ในการดำเนินมาตรการจูงใจทางการเงินทั้งในรูปแบบเงินอุดหนุน (Sub-Grants) และเงินทุนหมุนเวียน (Revolving Scheme) เพื่อส่งเสริมการผลิตและการใช้เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้สารทำความเย็นธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้ผลิตและผู้ซื้อระดับครัวเรือนและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงภาคบริการ เช่น การฝึกอบรมและการทดสอบอุปกรณ์ ดังนั้น กองทุน RAC NAMA Fund ถือเป็นโอกาสและทางเลือกสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียวควบคู่กับการพัฒนาขีดความสามารถด้านการแข่งขันในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นของประเทศไทย”

กองทุนระหว่างประเทศ NAMA Facility ริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ 2555 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาที่มีศักยภาพในการดำเนินโครงการเพื่อลดการก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ โดยเน้นการส่งเสริมและพัฒนาเครื่องมือทางการเงินสู่กลไกลดโลกร้อน (Climate Finance) อย่างยั่งยืนและเหมาะสมกับบริบทของแต่ละประเทศนั้นๆ สำหรับโครงการ RAC NAMA นี้ รัฐบาลสหราชอาณาจักรร่วมกับรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินผ่านกองทุน NAMA Facility โดยรัฐบาลผู้ให้ทุนทั้งสองเป็นประเทศที่มีความมุ่งมั่นและให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสนับสนุนพลังงานสีเขียว นอกจากนี้ยังพร้อมที่จะส่งเสริมประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศพันธมิตรในการจัดตั้งกองทุน RAC NAMA Fund และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการดำเนินการโครงการและกองทุน RAC NAMA จะเป็นตัวอย่างในแง่ประสบการณ์และโอกาสในการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่จะพัฒนามาตรการการเงินเพื่อลดโลกร้อนและพัฒนาเศรษฐกิจสู่สังคมคาร์บอนต่ำให้แก่ประเทศอื่นๆ ต่อไป

เปิดฉากอีกครั้งสำหรับงานสุดยิ่งใหญ่แห่งปีกับเทศกาลดอกไม้ในเรือนกระจก “Giving Blossom” ให้ใจเบิกบานที่ “ดาษดา แกลเลอรี่ ปราจีนบุรี”

“สุวดี บุญตานนท์” ผู้บริหารดาษดา แกลเลอรี่ เขาใหญ่ จ.ปราจีนบุรี บอกว่า ปีนี้ดาษดา แกลเลอรี่ จะเพิ่มพลังบวกให้ชีวิต ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Once Flower Upon A Time กาลครั้งหนึ่ง…ดอกไม้” พร้อมไฮไลต์พิเศษ “ดาษดา ไฮเดรนเยีย สายพันธุ์ดอกยักษ์” ที่พัฒนาสายพันธุ์ขึ้นเองเป็นครั้งแรกเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านธุรกิจดอกไม้ระดับพรีเมี่ยมของไทย และเป็นการรวมตัวของกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสหลากหลายสายพันธุ์และสีสันที่เยอะที่สุดในไทย ที่ถูกนำมาจัดแสดงร่วมกับเทคนิค mapping พร้อมตื่นตากับโรงเรือนปลูกดอกคริสซานติมัมกว่า 50 สายพันธุ์ นำเข้าจากเนเธอร์แลนด์ และได้รับลิขสิทธิ์จัดแสดงเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย

นอกจากนี้ยังจะได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่กับ “Glass House Cafe” คาเฟ่ชั้นลอยที่อยู่ภายในโรงเรือนปลูกดอกไม้ อิ่มอร่อยกับเมนูดอกไม้ และ Floral Gelato ที่ร้าน Boom ด้วยการนำเสนอเมนูดอกไม้พิเศษมากมาย และเพลิดเพลินกับ interactive flower photo booth ให้ได้ถ่ายภาพแบบมี movement ท่ามกลางธรรมชาติ และแวะพักที่ Dome Cafe ร้านกาแฟในโดมใสเห็นบรรยากาศป่าเขียวธรรมชาติรอบตัว @DasadaField และตุ๊กตาหมียักษ์ที่มีเรื่องเล่าว่า ยอมหนีลงจากเขาเพื่อมาชมสวนดอกไม้ของดาษดา

ไม่เพียงเท่านี้ ในปีนี้ยังได้ร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้วยการนำดอกไม้จริงจากความรัก และความตั้งใจของดาษดาฯ มาสร้างสรรค์เป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ จำนวน 2 ภาพ คือ ภาพที่ทำจากดอกบานไม่รู้โรยย้อมสีและปักทีละดอก และภาพแกะสลักและนำกลีบของดอกบานไม่รู้โรยติดทีละกลีบและเพนต์สีลงไปในภาพ

“ดาษดา ไฮเดรนเยีย นั้นโดยปกติเป็นดอกไม้ที่ออกดอกในช่วงฤดูหนาว แต่เราสามารถปลูกและออกดอกในฤดูฝนและฤดูร้อน รวมถึงมีช่อดอกขนาดใหญ่พิเศษ และแข็งแรงทนทานมากขึ้น และไฮไลต์ที่ทุกคนไม่ควรพลาด คือการแสดงชุดกระโปรงดอกไฮเดรนเยียยักษ์ที่มีความยาวถึง 7 เมตร นับเป็นความยิ่งใหญ่ครั้งแรกของไทย”

และที่พลาดไม่ได้ คือ สีสันยามค่ำคืน hliworldwatch.org Nigh Light in the Garden หลายกิจกรรมเกิดขึ้นใต้แสงดาวกับ “Flower Musical Dancing Fountain” การแสดงน้ำพุเต้นระบำ ซึ่งออกแบบโดย Wet Design บริษัทออกแบบน้ำพุอันดับ 1 ของโลก ทีมผู้สร้างเดียวกับ Bellagio Las Vegas และ Dubai Fountain ที่ไฟและน้ำปรากฏขึ้นพร้อมกัน เพื่อความงดงามอย่างลงตัวแห่งเดียวในประเทศไทย

รวมถึงการจัดแสดงไฟกับต้นไม้ยามค่ำคืน และพิเศษกว่าทุกปีกับ “Lighten Dome & French Garden” โดมตกแต่งไฟงดงาม 360 องศา ที่รายล้อมไปด้วยป่าปลูกธรรมชาติ 3 รูปแบบแตกต่างกัน ทั้งโดมไฟและลายเส้น โดมไฟและกระจก โดมไฟและน้ำ และ Dinner @ Dasada Wonderland เลือกรับประทานอาหารมื้อค่ำท่ามกลางป่าธรรมชาติ

โดยในแต่ละคืนจะรับจํานวนจํากัด พร้อมสนุกกับ music in the park ปิดท้ายยามค่ำคืนทุกคืนตั้งแต่วันนี้ยาวไปถึง 28 กุมภาพันธ์ 2561 ‘หน้างอ…คอหัก’ นิยามความอร่อยของ ‘ปลาทูแม่กลอง’ ที่ติดหูสำหรับนักชิมปลา มืออาชีพ เรียกได้ว่า ถ้าเดินทางไปถึง จ.สมุทรสงคราม แล้วไม่ได้ลิ้มลองเมนูเด็ดอย่าง ปลาทูแม่กลอง คงเสียชื่อนักชิมมืออาชีพน่าดูเชียวล่ะครับ แต่ครั้งนี้ผมไม่ได้จำเพาะเจาะจง ว่าจะพาไปชิมปลาทูแม่กลองเสียทีเดียว แต่จะแนะนำธุรกิจที่สามารถสร้างอาชีพ-สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำให้กับพ่อค้า-แม่ขาย ในย่านนี้มาอย่างยาวนาน ใช่แล้ว…เรากำลังพูดถึงอาชีพการทำ ‘ปลาทูนึ่ง’ ขายนั่นเอง

ถ้าพูดถึง “ปลาทูนึ่ง” ใครหลายคนอาจจะเข้าใจและนึกถึง การนำปลาทูไปนึ่งในซึ้งหรือในเตาอบ อย่างแน่แท้ แต่จริงๆแล้ว ปลาทูนึ่ง ไม่ใช่เป็นการนำปลาไปนึ่งนะครับ แต่จะนำปลาทูที่ได้มาต้ม หรือลวกพอแค่ตาขุ่นขาว แต่ที่เรียกว่า ปลาทูนึ่งนั้น เพราะว่าเป็นคำที่คนโบราณใช้เรียกกัน และเรียกต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

คุณสมพร ทองคง หรือ เฮียมด เจ้าของร้านปลาทูนึ่งชื่อดัง แห่งตลาดกรุงธนฯ ผู้คร่ำหวอดในธุรกิจการค้าขายอาหารทะเลมายาวนานนับ 10 ปี และหันมาเอาดีในด้านการทำธุรกิจขายส่ง-ขายปลีก ‘ปลาทูนึ่ง’ จนเป็นที่รู้จักของพ่อค้า-แม่ขายที่ตลาดเป็นอย่างดี ได้เปิดใจเกี่ยวกับการเปิดคอร์สเรียนเชิงธุรกิจ ‘ปลาทูนึ่ง’ ที่จะเกิดขึ้นที่ ศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชน (มติชน อคาเดมี) ว่า

“ปลาทูนึ่ง เป็นอีกหนึ่งเมนูทางเลือกที่คนนิยมทานกันมาก หาทานได้ง่าย ราคาไม่สูง แถมยังสามารถนำไปประกอบอาหารยอดนิยมในครัวได้หลากหลายเมนู อาทิเช่น น้ำพริกปลาทู, ฉู่ฉี่ปลาทู ฯลฯ ซึ่งแต่ละเมนูล้วนได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในท้องตลาดอีกด้วย จึงทำให้ผมเลยตัดสินใจอยากมาถ่ายทอดวิชาความรู้ให้กับคนที่อยากมีอาชีพ ให้เป็นอีกหนึ่งช่องทางเลือกในการสร้างรายได้ครับ ที่สำคัญการลงทุนทำปลาทูนึ่งนั้น ใช้ต้นทุนไม่สูงมาก แต่ทำกำไรได้ค่อนข้างดี และน่าจะเป็นหนึ่งในอาชีพที่สามารถนำไปต่อยอดเป็นธุรกิจในครัวเรือน สร้างรายได้ให้ครอบครัวไม่ยากเลยครับ” เฮียมด กล่าว

สมัยก่อนที่จะมาทำปลาทูนึ่งขายนั้น เฮียมดเคยขายของทะเลมาก่อน โดยเน้นของทะเลสดใหม่ที่มีจำหน่ายในตลาดอาหารทะเล ที่ แม่กลอง จ.สมุทรสาคร อาทิเช่น พวกกุ้ง, ปลา, ปู มาขายปลีกที่ตลาดสด จนกระทั่งวันหนึ่ง ก็นึกสนใจอยากลองนึ่งปลาทูสดขาย เพราะตัวเองเป็นคนที่คลุกคลีอยู่กับวงการอาหารทะเลมาอย่างยาวนาน และมีบ้านอยู่ที่มหาชัย จึงเห็นช่องทางว่า ปลาทูนั้น ขายง่าย กำไรดี จึงเป็นที่มาในการขายปลาทูนึ่ง จนถึงทุกวันนี้…ส่วนเทคนิค-เคล็ดลับการเลือกวัตถุดิบอย่าง ‘ปลาทูสด’ มาใช้ในการทำปลาทูนึ่งนั้น จะต้องเป็นปลาทูที่มาจากแม่กลอง แล้วนำมาผ่านกระบวนการนึ่ง ด้วยเทคนิคการปรุงรส คือ การใส่เกลือกับน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ บวกกับช่วงเวลาในการนึ่งที่เหมาะสม จึงจะทำให้ปลาทูนึ่งมีรสชาติออกมาอร่อยอย่างลงตัว