ที่สำคัญ ไม่มันเลี่ยนไม่หวานเกินไป มีความกลมกล่อมเมื่อทาน

วิธีทำ เริ่มจากเคี่ยวน้ำกะทิจนแตกมัน ใส่ปลาสดๆ ทั้งปลากะพง ปลาหม่อง ปลาอิคุด เติมรสชาติกลมกล่อม แล้วต้มให้เครื่องแกงเข้าเนื้อปลาประมาณ 2 ชั่วโมง ปิดท้ายใส่มะเขือยาวหั่นเป็นชิ้นใหญ่ลงไป

ส่วนขั้นตอนหุงข้าวมัน เริ่มจากใส่ขิงและน้ำมันลงไปในข้าวสารที่เตรียมหุง คลุกจนหอมได้ที่ จึงนำไปหุงให้สุก ด้าน อาจาด ซอยแตงกวาเป็นชิ้นเล็กๆ ปรุงด้วยน้ำส้มสายชูและน้ำตาล

ข้าวที่ร้านบังหมาดนิยมใช้ ข้าวสารหอมมะลิ ผสมกับข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อไม่ให้เม็ดข้าวแข็งหรือนิ่มจนพองเกินไป หากตักราดแกงตอแมะบนข้าวจะทำให้ไม่แฉะ

ข้าวมันแกงตอแมะราคาชุดละ 50 บาท ร้านบังหมาด โรตีโบราณ ตั้งอยู่ซอยแม่เนียน 139/18 ถ.ปานซูรำลึก ต.พิมาน อ.เมือง จ.สตูล เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่ เครือมติชนฉลองการดำเนินงานครบ 30 ปี “เทคโนโลยีชาวบ้าน” นิตยสารเกษตรอันดับหนึ่งของเมืองไทย จัดงาน “เกษตรมหัศจรรย์ 2560 พืชกินได้ ไม้ขายดี” อย่างยิ่งใหญ่ ระหว่างวันที่ 7-10 กันยายน 2560 ณ SKY HALL เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว หวังสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ หันมายึดอาชีพเกษตรที่สร้างรายได้ดี แทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว

โดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านร่วมกับองค์กรหน่วยงานภาครัฐและพันธมิตรธุรกิจภาคเอกชนเตรียมจัดงานเกษตรมหัศจรรย์ 2560 “พืชกินได้ ไม้ขายดี” ขึ้น ณ SKY HALL เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าวในวันที่ 7-10 กันยายนศกนี้ เพื่อฉลองการดำเนินงานครบ 30 ปีของนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน โดยไฮไลต์สำคัญของงานนี้ ได้แก่ นิทรรศการ “พืชกินได้ ไม้ขายดี” กับความมหัศจรรย์ของพืชที่เป็นที่สุดกว่า 100 สายพันธุ์ ทั้งไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับที่อยู่ในเทรนด์ปี 2560 ทั้งในส่วนสุดยอดไม้ผล เช่น ผลไม้ที่อร่อยที่สุด ผลไม้พันธุ์ใหม่ พันธุ์แปลก ผลไม้หายาก เป็นต้น

นายพาณิชย์ ยศปัญญา บรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ไม้ผลที่นำมาแสดงในงานครั้งนี้มีทั้งหมด 44 ชนิด แยกเป็นผลไม้อร่อยที่สุด อาทิ มะละกอแขกดำนายปรุง อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ที่ร่ำลือว่าอร่อยที่สุดในไทย ฝรั่งแป้นสีทอง กิมจู หวานพิรุณและเย็น 2 จุดเด่นของฝรั่งแชมเปี้ยนเหล่านี้ที่อร่อยที่สุดในไทย เป็นสุดยอดผลไม้สร้างอาชีพ ปลูกเพียง 1 ไร่สร้างรายได้ถึง 1 แสนบาท ส้มโอแชมเปี้ยน 4 ภาค เช่น ส้มโอเซลเลอร์ เชียงราย ส้มโอมณีอีสาน ชัยภูมิ ขาวแตงกวาจากชัยนาท และทับทิมสยามจากนครศรีธรรมราช จุดเด่นของส้มโอแชมเปี้ยนเหล่านี้ สร้างรายได้อย่างดีและได้รับความนิยมจากชาวจีน

ลองกองของแท้ธรรมชาติจากตันหยงมัส นราธิวาส ทับทิมพันธุ์จรัสแสง อ.ปากช่อง นครราชสีมา มีจุดเด่นที่เนื้อแน่น-รสชาติดี-สีสวยสด กล้วยหอมทองอินทรีย์ส่งออก อ.ท่ายาง เพชรบุรี รสชาติระดับพรีเมี่ยม ปลูกตามธรรมชาติ ตาลโตนดอินทรีย์ เพชรบุรี สับปะรดดี 4 ภาค จากภูแล เชียงราย ปัตตาเวีย เลย สวี ชุมพรและศรีราชา ชลบุรี มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง สมุทรปราการ สละพันธุ์ยอดนิยมต่าง ๆ ข้าวโพดพันธุ์อินทรีย์ 2 ที่หวานอร่อยที่สุดของไทย ขนุนทองประเสริฐ ขนุน 3 สีสุดยอดผลไม้สร้างเศรษฐกิจของเมืองไทย เมล่อนเชียงใหม่จากกลุ่มเจียไต๋

ประเภทผักผลไม้แปลกที่สุดได้แก่ เลมอนสารพัดสายพันธุ์ จุดเด่นคือ สุดยอดความเปรี้ยวจี๊ดจ๊าดที่ไม่ใช่ “มะนาว” และรูปทรงที่แปลกตา ฟักทอง สารพัดสายพันธุ์ที่มีเนื้อหลากสี บวบจิ๋วตราศรแดงจากบริษัท อีสต์ เวสท์ ซีด จำกัด ข้าวโพดหลากสี มิราเคิลฟรุ๊ต (ผลไม้มหัศจรรย์) มีจุดเด่นโชว์ความมหัศจรรย์ในการเปลี่ยนรสชาติเมื่อได้ลิ้มรส โกโก้ พันธุ์พิเศษในไทย พริกหลากสี รูปทรงแปลกหลายสายพันธุ์ หม่อนขาว ผลไม้มากคุณค่าด้วยสารอาหาร

ประเภทหายากที่สุดได้แก่ ชมพู่เพชรสายรุ้งจากเพชรบุรี ส้มจุกจะนะ จากสงขลา ลูกชก (ลูกชิดโบราณ) ลาน ลูกฆ่าแม่ จากนาดี ปราจีนบุรี รังแข สงขลา ผลไม้โบราณหาได้ยาก

ประเภทแพงที่สุดได้แก่ แคนตาลูปญี่ปุ่น จากสุโขทัย อร่อยที่สุด แพงที่สุด ราคาเมล็ดพันธุ์ 40 บาท/เมล็ด ทุเรียนมูซังคิงส์คลื่นลูกใหม่ของผลไม้จากเบตง ยะลา ก.ก.ละ 200 บาท มันเทศญี่ปุ่นหลากสี มากคุณค่าทางโภชนาการ มะพร้าวน้ำหอม รากสีชมพูจากบางคล้า ฉะเชิงเทรา แตงกวากลิ่นใบเตยจากบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด ปทุมธานี

ประเภทสายพันธุ์พิเศษล่าสุด ได้แก่ แตงโม 3 สี มากคุณค่าด้วย “เบต้าแคโรทีน” น้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร นครราชสีมา น้องใหม่ถอดด้ามแห่งวงการผลไม้ ผสานจุดเด่นของน้อยหน่าทุกสายพันธุ์ไว้ในหนึ่งเดียว เนื้อแน่นเม็ดเล็ก รสชาติดีเยี่ยม อะโวคาโดจากพบพระ ตาก สุดยอดผลไม้แห่ง “ความงาม” มีคุณค่าทางโภชนาการสูง พริกตุ้ม มะพร้าวกะทิ อ้อย 10 สายพันธุ์ ประเภทใหญ่ที่สุด ได้แก่ ขนุนมาเลเซีย ผลใหญ่เนื้อแน่น มะขามยักษ์พันธุ์ดีใหญ่ที่สุดในไทย กล้วยน้ำว้ายักษ์และมะขามป้อมยักษ์ นอกจากนี้ยังจัดแสดงพร้อมข้อมูล 30 ไม้ขายดี

ส่วนโซนนิทรรศการ “30 ปี เทคโนโลยีชาวบ้าน” นำเสนอความสำคัญของนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านในฐานะที่เป็นผู้นำข่าวสารการเกษตร ที่มีมาอย่างต่อเนื่องตลอด 3 ทศวรรษ โดยเน้นให้เห็นความสำคัญของอาชีพเกษตรที่น่าภาคภูมิใจ ทำได้จริง พร้อมอัพเดต 10 อาชีพเกษตรฮอตในโลกโซเชียล มีนิทรรศการ 3 เกษตรกรดีเด่นปี 2560 ที่ประสบความสำเร็จได้แก่ 1.ณ นพชัย ผิวเกลี้ยง เกษตรกรรุ่นใหม่ผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ตะเภาทองเกษตรศาสตร์ ซึ่งเกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ ระหว่างไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์หนึ่งที่เกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว ความพิเศษจากเนื้อไก่คือ มีรสสัมผัสต่างจากไก่บ้าน เนื้อไม่เหนียวมากเกินไปจึงถูกใจผู้ที่ได้ลิ้มรส นอกจากนี้มีราคาสูงถึง กก.ละ 150-170 บาท

ประกิต โพธิ์ศรี เกษตรกรรุ่นใหม่ผู้เพาะเลี้ยงและพัฒนาสายพันธุ์ “หม้อข้าวหม้อแกงลิง” ให้มีความโดดเด่นและหลากหลาย จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ และยังเปิดสวนให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักศึกษาด้วย 3.การต์รวี บัวบุญ Young Smart Farmmer จากมหาสารคาม อดีตพยาบาลที่ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว พลิกฟื้นผืนนา 22 ไร่ ให้กลายเป็นฟาร์มเลี้ยงเป็ดไข่ ไก่ไข่และไก่ประดู่หางดำ จนประสบความสำเร็จ นอกจากเป็นผู้ผลิตแล้วยังใช้การตลาดเพื่อเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคโดยตรงด้วย นับเป็นการยกระดับอาชีพเกษตรกร จนกลายเป็นไอดอลคนสำคัญของเกษตรกรรุ่นใหม่

นอกจากนี้ พลาดไม่ได้กับกิจกรรมแจกฟรี ไม้ขายดี พันธุ์พรีเมี่ยม แก่ผู้ที่มาร่วมงาน 10 ชนิด อาทิ ลีลาวดีสีพิเศษดอกจิ๋วและกลีบซ้อน กิจกรรม ?ดาวเรืองแทนใจ” ปลูกดอกไม้ถวาย ร.9 ด้วยการแจกฟรีต้นกล้าดาวเรืองวันละ 540 ต้น เพื่อระลึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยดาวเรืองทั้งหมดจะออกดอกบานสะพรั่งในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย อาทิ การเสวนาความรู้อัพเดตเทรนด์ด้านเกษตรกรรมจากกูรูด้านการเกษตร เวิร์กช็อปเกษตร-ศิลป์ 4 วัน 7 หลักสูตร เป็นต้น

ในงานนี้ยังมีการจำหน่ายพันธุ์พืช ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ คัดสรรจากสวนดังทั่วไทย สินค้ากลุ่มเกษตรและอุปกรณ์ตกแต่งสวน ของกินของใช้ระดับ 5 ดาวจากผู้ประกอบการ SMEs ทั่วประเทศ และอาหารดังอาหารเด็ดรวมแล้วกว่า 200 ร้านค้า พิเศษกับกิจกรรม 30 ปีเทคโนฯคืนกำไร ช็อปครบ 300 บาท สามารถจับสลากลุ้น 30 รางวัลใหญ่ได้ทันที

ถือเป็นการฉลองครบรอบ 30 ปีของนิตยสารที่อยู่คู่กับชาวเกษตรมาอย่างยาวนานและเป็นหนึ่งในงานเกษตรยิ่งใหญ่ประจำปีที่ไม่ควรพลาด นครศรีธรรมราช เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วย ธรรมชาติ ป่าไม้ และแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ สองข้างทางเต็มไปด้วยต้นไม้ที่เขียวขจี นครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดที่มีฝนตกชุก หรือที่คนท้องถิ่นพูดกันจนชินปากว่า ฝน 8 แดด 4 หมายความว่าที่นีมีฤดูฝนถึงแปดเดือน ฝนแล้งเพียง 4 เดือน แต่ก็ต้องแปลกใจว่าจังหวัดนครศรีธรรมราช กลับประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ยามฝนตกหนักก็เกิดอุทกภัย แต่เมื่อฝนตกน้อยเกิดแล้งน้ำไม่พอใช้พอกิน ด้วยปัญหาเหล่านี้ ทางเอสซีจี จึงได้เล็งเห็นความสำคัญ และเป็นห่วงพี่น้องชาวนครศรีธรรมราช จึงได้จัดกิจกรรม “รักษ์น้ำ The Journey สานต่อที่พ่อทำ สร้างฝายทั่วไทย” ขึ้นมา ที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช สนับสนุนชุมชนและเยาวชนคนรุ่นใหม่ นำการเรียนรู้จากชุมชนต้นแบบฝายชะลอน้ำตามแนวพระราชดำริมาขยายผลการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ของตนเองอย่างเหมาะสม สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นการริเริ่มการเตรียมความพร้อมรับปัญหาน้ำท่วมน้ำหลาก รวมถึงปัญหาน้ำแล้งในภาคใต้ซึ่งเริ่มเป็นปัญหาในพื้นที่แล้ว

นายอาสา สารสิน ประธานคณะกรรมการกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจี ได้น้อมนำแนวพระราชดำริการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำมาดำเนินงานร่วมกับชุมชน ภายใต้โครงการ” “เอสซีจี รักษ์น้ำเพื่ออนาคต” ตั้งแต่ปี 2550 ช่วยแก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วม และต่อยอดไปสู่การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร ทำให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ก่อเกิดอาชีพ สร้างรายได้ และความเข้มแข็งให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน”

นอกจากนี้ เอสซีจียังสานต่อโครงการ “เอสซีจี รักษ์น้ำเพื่ออนาคต” กับกิจกรรม “รักษ์น้ำ The Journey สานต่อที่พ่อทำ สร้างฝายทั่วไทย” ระยะที่ 2 เป็นการต่อยอดจากระยะที่ 1 ซึ่งนำแกนนำจากชุมชนและตัวแทนเยาวชนรุ่นใหม่ จากจังหวัดกาญจนบุรี นครศรีธรรมราช และขอนแก่น ไปเรียนรู้และเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ป่ารอบโรงงานบริษัทปูนซีเมนต์ไทย(ลำปาง) จำกัด และป่าของชุมชนโดยรอบโรงงาน อันเป็นผลมาจากการสร้างฝายชะลอน้ำ ได้ลงมือสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อนำประสบการณ์จริงและความรู้ที่ได้รับกลับไปใช้แก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำในชุมชนของตนเอง และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สมาชิกในชุมชนได้

นายธรากร ธรรมกิจ (พี่หลวง) ตัวแทนชุมชนบ้านน้ำพุ ต.ถ้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช เล่าให้ฟังว่า พื้นที่บ้านน้ำพุ นอกจากปัญหาน้ำท่วมน้ำหลาก ยังเริ่มจะประสบปัญหาน้ำแล้ง ประกอบกับอาชีพของชาวบ้านที่นี่ ปลูกยางกันเป็นส่วนใหญ่ ยางพาราเป็นพืชที่ใช้น้ำเยอะคิด 100 % คิดเป็นน้ำยางแค่ 30 % อีก 70 % เป็นน้ำ ดังนั้นเราจึงต้องเริ่มตระหนักและหาวิธีแก้ปัญหาเพื่อให้อยู่รอด อย่างเช่นการสร้างฝายชะลอน้ำ ซึ่งพื้นที่ตรงนี้คืออ่าวอีแกะ บ้านน้ำพุ ติดแนวเขาบรรทัด นับว่าเป็นพื้นที่สร้างฝายชะลอน้ำเป็นที่แรกของจังหวัดนครสีธรรมราช

พี่หลวงยังเล่าถึงแผนการดำเนินงานอีกว่า ตอนนี้ตนได้ตั้งเป้าการทำฝายชะลอน้ำจำนวน 100 ฝาย ณ ปัจจุบันทำได้ 20 ฝายแล้ว ซึ่งได้รับผลเป็นที่น่าพอใจ การสร้างฝายสามารถช่วยต่อชีวิตชาวบ้านได้ อย่างน้อยจากที่ต้องแล้งนาน 3 เดือน อาจจะเหลือแค่ 2 เดือน เพราะฝายได้ช่วยชะลอน้ำไว้ให้กินใช้ต่อเวลาได้ถึง 1 เดือน ส่วนความร่วมมือ ก็ได้รับความร่วมมือค่อนข้างดี จะมีช่วงแรกๆ ที่โดนค้าน หรือบอกว่าเราบ้าบ้าง แต่ผมไม่ท้อ ผมใช้วิธีทำให้เห็น เมื่อยามเกิดปัญหา แล้วสิ่งที่เราทำไว้ได้ย้อนกลับมาช่วยพวกเขา เขาก็เริ่มเห็นคุณค่าในสิ่งที่เราทำ จึงเกิดการร่วมมือร่วมใจในการทำฝายต่อไป เพราะชาวบ้านเขารู้แล้วว่าสิ่งนี้ทำแล้วดี ช่วยชีวิตเขาได้จริงๆ

นายณฤภณ เพ็งเพ็ชร์ จิตอาสาจาก ม.วลัยลักษณ์ เยาวชนจิตอาสา ที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ได้บอกเล่าถึงความรู้สึกกับกิจกรรมในครั้งนี้ว่า ผมได้เล็งเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของน้ำมาโดยตลอด เพราะน้ำอยู่กับเราตั้งแต่ตอนตื่น “ตื่นเช้ามาก็ใช้น้ำในการปฎิบัตกิจวัตรประจำวัน เราใช้น้ำทั้งวัน” น้ำเป็นทรัพยากรที่มีค่า ถ้าไม่อนุรักษ์ หรือปล่อยให้ไหลลงสู่ทะเลโดยที่ไม่ได้ใช้หรือทำให้เกิดประโยชน์ ผมคิดว่ามันน่าเสียดาย ผมจึงคิดและพยายามหากิจกรรมเพื่อที่จะเข้าร่วมมาเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์น้ำ จนได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำในครั้งนี้ การสร้างฝายชะละน้ำเป็นการลดปริมาณน้ำไหลทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ และนอกจากตัวผมเองแล้วยังมีเพื่อนที่มีจิตอาสาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้อีกกว่า 30 คน โดยใช้พื้นที่ในสื่อโซลเชี่ยวเป็นการชักชวนเพื่อนๆ พี่ๆ ที่อยากจะรักษาต้นน้ำลำธารไว้ แต่ไม่มีโอกาส ก็ให้มาร่วมกับเราได้

ทางด้านของ นายมูฮัมหมัดนัสรูณ เหลาเหม จิตอาสาจาก ม.ฟาฏอนี เล่าว่า จุดเริ่มคือในชีวิตประจำวันเราต้องใช้น้ำทุกวัน และได้เห็นพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชกาลที่ 9 ท่านทรงทำให้เราเห็นถึงความสำคัญของน้ำ “น้ำคือชีวิต” ดังนั้นเราจะนิ่งนอนใจได้อย่างไร ยิ่งตัวผมแล้ว ผมป็นมุสลิม ตามศาสนาต้องชำระร่างกายวันละ 5 ครั้ง ผมจึงอยากเป็นหนึ่งในส่วนที่จะช่วยในการรักษาต้นน้ำ และช่วยพัฒนาต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น จนได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมสร้างฝายกับเอสซีจี ถือว่าเป็นการสารฝันของผมให้เป็นจริง และผมขอยืนยันว่าผมจะทำดีต่อไป ไม่ใช่เพื่อตัวผมอย่างเดียว แต่ถ้าทุกคนร่วมใจกันแล้ว เราจะไม่ประสบกับภาวะแห้งแล้งอีก นั้นก็หมายความถึงชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พืชผลทางการเกษตรออกต้องตามฤดูกาล และสิ่งเหล่านี้ยังส่งผลไปถึงเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย

กรมส่งเสริมการเกษตร เผยแมลงเศรษฐกิจอาหารจากชุมชนถึงอาหารทางเลือกใหม่ (Novel Food) แมลงเศรษฐกิจที่ทำตลาดได้ดีทั้งในประเทศ และตลาดต่างประเทศ ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับประเทศได้อย่างน่าสนใจ

นางวิลาวัลย์ วงษ์เกษม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวว่า โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (แมลงเศรษฐกิจ) กรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะที่เป็นหน่วยงานภาครัฐเพียงแห่งเดียวในการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจให้ช่วยผสมเกสรให้กับพืชผลทางการเกษตร เช่น ผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง ชันโรง และได้ผลพลอยได้เป็นผลผลิต เช่น น้ำผึ้ง เกสร ไขผึ้ง พรอพอลิส เป็นต้น รวมไปถึงแมลงที่สามารถนำมาเลี้ยงและบริโภคได้ เช่น จิ้งหรีด ซึ่งปัจจุบันเป็นอาหารทางเลือกใหม่ (Novel Food) ที่มีโปรตีนสูง สามารถส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้ สร้างอาชีพและมีรายได้จากผลผลิตของแมลงเศรษฐกิจที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งในระดับชุมชน และระดับประเทศ

ในปี 2559 กรมส่งเสริมการเกษตรได้นำผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง ชันโรง เข้าไปช่วยผสมเกสรพืชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในแปลงใหญ่ไม้ผล และในปี 2560 ได้นำระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่เข้ามาใช้อย่างเป็นทางการโดยการคัดเลือกพื้นที่ๆ มีศักยภาพในด้านพืชอาหาร ความพร้อมของกลุ่มเกษตรกรในการบริหารจัดการแบบรวมกันผลิตเป็นกลุ่ม เพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยร่วมกันหาปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ ราคาถูก นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อพัฒนาการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ การแปรรูปเพื่อเพิ่มผลผลิตมูลค่าผลผลิต การเชื่อมโยงการตลาดเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการโซ่อุปทาน (Supply chain) อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างอำนาจการต่อรองให้แก่เกษตรกร และสามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม ในสินค้าแมลงเศรษฐกิจจำนวน 4 ชนิด ได้แก่ ผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง ชันโรง จิ้งหรีด จำนวน 25 แปลง เกษตรกร จำนวน 980 ราย 19 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี สระแก้ว มหาสารคาม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชุมพร ตรัง พัทลุง สงขลา ระนอง แพร่ ตราด พิจิตร นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์ น่าน และลำพูน

ผู้ใหญ่สาย เปร็นรัมย์ ประธานแปลงใหญ่แมลงเศรษฐกิจ (จิ้งหรีด) ต.หนองแวง อ.โคกสูง จ.สระแก้ว กล่าวว่า ตนและคนในหมู่บ้านมีอาชีพการเลี้ยงจิ้งหรีดมาตั้งแต่ปี 2552 จากประสบการณ์ที่ผ่านมาจิ้งหรีดเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่ตลาดตอบรับดี เลี้ยงง่าย และมีต้นทุนที่ไม่สูงมากนัก เหมาะสำหรับทำเป็นอาชีพหลัก และอาชีพเสริมไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารจัดการ ถ้าสามารถบริหารจัดการได้ดีก็เลี้ยงให้มากพอที่จะมีรายได้เป็นอาชีพหลัก ส่วนคนที่ไม่มีเวลาหรือมีอาชีพหลักอื่นๆ อยู่แล้วก็เลี้ยงในปริมาณที่น้อยเป็นอาชีพเสริมได้

ปัจจุบันในพื้นที่ อ.โคกสูง จ.สระแก้ว bndindia.com มีเกษตรกรที่เลี้ยงจิ้งหรีดจำนวน 60 ราย แต่ที่เข้าร่วมโครงการแปลงใหญ่นั้นมีจำนวน 50 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่เลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพหลัก ซึ่งเฉลี่ยรายได้หลักหมื่นขึ้นไปขึ้นอยู่กับปริมาณในการเลี้ยง ใครมีพื้นที่เยอะก็สามารถเลี้ยงเยอะได้ ส่วนด้านการตลาดกลุ่มแปลงใหญ่จิ้งหรีดจะทำตลาดด้วยการขายตัวสด ตัวนึ่ง และแปรรูปเป็นจิ้งหรีดอัดกระป๋อง โดยเน้นเป็นจิ้งหรีดไข่ เพราะมีรสชาติดีมีคุณค่าทางอาหารสูง และเป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่าจิ้งหรีดธรรมดา

สำหรับเกษตรกรที่เข้าเข้าร่วมแปลงใหญ่จิ้งหรีด กลุ่มของอำเภอโคกสูง ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวตั้งแต่ปี 2560 และมีกิจกรรมด้านการพัฒนาความรู้ในการผลิตจิ้งหรีดอย่างต่อเนื่อง มีการอบรม ไปดูงานร่วมกัน ใครมีปัญหามาพูดคุยกัน ในส่วนของภาครัฐก็จะมีการนำเทคนิคการเลี้ยงจิ้งหรีดให้มีคุณภาพมาส่งเสริมให้กับเกษตรกร แนะวิธีการลดต้นทุนการผลิต เช่น รวมกลุ่มกันซื้ออาหารเพื่อที่จะได้วัตถุดิบในราคาถูกมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันกลุ่มของเราสามารถลดต้นทุนการผลิตลงไปได้รายละ 1,000 บาท/เดือน และคาดว่าในอนาคตการเลี้ยงจิ้งหรีดจะสามารถขยายช่องทางการตลาดได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงสร้างมูลค่าได้เพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการพัฒนาคุณภาพผลผลิตจิ้งหรีดให้มีความหลากหลายของสินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดนั่นเอง

“กกร.” ทำหนังสือถึงกระทรวงแรงงาน เร่งแก้ปมกฎหมายตั้ง “สหภาพแรงงานต่างด้าว” ใหม่ ยันปัญหาหนักอก

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ และประธานคณะกรรมการแรงงาน และพัฒนาฝีมือแรงงาน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ทางคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้ทำหนังสือแสดงความคิดเห็นไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงแรงงาน เรื่องการยกร่างแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 โดยเฉพาะมาตรา 45 ที่กำหนดไว้ว่า ในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ลูกจ้างอาจจัดตั้ง คณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้น หรือสหภาพแรงงานต่างด้าวได้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามกฎหมายดังกล่าว ทำให้ยังไม่สามารถให้ข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ได้ โดยต้องรอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาชี้แจงถึงรายละเอียดต่อไป

นายพจน์กล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ที่ได้กำหนดให้มีผู้ประกอบการ นายจ้าง หรือผู้ที่ใช้แรงงานต่างด้าวตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป รวมไปถึงตัวของแรงงานต่างด้าวเอง ให้มาขึ้นทะเบียนการทำงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะครบกำหนดการขึ้นทะเบียนในวันที่ 7 สิงหาคม 2560 ทั้งนี้ หากไม่ดำเนินการขึ้นทะเบียนตามกำหนดดังกล่าว ทางรัฐบาลจะดำเนินการตามกฎหมายทันที

ตอนนี้ทางสภาหอการค้าฯได้มีการประสานงานและให้ความร่วมมือกับทางรัฐบาลอย่างเต็มที่ในการขึ้นทะเบียนแรงงานเพื่อให้ถูกต้อง แต่ผู้ประกอบการยังมายื่นความจำนงในการใช้แรงงานต่างด้าวจำนวนไม่มากเมื่่อเปรียบเทียบ กับสภาพความเป็นจริง และสิ่งที่สภาหอการค้าฯเป็นห่วงมาก คือ แรงงานในกลุ่มเกษตรกรรม ก่อสร้าง และพวกแม่บ้าน ซึ่งเป็น 3 กลุ่มหลักที่ยอมรับว่ามีการใช้แรงงานต่างด้าวจำนวนมาก และยังมีแรงงานต่างด้าวอีกจำนวนมากที่ยังไม่ขึ้นทะเบียน ดังนั้นจึงต้องการเร่งนำไปขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง เพราะหากตรวจพบอาจจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย

นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)กล่าวกับ“ประชาติธุรกิจ”ว่า ขณะนี้การยกร่างแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 อยู่ระหว่างการพิจารณาแก้ไขของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) หลังจากที่ กกร. และภาคเอกชนได้ยื่นคำร้องไป โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความเท่าเทียมในการปฏิบัติของแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทย และแรงงานไทยที่ทำงานในต่างประเทศ ซึ่งหากเปรียบเทียบกันแล้วปัจจุบันประเทศไทยให้สิทธิ์แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยมากกว่า