ที่สุดแห่งพืชที่เอื้อประโยชน์แก่มนุษย์โลกมาอย่างยาวนาน

แล้วเราจะปล่อยปละละเลยไม่สนใจหรือทิ้งไปจากความเชื่อถือและความสำคัญ โดยเฉพาะ กระเทียมชำบุ่น ปลอดภัยระดับอินทรีย์ หัวเล็ก กลีบเล็ก คุณภาพสูง ไม่ควรห่างหายไกลจากความรำลึกถึง

นายปรีชา กิจถาวร ประธานฝ่ายเศรษฐกิจพอเพียงและสมาร์ทฟาร์มเมอร์ หอการค้าจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า จากการประชุมหอการค้าทั่วประเทศในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา มีบางจังหวัดที่มีการปลูกทุเรียนแปลงขนาดใหญ่ ซึ่งน่าหวั่นวิตกเรื่องตลาดการส่งออกในอนาคต เพราะปัจจุบันทุเรียนมีการปลูกเพิ่มเป็นจำนวนมาก และมีตลาดส่งออกกระจุกตัวอยู่ที่ประเทศจีนประเทศเดียว ไม่ได้ขยายไปสู่การตลาดในประเทศอื่นๆ โดยมีตัวเลขสูงถึง 90% ซึ่งส่งผลกระทบได้ง่ายหากเกิดตัวแปรที่เปลี่ยนไปในตลาดประเทศจีน

นายนัด ดวงใส ที่ปรึกษาชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสท.) เปิดเผยว่า ในระยะ 2-3 ปี ที่ผ่านมา มีการโค่นยางพารา ปาล์มน้ำมัน เพราะทิศทางตกต่ำ และเปลี่ยนไปปลูกทุเรียนเป็นจำนวนมาก รวมถึงเกษตรกรในประเทศมาเลเซียเองเช่นเดียวกัน คาดว่าแนวโน้มภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า ทิศทางราคาทุเรียนอาจมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากทุเรียนใหม่ที่เพิ่งปลูกออกผล

นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จ. สงขลา (สกก. ที่ 5 สงขลา) เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สำหรับทุเรียนในพื้นที่ภาคใต้ อยู่ระหว่างการสำรวจข้อมูลโดยในวันที่ 20 ธค. 61 จะรับทราบ และกลางเดือนมกราคม 2562 โดยมีการเฝ้ารายงานเป็นประจำเดือนของการเคลื่อนไหวในการปลูกทุเรียน โดยที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงจากการโค่นยางและปาล์มน้ำมัน เพื่อปลูกทุเรียนเป็นจำนวนมาก จากเดิมประมาณ 5-10% หรือจากพื้นที่ปลูกเดิม 400,000 ไร่ เพิ่มขึ้นประมาณ 40,000-50,000 ไร่ ถือได้ว่ายังไม่ห่วงเรื่องปริมาณสินค้าล้นตลาด

“ภาคใต้ มีการเกาะติดข้อมูลและรายงานทุกเดือน ทุเรียนเป็นเกษตรที่มีความประณีต ต้องการความประณีต การเปลี่ยนแปลงโค่นยางพาราปลูกทุเรียนมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ด้วย เพราะต้องเป็นพื้นที่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ ในขณะที่สวนยางพาราเป็นพื้นที่น้ำที่ยังไม่อุดมสมบูรณ์ ทุเรียนภาคใต้จึงยังไม่น่าวิตกกังวลถึงการมีปริมาณล้นตลาด” นายสุพิท กล่าว

นายสุพิท อธิบายเพิ่มเติมว่าในภาคใต้การปลูกทุเรียนแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มปลูกทุเรียน ทำการผลิตเชิงการค้า เช่น จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช

2.กลุ่มปลูกทุเรียนเฉพาะถิ่น เช่น ทุเรียน ทรายขาว จ.ปัตตานี ทุเรียนสาลิกา จ.พังงา ซึ่งมีปริมาณน้อย แต่ตลาดรองรับมีความต้องการมาก และ

3.กลุ่มปลูกทุเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งกลุ่มนี้จะออกผลผลิตหลังจากทุเรียนที่ผลิตใน จ.ชุมพร และมีผลผลิตคุณภาพส่งออกเพียงครึ่งเดียว อีกครึ่งไม่ได้ส่งออก เน้นแปรรูปในพื้นที่ ยังสามารถพัฒนาเพื่อการส่งออกได้

4.กลุ่มทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง เช่น จ.พังงา กระบี่ ภูเก็ต และทุเรียนพันธุ์มูซันคิง จ.ยะลา กลุ่มนี้ ไม่มีปัญหา เพราะมีปริมาณที่น้อยหากเอ่ยถึง “บึงกาฬ” นอกจากยางพาราพืชเศรษฐกิจเลื่องชื่อแล้ว จังหวัดนี้ยังมีอะไรดีๆ อีกมากที่เรายังไม่รู้ ในฤดูท่องเที่ยวนี้ลองหาเวลามาสัมผัสเสน่ห์สักครั้งจะรู้เลยว่า…จังหวัดที่ 77 เหนือสุดแดนอีสานไทยแห่งนี้มีดีกว่าที่คิด เพราะมากด้วยแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และวิถีชีวิตชุมชนจากชาวบ้านท้องถิ่นที่มีแต่รอยยิ้มพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลก

ห่างจากตัวเมืองจังหวัดบึงกาฬราว 45 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางไม่นานถึงจุดหมายปลายทางที่ตั้งใจไว้ บ้านสุขสาคร อำเภอพรเจริญ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2510 ปัจจุบันเป็นหนึ่งในหมู่บ้านวัตวิถี มีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจคือ ทุ่งบัวแดงหนองเลิง ซึ่งดอกบัวแดงจะบานเป็นสีชมพูเข้มสุดลูกหูลูกตาในฤดูท่องเที่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี

ยามว่างของชาวบ้านสุขสาครนอกจากทำไร่นา ประมงน้ำจืด ตามวิถีชีวิตแล้ว ยังรวมกลุ่มต่อยอดไอเดียนำดอกบัวแดง ที่นอกจากจะมีความสวยงามและมากด้วยสรรพคุณแล้ว มาแปรรูปเป็น ชาดอกบัว และสบู่ดอกบัว สร้างรายได้เข้าชุมชนอีกด้วย

คุณสกาวเดือน วงศ์วิจิตร อายุ 49 ปี เจ้าหน้าที่ประสานงานสมาชิกกลุ่มแม่บ้านสุขสาคร เล่าอย่างอารมณ์ดีว่า กลุ่มชาวบ้านนำบัวมาแปรรูปเป็นชาดอกบัว และสบู่ดอกบัว ได้ประมาณ 1 ปีแล้ว โดยมีพัฒนาชุมชนเข้ามาอบรมตั้งแต่หาสูตรจนถึงกระบวนการทำออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ 2 ตัวนี้

โดยผลิตภัณฑ์ตัวแรกคือ ชาดอกบัว คุณสกาวเดือน เล่าว่า ชาดอกบัวทำมาจากเกสรบัว นำเกสรคั่วไฟอ่อนๆ แล้วนำไปตากแดด มีคุณสมบัติป้องกันโรคอัลไซเมอร์ เมื่อรับประทานจะมีรสชาติและกลิ่นหอมจากเกสรบัว ชงกินร้อนๆ อร่อยไม่แพ้ชาสูตรอื่นๆ

ส่วนผลิตภัณฑ์ตัวที่สองคือ สบู่ดอกบัว มีลักษณะก้อนกลม สีน้ำตาลอ่อน และสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมติดจมูก ทำมาจากจุกบัว มี 2 สูตรให้เลือกใช้คือ อัญชัน กับขมิ้น มีวัตถุดิบในการทำคือ กลีเซอรีน น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น น้ำผึ้ง วิตามินอี น้ำจมูกข้าวหอมมะลิ ผงขมิ้น และน้ำดอกอัญชัน

วิธีการทำไม่ยาก คุณสกาวเดือนอธิบายขั้นตอนให้ฟัง เริ่มจากนำกลีเซอรีนต้มกับไอน้ำให้ละลาย จากนั้นนำจุกบัวที่ปั่นไว้แล้วใส่ลงไป คนให้เข้ากัน เสร็จแล้วใส่น้ำผึ้ง วิตามินอี ตามด้วยน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น คนให้เข้ากันเช่นเดิม แล้วใส่อัญชันหรือขมิ้นตามสูตรที่ต้องการลงไป ก่อนยกลงจากเตาให้นำน้ำจมูกข้าวหอมมะลิผสม นำใส่แม่พิมพ์ ทิ้งให้เย็นเข้ารูป สำเร็จเป็นสบู่

สำหรับสินค้านอกจากผลิตภัณฑ์ 2 ตัวข้างต้น ทางกลุ่มยังมีสินค้าแปรรูปจากฝีมือชาวบ้านอื่นๆ อาทิ ทองม้วน สเปรย์ไล่ยุงตะไคร้หอม ซึ่งสินค้าทั้งหมดตอนนี้จำหน่ายในหมู่บ้าน และงานแสดงสินค้าบ้างประปราย

ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia) คือ ระดับไขมันในเลือดที่มีคอเลสเตอรอล มากกว่า 200 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร ระดับไตรกลีเซอไรด์ มากกว่า 150 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร ระดับ HDL-cholesterol (HDL-C) หรือไขมันดี น้อยกว่า 40 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร ระดับ LDL-cholesterol (LDL-C) หรือไขมันเลวมากกว่า 130 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร โดยยิ่งหากมีไขมันตัวร้ายมาก ก็ยิ่งก่อปัญหาหลอดเลือดอุดตันได้มาก ส่งผลกระทบให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดส่วนปลาย หลอดเลือดสมองตีบ แตก ตัน ในทางกลับกันหากยิ่งมีปริมาณไขมันตัวดีสูง ก็จะส่งผลดีกับร่างกายมากขึ้น เพราะไขมันตัวดีจะทำหน้าที่เก็บไขมันส่วนเกินจากผนังหลอดเลือดกลับไปทำลายที่ตับ

ในการรักษาแผนปัจจุบันเหมือนกับการใช้ยาสมุนไพรในการรักษา ตรงที่ยาไม่ได้มีผลลดไขมันได้ 100% จำเป็นต้องอาศัยการควบคุมอาหารร่วมด้วยเสมอเป็นอันดับแรก คือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ของมันของทอด กะทิ เครื่องในสัตว์ หรือแม้กระทั่งขนมจุกจิก น้ำอัดลม เครื่องดื่มน้ำผลไม้ กาแฟ หากมีการใส่น้ำตาลปรุงรสในปริมาณมาก ก็จะเพิ่มพลังงานให้กับสิ่งที่เรารับประทาน ซึ่งหากร่างกายเรามีการใช้พลังงานน้อยกว่าพลังงานจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ร่างกายก็จะเก็บสะสมในรูปไขมันได้ และหมั่นอออกกำลังกาย ครั้งละ 30-40 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 วัน และในคนที่สูบบุหรี่ พบว่าหากหยุดสูบบุหรี่ จะทำให้ไขมันชนิดดีไม่ลดต่ำลงได้ และยังลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจอีกด้วย ในส่วนของสมุนไพรไทยที่งานวิจัยสนับสนุนยืนยันว่า มีส่วนช่วยในการลดไขมันได้จริง มีดังนี้

5 อภินิหาร ผักฆ่าไขมัน

ขิง มีการศึกษาหนึ่งของต่างประเทศพบว่า การรับประทานขิงแคปซูลวันละ 3 กรัม ต่อวัน โดยแบ่งให้วันละ 3 เวลา เป็นเวลา 45 วัน สามารถลดระดับไขมันคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ ขิงยังมีป้องกันการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดได้อีกด้วย

กระเทียม นอกจากจะลดความดันได้แล้ว ยังมีผลลดไขมันในเลือดได้ โดยมีการศึกษาพบว่า เพียงคุณรับประทานกระเทียมวันละ 1-2 กลีบ หรือรับประทานในรูปแบบผงกระเทียม 600-900 มิลลิกรัม ต่อกรัม เป็นเวลา 2 เดือนขึ้นไป จะมีผลลดไขมันคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ โดยมีการศึกษาหนึ่งพบว่าหากรับประทานเป็นเวลา 16 สัปดาห์ สามารถลดไขมันคอเลสเตอรอลได้ 12% ลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้ 17%

ควรระวังการรับประทานกระเทียมและขิงในรูปแบบสารสกัด หรือการรับประทานในปริมาณมากในผู้ป่วยที่มีการรับประทานยาละลายลิ่มเลือดร่วมด้วย เพราะกระเทียมและขิง อาจมีผลเพิ่มฤทธิ์ยาละลายลิ่มเลือด

กระเจี๊ยบแดง มีสารออกฤทธิ์สำคัญคือ แอนโทไซยานิน ซึ่งพบว่ามีผลลดระดับไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ได้ดีมาก ลดไขมันชนิดร้าย (LDL) ลดคอเลสเตอรอล อีกทั้งยังมีผลช่วยเพิ่มระดับไขมันดี (HDL) โดยเห็นผลเมื่อดื่มชาชงกระเจี๊ยบวันละ 2 เวลา เป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 1 เดือน

ตรีผลา ตำรับสมุนไพรที่ประกอบขึ้นด้วยผลไม้สามอย่างคือ สมอไทย สมอพิเภก และมะขามป้อม มีผลลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้ โดยอาจรับประทานอย่างน้อยคืนละ 1 แก้วต่อเนื่องทุกคืน นอกจากจะลดไขมันในเลือดได้แล้ว ตรีผลายังมีส่วนช่วยในการรักษาภาวะไขมันพอกตับอีกด้วย (fatty liver)

ดอกคำฝอย มีสารสีเหลืองส้ม คนโบราณใช้ในการแต่งสีอาหาร โดยการนำกลีบดอกมาแช่น้ำร้อน ซึ่งสารนั้นมีชื่อว่า Carthamin และ Sufflower yellow อีกทั้งในเมล็ดดอกคำฝอยยังมีน้ำมันระเหยยาก เรียกว่าน้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย มีส่วนประกอบของกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวหลายชนิด มีผลลดระดับคอเลสเตอรอลและไขมันตัวร้าย (LDL) และป้องกันการอุดตันของไขมันในเลือด รวมทั้งมีผลในการป้องกันโรคหัวใจได้ด้วย โดยอาจรับประทานในรูปแบบชาชงวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 ซอง ตอนเย็นหรือก่อนนอน นอกจากนี้ ยังพบว่าการรับประทานหอมเล็ก หอมใหญ่เป็นประจำ ก็จะมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับไขมันในเลือดได้ โดยรับประทานเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 หัว

การจัดงานวันยางพาราบึงกาฬ 2562 ในวันที่ 3 ตรงกับช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ มีเกษตรกรและประชาชนสนใจเข้าร่วมชมงานกันอย่างคึกคักตลอดทั้งวัน โดยช่วงบ่าย เปิดเวทีปราชญ์ชาวบ้าน เสวนาพร้อมความรู้ สู่การสร้างรายได้ที่ยั่งยืน มีผู้สนใจเข้ารับฟังเสวนาในหัวข้อต่างๆ เป็นจำนวนมาก

สร้างถนนยางทุกหมู่บ้านทั่วไทย
ดึงยางจากตลาดได้ถึงร้อยละ 50 เวทีเสวนา “ ถนนยางพาราดินซีเมนต์ ทางรอดของการใช้ยางพารา ” ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร. ระพีพันธ์ แดงตันกี รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนางานวิจัยและอุตสาหกรรมสัมพันธ์ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และคุณนิพนธ์ คนขยัน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ (อบจ.บึงกาฬ) ร่วมแชร์ข้อมูลการสร้างถนนยางพาราดินซีเมนต์ บนเวทีเสวนาในครั้งนี้

ผศ.ดร. ระพีพันธ์ เปิดเผยว่า ถนนยางพารา เกิดจากงานวิจัยเมื่อปลายปี 2556 และเปิดตัวเป็นครั้งแรกในงานวันยางพาราบึงกาฬเมื่อ 3 ปีที่แล้ว งานวิจัยชิ้นนี้ได้แรงบันดาลใจจาก นวัตกรรมสร้างถนนของเยอรมัน ที่ประสบปัญหาการก่อสร้างถนนที่มีความชื้นสูง ทำให้ถนนทรุดได้ง่าย จึงพัฒนาการรักษาคุณภาพถนนรูปแบบใหม่ เรียกว่า “ ถนนโพลีเมอร์ซอยซีเมนต์ (Polymer Soil Cement ) ”

ผลงานดังกล่าวจุดประกายความคิดให้ ผศ.ดร. ระพีพันธ์ นำสารโพลิเมอร์สังเคราะห์มาใช้ร่วมกับน้ำยางพาราเพื่อสร้างถนนยางพารา ที่มีโครงสร้างแข็งแรง ถนนไม่ลื่นแม้เจอฝน นวัตกรรมดังกล่าวช่วยเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราภายในประเทศอีกต่างหาก 2 ปีต่อมาประเทศไทยประสบปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ทำให้นวัตกรรมถนนยางพารา ได้รับความสนใจจากเกษตรกร ภาครัฐและเอกชนในวงกว้าง ภาครัฐเล็งเห็นว่า นวัตกรรมดังกล่าว ช่วยเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศได้เป็นอย่างดี จึงเป็นที่มาของนโยบาย “ 1 หมู่บ้าน สร้างถนนยางพารา 1 กม. ” ในวันนี้

ที่ผ่านมา การสร้างถนนยางพาราแอสฟัลติกใช้ยางมะตอยเป็นส่วนประกอบหลักเพราะยางมะตอยผลิตมาจากน้ำมัน ผสมกับยางพาราเยอะไม่ได้ จึงใช้ยางพาราสร้างถนนได้แค่ 5% เท่านั้น แต่งานวิจัยเรื่องถนนยางพาราดินซีเมนต์ หรือถนนพาราซอยล์ซีเมนต์ ของ ผศ.ดร. ระพีพันธ์ เน้นใช้น้ำยางพาราเป็นโครงสร้างหลัก เพิ่มสัดส่วนการใช้ยางพารา มากกว่าเดิม โดยใช้ยางพาราเป็นพื้นผิวถนน เพื่อสร้างถนนปลอดฝุ่น

“ จากผลวิจัยที่ผ่านมาพบว่า นวัตกรรมถนนยางพาราดินซีเมนต์ ขนาดความกว้าง 6 เมตร ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ต้องใช้ปริมาณน้ำยาง 12 ตัน / กม. เท่ากับรถบรรทุก 10ล้อแค่หนึ่งคันเท่านั้น ”ผศ.ดร. ระพีพันธ์ กล่าว

ด้านนายนิพนธ์ คนขยัน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่า ความสำเร็จของการจัดงานวันยางพาราบึงกาฬในวันนี้ เพราะได้รับแรงสนับสนุนจากพี่เลี้ยงคนสำคัญ คือ ประชาชนจังหวัดบึงกาฬ ที่มีความรักสมัครสมานเป็นหนึ่งเดียวกัน ตลอดจน ท่านพินิจ จารุสมบัติ นายจาง เหย็น ประธานกรรมการและผู้จัดการใหญ่ บริษัท รับเบอร์วัลเล่ย์ กรุ๊ป จำกัด อาจารย์ณพรัตน์ วิชิตชลชัย. ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ที่เผยแพร่งานวิจัยแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มยางพาราในรูปแบบต่างๆ เช่นสนามวัลเล่ย์ สนามฟุตซอล

รวมทั้ง ผศ.ดร. ระพีพันธ์ แดงตันกี นักวิจัย มจพ.ที่มาต่อยอดเพิ่มมูลค่ายางพารา โดยนำเสนอแนวคิดการสร้างถนนยางพารา เพื่อระบายยางพาราออกจากตลาด โดยเรียกร้องให้รัฐบาลรับซื้อน้ำยางสดจากสถาบันเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรในราคาก.ก.ละ 65 บาทเพื่อนำมาสร้างถนนยางพารา ช่วงที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เยี่ยมประชาชนในจังหวัดบึงกาฬก็รับปากว่าจะเร่งผลักดันให้มีการซื้อน้ำยางสดจากกลุ่มเกษตรกรมาสร้างถนนยางพารา ล่าสุด ประกาศกรมบัญชีกลางระบุให้ซื้อน้ำยางสดจากกลุ่มเกษตรกรได้โดยอ้างอิงราคาจากตลาดกลางยางพารา อำเภอหาดใหญ่ ของการยางแห่งประเทศ(กยท.)

“ ปัจจุบันราคายางตลาดกลางหาดใหญ่อยู่ที่ ก.ก. 35 บาทเท่านั้น เท่ากับ ดับความหวังและความฝันของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ เพราะแทนที่จะขายน้ำยางสดได้ราคาก.ก. 65 บาท ก็เหลือแค่ 35 บาท ไม่ได้ช่วยเหลือยกระดับราคายางภายในประเทศให้ปรับสูงขึ้นอย่างที่หลายคนคาดหวัง ขณะเดียวกันราคารับซื้อน้ำยางสดเท่ากับราคายางก้อนถ้วย ไม่สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรชาวสวนยางหันมาผลิตน้ำยางสดออกขาย ล่าสุดผมได้โทรศัพท์ไปพูดกับผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมผลักดันให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนประกาศฉบับดังกล่าว เพื่อเปิดทางให้เกษตรกรสามารถขายยางได้สูงขึ้นในอนาคต ” นายนิพนธ์กล่าว

ด้าน ผศ.ดร. ระพีพันธ์ กล่าวเสริมว่า ที่มาของการคำนวณราคารับซื้อน้ำยางสดจากกลุ่มเกษตรกรในราคาก.ก.ละ 65 บาท อ้างอิงจากการศึกษาวิจัยของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่คำนวณต้นทุนการผลิตยางพาราของเกษตรกรในปัจจุบันอยู่ที่ 62 บาท /ก.ก. บวกผลกำไรเพิ่มอีก 3 บาท/ก.ก เพื่อช่วยให้เกษตรกรขายยางพอมีกำไรบ้าง หากรัฐบาลอนุมัติให้ซื้อน้ำยางสดในราคาดังกล่าว จะไม่เพิ่มต้นทุนการสร้างถนนเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพราะการสร้างถนนยางพารา มีต้นทุนถูกกว่าการสร้างถนนในปัจจุบันเกือบเท่าตัวอยู่แล้ว

“ประเทศไทยมีหมู่บ้านทั้งหมด 72,000 แห่ง หากใช้นโยบาย “ 1 หมู่บ้าน สร้างถนนยางพารา 1 กม. ” จะมีถนนยางพาราทั่วประเทศถึง 72,000 กม. มาตรการนี้จะช่วยดึงยางพาราออกจากตลาดได้เกิน 50% ของผลผลิตทั้งหมด ช่วยยกระดับราคาซื้อขายภายในประเทศให้ปรับตัวได้สูงขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน ” ผศ.ดร. ระพีพันธ์กล่าว

ปลูกมัลเบอรี่ ไม้ผลทางเลือก
1 ไร่สร้างเงิน 3หมื่นบาท/เดือน

ภาวะราคายางตกต่ำ ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีรายได้ลดน้อยลง สวนทางกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น องค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ ในฐานะผู้จัดงานหลักงานวันยางพาราบึงกาฬ 2562 จึงจัดเสวนาในหัวข้อ “ มัลเบอรี่ สร้างรายได้ ชดเชยสวนยาง ” โดยเชิญ นางจิรารัตน์ จัยวัฒน์ พนักงานการเกษตรชำนาญงาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ซึ่งเป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาเกษตรอินทรีย์จังหวัดหนองคาย ประจำปี 2560 มาร่วมแบ่งปันความรู้สร้างอาชีพเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางพารา

นางจิรารัตน์ เสนอให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราแบ่งพื้นที่ว่าง นำมาปลูกมัลเบอร์รี่อินทรีย์ปลอดสารพิษ จำนวน 1 ไร่ ใช้เวลาปลูกดูแลไม่ถึงปี ก็สามารถเก็บผลสดรวมทั้งน้ำมัลเบอร์รี่พร้อมทานรวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ ออกขาย สามารถสร้างรายได้สูงถึงเดือนละ 30,000 บาททีเดียว

เมื่อ 5 ปีก่อน นางจิรารัตน์มีปัญหาสุขภาพเพราะเข้าสู่ช่วงวัยทอง เธอรู้ว่า “ มัลเบอร์รี่” หรือที่หลายคนรู้จักกันดีในชื่อ “ หม่อนผลสด ” สามารถบำบัดอาการวัยทองได้ เธอจึงซื้อต้นพันธุ์หม่อนเชียงใหม่60 มาปลูกที่บ้านจำนวน 30 ต้น เพื่อเก็บผลสดรับประทานบำรุงร่างกาย ปรากฏว่า ต้นมัลเบอร์รี่ให้ผลดกมากจนเก็บกินไม่ทัน ต้องปล่อยให้แห้งเหี่ยวคาต้น เธอเปลี่ยนวิธีเก็บผลสดมาต้มเป็นน้ำมัลเบอรี่พร้อมทาน โดยแจกจ่ายให้เพื่อนที่ทำงานรับประทานกันแบบฟรี ๆ น้ำมัลเบอร์รี่มีรสชาติอร่อยมาก จนพัฒนาสู่การผลิตเชิงการค้าในที่สุด

เนื่องจาก มัลเบอร์รี่เป็นผลไม้ที่ไม่มีเปลือก มัลเบอร์รี่ผลสดต้องขายให้หมดวันต่อวันเพราะเป็นผลไม้ที่มีผิวบอบบางต่อการขนส่ง และมีอายุการเก็บสั้น หากไม่เก็บรักษาไว้ในตู้เย็น ดังนั้น นางจิรารัตน์ได้นำ มัลเบอร์รี่ผลสดไปแปรรูป เพื่อยืดอายุการขายและสร้างมูลค่าเพิ่มในหลากหลายรูปแบบ เช่น มัลเบอร์รี่หยี น้ำมัลเบอรี่พร้อมทาน น้ำมัลเบอรี่แบบเข้มข้น แยมมัลเบอรี่ นอกจากนี้ สารสกัดจากมัลเบอรี่ ยังใช้เป็นเครื่องสำอางบำรุงผิว ลดความหมองคล้ำบนใบหน้าได้อย่างดีอีกด้วย

เนื่องจากกระแสความนิยมบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมาแรง ทำให้มัลเบอรี่ ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์สูงต่อสุขภาพ ขายดีมาก ทั้งผลสด และแปรรูปจนผลิตไม่ทันกับความต้องการของตลาด ผลิตภัณฑ์สินค้าของเธอจำหน่ายผ่านช่องตลาดออนไลน์ ทำให้มีฐานลูกค้ากระจายอยู่ทั่วประเทศ

หากใครสนใจปลูกต้นมัลเบอรี่เป็นรายได้เสริม นางจิรารัตน์แนะนำให้ปลูก พันธุ์หม่อนเชียงใหม่60 เพราะเป็นพันธุ์ที่ให้ผลดกมาก และมีรสชาติหวานอร่อยถูกใจผู้ซื้อ พื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกได้ 80 ต้น โดยปลูกในระยะห่าง 4X4 เมตร หรือปลูกในระยะห่าง 4X 5 เมตรเพื่อให้ง่ายต่อการดูแลจัดการผลผลิต ควรปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ เน้นใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลัก

ต้นมัลเบอรี่ เป็นไม้ผลที่ต้องการแสงแดดจัด จึงไม่สามารถปลูกร่วมในแปลงสวนยางพาราได้ ยกเว้นปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน ต้นมัลเบอรี่ก็เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ แต่ไม่ดกเท่ากับต้นที่ปลูกกลางแจ้ง ต้นมัลเบอรี่มักมีปัญหาเรื่องเพลี้ยไฟรบกวน หากเจอการระบาดให้ตัดกิ่ง ออกไปเผาทำลาย ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ผลผลิตลดลง เพราะต้นมัลเบอรี่ยิ่งตัดกิ่งออก ยิ่งกระตุ้นให้ผลิดอกออกผลออกมามากกว่าเดิม

หากใครสนใจอยากเรียนรู้เรื่องปลูกและแปรรูปมัลเบอรี่ นางจิรารัตน์ยินดีต้อนรับผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมสวนมัลเบอรี่ของเธอได้ที่ บ้านเลขที่ 330 หมู่ที่ 5 บ้านเซี่ยน ต.บ้านเดื่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย เบอร์โทร 081-471-6062

ร่วมชมและเชียร์กิจกรรมลานแข่งขัน

กิจกรรมลานแข่งขัน ภายในงานวันยางพาราบึงกาฬ ประจำปี 2562 ระหว่างวันที่ 13 –19 ธันวาคม 2561 สุดคึกคักไม่แพ้กัน เกษตรกรสนใจเข้าร่วมแข่งขันกรีดยางพารา (ระดับจังหวัด)และการแข่งขันลับมีด (ระดับจังหวัด) เป็นจำนวนมาก โดยกำหนดแข่งขันกรีดยางพาราและกองเชียร์ยางพารา (ชิงแชมป์ประเทศไทย) ในวันพุธที่ 19 ธันวาคม 2561 นี้ เช่นเดียวกับกิจกรรม บึงกาฬฟุตซอลคัพ 2019 จะลงสนามชิงชัยเพื่อเฟ้นหาผู้ชนะเลิศ ณ สนามฟุตซอล อบจ.บึงกาฬ ผู้สนใจสามารถติดตามชมการแข่งขันบึงกาฬฟุตซอลคัพ ได้ในวันพุธที่ 19 ธันวาคม นี้ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.

เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ

ผมเคยอ่านหนังสือพบว่า ประเทศญี่ปุ่นผลิตข้าวได้เพียงพอบริโภคภายในประเทศมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงได้ไม่นาน แต่มีเพื่อนๆ บอกว่า ญี่ปุ่นยังต้องมีการนำข้าวเข้าไปยังประเทศอีก ผมจึงขอเรียนถามว่าเป็นเพราะเหตุใด ขอคำอธิบายด้วยครับ

ตอบ คุณวิรัตน์ สุทรเศรษฐ์

ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบัน มีประชากร 170 ล้านคน มีพื้นที่ขนาดเล็กกว่าประเทศไทยเกือบครึ่งหนึ่ง ที่ผ่านมาญี่ปุ่นสามารถผลิตข้าวได้พอเพียงบริโภคภายในประเทศ เฉลี่ยปีละ 11 ล้านตันข้าวกล้อง แต่ปัจจุบันปริมาณการผลิตลดลงเหลือ ประมาณ 7 ล้านตัน ด้วยชาวญี่ปุ่นหันมาบริโภคแป้งข้าวสาลีมากขึ้น โดยนำมาผลิตขนมปังและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา

สาเหตุการนำเข้าข้าวของญี่ปุ่น เป็นไปตามพันธสัญญาของ WTO จำนวนประมาณ 2 แสนตันข้าวสาร ข้าวที่นำเข้านี้ญี่ปุ่นจะนำไปช่วยเหลือประเทศยากจนอื่นๆ ในทวีปแอฟริกาเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเกิดภาวะสงคราม หรือฝนแล้ง น้ำท่วม ก็ตาม ข้าวอีกจำนวนหนึ่งเป็นข้าวเหนียวคุณภาพดี เป็นการนำเข้าจากประเทศไทย ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเชื่อมั่นว่าข้าวเหนียวจากประเทศไทยผลิตเหล้าสาเกได้รสชาติดีที่สุด ส่วนปริมาณการนำเข้าส่งออกไม่ยอมเปิดเผยข้อมูล

ผมเคยเล่าให้ฟังแล้วว่า ญี่ปุ่นผลิตอาหารหล่อเลี้ยงภายในประเทศได้เพียง 45 เปอร์เซ็นต์ อีก 55 เปอร์เซ็นต์ จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะแป้งข้าวสาลี เมล็ดถั่วเหลือง เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ส่วนที่นำเข้าจากประเทศไทยมีเนื้อไก่ กุ้งสด และกุ้งแปรรูป พืชผัก ผลไม้ มีกล้วยหอม มะม่วง มังคุด และกระเจี๊ยบเขียว อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นเองแม้มีข้อจำกัดด้วยสภาพอากาศ และพื้นที่จำกัดก็ตาม แต่ชาวญี่ปุ่นเองไม่ยอมปล่อยให้พื้นดินทิ้งไว้ว่างเปล่า ถ้าท่านเดินทางไปญี่ปุ่นทุกภูมิภาค จะเห็นที่ว่างพื้นที่เล็กๆ ตามริมถนนหนทาง ตามหมู่บ้าน หรือที่ว่างรอบอาคารของชาวบ้าน มีการปลูกพืชผักอายุสั้นหลากหลายชนิดสำหรับใช้บริโภคในครัวเรือน และมีวัฒนธรรมที่งดงามของญี่ปุ่นคือ เขาไม่มีการลักขโมยกัน