ทุเรียนพันธุ์ทองบางสะพาน อีกหนึ่งของดีเมืองประจวบคีรีขันธ์

“เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สับปะรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ” เป็นคำขวัญประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง ที่มีเขตแดนติดกับภาคใต้ ประจวบคีรีขันธ์จัดอยู่ในกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวเมืองรองในแอ่งทะเลตะวันตก มีสถานที่ท่องเที่ยวให้เลือกมากมาย ทั้งโซนขุนเขา ป่าไม้ น้ำตก และท้องทะเล แหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตที่ถูกใจของใครหลายๆ คน ได้แก่ หัวหิน ปราณบุรี เขาตะเกียบ อ่าวมะนาว อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ฯลฯ ทำให้ที่นี่เป็นแหล่งพักผ่อนวันหยุดของคนที่รักธรรมชาติและชื่นชมการบริโภคผลไม้รสอร่อยต้องแวะเวียนมาท่องเที่ยวเป็นประจำทุกปี

ทำเลทองปลูกทุเรียนคุณภาพดีคนไทยจำนวนมากรู้จักเพียงว่า แหล่งปลูกทุเรียนคุณภาพดี อยู่ในภาคตะวันออก เช่น จันทบุรี ระยอง ตราด ฯลฯ แต่ความจริงแล้ว “จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” ก็เป็นอีกหนึ่งทำเลทองของการปลูกทุเรียนคุณภาพดี เช่น “ทุเรียนป่าละอู” ซึ่งเป็นผลไม้ของดีประจำหมู่บ้านห้วยสัตว์ใหญ่ป่าเด็ง-ป่าละอู อำเภอหัวหิน โดยทั่วไปทุเรียนป่าละอูมักติดดอกในเดือนเมษายน และเริ่มมีผลผลิตออกจำหน่ายสู่ตลาดในช่วงปลายเดือนมิถุนายน และมีผลผลิตทยอยเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องจนถึงปลายเดือนสิงหาคม

“กลิ่นไม่แรง” นับเป็นเสน่ห์สำคัญอีกอย่างของทุเรียนป่าละอู เพราะพื้นที่ปลูกทุเรียนป่าละอูสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200 เมตร อากาศดี ดิน น้ำอุดมสมบูรณ์ และมีกำมะถันน้อยกว่าแหล่งอื่น ทำให้ทุเรียนป่าละอูมีเมล็ดลีบเล็ก เนื้อมาก เนื้อแห้งละเอียดสีเหลืองอ่อน มีความมันมากกว่าความหวาน หอม กรอบนอกนุ่มใน ทุเรียนป่าละอูเป็นสินค้าขายดี ถูกอกถูกใจนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบบริโภคทุเรียน ทุกวันนี้ผลผลิตทุเรียนป่าละอูมีมากเท่าไรก็ไม่พอขาย

เกษตรกรในพื้นที่ป่าละอูหันมาปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองตั้งแต่เมื่อเกือบ 40 ปีก่อน หลังจาก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า เสด็จเยี่ยมราษฎรชาวป่าละอู เมื่อประมาณปี 2523 สมเด็จย่าทรงเห็นว่าป่าละอูมีดินน้ำสมบูรณ์ เหมาะสมสำหรับการปลูกทุเรียน จึงทรงปลูกทุเรียนไว้ประมาณ 10 ต้น ต่อมาชาวป่าละอูได้ขยายพันธุ์ทุเรียนพระราชทานนำไปปลูกในที่ดินของตนเองจนกลายเป็นไม้ผลที่ปลูกอย่างแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้ ทุเรียนป่าละอู เป็นผลไม้ชนิดแรกของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่ได้รับการจดทะเบียนสินค้า GI สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557

ทุเรียนพันธุ์ทองบางสะพาน

ล่าสุดในปีนี้ สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้เปิดตัว “ทุเรียนพันธุ์ทองบางสะพาน” สินค้าตัวใหม่ที่เพิ่งผ่านการจดทะเบียนรายชื่อพันธุ์พืช ตาม พ.ร.บ. พันธุ์พืช 2518 กับกรมวิชาการเกษตร เมื่อเดือนธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตั้งเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกและขยายพันธุ์ทุเรียนพันธุ์ทองบางสะพานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้ทุเรียนพันธุ์ทองบางสะพานเป็นสินค้าอัตลักษณ์ชุมชน ส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอบางสะพานในอนาคต

คุณวันชัย นิลวงศ์ เกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เล่าถึงที่มาของทุเรียนพันธุ์นี้ว่า คุณสมัย เทศรำลึก เจ้าของสวนผลไม้ ที่ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 157/1 หมู่ที่ 8 ตำบลกำเนิดนพคุณ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77140 ได้นำกิ่งพันธุ์ทุเรียนพันธุ์หมอนทองจากจังหวัดนนทบุรีมาปลูกในสวน เมื่อปี 2526 หลังจากปลูกไปได้ระยะหนึ่ง ยอดของต้นทุเรียนเกิดหัก ต้นตอจากการเพาะเมล็ดทุเรียนไม่ทราบพันธุ์ จึงแตกยอดใหม่ขึ้นมา

คุณสมัย ได้ปล่อยให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตจนกระทั่งออกดอกและติดผลในปี 2533 บุตรชายคุณสมัยคือ คุณธวัชชัย เทศรำลึก ได้พบว่า เนื้อของทุเรียนพันธุ์นี้มีความแตกต่างจากพันธุ์อื่น เนื่องจากทุเรียนมีเนื้อละเอียด เหนียว ไม่เละง่าย สีเหลืองเข้มคล้ายทองคำ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ขณะอยู่ในลำคอ รสชาติมันอมหวาน เข้มปานกลาง น้ำหนักผลโดยเฉลี่ย 2-5.4 กิโลกรัม จากนั้น คุณสมัยได้ติดตามความคงตัวของลักษณะประจำพันธุ์ของทุเรียนชนิดนี้เป็นเวลา 25 ปี จึงได้ตั้งชื่อทุเรียนพันธุ์ใหม่นี้ว่า “ทุเรียนทองบางสะพาน” พร้อมยื่นขอจดทะเบียนรายชื่อพันธุ์พืชจากกรมวิชาการเกษตรอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา

ลักษณะประจำพันธุ์

ทุเรียนทองบางสะพาน จัดอยู่ในกลุ่มไม้ยืนต้น ประเภทไม้ผล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Durio zibethinus “Thong Bang Saphan” วงศ์ Malvaceaeลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์ของ ทุเรียนพันธุ์ทองบางสะพาน

ราก ต้นแม่ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีระบบรากแก้ว ต้นที่ได้จากการตอนกิ่งเป็นรากพิเศษต้น ทรงพุ่มรูปสามเหลี่ยม ยอดแหลม กิ่งก้านทำมุมเกือบตั้งฉากกับลำต้น

ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 5.7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 16.1 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบสีเขียวเป็นมันก้านใบยาวประมาณ 1.9 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.25 เซนติเมตร

ดอก ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ดอกออกตามลำต้นและกิ่ง ดอกตูมรูปไข่ ปลายดอกแหลม กลีบดอกสีขาวอมเหลือง เกสรตัวผู้จำนวนมาก

ผล ผลเดี่ยว รูปไข่ กว้างประมาณ 17.4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 21.8 เซนติเมตร ฐานผลกลมบุ๋มเล็กน้อย ปลายผลค่อนข้างมน มี 5 พู ร่องพูลึกปานกลาง เปลือกสีเขียวอมเทาอ่อน เปลือกหนาประมาณ 1.3 เซนติเมตร หนามค่อนข้างสั้น และหนาแน่นปานกลาง หนามแบบนูนปลายแหลมบริเวณกลางพู และแบบแหลมบริเวณร่องพู ก้านผลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1.3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5.8 เซนติเมตร รอยต่อขั้วผลนูนน้อย เนื้อละเอียดพอสมควร สีเหลืองเข้ม หนาประมาณ 1.0-2.2 เซนติเมตร มีกลิ่นอ่อน

เมล็ด เมล็ดรูปรี กว้างประมาณ 4.8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 9.8 เซนติเมตร หนาประมาณ 1.8 เซนติเมตร เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดลีบประมรณ 50 เปอร์เซ็นต์ ปลูกง่าย ขายดี

ทุเรียนพันธุ์ทองบางสะพาน ปลูกดูแลง่าย ทุเรียนเนื้อละเอียด เหนียว มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสชาติมันอมหวาน ทำให้ได้ความสนใจจากผู้บริโภคและเกษตรกรทั่วไป ปัจจุบัน คุณสมัย และคุณธวัชชัย เทศรำลึก เกษตรกรเจ้าของสวนได้ขยายพันธุ์ทุเรียนทองบางสะพานด้วยการเสียบยอดและจำหน่ายกิ่งพันธุ์ให้กับผู้สนใจนำไปเพาะขยายพันธุ์ต่อ ในราคากิ่งละประมาณ 400 บาท ผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ คุณธวัชชัย เทศรำลึก โทรศัพท์ 081-348-7595

ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม ประเทศไทยเผชิญสภาพอากาศขมุกขมัว เนื่องจากสภาพอากาศนิ่ง ไม่มีกระแสลม ทำให้มีหมอกควันพิษที่เกิดจากการสะสมของฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เกินกว่าค่ามาตรฐาน เป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน เพราะฝุ่นละออง PM 2.5 สามารถผ่านทางเดินหายใจสู่ปอดและกระแสเลือดได้ง่าย เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคระบบทางเดินหายใจ กระทรวงสาธารณสุขจึงแนะนำให้ประชาชนสวมใส่หน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐานป้องกันฝุ่นขนาดเล็ก

ฝุ่นละออง PM 2.5 เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล การก่อสร้าง ภาครัฐจึงวางแผน แก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นวาระแห่งชาติ เช่น ควบคุมพื้นที่ก่อสร้าง ที่ก่อให้ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ลดการเผาวัชพืช ลดการใช้รถเก่าที่ก่อให้เกิดควันดำกิจกรรมการปิ้ง-ย่างอาหาร เช่น หมูกระทะ หมูปิ้ง ไก่ย่าง ปลาเผา ปลาหมึกย่าง ฯลฯ นับเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง PM 2.5 โดยวัดจากค่าอัตราการระบายฝุ่น (Emission rate) มีผลวิจัยยืนยันแล้วว่า กิจกรรมการปิ้งย่างอาหารมีการระบายมลพิษออกสู่บรรยากาศ สามารถสร้างฝุ่นละออง PM 2.5 สูงกว่ารถยนต์ถึง 2 เท่าตัว ดังนั้นร้านขายอาหารปิ้งย่างควรติดตั้งเครื่องบำบัดอากาศก่อนปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ เพื่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ฯลฯ ต่างหันมารณรงค์ให้ประชาชนใช้เตาไฟฟ้าหรือเตาไร้ควัน เพื่อแก้ปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อม

เตาย่างกึ่งอบอัจฉริยะ รุ่น 4×2

เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดงานเกษตรแฟร์ ภายใต้แนวคิด “เกษตรศาสตร์นำไทยนวัตกรรมก้าวไกล ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดบู๊ธขายไก่ย่าง โดยนำนวัตกรรมใหม่มาใช้ย่างไก่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมด้วย เรียกว่า “เตาย่างกึ่งอบอัจฉริยะ รุ่น 4×2” ซึ่งเป็นผลงานของ อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา และคณะ แห่งภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) โทร. 081-927-0098

เตาย่างกึ่งอบอัจฉริยะ รุ่น 4×2 สามารถย่างและอบอาหารได้หลากหลายชนิดในเครื่องเดียวกัน ด้วยระบบย่างแบบหมุนและย่างบนตะแกรง ไก่หมุน ปลาหมุน หมูย่างก็ใช้งานได้สะดวกสบาย อุปกรณ์สำหรับใช้อบอาหารผลิตจากถังน้ำมัน 200 ลิตร นำมาผ่าครึ่ง เสร็จแล้วก็ติดอุปกรณ์เข้าไป เมื่อเลื่อนฝาครอบลงมาก็จะช่วยให้อุณหภูมิสูงขึ้น ประหยัดพลังงาน ไร้ควันเวลาอบอาหาร ผลงานชิ้นนี้ มีขนาดกว้าง 98x115x196 เซนติเมตร น้ำหนัก 130 กิโลกรัม และกำลังไฟฟ้า 430 วัตต์ 220 V 50 HZ

จุดเด่นของนวัตกรรม

1. สามารถย่างเนื้อทุกชนิดได้ เนื้อนุ่มชุ่มใน สุกสม่ำเสมอ ภายนอกกรอบอร่อย

2. ช่วยประหยัดค่าถ่านและค่าแก๊สหุงต้ม (รุ่นใช้แก๊ส) มากกว่าเตาย่างทั่วไป 40-50% เนื่องจากการย่างกึ่งอบช่วยให้อาหารสุกเร็ว มีผนังเตาสองชั้นพร้อมฉนวนรอบเตา ช่วยลดความร้อนรอบเตาได้ดี

3. ร่นเวลาในการย่างเมื่อเทียบกับเตาย่างธรรมดาได้ 30-50%

4. ประหยัดแรงงาน เพราะเครื่องจะทำงานอัตโนมัติตั้งแต่เริ่มต้นจนจบการทำงาน โดยเครื่องจะสลับทิศทางการหมุนอัตโนมัติ ช่วยให้อาหารสุกสม่ำเสมอ เมื่อสิ้นสุดระยะการทำงาน เครื่องจะยกชุดย่างขึ้นจากความร้อนโดยอัตโนมัติ

5. ปิ้งย่างได้ปริมาณมากในครั้งเดียว เช่น ไก่ย่าง-ปลาเผา ได้ 8 ตัว ต่อรอบ ลูกชิ้น-หมูปิ้ง 40 ไม้ ต่อรอบ หมูสะเต๊ะ -หม่าล่า 60 ไม้ ต่อรอบ มันเผา-ข้าวโพดปิ้ง 25-40 ชิ้น ต่อรอบ

6. ประหยัดพื้นที่กว่าเตาอบแบบหมุนทั่วไปถึง 25% เนื่องจากระบบการหมุนแบบสวนทางทำให้อุปกรณ์ตัวหนึ่งตั้ง ตัวหนึ่งนอนช่วยลดการใช้พื้นที่และยังประหยัดการใช้ถ่านน้อยลงอีกด้วย

7. สะดวกสบายในการเติมถ่านและการนำอาหารเข้าออกจากเตา ทำงานด้วยปุ่มกดยกชุดย่างขึ้นลงจากเตาแล้วจะยกตะแกรงย่างและชุดหมุนขึ้นเหนือเตา

8. ในรุ่นใช้แก๊สสามารถเพิ่มระบบเป็นตู้อบแห้งลมร้อนได้ ใช้ทำปลาอบแห้ง หมูหรือเนื้อแดดเดียว กล้วยตาก ผลไม้อบแห้ง พริกแห้ง

9. ระบบดูดควันประสิทธิภาพสูง ช่วยให้ปราศจากควันรบกวนรอบตู้ และสามารถใช้เป็นที่ดูดควันเพื่อใช้ประกอบอาหาร ที่สามารถปรับความสูงได้อีกด้วย

หากใครสนใจนวัตกรรมชิ้นนี้ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณธนัตถ์ ศรีสุขสันต์ โทร. 083-030-6609 หรือทาง ID Line : thanatsri และ คุณชยากร วรวุฒิพงษ์ โทร. 083-057-4656

เตาปิ้ง-ย่าง ปลอดสารพิษ

โดยทั่วไป สารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน หรือ พีเอเอช (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons ; PAHs) เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์จากถ่านหิน ไม้ ถ่านไม้และสารอินทรีย์อื่นๆ รวมทั้งควันจากท่อไอเสียรถยนต์และควันบุหรี่ ทำให้เกิดสารประกอบอะโรมาติก (Aromatic Compounds) ทำให้มีเขม่าจำนวนมาก เพราะเกิดปฏิกิริยาการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ได้ทั้งสิ้น

ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการปรุงอาหารโดยการอบปิ้งย่างซึ่งเป็นอาหารที่นิยมบริโภคในปัจจุบัน เช่น ไส้กรอกรมควัน หมูปิ้ง ไก่ย่าง ที่ไหม้เกรียมทำให้มี PAHs. ซึ่งสารพิษก่อมะเร็งปนเปื้อนในอาหารได้ หากผู้บริโภคได้รับสาร PAHs. อย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดความเป็นพิษต่อระบบต่างๆ ของร่างกายได้ เพราะ PAHs. จะเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายและรวดเร็ว โดยการหายใจ การรับประทานอาหารและการดื่มน้ำที่มีอนุภาพ PAHs. เจือปน

การรับประทานอาหารประเภทปิ้งย่างปริมาณสูงอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของฮอร์โมนชนิดต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ต่อระบบการทำงานในร่างกายมนุษย์ เช่น ระบบการเติบโต ระบบสืบพันธุ์ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งที่อวัยวะหลายแห่ง เช่น กระเพาะอาหาร หลอดอาหาร เป็นต้น

ปัจจุบัน พบว่าพฤติกรรมการรับประทานอาหารปิ้งย่างที่ติดไขมันเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เช่น หมูกระทะ หมูปิ้ง ไก่ย่าง และปลาย่าง จากพฤติกรรมดังกล่าวอาจทำให้เสี่ยงทำให้ผู้บริโภคได้รับสาร PAHs. สะสมในร่างกายทีละน้อย เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง เพราะสาร PAHs. มักพบปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ปิ้งย่าง โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่มีส่วนของไขมันหรือมันเปลวติดอยู่ด้วย เช่น หมูย่างติดมัน เนื้อย่างติดมัน ไก่ย่างติดหนัง เพราะขณะปิ้งย่างไขมันจะหยดลงไปบนเตาไฟแล้วเกิดการเผาไหม้จนเกิดควันเขม่าลอยขึ้นมาเกาะติดกับชิ้นเนื้อสัตว์

ดร. พงษ์ศักดิ์ เฮงนิรันดร์ และ ดร. สุเทพ จันทร์เขียว อาจารย์ประจำภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (โทร. 02-942-8109) จึงได้ออกแบบนวัตกรรม “เตาปิ้ง-ย่าง ปลอดสารพิษ” เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยได้ค้นพบว่า สาเหตุการเกิดสาร PAHs. ส่วนหนึ่งเกิดจากถ่านไม้ (Charcoal) คุณภาพต่ำมาใช้เผาให้ความร้อนในการปิ้งย่าง จึงผลิตถ่านคุณภาพสูงมาใช้เพื่อความปลอดภัย นอกจากนี้ ยังพบว่า สาร PAHs. อาจเกิดขึ้นได้จากการปิ้งย่างที่ไม่เหมาะสม ในระหว่างการปิ้งย่างโดยน้ำมันหรือไขมันสัตว์หยดลงบนเตาแล้วสัมผัสกับถ่านที่กำลังลุกไหม้โดยตรง เกิดเป็นเขม่าควัน ซึ่งเป็นสาร PAHs. อีกรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้เตาปิ้งย่างแบบดั้งเดิม

ดังนั้น เพื่อลดปัญหานี้ ทีมนักวิจัยจึงได้ออกแบบรางดักน้ำมันหรือไขมันจากการปิ้งย่างไม่ให้สัมผัสกับถ่านที่กำลังลุกไหม้ แต่ยังให้รูปแบบและอารมณ์ในการปิ้งย่างแบบเดิม เพราะหากออกแบบให้เฉพาะลมร้อนจากการเผาไหม้ไปสัมผัสกับเนื้อสัตว์เท่านั้น ก็จะไม่ใช่การปิ้งย่าง (Grill) แต่เป็นการอบ (Baked) ยิ่งรวมถึงการห่อด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์หรือใบตองก็จะไม่ได้กลิ่นและรสสัมผัสแบบการปิ้งย่างจริงๆ

ในการออกแบบเตาปิ้ง-ย่าง ปลอดสารพิษ ต้นแบบ นักวิจัยยังคงรักษาการให้ความร้อนจากการเผาไหม้ถ่านอนามัยโดยตรง ความร้อนจากการเผาไหม้จะวิ่งผ่านช่องเปิดที่มีหลังคาปิดกั้นน้ำมันหยดลงมาโดนถ่านที่กำลังลุกไหม้ ไอความร้อนจะขึ้นไปถ่ายเทความร้อน กลิ่นไอการเผาไหม้ให้เนื้อสัตว์ที่กำลังปิ้งไหม้โดยตรง จึงคงรสชาติการปิ้งย่างที่ไม่ต่างจากเดิม

น้ำมันที่ไหลลงมาจากตัวดักน้ำมันจะไหลไปรวมกันด้านข้างแล้ว จึงไหลไปรวมกันที่อ่างดักน้ำมันอีกครั้งหนึ่ง ในการใช้งานจริง ควรใช้งานร่วมกันกับถ่านคุณภาพสูง เพื่อให้มั่นใจว่าสาร PAHs. จากถ่านไม้เองและน้ำมันที่หยดลงมาจากเนื้อสัตว์ที่ปิ้งย่างจะไม่ไปเกาะติดอาหาร นำไปสู่การบริโภคอาหารปลอดภัยต่อไป

ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (โทร. 02-942-8109)นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ในปีนี้ที่คาดว่าเกิดปัญหาภัยแล้งกว่าปกติ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่เพาะปลูกทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง แม้ว่าเกษตรกรรายย่อยในปีนี้จะเข้ามาตรการพักหนี้เงินต้นเป็นเวลา 3 ปี แต่ก็ต้องผ่อนชำระดอกเบี้ยตามปกติ ดังนั้นหากปีนี้เกษตรกรได้รับผลกระทบจากภัยแล้งทำให้รายได้ลดลง ธ.ก.ส. อาจพิจารณาให้เกษตรกรยืดเวลาผ่อนชำระในส่วนของดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี โดยให้ผ่อนชำระดอกเบี้ยแค่ 30% ของภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย

นายอภิรมย์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ รัฐบาลให้ ธ.ก.ส. ทำสองโครงการเพื่อช่วยลดภาระการชำระหนี้ของเกษตรกร คือ โครงการขยายเวลาชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรที่มีหนี้คงค้างกับ ธ.ก.ส. ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ขยายระยะเวลาชำระต้นเงินกู้ออกไป 3 ปี เริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคม 2561 ถึง วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ตามความสมัครใจ แต่ยังต้องชำระค่าดอกเบี้ยเงินกู้ตามกำหนดเดิม หรือตามที่มาแห่งรายได้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เว้นในกรณีเป็นภาระหนัก ให้ขยายเวลาชำระดอกเบี้ย หรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นรายกรณีไป

และโครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่เกษตรกร สำหรับต้นเงินกู้ 300,000 บาทแรก ธ.ก.ส. ลดดอกเบี้ยให้ 3% เป็นระยะเวลา 1ปี เริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคม 2561 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 ยกตัวอย่าง เกษตรกรเป็นหนี้กับ ธ.ก.ส. 500,000 บาท ปกติจ่ายดอกเบี้ย 7% ต่อปี หากเลือกเข้าโครงการลดดอกเบี้ย 3% ก็จะจ่ายค่าดอกเบี้ยแค่ 4% ต่อปี เป็นเวลา 1 ปี หลังจากนี้จ่ายดอกเบี้ยตามปกติ

นายอภิรมย์ กล่าวว่า มาตรการออกมาเพื่อเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และลดต้นทุนในการประกอบอาชีพสามารถฟื้นฟูตนเอง รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้น มีเงินใช้จ่ายในครัวเรือนและออมเงินมากขึ้น โดยรัฐบาลจะจัดงบประมาณมาชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้แทนเกษตรกรในอัตรา 2.5% ต่อปี และ ธ.ก.ส. รับภาระค่าใช้จ่ายแทนเกษตรกรในอัตรา 0.5% ต่อปี คิดเป็นวงเงินรวมประมาณ 2 หมื่นล้านบาท

น.ส.วันเพ็ญ นิโครวนจำรัส รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า ปี 2562 กรมฯ มีแผนที่จะยื่นคำขอจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) ในต่างประเทศจำนวน 5 สินค้า ที่ประเทศจีน 2 สินค้า ได้แก่ มะพร้าวน้ำหอมราชบุรี และทุเรียนปราจีน และที่มาเลเซีย 3 สินค้า ได้แก่ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง และส้มโอทับทิมสยามปากพนัง เพราะเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในตลาดจีนและมาเลเซีย จากการที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย และได้ทดลองบริโภคสินค้าเหล่านี้ ทำให้รู้จักสินค้ามากขึ้น จึงต้องไปจดทะเบียนคุ้มครองไว้ก่อน เพื่อช่วยส่งเสริมสินค้าจีไอที่จะไปจำหน่ายในอนาคตและป้องกันปัญหาการละเมิดที่อาจจะเกิดขึ้น

“อย่างมะพร้าวน้ำหอมราชบุรี ดังถึงขนาด มีล้งชาวจีนมารับซื้อถึงแหล่งผลิต และมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนสินค้าข้าว ที่นำไปจดในมาเลเซีย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตลาดมีความต้องการเพิ่มขึ้น จึงต้องหาทางจดเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสินค้าข้าวที่เป็น GI ของไทย และยังเป็นไปตามนโยบายของน.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ต้องการให้กรมฯ จด GI สินค้าข้าวในตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะข้าวคุณภาพดีที่เป็น GI ของไทย” น.ส. วันเพ็ญ กล่าว

น.ส. วันเพ็ญ กล่าวว่า ปัจจุบัน กรมฯ ได้ดำเนินการยื่นจดทะเบียน GI ในตลาดต่างประเทศได้แล้ว 7 สินค้า ได้แก่ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ กาแฟดอยตุง กาแฟดอยช้าง ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ที่สหภาพยุโรป (อียู) ผ้าไหมยกดอกลำพูน ที่อินเดีย และอินโดนีเซีย เส้นไหมไทยพื้นบ้านอีสาน ที่เวียดนาม ซึ่งสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเหล่านี้ ปัจจุบันสามารถเข้าสู่ตลาดข้างต้นได้ดีขึ้น ผู้บริโภคให้การยอมรับว่าเป็นสินค้าที่ดีมีคุณภาพ ช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตมากขึ้น

น.ส. วันเพ็ญ กล่าวว่า ยังมีสินค้าจีไอ ที่รอการพิจารณาขึ้นทะเบียนในต่างประเทศอีก 9 สินค้า ได้แก่ ญี่ปุ่น 3 สินค้า คือ กาแฟดอยตุง กาแฟดอยช้าง สับปะรดห้วยมุ่น จีน 3 สินค้า คือ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ มะขามหวานเพชรบูรณ์ และส้มโอทับทิมสยามปากพนัง เวียดนาม 2 สินค้า คือ มะขามหวานเพชรบูรณ์ และลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง และกัมพูชา 1 สินค้า คือ กาแฟดอยตุง คาดว่าจะได้รับการจดทะเบียนในเร็วๆ นี้

เพราะเชื่อว่ากลิ่นสามารถเปลี่ยนอารมณ์ได้…ด้วยเหตุนี้การเก็บเอาความหอมจากธรรมชาติพร้อมความสดชื่นบรรจุลงขวดแก้วใบจิ๋วเพื่อเป็นของขวัญให้แก่คนที่รัก จึงเป็นจุดเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์สมุนไพรหอม อย่าง “มาลีพฤกษ์” (MaleePruk)

โดย คุณจอย-ณัฏฐ์ชญามนต์ ดินรมรัมย์ คอลัมน์นิสต์ด้านอาหาร และเกษตร เจ้าของแบรนด์สมุนไพรหอม “มาลีพฤกษ์” เล่าถึงที่มาของความหอมให้ฟังว่า “เพราะมีโอกาสได้เดินทางไปต่างจังหวัดอยู่บ่อยๆ ทำให้มีโอกาสสัมผัสและพบเจอกับวัตถุดิบสมุนไพรในท้องถิ่นหลายอย่าง ซึ่งในแต่ละชนิดก็จะมีรูปร่าง กลิ่น สี และสรรพคุณ แตกต่างกันไป อีกทั้งในแต่ละท้องถิ่นยังมีภูมิปัญญาในการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ทั้งในเรื่องการปรุงอาหารหรือทำยาสมุนไพรที่มีเสน่ห์มาก โดยเฉพาะยาดมสมุนไพรนี่ชอบมาก ถือว่าเป็นของฝากที่ซื้อง่าย พกสะดวก ทำให้ถ้าเห็นที่ไหนต้องซื้อเก็บกลับมาใช้ดมระหว่างเดินทาง และเป็นที่ระลึกเกือบทุกครั้ง”