ท่าข่อย-ขาวแตงกวา จุดเด่นคนละแบบส้มโอพันธุ์ “ท่าข่อย”

มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ผลทรงกลม ผิวเมื่อแก่ติดอมเหลืองนิดๆ เนื้อ หรือ “กุ้ง” สีอมชมพู เป็นสายพันธุ์ท้องถิ่นที่ถูกบันทึกอยู่ในคำขวัญ จ.พิจิตร คือ “รสเด็ดส้มท่าข่อย”

ส่วนพันธุ์ “ขาวแตงกวา” จุดเด่น คือ รสชาติหวานนำ ผลขนาดกลางกลมแป้น เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15-18 เซนติเมตร กุ้งสีขาวอมน้ำผึ้ง ไม่แฉะ เป็นที่นิยมทั้งตลาดใน และต่างประเทศ

ส้มโอพันธุ์ “ท่าข่อย” มีจุดเน้นสำคัญ คือ ต้องเก็บผลขณะที่แก่จัดเท่านั้น คือ แก่ราว 90-100 เปอร์เซ็นต์ ถึงจะได้รสชาติดี หากเก็บตอนยังแก่ไม่เต็มที่ ก็จะได้รสหวานอมเปรี้ยวติดขม จึงเป็นสาเหตุทำให้ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมของตลาด เพราะผู้บริโภคเจอส้มโอท่าข่อยที่ตัดขณะยังไม่แก่จัด จนติดภาพว่าเป็นส้มโอที่รสชาติขม ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย

โดยปัจจุบันสวนคุณวิฑูรย์ก็ยังคงรักษาส้มโอท่าข่อยไว้บ้างพอไม่ให้สูญหาย เพราะถือเป็นพันธุ์ท้องถิ่น แต่ถ้าเป็นส้มโอที่ปลูกเพื่อการจำหน่ายเป็นหลักคือพันธุ์ “ขาวแตงกวา”

ส้มโอ “ชอบชื้นไม่ชอบแฉะ”
เริ่มต้นให้ดี ควรปลูกแบบยกร่อง
ธรรมชาติของส้มโอเป็นพืชชอบชื้น แต่ไม่ชอบแฉะ ดังนั้นการเตรียมแปลงปลูก คุณวิฑูรย์แนะนำให้ “ยกร่อง” ข้อดีของการปลูกแบบยกร่องข้อแรก คือ ช่วยเรื่องการระบายน้ำภายในแปลง เพื่อไม่ให้น้ำขัง ส่วนอีกข้อสำคัญ คือ ช่วยเรื่องการทำดอก โดยหลักการ คือ การลดความชื้นในดินในช่วงเวลาที่พืชสร้าง
ตาดอก จะช่วยกระตุ้นให้ไม้ผลสร้างตาดอกได้ ซึ่งการยกแปลงขึ้นในลักษณะหลังเต่านั้นจะทำให้การระบายน้ำดีขึ้น

ส่วนระยะห่างระหว่างแถวที่เหมาะสมคือ 8×8 เมตร และระหว่างต้น (บนหลังเต่า) คือ 8×7 เมตร โดยระยะประมาณนี้ คุณวิฑูรย์บอกว่า ง่ายต่อการจัดการในอนาคตมากที่สุด เพราะว่าสามารถนำรถและเครื่องจักรทางการเกษตรมาช่วยทุ่นแรงได้

“ยกโขด”
เทคนิคการปลูกให้ต้นโตเร็ว
เมื่อเตรียมแปลงเรียบร้อยแล้ว ก่อนจะลงต้นส้มโอ คุณวิฑูรย์แนะเทคนิคให้ คือ “การยกโขด” เพื่อช่วยให้ต้นส้มโอโตเร็วในระยะต้น

การยกโขด คือ การพูนดินขึ้นให้สูงกว่าระนาบ ก่อนจะขุดดินบนโขดลงมาเล็กน้อยเพื่อลงต้นส้มโอ วิธีนี้จะทำให้รากต้นส้มโออยู่แค่เพียงดินชั้นบนๆ เมื่อใส่ปุ๋ยลงไปจะช่วยให้รากดูดซึมธาตุอาหารได้อย่างรวดเร็ว

บำรุงต้น-ใบให้สมบูรณ์
หัวใจสำคัญของผลผลิตที่ดี
ส้มโอจะเริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่ออายุ 3-4 ปีขึ้นไป จากนั้นจะให้ผลผลิตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 9-10 ปี และจะให้ผลผลิตดีคงที่ตราบเท่าที่ต้นยังสมบูรณ์ อยู่จนอายุประมาณ 20-30 ปี ดังนั้นคุณวิฑูรย์จึงให้ความสำคัญ กับการบำรุงต้นมาก เพราะยิ่งต้นแข็งแรง ใบเขียวมัน-เงา สมบูรณ์มากเท่าไหร่ นั่นหมายความว่าจะสามารถยืดอายุการให้ผลผลิตนานเท่านั้น

สำหรับเทคนิคการดูแลต้นส้มโอให้สมบูรณ์ของคุณวิฑูรย์ นอกจากจะเน้นเรื่อง “ธาตุอาหาร” ที่ต้องบำรุงให้เพียงพอแล้ว เรื่อง “ช่วงเวลา” ของการใส่ปุ๋ย ก็เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์ เพราะแต่ละช่วงการเจริญเติบโตของพืชนั้นจะมีความต้องการธาตุอาหารไม่เหมือนกัน หากเราบำรุงในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม นอกจากจะไม่ได้ผลลัพธ์ตามต้องการแล้ว ยังอาจเกิดผลเสียตามมาได้ โดยหลักการบำรุงในแต่ละช่วงเวลา เริ่มตั้งแต่

การดูแลส้มโอในระยะ 1-3 ปีแรก (ช่วงที่ยังไม่ให้ผล) คุณวิฑูรย์จะเน้นบำรุงด้วยปุ๋ยคอกเพื่อปรับโครงสร้างของดินให้ร่วนซุย เกิดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช

ระยะ 3 ปีเป็นต้นไป (ช่วงติดผลแล้ว) จะเน้นใช้ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 16-16-16 บลู ช่วยในการบำรุงต้นและใบของส้มโอไปตลอดทั้งปี โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงขึ้นน้ำ-ทำดอก จะให้ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 16-16-16 บลู อัตรา 3 กก./ต้น โดยระยะนี้จะต้องเน้นการบำรุงเป็นพิเศษจึงให้ปุ๋ยในปริมาณมากกว่าปกติ จากนั้นเมื่อเข้าระยะส้มโอติดดอก-ผลเล็ก ยังคงให้ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 16-16-16 บลู ต่อเนื่อง แต่ลดปริมาณลงเหลืออัตรา 1.5 กก./ต้น จากนั้นเมื่อถึงระยะผลอายุได้ 3 เดือน จึงให้ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 16-16-16 บลู อัตรา 1.5 กก./ต้น อีกครั้ง

ส้มโอขาวแตงกวาจะเริ่มเก็บผลผลิตได้เมื่อมีอายุประมาณ 6 เดือน นับจากดอกบาน ช่วงประมาณเดือนที่ 5 หรือระยะก่อนเก็บผลผลิต 1 เดือน คุณวิฑูรย์เลือกบำรุงผลส้มโอด้วยปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 13-13-24 โดยเน้นตัวท้ายสูง เพราะ “โพแทสเซียม” จะช่วยเพิ่มความหวานให้ส้มโอเป็นที่ต้องการของตลาด

หากเกษตรกรท่านใดที่พบปัญหาส้มโอเปลือกหนา คุณวิฑูรย์ แนะนำให้ลองสังเกตว่า มีการใส่ “ปุ๋ยคอก” ขณะที่ส้มโอติดผลเล็กหรือไม่ เพราะช่วงนี้เป็นระยะที่ส้มโอกำลังพัฒนาผล หากได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไป จะไปพัฒนาที่เปลือกแทน เป็นสาเหตุให้ส้มโอมีเปลือกที่หนา หรืออาการที่ชาวบ้านเรียกว่า “บวม” จึงแนะนำสำหรับส้มโอระยะ 3 ปีขึ้นไป ควรใส่ปุ๋ยคอกในช่วงที่ส้มโอไม่ติดผลจะดีที่สุด เพื่อเลี่ยงปัญหาข้างต้น

ระบบน้ำ
ต้องวางอย่างรอบคอบ
เรื่องของแหล่งน้ำและระบบการให้น้ำต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อช่วยให้ต้นส้มโอไม่ขาดน้ำในช่วงหน้าแล้ง ระบบน้ำที่คุณวิฑูรย์แนะนำ คือการให้น้ำผ่านระบบสปริงเกลอร์ โดยใช้หัวจ่ายน้ำแบบมินิสปริงเกลอร์ ทั้งนี้ การวางจุดของหัวมินิสปริงเกลอร์ ให้วางห่างจากโคนต้นประมาณ 1.5 เมตร เนื่องจากรัศมีของน้ำจะกระจายตามแนวรากของต้นส้มโอพอดี

สำหรับความถี่ของการให้น้ำ ช่วงที่ส้มโออายุ 1-3 ปี จะให้น้ำในปริมาณค่อนข้างมากและสม่ำเสมอ หลังจากต้นส้มโอเริ่มอยู่ตัว อายุ 3 ปีขึ้นไป จึงเริ่มให้น้ำประมาณ 3 วัน/ครั้ง นานครั้งละครึ่งชั่วโมง

“โรค-แมลง”
คู่ปรับสำคัญส้มโอ
ตัวชี้วัดสำคัญในการทำส้มโอให้ได้คุณภาพส่งออกคือ “ผิว” ต้องสวย เรียบเนียน ไม่ถูกทำลายโดย “เพลี้ยไฟ” ซึ่งมักจะเข้าทำลายยอดอ่อน ดอก และผลอ่อน ส่งผลให้ใบหงิกงอ ดอกแห้งไม่ติดผล ส่วนผลที่ถูกเพลี้ยไฟโจมตีจะเกิดรอยแผลสีออกเทา ทำให้เสียราคาไปมาก โดยช่วงที่ต้องเฝ้าระวังเพลี้ยไฟ คือ “ช่วงระยะทำดอก” เดือนพฤศจิกายน เรื่อยไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์

ปลูกด้วยระบบ GAP
เพิ่มโอกาสส่งออก-สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค
สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการทำส้มโอส่งออก คือ ใบรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
(Good Agricultural Practices : GAP ) ซึ่งจะมีเกณฑ์ที่ควบคุมดูแลการใช้สารเคมีอย่างเข้มงวด ถือเป็นการการันตีว่าผลผลิตของเรานั้นไม่มีสารเคมีตกค้างในระดับที่เป็นอันตราย

คุณวิฑูรย์ กล่าวว่า มาตรฐาน GAP ถือเป็นใบรับรองที่ประเทศคู่ค้าหลายประเทศให้ความสำคัญ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรับซื้อผลไม้จากจีน (ล้ง) จะมี การตรวจสอบใบรับรองทุกครั้ง หากสวนใดผ่านการรับรองมาตรฐานนี้ ก็เป็นข้อได้เปรียบในการขยายตลาด สร้างรายได้ให้มากขึ้น เพราะราคาสำหรับตลาดต่างประเทศ นั้นสูงกว่าในประเทศประมาณ 1 เท่าตัว

ทั้งนี้ เกษตรกรต้องมีความสื่อสัตย์ และเตรียมพร้อมแปลงของตนให้ปลอดสารตกค้างอยู่ตลอด โดยเฉพาะระยะที่ส้มโอเริ่มแก่ เจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ จะเน้นการตรวจสอบผลผลิตช่วงเวลานี้มากที่สุด เพราะเป็นด่านสุดท้ายก่อนเก็บผลผลิตออกสู่มือผู้บริโภค ดังนั้นในระหว่างการเพาะปลูกจะต้องระวังเรื่องการใช้สารเคมีอย่างมาก

เก็บผลผลผลิตระยะเหมาะสม
ได้สินค้ามีคุณภาพ มีตลาดรองรับ
การเก็บผลผลิตส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา สำหรับตลาดในประเทศ คุณวิฑูรย์แนะนำให้เก็บเกี่ยวในช่วงผลแก่ประมาณ 80-85 เปอร์เซ็นต์ ส่วนต่างประเทศจะอยู่ที่ 75-80 เปอร์เซ็นต์ และจุดสังเกตความแก่ของส้มโอ คุณวิฑูรย์แนะนำให้ดูที่ 3 จุดหลักคือ “ผิว” ต้องนวลสีออกกระดังงา หากลูบที่ผิวจะรู้สึกว่านูนขึ้นเล็กน้อยตามแนวกลีบส้มโอ ต่อมาคือ “ต่อมน้ำมัน” เริ่มขยายใหญ่ขึ้น และสุดท้ายคือ “ก้น หรือสะดือ” ของผล จะลึกและกว้างขึ้น โดยถ้ากดดูจะเริ่มนิ่ม

ด้านภาพรวมราคาส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา สำหรับตลาดในประเทศจะอยู่ราว 30-40 บาท/กก. ส่วนต่างประเทศจะอยู่ที่ราว 60-80 บาท/กก. หมายความว่า หากเกษตรกรสามารถทำผลผลิตให้ได้มาตรฐาน สามารถส่งออกได้เป็นสัดส่วนที่มาก รายได้ก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปด้วย และแม้จะเป็นส้มโอเกรดรองลงมา ก็ยังสามารถขายตลาดในประเทศได้ทั้งหมดเช่นกัน

การปลูกส้มโอให้มีคุณภาพดีมาตรฐานส่งออก มีรายละเอียดตั้งแต่การเริ่มวางแปลง การป้องกันโรคพืช-แมลง อย่างถูกหลักและปลอดภัย เพื่อให้ผลผลิตได้มาตรฐานตามระบบ GAP โดยเฉพาะสิ่งสำคัญที่ต้องอาศัยความสม่ำเสมอก็คือ เรื่องการบำรุง-ดูแลความสมบูรณ์ของต้น ซึ่งถือว่าเป็นต้นทางของผลผลิต เพราะหากเราดูแลต้นให้แข็งแรง ไม่ขาดธาตุอาหาร จะทำให้ส้มโอสามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพต่อเนื่องไปอีกยาว คุ้มค่าแก่การลงทุน

และนี่ถือเป็นแนวคิดการทำสวนส้มโอในแบบฉบับของคุณวิฑูรย์ ที่ผ่านการสังเกต ลองผิดลองถูก พร้อมลงปฏิบัติจริงจนประสบความสำเร็จ สามารถสร้างรายได้อย่างมั่นคงมาจนถึงปัจจุบัน “เชื้อพันธุกรรมพืช” นับเป็นต้นทุนสำคัญของการพัฒนาพันธุ์พืช หากสามารถรวบรวมและครอบครองพันธุกรรมพืชได้มากเท่าไร ก็จะยิ่งเพิ่มจุดแข็งและสร้างโอกาสทางการค้าได้มากเท่านั้น นักวิจัยสามารถเลือกใช้ประโยชน์จากเชื้อพันธุกรรมพืชที่มีจำนวนมากและหลากหลายชนิดได้ตามที่ต้องการแล้ว ยังช่วยเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนได้ในปริมาณสูงอีกด้วย

หน่วยบริหารจัดการเชื้อพันธุกรรมพืช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร. ล้านนา) เล็งเห็นประโยชน์ของการรวบรวมพันธุกรรมพืช จึงได้จัดตั้ง “ศูนย์พันธุกรรมพืช” ตั้งแต่ พ.ศ. 2557 ถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ของพืชผักและถ่ายทอดเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก และสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

ต่อมามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาได้ร่วมมือกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จัดตั้ง “หน่วยบริการจัดการเชื้อพันธุกรรมพืชวงศ์แตง” โดยดำเนินการ 6 ระยะ ระหว่าง พ.ศ. 2550-2565 โดยเก็บรวบรวม ประเมินลักษณะพันธุกรรม ขยายพันธุ์ และให้บริการเชื้อพันธุกรรมพืชแก่ผู้สนใจที่จะนำเชื้อพันธุกรรมดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ ทั้งด้านการวิจัย และการพัฒนาต่อยอดในอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สามารถรวบรวมเชื้อพันธุกรรมผักวงศ์แตงจากภายในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ แตงกวา จำนวน 246 สายพันธุ์ ฟักทอง จำนวน 408 สายพันธุ์ และมะระ จำนวน 60 สายพันธุ์ เก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมผักวงศ์แตงในระยะสั้น ภายในห้องเย็นที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส สำหรับถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์ในการวิจัยและอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ ข้อมูลลักษณะเศรษฐกิจบันทึกไว้ในฐานข้อมูลพันธุกรรมแตงกวา ในเว็บไซต์ www.biotec.or.th/germplasm

ที่ผ่านมา หน่วยบริหารจัดการเชื้อพันธุกรรมพืชของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ขึ้นทะเบียนพันธุ์แตงกวา 8 สายพันธุ์ และพันธุ์ลูกผสม 5 พันธุ์ ที่มีศักยภาพให้ผลผลิตสูงและต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 ณ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558 และคุ้มครองพันธุ์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 จดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ แตงกวา 8 สายพันธุ์ และพันธุ์ลูกผสม 5 พันธุ์ เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560 และให้ใช้ได้จนถึง วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2572

นอกจากนี้ ยังขึ้นทะเบียนพันธุ์ฟักทอง 1-7 และ 8-18 สายพันธุ์ ที่มีศักยภาพให้ผลผลิตและคุณภาพการบริโภคสูง ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 ณ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557 และ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2562 และคุ้มครองพันธุ์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 จดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่สายพันธุ์ทองล้านนา 1-7 เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562 ให้ใช้ได้จนถึง วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2574

ขณะเดียวกัน มทร. ล้านนา ประสบความสำเร็จในการพัฒนาพันธุ์พริก ร่วมกับ สำนักงานสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) หรือชื่อเดิม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ตั้งแต่ พ.ศ. 2548-2562 โดยการรวบรวมเชื้อพันธุกรรมพริก ซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์สืบทอด (Heirloom seed) จากแหล่งต่างๆ จากนั้นประเมินและคัดเลือกสายพันธุ์จนสามารถขึ้นทะเบียนพันธุ์ “พริกคีรีราษฎร์” จำนวน 8 พันธุ์ ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 วันที่ 28 มีนาคม 2555 และตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2558 และให้ใช้ได้จนถึง วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2570

“พริกพันธุ์คีรีราษฎร์” มีต้นกำเนิดมาจากสายพันธุ์พริกกะเหรี่ยงในพื้นที่ตำบลคีรีราษฎร์ จังหวัดตาก ซึ่งโดยทั่วไปพริกชนิดนี้จะให้ผลผลิตเพียง 200-300 กิโลกรัม ต่อไร่ เท่านั้น เมื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงพันธุ์เป็นสายพันธุ์พริกลูกผสมเปิด ที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม สามารถให้ผลผลิตสูงถึง 1.5 ตัน ต่อไร่ เป็นที่ต้องการของเกษตรกรและตลาดทั่วไป ปัจจุบัน ทีมนักวิจัย มทร. ล้านนา ได้ส่งมอบเมล็ดพันธุ์พริกคีรีราษฎร์ส่งคืนให้ชุมชน นำไปปลูกและผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อจำหน่ายเป็นพริกพันธุ์การค้า สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน

โครงการวิจัยเหล่านี้ นอกจากได้เมล็ดพันธุ์พืชคุณภาพดีแล้ว การผลิตพืชดังกล่าวยังได้รับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ (Organic Thailand) รหัสรับรอง TAS 5237 พื้นที่ 30.5 ไร่ 17 ชนิดพืช ของ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตั้งแต่ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน และการรับรองมาตรฐานอินทรีย์ มกท. ภายใต้ IFOAM Accreditation Programme รหัสรับรอง 040457OC พื้นที่ 30.5 ไร่ 17 ชนิดพืช ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2559 ถึงปัจจุบัน

มุ่งปรับปรุงพันธุ์พืชตอบโจทย์ตลาด

ผศ.ดร. จานุลักษณ์ ขนบดี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร ลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวว่า การปรับปรุงพันธุ์พืชเป็นศิลป์ (ART) และวิทยาศาสตร์ (science) ที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงพันธุกรรม การสืบทอดลักษณะของพืช ตั้งแต่ ปี 2548 ถึงปัจจุบัน สวทช. สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตร ลําปาง จัดทําโครงการ การสร้างประชากรพื้นฐานและสายพันธุ์แตงกวาให้ต้านทานต่อโรคราน้ำค้างและไวรัส โดยนําเชื้อพันธุกรรมแตงกวาทุกสายพันธุ์มาผสมรวมเพื่อรวมยีน (pool gene) และปลูกทดสอบในแปลง คัดเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะต้านทานโรคราน้ำค้างและโรคไวรัส พันธุ์ที่มีลักษณะทางพืชสวนที่ดีนําไปปรับปรุงพันธุ์ต่อ จนได้พันธุ์ที่มีศักยภาพเป็นพันธุ์การค้า

นอกจากนี้ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร ลำปาง ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของแตงกวาที่ต้านทานและไม่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง โดยใช้เทคนิคดีเอ็นเอเครื่องหมายและศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างแหล่งพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้างและพันธุ์ที่ไม่ต้านทานต่อโรค จนได้แตงกวา สายพันธุ์แท้ 8 สายพันธุ์ และพันธุ์ลูกผสม 5 พันธุ์ ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน ร้อยละ 30 และต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง โดยมีการขอขึ้นทะเบียน และคุ้มครองพันธุ์ จากกรมวิชาการเกษตร และสามารถถ่ายทอดพันธุ์ให้แก่เกษตรกร หรือภาคเอกชน ในการนําไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป

นอกจากนี้ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร ลำปาง ยังได้ศึกษาวิจัย เรื่อง “พันธุ์ฟักทอง ที่มีสารพฤกษเคมีเพิ่มมูลค่า ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารสุขภาพ” โดยได้แรงบันดาลใจมาจากผลผลิตฟักทองสายพันธุ์ไทยมีราคาตํ่า คนไทยหันไปบริโภคฟักทองญี่ปุ่นกันมากขึ้น เพราะเชื่อว่าฟักทองญี่ปุ่นนั้นมีสารอาหารทางโภชนาการที่ดีกว่า

ทางสถาบันฯ จึงได้รวบรวมสายพันธุ์ฟักทองไทยนำมาศึกษาวิจัยจุดเด่นของแต่ละสายพันธุ์มาผสมพันธุ์ จนได้สายพันธุ์ใหม่กว่า 13 สายพันธุ์ โดยมี 3 สายพันธุ์ ที่มีความโดดเด่น ได้แก่ PK11, PK14 และ PK17 คือ ผลผลิตลูกฟักทองที่ได้มีขนาดกลาง 3-5 กิโลกรัม ต่อลูก เนื้อมีสีเหลืองสวย ไม่เปลี่ยนสีเมื่อผ่านความร้อน เนื้อมีความแน่น เหนียว เมล็ดใหญ่และจำนวนมากต่อลูก

เนื้อและเมล็ดฟักทองที่ได้มีสารพฤกษเคมีที่มีปริมาณสูง เช่น ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ สารพรีไบโอติก วิตาวินเอ เบต้าแคโรทีน ไฟเบอร์ โฟเลต และโอเมกา 3 และ 6 สูง ทั้งเนื้อและเมล็ดสามารถนำไปแปรรูปอาหารได้หลากหลาย เหมาะกับผู้รักสุขภาพ แม้จะผ่านความร้อนแต่สารพฤกษเคมีหรือสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายก็ยังคงมีอยู่สูง รสหวานธรรมชาติเป็นนํ้าตาลที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที เมื่อนำไปประกอบอาหารก็ไม่จำเป็นต้องเติมนํ้าตาลในปริมาณมาก นอกจากนี้ ยังนำมาแปรรูปเป็นอาหาร อาทิ คุกกี้ฟักทอง เนย และแยมทาขนมปัง ขนมปังรสฟักทองเนื้อนุ่ม ซึ่งผลงานดังกล่าวได้รับรางวัล Gold Award สาขางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2561

ผักไทยขายดี ในตลาดคู่ค้า FTA

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม สมัคร GClub อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า สินค้าพืชผักของประเทศไทยมีศักยภาพการผลิตและความพร้อมด้านการแข่งขันในตลาดโลกได้ดี ทางกรมสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลผลิตคุณภาพดีตรงตามความต้องการของตลาด ทุกวันนี้ ทั่วโลกต่างสนใจบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและปลอดภัยจากโควิด-19 จึงเป็นโอกาสดีของเกษตรกรไทย ที่จะพัฒนาสินค้าให้สนองความต้องการตลาด และใช้แต้มต่อจากความตกลงการค้าเสรี (FTA) 13 ฉบับ ที่ไทยทำกับ 18 ประเทศ ในการส่งออกสินค้าไทยสู่ตลาดโลก

ประเทศไทย นับเป็นผู้ส่งออกสินค้าผักสดแช่เย็นแช่แข็งและผักแห้งเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน และเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 14 ของโลก ในช่วง 6 เดือนแรก (มกราคม-มิถุนายน) ของปี 2563 ไทยส่งออกสินค้าผักไปประเทศ FTA รวม 94 ล้านเหรียญสหรัฐ (สัดส่วน ร้อยละ 66 ของการส่งออกสินค้าผักทั้งหมดของไทย)

ปัจจุบัน ไทยได้เปิดตลาดส่งออกผัก ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) 13 ฉบับ กับประเทศคู่ค้า ได้แก่ จีน ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น ชิลี เปรู และอาเซียน 6 ประเทศ คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม เมียนมา และบรูไน ทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่น นับเป็นคู่ค้าหลัก อันดับ 1 (สัดส่วน ร้อยละ 36) ในการส่งออก พืชตระกูลถั่วแช่แข็ง รองลงมาคือ มาเลเซีย สิงคโปร์ เมียนมา และเวียดนาม (สัดส่วน ร้อยละ 22) สินค้าส่งออกสำคัญ คือ หอม กระเทียมสด พริกสด ส่วนคู่ค้า อันดับ 3 คือ ฮ่องกง (สัดส่วน ร้อยละ 4) สินค้าส่งออกสำคัญคือ ผักแช่แข็ง ได้ยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าผักสด แช่เย็น แช่แข็งและแห้งให้ไทยแล้ว

เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกผักฯ ของไทยในปี 2562 กับปี 2535 ก่อนที่ไทยจะมีความตกลงการค้าเสรีฉบับแรกกับอาเซียน พบว่าการส่งออกผักฯ ของไทยสู่ตลาดโลกขยายตัว ร้อยละ 332 และหากพิจารณารายตลาด พบว่าตั้งแต่ความตกลง FTA แต่ละฉบับมีผลใช้บังคับ มูลค่าการส่งออกผักฯ ไปตลาดส่งออกสำคัญที่เป็นคู่ FTA เติบโตอย่างน่าพอใจในหลายตลาด อาทิ อาเซียน ขยายตัว ร้อยละ 947 เกาหลีใต้ ขยายตัว ร้อยละ 756 จีน ขยายตัว ร้อยละ 9,313 และญี่ปุ่น ขยายตัว ร้อยละ 23 เป็นต้น