ธุรกิจไก่สวยงาม ทรงตัวหลังโควิด-19 อาหารแพงขึ้นยังไม่กระทบ

คุณธรรมรัตน์ สมเสร็จ ประธานชมรมไก่แจ้ทวารวดี ซึ่งเป็นชมรมไก่แจ้ที่รวมเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของคนเลี้ยงไก่แจ้สวยงามทุกเพศ ทุกวัย และสมาชิกคนรักไก่แจ้ รวมถึงผู้เลี้ยงไก่แจ้ในหลายจังหวัด ให้ข้อมูลภาพรวมการซื้อขายไก่แจ้ ซึ่งเป็นไก่สวยงามที่คนส่วนใหญ่นิยมว่า วิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา ชะลอการซื้อขายไก่แจ้ลดลง เพราะการซื้อขายสัตว์เลี้ยงโดยส่วนใหญ่ ผู้ซื้อจะต้องการเห็นของจริงหรือได้สัมผัสกับสัตว์เลี้ยงนั้นๆ ต่อเมื่อผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ทำให้การสัญจรไม่สะดวก จึงส่งผลให้การซื้อขายชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด และมีผลต่อในวงการธุรกิจสัตว์เลี้ยง

อย่างไรก็ตาม คุณธรรมรัตน์มองว่า การชะลอตัวของธุรกิจสัตว์เลี้ยง ก็เพียงช่วงเวลาเดียวที่มีการล็อกดาวน์ เพราะการเดินทางไม่สะดวก แต่เมื่อการสัญจรทำได้ตามปกติ ธุรกิจก็เริ่มกระเตื้องขึ้นและฟื้นขึ้นตามลำดับ และเชื่อว่าอีกไม่นานจะกลับมาเหมือนเดิม ที่ผ่านมาอาจมีธุรกิจสัตว์ปีกบางแห่งปิดตัวลงไป เชื่อว่าไม่ได้เป็นผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 โดยตรง แต่เพราะปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมมากกว่า

ประธานชมรมไก่แจ้ทวารวดี บอกด้วยว่า หลังวิกฤตโควิด-19 ผ่านไป สิ่งที่เห็นได้ชัดคือต้นทุนการทำฟาร์มสัตว์ปีกสูงขึ้น โดยเป็นปัจจัยจากค่าอาหารสัตว์ที่แพงขึ้น แต่การซื้อขายยังคงจำหน่ายในราคาเดิม มีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณธรรมรัตน์ สมเสร็จ ประธานชมรมไก่แจ้ทวารวดี เลขที่ 1/9 ซอย 3 หมู่ที่ 6 ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม หรือโทรศัพท์สอบถามเส้นทางกันก่อนได้ที่ โทร. (087) 821-4803

มะพร้าว เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่งของไทย ส่วนใหญ่นิยมบริโภคน้ำมะพร้าวเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เนื้อมะพร้าวแปรรูปเป็นอาหารคาวหวาน มะพร้าวทั้งต้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบในชีวิตประจำวัน ก้านใบหรือทางมะพร้าว ใช้ทำไม้กวาด ใบมะพร้าวนําไปจักสานเป็นหมวก ฯลฯ นอกจากนี้ สามารถนำส่วนต่างๆ ของต้นมะพร้าวไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว ผลิตน้ำกะทิเข้มข้น น้ำตาลมะพร้าว ที่นอนใยมะพร้าว การเผาถ่าน ฯลฯ

สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เคยสำรวจพบว่า ประชากรไทย 1 คน จะบริโภคเนื้อมะพร้าวประมาณปีละ 8,273.2 กรัม หรือประมาณ 18 ผล ต่อคน ต่อปี ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีพลเมืองประมาณ 55 ล้านคน จะใช้ผลมะพร้าวประมาณ 990 ล้านผล หรือประมาณ 65% ของผลผลิตทั้งหมด ส่วนที่เหลือประมาณ 35% ของผลผลิตทั้งหมด หรือ 489 ล้านผล ใช้ในรูปของอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เครื่องดื่ม อาหาร ฯลฯ สำหรับใช้ในประเทศและส่งออก

วิธีการปลูกมะพร้าวให้ได้ผลดี

ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร กรมวิชาการเกษตร แนะวิธีการปลูกมะพร้าวให้ได้ผลดีต้องประกอบด้วย การเลือกพื้นที่ปลูกดี ใช้พันธุ์ดี ปลูกถูกวิธี ดูแลรักษาต้นมะพร้าวให้สมบูรณ์ ปราศจากโรคและศัตรูที่มารบกวน โดยพิจารณาเลือกที่ปลูกและดูแลรักษาสวนมะพร้าว ดังนี้

การเลือกที่ปลูกมะพร้าว

ประเทศไทยตั้งอยู่บนบริเวณที่มีลมฟ้าอากาศเหมาะสมสาหรับปลูกมะพร้าวโดยทั่วไปจะเห็นมะพร้าวปลูกอยู่ตั้งแต่ภาคเหนือ จรดภาคใต้ หลักทั่วไปในการเลือกที่ปลูกมะพร้าวควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

ฝน เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในการปลูกมะพร้าว จากการศึกษาพบว่าที่ปลูกมะพร้าวได้เจริญงอกงามดี จะต้องมีปริมาณน้ำฝนตกไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตร ต่อปี และมีฝนตกสม่ำเสมอทุกเดือน ถ้ามีฝนตกน้อยกว่า 50 มิลลิเมตร ต่อเดือนติดต่อกันเกินกว่า 3 เดือน มะพร้าวจะออกผลน้อยลง

อุณหภูมิ บริเวณที่มีอากาศหนาวจัดเป็นเวลานานๆ คือ มีอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ติดต่อกันหลายๆ วันจะมีผลให้มะพร้าวออกผลน้อยลง เพราะอากาศหนาวไปเปลี่ยนระบบการปรุงอาหารและกิจกรรมอื่นๆ แต่ถ้าเป็นที่ซึ่งหนาวเป็นครั้งคราวก็ไม่มีปัญหามากนัก ที่ซึ่งมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 20-27 องศาเซลเซียส เช่น ภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก สามารถปลูกมะพร้าวได้ผลดี

แสงแดด เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการปลูกมะพร้าว บริเวณซึ่งแสงแดดส่องไม่ค่อยถึง มะพร้าวจะไม่ค่อยออกดอกออกผล หรือมีเนื้อบาง ดังนั้น จึงไม่ควรปลูกมะพร้าวในที่ร่ม หรือที่ซึ่งมีเมฆหนาทึบอยู่ตลอดปี ปริมาณแสงแดดที่เหมาะสมวันละ 7.1 ชั่วโมง

ความสูงของพื้นที่ ระดับความสูงของพื้นที่จะเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิ ความสูงทุกๆ 100 เมตร อุณหภูมิจะลดต่ำลง 0.6 องศาเซลเซียส ดังนั้น การทำสวนมะพร้าวเพื่อการค้า ควรเลือกที่สูงไม่เกิน 500 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ผลผลิตที่ได้ไม่ต่างจากการทำสวนมะพร้าวใกล้ทะเล

ดินที่ใช้ปลูกมะพร้าว

มะพร้าวเป็นพืชที่ไม่ค่อยเลือกชนิดดินที่ปลูกมากนัก แต่ต้องคำนึงถึงลักษณะพื้นที่ดังนี้

ที่ลุ่ม ที่ดอน มะพร้าวปลูกเจริญงอกงามบนที่ดอนมากกว่าที่ลุ่ม การที่จะปลูกมะพร้าวให้เจริญงอกงามในที่ลุ่มต้องยกเป็นคันร่องให้สูงพ้นระดับน้ำที่ขังอยู่ให้หลังคันดินที่ยกขึ้นมาสูงกว่าระดับน้ำในฤดูน้ำสูงสุดประมาณ 60 เซนติเมตร เป็นคันยาวไปตามรูปเนื้อที่ที่มีอยู่ จึงจะพอใช้ปลูกมะพร้าวให้ได้ผลดี

ดินดาน ดินที่ชั้นหินแข็งหรือหินดานอยู่ลึกจากผิวดินน้อยกว่า 1 เมตร ไม่ควรใช้ปลูกมะพร้าว เพราะจะไม่ค่อยได้รับผลดี ถ้าจะได้ผลดีก็ต้องลงทุนสูง

ดินดี ไม่ดี หมายถึง ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์มากน้อย เพียงสังเกตได้จากต้นไม้หรือต้นมะพร้าวที่ขึ้นอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ถ้าต้นไม้เหล่านั้นมีใบเขียวเข้มออกดอกออกผลงามแสดงว่าดินดี แต่ถ้าต้นมะพร้าวหรือต้นไม้อื่นที่อยู่ใกล้เคียงนั้นไม่เจริญงอกงาม ควรตรวจสอบดูให้แน่ชัดโดยการเก็บตัวอย่างดินส่งไปวิเคราะห์

ระยะปลูกเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อจำนวนผลผลิตที่จะได้รับ ถ้าปลูกถี่เกินไปต้นมะพร้าวจะบังร่มกัน ไม่สามารถจะปรุงอาหารได้อย่างเต็มที่ ต้นสูงชะลูด ออกผลไม่ดก แต่ถ้าปลูกห่างกันมาก จะได้จำนวนต้นน้อย ผลผลิตก็น้อย มะพร้าวต้นเตี้ยควรปลูกไร่ละประมาณ 40-45 ต้น สำหรับพื้นที่ลุ่มหรือดินเป็นดินหนียวการระบายน้ำไม่ดี ควรยกร่องให้สูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ขุดร่องตามความยาวของพื้นที่ สันร่องกว้าง 5 เมตร สำหรับพันธุ์ต้นเตี้ย 8 เมตร สำหรับพันธุ์ต้นสูง คูร่องกว้าง 2 เมตร

การเตรียมหลุมปลูก

การปลูกมะพร้าวบนที่ดอนและดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เช่น ดินทราย ดินลูกรัง ควรขุดหลุมกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร และลึก 1 เมตร ส่วนในที่ลุ่มหรือที่ที่ดินอุดมสมบูรณ์อาจขุดให้หลุมเล็กกว่านี้ การเตรียมหลุมปลูกที่ดีจะช่วยให้หน่อมะพร้าวเจริญเติบโตดี

การขุดหลุม

การขุดหลุมให้ขุดเอาดินผิวไว้ด้านหนึ่งและดินชั้นล่างไว้อีกทางหนึ่ง และควรขุดในฤดูแล้ง หลังจากขุดหลุมแล้วให้ตากดิน 7 วัน หากสามารถหาไม้มาเผาในก้นหลุมจะช่วยป้องกันปลวก ควรรองก้นหลุมด้วยกาบมะพร้าว 2 ชั้น และเอาดินชั้นบนใส่ลงไปประมาณครึ่งหลุม จากนั้นใส่ดินผสมกับปุ๋ยคอกหรือผสมปุ๋ยกับดินและกาบมะพร้าวสลับกันไปเป็นชั้นๆ ปุ๋ยคอกใส่หลุมละ 1 ปี๊บ หรือร็อกฟอสเฟตครึ่งกิโลกรัมต่อหลุม ใส่ดินและปุ๋ยที่ผสมกันแล้วจนเต็มหลุม

ฤดูปลูกที่เหมาะสมสำหรับปลูกมะพร้าว ควรเริ่มปลูกในฤดูฝนหลังจากที่ฝนตกใหญ่แล้ว 2 ครั้ง การปลูก ควรปลูกต่ำกว่าปากหลุม 15 เซนติเมตร แต่ในที่บางแห่งซึ่งเป็นที่ลุ่มระดับน้ำใต้ดินสูง ควรปลูกให้เสมอกับปากหลุมหรือสูงกว่าปากหลุมเล็กน้อย

วิธีปลูก

นำหน่อมะพร้าววางลงในหลุม เอาดินกลบและเหยียบดินข้างๆ ให้แน่น การกลบดิน อย่าให้สูงมากนัก เพราะดินจะทับคอหน่อมะพร้าว ทำให้เจริญเติบโตช้า หลังจากปลูกแล้วเกลี่ยดินปากหลุมให้เรียบร้อย และเอาไม้ปักผูกต้นไว้กับหลักเพื่อกันลมโยก การปลูกมะพร้าวพวกต้นเตี้ยสีเหลือง ฃหรือแดงควรมีร่มกันแดดไว้ตอนย้ายปลูกใหม่ๆ เพราะมะพร้าวทั้งสองชนิดไม่ทนทานต่อแดด ใบอาจไหม้ได้เมื่อถูกแดดจัดๆ

การใส่ปุ๋ยต้นมะพร้าวที่เริ่มปลูก ควรใส่ตั้งแต่มีอายุ 6 เดือนหรือใบยอดเริ่มคลี่ออก หลังจากปลูกเป็นต้นไป ใส่ปีละ 2 ครั้ง ปุ๋ยที่ใส่อาจใช้ได้ทั้งปุ๋ยมูลสัตว์และปุ๋ยเคมี ปุ๋ยมูลสัตว์พวกมูลวัว มูลควาย ควรใส่ต้นละ 2 ปี๊บ ต่อปี มูลเป็ด มูลไก่ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี๊บ การใสปุ๋ยเคมีแบ่งใส่ทุก 6 เดือน ตอนต้นฝนช่วงเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน ครั้งที่ 2 ตอนปลายฝน ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม แล้วแต่ละฤดูกาลของแต่ละแห่ง ปุ๋ยเคมีที่แนะนำให้ใช้เป็นปุ๋ยผสมสูตร 13 : 13 : 21 รวมกับปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต หรือหินปูนโดโลไมท์ สำหรับปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟตและหินปูนโดโลไมท์ให้ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าใช้หินปูนโดโลไมท์ให้หว่านก่อนใส่ปุ๋ยอย่างอื่นอย่างน้อย 1 เดือน วิธีใส่ปุ๋ย ก่อนใส่ปุ๋ยควรถางโคนต้นให้เตียน แล้วใช้ปุ๋ยโรยตั้งแต่โคนต้นออกมาถึงรัศมี 1.5 เมตร โรยรอบต้น และบริเวณใส่ปุ๋ยควรขยายออกไปทุกที

วิธีใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ ให้กับต้นมะพร้าว ควรขุดรางรอบต้นให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร กว้าง 12 เซนติเมตร วงในห่างต้น 1 เมตร เอามูลสัตว์ที่ต้องการใส่ๆ ลงไปในรางที่ขุดแล้วกลบดิน อีกวิธีหนึ่งที่นิยมกันคือ ขุดเป็นหลุม กว้างประมาณ 30x30x30 เซนติเมตร ที่โคนต้น ห่างจากลำต้น 1.5 เมตร ต้นละ 3 หลุม แล้วใส่ปุ๋ยในหลุมที่ขุด หลุมที่ขุดใส่ปุ๋ยให้เปลี่ยนที่ทุกปีจนรอบต้น โดยทั่วไป ต้นมะพร้าวจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุประมาณ 5-6 ปี หากมีการดูแลจัดการที่ดี จะให้ผลผลิตนาน

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบข่าว จาก ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส้มโอพันธุ์ขาวทองดี หรือชาวสวนเรียกกันสั้นๆ ว่า “ส้มโอทองดี” แต่ก่อนมีผู้เรียกส้มโอพันธุ์นี้ว่าส้มสีปูน เนื่องจากลักษณะสีของเปลือกในและเนื้อที่มีสีแดงคล้ายสีปูน ส้มโอทองดี เป็นส้มโอพันธุ์ที่สามารถรักษารสชาติไว้ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะปลูกที่ไหน ในสภาพพื้นที่อย่างไร คุณภาพของรสชาติไม่เปลี่ยน จึงเป็นที่นิยมทั้งภายในและต่างประเทศ ใบจะมีลักษณะค่อนข้างมนหรือกลม สีเขียวเข้ม บริเวณริมใบเป็นจักเล็กๆ และมีจักใหญ่ 1 จัก ตรงส่วนปลายใบ เส้นใบจะหยาบและหนา ผิวผลเรียบสีเขียว

มีลักษณะผลที่เป็นเอกลักษณ์ชัดเจน คือทรงผลกลมแป้น ไม่มีจุก มีจีบเล็กน้อยที่ขั้วผล ขนาดผลปานกลาง ผลมีน้ำหนักประมาณ 950-1,200 กรัม เปลือกผลมีขนอ่อนนุ่มเล็กน้อย เปลือกบางเพียง 1-2 เซนติเมตรเท่านั้น เนื้อหรือกุ้งมีสีชมพูอ่อน เนื้อนิ่มฉ่ำน้ำ รสชาติหวาน มีความหวานสูง ไม่มีรสขม กลิ่นหอม รับประทานอร่อย ชาวจีนนิยมซื้อเพราะสีเนื้อคล้ายสีทับทิมไหว้เจ้า เป็นมงคลนั่นเอง ซึ่งตลาดส้มโอทองดีส่งออกตอนนี้ส่งออกไปที่จีนและฮ่องกงเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากข้อมูลพบว่าส้มโอพันธุ์ทองดีมีตัวเลขส่งออกมากที่สุด

คุณพงษ์พัน เมืองทอง เจ้าของสวน “เมืองทอง” อยู่บ้านเลขที่ 133/3 หมู่ที่ 8 ตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตรศ โทร. (089) 267-9764 ตัวอย่างเกษตรกรที่ปลูกส้มโอพันธุ์ทองดีมานาน และปัจจุบันนั้นเน้นผลผลิตส้มโอทองดีเพื่อส่งออกเกือบทั้งหมด เนื่องจากมีราคารับซื้อที่สูงกว่าราคาซื้อขายส้มโอภายในประเทศ แต่เกษตรกรก็ต้องทำผลผลิตส้มโอออกมาให้มีคุณภาพตามที่ผู้ค้าส่งออกต้องการเช่นกัน

คุณพงษ์พัน เล่าย้อนไปว่า ส้มโอปลูกมานานตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ ที่ปลูกมานานกว่า 30 ปี ถือว่าเป็นสวนส้มโอในยุคแรกๆ ของอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ต่อมาเมื่อคุณพ่ออายุมากก็ให้รุ่นลูกปลูกต่อ ซึ่งตนเองก็ปลูกส้มโอ จำนวน 22 ไร่ อายุต้นส้มโอโดยเฉลี่ยก็ประมาณ 15 ปี ซึ่งทำแค่ 2 คน กับภรรยาเท่านั้น ซึ่งการทำสวนส้มโอที่นี่ปัจจุบันเน้นการใช้เครื่องจักร อย่าง เครื่องฉีดพ่นสารเคมี อย่างรถพ่นสารเคมีแบบแอร์บัส ที่มีประสิทธิภาพดีทำให้การใช้แรงงานตัวเองน้อยลงหรือต้องจ้างแรงงานฉีดยาไม่มี

สวนส้มโอ 22 ไร่ ปลูกส้มโอพันธุ์ทองดีทั้งหมด

คุณพงษ์พัน ให้เหตุผลที่เลือกปลูกแต่ส้มโอทองดี เพราะส้มโอทองดี ดูแลง่าย เมื่อแก่ใกล้เก็บเกี่ยวก็ไม่เป็นหัวข้าวสารเร็ว ซึ่งสายพันธุ์อื่นมักจะเป็น เช่น ขาวแตงกวา เมื่อแก่เก็บเกี่ยวได้ก็ต้องเร่งเก็บหรือรีบตัดขาย แต่กับส้มโอทองดีนั้นเมื่อแก่จะไม่ค่อยเป็นหัวข้าวสาร ทำให้สามารถชะลอเวลาการเก็บผลเพื่อรอราคาที่สูงจนกว่าเราพอใจขายได้ อย่างราคาซื้อขายอาจจะถูกกว่าขาวแตงกวา

“แต่จริงๆ ก็ถือว่าต่างกันไม่มากนัก ยกตัวอย่างช่วงเวลาแพงที่สุดในปีที่ผ่านมา สำหรับราคาส่งออกไปจีน ส้มโอขาวแตงกวา ราคากิโลกรัมละ 90 บาท ซึ่งราคาส้มโอทองดี ราคากิโลกรัมละ 60-80 บาท ส่วนตัวคิดว่าเรื่องของระยะเวลาที่อยู่บนต้นไม่ต้องมาบีบบังคับเรามากนักที่จะต้องรีบเก็บเกี่ยว แต่การเลือกสายพันธุ์ปลูกนั้นก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละสวนด้วย ซึ่งบางสวนก็เลือกปลูกขาวแตงกวาที่ราคาสูงสุดในบรรดาส้มโอด้วยกัน ผลใหญ่ทำให้น้ำหนักดีกว่า แต่การออกดอกติดผลของขาวแตงกวานั้นยังสู้ทองดีไม่ได้ที่ออกดอกติดผลง่ายกว่า”

ปลูกส้มโอ ต้องเป็นดินไม่แฉะ อุ้มน้ำ

คุณพงษ์พัน ยกตัวอย่างว่าพื้นที่ปลูกบางแปลงที่เคยเป็นที่ทำนามาก่อน สภาพดินเป็นดินเหนียว ซึ่งแน่นอนย่อมอุ้มน้ำได้ดี ต้นส้มโอที่ปลูกบนดินที่อุ้มน้ำหรือดินขังแฉะจะเป็นโรครากเน่าโคนเน่าได้ง่าย ซึ่งต้นส้มโอที่ดีระบบรากจะต้องสมบูรณ์ แข็งแรง จึงจะให้ผลผลิตที่ดีตาม ดินปลูกที่ร่วนซุย ระบายน้ำดีย่อมจะดีที่สุดสำหรับพื้นที่ปลูกส้มโอ พื้นที่ที่น้ำขังแฉะจึงไม่เหมาะสมนักสำหรับการปลูกส้มโอหรือน้ำแฉะช่วงออกดอก หรือผลอ่อนก็จะร่วง เป็นต้น ในบางพื้นที่ก็อาจจะแก้ไขปรับพื้นที่ให้ระบายน้ำดี เช่น การยกร่องแบบลูกฟูก

ส้มโอ เป็นพืชที่ชอบน้ำ แต่ไม่ชอบแฉะ

สวนส้มโอ ต้องมีระบบการให้น้ำที่ดี น้ำจะช่วยให้การเจริญเติบโตที่ดีและสม่ำเสมอในช่วงแรกของการปลูก ต่อมาเมื่อต้นส้มโอโตพอที่จะเริ่มบังคับให้มีผลผลิตอย่างเต็มที่ เช่น อายุ 3-4 ปีขึ้นไป เทคนิคการงดน้ำให้กับต้นส้มโอจนเหมาะสมแล้วเปิดน้ำให้กับต้นส้มโออย่างเต็มที่ เพื่อกระตุ้นการออกดอกก็ต้องอาศัยระบบน้ำที่ดีมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

ระยะปลูกส้มโอทองดีของสวนเมืองทอง

เนื่องจากต้นส้มโอที่ใช้ปลูกส่วนใหญ่ได้จากกิ่งตอน จึงมีทรงพุ่มไม่กว้างนัก ดังนั้น ถ้าปลูกในสภาพที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดี ใช้ระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถว ประมาณ 8×8 เมตร ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก แต่ถ้าปลูกในสภาพที่ดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์นัก หรือมีระดับน้ำใต้ดินสูงก็อาจจะปลูกให้มีระยะระหว่างต้นและแถวประมาณ 6×6 เมตร ฉะนั้น ในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกส้มโอได้ประมาณ 25-40 ต้น

คุณพงษ์พัน เล่าว่า ที่สวนตนเองเลือกระยะปลูก 7×7 เมตร ก็ควบคุมทรงพุ่มโดยช่วยตัดแต่งออกบ้างหลังการเก็บเกี่ยว เน้นการตัดแต่งกิ่งที่ไขว้กัน กิ่งที่แน่นทึบ ไม่สามารถตัดแต่งกิ่งหนัก เช่น ไม้ผลอื่น เช่นมะม่วงได้ ต้นส้มโอถ้าตัดแต่งหนักการให้ผลผลิตในปีต่อไปจะไม่ดี หรือไม่ออกดอกติดผลเลย เรื่องระยะปลูกชาวสวนก็จะต้องพิจารณากันเองตามเหตุผลในแต่ละพื้นที่ แต่ทุกวันนี้ที่ดินมีราคาค่อนข้างแพง การปลูกส้มโอก็ต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดและเรื่องของการจัดการสวน

วิธีปลูกส้มโอ

หลังจากเตรียมหลุมปลูกเรียบร้อยแล้ว นำกิ่งพันธุ์ส้มโอที่เตรียมไว้วางลงตรงกลางหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงต้นกล้าสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย หรือถ้าเป็นกิ่งตอนที่ชำแล้วให้ระดับดินที่ชำพอดีกับดินปากหลุม ใช้มีดที่คมกรีดถุงต้นกล้าจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน คือซ้ายและขวา เมื่อกรีดถุงแล้วให้ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก กลบดินที่เหลือลงหลุม กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่นแล้วใช้ไม้ปักยึดกับลำต้น โดยปักให้ถึงก้นหลุมเพื่อป้องกันลมโยก หาวัสดุต่างๆ เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง มาคลุมดินบริเวณโคนต้น รดน้ำให้ชุ่มแล้วหาวัสดุมาทำร่มเงา เช่น ทางมะพร้าวหรือกิ่งไม้ที่มีใบใหญ่มาพรางแสงแดดทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก เพื่อช่วยพรางแสงแดดให้กับส้มโอที่ปลูกใหม่ เมื่อต้นตั้งตัวได้ก็ค่อยเอาที่พรางแสงออก

เทคนิคการอดน้ำหรือกักน้ำ ให้ออกดอกตามต้องการ

คุณพงษ์พัน อธิบายว่า เป็นเทคนิคที่นำมาใช้ในสวนส้มเพื่อช่วยให้ต้นส้มออกดอก ก็เข้าสู่กระบวนการในการทำใบอ่อนให้เสมอทั่วทั้งต้น จากนั้นก็จะใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 พร้อมกับการฉีดพ่นสะสมอาหาร 2-3 รอบ ด้วยปุ๋ย ฮอร์โมน สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงเพื่อรักษาใบอ่อนไม่ให้โดนทำลาย โดยสะสมอาหารราวๆ 2 เดือน ตั้งแต่ระยะใบอ่อนจนถึงระยะใบแก่

การกักน้ำ จะงดน้ำราว 20-30 วัน ให้ดินแห้ง เห็นว่าใบแก่มีสีเขียวเข้ม บีบจับขยี้ใบส้มโอแล้วกรอบ แสดงว่าใช้ได้ ก็จะเปิดน้ำให้จนชุ่มฉ่ำ ใส่ปุ๋ยเคมีช่วยกระตุ้นการเปิดตาดอก ด้วยปุ๋ย สูตร 8-24-24 อีกครั้ง แล้วการฉีดพ่นเปิดตาดอกจะฉีดพ่นด้วยปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 อัตรา 2.5-3 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ผสมกับพวกฮอร์โมน เช่น สาหร่ายสกัด แคลเซียมโบรอนและสารป้องกันกำจัด โดยจะฉีดกระตุ้นให้ออกดอกหรือเรียกว่าการเปิดตาดอก ก่อนการเปิดน้ำสัก 5-7 วัน 1 ครั้ง หลังการเปิดให้น้ำอย่างเต็มที่ก็จะฉีดพ่นเปิดตาดอก ครั้งที่ 2

หากเห็นว่ามีแนวโน้มของการออกดอกให้เห็นก็ให้เลือกใช้ปุ๋ยสูตรเดิม คือ ปุ๋ยทางใบ สูตร 0-52-34 หรือหากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอากาศค่อนข้างหนาวเย็น ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นปุ๋ยที่มีสูตรปุ๋ยตัวหน้ามาช่วยกระตุ้น เช่น สูตรทางใบ สูตร 13-0-46 ส่วนปุ๋ยทางดินที่จะใส่ให้ช่วงเปิดตาดอกก็ยังคงใช้ปุ๋ยเคมีใส่ทางดิน คือสูตร 8-24-24 แต่หลังจากใส่ปุ๋ยทางดินแล้ว ฉีดเปิดตาดอกทางใบแล้วยังนิ่งไม่ออกดอก ก็อาจจะใส่ปุ๋ยทางดินช่วยกระตุ้นให้อีกครั้ง เช่น ปุ๋ยเคมี สูตร 18-0-46 ใส่ให้เป็นต้นๆ ไป

การออกดอกของส้มโอ

ถ้าปล่อยให้ส้มโอออกช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ (ขึ้นน้ำและเปิดตาดอกเดือนธันวาคม) ก็จะเป็นส้มปีหรือส้มตามฤดูกาล ซึ่งส้มโอทองดีหลังออกดอกนับไปอีกราว 7.5-8 เดือน จึงจะแก่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ถ้าเป็นส้มโอขาวแตงกวา อายุจะสั้นกว่าราว 7 เดือน ก็จะเก็บเกี่ยวได้ แต่ถ้าเป็นส้มโอนอกฤดูกาลก็จะต้องให้ออกดอกมาก่อนหน้านี้ เช่น บังคับให้ออกดอกมาในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ก็แล้วแต่เกษตรกรว่าจะวางแผนให้ออกช่วงเดือนไหน ขึ้นอยู่กับการวางแผนของตัวเกษตรกรเอง

การทำส้มโอนอกฤดูกาล นอกจากมีความเข้าใจเบื้องต้นเรื่องของนิสัยธรรมชาติของส้มโอสายพันธุ์ที่ตนเองปลูก เกษตรกรก็ต้องอาศัยดวงจากธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งนิสัยส้มโอทุกสายพันธุ์จะออกดอกติดผลปีละ 2 รุ่น โดยรุ่นแรกออกดอกเดือนธันวาคม-มกราคม ผลแก่เก็บเกี่ยวเดือนสิงหาคม-กันยายน (ดกมาก) รุ่นสองออกดอกเดือนสิงหาคม-กันยายน ผลแก่เก็บเกี่ยวเดือนมีนาคม-เมษายน (ดกน้อยกว่ารุ่นแรก) แต่ผลรุ่นสองมีคุณภาพดีกว่ารุ่นแรกเพราะผลแก่ตรงกับช่วงแล้ง ถ้าต้องการทำให้ผลรุ่นแรกดีเหมือนรุ่นสองจะต้องควบคุมปริมาณน้ำ โดยเฉพาะน้ำใต้ดินโคนต้นให้ได้เท่านั้น

ระยะออกดอกถึงระยะติดผลอ่อน

ต้องให้น้ำส้มโออย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาการเลี้ยงผลบนต้น แต่ควรจะเว้นการให้น้ำในวันที่ดอกบานเพื่อลดการร่วงของดอก หมั่นเดินสำรวจการทำลายโรคและแมลง เพราะถือว่าเป็นระยะที่สำคัญ ส้มโอจะค่อนข้างบอบบางต่อการทำลาย ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงช่วงที่ดอกส้มโอบาน แมลงศัตรู เช่น “เพลี้ยไฟ” หากมีการระบาดมากจะทำให้ใบหงิกงอ ดอกอ่อนร่วง หรือผลอ่อนร่วง ผลอ่อนทรงบิดเบี้ยว มีรอยแผลสีเทาเงินที่ผิวผล ทำให้ผลมีการเจริญเติบโตช้าและต้องร่วงหล่นไปก่อนการเก็บเกี่ยว ควรเด็ดผลทำลายทิ้งไป

การระบาดเกิดได้ทั้งปี สมัคร GClub แต่การระบาดจะรุนแรงมากช่วงระยะใบอ่อน ระยะดอกและระยะผลอ่อน ช่วงหน้าแล้งที่มีสภาพอากาศแห้งและมีฝนตกน้อย คือราวๆ ช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน และพบว่ายังระบาดมากในช่วงของการผลิตส้มโอทะวายที่จะให้ผลผลิตช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน ปัญหาจากเพลี้ยไฟถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ในการทำสวนส้มโอเลยทีเดียว ก็จะฉีดพ่นป้องกันด้วยสารกลุ่มอิมิดาคลอพริด เมโทมิล ฟิโปรนิล คาร์โบซัลแฟน เป็นต้น

ถ้าพบการระบาดของพวก “หนอนชอนใบส้ม” ที่มักระบาดช่วงระยะใบอ่อนและติดผลอ่อน แล้วมักระบาดมากในช่วงหน้าฝน ซึ่งหนอนชอนใบสร้างความเสียหายได้มากพอสมควรสำหรับสวนที่ละเลยการดูแลช่วงที่ส้มโอแตกใบอ่อนถึงระยะใบเพสลาด การทำลายนั้น ผีเสื้อกลางคืนตัวเต็มวัยจะวางไข่ที่ใบอ่อน เมื่อไข่ฟักออกมาเป็นตัวหนอน ตัวหนอนก็จะชอนเข้าไปกัดกินในระหว่างชั้นของผิวใบ และกัดกินเคลื่อนย้ายไปเรื่อยๆ ทั่วใบ ทำให้เกิดโพรงสีขาวๆ คดเคี้ยวไปมาภายใต้ผิวใบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทำให้พื้นที่ใบเสียหายการสังเคราะห์แสงลดลง ต้นที่เป็นมากๆ ก็จะชะงักการเจริญเติบโต แต่ข้อที่สำคัญคือแผลที่เกิดจากหนอนชอนใบเหล่านี้ทำลายนั้นจะทำให้เกิดโรคแคงเกอร์ตามมานั้นเอง

ดังนั้น การที่ชาวสวนสามารถควบคุมหนอนชอนใบได้ก็สามารถควบคุมการระบาดโรคแคงเกอร์ได้ ก็ฉีดสารป้องกันกำจัด เช่น อะบาเม็กติน อีไทออนหรือจะเลือกใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อบาซิลลัส ทูริงเยนซีส (BT) ที่กำจัดหนอนได้ดี เป็นต้น พวก “หนอนเจาะผลส้ม” ที่มักจะมาเจาะทำลายผลอ่อนส้มโอ ก็ต้องตัดแต่งผลที่ถูกทำลายทิ้ง ถ้าพบการทำลายพอสมควรก็จะฉีดป้องกันด้วยสารกลุ่มไซเปอร์เมทริน+โฟซาโลน เป็นต้น พวก “ไรแดง” ที่จะพบการระบาดมากช่วงอากาศแห้งแล้ง ที่จะทำลายผิวส้มโอเป็นอย่างมาก ฉีดพ่นป้องกันกำจัดด้วยสารกลุ่มอะมิทราซ สไปโรมีซิเฟน ไพริดาเบน เป็นต้น

ส่วนถ้าส้มโอที่ติดผลช่วงหน้าฝนหรือฝนชุก ก็ต้องคอยระวังเรื่องของโรคแคงเกอร์ ที่เป็นอีกหนึ่งปัญหาหลักของส้มโอที่ไม่ควรจะให้เกิดการระบาด จะต้องคอยฉีดพ่นคุมด้วยสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือ คอปเปอร์ไฮออกไซด์ ทุกๆ 7-15 วัน ส่วน “โรคแอนแทรคโนส” การฉีดพ่นสารเคมี เน้นเชื้อราเข้าขั้ว แอนแทรคโนส มีสารเคมีตัวไหนดีก็ต้องฉีดช่วงนี้ได้เลย ฉีดช่วงก่อนดอกบาน 1-2 รอบ จะดีที่สุด แต่ถ้าระบาดแล้วจะแก้ไขไม่ได้ เพราะผลส้มโอจะร่วงช่วงผลใกล้แก่ เป็นช่วงที่สำคัญที่ต้องเอาใจใส่
การฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดทั้งหมด ต้องหยุดฉีดพ่นก่อนการเก็บเกี่ยว อย่างน้อย 15-30 วัน เพื่อความปลอดภัยและไม่ให้เกิดสารตกค้าง