นบข.อนุมัติขายข้าวรัฐ1.35 ล้านตัน มี.ค.-เม.ย.ระบายอีกป้อนอุต

นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ประธานคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) อนุมัติขายข้าวในสต็อกรัฐบาล 1.35 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 13,200 ล้านบาท จากที่เสนอซื้อ 2.03 ล้านตัน และคิดเป็น 47% ของปริมาณที่เปิดประมูลครั้งล่าสุดกลางเดือนกุมภาพันธ์ปริมาณ 2.86 ล้านตัน โดยราคาเสนอซื้อข้าวขาวเฉลี่ยตันละ 9,450 บาท ข้าวหอมมะลิเฉลี่ยตันละ 10,000 บาท แบ่งเป็น ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 2 ปริมาณ 7.45 แสนตัน ข้าวขาว 5% ปริมาณ 4.79 แสนตัน ทั้งนี้ ข้าวที่เหลือจากประมูลครั้งนี้จะเปิดประมูลต่อไป

นอกจากนี้ นบข.เห็นชอบในหลักการให้เปิดประมูลข้าวในสต็อกของรัฐอีก 3.66 ล้านตัน สำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ โดยจะชี้แจงเงื่อนไขการประมูล(ทีโออาร์) วันที่ 10 มีนาคม 2560 เปิดให้เอกชนยื่นซองเอกสารคุณสมบัติวันที่ 20 มีนาคม และเปิดให้ยื่นซองเสนอราคาวันที่ 23 มีนาคมนี้ ซึ่งประกอบด้วยข้าว 17 ชนิด จำนวน 278 คลัง ใน 39 จังหวัด เช่น ข้าวหอมมะลิ 100 % ชั้น 2 ข้าวหอมจังหวัด ข้าวขาว 5% ข้าวปทุมธานี 5% ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียวขาว 10% ข้าวท่อน ปลายข้าว เป็นต้น และเห็นชอบนำข้าวเสื่อมคุณภาพที่เหลือในสต็อกอีก 1 ล้านตัน เปิดประมูลเข้าอุตสาหกรรมพลังงาน ในเดือนเมษายน

ทั้งนี้ การเปิดระบายต่อเนื่องเพื่อให้เป็นตามเป้าหมายระบายข้าวให้หมดสต็อกรัฐในปีนี้ ซึ่งเหลืออีก 6.5 ล้านตัน จากที่รัฐบาลชุดนี้ระบายไปแล้ว 10.11 ล้านตัน มูลค่า 1.03 แสนล้านบาท ตั้งแต่ปี 2557 ส่วนส่งออกข้าวของไทย ตั้งแต่ 1 มกราคมถึง 6 มีนาคม 2560 ส่งออกแล้ว 1.99 ล้านตัน มูลค่า 3 หมื่นล้านบาท แง่ปริมาณลดลง 2% และมูลค่าลดลง 5% แต่ยังคงทั้งปีส่งออก 10 ล้านตัน ซึ่งปัจจัยเสี่ยงคือปัญหาภัยแล้ง

นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า เนื่องด้วยพระราชบัญญัติควบคุมยางได้มีการประกาศใช้มาหลายสิบปีแล้วโดยการแก้ไขครั้งล่าสุดคือเมื่อปี พ.ศ. 2542 เห็นควรให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงในระบบยางพาราพอสมควร เช่น การประกาศใช้พรบ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของวงการยางของไทย พรบ.ควบคุมยางก็ควรต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องตามพรบ.การยางแห่งประเทศไทยด้วย

ซึ่งจำเป็นต้องทบทวน แก้ไข พรบ.ในมาตราต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกร ผู้ประกอบการธุรกิจการยางไทย ซึ่งคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรฯ ได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด เพื่อขับเคลื่อนการเสนอแก้โดยจะส่งร่าง พรบ.ไปยังสภาเกษตรกรจังหวัดที่มีคณะทำงานด้านยางพาราอยู่ประมาณ 60 กว่าจังหวัด แล้วให้คณะทำงานแต่ละจังหวัดดูประเด็นที่ไม่สอดคล้องหรือต้องแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และกำหนดส่งกลับมายังสภาฯในวันที่ 17 มีนาคม 2560 หลังจากนั้นจะมีการรวบรวม โดยคณะทำงานจะเข้ามาศึกษาและปรับปรุงแก้ไข

ทั้งนี้คณะทำงานจะมีบุคลากรจากการยางแห่งประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร และหลายภาคส่วนเข้าร่วม เมื่อดำเนินการปรับปรุงแล้วเสร็จจะมีการระดมสมองกันอีกครั้งเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามาวิเคราะห์ว่าเหมาะสมหรือไม่ที่จะนำเสนอให้รัฐบาลพิจารณาต่อไป คาดว่าจะใช้เวลา 1 – 2 เดือน ในการดำเนินการเสนอร่างฉบับแก้ไข คาดหวังว่าการแก้ไข พรบ.ควบคุมยาง พ.ศ.2542 นี้ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยงข้องกับยางพาราจะได้รับประโยชน์ไม่ใช่เฉพาะเกษตรกรเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ กยท.เองก็ประสบปัญหาเรื่องของอัตราเรียกเก็บเงินสงเคราะห์(CESS)ที่ส่ง ออก โดยการยางได้มีการปรับปรุงเรื่องการตรวจสอบ วิธีการในการจัดเก็บเพื่อให้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยซึ่งเกี่ยว

ข้องกับพรบ.ควบคุมยาง ถ้าการยางจัดเก็บเงินสงเคราะห์ได้มากกว่าเดิมก็จะทำให้เกษตรกรได้ประโยชน์เพราะจะมีเงินกองทุนเกษตรกรที่จะนำไปพัฒนายางทั้งระบบมากขึ้นด้วย ภาคเอกชนก็จะได้ทำธุรกิจด้านการส่งออก/นำเข้าอย่างถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ในส่วนของสถานการณ์ยางพาราขณะนี้นั้นถือว่าเกษตรกรมีความสุขกับราคายางที่มีราคาสูงพอควร แต่คณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรฯก็ไม่ได้วางใจยังคงมีการจัดเวิร์คช็อปเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางอย่างยั่งยืน โดยมีการจัดประชุมเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2560 เมื่อกำหนดแนวทางเสร็จสิ้นแล้วจะนำเสนอนายกรัฐมนตรีต่อไป ส่วนการแปรรูปและการเพิ่มมูลค่ายังคงให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการใช้ยางในประเทศ จากเดิม 13 – 14 % ควรเพิ่มเป็น 25 – 30 % ซึ่งคิดว่าราคายางไม่แน่จะตกต่ำอีกในอนาคต

นายธีรพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายหลังสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้เริ่มคลี่คลาย สภาฯได้เร่งสำรวจความเสียหายของสวนยางมีพื้นที่กว่า 7 แสนไร่ พบสวนยางเสียหายจนไม่สามารถให้ผลผลิตได้กว่า 32,000 ไร่ ในการช่วยเหลือเกษตรกรนั้น สภาฯได้ทำการเสนอแนวทางที่ช่วยเหลือไว้ 2 แนวทาง โดยขอให้รัฐบาลยกเว้น ผ่อนผันในการชำระเงินกู้ของ ธกส. 3 ปี กับขอให้จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ จะได้รับเงินสวัสดิการ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน รายละ 3,000 บาท จากงบประมาณกองทุนพัฒนายางพารา มาตรา 49 (5) สวัสดิการเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งมีเกษตรกรชาวสวนยางที่ได้รับความเดือดร้อน จำนวน 3,913 ราย

“ความรู้” ทั้งในและนอกตำราล้วนเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ขณะที่ช่องว่างทางการเรียนรู้ระหว่างเมืองกับชุมชนในพื้นที่ห่างไกลยังคงมีอยู่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จึงจัดโครงการมหาวิทยาลัยกับชุมชนและสังคม หรือ Social Lab มาเติมเต็มให้กับความต่างและระยะห่างทางการเรียนรู้ให้มากที่สุด เพื่อให้ชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกลมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน

หมู่บ้านก่อก๋วงนอก หมู่ที่ 11 ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ที่โอบล้อมไปด้วยภูเขาน้อยใหญ่ เป็นหนึ่งในหมู่บ้านของโครงการที่ มจธ. เข้าไปถ่ายทอดความรู้และพัฒนา นายมนต์ชัย นีซัง นักวิจัยและผู้ประสานงาน ศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวงและโครงการตามพระราชดำริ สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มจธ. พื้นที่จังหวัดน่าน เล่าว่า หมู่บ้านก่อก๋วง เป็นหมู่บ้านของชนเผ่าลัวะ ทำเกษตรเพื่อยังชีพ ไม่ค่อยมีรายได้ มจธ. จึงอยากส่งเสริมอาชีพทางเลือกให้กับชาวบ้าน ด้วยสภาพพื้นที่เหมาะกับการปลูกผักเมืองหนาวที่มีมูลค่าสูง และเป็นอาชีพที่ใช้พื้นที่ไม่มาก ประกอบกับในจังหวัดน่านยังไม่มีคู่แข่ง จึงส่งเสริมการปลูกผักสลัดและสตรอเบอรี่เพื่อสร้างรายได้

“เกษตรกรจะเรียนรู้วิธีการเพาะปลูกในแปลงรวมก่อน จนเกิดความรู้ความเข้าใจแล้วจึงนำไปทำในแปลงของตนเอง และจากการผลิตของเกษตรกรที่ผ่านมา สามารถสร้างรายได้รวมถึง 106-148 บาท ถือเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจ แต่บางส่วนของการทำงานยังคงต้องปรับเปลี่ยน พัฒนา และช่วยเหลือแก้ไขกันไป ไม่ว่าเราจะไปที่ไหนก็จะลงฝังตัวอยู่กับชาวบ้านจนเกิดความยั่งยืนแล้ว จึงจะถอนตัวออกมาซึ่งมักใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี” นายมนต์ชัย กล่าวในที่สุด

ส่วน นางอภิสรา จ๋มล้า อายุ 53 ปี หัวหน้ากลุ่มปลูกผักเมืองหนาว หมู่บ้านก่อก๋วงนอก เผยว่า เดิมตนอยู่หมู่บ้านก่อก๋วงใน ขณะที่ชาวบ้านทำไร่ปลูกผักตามฤดูกาล และขุดเผือก มัน ขาย กระทั่ง มจธ. เข้ามาให้ความรู้ สอนวิธีการปลูกผักสลัดและสตรอเบอรี่เพื่อให้มีรายได้ทั้งปี ตนจึงเข้าโครงการ จากตนรุ่นแรกและอีก 9 ครอบครัวที่ชวนต่อกันมา จนตอนเป็นหมู่บ้านก่อก๋วงนอกแล้ว

นางอภิสราเล่าถึงวิธีการทำงานว่า ทุกคนจะมีการวางแผนและจดบันทึกการเพาะปลูก โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เพื่อสลับกันดูแลผลผลิต เน้นการเพาะผลผลิตหรือต้องมีผักไปขายให้ได้ทุกเดือน และอีกเรื่องที่ศึกษาคือ เรื่องยาฆ่าแมลง การปลูกพืชผัก ผลไม้ ของบ้านก่อก๋วงนอกจะไม่ใช้ยาฆ่าแมลง จึงเริ่มทดลองใช้เศษเกลือละลายน้ำและนำมาพ่นหญ้า ซึ่งได้ผลสำเร็จและนำมาใช้แทนยาฆ่าแมลง “รู้สึกดีใจที่ มจธ. เข้ามาช่วยเหลือบ้านก่อก๋วง จากรายได้ปีละพันบาทก็เพิ่มเป็นเดือนละพันบาท เราก็มีความหวังที่จะได้ส่งลูกเรียนให้จบ เพราะลูกบางคนอยากรับราชการเป็นตำรวจและทหาร” นางอภิสรา กล่าวด้วยความภาคภูมิใจ

สิ่งสำคัญคือ ความรู้ได้ส่งต่อไปสู่เด็กและเยาวชนชาวลัวะในพื้นที่ ซึ่งจะเติบโตขึ้นมาแทนที่กลุ่มคนรุ่นก่อนๆ

จากรุ่นสู่รุ่น เพื่อพัฒนาท้องถิ่นต่อไป กรมประมง ยอมออกประกาศคุมเข้มการใช้งานระบบ VMS เพื่อติดตามเรือประมงจัดทีมลุย! เช็กสภาพอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ 1-30 มีนาคมนี้ ณ ศูนย์แจ้งเข้า-แจ้งออกเรือประมง (PIPO) ก่อนออกทำการประมง หนุนแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ชี้ที่ผ่านมาระบบมีปัญหามาจากบริษัทเอกชนและกรมประมง 90% ทำให้ อียู คลางแคลงใจสินค้าที่นำเข้า

รายงานข่าวจากกรมประมง เปิดเผยว่า พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 กำหนดให้เรือประมงขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอสขึ้นไป ที่ออกทำการประมงพาณิชย์ ต้องดำเนินการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง (VMS) และดูแลรักษาระบบดังกล่าวให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา เพื่อดำเนินการตามมาตรการตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวัง ร่วมกับกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ในการแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ ประกาศจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคม 2560 นี้ กรมประมงจึงขอให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือ ขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป นำเรือประมงและเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ เร่งเข้าตรวจสอบอุปกรณ์ VMS ภายในระยะเวลาตามที่ประกาศกำหนดไว้ ซึ่งหากไม่ดำเนินการจะมีความผิดตามกฎหมาย

นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมงกล่าวเสริมว่า เพื่อสนับสนุนการดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศดังกล่าว กรมประมงจึงได้ร่วมกับศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) จัดทีมเจ้าหน้าที่เพื่อลงปฏิบัติการเร่งรัดการตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ VMS ในเรือประมงและเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ณ ศูนย์แจ้งเข้า-แจ้งออกเรือประมง (PIPO) ใน 22 จังหวัดชายทะเล ระหว่างวันที่ 1-30 มีนาคม 2560 โดยจะมีการให้คำแนะนำในการใช้อุปกรณ์ VMS ที่ถูกต้องและสามารถพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา

สำหรับเรือประมงที่ยังอยู่ระหว่างการเดินทาง และไม่สามารถกลับเข้าฝั่งได้ทันตามระยะเวลาปฏิบัติการเร่งรัดที่กำหนด ขอให้แจ้งความประสงค์ในการขอรับการตรวจสอบอุปกรณ์ VMS กับศูนย์ PIPO ไว้ล่วงหน้าก่อน ภายในวันที่ 30 มีนาคม 2560 นี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์แจ้งเข้า-แจ้งออกเรือประมง (PIPO) ทั้ง 22 จังหวัดชายทะเล

แหล่งข่าววงการประมง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การประกาศดำเนินการในเรื่องนี้ของกรมประมง แม้จะช้าแต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำ ที่ผ่านมามีปัญหาตลอด หากเรือลำใดมีปัญหาระบบ VMS ดับหลายชั่วโมง เมื่อมีรายงานเรื่องนี้ประกอบเข้ากับตัวสินค้าปลาที่จับได้ ทำให้โรงงานแปรรูปส่งออกปฏิเสธรับซื้อ เพราะสหภาพยุโรป (อียู) คลางแคลงใจในตัวสินค้า ต้องยอมรับว่าปัญหามาจากระบบของบริษัทเอกชนที่ติดตั้งศูนย์ดาวเทียมให้กับกรมประมงมากกว่า 90% ขณะที่ปัญหามาจากชาวประมงปิดระบบหรือถอดสัญญาณไฟไม่ถึง 10%

ส่วนการขอแก้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 นั้น ขณะนี้กำลังรอให้กรมประมงทำการแก้ไขหลังจากผู้บริหารสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยได้เข้าหารือเรื่องนี้กับ พล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอให้แก้ไขภายในปีที่ผ่านมา โดยประเด็นข้อกฎหมายที่ต้องการให้แก้ไข อาทิ เรื่องการห้ามโอนใบอนุญาตทำการประมง หากผู้ขอตายให้สามารถโอนไปยังผู้จัดการมรดกได้ มิเช่นนั้นเรือดังกล่าวจะกลายเป็นเรือประมงเถื่อนทันที ขอแก้มาตรา 11 เรื่องการปิดโรงงานควรมีขั้นตอนมากกว่านั้น และควรให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจดูเจตนาด้วย หากผิดถึง 3 ครั้ง จึงควรปิดโรงงาน เป็นต้น การขอแก้มาตรา 39 ที่ใช้คำว่า “ผู้ใด” มาเป็น “เรือลำใด” ที่ทำผิดต้องห้ามรับใบอนุญาตทำการประมงแทน เพราะคำว่า “ผู้ใด” อาจครอบครองเรือ 5 ลำ แต่มี 1 ลำ ทำผิดอีก 4 ลำ ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย

การขอแก้มาตรา 169 เรื่องการยึดเรือประมง เจ้าหน้าที่ตีความกฎหมายไม่เหมือนกัน บางครั้งก็ยึดเรือ บางครั้งก็ไม่ยึดเรือ การใช้กฎหมายที่มีโทษรุนแรงต้องสมเหตุสมผล อาทิ ใบนายท้ายเรือไม่ตรงชั้น ควรลงโทษสถานเบา ขณะที่ลอบจับปลาในฤดูวางไข่ ควรมีโทษหนัก เป็นต้น

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ถึงแม้ในช่วงหน้าแล้งปีนี้ พื้นที่ใน จ.นครราชสีมา จะประกาศขอความร่วมมือเกษตรกรให้งดทำการเพาะปลูกข้าวนาปรัง เนื่องจากทางเขื่อนหลักไม่สามารถปล่อยน้ำให้กับเกษตรกรได้ เพราะปริมาณน้ำต้นทุนภายในเขื่อนต่างๆ โดยเฉพาะเขื่อนลำแชะมีน้ำไม่เพียงพอให้ทำการเกษตร แต่ในพื้นที่ อ.ครบุรี ยังมีชาวนาบางส่วนอาศัยน้ำที่มีอยู่ภายในลำน้ำและแหล่งน้ำสำรองของตนเอง เริ่มทำการไถพรวนตีนาหว่านกล้าหลายร้อยไร่ ทำให้นกปากห่างจำนวนมากอพยพจากพื้นที่อื่นๆ เข้ามาหากินกุ้ง หอย ปู ปลา ในพื้นที่จำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ ต.แชะ มีบรรดานกปากห่างนับพันตัวพากันรวมกลุ่มบินว่อนบนท้องฟ้าเพื่อหาแหล่งอาหารในพื้นที่

นายสุขสวัสดิ์ ทองน้อย ปศุสัตว์อำเภอครบุรี กล่าวว่า นกปากห่างถือเป็นเครื่องจักรที่คอยกำจัดศัตรูข้าวให้กับนาข้าวเป็นอย่างดี มันจะเลือกกินสัตว์ศัตรูพืชที่เป็นภัยร้ายแรงต่อข้าวอย่างเช่น หอยเชอร์รี่ และปูนา ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก และสร้างปัญหาให้กับชาวนามาโดยตลอด ก่อนหน้านี้ชาวนาส่วนใหญ่ต้องอาศัยการใช้สารเคมีในการกำจัด จนส่งผลเสียแก่ดินและระบบนิเวศน์ แต่หากว่ามีนกปากห่างเข้ามาอาศัยอยู่และคอยกำจัดศัตรูข้าวพวกนี้เป็นประจำแล้ว ชาวนาก็แทบจะไม่ต้องฝืนใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย และก็จะทำให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพเพิ่มขึ้นอีกด้วย จึงอยากขอร้องให้ชาวนาอย่าไปทำร้ายนกพวกนี้ เพราะถือว่าให้ผลดีมากกว่าผลเสีย ส่วนเรื่องของการเกิดโรคระบาดจากสัตว์ปีกหรือนกนั้น ทางเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอครบุรี ได้เฝ้าระวังป้องกันอย่างเข้มข้นอยู่แล้ว

นายศักดิ์ สมบุญโต ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ได้มีคำสั่งให้ป้องกันภัยจังหวัดกาญจนบุรี เร่งตรวจสอบพื้นที่ต่างๆ ถึงการใช้น้ำ แหล่งน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงพื้นที่เสี่ยงต่อภัยแล้งซึ่งมีหลายอำเภอ อาทิ อ.ห้วยกระเจา อ.เลาขวัญ อ.บ่อพลอย เป็นต้นว่าสามารถมีน้ำเพียงพอหรือไม่ และเตรียมแผนงานรองรับภัยแล้งในปี 2560 ที่อาจจะเกิดขึ้น

นายธีรยุทธ์ จันทร์ดิษฐวงษ์ หัวหน้าป้องกันภัยจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า ปภ.ได้จัดการสำรวจในทุกพื้นที่เพื่อเตรียมการภัยแล้งแล้ว โดยมีมาตรการเตรียมพร้อมรับมือ ซึ่งในเบื้องต้น จะได้มีการส่งมอบบ่อบาดาลที่ดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณที่ผ่านมา จำนวน 30 บ่อให้กับพื้นที่เพื่อบรรเทาภัยแล้ง และตรวจสอบบ่อน้ำตามชุมชนหมู่บ้านต่างๆ ส่วนการแจกภาชนะที่ใช้เก็บน้ำนั้นได้ดำเนินการไปทุกพื้นที่แล้ว อีกทั้งซ่อมแซมภาชนะที่ชำรุดให้กับชาวบ้านด้วยหากมีการร้องขอ

ทั้งนี้นอกจากการสำรวจและเตรียมการแล้ว ทางป้องกันภัยจังหวัดยังได้จัดทำแผนงานรองรับไว้ อาทิ การเตรียมพร้อมรถส่งน้ำที่มีอยู่จำนวนกว่า 170 คันให้พร้อมใช้งานสนับสนุนน้ำให้กับประชาชนได้ในทุกพื้นที่ อย่างไรก็ตามได้ประสานงานกับองค์กรเอกชนและหน่วยงานต่างๆ ใกล้เคียงให้การช่วยเหลือและสนับสนุน อาทิ ปภ.เขตจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีพื้นที่ใกล้เคียงกับอำเภอที่เสี่ยงภัยแล้ง หรือ อบจ.กาญจนบุรี ซึ่งแต่ละส่วนงานได้เข้ามาช่วยเหลือและจัดแผนรับบรรเทาภัยให้กับประชาชนที่อาจจะเกิดขึ้นจากภัยแล้ง

อย่างไรก็ตาม ทางป้องกันภัยจังหวัดกาญจนบุรีได้เร่งรัดประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทุกพื้นที่จัดเตรียมน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภคไว้ล่วงหน้า เพื่อลดผลกระทบและเตรียมพร้อมไว้หากเกิดภาวะภัยแล้งในปีนี้

นายธีรยุทธ์กล่าวอีกว่า นอกจากปัญหาภัยแล้งแล้ว ทางป้องกันภัยจังหวัดกาญจนบุรียังได้ขอความร่วมมือกับประชาชนในทุกพื้นที่ไม่ให้เผาทำลายพืชไร่ หรือทำลายป่า เนื่องจากอากาศที่แห้งแล้งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศเป็นอย่างมาก อีกทั้งการเผาถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย มีโทษตามกฎหมาย

ป้องกันภัยจังหวัดกาญจนบุรีได้มีการเฝ้าระวังและตรวจสอบตรวจจับสัญญาณการเผาไหม้จากเหตุต่างๆ ได้ในทุกพื้นที่ และสามารถแยกแยะได้ว่าสาเหตุจากการเกิดความร้อนหรือไฟนั้นเกิดจากอะไร ซึ่งตอนนี้ปัญหาการเผาป่านั้นตรวจพบในพื้นที่ อ.ทองผาภูมิและศรีสวัสดิ์มากกว่าพื้นที่อื่นๆ โดยทาง ปภ.เองได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจหาสาเหตุและชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจถึงกฎหมายและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเป็นกรณีเร่งด่วนแล้ว

กรมอุตุนิยมวิทยารายงานสภาพอากาศประจำวันที่ 8 มีนาคม 2560 ดังนี้

ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกรรโชกแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และใกล้ป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา replicascamisetasfutbol2018.com บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้แล้ว ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะเกิดพายุฤดูร้อนขึ้นโดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงบางพื้นที่ บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ ทางตอนบนของภาคอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน
กับมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
บริเวณจังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
อุณหภูมิต่ำสุด 15-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางตอนบนของภาคอากาศเย็นและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน
โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ และลมกระโชกแรง
ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี มหาสารคาม กาฬสินธ์ ร้อยเอ็ด มุกดาหาร และสกลนคร
อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง มีเมฆบางส่วน และมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน
โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
บริเวณจังหวัดลพบุรี และสระบุรี
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีเมฆบางส่วน กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน
โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆบางส่วน กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน
โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกษตรกรนครพนมไม่หวั่นภัยแล้ง หันเลี้ยงแมงสะดิ้งขาย โดยนายนิรัน จำปา ชาวบ้านคำเตย หมู่ที่ 5 ต.คำเตย อ.เมืองนครพนม กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ตนเองประกอบอาชีพทำนาเหมือนเพื่อนบ้านทั่วๆ ไป พอหลังฤดูเก็บเกี่ยวก็ไปรับจ้างพอมีรายได้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเท่านั้น กระทั่งเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เพื่อนที่อยู่ จ.เชียงรายได้ชักชวนให้ไปเรียนรู้การเลี้ยงจิ้งหรีดเล็ก หรือที่ชาวอีสานเรียกว่า แมงสะดิ้ง หรือบางที่เรียกว่า แมงจินาย ซึ่งมีที่มาจากเสียงร้องที่สะดีดสะดิ้งของตัวผู้และตัวเมียเวลาที่ต้องการผสมพันธุ์ โดยหลังจากเรียนรู้ตนเองก็กลับมาสร้างบ่อเลี้ยงซึ่งทำจากไม้และกระเบื้องแผ่นเรียบ ขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 1.2 เมตร จำนวน 2 บ่อ เพื่อเพาะเลี้ยงที่บ้าน จากนั้นก็ขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

นายนิรันกล่าวอีกว่า โดยเวลาทั้งหมดตั้งแต่เริ่มเลี้ยงจนถึงสามารถจับขายได้ จะอยู่ที่ประมาณ 2 เดือน อาจจะใช้เวลาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงฤดูหนาว เพราะแมงสะดิ้งไม่ทานอาหารทำให้โตช้ากว่าปกติ โดยค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงจะอยู่ที่ประมาณ 500 บาทต่อบ่อ แต่จะสามารถจับขายได้ถึงบ่อละ 2,000 – 3,500 บาทเลยทีเดียว โดยตนเองมีอยู่ 35 บ่อ ก็ตกที่ประมาณ 70,000 บาท ต่อ 2 เดือน ถือว่าคุ้มค่าสำหรับการลงทุน และที่สำคัญสามารถเลี้ยงได้ตลอดทั้งปีไม่ต้องกลัวภัยแล้ง ซึ่งตลาดในขณะนี้ถือว่าดีมากเพราะมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ตนเองใช้วิธีนำใส่รถมอเตอร์ไซค์ดัดแปลงไปขายในตลาดชุมชน ในราคากิโลกรัมละ 200 บาท ไม่กี่ชั่วโมงก็หมดแล้ว