นพ. ภัทรพล กล่าวต่อไปว่า การสร้างวินัยทางสุขภาพตาม

“สุขบัญญัติ ปฏิบัติได้ทุกวัย” ปฏิบัติได้ด้วยวิธีการง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน ป้องกันโรคในช่วงหน้าฝน คือ 1. ดูแลความสะอาดร่างกายและของใช้ ใส่รองเท้าที่แห้ง สะอาด ไม่อับชื้น หากเดินลุยน้ำต้องล้างเท้าให้สะอาดและเช็ดให้แห้งโดยเฉพาะซอกนิ้วเท้า ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ใส่เสื้อผ้าที่อบอุ่นเพียงพอ จัดบ้านให้เป็นระเบียบ สะอาด ป้องกันอุบัติเหตุและไม่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์มีพิษหรือสัตว์นำเชื้อโรค

หมั่นล้างมือให้สะอาดเสมอ โดยเฉพาะก่อนกินอาหารและหลังการขับถ่าย ไม่ใช้มือสกปรกขยี้ตา แคะจมูก คนที่เป็นหวัด มีน้ำมูก ไอจาม ควรใส่หน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อ 3. กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ สะอาด มีประโยชน์ และดื่มน้ำที่สะอาดให้พอในแต่ละวัน 4. ไม่ประมาท เพื่อป้องกันอุบัติเหตุอุบัติภัย การลื่น พลัดตกหกล้ม การจมน้ำ ปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัยจากการจราจร 5. มีการเคลื่อนไหวออกแรงในชีวิตประจำวัน และอย่าลืมออกกำลังกายสม่ำเสมอตามความเหมาะสมของแต่ละคน เพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรง 6. ทำสุขภาพจิตให้ดีอยู่เสมอด้วยการคิดดี ทำดี และช่วยเหลือแบ่งปัน หาทางจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม 7. มีสำนึกต่อส่วนรวม ร่วมสร้างสรรค์สังคม ด้วยการไม่ทิ้งขยะหรือขับถ่ายลงในน้ำ มีการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลจากบ้านเรือนอย่างถูกต้อง กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายสม่ำเสมอ

“ผู้ปกครองเป็นบุคคลสำคัญในการสร้างวินัยทางสุขภาพให้กับเด็กและเยาวชน โดยส่งเสริมให้เด็กปฏิบัติให้ติดจนเป็นนิสัย ที่สำคัญคือการสร้างวินัยกับตนเอง เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพให้กับเด็ก หากปฏิบัติได้จะทำให้ประชาชนทุกวัยมีสุขภาพที่แข็งแรงมีภูมิต้านทานโรคที่ดี ทั้งนี้ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากคลังความรู้สุขภาพ healthydee.moph.go.th และเฟซบุ๊ก กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สบส. กระทรวงสาธารณสุข” นพ. ภัทรพล กล่าว

วันที่ 25 กรกฎาคม 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์ราคาลำไยในพื้นที่จังหวัดพะเยาว่า สืบเนื่องจากราคาลำไยฤดูกาลผลิต 59/60 ตกต่ำกว่าทุกปีที่ผ่านมา ด้วยต้นฤดูกาลเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2560 ราคาลำไยเกรด AA อยู่ที่ กก.ละ 17-18 บาท ต่อมาลดลงวันละ 1บาท จนกระทั่งวันที่ 24 กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา ราคารับซื้อลำไยจังหวัดพะเยาเกรด AA อยู่ที่ กก.ละ 13 บาท A 8 บาท B 4 บาท และ C 1 บาท ดังนั้นทางเกษตรกรชาวสวนลำไยจึงได้นัดรวมตัวประชุมใหญ่ ณ ลานหน้าอนุสาวรีย์เจ้าหลวงเมืองล้า หมู่ 1 ต.น้ำแวน อ.เชียงคำ จ.พะเยา โดยมีเกษตรกรชาวสวนลำไยจากอำเภอต่างๆ ในจังหวัดพะเยา มาร่วมประชุมกว่า 500 คน ได้นัดหยุดเก็บลำไย เพื่อร่วมกันเสวนาหาทางออกปัญหาราคาลำไยตกต่ำ และนำเสนอข้อเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้ความช่วยเหลือต่อไป

นายอติวรรธ์ หอมนาน ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดพะเยา กล่าวว่า ตนในฐานะเกษตรกรและในนาม ปธ.สภาฯ จึงเข้ามาร่วมประชุมและหาทางออกร่วมกับเกษตรกรชาวสวนลำไยจังหวัดพะเยา เนื่องจากขณะนี้เกษตรกรชาวสวนลำไยกำลังประสบปัญหาราคาลำไยตกต่ำอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยลดลงวันละ 1 บาท ดังนั้นหลังจากการประชุมในครั้งนี้เมื่อได้รับข้อเรียกร้องที่เป็นข้อเสนอจากเกษตรกรชาวสวนลำไยที่มาประชุมเห็นชอบเป็นมติทั้งหมดแล้ว ทางสภาเกษตรกรจังหวัดพะเยาจะรับข้อเสนอเพื่อนำยื่นต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลต่อไป

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ที่โรงพยาบาลช้างของมูลนิธิเพื่อนช้าง อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลช้างแห่งแรกของโลก ตั้งอยู่ที่ จังหวัดลำปาง ได้รับตัวช้างเพศผู้ชื่อ ช้างพลายเด่นชัย อายุ 1 ปี 3 เดือน จากจังหวัดเชียงใหม่ เข้ามารักษา โดยช้างน้อยเชือกนี้ป่วยมีอาการกินอาหารน้อย และขอบตาแดง คาดว่าเนื่องจากได้รับเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ทำให้เจ้าของช้างจึงรีบนำช้างมาส่งยังโรงพยาบาลช้าง เพื่อทำการรักษา

สัตวแพทย์เครือทอง ขยัน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลช้างของมูลนิธิเพื่อนช้าง จังหวัดลำปาง ได้ให้ยาปฏิชีวนะทันที และให้ยาวิตามินแก่ช้าง นอกจากนี้ ยังให้ยาต้านไวรัส ซึ่งใช้เป็นเม็ดป้อนให้กิน เนื่องจากสันนิษฐานว่า อาจจะได้รับเชื้อไวรัสชนิด EEHV หรือ “เฮอร์ปีส์ไวรัส” ในช้าง ซึ่งเป็นไวรัสอันตราย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อชีวิตได้ ซึ่งที่ผ่านมามีช้างน้อยที่ได้รับเชื้อชนิดนี้ และเกิดล้มตายลงหลายเชือกแล้ว ถือเป็นเชื้ออันตรายที่คร่าชีวิตประชากรช้างน้อยไทยเป็นจำนวนมาก ทางคณะสัตวแพทย์เจาะเลือดเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยันผลว่าติดเชื้อ EEHV หรือไม่ และจะดูแลรักษาอาการช้างเชือกนี้อย่างดีที่สุด โดยขณะนี้ในพื้นที่ดูแลช้างเชือกนี้ ก็มีการกันให้เป็นเขตกักกันโรค และไม่ปล่อยให้ช้างน้อยเดินไปทั่ว เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสดังกล่าว ซึ่งภายในโรงเรือนที่ดูแลช้างน้อยก็มีการทำความสะอาด และใช้ยาฆ่าเชื้อควบคุมอย่างเข้มงวดด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สวนทุเรียนของ นายสมาน เจ๊ะโซ๊ะ อายุ 67 ปี หมู่ที่ 8 บ้านลือมุ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา เกษตรกรสมาชิกแปลงใหญ่ทุเรียน อำเภอกรงปินัง เจ้าของสวนทุเรียนพันธุ์หมอนทองพื้นที่ 8 ไร่ ซึ่งขณะนี้มีการตัดขายเป็นรอบที่ 5 ของปีนี้ อายุต้นทุเรียนล้วนมากกว่า 30 ปี แต่ยังคงให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง

นายสมาน เปิดเผยว่า ผลผลิตของปีนี้มีจำนวนลดลง จากที่เคยได้ผลผลิตต่อปีประมาณ 20 ตัน ปีนี้ลดเหลือเพียงกว่า 10 ตันเท่านั้น มาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากปลายปีที่ผ่านมาเกิดสภาวะแห้งแล้งอย่างหนัก แต่เมื่อต้นปีกลับมีฝนตกชุก ซึ่งอยู่ในช่วงที่ต้นทุเรียนกำลังออกดอก ทำให้ดอกทุเรียนร่วง แต่อย่างไรก็ตาม ผลผลิตที่มีน้อยทำให้ราคาและความต้องการจากตลาดเพิ่มสูง โดยตนส่งขายให้กับพ่อค้าที่ จ.ยะลา ประมาณกิโลกรัมละ 55-60 บาท นับว่าเป็นที่น่าพอใจ

“สวนทุเรียนของผมใช้วิธีธรรมชาติ ไม่มีสารเคมี การเอาใจใส่ดูแลทั้งเรื่องของระบบน้ำ และพื้นที่สวนที่ต้องไม่รก เพื่อป้องกันแมลง ทำให้ผลผลิตออกมาดีมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และได้ตัดส่งขายไปแล้วถึง 4 ครั้ง ครั้งละกว่า 1 ตัน ตกราคา 5 หมื่นบาท ต่อเที่ยว ส่วนครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 แล้ว คิดเป็นมูลค่ากว่า 250,000 บาท” นายสมาน กล่าว

การยางแห่งประเทศไทยผนึกกำลังร่วมหน่วยงานภาครัฐ เร่งสนองนโยบายรัฐบาลเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศต่อเนื่องปี 61 มุ่งสนับสนุนเกษตรกรปลูกยางแบบเกษตรผสมผสาน พร้อมทั้งดำเนินการส่งเสริมเกษตรกร – สถาบันเกษตรกรหันมาแปรรูปยางเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีประเด็นการแก้ปัญหายางพาราของประเทศว่า รัฐบาลมีการประกาศนโยบายอย่างชัดเจน โดยในระยะเร่งด่วน ปีงบประมาณ 2560 (ก.ค.- ก.ย.60) มีปริมาณความต้องการนำยางไปใช้งานในหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งสิ้นประมาณ 22,000 ตัน จำนวนนี้รวมความต้องการใช้ยางจากกรมชลประทานที่ได้ดำเนินการรับมอบยางจากสต็อกของ กยท. ที่รับซื้อจากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางโดยตรง เพื่อนำไปใช้ในโครงการแล้ว จำนวน 100 ตัน กรมปศุสัตว์ จำนวนประมาณ 1,272.60 ตัน กรมส่งเสริมสหกรณ์ จำนวนประมาณ 231 ตัน กรมประมง จำนวนประมาณ 165.79 ตัน เป็นต้น

โดยปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันให้มีการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นนั้นจำเป็นต้องมีงบประมาณที่เพียงพอ บางหน่วยงานไม่มีงบประมาณรองรับ ต้องขอสนับสนุนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ซึ่งตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2560 ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี แต่ในระยาว กยท.จะทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จะนำยางไปใช้ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนภายในปีงบประมาณ 2561 ซึ่งจะช่วยผลักดันให้มีการนำยางไปใช้ในปริมาณมากขึ้น ทั้งนี้ จะทราบปริมาณความต้องการใช้ยางของหน่วยงานต่างๆ ของปีงบประมาณ 2561 ได้ประมาณต้นเดือนสิงหาคมนี้

ดร.ธีธัช กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวทางควบคู่ที่ กยท. ส่งเสริมและผลักดันเพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางมีชีวิตความเป็นอยู่ในช่วงที่ราคายางผันผวน คือ การส่งเสริม สนับสนุน ให้เกษตรกรปลูกยางควบคู่กับการปลูกพืชแซมยางและพืชร่วมยางมาโดยตลอด เพื่อเป็นรายได้ระหว่างรอผลผลิต และเป็นรายได้หมุนเวียนให้เกษตรกรนอกเหนือจากยางพารา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมให้เกษตรกรทำเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งชาวสวนยางที่ต้องการโค่นยางเพื่อปลูกแทน หันมาเลือกปลูกยางแบบผสมผสานตามหลักเกณฑ์ที่ กยท. กำหนด โดยให้เกษตรกรลดจำนวนต้นยางในสวนยางลง จากเดิมที่ปลูกลักษณะพืชเชิงเดี่ยว ต้องมีต้นยาง 60-70 ต้น/ไร่ ปรับเหลือไม่น้อยกว่า 40 ต้น/ไร่ โดยรับทุนปลูกแทนอัตราเดิม (ไร่ละ 16,000 บาท/ปี) เพื่อให้เกษตรกรมีพื้นที่ว่างระหว่างต้นยางไว้สำหรับปลูกพืชหรือทำกิจกรรมทางการเกษตรอื่นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประมงหรือปศุสัตว์

เพื่อกระจายความเสี่ยงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรเลือกปลูกแทนแบบผสมผสานแล้วรวม 1,776 ราย คิดเป็นพื้นที่จำนวนรวมเกือบ 18,000 ไร่ รวมถึงการดำเนินงานตามมาตรการแนวทางการแก้ไขปัญหายางพาราระยะยาวของรัฐบาล โดยการ “ควบคุมปริมาณการผลิต” ที่กำหนดเป้าหมายลดพื้นที่ปลูกยางจำนวน 400,000 ไร่/ปี เพื่อให้เกษตรกรปลูกแทนยางด้วยไม้ยืนต้นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดอื่น จะช่วยพยุงราคายางภายในประเทศ ซึ่งในปี 2561 กยท. มีนโยบายจะลดพื้นที่ปลูกยางถาวรเพิ่มเติม โดยปรับเป้าหมายลดพื้นที่ปลูกยางถาวรจาก 100,000 ไร่ เป็น 200,000 ไร่ เพื่อลดปริมาณยางพาราที่จะออกสู่ตลาด สร้างความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานโลก

ดร.ธีธัช กล่าวย้ำว่า ในขณะเดียวกัน ที่ผ่านมา กยท.ทำงานเชิงรุกตามวัตถุประสงค์ที่ พรบ.กยท.พ.ศ.2558 ได้กำหนดไว้มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการผลักดันให้ประเทศไปสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งให้เกิดการแปรรูปเพิ่มมูลค่าผลผลิตยางให้มากขึ้น โดยการส่งเสริม สนับสนุนให้เกษตรกรผู้ปลูกยางรวมตัวเป็นกลุ่ม เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ ยกระดับจากเกษตรกรรายย่อยมาเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ เพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพการทำสวนยางที่ไม่มุ่งเน้นเพียงแค่การผลิตวัตถุดิบส่งขาย ขณะเดียวกันลดการพึ่งพาตลาดต่างประเทศ โดยการแปรรูปใช้ในประเทศให้มากขึ้น ภายใต้การสนับสนุนจาก กยท. ซึ่งมีความพร้อมที่จะให้การส่งเสริม

สนับสนุนทั้งในส่วนของความรู้และทุน หากเป็นเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย สามารถยกระดับตนเองโดยเป็นผู้ประกอบกิจการยาง ประเภทบุคคลธรรมดาได้ หรืออาจจะรวมรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการยางประเภทหนึ่งโดย กยท. มีเงินทุนสนับสนุนในรูปแบบของเงินกู้ตาม พ.ร.บ.กยท. พ.ศ.2558 ในมาตรา 49 (3) และหากเกษตรกรชาวสวนยางที่มีการรวมกลุ่ม สามารถจดทะเบียนเพื่อเป็นสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางในรูปของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางหรือสหกรณ์ เพื่อนำผลผลิตมาแปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่มได้ โดย กยท.มีทั้งเงินทุนอุดหนุนประมาณปีละ 500 ล้านบาท พร้อมทั้งทุนสนับสนุนในรูปแบบของเงินกู้อีกประมาณ 2,500 กว่าล้านบาท เพื่อผลักดันและส่งเสริมให้ผู้ปลูกยางพารามีรายได้ มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป

อย่างไรก็ตาม กยท.มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง จนถึงปลายทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้ปลูกยางมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง กยท.มีหลักสูตรและนักวิชาการที่ลงไปถ่ายทอดองค์ความรู้ในพื้นที่ โดยใช้เงินกองทุนพัฒนายางพารา ไม่ว่าการให้ความรู้ในเรื่องของการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง หรือด้านอุตสาหกรรมยาง เช่น หลักสูตรการผลิตหมอนยางพารา ที่นอนยางพารา หรืออื่นๆ เพื่อสร้างกลุ่มผู้ประกอบกิจการยางให้มีการนำยางพาราไปใช้ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ยางมากขึ้น ตลอดจนการหาช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศเพื่อช่วยเหลือและผลักดันให้เกษตรกร

สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยางสามารถดำเนินธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง สังคมชาวสวนยาง และประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการหาตลาดรองรับศักยภาพของเกษตรกรชาวสวนยางที่พัฒนาตนเองมาเป็นผู้ประกอบการ โดยการส่งเสริมให้มีช่องทางการจำหน่ายในประเทศ กยท.จึงผลักดันรณรงค์ให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ยาง ไม่ใช่เฉพาะหน่วยงานราชการเท่านั้น แต่เป็นการผลักดันไปยังภาคเอกชนหรือประชาชนให้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางด้วย โดยการร่วมกันใช้ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากยางพารา ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์มากมายที่ผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรมกว่า 170 ชนิด

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 จัดประชุมหารือโครงการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่สำคัญจังหวัดจันทบุรี ชูพืชทางเลือกสร้างรายได้ให้เกษตรกร แนะพืชแซมในสวนยางพาราและสวนผลไม้ กลุ่มสมุนไพรตะวันออก เช่น กระวาน เร่ว หนุนจันทบุรีเป็นศูนย์รวมพืชสมุนไพร (Herb Hub) ในอนาคต

นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 จังหวัดชลบุรี (สศท.6) ได้จัดประชุมหารือโครงการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่สำคัญ (zoning) เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ณ สำนักงานการยาง แห่งประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี โดยมี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดจันทบุรี (นายไพฑูรย์ โกเมนท์) Single Command เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยหน่วยงานส่วนราชการในพื้นที่ เกษตรกร ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรระดับอำเภอ เศรษฐกิจการเกษตรอาสาระดับอำเภอ และเจ้าหน้าที่ สศก. เข้าร่วม

การประชุมหารือในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเตรียมแนวทางบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่สำคัญและหาสินค้าเกษตรทางเลือก ซึ่ง สศท.6 ได้นำเสนอนโยบายภาพรวม มาตรการ หลักการแนวคิดในการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิต ข้อมูลศักยภาพพื้นที่ความเหมาะสมตามแผนที่ Agri-Map การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตในแต่ละพื้นที่ความเหมาะสมและไม่เหมาะสม การวิเคราะห์บัญชีสมดุลสินค้าเกษตร (Demand and Supply) ตลอดจนวิถีการตลาดของสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจของจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ ยางพารา ลำไย ทุเรียน มังคุด และเงาะ

ผลการจากหารือร่วมกับภาครัฐและผู้แทนเกษตรกร พบว่า พืชสมุนไพร เป็นพืชทางเลือกอีกชนิดหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ สามารถปลูกเป็นพืชแซมในสวนยางพาราและสวนผลไม้ โดยเฉพาะกลุ่มสมุนไพรตะวันออก เช่น กระวาน เร่ว เป็นต้น ซึ่งมีราคาค่อนข้างดีและเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้จันทบุรีเป็นศูนย์รวมพืชสมุนไพร (Herb Hub) ในอนาคต นอกจากนี้ ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรที่สนใจดำเนินการร่วมกันในรูปแบบกลุ่มหรือวิสาหกิจชุมชนเพื่อสร้างจุดแข็ง ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงสำรวจข้อมูลและเร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับเกษตรกร เพื่อเป็นแนวทางบริหารจัดการพื้นที่อย่างยั่งยืน โดยเกษตรกรและท่านที่สนใจต้องการข้อมูลด้านเศรษฐกิจการเกษตร วิถีการตลาดของสินค้าเกษตรในพื้นที่เพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 จังหวัดชลบุรี โทร. 038 352 435 หรืออีเมล zone6@oae.go.th

คลังชงครม.คลอดมาตรการสวัสดิการผู้มีรายได้น้อยรอบแรก 4 หมื่นล้าน ช่วยค่าประปา ค่าไฟ รถเมล์ฟรี รถไฟฟรี ใส่เงินในบัตรเดือนละพันบาทสำหรับคนจน รายได้ต่ำ 3 หมื่นบาทต่อปี เร่งเคลียร์หนี้นอกระบบ 1.3 ล้านคน 8 หมื่นล้าน ให้หมดในปีนี้

นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ในอีก 1-2 สัปดาห์นี้ กระทรวงการคลัง จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณามาตรการสวัสดิการผู้มีรายได้น้อยในรอบแรก งบประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ได้แก่ ช่วยเหลือค่าน้ำประปา ค่าไฟ รถเมล์ฟรี รถไฟฟรี ซื้อสินค้าผ่านร้านธงฟ้าประชารัฐ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นสวัสดิการช่วยเหลือในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของผู้มีรายได้น้อย

ส่วนมาตรการที่เพิ่มเติมในรอบสอง เช่น การจ่ายเงินภาษีให้คนจน(Negative Income Tax:NIT) ให้กับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาท ต่อปี จำนวน 3-4 ล้านคน ต้องรอผลการตรวจสอบสิทธิ์ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยว่ามีจำนวนที่แท้จริงเท่าไร และผลการสำรวจของนักศึกษาว่า ผู้มีรายได้น้อยต้องการให้รัฐบาลช่วยในเรื่องใดบ้าง ซึ่งการช่วยเหลือต้องดูถึงความจำเป็นในชีวิตประจำวันเป็นหลัก

“จะเตรียมบัตรสวัสดิการไว้ให้ผู้ที่มีสิทธิ์และจะใส่วงเงินไว้ให้ เช่น หลักพันบาทต่อเดือน เพื่อนำไปใช้จ่าย และจะพิจารณาให้สวัสดิการเพิ่มเติมภายหลัง หลังจากตรวจสอบสิทธิ์ และสำรวจเสร็จสิ้นแล้วในปีนี้”

นายสมชัย กล่าวว่า กระทรวงการคลังยังเร่งดำเนินการเพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยมีรายได้เพิ่มขึ้นเพียงพอต่อการดำรงชีพ จะได้ไม่ก่อหนี้นอกระบบ โดยในจำนวนของผู้ที่มาลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย 14.1 ล้านคน พบว่ามีหนี้นอกระบบอยู่ 1.3 ล้านคน มูลหนี้รวมดอกเบี้ย 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาได้ลงพื้นที่กระตุ้นการแก้ไขปัญหาเป็นรายจังหวัดทั่วประเทศ และจะดำเนินการให้สำเร็จในสิ้นปีนี้ ให้หนี้นอกระบบเป็นศูนย์ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี

สำหรับผู้ที่มีหนี้นอกระบบสามารถเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ได้ โดยเริ่มจากการไกล่เกลี่ยหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ และจัดหารายได้เสริม ฟื้นฟูอาชีพ เพิ่มรายได้ให้ผู้ที่มีหนี้นอกระบบ รวมทั้งยังสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนอื่นๆ เช่น สินเชื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน และพิโกไฟแนนซ์

นอกจากนี้ ยังได้สั่งให้คณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัด(คบจ.) ประกอบด้วยหน่วยงานของกระทรวงการคลัง เช่น กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต คลังจังหวัด ธนารักษ์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ หารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด หาชุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในทุกจังหวัดทั่วประเทศ เช่น เปิดพื้นที่ขายของฟรีจนถึงสิ้นปีนี้ เพื่อให้พ่อค้า แม่ค้า ขายสินค้าเพิ่มรายได้ให้ตนเอง

ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU – OAE Foresight Center : KOFC) โดย ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) พร้อมด้วย ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยถึงสถานการณ์แรงงานภาคเกษตรไทย ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร

จากข้อมูลพบว่า ปี 2554 – 2560 ของช่วงไตรมาส 1 (Q1) knifelesstechsystems.com แรงงานภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลง โดยในปี 2554 มีจำนวนแรงงานภาคเกษตร 14.88 ล้านคน และลดลงมาเป็น 11 ล้านคนในปี 2560 (Q1) แต่นอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น จาก 23.58 ล้านคน ในปี 2554 เป็น 26.4 ล้านคนในปี 2560 (Q1) อีกทั้งแรงงานภาคเกษตรที่มีอยู่เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (aging society) เพิ่มขึ้น ประกอบกับแรงงานภาคการเกษตรวัยหนุ่มสาวที่ได้รับการศึกษาเคลื่อนย้ายเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม และเกษตรกรมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากราคาปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช ค่าจ้างแรงงาน จึงเป็นเหตุให้มีการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิตและทดแทนแรงงานของไทย

อย่างไรก็ตาม การจัดการแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามฤดูกาลและมาเช้าเย็นกลับยังไม่สามารถกำหนดเป็นกฎกระทรวงได้อย่างชัดเจน จึงเกิดปัญหาในการจัดการแรงงานภาคการเกษตร เป็นแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายหรือไม่ได้จดทะเบียนเป็นจำนวนมาก อีกทั้งแรงงานต่างด้าวเหล่านี้มีการลักลอบเข้าประเทศอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน การเดินทางเข้าออกสามารถทำได้ง่าย จึงส่งผลทำให้เกิด พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวขึ้นมา

ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU – OAE Foresight Center : KOFC) ได้ติดตามถึงสถานการณ์แรงงานต่างด้าวที่มีต่อเศรษฐกิจการเกษตรไทย พบว่า แรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานในไทย ณ เดือน มิถุนายน 2560 มีอยู่ทั้งสิ้น 1.56 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานเข้าเมืองตามมาตรา 9 พิสูจน์สัญชาติเดิม (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์) 904,377 คน (ร้อยละ 58.03) รองลงมาคือ มาตรา 9 นำเข้าตาม MOU จำนวน 439,785 คน (ร้อยละ 28.22) มาตรา 9 ทั่วไป จำนวน 101,818คน (ร้อยละ 6.53) และประเภทอื่นๆ ร้อยละ 7.55

จากตารางจะเห็นว่า แรงงานต่างด้าวสัญชาติที่ได้รับการจดทะเบียนมากที่สุด ได้แก่ เมียนมาร์ 982,467 คน รองลงมา คือ กัมพูชา 257,284 คน และ ลาว 108,908 คน

หากพิจารณาถึงแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในภาคเกษตร มีจำนวน 248,281 คน เป็นแรงงานภาคเกษตรและปศุสัตว์ 149,799 คน และแรงงานประมง 98,482 คน โดยแบ่งเป็นแรงงานที่ได้รับอนุญาตทำงานในราชอาณาจักร กิจการประมง 17,655 คน กิจการแปรรูปสัตว์น้ำ 80,827 คน เป็นแรงงานประมงทะเลจดทะเบียนใหม่ (1 เม.ย. – 19 มิ.ย. 58) จากการขึ้นทะเบียน ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (OSS) ทั่วราชอาณาจักร

อย่างไรก็ตาม พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 เป็นการรวมกฎหมาย 2 ฉบับเป็นฉบับเดียว คือ พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 และ พ.ร.ก.การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ.2559 โดยเติมส่วนที่ขาดและแก้ส่วนที่บกพร่อง เพื่อให้ครอบคลุมการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวได้ทั้งระบบ สามารถแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ซึ่งมีสาระสำคัญ เช่น เพิ่มการคุ้มครองต่างด้าวถูกเอาเปรียบ เพิ่มโทษนายจ้างทำผิดกฎหมาย อาทิ รับคนต่างด้าวทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำหรือรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือรับคนต่างด้าวซึ่งไม่มีใบอนุญาตทำงานกับตนเข้าทำงาน มีโทษปรับตั้งแต่ 400,000 – 800,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน นอกจากนี้ ผู้ที่มีพฤติกรรมการค้ามนุษย์ เช่น ยึดใบอนุญาตทำงานหรือเอกสารสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น