นพ.โสภณ กล่าวว่า สำหรับการรายงานความคืบหน้าของแต่ละคณะ

ทำงานนั้น คณะทำงานเพื่อพิจารณาการนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน และ แพทย์แผนไทย รายงานว่า ในส่วนแผนปัจจุบันพบว่า โรคที่มีการศึกษาวิจัยชัดเจนแล้วว่าใช้กัญชาได้มี 3 กลุ่ม คือ แก้คลื่นไส้อาเจียนในคนไข้มะเร็งที่รับยาเคมีบำบัด โรคลมชักในเด็ก และปลอกประสาทอักเสบ ส่วนโรคที่มีการศึกษาวิจัยแต่ยังไม่ชัดเจน เช่น ลมชักที่ดื้อยาอื่นๆ การมีผลต่อเซลล์มะเร็งในคนหรือไม่ พาร์กินสัน และจิตเวช อย่างอัลไซเมอร์ ส่วนแพทย์แผนไทยมีการยกเข้ามา 4 ตำรับ ซึ่งขอให้คณะทำงานฯ ไปศึกษาว่า ตำรับที่ต้องใช้ประกอบด้วยแคนนาบิดอยล์ หรือ CBD และเตตระไฮโดรแคนนาตินัล หรือ THC อัตราส่วนเป็นอย่างไร ปริมาณคนไข้ทั้งหมดเยอะหรือไม่ เพื่อจะได้ทราบว่าจะต้องมีน้ำมันกัญชาหรือยากัญชามากเท่าไร

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีโซเชียลมีเดียระบุวิธีสกัดกัญชาแบบพื้นบ้าน นพ.โสภณ กล่าวว่า คิดว่ากัญชาน่าจะสกัดง่ายด้วยเอทานอล แต่อาจจะอันตราย ก็ไม่แนะนำให้ไปทำเอง ส่วนในระดับอุตสาหกรรมจะมีระบบการควบคุม แต่ในต่างประเทศบางแห่งหันมาใช้คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นระบบที่ปลอดภัยกว่า อภ.ก็ต้องไปดูว่า สกัดด้วยวิธีไหนปลอดภัย หรือได้ตัวยามากกว่ากัน และเปรียบเทียบความคุ้มค่า

ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้เกิดกระแสว่ากัญชาสามารถนำมาใช้ได้แล้ว นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการ อย. กล่าวว่า ขอย้ำว่า ขณะนี้กัญชายังไม่สามารถใช้มนุษย์ได้ ถือว่าผิดกฎหมาย ทำได้เพียงแค่ขออนุญาตปลูก นำเข้า และสกัด แต่จากที่คาดคือ พ.ค. 2562 จะนำกัญชามาใช้ในมนุษย์ได้ แต่เฉพาะทางการแพทย์เท่านั้น และต้องใช้ตามข้อบ่งชี้ ซึ่งคณะทำงานเพื่อวางระบบการควบคุมฯ จะเสนอคณะกรรมการยาเสพติดว่า กัญชาทางการแพทย์ต้องมีข้อบ่งชี้อะไรบ้างที่จะอนุญาต ซึ่งถ้าไม่มีข้อบ่งชี้ในการใช้ก็จะไม่มีการอนุญาตให้ผลิตด้วย ส่วนแพทย์หากจะสั่งจ่ายไม่ต้องมีการขออนุญาต แต่ต้องสั่งจ่ายตามข้อบ่งชี้ มิเช่นนั้นถือว่าผิด โดยอยู่ระหว่างยกร่างเป็นกฎหมายลูก ซึ่งจะมีทั้งประเด็นการวิจัยในคน การเอาไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และอุตสาหกรรมยา

เมื่อถามถึง อภ.ที่กำลังเสนอโครงการขอปลูกและวิจัยทำสารสกัดจากกัญชา นพ.โสภณ กล่าวว่า อภ.จะเสนอโครงการเป็น 2 โครงการ คือ โครงการขอของกลางมาสกัด ซึ่งขณะนี้เสนอไปเรียบร้อยแล้ว และอีกโครงการ คือการขอปลูกและพัฒนาสายพันธุ์กัญชา ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำโครงการเพื่อเสนออยู่

ผู้สื่อข่าวถามถึงปัญหาสิทธิบัตรกัญชา นพ.โสภณ กล่าวว่า ตนไปพบอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์มาแล้ว ท่านก็บอกว่าจะช่วยเฝ้าระวังให้ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ประกาศให้สิทธิบัตร เพียงแต่ที่ผ่านมาช่วงที่ยื่นขอและประกาศโฆษณานั้นไม่มีใครคัดค้าน จึงต้องเข้าสู่การพิจารณาตามกระบวนการ แต่หากเป็นการขอสิทธิบัตรสารสกัดจากพืช ซึ่งกฎหมายระบุว่าไม่สามารถทำได้ ก็จะถูกตีตกไป ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาก็เฝ้าะรวังให้ในเรื่องนี้

เมื่อถามถึงการสกัดกัญชาจะใช้ของกลางหรือพัฒนาสายพันธุ์ นพ.โสภณ กล่าวว่า ขณะนี้คงใช้ของกลางไปก่อน ซึ่งก็จะมีมาตรา 101 ทวิ และ 102 ทวิ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ที่กำหนดว่าเมื่อมีการตรวจพิสูจน์ชนิดและปริมาณยาเสพติดแล้ว กระทรวงสาธารณสุขสามารถทำลายหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามที่ระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยไม่ต้องรอให้คดีสิ้นสุด ตอนนี้ก็ต้องนำของกลางมาลองสกัด หากรู้ว่าดี เมื่อครั้งหน้าสามารถจับกัญชาแบบนี้ได้ก็ต้องเก็บในคลังไว้ให้ดี ส่วนการพัฒนาสายพันธุ์นั้น อย่างแพทย์แผนไทยก็ระบุเลยว่าต้องใช้กัญชาพันธุ์ไทย เพื่อให้เป็นไปตามสูตรตำรับ คงไม่ใช้สายพันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศ

นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2561 ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตสับปะรดออกสู่ตลาดมากเกินความต้องการของโรงงานแปรรูป เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากราคาสับปะรดที่เกษตรกรขายได้อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง เป็นเพราะปีนี้ดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยให้ผลผลิตสับปะรดเพิ่ม และประกอบกับสองสามปีที่ผ่านมาสับปะรดมีราคาสูงทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกกันมากขึ้นด้วย ทำให้เกิดภาวะล้นตลาด เนื่องจากผลผลิตร้อยละ 90 พึ่งพาโรงงานแปรรูปเพื่อส่งออกตลาดต่างประเทศ

ในขณะที่กำลังการผลิตของโรงงานแปรรูปคงเดิม กระทรวงพาณิชย์จึงได้ดำเนินมาตรการการแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยในระยะสั้น กระทรวงพาณิชย์ซึ่งเป็นฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านการตลาดและการส่งออกสับปะรด ได้มีการประชุมเพื่อวางมาตรการช่วยเหลือแล้ว 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561 และวันที่ 12 มิถุนายน 2561 ซึ่งได้มีมติให้ดำเนินมาตรการต่างๆ ได้แก่ มาตรการนำสับปะรดส่วนเกินออกจากระบบ โดยการกระจายสับปะรดออกนอกแหล่งผลิตสำหรับบริโภคผลสด และนำไปทำอาหารสัตว์เลี้ยงโคนมโคเนื้อ รณรงค์บริโภคสับปะรดโดยอาศัยเครือข่ายประชารัฐ และการเร่งรัดขยายตลาดส่งออกไปต่างประเทศให้มากขึ้น

นอกจากนี้ กรมการค้าภายในได้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยได้สนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงและกระจายผลผลิตสับปะรดผลสดออกจากแหล่งผลิต และได้สนับสนุนงบประมาณรวม 1,285,000 บาท ให้จังหวัด ระยอง ชลบุรี เชียงราย อุทัยธานี พิษณุโลก ลำปาง ประจวบคีรีขันธ์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายรวบรวมผลผลิต คัดคุณภาพ และกระจายไปจังหวัดปลายทางนอกแหล่งผลิต รวมปริมาณกว่า 2,000 ตัน และได้ประสานงานภาครัฐและภาคเอกชนให้ช่วยรับซื้อสับปะรดจากเกษตรกร ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ได้รับซื้อสับปะรดผลสดแจกให้กับผู้ที่มารับบริการที่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงกว่า 70 สาขาทั่วประเทศรวมปริมาณกว่า 890 ตัน และบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับซื้อสับปะรดสด 460 ตัน เพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เตรียมไว้สำหรับสมนาคุณลูกค้าที่มาใช้บริการสถานีน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้ง ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ เช่น ห้าง Lotus, BigC, makro, The Mall, Tops ได้ร่วมลงนาม MOU กับกรมการค้าภายในในการช่วยรับซื้อสับปะรดจากเกษตรกรโดยตรง ปริมาณรวม 2,820 ตัน

อีกทั้ง สำนักงานพาณิชย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ประสานกรมปศุสัตว์และผู้ประกอบการฟาร์มปศุสัตว์ นำสับปะรดใช้เป็นอาหารสัตว์เลี้ยงโคนมโคเนื้อ รวมแล้วกว่า 1,800 ตัน โดยกรมการค้าภายในได้สนับสนุนงบประมาณให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วงเงิน 500,000 บาทดำเนินการใช้รวบรวมสับปะรดเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงโคเนื้อโคนม ปริมาณ 500 ตัน และกระทรวงมหาดไทยได้ประสานให้จังหวัดที่ไม่ได้เป็นแหล่งเพาะปลูกสับปะรดร่วมมือช่วยรับซื้อสับปะรดจากจังหวัดที่เป็นแหล่งเพาะปลูกเพื่อไปจำหน่ายในพื้นที่ด้วย นอกจากนี้ สมาคมโรงแรมและร้านอาหารประสานให้สมาชิกเพิ่มปริมาณการเสิร์ฟให้มากขึ้นในรายการบุฟเฟต์ของโรงแรม และทำเมนูอาหารที่มีส่วนประกอบจากสับปะรดเป็นเมนูพิเศษบริการลูกค้าและนักท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มปริมาณการบริโภคสับปะรดอีกด้วย

อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการแก้ไขปัญหาระยะยาว เมื่อเข้าสู่เดือนกรกฎาคม 2561 คาดว่าผลผลิตและระดับราคาขายสับปะรดจะเริ่มค่อยๆ คลี่คลายกลับสู่ภาวะปกติ ดังนั้น การผลิตสับปะรดในรอบถัดไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้คำแนะนำและทำความเข้าใจกับเกษตรกรในการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับแนวโน้มความต้องการของตลาด โดยส่งเสริมให้มีการทำสัญญาข้อตกลงกับโรงงานแปรรูปด้วย เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องตลาดให้แก่เกษตรกร

เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(กษ.) ได้ส่งข้อความผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ ด่วนที่สุด ถึงปลัดกษ.และผู้บริหารทุกกรมรวมทั้งรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนในสังกัดกษ.ทุกแห่ง เรื่องการมอบหมายภารกิจในการทำงานของ กษ.ให้เกิดความชัดเจนและมีประสิทธิภาพ

ตามที่กษ.ได้จัดแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางออกเป็น 14 กรม 4 รัฐวิสาหกิจและ 3 องค์การมหาชน นั้นเนื่องจากลักษณะงานของ กษ. มีทั้งงานเชิงบริหารจัดการงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมซึ่งอยู่ในพื้นที่ภูมิภาค และงานที่ต้องอาศัยความรู้ทางวิชาการเฉพาะด้านมาใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งในการปฏิบัติงานทั้ง 2 ลักษณะดังกล่าวของหน่วยงานในสังกัด กษ.

บางกรณีหรือบางภารกิจก็มีการคาบเกี่ยวเชื่อมโยงกันหลายหน่วย ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนและมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติ จึงจำเป็นต้องมีการมอบหมายภารกิจที่ชัดเจนให้แก่หน่วยงานต่างๆ ว่าภารกิจใด เรื่องอะไร ใครหรือหน่วยใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหลัก อันจะนำไปสู่การทำงานอย่างเป็นระบบ มีเอกภาพ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนสามารถติดตาม เร่งรัดการปฏิบัติงานของ กษ. ในการพัฒนางานด้านการเกษตรกรรมและแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้อย่างรอบด้าน และทันต่อสถานการณ์

จึงขอทบทวนการมอบหมายความรับผิดชอบงานในกษ.ดังนี้

1.มอบหมายให้ปลัดกษ.เป็นผู้กำกับและเร่งรัดการปฎิบัติงานของ กษ. ในด้านต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยมีรอง ปลัด กษ. ทั้ง 4 ท่านเป็นผู้รับผิดชอบกำกับการทำงานของกรม รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนที่อยู่ในความรับผิดชอบตามกลุ่มงานภารกิจ (Cluster) ทั้ง 3 กลุ่มภารกิจหลัก คือ 1) กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการผลิต 2) กลุ่มบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิต 3) กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรและระบบสหกรณ์และ และ 1 ด้านอำนวยการ รับผิดชอบภารกิจด้านอำนวยการทั่วไปของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานระดับกรมที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มภารกิจหลัก

2.เมื่อมีงานหรือปัญหาต่างๆให้อธิบดีของแต่ละกรมเป็นผู้รับผิดชอบตามภารกิจและอำนาจหน้าที่(Function) โดยตรงต่องานการแก้ไขปัญหานั้นๆ เช่น การพัฒนาและการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำให้เป็นหน้าที่ของกรมชลประทานและกรมฝนหลวงเป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินการหรืองานการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านสัตว์ทุกประเภทยกเว้นสัตว์น้ำให้เป็นหน้าที่กรมปศุสัตว์ ในกรณีเป็นงานการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านประมงทุกชนิดให้เป็นหน้าที่ของกรมประมง หรืองานการพัฒนาแก้ไขปัญหาด้านพืชให้เป็นหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับกรมอื่นๆที่อาจเกี่ยวข้องด้วยรวมทั้งในทุกกรณีที่ต้องเร่งรัดดำเนินการโดยไม่ชักช้า และครบกระบวนการจนถึงขั้นตอนการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้กับประชาชนก็ให้เป็นหน้าที่ของกรมหลักนั้นๆด้วย อย่างไรก็ตามในกรณีเกษตรกรมีความเดือดร้อนและมีการรวมตัวชุนนุมเรียกร้อง

ของกลุ่มเกษตรกรต่างๆ(Mob)ที่ไม่มีหน่วยงานในกษ.รับผิดชอบโดยตรงก็ขอมอบหมายให้ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบประสานงานการแก้ไขปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอก กษ.ด้วย

3.กรณีเป็นงานการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกันมากกว่า 1 กรมนั้น ให้กรมตามที่กฎหมายกำหนดเป็นภารกิจหน้าที่ (Function) เป็นเจ้าภาพหลักและมีกรมที่เกี่ยวข้องเป็นหน่วยสนับสนุนภายใต้การกำกับของปลัด กษ.หรือ รองปลัด กษ. หัวหน้ากลุ่มภารกิจ (Cluster) เช่น เรื่องข้าว กรมการข้าว ต้องเป็นหน่วยรับผิดชอบเป็นกรมหลัก โดยมีกรมส่งเสริมการเกษตรและกรมอื่นๆเป็นหน่วยสนับสนุน ภายใต้การกำกับ อำนวยการของ รองปลัด กษ. หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการผลิต

4.การจัดทำแผนการผลิตทางการเกษตรในภาพรวมของประเทศ (รายปี/ฤดูกาลผลิต) มอบหมายเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยร่วมกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการภายใต้กฎหมายที่กำหนด

5.ในกรณีเป็นงานด้านการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ (ส่วนภูมิภาค) คือ
5.1งานแก้ไขปัญหาหรือการบริการให้กับเกษตรกรหรือประชาชนทั่วไปที่ต้องอาศัยวิธีการทางวิชาการหรืองานเฉพาะด้าน ดังเช่น 1) กรณีเกิดโรคระบาดพืชให้กรมส่งเสริมการเกษตร (กษ.อำเภอ/จังหวัด) ประสานกรมวิชาการเกษตรทราบ และเพื่อหาวิธีในการแก้ไข สำหรับโรคระบาดในปศุสัตว์หรือสัตว์น้ำ ก็เป็นหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ หรือ กรมประมงแล้วแต่กรณี ๒) กรณีการขอจดทะเบียนรับรองมาตรฐานการผลิต กรมผู้ผลิตรับผิดชอบโดยตรงหรือประสานกับกรมวิชาการหรือหน่วยตรวจรับรองอื่นๆ

5.2 กรณีงานจัดทำแผนการผลิตทางการเกษตรหรือแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาด (ระดับจังหวัด)นั้น ให้ สศก.ร่วมอำนวยการภายใต้กลไกของ อ.พ.ก. จังหวัด และ คณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด( CoO)และคณะทำงานขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับอำเภอ(OT)โดยมีหน่วยผลิตหรือรับผิดชอบสินค้านั้นๆ เป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนข้อมูล เพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าล้นตลาดและหรือจัดทำแผนการผลิตร่วมกับกรมต่างๆที่มีเจ้าหน้าที่ในพื้นที่และหน่วยงานอื่นๆ (นอกสังกัด กษ.) ในพื้นที่
5.3 การปฏิบัติการ และรายงานผลการปฏิบัติการ ให้เป็นไปตามแนวทางของคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 341/2561 ลงวันที่ 20 เมษายน 2561 เรื่อง มอบหมายการปฏิบัติราชการของบุคลากรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัด เพื่อสนองนโยบายการบูรณาการงานภาคเกษตรของจังหวัดอย่างยั่งยืน

6.งานนโยบายของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีและหรืองานแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของ กษ.ที่มีผลกระทบต่อเกษตรกรหรือความเดือดร้อนของประชาชนในวงกว้าง นั้น ให้หัวหน่วยงาน กษ.ในพื้นที่เกิดเหตุหรือทราบเหตุรีบเข้าไปแก้ไขปัญหาโดยไม่ชักช้าแล้วรายงานให้นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าหน่วยงาน กษ.ในส่วนกลางรวมทั้ง รมช.กษ.และ รมว.กษ.ตามสายงานทราบโดยด่วน สำหรับงานในรูปคณะกรรมการตามที่ กม.หรือรัฐบาลกำหนดหรือแต่งตั้ง ก็ให้กรมหรือส่วนราชการที่ได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับมอบหมายเป็นเจ้าภาพหลักในการรับผิดชอบดำเนินงานนั้น

จึงขอให้ทุกส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจรวมทั้งองค์การมหาชนในสังกัด กษ.ได้ถือปฎิบัติตามแนวทางดังกล่าวข้างต้นโดยเคร่งครัดเพิ่มเติมจากคำสั่งมอบหมายงานทั่วไปที่ได้กำหนดไว้แล้วด้วย.

กกร.ปรับเป้าจีดีพี ปี’61 โตเพิ่มเป็น 4.3-4.8% ส่งออกโต 7-10% เงินเฟ้อทั่วไป 0.9-1.5% ลุ้น ยกระดับรายได้ต่อหัวคนไทยเกิน 2 แสนบาท ต่อปี พาณิชย์มั่นใจเศรษฐกิจครึ่งปีหลังสดใส ทั้งปี คาดส่งออกเกิน 9% ส่วนผู้ส่งออกยันสงครามการค้ายังไม่กระทบไทย ดูผล กระทบในไตรมาส 4

นายปรีดี ดาวฉาย กก.ผจก.ใหญ่ธนาคารกสิกรไทย ในฐานะประธานกรรมการสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) มีมติปรับประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปี 2561 เป็น 4.3-4.8% จากเดิม 4-4.5% ส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น 7-10% จากเดิม 5-8% และเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.9-1.5% จากเดิม 0.7-1.2% จากการส่งออก การท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง ทิศทางเศรษฐกิจไทยที่เริ่มรับแรงหนุนจากการเติบโตของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากรายได้เกษตรกรที่เริ่มปรับตัวเป็นบวก ช่วยสนับสนุนกำลังซื้อฐานรากให้ดีขึ้น

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เบื้องต้น กกร.ยังมีมติให้ฝ่ายวิชาการศึกษาวิเคราะห์รายได้ต่อหัวประชากรไทย โดยให้ประสานไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมทุกจังหวัดรวบรวมข้อมูลและรายละเอียดจัดทำสถิติเป็นรายภูมิภาคมารายงานต่อที่ประชุม กกร.ครั้งถัดไป เพื่อหารือถึงแนวทางการพัฒนาและกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากเสนอไปยังรัฐบาล ช่วยยกระดับรายได้ต่อหัวประชากรให้สูงขึ้นจากปัจจุบัน คนไทยมีรายได้ต่อคนต่อปีเฉลี่ย 5,900-6,000 เหรียญสหรัฐ ต่อปี หรือเกือบ 200,000 บาท

นายสกนธ์ วรัญญูวัฒนา ผู้ช่วยรมต.ประจำกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) แถลงแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการค้าไทยช่วงครึ่งหลังของปี 2561 ว่า มีแนวโน้มที่ดี ส่งออกทั้งปีจะเป็นบวกไม่ต่ำกว่า 9% มูลค่า 250,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากปัจจัยค่าเงินบาทที่แนวโน้มอ่อนตัวลง เชื่อว่าทั้งปีก็น่าจะยังเคลื่อนไหวในกรอบ 32-34 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ การส่งออก 5 เดือน ยังขยายตัวสูงถึง 11.6% ขณะที่การนำเข้า 5 เดือน ขยายตัว 16.6% การค้าระหว่างประเทศยังเกินดุลในระดับที่ดี

นางสาวกัญญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า การส่งออกไทยเดือนพ.ค. มีมูลค่า 22,257 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวถึง 11.4% โตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ส่งผลให้ 5 เดือนแรกปีนี้ ส่งออกโตที่ 11.7% เมื่อคำนวณเป็นเงินบาทมูลค่าส่งออก ช่วง 5 เดือน โตได้เพียง 1.7% เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรค่อนข้างตกต่ำ ส่วนผลกระทบสงครามการค้า มีทั้งเชิงบวกและลบ จะเห็นชัดเจนช่วงไตรมาสที่ 4 เชื่อว่าภาพรวมส่งออกปีนี้ยังเติบโตไม่ต่ำกว่า 8%

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ยอมรับค่าเงินบาทขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนโยบาย ค่าเงิน สงครามการค้า โดยเฉพาะค่าเงินหยวน แต่สถานการณ์ค่าเงินบาทล่าสุด ยังเคลื่อนไหวสอดคล้องกับภูมิภาค ไม่น่าเป็นห่วง แม้ค่าเงินจะเปลี่ยนแปลง แต่ฐานะเงินต่างประเทศของไทยเข้มแข็ง มีกันชนพอสมควร มีหนี้ต่างประเทศต่ำ ทุนสำรองระหว่างประเทศสูง ดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้คาดว่าจะมากกว่า 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

ศรีสะเกษ – นายกลินท์ สารสิน ประธานหอการค้าไทย กล่าวภายหลังร่วมพิธีเปิดป้ายโครงการนำร่อง “1 หอการค้า 1 ศูนย์เรียนรู้” ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ อ.กันทรารมย์ ว่า ได้ประชุม ร่วมกับคณะผู้แทนกลุ่มจ.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือล่าง 2 ประกอบด้วย ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, ยโสธร, อำนาจเจริญ และคณะผู้แทนจากประเทศกัมพูชา เป็นการสานต่อ ข้อตกลงความร่วมมือด้านการค้าที่เคยตกลงกันไว้ และเป็นการเจรจาธุรกิจด้านต่างๆ กับผู้ประกอบการ ของไทย เพื่อส่งเสริมให้มูลค่าการค้าของทั้งสองประเทศมีมูลค่าสูงขึ้น

“กัมพูชาขอให้นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุน สร้างโรงงานการผลิตในกัมพูชาบ้าง ไม่ใช่ให้แต่ประเทศจีนเข้าไปลงทุน เพราะคนไทยถือเป็นพี่น้องเป็นเพื่อนบ้านใกล้เคียงกัน ควรที่จะเข้าไปลงทุนมากกว่าประเทศ ที่อยู่ไกล และขณะนี้สัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับกัมพูชาดีมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของทั้ง 2 ประเทศ หอการค้าไทยจึงได้เสนอขอให้ของสองประเทศได้พิจารณาเปิดให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปเที่ยวชมความสวยงามของปราสาทเขาพระวิหารทั้งสองฝั่งได้ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของ ทั้งสองประเทศให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม”

ด้าน นายวิทยา วิรารัตน์ ประธานหอการค้าจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า ช่วงนี้ไทย – กัมพูชามีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันเป็นอย่างมาก เมื่อ 20 ปีก่อนมีการเปิดปราสาทพระวิหาร ปรากฏว่านักท่องเที่ยวพากันมาขึ้นไปชมปราสาทพระวิหารโดยผ่านทางจังหวัดศรีสะเกษจำนวนมาก และขณะนี้ปราสาทพระวิหารได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศควรจะเปิดให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปชมได้ เพราะจะเกิดประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวของทั้ง 2 ประเทศเป็นอย่างมาก เรื่องนี้ ทางหอการค้าไทยจะได้เสนอไปยังรัฐบาลไทยเพื่อขอให้ประสานงานกับทางฝ่ายรัฐบาลของกัมพูชาต่อไป

สุโขทัย – นายรณชัย มโหธร อายุ 42 ปี เจ้าของร้านประเสริฐ แอนติค เลขที่ 73 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งได้สืบทอดอาชีพการทำเครื่องปั้นดินเผาด้วยมือต่อจากนายประเสริฐ มโหธร ผู้เป็นพ่อมานานกว่า 20 ปี กล่าวว่า ในอดีตแทบทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านจะทำเครื่องปั้นดินเผา แต่ตอนนี้เหลือเพียงไม่กี่เจ้าแล้ว ตนเองนั้นชอบงานด้านนี้ และเมื่อ 20 ปีก่อนก็ได้ทำเครื่องปั้นดินเผาอย่างจริงจัง

ในส่วนงานปั้นขึ้นรูปจะใช้การปั้นด้วยมือ จากนั้นจะนำไปวาดลายลงสีและเข้าสู่ขั้นตอนการเคลือบด้วย ขี้เถ้า ดิน หิน แร่ตามสูตรโบราณที่ได้สืบทอดมา และนำไปเข้าเตาเผาด้วยแก๊ส ซึ่งแตกต่างจากอดีตที่ใช้เตาเผาด้วยไม้ไผ่เป็นเชื้อเพลิง ทั้งนี้ การปั้นยังคงอนุรักษ์ในรูปแบบเดิมคือ วิธีเคลือบเดิมแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนใหญ่จะเป็นของใช้ของประดับตกแต่ง ตลาดปัจจุบันก็ถือว่าพอไปได้ ผู้ที่สนใจโทร.สอบถามได้ที่ (087) 309-0118

พล.อ. สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ (ศธ.) หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล พร้อมด้วย ศ.ดร. ครองชัย หัตถา ที่ปรึกษาทางวิชาการ ศูนย์สันติวิธี ร่วมเป็นสักขีพยาน การรับมอบบันทึกความเข้าใจในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัย, วิทยาลัยอาชีวศึกษา และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม และการพัฒนามนุษย์ (Southern University” Networking for Multicultural Societies and Human Development) ที่มหาวิทยาลัยฟาฏอนี บ้านโสร่ง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

พล.อ. สุรเชษฐ์ กล่าวว่า บันทึกความเข้าใจในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัย, วิทยาลัยอาชีวศึกษา และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม และการพัฒนามนุษย์ ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยทักษิณ

มหาวิทยาลัยฟาฏอนี และวิทยาลัยอีก 18 แห่ง ในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสถานศึกษาในพื้นที่ เพื่อเป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ที่จะช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสังคมพหุวัฒนธรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี เพื่อพัฒนาความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศ อย่างมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

ส่วนของการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น การน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทานของพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และศาสตร์พระราชา หลักการทรงงานข้อ 23 “รู้ รัก สามัคคี” มาเป็นหลักในการดำเนินงานส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมมือร่วมใจกันบนพื้นฐานความรักความสามัคคี งานก็จะสำเร็จลุล่วงไปได้ดีอย่างแน่นอน

ประกอบกับการประกาศเจตนารมณ์ความมุ่งมั่นของรัฐบาล การดำเนินงานวางแผน นโยบาย และยุทธศาสตร์การทำงานที่ชัดเจน จะทำให้การเกิดความสันติสุขในพื้นที่คงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

รศ.ดร. ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กล่าวว่า ขณะนี้ มทร.ธัญบุรีได้รับทุนจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ จำนวน 8 ล้านบาท ให้ดำเนินโครงการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรม รุ่นใหม่ เพื่อยกระดับความสามารถด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในภาคเอกชน หรือ TM ACADEMY โครงการนี้ก่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิค วิจัยพัฒนา มาตรฐานและการจัดการ นวัตกรรม ทำให้ภาคธุรกิจมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก

มทร.ธัญบุรีจะร่วมมือกับ มทร.ล้านนา มทร.สุวรรณภูมิ และ มทร.อีสาน คัดเลือกผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและเป็นที่ยอมรับในวงการอุตสาหกรรม ได้แก่ ด้านวัสดุ แพทย์แผนไทย และสิ่งแวดล้อม จำนวน 10 คน ร่วมเป็นวิทยากรหลัก จัดการอบรมให้กับอาจารย์ นักวิจัย ตัวแทนสถานประกอบการที่ทำงานด้านวิจัย จำนวน 16 รุ่น แต่เดิมตั้งเป้าหมายไว้ 300 คน

แต่มีผู้สมัครเข้ามากว่า 400 คน ซึ่ง มทร.ธัญบุรีจะทำอบรมให้ทั้งหมด โดยรูปแบบการอบรมจะมีระยะเวลา 4 วัน เน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโปรแกรม Talent Mobility และศึกษาดูงานในสถานประกอบการจริง ทั้งนี้ ในความเป็นจริงแล้วกลุ่มที่เข้ารับการอบรมจะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ จบการศึกษาระดับปริญญาโท-ปริญญาเอก แต่ยังไม่เคยทำงานกับภาคอุตสาหกรรมมาก่อน การจัดโครงการนี้ก็จะเป็นการสร้างผู้เชี่ยวชาญรุ่นใหม่ และเป็นการเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้กับผู้มีประสบการณ์จริงในการทำงานวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรม