นพ.โสภณ กล่าวว่า สำหรับการรายงานความคืบหน้าของแต่ละคณะ

ทำงานนั้น คณะทำงานเพื่อพิจารณาการนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน และ แพทย์แผนไทย รายงานว่า ในส่วนแผนปัจจุบันพบว่า โรคที่มีการศึกษาวิจัยชัดเจนแล้วว่าใช้กัญชาได้มี 3 กลุ่ม คือ แก้คลื่นไส้อาเจียนในคนไข้มะเร็งที่รับยาเคมีบำบัด โรคลมชักในเด็ก และปลอกประสาทอักเสบ ส่วนโรคที่มีการศึกษาวิจัยแต่ยังไม่ชัดเจน เช่น ลมชักที่ดื้อยาอื่นๆ การมีผลต่อเซลล์มะเร็งในคนหรือไม่ พาร์กินสัน และจิตเวช อย่างอัลไซเมอร์ ส่วนแพทย์แผนไทยมีการยกเข้ามา 4 ตำรับ ซึ่งขอให้คณะทำงานฯ ไปศึกษาว่า ตำรับที่ต้องใช้ประกอบด้วยแคนนาบิดอยล์ หรือ CBD และเตตระไฮโดรแคนนาตินัล หรือ THC อัตราส่วนเป็นอย่างไร ปริมาณคนไข้ทั้งหมดเยอะหรือไม่ เพื่อจะได้ทราบว่าจะต้องมีน้ำมันกัญชาหรือยากัญชามากเท่าไร

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีโซเชียลมีเดียระบุวิธีสกัดกัญชาแบบพื้นบ้าน นพ.โสภณ กล่าวว่า คิดว่ากัญชาน่าจะสกัดง่ายด้วยเอทานอล แต่อาจจะอันตราย ก็ไม่แนะนำให้ไปทำเอง ส่วนในระดับอุตสาหกรรมจะมีระบบการควบคุม แต่ในต่างประเทศบางแห่งหันมาใช้คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นระบบที่ปลอดภัยกว่า อภ.ก็ต้องไปดูว่า สกัดด้วยวิธีไหนปลอดภัย หรือได้ตัวยามากกว่ากัน และเปรียบเทียบความคุ้มค่า

ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้เกิดกระแสว่ากัญชาสามารถนำมาใช้ได้แล้ว นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการ อย. กล่าวว่า ขอย้ำว่า ขณะนี้กัญชายังไม่สามารถใช้มนุษย์ได้ ถือว่าผิดกฎหมาย ทำได้เพียงแค่ขออนุญาตปลูก นำเข้า และสกัด แต่จากที่คาดคือ พ.ค. 2562 จะนำกัญชามาใช้ในมนุษย์ได้ แต่เฉพาะทางการแพทย์เท่านั้น และต้องใช้ตามข้อบ่งชี้ ซึ่งคณะทำงานเพื่อวางระบบการควบคุมฯ จะเสนอคณะกรรมการยาเสพติดว่า กัญชาทางการแพทย์ต้องมีข้อบ่งชี้อะไรบ้างที่จะอนุญาต ซึ่งถ้าไม่มีข้อบ่งชี้ในการใช้ก็จะไม่มีการอนุญาตให้ผลิตด้วย ส่วนแพทย์หากจะสั่งจ่ายไม่ต้องมีการขออนุญาต แต่ต้องสั่งจ่ายตามข้อบ่งชี้ มิเช่นนั้นถือว่าผิด โดยอยู่ระหว่างยกร่างเป็นกฎหมายลูก ซึ่งจะมีทั้งประเด็นการวิจัยในคน การเอาไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และอุตสาหกรรมยา

เมื่อถามถึง อภ.ที่กำลังเสนอโครงการขอปลูกและวิจัยทำสารสกัดจากกัญชา นพ.โสภณ กล่าวว่า อภ.จะเสนอโครงการเป็น 2 โครงการ คือ โครงการขอของกลางมาสกัด ซึ่งขณะนี้เสนอไปเรียบร้อยแล้ว และอีกโครงการ คือการขอปลูกและพัฒนาสายพันธุ์กัญชา ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำโครงการเพื่อเสนออยู่

ผู้สื่อข่าวถามถึงปัญหาสิทธิบัตรกัญชา นพ.โสภณ กล่าวว่า ตนไปพบอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์มาแล้ว ท่านก็บอกว่าจะช่วยเฝ้าระวังให้ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ประกาศให้สิทธิบัตร เพียงแต่ที่ผ่านมาช่วงที่ยื่นขอและประกาศโฆษณานั้นไม่มีใครคัดค้าน จึงต้องเข้าสู่การพิจารณาตามกระบวนการ แต่หากเป็นการขอสิทธิบัตรสารสกัดจากพืช ซึ่งกฎหมายระบุว่าไม่สามารถทำได้ ก็จะถูกตีตกไป ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาก็เฝ้าะรวังให้ในเรื่องนี้

เมื่อถามถึงการสกัดกัญชาจะใช้ของกลางหรือพัฒนาสายพันธุ์ นพ.โสภณ กล่าวว่า ขณะนี้คงใช้ของกลางไปก่อน ซึ่งก็จะมีมาตรา 101 ทวิ และ 102 ทวิ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ที่กำหนดว่าเมื่อมีการตรวจพิสูจน์ชนิดและปริมาณยาเสพติดแล้ว กระทรวงสาธารณสุขสามารถทำลายหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามที่ระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยไม่ต้องรอให้คดีสิ้นสุด ตอนนี้ก็ต้องนำของกลางมาลองสกัด หากรู้ว่าดี เมื่อครั้งหน้าสามารถจับกัญชาแบบนี้ได้ก็ต้องเก็บในคลังไว้ให้ดี ส่วนการพัฒนาสายพันธุ์นั้น อย่างแพทย์แผนไทยก็ระบุเลยว่าต้องใช้กัญชาพันธุ์ไทย เพื่อให้เป็นไปตามสูตรตำรับ คงไม่ใช้สายพันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศ

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ว่าที่ร้อยตรีทรงพล แป้นแก้ว นายอำเภอพัฒนานิคม จ.ลพบุรี เป็นประธานเปิดตลาดประชารัฐ เพื่อช่วยรับซื้อสับปะรดจากเกษตกร ผ่านสหกรณ์การเกษตรนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 3 คันรถ น้ำหนักรวมกว่า 8,500 กิโลกรัม หรือ กว่า 8.5 ตัน เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด ให้แก่เกษตกรได้จำหน่ายผลผลิตสับปะรด ให้ถึงมือผู้บริโภคโดยตรง ตลอดจนเป็นตัวแทนรับซื้อสับปะรดบางส่วนนำไปแจกจ่าย ให้แก่ข้าราชการ และลูกจ้างที่ปฏิบัติงาน ในบริเวณที่ว่าการอำเภอพัฒนานิคม พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ ให้หน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริษัท ห้างร้านต่างๆ ในพื้นที่อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ได้ช่วยกันรับซื้อสับปะรด คุณภาพดี ราคาถูก เพียงกิโลกกรัมละ 6 บาท ไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชน เนื่องจากประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาด ทำให้ราคาสับปะรดตกต่ำ ปรากฏว่าเปิดจำหน่ายได้แค่ 2 ชั่วโมงเศษ ก็สามารถจำหน่ายสับปะรดได้ทั้งหมด 8.5 ตัน

ทั้งนี้นายอำเภอพัฒนานิคม ยังได้เชิญชวนประชาชนหันมาบริโภคสับปะรด ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีเกลือแร่และวิตามินซีสูง ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการร้อนใน แก้กระหายน้ำ ซึ่งนอกจากจะบริโภคสดแล้ว ยังสามารถนำมาประกอบอาหารคาวหวาน ได้หลากหลายด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (1 ก.ค. 2561) นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จ.สงขลา (สสก.ที่ 5) เปิดเผยว่า ในปีนี้ผลไม้ให้ผลผลิตเป็นจำนวนมาก ได้แก่ 1) ทุเรียน ที่ให้ผลผลิต 278,000 ตัน มากกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 61 ถัดมาคือ 2) มังคุด ที่ให้ผลผลิต 111,000 ตัน มากกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 104 ถัดมาคือ 3) เงาะ ให้ผลผลิตกว่า 84,000 ตัน มากปีที่แล้ว ร้อยละ 102 และ 4) ลองกอง ที่ให้ผลผลิต 70,000 ตัน มากกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 613

“ด้านราคาผลไม้ในภาคใต้ จากที่สำรวจดูในตลาดที่จังหวัดระนอง มังคุด ราคา 50-60 บาท/กิโลกรัม ทุเรียน 100 บาท/กิโลกรัม ซึ่งมังคุดถือว่ามีราคาดีมาก คาดว่าจะทำให้เงินสะพัดกว่า 5,500 ล้านบาท”

นายสุพิท กล่าวว่า ผมไม้ส่วนใหญ่จะออกผลผลิตในช่วงเดือนกรกฎาคม-เดือนสิงหาคม อยู่ที่ประมาณ 30-40% ส่วนภาคใต้ตอนล่าง ทุเรียนในปีนี้จะมากกว่าปกติ เพราะส่วนหนึ่งเป็นทุเรียนนอกฤดู และตามที่รัฐบาลมีนโยบายทำการผลิตแปลงใหญ่นั้นถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ซึ่งผลผลิตได้คุณภาพตามความต้องการของตลาด เช่น ทุเรียนบ้านทรายขาว ต.ทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ที่ส่งขายไปยังห้างสรรพสินค้าท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต นับเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรแปลงใหญ่เพิ่มขึ้น

ด้าน นายต่อผา วินทิจักร เจ้าของร้านกะหยาม ผู้รับซื้อผลไม้รายใหญ่ของหมู่ที่ 3 บ้านด่านโลด ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ทางร้านรับซื้อผลไม้ทุกชนิดทุกฤดูกาล และตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม 2561 นี้ จะเป็นฤดูกาลของมังคุด ที่เริ่มเก็บเกี่ยวในรอบแรก อยู่ที่ 50 บาท/กก. เป็นราคาสูงสุดในรอบกว่า 10 ปีที่ผ่านมา สร้างปรากฏการณ์ความพึงพอใจให้กับชาวสวนเป็นอย่างมาก เพราะทุกปีที่ผ่านมา ราคาจะอยู่ที่ 4-7 บาท/กก. ส่วนมังคุดนอกฤดูที่ผ่านมา ราคาสูงสุด 180-200 บาท/กก.

“มีความพึงพอใจมากที่มังคุดมีราคาขนาดนี้ และมังคุดปีนี้ก็มีผลผลิตในปริมาณมาก บางต้นให้ผลผลิต 200-400 กก. และส่วนต้นขนาดเล็กให้ผลผลิต 30-100 กก. ทำให้มีรายได้ที่ดีขึ้น” นายต่อผา กล่าว

วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ กรวิชญ์ มาระเสนา หรือ คุณหมู Young Smart Farmer จังหวัดสงขลา ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก หลังเคยทุ่มเทชีวิตให้กับอาชีพวิศวกรรมโยธา จนไม่มีเวลาให้ครอบครัว ท้ายที่สุดจึงตัดสินใจเบนเข็มสู่การเป็นเกษตรกร คุณหมูเดินหน้าศึกษาหาความรู้เรื่องการปลูกผักไฮโดรโปนิก โดยยึดหลักคิด “ใช้ตลาดนำ” มองความต้องการของตลาดเป็นที่ตั้งว่า ต้องการผักประเภทไหนมากที่สุด แล้วจึงปลูกผักชนิดนั้น ตามด้วยผักชนิดอื่นรองลงมาตามความต้องการ จนได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ต้องขยายโรงเรือนเพิ่มเติมออกไปกว่า 40 โรงเรือน

การเข้าร่วมโครงการ Young Smart Farmer เปิดโอกาสให้คุณหมูได้บ่มเพาะทักษะแนวคิดผสมผสานกับนำความรู้ด้านวิศวกรโยธามาใช้ในการออกแบบโรงเรือนด้วยตนเอง ทำให้มีต้นทุนน้อยกว่าโรงเรือนทั่วไปที่มีราคาหลักหมื่นกว่าบาท เหลือเพียงประมาณ 4,000 บาท เท่านั้น ซึ่งผักไฮโดรโปนิกของที่นี่มีจุดเด่นตรงรสชาติผักที่หวานและกรอบ ด้วยการปลูกแบบผสมผสานคู่กับผักไทยในโรงเรือนเดียวกัน ทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตแบบเกื้อกูลกัน ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยและยาลง

ในด้านการจำหน่ายผลผลิต คุณหมูจะทยอยจำหน่ายผักตามระยะเวลาการปลูก โรงเรือนที่ปลูกก่อนจะนำมาจำหน่ายก่อน เพื่อให้ลูกค้าได้บริโภคผักที่สดใหม่ โดยนำผักไปจำหน่ายในตลาดเกษตรอินทรีย์ ขายผ่านตลาดออนไลน์ และเปิดตลาดกลุ่มลูกค้าหน่วยงานราชการ เพราะมองว่า ‘ข้าราชการจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าได้มีโอกาสบริโภคอาหารที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และปลอดภัย’ ซึ่งผลการตอบรับของตลาดก็นับว่าน่าพึงพอใจ

ด้วยความกล้าคิด กล้าลงมือทำ ทำให้คุณหมูได้รับคัดเลือกป็นประธานกลุ่ม YSF โดยยึดหลักการบริหารเกษตรกรให้มีคุณภาพควบคู่การเสริมสร้างคุณธรรม ฝึกให้สมาชิกรู้จักบริหารจัดการพื้นที่การทำเกษตรกรรมของตนเอง เปิดมุมมองแนวทางการเพิ่มผลผลิตอย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และวางแผนการจัดการด้านการตลาดอย่างเป็นระบบ

แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์

“หัวข้อหลักจะเป็นการปูพื้นฐานที่เข้มแข็งให้แก่สมาชิกกลุ่ม โดยน้อมนำศาสตร์พระราชาในเรื่อง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข มาเป็นหลักที่สอนให้รู้ว่าควรจะเรียนรู้จากล่างสู่บน มิใช่จากบนลงล่าง ทำให้ YSF ของจังหวัดสงขลาประสบความสำเร็จ”

ไม่เพียงแต่ปลูกผักไฮโดรโปนิกเท่านั้น แต่คุณหมูยังแบ่งพื้นที่ทำแปลงโมเดลสวนเกษตรผสมผสานทั้ง ปศุสัตว์ ประมง พืชผักสวนครัว และไม้ดอก ไม้ผล โดยใช้หลักประโยชน์เกื้อกูลกัน บำรุงพืชพรรณด้วยระบบอินทรีย์จากใช้การหมักปุ๋ยและสารชีวภาพ เพื่อเป็นต้นแบบถ่ายทอดความรู้ ซึ่งปัจจุบันได้ถูกจัดตั้งให้เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) ภาคใต้ตอนล่าง ของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา กรมการส่งเสริมการเกษตร

ความมุ่งมั่น ทุ่มเท กำลังแรงกายและใจ ทำให้คุณหมูได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง, ประธาน YSF จังหวัดสงขลา, รองประธาน YSF เขต 5 ควบคู่กับการเป็นผู้ประสานงาน YSF THAILAND เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าศักยภาพของเกษตรกรไทยสามารถก้าวไกลไปได้อย่างไร้ขีดจำกัด หากได้รับการสนับสนุนให้เกิดการต่อยอดอย่างตรงจุด

เห็นผลสำเร็จแบบนี้แล้ว ใครที่สนใจอยากแลกเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ๆ กับคุณหมู ก็สามารถพูดคุยกันได้ที่เฟซบุ๊ก korawit marasena หรือติดตามข้อมูลของเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่

โรครากเน่าโคนเน่า เป็นปัญหาใหญ่ของชาวสวนทุเรียน โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน หรือสภาพอากาศชื้น เนื่องจากเมื่อต้นทุเรียนเป็นโรคนี้แล้ว หากไม่ได้รับการจัดการที่ถูกต้องเหมาะสม จะทำให้ต้นทุเรียนทรุดโทรมถึงขั้นตายในที่สุด

นายประสงค์ ประไพตระกูล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนมีการระบาดมากที่สุดในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ตราด ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ลักษณะการระบาดไม่เต็มพื้นที่ เป็นเฉพาะบางต้นและมีโอกาสที่จะลุกลามไปยังต้นอื่นๆ ได้ภายในแปลง ถ้ามีการจัดการไม่ดี โดยเฉพาะในช่วงที่มีสภาพอากาศแปรปรวน ปริมาณน้ำฝนมาก ฝนตกต่อเนื่อง ความชื้นในอากาศสูง เกษตรกรจะต้องมีการจัดการที่ดี เพราะต้นทุเรียนที่ได้รับเชื้อจะอ่อนแอและจะตายในที่สุด หากพบต้นหรือกิ่งที่เป็นโรคต้องเผาทำลายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปยังพื้นที่อื่น

ส่วนใหญ่เกษตรกรจะนิยมใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า แต่พบว่าการใช้สารเคมีไม่สามารถแก้ปัญหาโรคพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อีกทั้งยังส่งผลต่อต้นทุนการผลิต และเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผลผลิต มีสารตกค้าง รวมถึงความไม่ปลอดภัยต่อตัวเกษตรกรและผู้บริโภคด้วย ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันโรคพืช อย่างเช่น เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ที่เป็นเชื้อราชั้นสูงมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน เนื่องจากเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าสามารถช่วยทำลายเชื้อราไฟทอปทอร่าซึ่งเป็นสาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่าในดินให้มีปริมาณลดลง ช่วยให้รากที่มีอยู่เดิมหรือรากที่แตกใหม่ไม่ให้เชื้อราไฟทอปทอร่าเข้าไปทำลายได้ เชื้อราไตรโคเดอร์ม่ายังมีส่วนช่วยให้พืชเกิดความต้านทานต่อเชื้อโรค ที่สำคัญเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเป็นสารชีวภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย

ตัวอย่าง การส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า ในพื้นที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ซึ่งมีพื้นที่ปลูกทุเรียนมากถึง 35,000 ไร่ เกษตรกรกว่า 4,500 ราย ผลผลิตรวมไม่ต่ำกว่าปีละ 20,000 ตัน แต่หลายปีมานี้ชาวสวนทุเรียนต้องประสบปัญหาโรครากเน่าโคนเน่าที่ทำลายสวนทุเรียนอย่างหนัก กระทบต่อผลผลิตและรายได้ของเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรอำเภอท่าแซะ ได้ลงไปถ่ายทอดความรู้และให้คำแนะนำการผลิตและใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าในสวนทุเรียน ซึ่งเกษตรกรได้มีการทดลองนำไปใช้จนเห็นเป็นที่พอใจ จากต้นทุเรียนที่เหี่ยวเฉาใกล้ตาย เมื่อใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าหว่านรอบโคนต้น และฉีดพ่นได้ระยะหนึ่ง ต้นทุเรียนก็เริ่มฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ ขณะที่ต้นทุนการผลิตเมื่อใช้สารชีวภัณฑ์จะลดลงกว่าการใช้สารเคมีครึ่งหนึ่ง

ด้าน นางสำเนียง สุขเนาว์ เจ้าของแปลงต้นแบบการใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่าป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน บ้านบางฝนตก หมู่ที่ 18 ตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร เล่าว่า ตนมีพื้นที่ปลูกทุเรียนอยู่ 15 ไร่ หลายปีก่อนประสบปัญหาโรครากเน่าโคนเน่าทำลายต้นทุเรียนเกือบทั้งหมด ตอนนั้นทำยังไงก็ไม่หาย ใช้สารเคมีก็ไม่เป็นผล เชื้อราไฟทอปทอร่าทำลายต้นทุเรียนเป็นแผลตั้งแต่ข้างบนยอดลงมาถึงโคนต้น ใบเหี่ยวเฉา ลูกไม่สมบูรณ์ จนคิดว่าทุเรียนต้องตายหมดสวนแน่ๆ จึงคิดที่จะโค่นทุเรียนไปปลูกปาล์มน้ำมันแทน พอดีมาเจอกับเกษตรอำเภอท่าแซะ คุณสว่าง โกดี ปัจจุบัน เกษียณอายุราชการแล้ว เข้ามาแนะนำมาอบรมถ่ายทอดความรู้ ให้รู้จักเชื้อไตรโคเดอร์ม่า ว่าสามารถแก้ปัญหาโรครากเน่าโคนเน่าได้

ตอนแรกลูกชาย นายอรุณวิชญ์ สุขเนาว์ ไม่เชื่อเลย แต่ตนคิดว่าไม่มีอะไรจะเสียแล้ว ก็เลยลองทำ โดยทั้งหว่านรอบโคนต้น ฉีดลำต้น ทรงพุ่ม ฉีดทุก 15 วัน พอผ่านไปประมาณ 6 เดือน สภาพต้นทุเรียนที่เหมือนจะตายเริ่มฟื้น เมื่อเห็นผลอย่างนั้นก็ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าป้องกันกำจัดโรคในสวนทุเรียนมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันกว่า 4 ปีแล้ว และยังจะใช้ต่อไปไม่หยุด

นายอรุณวิทย์ กล่าวเสริมว่า สวนของตนมีทุเรียน 100 กว่าต้น เคยเก็บผลผลิตได้ปีละกว่า 30 ตัน พอเจอโรคเน่าโคนเน่าเข้าทำลายต้นทุเรียนเสียหายหนักมาก เพราะเชื้อไฟทอปทอร่าเข้าไปทำลายระบบท่อน้ำเลี้ยงต้นทุเรียน ใส่ปุ๋ยเท่าไร ใช้สารเคมีหรือจะทำวิธีไหนก็ไม่ได้ผล ผลผลิตลดลง เหลือไม่ถึง 3 ตัน แต่พอมาใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ก็ค่อยๆ ฟื้นความสมบูรณ์ ผลผลิตเพิ่มขึ้นมาเป็นปีละ 5 ตัน และเพิ่มขึ้นเรื่อยมา จนถึงตอนนี้สวนทุเรียนฟื้นกลับคืนสู่สภาพสมบูรณ์เต็มร้อย แต่ตนก็ยังคงผลิตและใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าอย่างต่อเนื่อง เพราะเชื่อมั่นว่าการใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันโรคพืชได้ผลจริง ที่สำคัญปลอดภัย และมีความยั่งยืน

ปัจจุบัน แปลงของป้าสำเนียงและ นายอรุณวิทย์ สุขเนาว์ ถูกยกให้เป็นแปลงต้นแบบการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนที่ประสบความสำเร็จเห็นผลอย่างชัดเจน ซึ่งนำไปสู่การขยายผลการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าอย่างกว้างขวางของพื้นที่จังหวัดชุมพร

จำนงค์ บุญเลิศ ปราชญ์ปลานิลแห่งบ้านป่ากว๋าว อ.พาน จ.เชียงราย ที่แม้จะจบเพียง ป.4 แต่ด้วยความขยันใผ่ที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องการเพาะเลี้ยงปลา จนมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการเพาะพันธุ์ปลานิล คิดค้นเทคนิค และอุปกรณ์ในการเลี้ยงปลานิลได้อย่างน่าทึ่ง ทำให้ได้รับการยกย่องให้เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ และรางวัลเกียรติยศอีกมากมาย

คุณจำนงค์ เล่าให้ฟังว่า ปลานิล เป็นปลาที่มีเนื้อมากและมีรสดี สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง เช่น ทอด ต้ม แกง ตลอดจนทำน้ำยาได้ดีเท่ากับเนื้อปลาช่อน นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารประเภทต่างๆ เช่น ทำเป็นปลาเค็มตากแห้งแบบปลาสลิด ปลากรอบ ปลาร้า ปลาเจ่า ปลาจ่อมหรือปลาส้ม และยังนำมาประกอบเป็นอาหารแบบอื่นได้อีกหลากหลายชนิด

“เริ่มทำฟาร์มเพาะเลี้ยงปลานิลมาตั้งแต่ ปี 2522 โดยเริ่มต้นจากการทำบ่อเลี้ยงปลานิลขนาดเล็ก ไปพร้อมกับการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้รู้ในท้องถิ่น อ่านจากในตำรา ลองผิดลองถูกมาหลายครั้งจนเกิดเป็นองค์ความรู้ สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนานนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและขยายรูปแบบการเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

ศึกษาการเพาะขยายพันธุ์เพื่อเชิงการค้า ตามปกติแล้วรูปร่างลักษณะภายนอกของปลานิลตัวผู้และตัวเมียจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แต่จะสังเกตได้โดยการดูอวัยวะเพศที่บริเวณใกล้กับช่องทวาร ตัวผู้จะมีอวัยวะเพศลักษณะเรียวยื่นออกมา ส่วนตัวเมียจะมีลักษณะเป็นรูค่อนข้างใหญ่และกลม ขนาดของปลาที่ดูลักษณะเพศได้ชัดเจนนั้น ต้องมีขนาดยาวตั้งแต่ 10 เซนติเมตรขึ้นไป ในกรณีที่ปลามีขนาดโตเต็มที่แล้วนั้น อาจจะสังเกตเพศได้ด้วยการดูสีที่ลำตัว เพราะปลาตัวผู้จะมีสีเข้มตรงบริเวณใต้คางและลำตัว ต่างกับปลาตัวเมีย และยิ่งใกล้ฤดูผสมพันธุ์ สีก็จะเข้มยิ่งขึ้น

“ปลานิลที่เลี้ยงไว้ สามารถแปลงเพศจากปลานิลตัวเมียให้เป็นตัวผู้โดยการใช้ฮอร์โมน ซึ่งปลานิลที่แปลงเพศยังสามารถขยายพันธุ์ได้ ส่วนปลานิลที่เป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์จะถูกเลี้ยงด้วยกันในบ่อซีเมนต์ โดยธรรมชาติของปลานิลจะวางไข่ในช่วงฤดูฝน จึงได้คิดค้นการใช้สปริงเกลอร์เพื่อเปิดน้ำตลอดเวลา ใช้หลอกปลานิลที่เลี้ยงไว้ว่า เข้าช่วงฤดูฝนแล้ว ต้องรีบผสมพันธุ์และวางไข่”

การเพาะพันธุ์ปลานิลให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพ คุณจำนงค์ บอกว่า ต้องได้รับการเอาใจใส่และมีการปฏิบัติในด้านต่างๆ เช่น การเตรียมบ่อเพาะเลี้ยง การเลี้ยงแม่พันธุ์ การตรวจสอบลูกปลา และการอนุบาลลูกปลา อย่างถูกหลักและวิธิการ

ตามธรรมชาติของปลานิลเวลาวางไข่ ตัวผู้จะทำรังให้สวยงามเพื่อล่อตัวเมียมาผสมพันธุ์ที่รังของมัน จากนั้นผ่านไป 21 วัน ปลานิลตัวเมียก็จะตั้งท้องและคายไข่มาเลี้ยงไว้ในปาก ซึ่งสังเกตได้ว่าถ้าปลานิลตัวไหนมีไข่ บริเวณคางของปลาจะหย่อนลงกว่าปกติ พอถึงช่วงที่ปลานิลตัวเมียคายไข่ที่ไว้ในปากจนหมดแล้ว จึงจะเริ่มเก็บไข่ปลาที่อยู่ในปากของปลานิลออกมา โดยการจับปากปลาให้อ้าออกแล้วนำไปแกว่งน้ำในถังพลาสติกสีดำ ไข่ปลาก็จะหลุดออกไปอยู่ในถังพลาสติกดังกล่าว

และเมื่อได้ไข่ปลาแล้วก็จะนำไข่ปลาทั้งหมดมาเลี้ยงในเหยือกน้ำพลาสติกสีขาวขุ่น โดยปล่อยน้ำให้วนอยู่ในเหยือก มีท่อพลาสติกเป็นท่อระบายน้ำล้นและมีถาดรองน้ำที่ล้นนั้น เมื่อไข่ปลากลายเป็นลูกปลานิลตัวเล็ก น้ำที่ล้นลงบนถาดจะคัดลูกปลานิลตัวเล็กๆ ออกมาด้วย

เมื่อได้ลูกปลาตัวเล็กๆ ที่อยู่ในถาดแล้ว ก็นำมาคัดตัวที่แข็งแรงที่สุดโดยการปล่อยน้ำเบาๆ ลงไปในถาด ให้ลูกปลานิลทั้งหมดไหลวนในถาดอีกที ตัวที่แข็งแรงก็จะไม่ตาย จากนั้นจึงจะนำลูกปลานิลทั้งหมดไปอนุบาลในบ่อซีเมนต์ที่จัดเตรียมไว้อีกที่หนึ่ง ซึ่งกระบวนการทั้งหมดกว่าจะได้ลูกปลานิลมาอนุบาลต้องใช้เวลาถึง 7 วัน ซึ่งลูกปลานิลที่มาอนุบาลจะต้องเลี้ยงด้วยฮอร์โมน 21 วัน ถึงจะสามารถนำไปเลี้ยงและขยายพันธุ์ต่อไป

การแพร่ขยายพันธุ์ของปลานิลนั้น ปริมาณไข่ที่แม่ปลาวางแต่ละครั้งจะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปลาและฤดูกาล โดยประมาณแล้วปลานิลตัวเมียจะวางไข่ได้ ครั้งละ 50-600 ฟอง แม่ปลาที่เริ่มวางไข่ครั้งแรกจะให้ลูกปลาจำนวนไม่มากนัก ปริมาณไข่ของแม่ปลาจะเพิ่มมากตามขนาดของแม่ปลาที่เจริญวัยขึ้น แม่ปลาตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ทุกระยะ 2-3 เดือน ต่อครั้ง ถ้าหากบ่อเลี้ยงปลามีสภาพดีและมีการให้อาหารพอเพียงในเวลา 1 ปี แม่ปลาตัวหนึ่งจะสามารถแพร่พันธุ์ได้ประมาณ 3-4 ครั้ง

ปลานิล ที่ผสมพันธุ์และวางไข่ในแต่ละรุ่น พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์จะให้ไข่ปลาที่สมบูรณ์ในระยะเวลา 1 ปี พอหลังจากนั้นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ทั้งหมดจะแก่ตัวลงและไม่สามารถให้ไข่ปลาสำหรับการเพาะเลี้ยงได้ คุณจำนง จึงนำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ที่อายุมาก ออกขายให้กับตลาดที่มารับซื้อถึงฟาร์ม วันหนึ่งๆ จะขายได้กว่า 1,0000 กิโลกรัม

ปัจจุบัน คุณจำนงค์ ได้รับรางวัลและได้รับการยอมรับจากหลายสาขา มีนักเรียน นักศึกษา และนักวิชาการการเกษตรทั้งในและต่างจังหวัด มาศึกษาดูงานเป็นประจำทุกๆ วัน นอกจากนั้นแล้วยังมีสมาชิกที่เข้าร่วมการอบรมและประสบผลสำเร็จกว่า 500 คน โดยพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ

สนใจศึกษาเรียนรู้ การเพาะเลี้ยงลูกปลานิล ติดต่อได้ที่ คุณจำนงค์ บุญเลิศ บ้านเลขที่ 732 ม. 14 ต.เมืองพาน อ.พาน จ.เชียงราย เบอร์โทรศัพท์ 081-881-8649

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม นพ.โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2561 ว่า ในที่ประชุมมีการหารือถึงร่างประมวลกฎหมายยาเสพติดฉบับใหม่ ที่จะปลดล็อกให้สามารถนำกัญชามาวิจัยทางการแพทย์ในมนุษย์ได้ ซึ่งจากการที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รับหลักการไปเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2561 และมีเวลาให้คณะกรรมาธิการพิจารณา 90 วัน จึงคาดว่า กฎหมายดังกล่าวจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาได้ช่วงเดือนตุลาคมนี้ และจะมีผลบังคับใช้ใน 180 วัน คือช่วงเดือนเมษายน 2562 ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงวางกรอบระยะเวลาในการดำเนินงาน ว่า วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 จะต้องสามารถนำกัญชามาใช้เป็นยาทางการแพทย์ หรือศึกษาวิจัยในมนุษย์ได้

“คณะกรรมการฯ จะมีคณะทำงาน 4 คณะ ซึ่งแต่ละคณะต้องไปวางกรอบระยะเวลาในการทำงานให้ชัดเจน เช่น คณะทำงานเพื่อพัฒนาการสกัดฯ จะทำอย่างไรให้มีน้ำมันกัญชาหรือยากัญชาใช้ภายในวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 หรือคณะทำงานเพื่อวางระบบการควบคุมฯ ที่มีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นหลัก ก็ต้องไปออกกติการะเบียบต่างๆ ทำอย่างไรให้มีผลิตภัณฑ์ใช้ ใช้ทางการแพทย์ทำอย่างไร ใครจะเป็นคนสั่งจ่าย การศึกษาวิจัยทำอย่างไร ผลิตระดับอุตสาหกรรมทำอย่างไร เป็นต้น โดยการประชุมครั้งหน้าแต่ละคณะทำงานต้องวางกรอบการทำงานที่ชัดเจนแล้ว ว่า การผลิต การสกัดจะเริ่มได้เมื่อไร จำนวนน้ำมันกัญชาต้องใช้มากเท่าไร ซึ่งจะช่วยเรื่องของการวางแผนผลิต ถ้าไม่ทันต้องนำเข้าหรือไม่ เป็นต้น เพื่อให้ทั้งหมดมีการใช้ได้ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2562” นพ.โสภณ กล่าว