นส.สุทธิลักษณ์ กล่าวว่า ด้านการช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากเกยตื้น

ทช.ได้ตั้งศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งทะเลอันดามัน จังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการ บุคลากร และเครื่องมือทางการแพทย์ รวมถึงบ่อพักฟื้น และรถช่วยชีวิต โดยกรมฯ ได้จัดทำคู่มือปฏิบัติการช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากเกยตื้น และหลักสูตรฝึกอบรมการช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากเกยตื้น ให้กับเจ้าหน้าที่และเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2559 จัดการฝึกอบรมไปทั้งสิ้น 8 รุ่น มีผู้เข้าร่วมฯ จำนวน 293 คน และในปีงบประมาณ 2560 มีแผนการจัดฝึกอบรมอีก จำนวน 8 รุ่น ๆ ละ 35 คน นอกจากนี้ ยังมีการจัดฝึกอบรมในระดับนานาชาติ โดยทช. ร่วมกับศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกองทัพเรือ จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เครือข่ายการช่วยชีวิตสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 7-13 พฤศจิกายน 2559 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน พัทยา จังหวัดชลบุรี

“แม้ว่าเต่าทะเลในประเทศไทยจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ปี 2535 แต่สถิติการลดลงของเต่าทะเลก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มีสาเหตุหลักจากการติดเครื่องมือประมงโดยบังเอิญ ปัญหาการลักลอบเก็บไข่เต่า พื้นที่วางไข่และหากินของเต่าทะเลที่ลดลงจากการพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่ง สถิติการวางไข่เต่าทะเลลดลงเหลือเพียง 1 ใน 5 ส่วน ภายในระยะเวลา 60 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2546-2559 พบสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นรวม 3,105 ตัว คิดเป็นค่าเฉลี่ยปีละ 190 บวกลบ 112 ตัว

ในจำนวนนี้ประกอบด้วยเต่าทะเลถึงร้อยละ 57 ค่าเฉลี่ยการเกยตื้นต่อปีของเต่าทะเล 127 บวกลบ 75 ตัวต่อปี โดยในแต่ละปีมีแนวโน้มของการเกยตื้นเพิ่มสูงขึ้นทั้งนี้เป็นเพราะการแจ้งข่าวสารการเกยตื้นที่สะดวกและความตระหนักในการรับรู้ของชุมชนชายฝั่งที่เพิ่มมากขึ้น สาเหตุของการเกยตื้นสำหรับเต่าทะเลส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 74-89 เกิดจากเครื่องมือประมง โดยเฉพาะเครื่องมือประมงชายฝั่ง ได้แก่ อวนลอย ตลอดจนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมง นอกจากนี้ ขยะทะเลนับเป็นสาเหตุของการเกยตื้นซึ่งมีแนวโน้มของปัญหาเพิ่มขึ้นทุกปี ค่าเฉลี่ยของเต่าทะเลที่กลืนขยะและเข้าไปสะสมอยู่ในระบบทางเดินอาหารมีร้อยละ 2-3 แต่หากนับจำนวนของการเกยตื้นที่มีขยะทะเลเกี่ยวพันภายนอก โดยเฉพาะขยะจำพวกอวน ซึ่งพบมากในเต่าทะเลจะมีเปอร์เซ็นต์การเกยตื้นจากสาเหตุขยะสูงถึง 20-40% “อธิบดีทช.กล่าว

นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าผลการดำเนินงานตามมาตรการและโครงการภายใต้แผนเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้งด้านการเกษตร ปี 2559/60นั้น กระทรวงเกษตรฯ ได้เร่งดำเนินการ 6 มาตรการ 29 โครงการ คือ 1.มาตรการส่งเสริมความรู้เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้ง ซึ่งมีโครงการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานในเกษตรกรรายย่อย ขณะนี้ได้ดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรแล้ว 8,870 ราย ใน 12 จังหวัด 2.มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการเกษตร ประกอบด้วย โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด งบประมาณ 383.49 ล้านบาท เป้าหมาย 200,000 ไร่ 19 จังหวัด ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้ว 12,513 ราย พื้นที่ 195,289 ไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการไถเตรียมดิน 171,690 ไร่ โครงการปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวไปปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรัง ปี 2560 งบประมาณ 636.25 ล้านบาท เป้าหมาย 300,000 ไร่ ครอบคลุม 22 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา ขณะนี้ดำเนินการปลูกแล้ว 194,474 ไร่ เกษตรกร 40,115 ราย คิดเป็น 64.82 %

นายธีรภัทร กล่าวว่า 3.มาตรการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน โครงการก่อสร้าง ขุดลอก/ปรับปรุงแหล่งน้ำในเขตปฏิรูปที่ดิน งบประมาณ 125.92 ล้านบาท เป้าหมาย 113 แห่ง 33 จังหวัด ดำเนินการแล้วเสร็จ 57 แห่ง 20 จังหวัด คิดเป็น 59.29 % โครงการก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน งบประมาณ 752.40 ล้านบาท เป้าหมาย 44,000 บ่อ ใน 60 จังหวัด ดำเนินการแล้วเสร็จ 34,867 บ่อ คิดเป็น 79.25 % อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 9,133 บ่อ 4. มาตรการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่เกษตรที่ประสบภัย โครงการเพิ่มขีดความสามารถให้แก่เกษตรกร กิจกรรมหน่วยบริการชาวนาแบบเคลื่อนที่ งบประมาณ 8.30 ล้านบาท จัดตั้งศูนย์ฯแล้ว 51 ศูนย์ อบรมเกษตรกรไปแล้ว 2,091 ราย โครงการสำรองเมล็ดพันธุ์พืชไร่เพื่อเตรียมสนับสนุนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติภัยแล้ง งบประมาณ 2.55 ลบ. เป้าหมาย 51 ตัน ขณะนี้ดำเนินการสำรองเมล็ดพันธุ์แล้ว 40 ตัน คิดเป็น 78.43 % 5.มาตรการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ และ 6.มาตรการจัดทำแผนความต้องการของชุมชน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง

นายธีรภัทร กล่าวว่า นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ยังมุ่งเน้นสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้สาธารณชนได้รับทราบเกี่ยวกับการดำเนินงานมาตรการต่าง ๆ เพื่อเป็นการเตรียมตัว ป้องกัน และลดผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น ในส่วนมาตรการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะได้เร่งดำเนินการเพื่อให้แล้วเสร็จก่อนสถานการณ์ภัยแล้งจะมาถึงอีกด้วย

นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกปีนี้จะขยายตัวดีขึ้น ทำให้ส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าหัตถกรรมของไทยและคาดว่าจะขยายตัวได้ 5-10% จากปี 2559 ที่มีมูลค่า 59,000 ล้านบาท และติดลบ 0.37% จากปี 2558

ทั้งนี้ กลุ่มผลิตภัณฑ์หลักที่มีการส่งออกสูงเป็นอันดับแรก คือ กลุ่มเครื่องเงินและทอง มูลค่า 44,198 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.32% ตามด้วยกลุ่มผ้าทอมือ มูลค่า 7,520 ล้านบาท ลดลง 4.99% ผลิตภัณฑ์หัตถกรรม มูลค่า 6,639 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.87% และเซรามิก มูลค่า 888 ล้านบาท ลดลง 2.62% โดยตลาดหลัก คือ สหรัฐฯ ฮ่องกง และเยอรมัน เป็นสัดส่วนรวม 41.72% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดกลุ่มสินค้าหัตถกรรม

สำหรับการจัดงานเทศกาลนวัตศิลป์นานาชาติ 2560 ครั้งที่ 6 หรือ International Innovative Craft Fair 2017 ระหว่างวันที่ 23 – 26 มีนาคม 2560 ที่ศูนย์แสดงสินค้าไบเทค ซึ่งปีนี้จะมีร้านค้า 350 ราย นำสินค้าหัตถกรรมและสินค้านวัตกรรม มาจัดแสดง ตามใช้ความคิดสร้างสรรค์ผสมผสานนวัตกรรมใหม่ๆ เข้าถึงความต้องการ ทันสมัย และตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวัน

วันที่ 9 มีนาคม 2560 นักท่องเที่ยวทั้งในประเทศ,ต่างประเทศ รวมถึงประชาชนชาวบ้านในพื้นที่เชียงคำ-อำเภอไก้ลเตียงที่ผ่านเส้นทางสายนี้ หรือผู้ที่ขับรถสัญจรไป-มา และผ่านบริเวณหน้าแขวงการทางเชียงรายที่ 2 (เชียงคำ) บ้านหนอง ต.ฝายกวาง อ.เชียงคำ จ.พะเยา ผู้ที่ผ่านส่วนมากเมื่อเห็นดอกเหลืองอินเดีย ต่างอดไม่ได้แล้วแวะถ่ายรูปกับต้นเหลืองอินเดีย (Tabebuia spectabilis) หากว่าดอกออกพร้อมกันทุกต้นจะมีความสวยสดงดงาม เป็นสีเหลืองทองอร่ามตระการตา ทั้งสองข้างทางบนเส้นทางสายนี้ ประกอบกับต้นเหลืองอินเดีย ซึ่งไปบานตรงกับต้นทองกวาวถนนสายพะเยา-ดอกคำใต้-เชียงคำ ขณะนี้ต้นทองกวาวกำลังบานสะพรั่ง ตลอดสองข้างทางกว่า 20 กม. เป็นสีสันสร้างความดึงดูดใจ,ประทับใจให้แก่ผู้เดินสัญจรไปมาถนนสายนี้

นอกจากนี้ ดอกทองกวาวเป็นต้นไม้ผลัดใบ จะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนของทุกปีและปีนี้ ชาวดอกคำใต้,ชาวพะเยาเรียกถนนเส้นนี้ว่า “ถนนสายดอกไม้” แล้วยังเป็นเส้นทางหลัก หรือทางหลวงของแผ่นดินสายพะเยา-เชียงคำ สามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงคือขึ้นภูชี้ฟ้า อ.เทิง จ.เชียงรายได้

นายนพฤทธิ์ ศิริโกศล นายอำเภอเชียงคำ จ.พะเยา กล่าวว่ากว่า 10 ปี ต้นเหลืองอินเดียที่ปลูกไว้บริเวณหน้าแขวงการทางเชียงราย2 (เชียงคำ)บนถนนสายนี้ที่เชื่อมไปยังจังหวัดใก้ลเคียงเช่นเชียงคำ-อ.ท่าวังผา จ.น่าน เชียงคำ-อ.สอง จ.แพร่ เชียงคำ-อ.เทิง จ.เชียงราย แต่ปีนี้ต้นเหลืองอินเดียออกดอกมาก และสวยงามกว่าทุกปีที่ผ่านมา ปัจจัยคงจะมาจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงในห้วงหน้าหนาวอุณหภูมิพอดีไม่หนาวจนเกินไปต่ำกว่า 10 องศาฯ ภาพรวมในขณะนี้ดอกเหลืองอินเดีย กำลังเริ่มบานสะพรั่งอย่างสวยงาม โดยจะทยอยบานไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปีและปีนี้ จากนั้นก็จะร่วงหล่นไปตามธรรมชาติของพันธ์ุไม้ทั่วไป ดอกเหลืองอินเดียจะออกไม่ตรงกันเสมอไปแต่ละต้น-รุ่นที่ปลูกไว้บริเวณข้างทาง ดอกที่บานแล้วจะหมดอายุในระยะไม่กี่วัน,อาทิตย์ก็จะร่วงโรยหล่นตามธรรมชาติ

“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดน่านอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 20 ปี ได้ทอดพระเนตรเห็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว ทรงห่วงใยและเล็งเห็นถึงความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ให้คืนสู่ความสมดุลโดยเร็วที่สุด

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับกองทัพบก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดน่าน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และธนาคารกสิกรไทย ร่วมมือกันจัดประชุมสัมมนา “รักษ์ป่าน่าน ครั้งที่ 3” ณ ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการ เครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต.ผาสิงห์ อ.เมืองน่าน จ.น่าน เพื่อให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ ให้ผู้เข้าร่วมประชุมเกิดความตระหนักและร่วมแรงร่วมใจกันอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ของ จ.น่าน ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานส่วนหนึ่งของประเทศให้มั่นคงและยั่งยืนต่อไป

ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรยายเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระผู้ทรงอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ไทย” ที่ได้พระราชทานแนวพระราชดำริในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ไทยเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับสั่งว่า เท่าที่ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชไปตามภาคต่างๆ ของประเทศไทย ได้สังเกตว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าหน้าที่ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ตามเสด็จไปด้วย ทั้งป่าไม้ งานเกษตร ชลประทาน พัฒนาที่ดิน กรมแผนที่ทหาร สะท้อนให้เห็นว่า การทำงานเพื่อความผาสุกของราษฎร ไม่ใช่ว่าพวกใดพวกหนึ่งจะทำได้โดยไม่ปรึกษาคนอื่น

จากนั้นรับสั่งถึงแนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาป่าไม้ของในหลวง รัชกาลที่ 9 ดังนี้
-ป่าไม้สาธิต-ป่าทดลองส่วนพระองค์แห่งแรก
“เมื่อต้นรัชกาล พระองค์เสด็จฯแปรพระราชฐานไปวังไกลกังวล ขณะเสด็จฯโดยรถยนต์พระที่นั่งผ่าน อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ทรงสังเกตเห็นต้นยางนาขนาดใหญ่ปลูกเรียงรายทั้งสองข้างทาง จึงมีพระราชดำริที่จะสงวนไม้ยางนาไว้ โดยทรงให้นำเมล็ดไม้ยางนามาเพาะเลี้ยงไว้ที่แปลงเพาะชำ ณ บริเวณที่ประทับสวนจิตรลดา และต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นำพันธุ์ไม้ต่างๆ ทั่วประเทศมาปลูกเพิ่มเติมในลักษณะป่าไม้สาธิต เช่น หวายพันธุ์ต่างๆ รวมทั้งต้นไม้ที่อยู่ในวังมานานแล้ว เช่น ขนุนทักษิณ เป็นการจำลองป่าไม้เพื่อให้ประชาชนเข้ามาศึกษาได้”

-ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
แนวพระราชดำริการฟื้นฟูป่าของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับสั่งว่า “น่าสนใจ” คือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปัจจุบันมีทั้งหมด 6 ศูนย์ทั่วประเทศ รับสั่งว่า ทั้ง 6 ศูนย์อยู่ในสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน โดยเอาพื้นที่เป็นหลักในการศึกษาแบบบูรณาการ ใช้วิธีการหลายๆ อย่างในการแก้ปัญหา ทรงยกตัวอย่างศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2560 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 16 เตือนภัยลักษณะอากาศ เรื่อง “พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน”

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุวาพายุฤดูร้อนที่เกิดขึ้นบริเวณประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากความกดอากาศสูงที่ปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังอ่อนลง ทำให้สภาวะความแปรปรวนของอากาศลดลง และมีอากาศร้อนเข้ามาแทนที่ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนกลับสู่สภาวะอากาศของฤดูร้อนปกติ

ประกาศ ณ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 05.00 น.

ประกาศฉบับนี้เป็นฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้

(ลงชื่อ) วันชัย ศักดิ์อุดมไชย ชาวบ้านที่ว่างจากการทำงาน รวมกลุ่มออกหาหนูพุก ตามคันคูริมแหล่งน้ำสาธารณะและตามทุ่งนา เพื่อนำไปทำอาหาร ที่เหลือยังนำไปขายให้กับคนในหมู่บ้าน สร้างรายได้ให้กับครอบครัว ในขณะที่ราคาหนูปีนี้ราคาดี เนื่องจากหาได้ยากขึ้น สวนทางกับความต้องการที่มีมากขึ้น

โดยชาวบ้านในเขต ต.หนองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ได้ใช้เวลาที่ว่างจากการทำงาน รวมตัวกันพร้อมนำสุนัขที่เลี้ยงออกหาหนูพุกหรือหนูนา ตามคันคูแหล่งน้ำสาธารณะ และตามทุ่งนา โดยเฉพาะคันคูของอ่างเก็บน้ำห้วยบังพวน ที่หนูมาอาศัยทำรังเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีอาหารอุดมสมบูรณ์ทั้งปูและหอย

เมื่อพบรังของหนูแล้ว จะช่วยกันปิดทางเข้า-ออกทุกทาง แล้วใช้จอบ-เสียมขุด โดยจะมีสุนัขช่วยดมกลิ่นและช่วยตามล่าหนูที่วิ่งออกจากรัง หนูที่ได้จะนำไปประกอบอาหารรับประทานกันในครอบครัว หากได้จำนวนมากก็จะขายให้กับคนในหมู่บ้าน สร้างรายได้ให้กับครอบครัววันละหลายร้อยบาท ซึ่งปีนี้หนูราคาดีมากเนื่องจากหายาก และมีความต้องการซื้อมากขึ้น ราคาซื้อ-ขายขึ้นอยู่กับขนาดตัวของหนู ตัวใหญ่จะขายกันสูงถึงตัวละ 150 – 180 บาท

รายงานข่าวจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่(กพร.) แจ้งว่า ขณะนี้กพร.อยู่ระหว่างจัดเตรียมข้อมูลเพื่อเสนอต่อ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้พิจารณาและเสนอต่อรัฐบาล ในการกำหนดให้ประเทศไทยมีการผลิตปุ๋ยเพื่อการเกษตรจากแร่หลัก 3 ชนิด คือ ไนโตรเจนที่สร้างใบ ฟอสฟอรัสสร้างดอก และโพแทสเซียมสร้างผล โดยแผนการผลิตดังกล่าวจะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี(2559-2579)ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ มั่นใจว่าจะมีส่วนสำคัญในการยกระดับรายได้ของเกษตรกรไทยหากได้ใช้ปุ๋ยราคาถูกที่ผลิตในประเทศ จะทำให้มีรายได้ต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นและช่วยให้ไทยพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง

ซึ่งปัจจุบันไทยมีศักยภาพในการผลิตโพแทสเซียม แต่ยังไม่สามารถผลิตได้ทำให้ภาคเกษตรกรรมต้องนำเข้ามาใช้ในประเทศสูงถึง 1 ล้านตันต่อปี และปัจจุบันกระทรวงอุตสาหกรรมได้อนุมัติประทานบัตรให้กับเอกชน 2 ราย คาดว่าจะมีผลิตแร่โพแทชออกสู่ตลาดได้ตั้งแต่ปี 2561-2562 นี้ ขณะที่แร่ 2 ชนิดที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของปุ๋ย คือ ไนโตรเจนจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีศักยภาพในการผลิตภายในประเทศต่ำมาก กพร.จึงเตรียมเสนอรัฐบาลให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ออกสิทธิประโยชน์เพื่อกระตุ้นให้เอกชนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศ เพื่อผลิตวัตถุดิบปุ๋ย คือ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส และให้นำกลับมาผสมกับแร่โพแทช เพื่อผลิตปุ๋ยสำเร็จรูปในไทยต่อไป

นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองอธิบดีกพร.กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ กพร.ได้มีการหารือบีโอไออย่างไม่เป็นทางการ เรื่องการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในต่างประเทศของอุตสาหกรรมแร่ที่สนับสนุนการผลิตปุ๋ย เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ของเกษตรกรทั่วประเทศรวมถึงผลิตเพื่อส่งออกด้วย เนื่องจากไทยมีศักยภาพสูงในการผลิตแร่โพแตซ ที่เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตปุ๋ย แต่ยังต้องนำเข้าวัตถุดิบอื่นคือ ไนโตรเจน และฟอสเฟต โดยหลังจากนี้คาดว่าระดับกระทรวง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และเลขาธิการบีโอไอ น่าจะมีการหารือถึงความเป็นไปได้และกำหนดแนวทางสนับสนุนต่อไป

วันที่ 11 มีนาคม 2560 เมื่อเวลา 08.00 น. ที่บ้านหมู่ 1 ต.หนองนางนวล อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี ชาวนาจำใจยอมปล่อยทิ้งข้าวนาปรังที่ลงทุนปลูกไว้กว่า 20 ไร่ ให้ควายกินแทนหญ้า หลังต้นข้าวเจอกับโรคระบาดหนักอย่างโรคบั่ว ที่เข้าทำลายยอดข้าวที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้เกิดเป็นลักษณะคล้ายหลอดหอม ทำให้ต้นข้าวและกอข้าวที่ถูกทำลายจะมีอาการ แคระแกรน เตี้ย ลำต้นกลม มีสีเขียวเข้ม และต้นข้าวที่ถูกทำลายนั้นจะไม่สามารถออกรวงได้ทำให้ผลผลิตข้าวจึงลดลงเป็นจำนวนมาก หรือเสียหายไปทั้งหมด เมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่าน จนหมดความหวังแล้วว่านาปรังปีนี้คงจะไม่ได้ข้าวอย่างแน่นอน จึงตัดสินใจใช้ต้นข้าวให้เป็นอาหารเลี้ยงควายซึ่งถือเป็นประโยชน์สุดท้ายที่ทำได้

เกษตรกรเจ้าของแปลงข้าวนาปรังดังกล่าว กล่าวว่า ปีนี้ทำข้าวนาปรังไว้ทั้งหมด 20 ไร่ แต่มาประสบปัญหาเจอโรคบั่วระบาดหนัก และได้ระบาดลงนาข้าวของตนทั้งแปลงตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่าน ซึ่งตอนแรกหวังว่าจะมีรวงข้าวออกมาบ้างสักครึ่งหนึ่งที่ทำไว้ก็ยังดี แต่ครั้งนี้กลับไม่มีรวงข้าวออกมาเลยสักแปลง เลยจำใจปล่อยต้นข้าวที่ไร้รวงทั้ง 20 ไร่ ให้กลายเป็นอาหารแก่ควายที่เลี้ยงไว้แทน เพราะอย่างน้อยก็ยังได้เป็นประโยชน์สุดท้ายดีกว่าปล่อยให้ต้นข้าวทั้งหมดนั้นแห้งตายลงไปแบบไร้ประโยชน์

วันนี้จะพาแวะไปรองลิ้มชิมรส “หมูส้มแม่สมบุญ” ร้านดังจังหวัดพิจิตร รับประกันความอร่อย ปลอดภัย ถูกหลักอนามัย และโภชนาการ

“แม่สมบุญ” เจ้าของร้านข้างแกงแม่สมบุญ เจ้าของสูตร “หมูส้มแม่สมบุญ” เล่าว่า ถือเป็นหมูส้มสูตรโบราณ เพราะขั้นตอนการทำและกรรมวิธีการปรุงรส ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้านของชาวไทยพวน บ้านป่าแดง ต.หนองพยอม อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร

ถึงแม้ส่วนประกอบในการทำหมูส้มจะกระทัดรัดไม่มากมาย แต่ขั้นตอนการผลิตนั้นถือว่าพิถีพิถัน

เริ่มตั้งแต่การเลือกซื้อเนื้อหมู คัดเนื้อสะโพก เน้น! ต้องสดและสะอาด กระเทียมต้องกระเทียมไทย รสชาติแรงกลิ่นหอมดี ข้าวสวยสุก ใช้ข้าวสารท้องถิ่น

ลำดับขั้นตอนการเตรียม เริ่มจากนำเนื้อหมูมาหั่นชิ้นหนาๆ พอดีๆ คำ ต่อด้วยการโขกกระเทียมแตกพอประมาณไม่ละเอียด นำข้าวสุกหุงขึ้นหม้อมาแช่น้ำ

ต่อด้วยขั้นตอนการผลิต นำเนื้อหมู กระเทียมไทย และ ข้าวสุก ลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างลงตัว จากนั้นตักใส่ถุงแยกเป็น ครึ่งโลกรัม และ 1 กิโลกรัม เก็บไว้นอกตู้เย็นทิ้งไว้สองคืน รสชาติจะเปรี้ยวกลมกล่อมได้ที่ ก่อนนำบรรจุในกระปุก เป็นอันเสร็จขั้นตอน สำหรับหมูส้มแม่สมบุญ สามารถทานดิบก็ได้ทานสุกก็ดี สัมผัสได้ทั้งสองรูปแบบ หรือนำไปทอด เหมาะสำหรับปรุงอาหารได้หลายแบบ ทั้ง ผัดใส่พริก ผัดใส่ไข่ หลน หรือนำไปประดิษฐ์เมนูได้อีกมากมายหลากหลาย

“หมูส้มแม่สมบุญ” จำหน่ายอยู่ที่ “ร้านข้าวแกงแม่สมบุญ” ภายในโรงอาหารศูนย์ค้าส่งอินโดจีน พิษณุโลกทีเคเค ถนนหลวงหมายเลข 126 เส้นเลี้ยงเมืองพิษณุโลก อยู่ตรงข้างวิทยาลัยเทคนิคสองแคว

ร้านข้าวแกงแม่สมบุญ เปิดให้บริการเฉพาะ วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ 08.00-15.00 น.

ช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนเมืองพิษณุโลก หรือผ่านเมืองสองแควแล้วรู้สึกหิว สามารถแวะมารองลิ้มชิมรสชาติข้าวแกงแม่สมบุญ รับรองจะติดใจ ราคา กิโลกรัมละ 200 บ. ค่าจัดส่ง (ขนส่งเอกชน) 60 บาท ถ้า 4 กิโลขึ้นไป คิดค่าจัดส่ง 80 บาท สนใจสั่งโทร 097-2299465 หรือ Line beau2524

วันที่ 11 มีนาคม 2560 ที่บริเวณริมถนนตัดใหม่ hdwallpaperia.com วงแหวนรอบนอกเมืองนครราชสีมา ต.บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ได้มีเกษตรกรทำการเผาตอซังข้าว จนเกิดไฟลุกลามเป็นบริเวณกว้างนับร้อยไร่ ส่งผลให้เกิดหมอกควันพวยพุ่งไปทั่วบริเวณ จนเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของเทศบาลตำบลบ้านโพธิ์ ต้องนำรถดับเพลิง มาฉีดสกัดไฟ เพื่อไม่ให้ลุกลามเข้าไปใกล้หมู่บ้าน และชุมชน ขณะเดียวกันไฟได้ลุกลามมาริมถนนตัดใหม่จนถึงเสาไฟฟ้า ทำให้หมอกควันปกคลุมถนน เป็นปัญหาการจราจรอย่างมาก

นายสุเทพ รื่นถวิล ปภ.จังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ขณะนี้ทาง ปภ.จังหวัดนครราชสีมา ได้มีการเฝ้าระวังการเผาป่า หรือเผาตอซังข้าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ประกาศแจ้งเตือนไปยังประชาชนให้ระวังการจุดไฟใน 3 พื้นที่ ได้แก่ 1.พื้นที่ป่าสงวน หรือเขตอุทยาน หากมีการฝ่าฟืนจุดไฟ จะมีโทษทั้งปรับและจำคุกไม่เกิน 5 ปี 2.ในพื้นที่ไร่ นา หากต้องการเผาตอซังข้าว หรือใบอ้อย ก็ขอให้แจ้งไปยังกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เพื่อให้มีการเตรียมรถดับเพลิง ป้องกันลุกลามเข้าหมู่บ้านหรือชุมชน และ 3.ในพื้นที่ติดถนนทางหลวง ให้เป็นความรับผิดชอบของแขวงการทาง ที่จะต้องแจ้งเตือนประชาชนไม่ให้เผาตอซังข้าว เพราะอาจจะทำให้วิสัยทัศน์การจราจรมีปัญหาได้

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประชาชนส่วนใหญ่ก็ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีประชาชนบางส่วน มักง่ายเผาตอซังข้าวโดยไม่ได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาไฟลุกลามเข้าหมู่บ้าน ชุมชน เป็นระยะ ดังนั้นจึงขอความร่วมมือในเรื่องนี้ด้วย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังได้ นายสุเทพฯ กล่าว

นายจำลอง เจริญสุข รักษาราชการแทนนายก อบต.คลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ทาง อบต.คลองสระบัว กำลังเร่งแก้ไขปัญหาหมูป่าจำนวนกว่า 600 ตัว ที่อยู่อาศัยในป่าข้างวัดกลางคลองสระบัว และมีการแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว โดยเพียง 7 ปีเท่านั้น จากหมูป่า 2 คู่ กลายเป็นหมูป่าจำนวนมาก ซึ่งออกมาสร้างความเดือนร้อน กัดกินพืชสวน พืชไร่ สร้างความสกปรกและกลิ่นเหม็น อีกทั้งยังสร้างอันตรายแก่คนและยานพาหนะ เพราะว่าหมูป่าเดินไปทั่วชุมชน โดยชาวบ้านต้องการให้เร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วน แต่ขอร้องว่าห้ามฆ่าหมูป่าด้วยรักและสงสาร

ล่าสุดทาง อบต.ได้จัดสร้างกรงดักหมูป่าแล้ว และหากประชาชนทั่วประเทศประสงค์นำหมูป่าไปเลี้ยง สามารถติดต่อขอรับได้ โดยจะมอบให้เพียงรายละ 3 ตัวเท่านั้น ย้ำว่าห้ามนำไปฆ่ากิน

สำหรับกระแสข่าวคนถิ่นอื่น เข้ามาลักลอบจับหมูป่าไปฆ่ากินนั้น ยอมรับว่ามีมูลความจริง แต่ขอเตือนว่าหมูป่าเหล่านี้ ไม่ได้เลี้ยงในระบบฟาร์ม ไม่มีการฉีดวัคซีน อีกทั้งไม่ได้เป็นหมูป่าที่อาศัยในป่า ซึ่งจะกินอาหารธรรมชาติ แต่เป็นหมูป่าในชุมชนเมือง นอกจากกินเศษพืชผักแล้ว ยังกินอาหารจากถังขยะด้วย ดังนั้นเชื่อว่าเนื้อหมูป่า อาจมีตัวพยาธิชนิดต่างๆ หากนำไปบริโภค จะไม่ปลอดภัย