นอกจากจะได้ ตื่นตาตื่นใจกับพืชพรรณแปลกๆ ได้รับความรู้ใหม่ๆ

ด้านการเกษตรจากเวทีเสวนาการเกษตร ตลอด 4 วันของการจัดงาน พร้อมกับชิมผลไม้ที่อร่อยที่สุดของไทยแล้ว คณะผู้จัดงานยังได้จัดกิจกรรมเวิร์กช็อป “เกษตร-ศิลป์” 4 วัน 7 หลักสูตร ประกอบด้วย “Sashiko” ศิลปะลายปักญี่ปุ่นโบราณบนผ้าคราม, “Flower box” จัดดอกไม้ในกล่องสวย, ปักผ้าแสนสวยด้วยเทคนิค STITCH, พันธุ์ไม้ ลายศิลป์ สไตล์ “Marbling art”, ปลูกกระบองเพชรแบบ “ฮิปสเตอร์”, สูตรวุ้นลูกแก้ว “ผลไม้สด” แบบมืออาชีพ และทำข้าวเหนียวมูนน้ำดอกไม้สีทอง ปรากฏว่า วันแรกของการเปิดงาน จัดอบรมเรื่องทำข้าวเหนียวมูนน้ำดอกไม้สีทอง มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก จนต้องปิดการลงทะเบียนในระยะเวลาอันรวดเร็ว

ผู้จัดงานได้คืนกำไรให้กับผู้ที่เข้าไปร่วมงาน โดยผู้สนใจที่ลงทะเบียนเข้าร่วมงานก็มีสิทธิ์ลุ้นรับของที่ระลึกวันละ 30 รางวัล, รับต้นกล้าดาวเรืองพันธุ์พิเศษพร้อมปุ๋ยมุกมังกรวันละ 540 ชุด, แจกฟรี 10 พันธุ์ไม้พรีเมียม และเมื่อช้อปครบ 100 บาท รับคูปอง 1 ใบ เก็บสะสมครบ 3 ใบ ลุ้นรับรางวัลพิเศษมากมาย และหากสะสมครบ 6 ใบ มีสิทธิ์ลุ้นรถไฟฟ้า รุ่น SEV-TL1 มูลค่า45,000 บาทอีกด้วย

ฝ่ายปกครองสะเดาและตชด.จับใบกระท่อมหนักกว่า 1ตัน ซุกซ่อนในป่าชายแดนไทยมาเลเซีย

วันที่ 7ก.ย. นายบุญพาศ รักนุ้ย นายอำเภอสะเดา พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองตชด.ชุดเฝ้าระวังชายแดน 4303 และชุดปฎิบัติการด้านการข่าว ตชด. 437 ได้สนธิกำลังออกลาดตระเวนตามแนวชายแดน ในพื้นที่ บ้านควนข้าวแห้ง หมู่ 8 ต.ตาโล๊ะ อ.สะเดา จ.สงขลา ซึ่งห่างจากเขตแนวชายแดนไทย มาเลเซียประมาณ 3 กม.หลังจากได้รับรายงานว่ามีการลักลอบขนใบกระท่อมล๊อตใหญ่เข้ามาตามแนวตะเข็บชายแดนทางช่องทางธรรมชาติ

พบกับกลุ่มขบวนการขนใบกระท่อม กำลังขับรถจักรยานยนต์ขนใบกระท่อมหลายคัน เจ้าหน้าเลยได้แสดงตัว กลุ่มกองทัพมดได้หลบหนีกันคนละทิศละทางและอาศัยในการชำนาญในพื้นที่หลบหนีไปได้

รายงานข่าวว่าเจ้าหน้าที่ได้กระจายกำลังกันเดินเท้าตามรอยเส้นทางรถขึ้นไปตามเขาแนวชายแดน พบกระสอบบรรจุใบกระท่อมถูกทิ้งไว้เป็นจุดๆ โดยเฉพาะที่หลักเขตแดนที่ 8/34 ไทยมาเลเซีย ซึ่งเป็นเขตสันปันน้ำระหว่างประเทศ และพบกับกองใบกระท่อมขนาดใหญ่ 3 กอง ทั้งที่กองทิ้งไว้และใส่ในกระสอบ พร้อมกับรถจักรยานยนต์4 คัน ยึดเอาไว้ และขนย้ายลงมานับที่กองร้อยอาสารักษาดินแดนอำเภอสะเดาที่ 3 ปรากฏว่ามีน้ำหนัก 1,156 กก. มูลค่าประมาณ 924,800 บาท

นายบุญพาศกล่าวว่าใบกระท่อมสดที่ตรวจยึดได้ นับเป็นครั้งใหญ่ในรอบปีนี้โดยขบวนการค้าใบกระท่อมขนข้ามแดนมาจากฝั่งมาเลเซีย เพื่อรอกระจายไปตามใบสั่งทั้งในพื้น จ.สงขลาและจังหวัดใกล้เคียง จากสภาพพื้นที่ คาดว่าถูกใช้เป็นเส้นทางหลักในการนำใบกระท่อมเข้าไทย

นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงได้ศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางในการนำเศษเหลือทิ้งจากหนัง เกล็ด ครีบ และก้างปลานิลมาใช้ประโยชน์ โดยผลิตเป็นคอลลาเจน ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ในการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า และเป็นการช่วยลดปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ปลานิลถือเป็นปลาน้ำจืดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยจากข้อมูลในปี 2559 มีปริมาณผลผลิตปลานิลจากการเพาะเลี้ยงถึง 176,463 ตัน มีการส่งออกปลานิลและผลิตภัณฑ์กว่า 7,975.4 ตัน คิดเป็นมูลค่า 598.5 ล้านบาท โดยส่งออกในรูปแบบของเนื้อปลานิลแปรรูปแช่แข็งและแช่เย็น ถึงร้อยละ 38.1 ซึ่งการแปรรูปดังกล่าวนี้ทำให้เกิดเศษเหลือทิ้งจากหนัง เกล็ด ครีบ และก้างปลา ปริมาณมากถึงร้อยละ 50-70 ของวัตถุดิบเริ่มต้น

นายปวเรศวร์ อินทุเศรษฐ นักวิชาการผลิตภัณฑ์อาหารชำนาญการพิเศษ กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง นักวิจัยผู้ศึกษาวิจัยเรื่อง “การสกัดคอลลาเจนที่ละลายในกรดจากหนังปลานิล” กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันเศษเหลือทิ้งจากการแปรรูปสัตว์น้ำส่วนใหญ่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการทำปุ๋ย ซึ่งนับว่ามีมูลค่าค่อนข้างต่ำ จึงมีแนวคิดที่จะนำเศษเหลือทิ้งจากปลานิลมาศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น ด้วยการสกัดเป็นคอลลาเจนเพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น เครื่องหนัง ยารักษาโรค วัสดุทางการแพทย์ เครื่องสำอาง อาหาร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นต้น ที่ผ่านมามีการศึกษาการสกัดคอลลาเจนจากหนังและก้างปลาซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลาทะเล มีการศึกษาสกัดคอลลาเจนจากหนังปลาน้ำจืดน้อยมาก จึงนับเป็นความท้าทายของงานวิจัยชิ้นนี้ ซึ่งอาจใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการใช้ประโยชน์เศษเหลือทิ้งจากสัตว์น้ำจืดชนิดอื่น ๆ ได้ต่อไปในอนาคต

สำหรับขั้นตอนการศึกษาสกัดคอลลาเจนจากหนังปลานิลนั้น เริ่มต้นจากการนำหนังปลามากำจัดโปรตีนที่ไม่ใช่คอลลาเจนออกโดยการแช่ในสารละลายด่าง จากนั้นกำจัดไขมันในหนังปลาออกโดยใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ แล้วจึงทำการสกัดคอลลาเจนโดยใช้กรดอะซิติก

จากนั้นกรองเอาส่วนของเหลวมาตกตะกอนคอลลาเจนโดยการเติมเกลือ แล้วแยกตะกอนโดยใช้เครื่องหมุนเหวี่ยง และนำตะกอนคอลลาเจนที่ได้ไปทำให้บริสุทธิ์โดยการทำไดอะไลซิส แล้วจึงทำให้แห้ง จะได้เป็นคอลลาเจนบริสุทธิ์ที่มีคุณภาพ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย โดยมีคุณสมบัติเทียบเท่าคอลลาเจนที่สกัดจากปลาทะเลและสัตว์บกทั่วไป ซึ่งหนังปลานิลจำนวน 100 กรัม จะสามารถผลิตคอลลาเจนได้ปริมาณถึง 30 กรัม ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวยังมีการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อต่อยอดทางความคิดอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้ได้นำเอาเศษเหลือทิ้งส่วนอื่น ๆ ของปลา เช่น เกล็ด มาสกัดเป็นคอลลาเจนได้อีกด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและลดเศษเหลือทิ้งจากการแปรรูปสัตว์น้ำให้เหลือน้อยที่สุด

ทั้งนี้ หากภาคเอกชนรายใดต้องการนำงานวิจัยดังกล่าวไปพัฒนาขยายผลในเชิงอุตสาหกรรม เข้ามาหารือกับกรมประมงได้ ขีดขอบคดโค้งของทุ่งนาขั้นบันไดกลางหุบเขา ณ บ้านป่าปงเปียง เป็นดั่งพรมผืนใหญ่สีเขียวชอุ่ม ความลงตัวของธรรมชาติและวิถีชีวิต ไฮไลต์แห่งห้วงฤดูฝนของอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ใครก็ตามได้เข้ามาสัมผัสแล้ว…ต้องหลงรัก

“บ้านป่าปงเปียง” ตั้งอยู่บนดอยสูงในเขตตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองแม่แจ่มราว 14 กิโลเมตร แม้การเดินทางเข้าถึงค่อนข้างยากลำบาก ต้องไต่สันดอยขึ้นไป กับสภาพถนนดินแดง แคบ ขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ

การเดินทางเข้ามาที่นี่จึงต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้น แต่เพราะ “ทุ่งนาขั้นบันได” ที่ไล่สเต็ปไปตามหุบเขาลดหลั่น กลับเป็นแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวต้องดั้นด้นมาตักตวงความสุขกันแบบแนบชิด

เพียงช่วงเวลาไม่นานนัก ราว 3 ปี นาขั้นบันได บ้านป่าปงเปียง เป็นที่รู้จักและกล่าวถึงผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียที่แวะเวียนกันมาเช็กอิน ทำให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาแวะเยือนอย่างไม่ขาดสาย

“ขนำ” หรือกระท่อมปลายนาของชาวบ้านปกากะญอเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ที่สร้างไว้เพื่อพักผ่อน หลบฝน หลบแดด ขณะออกทำงานกลางทุ่งนา กลายเป็น “โฮมสเตย์” แบบบ้าน ๆ เรียบง่าย มีที่นอน หมอน มุ้ง มีแปลงผักให้นักท่องเที่ยวเด็ดมาทำกับข้าวกินกันริมทุ่ง ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปา เมื่อพลบค่ำมีเพียงแสงเทียนและแสงจันทร์ที่ให้ความสว่าง

จากขนำที่ดัดแปลงเป็นโฮมสเตย์ 1 หลังเมื่อ 3 ปีก่อน ปัจจุบันมีโฮมสเตย์เพิ่มขึ้นจำนวน 11 หลัง ถือเป็นภาพการเปลี่ยนแปลงในเชิงธุรกิจที่ชาวบ้านหันมาลงทุนรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการท่องเที่ยว ทำให้หน่วยงานภาครัฐ

ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ กำลังหาแนวทางป้องกันไม่ให้บ้านป่าปงเปียงเติบโตแบบไร้ทิศทาง ซ้ำรอยแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ “อรรถชา กัมปนาทแสนยากร” นายอำเภอแม่แจ่ม บอกว่า ป่าปงเปียงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแม็กเนตของอำเภอแม่แจ่ม ขณะนี้อยู่ในแผนการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญ ล่าสุดได้ประชุมร่วมกับชาวบ้านป่าปงเปียงไปแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งพบว่ามีปัญหาการจัดการหลายส่วนต้องเร่งแก้ไข โดยเฉพาะรูปแบบบ้าน (โฮมสเตย์) ที่ชาวบ้านสร้างกันขึ้นมาแบบต่างคนต่างสร้าง ไม่มีรูปแบบที่สะท้องถึงวิถีปกากะญอ ซึ่งความเป็นวิถีวัฒนธรรมควรได้รับการอนุรักษ์สะท้อนอยู่ในโฮมสเตย์แต่ละหลัง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสเรียนรู้

ขณะที่จุดที่ตั้งของโฮมสเตย์แต่ละหลัง ก็ต้องมีการจัดโซนนิ่ง เพื่อความเป็นระเบียบ ไม่ใช่ใครนึกจะสร้างบริเวณไหนก็สร้างได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติขณะเดียวกัน นาขั้นบันได ซึ่งมีระยะของการปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวราว 4 เดือนเท่านั้น (ช่วงฤดูฝน) ที่นักท่องเที่ยวจะสามารถเข้ามาท่องเที่ยวได้ แบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เป็นช่วงเริ่มปักดำนา และเริ่มมีต้นกล้าเล็ก ๆ

ส่วนช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม เป็นช่วงที่ต้นข้าวเติบโตสีเขียวเต็มท้องทุ่ง และเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงสุดท้ายที่ต้นข้าวสีทองอร่าม แต่หลังการเก็บเกี่ยวทุ่งนาขั้นบันไดก็จะมีความว่างเปล่าไปอีก 8 เดือน

ประเด็นนี้จึงสำคัญว่าจะทำอย่างไรกับ 8 เดือนที่เหลือ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี เช่น ปลูกไม้ดอก โดยได้ข้อสรุปว่าจะปลูกต้นปอเทืองภายหลังการเก็บเกี่ยวนาขั้นบันไดในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งจะทดลองปลูกเพียง 1 ไร่ก่อน ใช้เวลาเพียง 45 วันก็จะออกดอก และหากมีความเป็นไปได้ก็สามารถปลูกเต็มพื้นที่ จากนาขั้นบันไดก็จะกลายเป็นทุ่งปอเทืองขั้นบันไดสีเหลือง

นอกจากนี้ ปัญหาการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมก็เป็นอีกประเด็นที่ต้องตระหนัก เมื่อนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้น ขยะก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งหากไม่มีการควบคุมก็จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต ดังนั้น วันนี้จึงต้องวางแนวทางการพัฒนาป่าปงเปียงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน

มิใช่เพียงทุ่งข้าวเขียวขจีที่ใกล้ผลิออกรวงเป็นอาหารหล่อเลี้ยงชาวปกากะญอเพียง 30 ชีวิตบนหุบดอยนี้เท่านั้น ทว่าต้นข้าวทุกต้นบนผืนนาขั้นบันได เป็นภาพความงดงามที่ตราตรึงอยู่ในความทรงจำของใครหลายคนที่มาแวะเยือน

“ป่าปงเปียง” จะเรียบง่าย สงบงาม และยั่งยืนแบบนี้ตลอดไป ต้องคงไว้ซึ่งวิถีชีวิตวัฒนธรรมอย่างเข้มแข็ง เพื่อไม่ให้ช้ำและซ้ำรอยเหมือนแหล่งท่องเที่ยวอื่นที่เติบโตแบบไร้ทิศทางและไร้การควบคุม

นอกจากบริษัท ข้าวรัชมงคล จำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อเป็นการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกรในท้องถิ่นให้ดีขึ้น ด้วยการรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา และสหกรณ์การเกษตรชุมชนในราคายุติธรรม พร้อมจำหน่ายข้าวสารในราคาเหมาะสม โดยมิได้หวังผลกำไรจากการดำเนินงาน

“ศูนย์นาสาธิตรัชมงคล” ยังเป็นอีกหนึ่งโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตชาวนา และความยั่งยืนของชุมชน ทั้งยังเป็นต้นแบบในการปรับปรุงกระบวนการปลูกข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งหวังให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เพื่อเผยแพร่ให้กับชาวนาไทยทั่วประเทศ

เพราะที่ผ่านมาชาวนาไทยประสบปัญหาผลผลิตต่อไร่ต่ำ ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งมีผลมาจากการใช้ปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์และปุ๋ยเกินความจำเป็น

“ปรีชา โพธิ” รองผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจกรรมสังคม บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า บริษัท ข้าวรัชมงคล จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2542 ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระราชทานแก่บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวนา ผ่านการจัดตั้งโรงสีข้าวรัชมงคล เพื่อรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาโดยมิได้มุ่งหวังกำไร

“ในปีที่ 13-14 ของการดำเนินงาน บริษัทประสบปัญหาการขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ในปี 2555-2556 โตโยต้าจึงเข้ามาปรับปรุงธุรกิจ โดยใช้แนวทางของโตโยต้า (Toyotaway) และระบบการผลิตแบบโตโยต้า (TPS-TOYOTA Production System) ทั้งเรื่องของการรักษาคุณภาพ ความสดใหม่ ไม่มีค้างของเก่า ลดอัตราการเน่าเสีย การปรับปรุงระบบสต๊อกข้าวสารให้เล็กลง โดยการผลิตแบบที่พอดี ไม่ขาดไม่เกิน เพราะบริษัทมีลูกค้าที่ค่อนข้างแน่นอน ที่เป็น Supply Chain ของโตโยต้า”

ภายหลังจากการปรับปรุงธุรกิจ โดยใช้แนวทางการดำเนินธุรกิจของโตโยต้า ทำให้สามารถลดทุนในระบบ และทำให้ธุรกิจที่ประสบปัญหาการขาดทุนฟื้นตัวขึ้น จนมีกำไรพอที่จะสามารถเลี้ยงตัวเองได้ บริษัทจึงมีแนวความคิดที่จะช่วยชาวนาในโอกาสต่อไป

“การที่เราจะช่วยเหลือคนอื่นได้ เราจะต้องช่วยเหลือตัวเองให้ได้ก่อน ตรงนี้จึงเป็นที่มาของแนวคิดในการช่วยชาวนา โดยการทดลอง และทำให้เห็นจริง ผ่านศูนย์นาสาธิตรัชมงคลขึ้น เพื่อเป็นต้นแบบในการปรับปรุงกระบวนการปลูกข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งหวังให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เพื่อเผยแพร่ให้กับชาวนาไทยทั่วประเทศ”

การจะช่วยเหลือชาวนานั้น เรื่องการบริจาคเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด แต่การที่ให้ชาวนาช่วยตัวเองถือเป็นสิ่งสำคัญและยากกว่า เพราะปัญหาของชาวนาคือไม่สามารถเป็นผู้กำหนดราคาขายที่ดีได้ อีกทั้งในเรื่องของคุณภาพ และการทำให้ต้นทุนลดต่ำลง

“เราทำการศึกษากระบวนการทำนาจนพบว่าชาวนาประสบปัญหา 3 เรื่อง คือ 1.ดิน ซึ่งไม่รู้ว่าที่นาของตัวเองเป็นดินชนิดใด มีศักยภาพ และมีสารอาหารอย่างไรบ้าง 2.ศักยภาพของดิน ถึงแม้มีการตรวจสอบคุณภาพของดินอยู่เสมอ แต่ไม่รู้ว่าต้องใช้สารปรับปรุงดินอย่างไรบ้าง และ 3.เมล็ดพันธุ์ข้าว”

“ปรีชา” บอกว่า จากปัญหาดังกล่าว ศูนย์นาสาธิตรัชมงคลจึงนำปัญหาดังกล่าวมาเป็นตัวตั้ง และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ด้วยการทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง เพื่อทำให้ชาวนามีต้นทุนที่ลดต่ำลง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยนำนวัตกรรมและความรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งยังเป็นที่ยอมรับในระดับสากลของโตโยต้า ไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิตแบบโตโยต้า วิถีโตโยต้า และไคเซ็น (Kaizen) เข้ามาช่วยปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำนาในรูปแบบใหม่ ๆ

“เมื่อพัฒนารูปแบบและวิธีการทำงานที่ร่วมกับโตโยต้าแล้ว เราพบว่าต้องกระตุ้นให้ชาวนารู้ถึงต้นทุนกระบวนการผลิตของตัวเอง เน้นการทำนาแบบมีกำไร และนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้ามาใช้ โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การลดต้นทุนนั้นจำเป็นต้องควบคุมปัจจัยการผลิต ทั้งเรื่องของเมล็ดพันธุ์และปุ๋ย ด้วยการตรวจหาค่าวิเคราะห์ของดินในแต่ละแปลง แล้วสั่งทำปุ๋ยให้เหมาะสมกับลักษณะของดินในพื้นที่นั้น ๆ เพื่อให้สารอาหารกับดินให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งยังต้องตรวจคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก เพื่อลดอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์เกินความจำเป็น”

“ส่วนการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ เราสร้างมาตรฐานการทำนาใหม่ โดยเปลี่ยนจากการปลูกข้าวแบบหว่านเมล็ดพันธุ์ เป็นการดำนา ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการกำหนดจุดวางเมล็ดพันธุ์เพื่อเว้นระยะห่างระหว่างต้นให้เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดความชื้นและความหนาแน่นของต้นข้าว อันเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสในการรับแสงแดด และเพิ่มพื้นที่ให้ต้นข้าวเจริญเติบโตอย่างเต็มที่”

“ไม่เพียงเท่านี้ เรายังแนะนำให้ชาวนาไถกลบเศษฟางและตอซังข้าว โดยตัวฟางข้าวมีสารอาหารอยู่ประมาณ 20-30% ซึ่งทำให้กลายเป็นอินทรียวัตถุ เป็นสารอาหารให้กับดินในแปลงนา รวมถึงการปลูกพืชรอบคันนา ซึ่งที่ผ่านมามีการทดลองปลูกดอกดาวเรืองกว่า 500 ต้น นอกจากจะช่วยล่อแมลงแล้ว ยังสามารถเก็บขายสร้างรายได้ในอีกทางหนึ่ง”

“ปรีชา” กล่าวอีกว่า หลังจากที่ทำการทดลองทำนาบนพื้นที่นาสาธิต จำนวน 4 แปลง แปลงละ 1 ไร่ โดยใช้รูปแบบ และวิธีการที่กล่าวมาข้างต้น พบว่าสามารถลดต้นทุนทั้งเรื่องของปุ๋ย และเมล็ดพันธุ์ถึง 68% หรือจาก 1,300-1,500 บาทต่อไร่ เหลือ 500-700 บาทต่อไร่

“เราหวังว่าศูนย์นาสาธิตรัชมงคลจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวนา และเป็นต้นแบบการปลูกข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีแผนต่อยอดผ่านการศึกษาเพื่อพัฒนาวิธีการปลูกข้าวให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการขยายองค์ความรู้สู่พื้นที่ต่าง ๆ โดยปีนี้เข้าไปส่งเสริมองค์ความรู้ในเรื่องการทำนาในพื้นที่ อ.โนนทราย จ.ร้อยเอ็ด ส่วนในปี 2561 คาดว่าจะขยายไปสู่ จ.มหาสารคาม และ จ.ขอนแก่น และในภาคเหนือต่อไป”

“อีกทั้งยังมีการจัดทำแอปพลิเคชั่นในการทำปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ของดิน (ปุ๋ยสั่งตัด) โดยการวิเคราะห์และคำนวณคุณภาพของดิน ซึ่งจะช่วยวางแผนการเพาะปลูกให้กับชาวนา รวมถึงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ เราเข้าไปขยายองค์ความรู้”

อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าการดำเนินงานของศูนย์นาสาธิตรัชมงคลได้น้อมนำหลักทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาใช้ ทั้งการวิเคราะห์ปัญหาว่าเป็นอย่างไร มีแนวทางการแก้ไขอย่างไรบ้าง การระเบิดจากภายใน ด้วยการทำให้ชาวนาเห็นเป็นตัวอย่าง และเกิดการทำตาม รวมถึงการทำปัญหาที่เล็ก ๆ และง่าย ๆ ก่อน

ด้วยการทำในแปลงสาธิต จนเกิดการขยายผลไปพื้นที่อื่น ๆ และที่สำคัญมีการเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งในโครงการศูนย์นาสาธิตรัชมงคลแห่งนี้ และในพื้นที่อื่น ๆ อีกด้วย ขีดขอบคดโค้งของทุ่งนาขั้นบันไดกลางหุบเขา ณ บ้านป่าปงเปียง เป็นดั่งพรมผืนใหญ่สีเขียวชอุ่ม ความลงตัวของธรรมชาติและวิถีชีวิต ไฮไลต์แห่งห้วงฤดูฝนของอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ใครก็ตามได้เข้ามาสัมผัสแล้ว…ต้องหลงรัก

“บ้านป่าปงเปียง” ตั้งอยู่บนดอยสูงในเขตตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองแม่แจ่มราว 14 กิโลเมตร แม้การเดินทางเข้าถึงค่อนข้างยากลำบาก ต้องไต่สันดอยขึ้นไป กับสภาพถนนดินแดง แคบ ขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ

การเดินทางเข้ามาที่นี่จึงต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้น แต่เพราะ “ทุ่งนาขั้นบันได” ที่ไล่สเต็ปไปตามหุบเขาลดหลั่น กลับเป็นแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวต้องดั้นด้นมาตักตวงความสุขกันแบบแนบชิด

เพียงช่วงเวลาไม่นานนัก ราว 3 ปี นาขั้นบันได บ้านป่าปงเปียง เป็นที่รู้จักและกล่าวถึงผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียที่แวะเวียนกันมาเช็กอิน ทำให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาแวะเยือนอย่างไม่ขาดสาย

“ขนำ” หรือกระท่อมปลายนาของชาวบ้านปกากะญอเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ที่สร้างไว้เพื่อพักผ่อน หลบฝน หลบแดด ขณะออกทำงานกลางทุ่งนา กลายเป็น “โฮมสเตย์” แบบบ้าน ๆ เรียบง่าย มีที่นอน หมอน มุ้ง มีแปลงผักให้นักท่องเที่ยวเด็ดมาทำกับข้าวกินกันริมทุ่ง ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปา เมื่อพลบค่ำมีเพียงแสงเทียนและแสงจันทร์ที่ให้ความสว่าง

จากขนำที่ดัดแปลงเป็นโฮมสเตย์ 1 หลังเมื่อ 3 ปีก่อน ปัจจุบันมีโฮมสเตย์เพิ่มขึ้นจำนวน 11 หลัง ถือเป็นภาพการเปลี่ยนแปลงในเชิงธุรกิจที่ชาวบ้านหันมาลงทุนรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการท่องเที่ยว ทำให้หน่วยงานภาครัฐ

ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ sananegerek.com กำลังหาแนวทางป้องกันไม่ให้บ้านป่าปงเปียงเติบโตแบบไร้ทิศทาง ซ้ำรอยแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ “อรรถชา กัมปนาทแสนยากร” นายอำเภอแม่แจ่ม บอกว่า ป่าปงเปียงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแม็กเนตของอำเภอแม่แจ่ม ขณะนี้อยู่ในแผนการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญ ล่าสุดได้ประชุมร่วมกับชาวบ้านป่าปงเปียงไปแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งพบว่ามีปัญหาการจัดการหลายส่วนต้องเร่งแก้ไข โดยเฉพาะรูปแบบบ้าน (โฮมสเตย์) ที่ชาวบ้านสร้างกันขึ้นมาแบบต่างคนต่างสร้าง ไม่มีรูปแบบที่สะท้องถึงวิถีปกากะญอ ซึ่งความเป็นวิถีวัฒนธรรมควรได้รับการอนุรักษ์สะท้อนอยู่ในโฮมสเตย์แต่ละหลัง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสเรียนรู้

ขณะที่จุดที่ตั้งของโฮมสเตย์แต่ละหลัง ก็ต้องมีการจัดโซนนิ่ง เพื่อความเป็นระเบียบ ไม่ใช่ใครนึกจะสร้างบริเวณไหนก็สร้างได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ ขณะเดียวกัน นาขั้นบันได ซึ่งมีระยะของการปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวราว 4 เดือนเท่านั้น (ช่วงฤดูฝน) ที่นักท่องเที่ยวจะสามารถเข้ามาท่องเที่ยวได้ แบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เป็นช่วงเริ่มปักดำนา และเริ่มมีต้นกล้าเล็ก ๆ

ส่วนช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม เป็นช่วงที่ต้นข้าวเติบโตสีเขียวเต็มท้องทุ่ง และเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงสุดท้ายที่ต้นข้าวสีทองอร่าม แต่หลังการเก็บเกี่ยวทุ่งนาขั้นบันไดก็จะมีความว่างเปล่าไปอีก 8 เดือน

ประเด็นนี้จึงสำคัญว่าจะทำอย่างไรกับ 8 เดือนที่เหลือ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี เช่น ปลูกไม้ดอก โดยได้ข้อสรุปว่าจะปลูกต้นปอเทืองภายหลังการเก็บเกี่ยวนาขั้นบันไดในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งจะทดลองปลูกเพียง 1 ไร่ก่อน ใช้เวลาเพียง 45 วันก็จะออกดอก และหากมีความเป็นไปได้ก็สามารถปลูกเต็มพื้นที่ จากนาขั้นบันไดก็จะกลายเป็นทุ่งปอเทืองขั้นบันไดสีเหลือง

นอกจากนี้ ปัญหาการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมก็เป็นอีกประเด็นที่ต้องตระหนัก เมื่อนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้น ขยะก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งหากไม่มีการควบคุมก็จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต ดังนั้น วันนี้จึงต้องวางแนวทางการพัฒนาป่าปงเปียงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน

มิใช่เพียงทุ่งข้าวเขียวขจีที่ใกล้ผลิออกรวงเป็นอาหารหล่อเลี้ยงชาวปกากะญอเพียง 30 ชีวิตบนหุบดอยนี้เท่านั้น ทว่าต้นข้าวทุกต้นบนผืนนาขั้นบันได เป็นภาพความงดงามที่ตราตรึงอยู่ในความทรงจำของใครหลายคนที่มาแวะเยือน

“ป่าปงเปียง” จะเรียบง่าย สงบงาม และยั่งยืนแบบนี้ตลอดไป ต้องคงไว้ซึ่งวิถีชีวิตวัฒนธรรมอย่างเข้มแข็ง เพื่อไม่ให้ช้ำและซ้ำรอยเหมือนแหล่งท่องเที่ยวอื่นที่เติบโตแบบไร้ทิศทางและไร้การควบคุม

ความท้าทายของมนุษย์โลกที่สำคัญในอนาคต คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพของการใช้ที่ดินในภาคเกษตร การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและน้ำ การคาดคะเนอนาคตของการใช้ที่ดิน ภาพในอนาคตของน้ำ จากนโยบายต่างๆ และความต้องการใช้พลังงานของประเทศไทยใน 20 ปีข้างหน้า จึงมีผลสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจไทยในอนาคต ในเวทีสัมมนา “ภาพอนาคตในปี 2035 : ที่ดิน พลังงาน และน้ำในประเทศไทย” โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่ รร.ดิเอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ มีการพูดคุยถึงประเด็นดังกล่าว

โอกาสนี้ ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. ร่วมให้ข้อมูลถึงทิศทางการสนับสนุนการวิจัยของ สกว. ที่เปลี่ยนแปลงไปว่าจะมุ่งเน้น 1.การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยโจทย์วิจัยมาจากผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยโดยตรง 2.ต้องการให้งานวิจัยส่งผลกระทบสูงต่อสังคม ที่เกิดต่อชุมชน สังคม ประเทศชาติ โดยปีงบประมาณ 2561 กำลังสนับสนุนทุนเรื่อง Future Study ซึ่งสอดคล้องกับเวทีสัมมนาในวันนี้ที่เป็นการพยากรณ์ภาพอนาคตของประเทศ โดยใช้งานวิจัยเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญ เพื่อสร้างทางเลือกของผู้กำหนดนโยบายที่จะนำข้อมูลการพยากรณ์เหล่านี้ไปวางแผนนโยบายที่มีประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ โดย ดร.สุชาต อุดมโสภกิจ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวถึงกระบวนการในการคาดคะเนภาพอนาคตในเชิงวิชาการว่า ไม่ได้เป็นการชี้นำหรือแนะนำแนวทางอย่างชัดเจนว่าประเทศควรดำเนินไปในทิศทางใด แต่ข้อมูลที่ได้ภายใต้การวิจัยอย่างเป็นระบบสามารถคาดการณ์ได้ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นกับเราบ้าง