นอกจากนั้นแล้วส่วนที่เรียกว่า หัวปลี ยังสามารถนำมาใช้

เป็นส่วนประกอบของแกงเลียง เป็นอาหารบำรุงน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอด หรือใส่ต้มข่า ต้มยำ ยำหัวปลี ลวกหรือเผาจิ้มน้ำพริก ใช้เป็นเครื่องเคียง ผัดไทย ผัดหมี่ เต้าเจี้ยวหลน กะปิหลน ขนมจีนน้ำพริก ก็ช่วยเพิ่มรสชาติอาหารให้อร่อยมากยิ่งขึ้นได้

หลายคนอาจมองจะมองว่าเป็นผลไม้ที่ไม่น่าจะให้พลังงานได้เยอะ แต่เชื่อหรือไม่ว่า กล้วยน้ำว้าเป็นแหล่งพลังงานสำรองชั้นดี เพราะใน 1 ผล สามารถให้พลังงานถึง 100 แคลอรี ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลธรรมชาติอยู่ 3 ชนิด คือ ซูโครส ฟรุกโทส และกลูโครส รวมไปถึงเส้นใยและกากอาหาร

…หากเกิดอาการหิว ก็ทานรองท้องได้ครับ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของกล้วยที่กิน) นอกจากกล้วยน้ำว้าจะโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังอุดมด้วยวิตามินบี 6 ที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิต้านทาน และมีแร่ธาตุ อย่างแมกนีเซียมและโพแทสเซียม ที่ช่วยป้องกันโรคความดัน และสารอาหารจำพวกโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับมนุษย์อยู่หลายชนิด

…ทั้งหมดเป็นประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้า คราวนี้มาดูกันว่าสรรพคุณทางยามีอะไรกันบ้าง ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้าไม่ใช่เพียงแค่เพิ่มพลังงาน ผลสุกยังสามารถใช้เป็นเครื่องสำอางบำรุงผิวหน้า โดยเฉพาะกลุ่มสาวๆ ที่รักสวยรักงามจะนิยมนำกล้วยสุกมาบดให้ละเอียด เติมน้ำผึ้ง คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วน้ำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที จากนั้นล้างออก ซึ่งจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิวลดความหยาบกร้านบนผิวได้

เห็นเป็นผลไม้ที่ง่ายๆ (หมายถึงกินง่าย ปลูกง่าย) แต่จุดเด่นที่กล้วยมีอีกหนึ่งอย่างสามารถใช้เป็นยาบรรรเทาอาการผิดปกติภายในและภายนอกร่างกาย จากข้อมูลตามเว็บไซต์ที่ได้เขียนเล่าเรื่องราวไว้ว่ากล้วยน้ำว้าสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ หรืออาการเจ็บหน้าอกจากการไอแห้งๆ ช่วยลดกลิ่นปากได้ดี เป็นยาระบายช่วยแก้ท้องผูก หรือระบบขับถ่ายไม่ปกติ เนื่องมาจากสารเพคติน จะเป็นตัวเพิ่มใยอาหารให้กับลำไส้ เมื่อลำไส้มีกากอาหารมาก จะไปดันผนังลำไส้ ทำให้ผนังลำไส้เกิดการบีบตัว จึงทำให้รู้สึกอย่างถ่ายนั้น เป็นคุณสมบัติบ้างส่วนที่กล้วยน้ำว้ามี

เพราะนอกจากจะเป็นยาระบายช่วยแก้อาการท้องผูกได้ กล้วยยังสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องเดินหรือท้องเสียได้ ทั้งนี้ เพราะในกล้วยน้ำว้ามีสารแทนนินอยู่มาก จึงสามารถช่วยรักษาอาการท้องเสียแบบไม่รุนแรงได้

หมายเหตุ : ใช้กล้วยน้ำว้าดิบหรือห่ามมาปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มนานครึ่งชั่วโมง ดื่มครั้งละครึ่ง ถึง 1 ถ้วยแก้ว ให้ดื่มทุกครั้งที่ถ่าย หรือทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ใน 4-5 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นให้ดื่มทุกๆ 3-4 ชั่วโมง หรือวันละ 3-4 ครั้ง

สรรพคุณทางยาของกล้วยน้ำว้าไม่หมดเพียงเท่านี้ ผลเล็กๆ เมื่อสุกกินหวานอร่อย ผลดิบยังสามารถใช้รักษาโรคกระเพาะได้ แก้อาการท้องเสีย โดยการนำกล้วยน้ำว้าดิบมาปอกเปลือก แล้วนำเนื้อมาฝานเป็นแผ่นบางๆ แตกแดด 2 วัน ให้แห้งกรอบ บดเป็นผงให้ละเอียด ใช้ทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำข้าว หรือน้ำผึ้ง ทานก่อนอาหาร ครึ่งชั่วโมง หรือก่อนนอนทุกวัน

เปลือกกล้วย : บรรเทาอาการคันอันเนื่องมาจากแมลงกัดต่อย และผื่นแดงจากอาการคัน รักษาโรคหูดบนผิวหนัง ช่วยฆ่าเชื้อ ที่เกิดจากบาดแผล

ยางกล้วย : ใช้ในการห้ามเลือดได้

ราก : แก้ขัดเบา

ก้านใบตอง : ช่วยลดอาการบวมของฝี (ก่อนใช้ต้องตำให้แหลก)

ใบอ่อน : นำไปอังไฟให้นิ่ม ใช้ประคบแก้อาหารเคล็ดขัดยอกได้

หัวปลี : ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และบำรุงและขับน้ำนมสำหรับมารดาหลังคลอดบุตร

ผลสุก : เป็นยาระบาย สำหรับผู้ที่อุจจาระแข็ง หรือเป็นริดสีดวงทวารขั้นแรกจนกระทั่งถ่ายเป็นเลือด

ใบตอง : นำมาใช้ทำกระทง ห่อขนม ห่ออาหาร ทำบายศรี บวงสรวงในงานต่างๆ

หมายเหตุ ในกล้วยดิบ จะกระตุ้นเซลล์ในเยื่อบุกระเพาะเพื่อหลั่งสารพวก “มิวซิน” ออกมาเคลือบกระเพาะ ซึ่งมีฤทธิ์ในการรักษาแผลในกระเพาะ อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ในอำเภอแห่งนี้มีการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ การปลูกข้าว การทำไร่อ้อย และพืชไร่อื่นๆ อีกหลายชนิด ในส่วนของพืชสวนอย่างส้มโอเป็นอีกหนึ่งพืชที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่เป็นอย่างมาก โดยทำการตลาดส่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งในขณะนี้ผลผลิตอย่างส้มโอมีกำลังผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เพราะด้วยรสชาติที่ดีในแต่ละปีเมื่อมีผลผลิตออกจำหน่าย ลูกค้าต่างเข้ามาติดต่อขอซื้อกันอย่างมาก จึงทำให้เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่ขึ้นชื่อของอำเภอบ้านแท่นไปแล้วในเวลานี้

คุณประจวบ ป้อมสุวรรณ เกษตรกรปลูกส้มโออยู่ที่อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ปลูกส้มโอจนประสบผลสำเร็จ สามารถทำการตลาดส่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ จึงทำให้เกิดรายได้จากการจำหน่ายส้มโอเป็นอย่างดี พร้อมทั้งทำการผลิตกิ่งพันธุ์จำหน่าย ช่วยให้นอกจากจำหน่ายผลผลิตแล้ว ยังเกิดรายได้จากการตอนกิ่งพันธุ์จำหน่ายอีกด้วย

คุณประจวบ เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนยึดการทำเกษตรเชิงเดี่ยวเพียงอย่างเดียว คือ การทำนา แต่ด้วยระยะหลังมานี้ผลผลิตมีบางช่วงที่ได้ราคาไม่ดีนัก จึงทำให้เกิดความคิดที่อยากจะทำเกษตรแบบผสมผสาน เมื่อเข้าสู่ปี 2554 จึงได้แบ่งพื้นที่นาบางส่วนมาทำสวนส้มโอ โดยซื้อพันธุ์ส้มโอทองดีจากเกษตรกรในพื้นที่มาปลูกดูแลอยู่ประมาณ 4 ปี จึงมีผลผลิตออกจำหน่ายสู่ท้องตลาด

“ช่วงนั้นในพื้นที่นี้ จะมีเกษตรหลายท่าน ที่ปลูกส้มโอประสบผลสำเร็จ ทีนี้เราก็มองว่าตัวเราเองก็น่าจะทำได้ เพราะพื้นที่เรามีอยู่ จึงได้แบ่งพื้นที่นามาปลูกส้มโอเพื่อทดลองประมาณ 3 ไร่ พอผลผลิตเริ่มจำหน่ายได้ เกิดรายได้ดี จึงขยับขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น จนตอนนี้ปัจจุบันปลูกอยู่ประมาณ 10 ไร่ คิดว่าน่าจะคงพื้นที่ปลูกอยู่ในปริมาณเท่านี้ เราเน้นดูแลเอง ใช้แรงงานในครอบครัว เมื่อพื้นที่ปลูกไม่มาก เราดูแลได้ง่ายทั่วถึง ทำให้ควบคุมในเรื่องของคุณภาพได้” คุณประจวบ บอก

ในการเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกส้มโอ คุณประจวบ บอกว่า เนื่องจากพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ทำนามาก่อนจึงต้องปรับพื้นที่ปลูกบางส่วน ด้วยการขุดให้ภายในสวนมีร่องน้ำเพื่อกักน้ำไว้ใช้หน้าแล้ง และยกสันร่องที่มีความกว้างอยู่ที่ 12 เมตร เพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมขังกับโคนต้น ส่วนการให้น้ำกับต้นส้มโอจะวางระบบน้ำหยดทั้งสวน จึงทำให้ไม้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอทุกต้น เมื่อเตรียมแปลงปลูกเรียบร้อยแล้ว นำกิ่งพันธุ์ส้มโอทองดีอายุ 3 เดือน ที่ได้จากการตอน มาปลูกลงในแปลงที่เตรียมไว้ให้มีระยะห่างระหว่างต้นและแถวอยู่ที่ 6 x 6 เมตร

“ช่วงแรกที่เราปลูกลงไปใหม่ๆ ก็จะรดน้ำอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง จากนั้นก็รดน้ำตามความเหมาะสมโดยดูความชื้นความแฉะของดินเป็นหลัก มีการใส่ป๋ยบำรุงต้นบ้าง มีปุ๋ยเคมีสลับกับปุ๋ยคอก ซึ่งส้มโอกว่าจะให้ผลผลิตได้ ต้องใช้เวลาดูแลอย่างน้อยถึง 4 ปี ช่วงนี้ต้องมีการป้องกันโรคและแมลงต่างๆ อยู่เสมอ พร้อมทั้งกำจัดวัชพืชภายในสวนให้เรียบบร้อย อย่าให้รกมากจนเกินไป เมื่ออายุเริ่มได้กำหนดที่จะให้ผลผลิตได้แล้ว เราก็จะมีการดูแลความพร้อมของต้นให้พร้อม สำหรับการออกผล” คุณประจวบ บอก

การเตรียมต้นส้มโอให้ออกดอกติดผลนั้น คุณประจวบ เล่าว่า ประมาณเดือนธันวาคมจะใส่ปุ๋ยสูตรเสมอในอัตรส่วน 1-3 กิโลกรัม ต่อต้น พร้อมทั้งให้น้ำตามความเหมาะสม ไม่นานต้นก็จะเริ่มออกดอกมาให้เห็น จากนั้นเดือนมกราคมจากดอกจะเริ่มติดเป็นผล โดยใน 1 ต้น ให้มีผลอยู่บนต้นที่ 200 ผล เป็นอย่างต่ำ เพราะถ้าหากให้มีผลบนต้นมากจนเกินไป จะทำให้ผลส้มโอมีขนาดที่เล็กและต้นอาจรับน้ำหนักไม่ไหว

เมื่อต้นเริ่มติดผลเป็นที่เรียบร้อยช่วงนี้จะดูแลอย่างใกล้ชิด ด้วยการใส่ปุ๋ยทางใบและทางรากเดือนละ 1 ครั้ง หมั่นดูแลไปเรื่อยๆ จนกว่าผลจะได้ขนาดที่ใหญ่ขึ้น จากนั้นก่อนตัดจำหน่าย 1 เดือน จะใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 เพื่อให้ผลมีรสชาติที่ดี โดยระยะเวลาออกดอกจนกว่าจะได้ผลส้มโอที่แก่พร้อมจำหน่ายได้ ใช้เวลาดูแลถึง 7 เดือนเลยทีเดียว

“พอเข้าสู่เดือนสิงหาคม ส้มโอในสวนก็พร้อมที่จะตัดขายได้ ในช่วงนี้เราก็จะเก็บผลผลิตขายทั้งหมด ซึ่งผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ก็อยู่ที่ 3 ตัน หากดูแลดีๆ ไม่มีแมลงศัตรูพืชมารบกวน และโรคที่ต้องป้องกันอยู่เสมอของส้มโอ คือโรครากเน่าโคนเน่า ส่วนแมลงศัตรูพืชก็จะเป็นเพลี้ยไฟไรแดง หากช่วงไหนที่เรารู้ว่าจะเกิดการระบาด ก็จะหมั่นตรวจเช็คและฉีดพ่นยาป้องกันอยู่เสมอ ก็จะช่วยให้ต้นส้มโอมีความสมบูรณ์ และให้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ หลังจากเก็บผลผลิตหมดต้น เราก็จะใส่ปุ๋ยคอกเสริม และพักต้นประมาณ 1-2 เดือน หลังจากนั้นก็ตัดแต่งกิ่งและเตรียมผลิตรอบใหม่ต่อไป” คุณประจวบ บอก

ช่วยให้ผลผลิตขายได้ดี

ในเรื่องของการทำตลาดจำหน่ายส้มโอทองดีนั้น คุณประจวบ เล่าว่า เนื่องจากปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอได้มีการรวมกลุ่มกันมากขึ้น จึงทำให้ลูกค้าที่เข้ามาติดต่อซื้อขายสามารถได้ผลผลิตในปริมาณที่แน่นอน และทำตลาดได้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดช่วง โดยเฉพาะพ่อค้าที่เข้ามาติดต่อเพื่อนำผลผลิตไปส่งจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งผลผลิตอย่างส้มโออำเภอบ้านแท่นตลาดหลักที่ส่งออกไปจำหน่ายคือประเทศจีน และบางส่วนก็จะจำหน่ายตลาดในประเทศ

โดยราคาจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 35 บาท ซึ่ง 1 ผล จะทำน้ำหนักให้อยู่ที่ 1 กิโลกรัม เป็นขนาดที่เหมาะสมและลูกค้าสามารถซื้อทานได้เรื่อยๆ ในราคาที่ไม่สูงมากจนเกินไป

“ตั้งแต่ผมมาปลูกส้มโอเป็นอีกหนึ่งพืชทางเลือก ก็รู้สึกว่าคุณภาพชีวิตเราดีขึ้น โดยเราไม่ต้องมีความเสี่ยงจากการไปปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพียงอย่างเดียว อย่างน้อยเมื่อผลผลิตจากข้าวไม่ได้ราคา เราก็ยังมีสวนส้มโอที่สร้างรายได้ให้กับเรา ดังนั้น การปลูกส้มโอไม่ใช่เรื่องอยาก หากมีการเรียนรู้และดูแลต้นให้สมบูรณ์ ส้มโอก็จะให้ผลผลิตที่ดี ซึ่งใครที่สนใจอยากจะปลูกส้มโอสร้างรายได้ อยากแนะนำว่าสิ่งแรกให้ดูก่อนเลย คือเรื่องของพื้นที่ปลูก อย่าให้ต่ำเกินไป มีปริมาณน้ำที่ให้ไม้อย่างเพียงพอ พร้อมทั้งเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในเรื่องของการปลูกอยู่เสมอ ก็จะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี จากนั้นก็ผลิตแบบมีคุณภาพ ก็จะสามารถขายและมีรายได้เป็นอาชีพที่ยั่งยืนได้แน่นอน” คุณประจวบ ทิ้งท้ายหลักความสำเร็จของการปลูกส้มโอ

สำหรับท่านใดที่สนใจการปลูกส้มโอพันธุ์ทองดีให้ได้คุณภาพ สามารถติดต่อเข้าศึกษาดูงานหรือพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ได้ที่ การขยายพันธุ์พืชไม้ผล เพื่อเพิ่มปริมาณต้นพันธุ์ดีให้มากขึ้น สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี แต่ละวิธีมีความยากง่ายและมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น “ เทคนิคการต่อกิ่ง ”ซึ่งเป็นศิลปะของการต่อชิ้นเนื้อเยื่อพืช 2 ชิ้นเข้าด้วยกัน ด้วยวิธีต่างๆ เมื่อแผลเชื่อมกันสนิทแล้วเจริญเติบโตเป็นต้นเดียวกันชิ้นส่วนที่อยู่ด้านบนรอยต่อเรียกว่า “ กิ่งพันธุ์ดี ”ส่วนที่อยู่ด้านล่างรอยต่อทำหน้าที่รากเรียกว่า “ต้นตอ” ปัจจุบันการต่อกิ่งได้รับความนิยมจากเกษตรกรทั่วไป นิยมทำเชิงการค้าในไม้ผลหลายชนิด ได้แก่ พืชตระกูลส้ม มะม่วง มะขาม ขนุน มะปราง และน้อยหน่า

ในครั้งนี้ ขอนำเสนอ “ เทคนิคการต่อกิ่งมะม่วง ” คือการสอดส่วนของพืชหรือกิ่งพืชต้นหนึ่งลงบนต้นพืชอีกต้นหนึ่ง และส่วนทั้งสองของพืชจะเชื่อมประสานติดต่อกัน และเจริญไปเป็นพืชต้นใหม่ โดยส่วนที่อยู่ใต้รอยต่อจะทำหน้าที่เป็นรากดูดน้ำ และแร่ธาตุอาหาร เรียกว่า ต้นตอ (rootstock, understock, stock) และส่วนที่อยู่เหนือรอยต่อจะทำหน้าที่เป็นกิ่งก้านสาขาที่ให้ดอกและผลเรียกว่า กิ่งพันธุ์ดี (Scion or cion)

การต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม (Cleft or Wedge grafting) นิยมทำในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนยอด และมักเป็นกิ่งที่มีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กก็ได้ วิธีการคือ ผ่าครึ่งต้นตอความยาวประมาณ 2.5-5.0 เซนติเมตร (1-2 นิ้ว) ขึ้นอยู่กับชนิดพืชและอายุของต้นตอ เทคนิคการผ่าต้นตอโดยวางใบมีดให้เอียงด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้รอยแผลเรียบ

หากใช้มีดผ่าโดยตรง จะทำให้รอยแผลแตกนำไปก่อนที่คมมีดจะไปถึง จะทำให้แผลไม่เรียบ การเตรียมยอดพันธุ์ดี ปกติควรมีตา 3-4 ตา เฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มยาวเท่ากับรอยแผลของต้นตอ สอดรอยแผลของกิ่งพันธุ์ดี ตรงรอยแผลของต้นตอจัดเนื้อเยื่อเจริญของต้นตอและยอดพันธุ์ดีให้ชิดกัน ถ้าต้นตอมีขนาดใหญ่กว่ากิ่งพันธุ์ดี ควรจัดรอยแผลให้ชิดด้านใดด้านหนึ่ง แล้วนำไปใส่ในถุงพลาสติคใส มัดปากถุงให้แน่น เก็บไว้ในโรงเรือนที่มีแสงส่องผ่านไม่เกิน 30%

ในกรณีของมะม่วง มะขาม ขนุน น้อยหน่า และส้ม จะใช้เวลาประมาณ 25-30 วัน จึงเปิดปากถุง โดยจะสังเกตเห็นยอดพันธุ์ดีบางต้นจะเริ่มแตกใบ แต่ถ้าเป็นลำไย ลิ้นจี่ และมะปรางจะใช้เวลาอยู่ในถุงอบนาน 45-60 วัน ในกรณีที่ไม่นำต้นที่ต่อกิ่งใส่ในถุงอบ ต้องริดใบของยอดพันธุ์ดีออกให้หมด แล้วพันด้วยพลาสติคตั้งแต่รอยแผลจนมิดยอดพันธุ์ดี วิธีนี้จะง่ายและทำได้รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

กล้วยไข่ เป็นอีกไม้ผลที่ไม่เพียงมียอดจำหน่ายในประเทศสูง ขณะเดียวกัน ในกลุ่มตลาดผลไม้ที่ไทยส่งออกต่างประเทศถือว่ากล้วยไข่มียอดสูงในระดับที่น่าพอใจด้วยเช่นกัน

ปัญหาประการหนึ่งของกล้วยไข่คือคุณภาพ ที่ผ่านมาพบว่าคุณภาพกล้วยไข่ยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร ถึงแม้ว่าคุณภาพกล้วยไข่จะไม่ได้สร้างปัญหาต่อตลาดในประเทศก็ตาม แต่คงเป็นเรื่องน่าเสียดายถ้าชาวสวนปลูกกล้วยไข่ได้คุณภาพส่งขายต่างประเทศเพื่อจะได้ราคาสูง

“กำแพงเพชร” เป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงเรื่องกล้วยไข่มาช้านาน เนื่องจากชาวบ้านปลูกกันมาตั้งแต่ปี 2465 ตลอดเวลานับแต่อดีตคุณภาพกล้วยไข่ของกำแพงเพชรสร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัด จนพูดกันติดปากว่า “กล้วยไข่กำแพง” แล้วที่สำคัญผลไม้ประจำถิ่นชนิดนี้ยังผูกพันกับขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของท้องถิ่นคือ งานเทศกาลสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2424 เป็นต้นมา

เมื่อปี 2556 ทีมงานเทคโนฯ ลงพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อจัดทำสกู๊ปพิเศษกล้วยไข่ ในคราวนั้นได้พูดคุยกับนักวิชาการเกษตรของจังหวัดพบว่า แต่เดิมมีพื้นที่ปลูกกล้วยไข่นับหลายหมื่นไร่ แต่มาประสบปัญหาภัยธรรมชาติกับโรคพืชจึงทำให้พื้นที่การปลูกลดลงหลักพันไร่ จนทำให้ผลผลิตตกลงอย่างน่าใจหาย

นักวิชาการ ชี้ว่า ปัญหาแรกและเป็นปัญหาหลักสำคัญคือ ลมพายุ ซึ่งภายใน 1 ปี จะเกิดขึ้น 2 ช่วง ที่จะพัดเข้ามาทางจังหวัดกำแพงเพชร ช่วงแรก เป็นลมพายุช่วงฤดูแล้ง จะพัดผ่านมาประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน โดยในช่วงนั้นกล้วยไข่กำลังเจริญเติบโต ความรุนแรงของลมทำให้ต้นกล้วยไข่หักและโค่นล้ม

ช่วงที่สอง เป็นลมพายุช่วงฤดูฝน จะพัดเข้ามาราวเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยในช่วงนั้นกล้วยไข่กำลังตกเครือ ขณะเดียวกัน เป็นช่วงที่ราคากล้วยไข่มีราคาสูง พอมีลมพายุพัดเข้ามา กล้วยไข่ได้รับความเสียหาย ฉะนั้น เหตุการณ์ทั้งสองช่วงจึงทำให้เกษตรกรชาวสวนเกิดความท้อแท้

ปัญหาประการต่อมาคือเรื่องโรคกล้วยไข่ ที่พบมากคือ โรคใบไหม้ เมื่อโรคนี้เกิดมีการระบาดมาก ขณะเดียวกัน เกษตรกรนำพันธุ์ที่เป็นโรคไปปลูกต่ออีก จึงมีการแพร่ระบาดอย่างหนักขึ้น และปัญหาประการสุดท้ายคือ เรื่องแรงงาน เพราะกล้วยไข่เป็นไม้ผลที่ต้องเอาใจใส่มากในทุกกระบวนการปลูก ไม่ว่าจะเป็นการตัดแต่งหน่อ ทางใบ การดูแลเรื่องน้ำ เรื่องดิน และการบริหารจัดการในสวน ดังนั้น หากเกษตรกรมีจำนวนคนดูแลเรื่องเหล่านี้น้อยเกินไปแล้วไม่สอดคล้องกับเนื้อที่ปลูก ก็จะส่งผลต่อการปลูกและผลผลิตที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ผลจากการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของน้ำหนักกล้วย 1 ตั้ง จะอยู่ประมาณ 9-11 กิโลกรัม เมื่อคำนวณต้นทุนแล้วจึงกำหนดราคาขายไว้ที่กิโลกรัมละ 18 บาท (25 สิงหาคม 2559) คุณนพพล ชี้ว่า วิธีการนี้เพิ่งนำมาใช้ และยังไม่ทั่วทุกแห่งในจังหวัด แต่จะค่อยๆ ปรับให้เป็นแนวทางเดียวกัน

สำหรับราคาขายในกรุงเทพฯ ประมาณหวีละ 70 บาท (25 สิงหาคม 2559) ราคานี้วางจำหน่ายทั่วไป แต่ในกรณีที่วางตามห้างหรือเป็นกล้วยไข่ออร์แกนิกจะวางขายในราคาหวีละ 100 บาท ส่วนราคาที่ส่งออกจากสวนเพียงหวีละ 20 กว่าบาทเท่านั้น

ความไม่แน่นอนเรื่องจำนวนผลผลิตกับคุณภาพผลผลิตในช่วงที่ผ่านมา ทำให้สมาชิกกลุ่มมองเห็นว่ายังไม่ควรตั้งราคาขายให้สูงเกินไป ควรรอให้ทุกอย่างนิ่งเสียก่อน แต่ในอนาคตถ้าทุกอย่างปรับปรุงอย่างได้มาตรฐานในทางที่ดีขึ้นแล้ว เห็นว่าคงต้องขยับราคาเพื่อให้ชาวบ้านมีแรงจูงใจในการปลูกเพิ่มมากขึ้นด้วย

การปลูกกล้วยไข่คุณภาพ
การปลูกกล้วยไข่ที่กำแพงเพชรนับเป็นเรื่องยาก ต้องดูแลเอาใจใส่ในเรื่องความสะอาดในแปลงปลูก อย่าให้รก ปุ๋ยที่ใช้ในตอนเริ่มปลูกใช้สูตรเสมอ 15-15-15 พอตกเครือจะใช้ปุ๋ยน้ำตาลสูตร 21-0-0 ใส่เพื่อเร่ง

ส่วนปัญหาที่เกิดเป็นประจำคือ โรคใบไหม้ แล้วยังต้องเผชิญกับภัยจากพายุลมแรงที่พัดจนต้นกล้วยหักโค่นเสียหาย ซึ่งลมพายุดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงที่กำลังมีผลผลิต แล้วสังเกตทุกปีมักเกิดขึ้นหลังจากเข้าหน้าฝน ทั้งนี้ ถ้าตกเครือก็ยังช่วยให้ปลอดภัย แต่ถ้าเกิดในช่วงต้นขนาดเล็กตายอย่างเดียว ฉะนั้น เพียงแก้ไขในเรื่องโรคใบไหม้ได้ ก็จะทำให้กล้วยมีคุณภาพดีกว่าเดิม แล้วมีผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย

ผลที่เกิดขึ้นจากปัญหา คุณลุงไพริน ชี้ว่า จากที่สมัยก่อนเคยเก็บหน่อไว้ถึงตอที่ 2-3 ได้ แต่ภายหลังทำเช่นนั้นไม่ได้เพราะคอยจะขึ้นเหง้า ดังนั้น ในทุกปีจะต้องมีการขุดออกแล้วปลูกเป็นกล้วยรุ่นใหม่

คุณลุงไพรินเผยตัวเลขผลผลิตที่เกิดจากการปลูกกล้วยไข่ที่กำแพงเพชรในแต่ละปีคงไม่มีความแน่นอน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศเป็นตัวแปรสำคัญ แต่ภายหลังที่มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มจึงตกลงมีการซื้อ-ขายผลผลิตกันเป็นกิโลกรัม แต่พื้นที่แถวสามเงาจะมีราคาขายกิโลกรัมละ 25 บาท สูงกว่าที่กำแพงเพชรที่มีราคาขายประมาณกิโลกรัมละ 18 บาท

การสะสมประสบการณ์ที่ยาวนานของคุณป้าพิมพ์และคุณลุงไพริน จนเกิดทักษะความชำนาญการปลูกกล้วยไข่ จึงทำให้สวนของพวกเขาได้ผลผลิตประมาณ 2 ตัน ต่อไร่ และถือเป็นจำนวนผลผลิตที่สูงได้มาตรฐานอย่างมีคุณภาพ อีกทั้งยังเป็นเช่นนี้ทุกปี

ความจริงแล้วกล้วยไข่กำแพงเพชรมีรสชาติอร่อยกว่าที่อื่น มีชาวบ้านหลายรายพยายามนำหน่อกล้วยในพื้นที่ออกไปปลูกยังแหล่งอื่นที่ใกล้เคียงจังหวัดกำแพงเพชร แต่พบว่ารสชาติอร่อยน้อยกว่า แม้จะใช้หน่อเดิม ทั้งนี้ คุณลุงไพริน ชี้ว่า น่าจะเกิดจากคุณภาพดินของจังหวัดกำแพงเพชร โดยเฉพาะในเขตเมือง ซึ่งถ้าพ้นออกไปแล้ว รสชาติตลอดจนลักษณะผลมักเปลี่ยน

พูดถึงผักที่ได้รับความนิยมบริโภคมากในระดับโลก! “มะเขือเทศ” นั้นติดอันดับต้นๆ แน่นอน โดยในแต่ละปีนั้นมีการบริโภคมากกว่า 170 ล้านตัน (ข้อมูล : FAO) เพราะเป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งการบริโภคผลสด และการแปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ซอสมะเขือเทศ มะเขือเทศปอกผิว น้ำมะเขือเทศ เป็นต้น

มะเขือเทศเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่จะชอบอากาศแห้งและเย็นเป็นพิเศษ จึงนิยมปลูกมากในภาคอีสานและภาคเหนือ ซึ่งแหล่งปลูกอันดับต้นๆ ของประเทศคือ “จ.เชียงใหม่” โดยเฉพาะในเขตพื้นที่สูง อย่าง อ.ฮอด

วันนี้เราจะพาไปพบกับ คุณสมศักดิ์ ปู่ปัน หรือคุณแอร์ บ้านวังกอง ต.บ่อหลวง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ไฟแรง ที่ยึดการปลูก “มะเขือเทศท้อ” ตามรอยครอบครัวมานานกว่า 12 ปี แต่ว่าได้มีการพัฒนาทั้งในแง่การตลาดและการผลิต จนปัจจุบันสามารถผลิตมะเขือเทศได้มากรุ่นพ่อแม่เกือบ 1 เท่า และที่สำคัญคือ ได้รับการรับรองเกษตรปลอดภัยมาตรฐาน GAP ด้วย

นอกจากนี้ คุณแอร์ ยังได้รวมกลุ่มกับเกษตรกรในชุมชน ร่วมกันผลักดันโครงการเกษตรแปลงใหญ่ (กลุ่มพืชผัก) ขึ้นเป็นแห่งแรกใน จ.เชียงใหม่ ช่วยเพิ่มช่องทางการตลาด สามารถนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรส่งเข้าโมเดิร์นเทรดได้ในที่สุด

จากวัยรุ่นที่ไม่มีความรู้ทางการเกษตร ค่อยๆ พัฒนาผลผลิตได้อย่างมีคุณภาพ และเพิ่มปริมาณขึ้นเกือบ 1 เท่า ทำได้อย่างไรกัน?! ต้องตามไปดู ปลูก “มะเขือเทศ” หมุนเวียนกับพืชชนิดอื่น
สร้างความสมดุลของดิน ช่วยเพิ่มผลผลิตได้อีกทาง
การทำเกษตรของคุณแอร์ จะอยู่ในรูปแบบ สมัครเกมยิงปลา “การปลูกพืชหมุนเวียน” บนพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ คือ จะปลูกพืชมากกว่า 1 ชนิดหมุนเวียนกันไปบนพื้นที่เดิม และต้องไม่เป็นพืชตระกูลเดียวกัน อย่างคุณแอร์ นั้นเลือกปลูกมะเขือเทศท้อ, กะหล่ำปลี, พริก และข้าวไร่ (ข้าวที่นิยมปลูกบนพื้นที่สูง) สลับสับเปลี่ยนกันไป (แต่หากเป็น “พริก” จะไม่ปลูกติดกับ “มะเขือเทศ” เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน)

คุณแอร์ บอกว่า การปลูกพืชหมุนเวียนจะช่วยหลีกเลี่ยงการระบาดของโรคและแมลง และเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงดิน เนื่องจากพืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารแตกต่างกันทั้งชนิดและปริมาณ รวมถึงระบบรากยังมีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านการแผ่กว้างและหยั่งลึก หากมีการจัดระบบการปลูกพืชอย่างเหมาะสม จะทำให้ดินไม่ขาดธาตุอาหารธาตุใดธาตุหนึ่ง

สุดท้ายแล้วเมื่อพืชไม่เป็นโรค และมีธาตุอาหารในดินที่สมบูรณ์ย่อมทำให้ผลผลิตดก และมีคุณภาพมากขึ้น แถมยังลดต้นทุนด้านการดูแลรักษาไปในตัว

ทั้งนี้ ในบรรดาพืชทั้งหมดที่ปลูกนั้น คุณแอร์ บอกว่า “มะเขือเทศ” ถือเป็นพืชที่สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำมากที่สุด โดยมะเขือเทศท้อที่ปลูกนั้นคือสายพันธุ์ “ซีซันไนน์” ตราเจียไต๋ เนื่องจากทรงผลใหญ่ ติดผลดก ขนาดผลสม่ำเสมอ เนื้อแน่น สีแดงน่ารับประทาน เก็บเกี่ยวไวเพียง 55-60 วัน (หลังหยอดเมล็ด) และที่สำคัญคือ ทนทานการขนส่ง เพราะแปลงนั้นอยู่บนที่พื้นที่สูง และค่อนข้างไกลจากตลาด มะเขือเทศซีซันไนน์ นั้นมีผิวที่หนา ไม่ช้ำง่าย ผลตอบรับจากพ่อค้าจะดีมาก “ออกแบบแปลง-ระบบน้ำ”

ต้องเหมาะสมกับพื้นที่
การวางระบบน้ำเพื่อการเกษตร ควรพิจารณาถึงสภาพพื้นที่เป็นอันดับแรก โดยพื้นที่ของคุณแอร์นั้นจะอยู่บริเวณเนินสูงตามลักษณะของภูมิประเทศ ไม่มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติและระบบชลประทาน จึงต้องขุดสระเก็บน้ำเพื่อการเกษตร โดยระบบน้ำที่คุณแอร์ ใช้คือ “การปล่อยน้ำเข้าร่องแปลงปลูก” ระบบน้ำแบบนี้จะเป็นการส่งน้ำจากสระเก็บน้ำเข้าไปยังแปลงปลูก โดยไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ใดๆ เลย แต่ต้องอาศัยการออกแบบแปลงอย่างเป็นระบบ และประณีตอยู่พอสมควร

เริ่มจากการขุดคันกั้นน้ำรอบนอกสุดของแปลงลึกประมาณ 1 เมตร จากนั้นภายในแปลงจะยกร่องปลูกสูงประมาณ 30-50 ซม. ระยะห่างระหว่างแปลง 1 เมตร และใช้ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 50 ซม.