นอกจากนี้ยังร่วมกับมูลนิธิสังคมสุขใจจัด เวิร์คช้อปพัฒนาชุมชน

เพื่อเตรียมความพร้อมตามแผนแนวทางการสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้เศรษฐกิจภายในประเทศของกลุ่มจังหวัด โดยมุ่งเน้นในการต่อยอดศาสตร์พระราชาในการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เกิดความเข้มแข้งและยั่งยืนผ่านการท่องเที่ยว เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และก่อให้เกิดโอกาสด้านการท่องเที่ยวตามมาอีกมากมาย

ผู้ที่สนใจสามารถชมวิดีโอสารคดี ทั้ง 9 ตอน ได้ทาง Facebook Fan page : เที่ยวไทยเท่ และสามารถรับหนังสือฟรี ได้ที่สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ทั่วประเทศ และสถานีบริการน้ำมันบางจาก ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล 20 สาขาที่เข้าร่วม

นางศุภมิตร เต็งเผ่ (ที่ 4 จากขวา) ผู้อำนวยการกลุ่มกำกับดูและและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพะเยา เป็นผู้แทนกระทรวงพาณิชย์มอบรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ จากการประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศไทย ปีการเพาะปลูก 2559/60 ให้แก่กลุ่มเกษตรกรศูนย์ข้าวชุมชนตำบลสบบง

โดยมีนายสิงห์คำ แก้วคำปา (ที่ 5 จากขวา) ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตข้าวชุมชนบ้านสบบง และประธานศูนย์ข้าวชุมชนตำบลสบบง เป็นตัวแทนรับมอบ ณ ตำบลสบบง อ.ภูซาง จ.พะเยา

ทั้งนี้ของรางวัลประกอบด้วย โล่ประกาศเกียรติคุณ แทรกเตอร์จำนวน 1 คัน พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง รถไถเดินตามพร้อมเครื่องยนต์ จำนวน 2 คัน และเงินรางวัล 20,000 บาท รวมมูลค่าของรางวัลทั้งสิ้น 600,000 บาท

กรมอุตุนิยมวิทยารายงานสภาพอากาศ ประจำวันที่ 15 ตุลาคม 2560 ดังนี้

ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนลดลง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย ส่วนคลื่นลมบริเวณ ทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้นโดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง

อนึ่ง พายุโซนร้อน“ขนุน” (Khanun) ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนหรือด้านตะวันออกของเกาะไหหลำ ประเทศจีน มีแนวโน้มเคลื่อนตัวเข้าใกล้ เกาะไหหลำ ประเทศจีน และประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 15-17 ต.ค. 60 โดยจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วเมื่อเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน

ทั้งนี้เนื่องจากความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ปกคลุมประเทศเวียดนามและประเทศลาวตอนบน ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปยังบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางด้วย

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร และตาก อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดหนองคาย อุดรธานี บึงกาฬ ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา และบุรีรัมย์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ชัยนาท สุพรรณบุรีนครปฐม และสมุทรสงคราม
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัด สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี
ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

พระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะ กษัตริย์นักพัฒนาŽ ที่มีเป้าหมายเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของพสกนิกรของพระองค์ เป็นที่รับรู้ และตระหนักชัดในเวทีระหว่างประเทศมาอย่างยาวนาน เห็นได้จากการที่องค์การระหว่างประเทศ รวมถึงองค์กรภายใต้สังกัดของ สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลให้กับพระองค์มากมายตลอดรัชสมัย

นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำยูเอ็น ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐที่ยูเอ็นให้ความสำคัญ และให้การรับรองพระปรีชาสามารถว่าทรงทุ่มเทพระองค์เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

ตลอดเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ เป็นห้วงเวลาเดียวกับที่มีการจัดตั้งยูเอ็นขึ้นในปี พ.ศ.2488 หนึ่งปีก่อนที่พระองค์จะทรงขึ้นครองราชย์ ตลอดรัชสมัย ยูเอ็นพัฒนาไป 70 ปี ทุกช่วงเวลาที่ผ่านมา พระองค์ทรงเป็นดั่งบุคคลอ้างอิงของยูเอ็นในเรื่องการพัฒนาอยู่เป็นระยะตลอดมา มีการยอมรับและให้การรับรองในรูปแบบต่างๆ อาทิ การกล่าวสดุดีพระองค์ การกำหนดให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันพระราชสมภพเป็นวันดินโลก และการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลต่างๆ มากถึง 13 รางวัล

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยูเอ็นทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลให้มากที่สุด เพราะพระองค์ไม่เพียงแต่ทรงครองราชย์เป็นเวลานาน แต่ตลอดรัชสมัยพระองค์ได้ทรงงาน และมีผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง

กระทั่งการพัฒนาทางเลือกของยูเอ็น (Alternative Development) ซึ่งได้รับการรับรองให้เป็นแนวทางปฏิบัติสากลในฐานะทางเลือกของการพัฒนาก็มีที่มาจากโครงการปลูกพืชทดแทนทางภาคเหนือของไทยซึ่งเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ ไม่มีกษัตริย์องค์ไหนในโลกที่ยูเอ็นนำมาอ้างอิงและนำโครงการตามแนวพระราชดำริไปใช้เช่นนี้

ท่านทูตวีรชัยยังกล่าวอีกว่า พระองค์ทรงมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนามานานแล้ว ตั้งแต่เมื่อเสด็จเยือนยูเอ็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2503 ทรงมีพระดำริเกี่ยวกับโครงการพัฒนาในภาคเหนือ และในการเสด็จเยือนสหรัฐยูเอ็นอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ.2510 โครงการตามแนวพระราชดำริต่างๆ มีการพัฒนาไปมากแล้ว
ในขณะนั้นโลกยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามเย็น ประเด็นด้านความมั่นคงและยุทธศาสตร์ แต่พระองค์ก็ทรงมุ่งไปในเรื่องการพัฒนาตั้งแต่เวลานั้น

ในช่วง 2-3 ปีหลัง ไทยได้เผยแพร่แนวคิดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่าน ซึ่งเป็นปรัชญาที่ท่านทูตวีรชัยบอกว่าแม้แต่คนไทยบางคนยังไม่เข้าใจ

ก่อนหน้านี้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องของไทยทั้งหมดได้มาช่วยกันรวบรวมจากพระราชดำรัส แนวปฏิบัติทั้งจากภาคเอกชน และภาคธุรกิจ ทำให้ตระหนักว่าเศรษฐกิจพอเพียงใช้ได้กับทุกภาคส่วนไม่ใช่แค่เพียงภาคการเกษตรเท่านั้น และยังสามารถนำมาใช้ได้กับชีวิตประจำวันของทุกคน จึงนำเอาสิ่งที่รวบรวมเป็นรูปร่างนี้มาเผยแพร่ในยูเอ็นอย่างเป็นเรื่องเป็นราวและเป็นระบบ

เชื่อมโยงกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน (เอสดีจีส์) พ.ศ.2573 ว่าเป็นแนวทางหนึ่ง จะทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายเอสดีจีส์ได้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์เหมาะกับประเทศกำลังพัฒนาที่มีทุนทรัพย์น้อย และไทยได้ให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นเรื่องเป็นราวผ่านกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

สิ่งต่างๆ พระองค์ทรงคิดค้น โครงการตามแนวพระราชดำริ และปรัชญาเศรษกิจพอเพียง ถือว่ามีส่วนช่วยประเทศไทยอย่างยิ่ง ทำให้ประเทศไทยมีภาพลักษณ์ที่ดี มีชื่อเสียง และมีเรื่องที่ผู้คนจะพูดถึงไทยในทางที่ดี ภาพของไทยจะอยู่ในจอเรดาร์แบบที่เราไม่ใช่ผู้ตาม แต่เป็นประเทศที่มีบทบาทนำ เป็นเพราะพระองค์ท่านŽ

ท่านทูตวีรชัยกล่าว และว่า บางทีประเด็นเหล่านี้คนไทยในประเทศอาจไม่เห็นเด่นชัดเท่าใดนัก แต่การที่ที่ประชุมสมัชชายูเอ็นได้จัดให้มีการสดุดีและถวายพระเกียรติ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2559 เป็นการจัดอย่างยิ่งใหญ่ จริงจัง และมีความหมาย ก็สะท้อนให้เห็นถึงความยอมรับในพระองค์ท่านเช่นกัน เราทุกคนโชคดีที่มีพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ เป็นที่ยอมรับในฐานะที่ทรงงาน และเป็นงานที่มีประโยชน์ต่อมนุษยชาติ

“สิ่งที่พระองค์ได้ทำตลอดรัชสมัยเป็นที่ยอมรับและเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องไม่ลืม เราคนไทยต้องรักษาและสานต่อมรดกนี้ ไม่ว่าจะในยูเอ็นหรือในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้มรดกที่พระองค์ประทานให้กับมนุษยชาติเป็นที่รู้จักและพัฒนาต่อไป”Ž ท่านทูตวีรชัยกล่าวทิ้งท้าย

เด็กและเยาวชนเปรียบเสมือน “ต้นกล้าสีขาว” ที่พร้อมจะเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่คอยให้ร่มเงาแก่สังคมไทยในวันข้างหน้า โดยการน้อมนำพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ และนำไปสู่การปฏิบัติจริงร่วมกับชุมชน ก่อเกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

ดังที่เห็นได้จาก 11 ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายของการประกวดการดำเนินโครงการด้วยวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้โครงการ “กรุงไทย ต้นกล้าสีขาว ปีที่ 11” จัดโดย บมจ.ธนาคารกรุงไทย ณ ชั้น 2 อาคารนานาเหนือ บมจ.ธนาคารกรุงไทย

โดยทีมที่คว้า “รางวัลชนะเลิศ” สามารถทำโครงการสำเร็จเป็นรูปธรรม ทำได้จริง คือ “ทีมปอดบำบัด” จากโรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ จ.ราชบุรี กับโครงการ “ผักตบชวาบำบัด สร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน”

น.ส.ประณิธาน ตันติกำธน อายุ 17 ปี นักเรียนชั้น ม.6 ตัวแทน “ทีมปอดบำบัด” เผยว่า โครงการนี้เกิดจากการมองเห็นปัญหาภายในชุมชนที่ประสบปัญหาน้ำเน่าเสีย จึงคิดหาวิธีแก้ปัญหา โดยร่วมมือกับชุมชน สร้างบล็อกใช้ในการจัดระบบผักตบชวาในแหล่งน้ำ จำนวน 20 บล็อก โดยเว้นระยะห่างพอประมาณให้แสงแดดส่องถึง เพราะรากของผักตบชวาจะช่วยกรองสารเคมีและโลหะหนักที่ลอยมากับน้ำได้ ทำให้น้ำสะอาดขึ้น รวมถึงส่วนอื่นๆ ของผักตบชวาสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้ เช่น รากใช้ทำปุ๋ย ใบและลำต้นใช้ทำถ่าน และลำต้นที่อบกำมะถันแล้วสามารถนำมาจักสานได้

“โครงการของเรามีแนวคิดมาจากโครงการบำบัดน้ำเสียบึงมักกะสัน ของในหลวง ร.9 ประกอบกับการน้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ ด้านการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นการพัฒนาทั้งคุณภาพชีวิตของคนและพัฒนาแหล่งน้ำให้กับคนในชุมชน” น.ส.ประณิธานเล่าถึงแรงบันดาลใจ ซึ่งผลการดำเนินงานถือว่าประสบผลสำเร็จ สามารถนำไปขยายต่อให้ชาวบ้านดำเนินการทำเองได้

“จากการดำเนินงานสามารถบำบัดน้ำเสียได้ผลสำเร็จดี น้ำหลังจากผ่านการบำบัด มีลักษณะใสขึ้น ไม่มีกลิ่นเหม็น ส่วนผลความยั่งยืนที่เกิดขึ้นกับชุมชน ได้มีการจัดตั้งกลุ่มผักตบชวาหมู่บ้านเขาดิน ชาวบ้านมีตัวแทนในการดำเนินการกันเอง และทางทีมก็จะยังเข้าไปช่วยให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีการน้อมนำพระราชดำริด้านอื่นๆ ของในหลวง ร.9 มาปรับใช้ด้วย เช่น การทำบัญชีครัวเรือน เพื่อควบคุมต้นทุน รายรับและรายจ่าย” น.ส.ประณิธานกล่าว และว่า

“อยากให้เยาวชนร่วมทำกิจกรรมที่ทำเพื่อผู้อื่น เพราะนอกจากจะสร้างประโยชน์ให้กับสังคมแล้ว สามารถพัฒนาศักยภาพตัวเองได้ด้วย ทั้งยังเป็นการพิสูจน์ว่าโครงการของในหลวง ร.9 สามารถนำมาปรับใช้ได้จริงๆ ไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจยากหรือลงมือทำยากเลย อย่างผักตบชวาที่บางคนอาจมองว่าไร้ค่า วันนี้เราพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามีค่าและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน”

นอกจากนี้ ยังมีโครงการดีๆ ที่เยาวชนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. ส่งเข้าร่วมโครงการกว่า 218 ทีม จาก 157 สถาบัน เป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า แนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ร.9 เป็นส่วนหนึ่งในการหล่อหลอมให้ต้นกล้าสีขาว คิดดี ทำดี เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น และร่วมสร้างสังคมให้น่าอยู่ต่อไป

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 15 ตุลาคม ที่ ต.ห้วยแห้ง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดอุทัยธานี ร่วมกับ อบต.ห้วยแห้ง นายญวน ปานาง นายก อบต.ห้วยแห้ง และนางจรรยา นฤภัย ชาวบ้านหมู่ 6 ต.ห้วยแห้ง พร้อมด้วย ชาวตำบลห้วยแห้ง ร่วมใจกันใช้พื้นที่การเกษตร จำนวน 9 ไร่ ปลูกต้นปอเทือง ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9

ซึ่งตอนนี้ปอเทืองที่ได้ทำการปลูกไว้นั้นได้ออกดอกสีเหลืองกลายเป็นทุ่งปอเทืองของพ่อตามที่ตั้งใจ เพื่อร่วมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

นางจรรยา นฤภัย เจ้าของที่ดินผืนดังกล่าว กล่าวว่า ตนเอง และชาว ต.ห้วยแห้งนั้น อยากมีส่วนร่วมในการแสดงออกถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในหลวง รัชกาลที่ 9 จึงได้มีความเห็นว่าจะทำทุ่งปอเทือง เนื่องจากมีดอกสีเหลือง และปอเทืองยังเป็นปุ๋ยบำรุงดินอย่างดี ซึ่งสอดคล้องกับที่พ่อหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงให้เกษตรกรทุกคนสนใจและให้ความสำคัญกับการบำรุงผืนดิน และการดำรงอยู่บนรากฐานแห่งความพอเพียง

นางจรรยากล่าวว่า ทางสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดอุทัยธานี ได้ให้การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปอเทืองมาใช้ในการหว่าน และมี อบต.ห้วยแห้ง และชาวบ้าน เข้ามาช่วยกันดำเนินการ จนวันนี้ชาวห้วยแห้งได้มีทุ่งปอเทืองให้พ่อหลวง รัชกาลที่ 9 ดั่งที่ตั้งใจ

และได้ร่วมกันนำพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาตั้งที่กลางทุ่งปอเทือง ให้พ่อหลวง รัชกาลที่ 9 ที่มองพวกเราทุกคนอยู่บนฟากฟ้าได้เห็นว่า พวกเราทุกคนรักพระองค์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน เราจะทำความดีตลอดลมหายใจ เราจะอยู่กันบนพื้นฐานของความพอเพียง

เมื่อวันที่ 14 ต.ค. นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ในวันจันทร์ที่ 16 ต.ค.2560 กรมชลประทานจะหารืออร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวกับน้ำ รวมทั้งกทม.เพื่อร่วมกันบริหารจัดการน้ำ ที่ขณะนี้ในส่วนของกรมชลประทานดูแลในเรื่องน้ำในเขื่อน แต่ในส่วนของฝนตกที่ก่อปัญหาอยู่ในขณะนี้ เป็นเรื่องของพื้นที่ที่จะรับมือ ในส่วนของกรมชลประทาน ศักยภาพของการระบายน้ำที่ไหลผ่านเจ้าพระยายังมีอยู่มาก

ปัจจุบันความเดือดร้อนจากน้ำท่วมเกิดจากน้ำรอระบาย โดยเฉพาะในพื้นที่กทม. เครื่องมือในการระบายน้ำมีน้อยและไม่เพียงพอ และยืนยันหากฝนตกหนักก็จะเป็นเพียงน้ำรอระบาย เพราะระบายไม่ทัน จะไม่ท่วมขังเหมือนปี 2554 เพราะปริมาณน้ำปีนี้แตกต่างจากปี 2554 อยู่มาก

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า การบริหารจัดการน้ำในสถานการณ์ปัจจุบัน กรมชลประทานยังคงการระบายท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในเกณฑ์ไม่เกิน 2,600 ลบ.ม./วินาที หากไม่มีปริมาณฝนตกเพิ่มเติมจะเริ่มลดปริมาณการระบายลงตามลำดับ

โดยปริมาณน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ระดับน้ำตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน ในบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง คลองบางบาลอำเภอบางบาล อำเภอเสนา แม่น้ำน้อย อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณ 0.50 ถึง 1.00 เมตร

ส่วนในลุ่มน้ำป่าสัก มีระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ tumf.net ในอัตราวันละ 30 ล้านลบ.ม. ซึ่งเมื่อน้ำจำนวนนี้ไหลลงไปรวมกับปริมาณน้ำที่มาจากคลองชัยนาท-ป่าสักแล้ว จะทำให้ปริมาณน้ำให้ไหลผ่านลงสู่ท้ายเขื่อนพระรามหก ประมาณ 500 ลบ.ม.ต่อวินาที

ลักษณะเช่นนี้จะส่งผลให้พื้นที่ริมแม่น้ำป่าสัก ตั้งแต่ท้ายเขื่อนพระรามหก อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปจนถึงจุดบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 0.80 – 1.20 เมตร ทั้งนี้ กรมชลประทานได้รายงานสถานการณ์น้ำ ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือน ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยงข้องในพื้นที่ให้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด

สภาพน้ำในลุ่มน้ำยม ปริมาณน้ำที่สถานีวัดน้ำ Y.37 อ.วังชิ้น จ.แพร่ วัดได้ 467 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 4.90 ม. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และที่สถานีวัดน้ำ Y.14 อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย วัดได้ 459 ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 6.12 ม. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งสถานีวัดน้ำ Y.4 อ.เมือง จ.สุโขทัย 231 ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 2.34 ม. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

สภาพน้ำในลุ่มน้ำชี ปริมาณน้ำที่สถานีวัดน้ำ E.18 อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด วัดได้ 1,085 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.66 ม. มีแนวโน้มทรงตัว และ ที่สถานีวัดน้ำ E.20A อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร 1,434 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.49 ม. มีแนวโน้มทรงตัว

สภาพน้ำในลุ่มน้ำมูล ปริมาณน้ำที่สถานีวัดน้ำ M.182 อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ วัดได้ 1,133 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 1.25 ม. มีแนวโน้มทรงตัว และที่สถานีวัดน้ำ M.7 มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,720 ลบ.ม./วินาที (ความจุลำน้ำ 2,300 ลบ.ม./วินาที) ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.70 เมตร มีแนวโน้มทรงตัว

สภาพน้ำในลุ่มน้ำน่าน ที่สถานีวัดน้ำ N.5A อ.เมือง จ.พิษณุโลก ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 4.15 ม. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และที่ สถานี N.7A อ.เมือง จ.พิจิตร ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 1.33 ม. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และ N.8A อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 0.12 ม. มีแนวโน้มทรงตัว

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา “พายุ “ขนุน” (KHANUN) ” ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2560 เมื่อเวลา 07.00 น.วันนี้ (15 ต.ค. 2560) พายุโซนร้อน“ขนุน” (KHANUN) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนหรือด้านตะวันออกของเกาะไหหลำ ประเทศจีน ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นแล้ว

และเมื่อเวลา 10.00 น. พายุมีศูนย์กลางอยู่ที่ ละติจูด 20.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 114.2 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือ ด้วยความเร็ว 28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง