นอกจากนี้ กรมยังจัดให้มีการประชุมหารือกับประเทศเพื่อนบ้าน

ซึ่งเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออก ได้แก่ กลุ่มประเทศ CLVT ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เวียดนาม และประเทศไทย เพื่อกำหนดแนวทางที่จะร่วมมือแลกเปลี่ยนด้านข้อมูลการผลิตและการตลาดร่วมกัน สร้างเสถียรภาพด้านราคาและยกระดับรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังต่อไป

ปัจจุบัน ประเทศไทย สามารถส่งออกไปยังตลาดโลกได้ถึง 70% และมีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี โดยปี 2560 มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ของไทยมากกว่า 11 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 100,000 ล้านบาท ช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2561 ประเทศไทยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรวมปริมาณ 3.625 ล้านตัน มูลค่า 1,178 ล้านเหรียญสหรัฐ ปริมาณลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 7.99% แต่มูลค่าเพิ่มขึ้น 26.16% (มกราคม-เมษายน 2560 ประเทศไทยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรวมปริมาณ 3.94 ล้านตัน มูลค่า 933.75 ล้านเหรียญสหรัฐ)

พพ. โชว์โครงการพลังงานทดแทนในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศ หนุนชุมชนสร้างรายได้ ตามนโยบายรัฐบาล “โครงการไทยนิยม ยั่งยืน” เผยความสำเร็จดึงชุมชนมีส่วนร่วมใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ ผ่านโครงการระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบเรือนกระจก รวมถึงส่งเสริมระบบบ่อเลี้ยงปลาแสงอาทิตย์สำหรับชุมชน

นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าในการขับเคลื่อนแผนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อสร้างเศรษฐกิจจากพลังงานในภาคชุมชน ตาม “โครงการไทยนิยม ยั่งยืน” เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดี และส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ ปัจจุบัน พพ. ได้เข้าดำเนินการร่วมกับภาคชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาด้านพลังงานทดแทน

ทั้งนี้ โครงการระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบเรือนกระจก (พาราโบลาโดม) เป็นโครงการที่นำพลังงานทดแทนมาสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาอบแห้ง สำหรับผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ ซึ่ง พพ. ได้ร่วมกับวิสาหกิจชุมชน ต.ดอนตูม จ.นครปฐม นำมะเขือเทศมาแปรรูปด้วยการอบแห้ง สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของไทยได้มากถึง 15% ช่วยลดการสูญเสียผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิตได้มากถึง 20% รวมทั้งยังช่วยให้ชุมชนสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตด้วยวัตถุดิบได้สูงถึง 84 ตัน ต่อปี ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ 31,915 บาท ต่อปี และยังลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานได้ถึง 50,400 บาท ต่อปี

นอกจากนี้ พพ. ยังได้เข้าไปสนับสนุนชุมชนในการพัฒนาโครงการส่งเสริมระบบบ่อเลี้ยงปลาแสงอาทิตย์สำหรับชุมชน เช่น วิสาหกิจชุมชนบ้านหนองบ่อ ตำบลปะโค อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์มาควบคุมอุณหภูมิในบ่อเลี้ยงปลาให้มีความเหมาะสม เพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของปลาได้อย่างรวดเร็วถึง 1.8 เท่า ส่งผลให้มีราคาจำหน่ายที่ดีขึ้น และช่วยให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงปลาในบ่อเดิมได้จำนวนรอบเพิ่มขึ้น

นายนอร์แมน แกรนท์ ประธานกรรมการบริหาร สมาคมผู้นำเข้าอาหารทะเล ประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า ออสเตรเลียประสบปัญหาโรคจุดขาวระบาดในฟาร์มกุ้งในรัฐควีนส์แลนด์ ทำให้ผลผลิตเสียหายจำนวนมาก กรมการเกษตรและประมงของออสเตรเลียจึงต้องการออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อตรวจสอบและควบคุมการแพร่กระจายของโรคไปยังบริเวณใกล้เคียงทางตอนใต้ของรัฐ โดยกำหนดเป็นแผนดำเนินการกำจัดโรคจุดขาวให้หมดไปภายใน 2 ปี และรัฐบาลออสเตรเลียได้มีมาตรการตรวจสอบคุณภาพกุ้งนำเข้าอย่างเข้มงวด

นายแกรนท์ กล่าวว่า ปัจจุบัน การบริโภคกุ้งในประเทศออสเตรเลีย เฉลี่ยปีละ 100,000 ตัน เหตุผลหนึ่งมาจากการเข้ามาของคนเอเชียที่นิยมบริโภคกุ้ง ทำให้ปริมาณการบริโภคสูงขึ้น ในจำนวนนี้คิดเป็น 50% เป็นกุ้งนำเข้า ซึ่งที่ผ่านมาผู้บริโภคในออสเตรเลียยังมีข้อมูลเกี่ยวกับกุ้งไทยน้อยมาก โดยเฉพาะระบบการทำฟาร์มเลี้ยงกุ้ง เนื่องจากผู้ส่งออกกุ้งไทยทำการค้าโดยตรงกับผู้นำเข้าอาหารทะเล จึงไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของสินค้าให้ผู้บริโภครับรู้ และหากผู้บริโภคขาดรายละเอียดของสินค้า อาจจะหันไปหาเนื้อสัตว์ประเภทอื่น เช่น เนื้อแกะ ไก่ แทน เพราะราคาถูกกว่า ดังนั้น จำเป็นที่ผู้ส่งออกไทยต้องหากลยุทธ์การเข้าถึงผู้บริโภคออสเตรเลียโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องทางการตลาด แบบ B2C ที่เพิ่มรายละเอียดของฟาร์มและแหล่งที่มาของวัตถุดิบบนบรรจุภัณฑ์

นายเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร รองกรรมการผู้จัดการบริหาร สายธุรกิจสัตว์น้ำ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ประเทศไทยส่งออกกุ้งไปออสเตรเลีย เฉลี่ยปีละ 5,000-6,000 ตัน ทั้งกุ้งต้มทั้งตัวและกุ้งปรุงสำเร็จเป็นหลัก สำหรับ ซีพีเอฟ ได้ดำเนินการเลี้ยงกุ้งเป็นฟาร์มระบบปิดแบบครบวงจร และนำเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิต รวมถึงมีระบบการตรวจสอบคุณภาพกุ้งอย่างเข้มงวด ตามมาตรฐานสากล เพื่อป้องกันเชื้อและโรคติดต่อต่างๆ โดยใช้ชุดตรวจสอบคุณภาพกุ้งซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันกับที่ใช้ในประเทศออสเตรเลีย ควบคู่กับการตรวจสอบคุณภาพกุ้งอย่างสม่ำเสมอ

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 17 กรกฎาคม กระทรวงจะขอมติห้ามนำเข้ามะพร้าวชั่วคราวช่วง 3 เดือน ระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2561 และจะพิจารณาทบทวนสถานการณ์ว่ายังมีความจำเป็นหรือไม่ หลังที่ประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ที่มี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม มีมติเห็นชอบแล้ว เพื่อแก้ไขสถานการณ์ราคามะพร้าวตกต่ำ และช่วยเหลือเกษตรกรไทย

นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า กระทรวงเตรียมประกาศใช้มาตรการนี้ เพื่อให้มีผลทันเวลาในช่วงที่ผลผลิตมะพร้าวในประเทศของไทยยังมีสูงพอเพียงที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าวสามารถใช้ผลผลิตมะพร้าวในประเทศ ซึ่งจะช่วยไม่ให้ผู้ผลิตกะทิเพื่อการส่งออกและบริโภคของไทยได้รับความเดือดร้อน ขณะเดียวกันจะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวของไทยที่เผชิญปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำในช่วงนี้ นอกจากนี้ กระทรวงจะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด

ในปี 2560 ไทยนำเข้ามะพร้าวจากทั่วโลกที่ปริมาณ 416,210 ตัน โดยช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา ไทยพบวิกฤตการณ์แมลงศัตรูพืชระบาด ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้า อย่างไรก็ตาม ปี 2561 ผลผลิตมะพร้าวในประเทศมีปริมาณออกสู่ตลาดมาก ส่งผลให้ราคามะพร้าวปรับตัวลดลง โดยล่าสุด ราคาอยู่ที่ประมาณ 5-6 บาท ต่อกิโลกรัม ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก และจากการนำเข้ามะพร้าว ทำให้มีมะพร้าวนำเข้ามามาก ยิ่งส่งผลกระทบต่อราคาภายในประเทศมากขึ้นด้วย
นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า

ในส่วนการดูแลลำไยไม่ให้ล้นตลาดและราคาตกต่ำ รวมถึงผลกระทบจากอินโดนีเซีย ห้ามนำเข้าพืชบางชนิด ซึ่งกระทบต่อการส่งออกลำไยไทย ประกอบด้วย 1. ผลักดันลำไยผลสดออกสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอินเดีย จีน และตลาดเอเชีย 2. ร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยกระจายลำไยออกนอกจังหวัดแหล่งผลิต เป้าหมาย 5,000 ตัน ผ่านตลาดประชารัฐ โมเดิร์นเทรด สถานีบริการน้ำมัน และไปรษณีย์ไทย 3. สนับสนุนการแปรรูปลำไยเพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งรัฐจะช่วยสนับสนุนให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น และ 4. รณรงค์บริโภคลำไยในประเทศ แผนดังกล่าวทำให้ขณะนี้ราคาลำไยสูงสุดในรอบ 3 ปี ราคาขายปลีกสูงถึง กิโลกรัมละ 30 บาท

ที่กระทรวงพาณิชย์ พล.ต.ท.ไกรบุญ ทรวดทรง ประธานกรรมการองค์การคลังสินค้า (อคส.) กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) เห็นชอบผลการจำหน่ายข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาลเข้าสู่อุตสาหกรรม ที่ไม่ใช่การบริโภคของคน ครั้งที่ 1/2561 และการจำหน่ายข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาลเข้าสู่อุตสาหกรรม ที่ไม่ใช่การบริโภคของคนและสัตว์ ครั้งที่ 1/2561 ดังนั้น ในวันนี้ 17 กรกฎาคม อคส. ได้เชิญผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงขั้นตอนการขนย้ายข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาลเข้าสู่อุตสาหกรรม เพื่อวางมาตรการในการควบคุมในการขนย้ายออกจากคลังสินค้าต้นทางไปยังคลังสินค้าปลายทางก่อนลงนามในสัญญา จึงได้เชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมฯ ได้แก่ อตก. กรมการค้าต่างประเทศ กรมการค้าภายใน คสช. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบังคับการตำรวจทางหลวง กระทรวงอุตสาหกรรม และกรมทางหลวง

โดยได้กำหนดขั้นตอนและมาตรการในการควบคุมการขนย้ายข้าวออกจากคลังสินค้า ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมของผู้ชนะการประมูลข้าวสารในสต๊อกของรัฐ (คลังสินค้าปลายทาง) โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาลเข้าสู่อุตสาหกรรม ที่ไม่ใช่การบริโภคของคน ครั้งที่ 1/2561 มีผู้เสนอซื้อสูงสุด จำนวน 17 ราย จำนวน 86 คลัง ปริมาณรวม 1.44 ล้านตัน มูลค่า 8.4 ล้านบาท โดยในส่วนของ อคส. มีผู้เสนอซื้อ 17 ราย จากจำนวน 62 คลัง 16 จังหวัด ปริมาณรวม 1,122,559.834 ตัน มูลค่า 6,452,241,133.27 บาท และกลุ่มที่ 2 ข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาลเข้าสู่อุตสาหกรรม ที่ไม่ใช่การบริโภคของคนและสัตว์ ครั้งที่ 1/2561 จำนวน 60 คลัง จำนวน 11 ราย ปริมาณรวม 518,473.30 ตัน มูลค่า 1,788.16 ล้านบาท โดยในส่วนของ อคส. มีผู้เสนอซื้อ 10 ราย จำนวน 48 คลัง 20 จังหวัด ปริมาณรวม 423,794.224 ตัน มูลค่า 1,449,082,507.51 บาท แสนตัน ตามที่กรมการค้าต่างประเทศ เปิดประมูลไปเมื่อวันที่ 14 และ15 มิถุนายนที่ผ่านมา

พล.ต.ท. ไกรบุญ กล่าวว่า ได้เชิญผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลฯ 28 ราย มาประชุมทำความเข้าใจในขั้นตอนวิธีปฏิบัติให้รัดกุม รวมทั้งมีการลงพื้นที่ตรวจคลังสินค้าปลายทางที่ผู้ประกอบการจะนำข้าวสารไปเข้าสู่อุตสาหกรรมทุกคลัง และการจัดเจ้าหน้าที่สายตรวจ สุ่มตลอดเส้นทางการขนย้ายข้าวและคลังสินค้าต้นทางและคลังสินค้าปลายทางโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยจะมีเจ้าหน้าที่ของ อคส. และหัวหน้าคลังประจำอยู่ตามโกดังต่างๆ รับทราบขั้นตอนการปฏิบัติ และตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ในการขนย้ายจะมีการ (ซีล) รถบรรทุกที่ขนข้าวทุกคัน ตลอดการขนย้าย โดยระยะเวลาต้องสอดคล้องกัน กับระยะเวลาการเดินทาง

หากตรวจพบว่า ใช้เวลามากไม่สัมพันธ์หรือผิดปกติ เจ้าหน้าที่ตำรวจในจุดตรวจสามารถเรียกให้หยุดเพื่อตรวจสอบได้ สำหรับคลังสินค้าที่ปลายทาง จะต้องติดตั้งกล้อง CCTV และต้องรายงานข้อมูลสินค้า ผ่านเว็บไซต์ www.pwo.co.th เพื่อรายงานให้เจ้าหน้าที่ อคส. รับทราบ และเมื่อขนย้ายข้าวถึงสถานที่ปลายทางแล้ว อคส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสุ่มตรวจปริมาณข้าวอีกครั้งว่า ตรงตามปริมาณการขนย้ายหรือไม่ หาก อคส. ตรวจพบว่า ผู้ซื้อไม่นำเข้าสารเข้าสู่กระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมตามที่ได้แจ้งไว้ในวัตถุประสงค์ที่ขอซื้อ จะต้องชำระค่าปรับ 25% ของมูลค่าข้าวสารที่ไม่ได้นำเข้าสู่กระบวนการอุตสาหกรรม และหาก อคส. เลิกสัญญา ผู้ซื้อจะต้องเสียค่าปรับ 25% ของมูลค่าปริมาณข้าวสารที่ยังไม่ได้รับมอบและขนย้าย รวมทั้งจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายทั้งแพ่งและอาญาด้วย

นางอินทิรา โภคปุณยารักษ์ ผู้อำนวยการ อคส. กล่าวว่า เพื่อความรอบคอบรัดกุมและเป็นการรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ อคส. ได้วางมาตรการและกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการทุกขั้นตอนอย่างรัดกุม ซึ่งเชื่อมต่อจากกระบวนการดำเนินงานของกรมการค้าต่างประเทศ และเชิญผู้ชนะการประมูล เข้ารับฟังการชี้แจงมาตรการดำเนินการของ อคส. ก่อนการทำลงนามในสัญญา และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องศักยภาพการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมทุกแห่ง ซึ่ง อคส. ได้ขอความร่วมมือไปยังกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อตรวจสอบยืนยันว่ามีใบประกอบกิจการโรงงาน (รง. ๔) มีกำลังการผลิตที่เพียงพออีกทางหนึ่งด้วย

สำหรับมาตรการในการกำกับดูแล อคส. มีการแต่งตั้งหัวหน้าคลังสินค้าประจำคลังสินค้าต้นทาง และปลายทาง มีการรายงานปริมาณรับจ่ายสินค้าเป็นรายวันให้ส่วนกลางทราบ และคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานระดับจังหวัด ดำเนินการตรวจสอบการนำข้าวไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทน เป็นประธานคณะทำงานฯ ผู้แทนกองกำลังรักษาความสงบในพื้นที่ ผู้แทนอุตสาหกรรมจังหวัด พาณิชย์จังหวัด เป็นคณะทำงาน หัวหน้าคลัง อคส. หรือ อ.ต.ก. เป็นคณะทำงาน และเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ จัดระบบ ควบคุม

ตรวจสอบกระบวนการนำข้าวไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม สุ่มตรวจสอบบัญชีคุมสินค้าแสดงประมาณการได้มา การใช้รายวันนับแต่วันที่ได้รับข้าวสารเก็บไว้ ณ สถานที่เก็บ ให้เป็นไปตามที่แจ้งไว้ในหนังสือรับรองการนำข้าวไปใช้ในอุตสาหกรรม รายงานผลการดำเนินงานต่อประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว และประธานคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรการการควบคุม การขนย้ายข้าวสารในสต๊อกของรัฐเข้าสู่อุตสาหกรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่ง อคส. ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา และยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง

อีสาน อ่วม กรมอุตุฯ เผยประเทศไทยตอนบนยังมีฝนตกชุกหนาแน่น ภาคใต้ฝนตกหนักต่อเนื่อง เตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง ระวังอันตรายจากคลื่นลมแรง และผลกระทบจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม

อีสาน/เมื่อวันที่ 17 ก.ค. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังผลกระทบจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนเริ่มมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว ส่วนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่งจนถึง วันที่ 19 กรกฎาคม 2561

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือตอนบน และประเทศลาว เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำ กำลังแรงบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลม บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนยังคงมีกำลังแรง

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย ตั้งแต่ เวลา 06.00 น. ของวันนี้ ถึงเวลา 06.00 น. ของวันที่ 18 ก.ค.นี้ ภาคเหนือ มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร และตาก อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น และชัยภูมิ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ภาคกลาง มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี และสระบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส

ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง มากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส

ตั้งแต่ภูเก็ตขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ตั้งแต่กระบี่ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสารสกัดคอลลาเจนแมงกะพรุน ผลงานวิจัยพัฒนา วว./บริษัท อดิญา มาร์เก็ตติ้งฯ รับรางวัลชนะเลิศประเภท Innovative Cosmetics จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

นางสาวอุบล ฤกษ์อ่ำ นักวิจัยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยทีมงาน บริษัท อดิญา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เข้ารับมอบรางวัลชนะเลิศ ประเภท Innovative Cosmetics จากการส่งผลงานวิจัยพัฒนาร่วมกันคือ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสารสกัดคอลลาเจนแมงกะพรุน (Jellyfish Micro collagen serum, essence and cleansing gel) เข้าประกวดในงาน “การประกวดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไทย ประจำปี 2561, Thailand Cosmetic Contest 2018” ซึ่งจัดโดยคลัสเตอร์เครื่องสำอางไทย ภายใต้การสนับสนุนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

ทั้งนี้ วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร นำสารสกัดที่ได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับบำรุงผิว ร่วมกับ บริษัท อดิญา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในรูปแบบต่างๆ 5 ผลิตภัณฑ์ ดังนี้